ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'ศูนย์หัวใจ'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 8 รายการ

  1. โรคหัวใจเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในคนทุกช่วงวัย แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย อาการของโรคหัวใจ มักมีสัญญาณเตือนเช่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก แต่ก็มีบางคนที่มีอาการคล้าย ๆ กันเช่น กดเจ็บบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกซี่โครงใกล้ ๆ ทรวงอก แต่เมื่อเข้ารับการตรวจแล้วพบว่านั่นไม่ใช่อาการของโรคหัว แล้วอาการเจ็บหน้าอกแบบไหน ที่เข้าข่ายว่าใช่อาการของโรคหัวใจล่ะ วันนี้เรานำข้อมูลความรู้จากทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธนมาฝาก เพื่อให้ได้ทราบว่าอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ที่เป็นอยู่จะเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ เป็นโรคอะไรกันแน่ รีบเช็ก!ด่วน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกแบบเฉียบพลันเป็นระยะเวลานานกว่า 20-30 นาทีถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีไขมันสะสมเพิ่มพูนขึ้นภายในผนังหลอดเลือดเกิดการอุดตันจนไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติเฉียบพลัน ภาวะดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ควรเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์อย่างทันที เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอย่างไร เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก เป็นอาการที่เกิดจากการเจ็บปวดด้านหน้าและด้านในของทรวงอก ไม่ใช่การเจ็บปวดตรงส่วนด้านหลังของทรวงอก อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอีกอาการหนึ่งของอาการทั้งหมดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย อาการแบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ และควรมาพบแพทย์ - เจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน และเป็นระยะเวลานาน - มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก - เจ็บหน้าอก และรู้สึกปวดร้าวไปถึงบริเวณหัวไหล่ - เจ็บหน้าอกหากทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก - มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ มีอาการวูบไม่รู้สึกตัวกะทันหัน หอบเหนื่อยง่ายผิดปกติ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบ เดินใกล้ ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งต้องระวังอาจจะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) จะมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกนำมาก่อน แต่โดยส่วนมากจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ หัวใจเต้นแรง มีอาการคลื่นไส้อยากอาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ เป็นลมและเหงื่อออกผิดปกติ หากพบว่ามีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นเกินกว่า 20 -30 นาที ถือว่าอันตราย ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว วิธีตรวจให้รู้ว่าอาการเจ็บหน้าอกเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ หากมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเกิดขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพผู้ตรวจและของบุคคลภายในครอบครัว พร้อมกับตรวจร่างกายโดยละเอียดซึ่งจะช่วยให้ระบุได้ว่าเป็นโรคหัวใจ หรือกำลังจะเริ่มเป็นได้ รวมไปถึงแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ดังนี้ - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ - การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ - การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก - การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เอกซเรย์ดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบางหรือไม่ เจ็บหน้าอกแน่นหน้าอกแค่ไหนต้องรักษาด้วยบอลลูนหัวใจ ในผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก โดยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น หายใจไม่ค่อยออก มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ รวมทั้งมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจเร็วโดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบเดินใกล้ ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น รวมทั้งได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้วพบว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หรือ มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งการรักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ด้วยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ทั้งนี้การทำบอลลูนหัวใจแพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย อย่างไรก็ตามอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สามารถเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคปอดบวม โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือ เกิดจากภาวะความเครียด กังวล เป็นต้น ทางที่ดีที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจหาสาเหตุของอาการดังกล่าว เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และทันท่วงที สำหรับท่านมีอาการเตือนเช่น เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก มีความกังวลใจเกี่ยวกับโรคหัวใจต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : www.nakornthon.com/article/detail/เจ็บหน้าอก-แน่นหน้าอก-อาการเริ่มปัญหาของหัวใจ
  2. ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่แข่งขันสูงในปัจจุบัน ส่งผลให้ทุกคนใช้ชีวิตเร่งรีบเคร่งเครียด จนอาจหลงลืมมองข้ามไม่ใส่ใจในสุขภาพร่างกายของตน จนกระทั่งมีอาการของโรครุนแรงแล้วจึงจะเข้ารับการรักษาซึ่งมันอาจจะสายเกินแก้ไขก็ได้ อย่างเช่น โรคที่เกี่ยวกับระบบการทำงานของหัวใจ อาจเป็นเพราะบางรายไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆจึงไม่ทราบว่าร่างกายตนมีปัญหา แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ วิงเวียน หน้ามืด เป็นต้น ซึ่งอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นภัยเงียบเสี่ยงหัวใจล้มเหลวได้ ดังนั้นก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้เราจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ไว้เพื่อป้องกัน วันนี้เราได้นำความรู้ดี ๆจากทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธนมาฝาก ไปทำความรู้จักกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และสาเหตุของโรคพร้อมกันได้เลยค่ะ รู้จักภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ หัวใจเต้นปกติ กับ หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นอย่างไร? หัวใจปกติ จะเต้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไปตามกิจกรรมของร่างกาย โดยในขณะพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60 -100 ครั้งต่อนาที ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นประมาณ 100 - 120 ครั้งต่อนาที และมากกว่า 120 ครั้งต่อนาทีในขณะวิ่ง อย่างไรก็ตามนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังเป็นประจำ อาจมีชีพจรในขณะพักระหว่าง 50 - 60 ครั้งต่อนาที หัวใจเต้นผิดปกติ คือ ภาวะใดที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจโดยหัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิด ปกติเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ หัวใจเต้นช้าผิดปกติ และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความผิดปกติทั้งอัตราการเต้น และจังหวะการเต้นของหัวใจก็ได้ เช่น เต้นๆ หยุดๆ และเต้นเร็ว ในบางรายอาจมีเต้นช้าสลับกับเต้นเร็วก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีกี่ชนิด ? หัวใจเต้นผิดปกติมีไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด แต่ละชนิดจะมีกลไกการเกิด สาเหตุการเกิด อาการ วิธีการรักษา รวมถึงการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติเป็นสองแบบใหญ่ ๆ คือ - หัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที - หัวใจเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที - โดยแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้ - หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หัวใจจะเต้นไม่เป็นจังหวะและเร็วผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้มาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีโรคหัวใจ เป็นต้น - ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ (Supraventricular Tachycardia) อัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที - ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที - Heart Block หัวใจจะเต้นช้าผิดปกติ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ - หัวใจจะเต้นเร็วผิดปกติและไม่เป็นจังหวะ (Ventricular Fibrillation) เป็นสาเหตุทำให้หมดสติและเสียชีวิตกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลา ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้น้อย อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที) หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที) เจ็บหน้าอก หายใจหอบ วิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ เป็นต้น ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของอาการต่อไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา ตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ การจะรู้ว่าเรามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่นั้น แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนี้ 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) 2.การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงโดยใช้ Holter Monitor 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) 4.การเอกซเรย์หน้าอก (Chest X-ray) เพื่อตรวจความผิดปกติของหัวใจ 5.การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถทำได้ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงและควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยในบางรายที่อาการยังเป็นไม่มาก คือ ยังไม่ได้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะจนทำให้เกิดอาการของหัวใจวาย หรือหัวใจขาดเลือด จะมีแค่ใจสั่นๆ เป็นบางเวลา แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือชากาแฟ ควบคุมความเครียดและลดการกังวล 2.การใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ในรายที่เป็นมากขึ้นอาจจะต้องใช้ยาเพื่อลดอันตราการเต้นของหัวใจร่วมด้วย เช่น ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (betablocker) 3.การจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา จะกระทำได้โดยการสวนสายสวนหัวใจ จากบริเวณขาหนีบ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งแพทย์จะขยับสายสวนหัวใจดังกล่าวไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของหัวใจ เพื่อหาตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ อาจทำร่วมกับการกระตุ้นหัวใจช่วงสั้นๆ เมื่อพบตำแหน่งแล้ว จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 30 – 60 วินาที คลื่นเสียงความถี่สูงดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ปลายสายสวนหัวใจ ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 37 องศา เป็น 55 องศา ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของน้ำอุ่น 4.การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ในกรณีที่มีการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นลม หรือเหนื่อยง่าย 5.การฝังเครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติ (AICD : Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) ในรายที่หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วอย่างมาก เช่น Ventricular Tachycardia, Ventricular Fibrillation หากเราดูแลสุขภาพให้ดีใช้ชีวิดที่สมดุล เช่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอไม่เครียดหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยง ก็จะสามารถห่างไกลกับโรคนี้ได้ แต่หากคุณหากพบว่ามีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งความเสี่ยง แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยก่อนแต่เนิ่น ๆ กับ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน เพราะที่นี่มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ เรายินดีให้บริการค่ะสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/หัวใจเต้นผิดจังหวะ-ภัยเงียบเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว
  3. เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ มีความเครียดสะสมที่เกิดจากการแข่งขันสูง รวมถึงการบริโภคของคนในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป หลาย ๆ อย่างส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย เช่นการนิยมบริโภคอาหารประเภทจานด่วนฟาสต์ฟู้ด ที่มีไขมันสูง ทำให้เกิดเป็นโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ส่วนแนวทางการรักษาที่เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ นั่นคือการรักษาด้วยวิธีขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เพื่อรักษาผู้ที่มีภาวะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ใช้เวลาไม่นานเนื่องจากไม่ต้องผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว หลายคนยังมีความกังวลใจเพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในวิธีการรักษาแบบนี้จะดีจริงหรือไม่? วันนี้เรานำข้อมูลความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์หัวใจของรพ.นครธน เกี่ยวกับการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบด้วย บอลลูน มีขั้นตอนการทำและข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? เพื่อจะได้มีความรู้เท่าทันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และทำการรักษาได้ทันเวลาค่ะ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ในอดีตมักพบมากในวัยสูงอายุ แต่ปัจจุบันพบภาวะนี้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเพราะมักไม่มีอาการในระยะแรก กว่าจะรู้ก็มีอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบที่ชัดเจน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือยิ่งไปกว่านั้นก็อาจพบหลังประสบภาวะหัวใจวายไปแล้ว โดยแนวทางการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบนั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนหัวใจ ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด และมีความปลอดภัย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ ใช้เวลาพักฟื้นน้อย สาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบเกิดจากการที่เส้นเลือดตีบแคบลงจากความเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือ มีการสะสมของคราบหินปูน หรือ ไขมันไปเกาะอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในจนเกิดการอุดตัน ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากเส้นเลือด แดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ปัจจัยที่เสริมให้เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น - อายุที่เพิ่มมากขึ้น มักเกิดกับคนที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป - ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ - มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน - การสูบบุหรี่ - การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง - ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง - มีความเครียดเรื้อรัง อาการที่ตามมาหากเกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ - อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ หรือมีแรงดันจำนวนมากที่บริเวณกลางอกหรือที่อกข้างซ้าย โดยอาการอาจจะเกิดขึ้นไม่กี่นาทีแล้วก็หาย แต่จากนั้นก็อาจจะกลับมาเป็นอีก - อาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขนซ้ายหรือร้าวไปที่กราม - อาการเหงื่อออก มือเท้าเย็น วิงเวียน จะเป็นลม หมดแรง - อาการคลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน การตรวจวินิจฉัยเส้นเลือดหัวใจตีบ แนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติก่อน จากนั้นจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมอื่น ๆ เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ - การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก - การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ - การตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) และคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง โดยภาพที่ได้จากการตรวจจะคมชัด เนื่องจากเครื่องมือที่มีความเร็วในการจับภาพสูงมาก ซึ่งสามารถจับภาพขณะที่หัวใจเต้นได้ดี และสามารถบอกถึงปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ แม้จะมีปริมาณน้อยก็ตาม เพื่อใช้บ่งบอกแนวโน้มถึงโอกาสในการที่จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที - การฉีดสีสวนหัวใจ จะเป็นขั้นตอนการตรวจลำดับสุดท้าย โดยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบหรือหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ และทำการฉีดสารละลายทึบรังสีผ่านท่อเล็ก ๆ นี้ เพื่อถ่ายภาพเส้นเลือดหัวใจให้เห็นบริเวณที่มีการตีบตันของเส้นเลือด หากพบความผิดปกติของหลอดเลือดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวนหัวใจ แพทย์จะทำการใส่สายสวนหัวใจ เพื่อทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบด้วยบอลลูนหัวใจและขดลวดถ่างขยาย (Stent) ได้ในทันที บอลลูนหัวใจ ทางเลือกการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด แนวทางการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาหลายแบบ และแต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป แต่วิธีการรักษาที่แพทย์นิยมทำโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด คือ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยาย ซึ่งเป็นการหัตถการการรักษาที่สามารถทำได้เลย ต่อจากการฉีดสีดูการตีบของเส้นเลือดหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจและใส่ขดลวดนั้น จะช่วยดันไขมัน หรือคราบหินปูนที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ บอลลูนหัวใจมีวิธีการรักษาอย่างไร การทำบอลลูนหัวใจรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ สามารถทำได้โดยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย เพื่อป้องกันการกลับมาอุดตันอีก ทุกท่านคงได้ทราบเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการทำบอลลูนกันแล้ว หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่มีความเสี่ยง หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ เป็น ๆ หาย ๆ หากมีความกังวลสงสัย อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ามาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางหรือมารับการรักษากับทางศูนย์หัวใจ รพ.นครธน ตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เส้นเลือดหัวใจตีบ-ภัยใกล้ตัว-รู้ทัน-รักษาได้
  4. ปัจจุบันโรคหัวใจนับเป็นภัยใกล้ตัว และเป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตสูงขึ้นทุกปี และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เนื่องจากการใช้ชีวิตในปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย เช่น ชื่นชอบเครื่องดื่มรสหวาน อาหารทอดไขมันสูง สูบบุหรี่ ส่งผลให้ น้ำหนักเกิน ความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือดสูง เกิดโรคเบาหวาน เป็นต้น บางคนเริ่มมีอาการแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหอบ มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน บางครั้งมีอาการหน้ามืดบ่อย ๆ ทำให้เกิดความกังวลใจสงสัยว่าอาการ “เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก” อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติ ของโรคหัวใจหรือไม่? แล้วอาการเจ็บหน้าอกแบบไหน? ที่คุณควรจะต้องรีบเข้าพบแพทย์ด่วน วันนี้ทางศูนย์หัวใจ รพ.นครธน มีคำตอบมาให้คุณแล้ว ไปรับความรู้เพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกแบบเฉียบพลันเป็นระยะเวลานานกว่า 20-30 นาทีถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีไขมันสะสมเพิ่มพูนขึ้นภายในผนังหลอดเลือดเกิดการอุดตันจนไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติเฉียบพลัน ภาวะดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ควรเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์อย่างทันที เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอย่างไร เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก เป็นอาการที่เกิดจากการเจ็บปวดด้านหน้าและด้านในของทรวงอก ไม่ใช่การเจ็บปวดตรงส่วนด้านหลังของทรวงอก อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอีกอาการหนึ่งของอาการทั้งหมดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย อาการแบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ และควรมาพบแพทย์ - เจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน และเป็นระยะเวลานาน - มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก - เจ็บหน้าอก และรู้สึกปวดร้าวไปถึงบริเวณหัวไหล่ - เจ็บหน้าอกหากทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก - มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ มีอาการวูบไม่รู้สึกตัวกะทันหัน - หอบเหนื่อยง่ายผิดปกติ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบ เดินใกล้ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งต้องระวังอาจจะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) จะมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกนำมาก่อน แต่โดยส่วนมากจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ หัวใจเต้นแรง มีอาการคลื่นไส้อยากอาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ เป็นลมและเหงื่อออกผิดปกติ หากพบว่ามีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นเกินกว่า 20 -30 นาที ถือว่าอันตราย ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว วิธีตรวจให้รู้ว่าอาการเจ็บหน้าอกเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ หากมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเกิดขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพผู้ตรวจและของบุคคลภายในครอบครัว พร้อมกับตรวจร่างกายโดยละเอียดซึ่งจะช่วยให้ระบุได้ว่าเป็นโรคหัวใจ หรือกำลังจะเริ่มเป็นได้ รวมไปถึงแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ดังนี้ 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ 2.การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก 4.การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เอกซเรย์ดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบางหรือไม่ เจ็บหน้าอกแน่นหน้าอกแค่ไหนต้องรักษาด้วยบอลลูนหัวใจ ในผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก โดยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น หายใจไม่ค่อยออก มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ รวมทั้งมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจเร็วโดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบเดินใกล้ ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น รวมทั้งได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้วพบว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หรือ มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งการรักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ด้วยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ทั้งนี้การทำบอลลูนหัวใจแพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย อย่างไรก็ตามอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สามารถเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคปอดบวม โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือ เกิดจากภาวะความเครียด กังวล เป็นต้น ทางที่ดีที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจหาสาเหตุของอาการดังกล่าว เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และทันท่วงที หากคุณมีข้อสงสัยต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม ทางศูนย์หัวใจของรพ.นครธน มีความพร้อมทั้งทีมแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางคอยให้คำปรึกษา ตลอดจนห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ 24 ชั่วโมง เพื่อสามารถรักษาทุกท่านได้อย่างทันท่วงที ขอบคุณข้อมูลจาก : www.nakornthon.com/article/detail/เจ็บหน้าอก-แน่นหน้าอก-อาการเริ่มปัญหาของหัวใจ
  5. เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะชอบทานอาหารไขมันสูง ติดบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน มีความเครียด พักผ่อนน้อยและขาดการออกกำลังกาย ซึ่งเป้นความเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจ บางท่านอาจเคยมีอาการเบื้องต้นของโรคมาแล้ว เช่น มีอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก และมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ สำหรับท่านมีอาการเช่นนี้ควรต้องรีบพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด เพราะแน่นอนว่ามันอาจเป็นภัยเงียบเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว สำหรับท่านที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัจจุบันมีนวัตกรรมที่สามารถรักษาได้ โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด นั่นคือการจี้ไฟฟ้าหัวใจ เป็นวิธีที่แพทย์นิยมนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ” วันนี้เรามีข้อมูลจาก ศูนย์หัวใจ รพ.นครธน มาฝากกันค่ะ รู้จักภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ หัวใจเต้นปกติ กับ หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นอย่างไร? หัวใจปกติ จะเต้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไปตามกิจกรรมของร่างกาย โดยในขณะพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60 -100 ครั้งต่อนาที ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นประมาณ 100 - 120 ครั้งต่อนาที และมากกว่า 120 ครั้งต่อนาทีในขณะวิ่ง อย่างไรก็ตามนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังเป็นประจำ อาจมีชีพจรในขณะพักระหว่าง 50 - 60 ครั้งต่อนาที หัวใจเต้นผิดปกติ คือ ภาวะใดที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจโดยหัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิด ปกติเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ หัวใจเต้นช้าผิดปกติ และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความผิดปกติทั้งอัตราการเต้น และจังหวะการเต้นของหัวใจก็ได้ เช่น เต้นๆ หยุดๆ และเต้นเร็ว ในบางรายอาจมีเต้นช้าสลับกับเต้นเร็วก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีกี่ชนิด ? หัวใจเต้นผิดปกติมีไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด แต่ละชนิดจะมีกลไกการเกิด สาเหตุการเกิด อาการ วิธีการรักษา รวมถึงการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติเป็นสองแบบใหญ่ ๆ คือ - หัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที - หัวใจเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที โดยแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้ - หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หัวใจจะเต้นไม่เป็นจังหวะและเร็วผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้มาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีโรคหัวใจ เป็นต้น - ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ (Supraventricular Tachycardia) อัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที - ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที - Heart Block หัวใจจะเต้นช้าผิดปกติ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ - หัวใจจะเต้นเร็วผิดปกติและไม่เป็นจังหวะ (Ventricular Fibrillation) เป็นสาเหตุทำให้หมดสติและเสียชีวิตกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลา ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้น้อย อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที) หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที) เจ็บหน้าอก หายใจหอบ วิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ เป็นต้น ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของอาการต่อไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา ตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ การจะรู้ว่าเรามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่นั้น แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนี้ 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) 2.การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงโดยใช้ Holter Monitor 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) 4.การเอกซเรย์หน้าอก (Chest X-ray) เพื่อตรวจความผิดปกติของหัวใจ 5.การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถทำได้ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงและควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยในบางรายที่อาการยังเป็นไม่มาก คือ ยังไม่ได้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะจนทำให้เกิดอาการของหัวใจวาย หรือหัวใจขาดเลือด จะมีแค่ใจสั่นๆ เป็นบางเวลา แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือชากาแฟ ควบคุมความเครียดและลดการกังวล 2.การใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ในรายที่เป็นมากขึ้นอาจจะต้องใช้ยาเพื่อลดอันตราการเต้นของหัวใจร่วมด้วย เช่น ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (betablocker) 3.การจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา จะกระทำได้โดยการสวนสายสวนหัวใจ จากบริเวณขาหนีบ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งแพทย์จะขยับสายสวนหัวใจดังกล่าวไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของหัวใจ เพื่อหาตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ อาจทำร่วมกับการกระตุ้นหัวใจช่วงสั้นๆ เมื่อพบตำแหน่งแล้ว จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 30 – 60 วินาที คลื่นเสียงความถี่สูงดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ปลายสายสวนหัวใจ ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 37 องศา เป็น 55 องศา ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของน้ำอุ่น 4.การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ในกรณีที่มีการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นลม หรือเหนื่อยง่าย 5.การฝังเครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติ (AICD : Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) ในรายที่หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วอย่างมาก เช่น Ventricular Tachycardia, Ventricular Fibrillation สำหรับท่านใดที่กำลังมีอาการเบื่องต้น เช่น อาการใจสั่น หน้ามืดหายใจติดขัด หรือมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะบ่อย ๆ อย่าปล่อยไว้ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด ศูนย์หัวใจ รพ.นครธน มีบุคลากรและทีมแพทย์เฉพาะทางคอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/หัวใจเต้นผิดจังหวะ-ภัยเงียบเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว
  6. หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญสุดในร่างกายของคนเรา ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งหัวใจเองประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ ที่ต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงเช่นเดียวกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ หากทางเดินในหลอดเลือด ที่มีหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจในแต่ละเส้นมีการตีบตันเกิดขึ้น ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนขาดเลือดไปเลี้ยงด้วยเช่นกัน จะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกหรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ อ่อนแรง ใจสั่น ภาวะดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ควรเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์อย่างทันที วันนี้ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน เรามีข้อมูลความรู้แบบเจาะลึกถึงอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอย่างไร? อาการแบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ และควรมาพบแพทย์ มาฝากกัน เพื่อคุณจะได้มีความรู้ความเข้าใจ ไว้คอยช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดพ้นในสถานการณ์วิกฤตินี้ได้อย่างทันท่วงทีกันค่ะ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกแบบเฉียบพลันเป็นระยะเวลานานกว่า 20-30 นาทีถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีไขมันสะสมเพิ่มพูนขึ้นภายในผนังหลอดเลือดเกิดการอุดตันจนไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติเฉียบพลัน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอย่างไร เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก เป็นอาการที่เกิดจากการเจ็บปวดด้านหน้าและด้านในของทรวงอก ไม่ใช่การเจ็บปวดตรงส่วนด้านหลังของทรวงอก อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอีกอาการหนึ่งของอาการทั้งหมดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย อาการแบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ และควรมาพบแพทย์ - เจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน และเป็นระยะเวลานาน - มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก - เจ็บหน้าอก และรู้สึกปวดร้าวไปถึงบริเวณหัวไหล่ - เจ็บหน้าอกหากทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก - มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ มีอาการวูบไม่รู้สึกตัวกะทันหัน - หอบเหนื่อยง่ายผิดปกติ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบ เดินใกล้ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งต้องระวังอาจจะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) จะมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกนำมาก่อน แต่โดยส่วนมากจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ หัวใจเต้นแรง มีอาการคลื่นไส้อยากอาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ เป็นลมและเหงื่อออกผิดปกติ หากพบว่ามีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นเกินกว่า 20 -30 นาที ถือว่าอันตราย ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว วิธีตรวจให้รู้ว่าอาการเจ็บหน้าอกเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ หากมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเกิดขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพผู้ตรวจและของบุคคลภายในครอบครัว พร้อมกับตรวจร่างกายโดยละเอียดซึ่งจะช่วยให้ระบุได้ว่าเป็นโรคหัวใจ หรือกำลังจะเริ่มเป็นได้ รวมไปถึงแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ดังนี้ 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ 2.การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก 4.การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เอกซเรย์ดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบางหรือไม่ สำหรับผู้มีอาการเจ็บหน้าอก จากภาวะหัวใจขาดเลือดของทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน ซึ่งเป็นประโยชน์มากสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อมีวิกฤตมีภาวะหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้น ก่อนจะนำตัวผู้ป่วยส่งถึงมือแพทย์ตามขั้นตอนต่อไป ทางโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nakornthon.com/article/detail/เจ็บหน้าอก-แน่นหน้าอก-อาการเริ่มปัญหาของหัวใจ
  7. แนวทางการรักษาโรคหัวใจในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาหลายแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจด้วย มักประกอบด้วยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การใช้ยา การผ่าตัด และวิธีการรักษาที่แพทย์นิยมทำโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด เช่นการฉีดสีหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนหัวใจนั่นเอง ผู้ป่วยโรคหัวใจหลายคนอาจกำลังกังวลใจและมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า หากจะเลือกการรักษาด้วยวิธีสวนหลอดเลือดหัวใจนั้นจะดีหรือไม่? แล้วมีความปลอดภัยหรือเปล่า? วันนี้เรานำคำตอบจากทางศูนย์หัวใจโรงพยาบาลนครธน มาเพื่อไขข้อสงสัยให้คุณได้ทราบว่าจริง ๆ แล้ว การสวนหลอดเลือดหัวใจ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมดที่เป็นประโยชน์ดังนี้ค่ะ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด (PCI: Percutaneous coronary intervention) เป็นการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน ทำให้เลือดสามารถกลับมาไหลเวียนได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และปลอดภัย โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ใช้เวลาไม่นาน ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวและบ้านกลับได้เร็วขึ้น นอกจากนี้การทำบอลลูนหัวใจมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยมาก และไม่จำเป็นต้องวางยาสลบในกระบวนการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม รู้จัก การทำบอลลูนหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ด้วยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ทั้งนี้ในปัจจุบันการทำบอลลูนหัวใจ แพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย ซึ่งจะให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในบางกรณีอาจมีการนำขดลวดที่เคลือบด้วยยามาใช้แทนขดลวดธรรมดา เพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจเมื่อเวลาผ่านไป ประโยชน์ของการทำบอลลูนหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจและใส่ขดลวด จะช่วยดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำกว่าการผ่าตัดบายพาส เพราะไม่ต้องทำการผ่าตัดและดมยาสลบ นอกจากนี้ใช้เวลาเฉลี่ย 1-2 วัน ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่ต้องกังวลกับอาการภาวะหัวใจขาดเลือด สามารถทำซ้ำได้หลายครั้ง ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบแคบลงอีกในอนาคต การเตรียมตัวก่อนการทำบอลลูนหัวใจ 1.ผู้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำดื่ม 6-8 ชั่วโมง 2.แพทย์จะสอบถามอาการแพ้ยาและแพ้อาหารทะเล โรคประจำตัว และตรวจร่างกายผู้ป่วย 3.หากผู้ป่วยมียาที่รับประทานเป็นประจำ ได้แก่ ยาเบาหวาน โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และนำมาให้แพทย์ดู ขั้นตอนการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด 1.แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ก่อนทำการเจาะหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือหรือขาหนีบ 2.แพทย์จะสอดท่อพลาสติกอ่อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตรเข้าไปในหลอดเลือดแดง เพื่อเป็นทางผ่านเข้าออกของสายสวนหัวใจเข้าสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ของหัวใจ 3.จากนั้นจะทำการฉีดสี หรือสารละลายทึบรังสีเข้าไปในท่อเล็ก ๆ นี้ ทำให้สามารถเห็นภายในหลอดเลือดว่ามีการตีบที่บริเวณใด 4.เมื่อพบจุดที่หลอดเลือดตีบ แพทย์จะทำการใส่สายสวนหัวใจ เพื่อทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบด้วยบอลลูนและขดลวดถ่างขยาย (Stent) ใช้เวลาประมาณ 45 – 60 นาที หลังจากดำเนินการเสร็จแล้ว ท่อที่ขาหนีบหรือข้อมือจะถูกดึงออกและกดรูเข็มที่เจาะไว้ แล้วกดตรงบริเวณที่ใส่สายเข้าไป เพื่อให้เลือดหยุด โดยใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์ช่วยให้เลือดหยุดได้เร็วขึ้น แล้วแต่กรณีและความเห็นของแพทย์ผู้ทำหัตถการ การปฏิบัติตัวหลังจากการทำ 1.ต้องนอนราบอย่างน้อยประมาณ 6 - 10 ชั่วโมง หลังทำการตรวจสวนหัวใจ - กรณีทำการฉีดสีผ่านขาหนีบ หลังจากทำเสร็จจะดึงสายสวนออก และกดบริเวณขาหนีบประมาณ 15 นาที โดยไม่ต้องเย็บแผล ผู้ป่วยต้องนอนราบ และงอขาหนีบไม่ได้ 6-10 ชั่วโมง ไม่สามารถลุกนั่ง หรือเดินได้ในทันที - กรณีทำการฉีดสีผ่านข้อมือ วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก อ้วนมาก หรือมีภาวะหลอดเลือดขาส่วนปลายตีบ โดยใช้ระยะเวลาพักฟื้น 4-8 ชม. หลังจากทำเสร็จสามารถลุก นั่ง หรือยืนได้ทันที มีเพียงสายรัดข้อมือ (TR band) ใส่ไว้ แต่ไม่นานก็สามารถถอดออกได้ 2.ระหว่างนี้ควรจะดื่มน้ำ ประมาณ 1 ลิตร หากไม่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำดื่ม เพื่อขับสารทึบรังสี 3.ดูแลแผลตำแหน่งที่ทำหัตถการอย่าโดนน้ำประมาณ 3 วัน หรือหากโดนให้ใช้เบตาดีนเช็ดบริเวณแผล 4.สังเกตตำแหน่งบริเวณที่ทำหัตถการ หากมีเลือดไหล ปวด บวม แดงร้อน หรือเย็น ซีด เป็นก้อน ให้แจ้งพยาบาลประจำหอผู้ป่วยได้ทันที 5.ถ้าปวดแผลบริเวณที่ทำหัตถการ สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หรือปรึกษาแพทย์ก่อน 6.รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเอง สังเกตอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอกให้มาพบแพทย์ทันที 7.งดออกกำลังกายหนักหรือใช้แรงมากในช่วง 2 สัปดาห์แรก 8.ห้ามยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัม ประมาณ 1 เดือน หลังทำหัตถการตรวจสวนหัวใจ 9.หากไอหรือเบ่ง ให้กดบริเวณแผลไว้ หลังทำหัตถการตรวจสวนหัวใจ ประมาณ 7 สัปดาห์ (ในกรณีทำบริเวณขาหนีบ) ภาวะแทรกซ้อนในการทำบอลลูนหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจมีความเสี่ยงน้อยเพียง 1% แต่ยังคงมีความเสี่ยงของการทำบอลลูนหัวใจอยู่บ้าง โดยภาวะเสี่ยงของการทำบอลลูนหัวใจอาจมีดังต่อไปนี้ 1.ติดเชื้อ มีเลือดออก หรือปวดบริเวณที่ใช้สายสวน 2.เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย 3.แพ้สารทึบแสง อาจเกิดภาวะช็อกได้ 4.หัวใจเต้นผิดจังหวะ 5.บางรายอาจเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจทะลุระหว่างทำการสอดใส่ท่อบอลลูนเข้าไปในเส้นเลือด 6.เกิดภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันที่สมอง (อุบัติการณ์น้อยกว่า 0.2%) 7.เสียชีวิต (อุบัติการณ์น้อยกว่า 0.5%) อย่างไรก็ตาม การทำบอลลูนหัวใจภายใต้ความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำก็จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ สำหรับผู้ที่สนใจหรือมีข้อมูลที่อยากสอบถามเพิ่มเติม ในเรื่องเกี่ยวกับการทำบอลลูนหัวใจ ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/การทำบอลลูนหัวใจรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
  8. คุณเคยทราบไหมคะว่า ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน ซึ่งโรคนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่นการดื่มชา กาแฟ การทานยาบางชนิด หรือผู้มีความเครียด ความวิตกกังวล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด เช่น ผนังหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจรั่ว ผู้เป็นโรคเบาหวาน มีความดันสูง ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ มากกว่าคนทั่วไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ เราทุกคนจึงไม่ควรมองข้าม และบางคนอาจมีคำถาม หากมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว จะมีโอกาสให้กลับมาปกติได้ไหมโดยที่ไม่ต้องผ่าตัด? คำถามนี้ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีคำตอบมาให้ เพื่อคุณจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อเตรียมรับมือ ก่อนที่โรคนี้จะเข้ามาส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่สงบสุขของคุณและคนที่คุณรักค่ะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะมีอาการหัวใจเต้นแรง ใจสั่น หัวใจเต้นสะดุด หรือบางครั้งหัวใจจะเต้นช้า มีอาการเหมือนกับหัวใจหยุดเดินไป 1-2 จังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะเพราะเต้นเร็วเกินไป ในบางรายมีอาการใจหวิว วูบ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการเป็นลม หมดสติ เหนื่อยง่าย หรือเจ็บหน้าอก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถรักษาให้หายได้ โดยใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลจากการผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ รวมถึงภาวะโรคเรื้อรังที่ควบคุมไม่ได้ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา ตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มักไม่ค่อยรู้ตัว จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัย โดยเฉพาะผู้ป่วยอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่คงที่ไม่แน่นอน แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงโดยใช้ Holter Monitor การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) การเอ็กซเรย์หน้าอก (Chest X-ray) เพื่อตรวจความผิดปกติของหัวใจ และการตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การจี้หัวใจ รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ในกรณีที่หัวใจยังทำงานเป็นปกติ สามารถรักษาให้หายได้ โดยแพทย์จะให้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลจากการผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา โดยวิธีการคือ แพทย์จะทำการสวนสายสวนหัวใจ จากบริเวณขาหนีบ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ (เช่นเดียวกับการตรวจสวนหัวใจเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี) สายสวนหัวใจชนิดพิเศษดังกล่าวจะมีขั้วโลหะที่ส่วนปลาย จึงสามารถบันทึกกระแสไฟฟ้าในหัวใจ แสดงให้เห็นบนจอ Monitor ซึ่งแพทย์จะขยับสายสวนหัวใจดังกล่าวไปยังตำแหน่งต่างๆ ของหัวใจ เพื่อหาตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ อาจทำร่วมกับการกระตุ้นหัวใจช่วงสั้นๆ เมื่อพบตำแหน่งแล้ว จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 30 - 60 วินาที คลื่นเสียงความถี่สูงดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ปลายสายสวนหัวใจ ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 37 องศา เป็น 55 องศา ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของน้ำอุ่น การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยวิธีดังกล่าวได้ผล 95% โดยมีผลแทรกซ้อนน้อยกว่า 1% เช่น หัวใจทะลุ ลิ่มเลือดไปอุดเส้นเลือดที่ปอด เกิดลิ่มเลือดบริเวณที่เจาะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ แต่น้อยและยังไม่เคยเกิดขึ้น และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1 คืนหลังจากทำเสร็จ หลังจากนั้นก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ในบางกรณีการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นลม หรือเหนื่อยง่าย สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) หรือในรายที่หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วอย่างมาก เช่น Ventricular Tachycardia, Ventricular Fibrillation สามารถรักษาได้โดยการฝังเครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติ (AICD : Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) การเตรียมตัวก่อนทำหัตถการจี้หัวใจ ก่อนการทำหัตถการจี้หัวใจด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง ผู้ป่วยจะต้องงดรับประทานยาต้านการเต้นของหัวใจผิดจังหวะอย่างน้อย 3 วัน หรืออยู่ในดุลยพินิจของแพทย์และให้นำยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำมาด้วยในวันทำหัตถการ งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ในวันทำการรักษาควรนำญาติมาด้วยเพื่อร่วมตัดสินใจในการรักษาของแพทย์ นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้างหรือคอด้านขวาขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แพทย์จะใส่สายสวน รวมทั้งจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำบางรายจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะด้วย การปฏิบัติตัวหลังการทำหัตถการจี้หัวใจ หลังทำการรักษาเสร็จเรียบร้อยผู้ป่วยจะต้องพักอยู่ที่ห้องพักฟื้น 1 คืนเพื่อรับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อถึงห้องพักต้องนอนราบห้ามงอขาข้างที่ทำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการมีเลือดออกและมีก้อนเลือดได้ผิวหนัง หากมีอาการแน่นหน้าอกเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้และรู้สึกอุ่นๆ ขึ้น ๆ หรือพบว่ามีเลือดออกหรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลขาหนีบ ควรแจ้งให้แพทย์พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทราบทันที วันรุ่งขึ้นถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะควรมีการดูแลรักษาตนเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น สูบบุหรี่. ดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชากาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน พร้อมควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียด ประจำตัว เพราะความเครียดจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น รวมทั้งควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังซึ่งเป็นโรคประจำตัว และหากรู้สึกว่ามีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในช่วงที่มีอาการทันที เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วไม่ส่งผลต่ออันตราย เนื่องจากอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ หากมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าตนเองมีอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ อย่าปล่อยปละละเลยสัญญาณเตือนของร่างกาย เพราะภาวะเจ็บป่วยดังกล่าวหากไม่รีบรักษา อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ ทั้งหมดนั้นคือข้อมูลดี ๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมากจากทางโรงพยาบาลนครธน ซึ่งทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาท่านอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/จี้หัวใจ-รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
×
×
  • สร้างใหม่...