ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

เวบเกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัด การบริหารฯ ของภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยา

โพสต์แนะนำ

http://articlesprain...-post_9632.html

 

 

มีลิงค์มากมาย

 

 

คู่มือกายภาพ

http://www.med.cmu.a...=200040&lang=th

 

รายการหัวเรื่อง

 

1 ท่ากายบริหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหลัง

http://www.med.cmu.a...=200040&lang=th

 

2 การออกกำลังกายและการป้องกันการเกิดภาวะนิ้วล็อค

http://www.med.cmu.a...=200040&lang=th

 

3 การออกกำลังกายในผู้ป่วยที่มีภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ

http://www.med.cmu.a...=200040&lang=th

 

4 การบริหารข้อไหล่เมื่อมีภาวะปวดไหล่และข้อไหล่ติด

http://www.med.cmu.a...=200040&lang=th

 

5 กายบริหารสำหรับผู้ป่วยเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

http://www.med.cmu.a...=200040&lang=th

 

6 การบริหารกล้ามเนื้อคอ

http://www.med.cmu.a...=200040&lang=th

 

 

 

 

 

แผ่นพับกายภาพ

http://www.med.cmu.a...=200041&lang=th

1. แผ่นพับการออกกำลังกล้ามเนื้อขาก่อนการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว่หน้า

http://www.med.cmu.a...ical_work/1.pdf

 

2. แผ่นพับการออกกำลังกายในผู้ปวดหลัง

http://www.med.cmu.a...ical_work/3.pdf

 

3. แผ่นพับการออกกำลังกายในผู้เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

http://www.med.cmu.a...ical_work/2.pdf

 

4. แผ่นพับการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม

http://www.med.cmu.a...ical_work/1.pdf

 

5. แผ่นพับการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยข้อไหล่ติด

http://www.med.cmu.a...ical_work/5.pdf

 

 

 

แถม ..

เวบโรคกระดูกและข้อ ของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

http://www.taninnit.com/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เท้าพลิกสำคัญกว่าที่คิด

 

 

http://articlesprain...og-post_15.html

 

 

เท้าพลิกสำคัญกว่าที่คิด (Men's Health)

เรื่อง Stephen Fried แปลและเรียบเรียง Achilles

 

ถึง เวลาที่คุณต้องดูแลข้อเท้าพลิกอย่างถูกต้องแล้วล่ะครับ เพราะนักวิจัยบอกว่าอาการนี้มักจะแอบซ่อนความเสียหายที่อาจนำไปสู่การบาด เจ็บซ้ำซากได้ อย่าปล่อยให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณเลยครับ

 

หลาย คนมักห่วงอาการบาดเจ็บที่หลังหรือเข่า ในขณะที่ข้อเท้าพลิกเป็นการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อโครงกระดูก ซึ่งพบได้จนเป็นเรื่องปกติและหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่นักวิจัย ศัลยแพทย์ และเทรนเนอร์จำนวนมาก เริ่มเชื่อว่าถึงเวลาต้องมองปัญหานี้ ในมุมใหม่เสียแล้ว ข้อ เท้าพลิกเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยที่สุดในการเล่นกีฬา แต่เรากลับเพิ่งมาใส่ใจปัญหานี้ ทั้ง ๆ ที่มันสร้างความเสียหายได้มากกว่าที่เราเคยคิด ที่สำคัญคือเราสามารถป้องกันผลร้ายที่ตามมาได้

 

การฝืนใช้เท้าต่อไปทั้ง ๆ ที่ข้อเท้าพลิกแม้จะนิด ๆ หน่อย ๆ อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนัก ปัจจุบันมีคนอเมริกันราว 25,000 คน ข้อเท้าพลิกในแต่ละวัน ซึ่งเท่ากับปีละ 9 ล้านคน ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งใช้ข้อมูลจากแพทย์และเทรนเนอร์ประจำทีมบาสเกตบอล NBA พบว่า เท้าพลิกเป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้มากที่สุดในหมู่นักบาสมืออาชีพ ดังนั้นจึงมีการจัดสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นหลายครั้ง

 

ดร.เจย์ เฮอร์เทล ซึ่งศึกษาเรื่องข้อเท้าที่มหาวิทยาลัยเวอร์วิเนีย กล่าวว่า เดิม เราเคยมองว่าข้อเท้าพลิกเป็นการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง หลังจากความเจ็บปวดและการบวมในช่วงแรก ๆ หายไป แต่เมื่อไม่นานมานี้ความเห็นดังกล่าวได้เปลี่ยนไป เพราะการรักษาที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้คุณต้องปวดและเท้าพลิกซ้ำ ๆ ไปอีกหลายปี ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของเหยื่อข้อเท้าพลิกต้องพบกับภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง

 

ในการศึกษาครั้งหนึ่งพบว่า 34 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เคยเท้าพลิกมาก่อนจะเกิดอาการซ้ำอีกในช่วงสามปีถัดมา ดร.เฮอร์เทลกล่าวว่า เส้น เอ็นที่ข้อเท้าของคุณเต็มไปด้วยตัวรับสัมผัส “ซึ่งมีหน้าที่บอกตำแหน่งข้อเท้าให้สมองรับรู้” เมื่อข้อเท้าพลิก เซ็นเซอร์พวกนี้บางส่วนจะเสียหายถาวร ผลก็คือ ข้อเท้าคุณสื่อสารกับสมองไม่รู้เรื่องอีกต่อไป

 

เมื่อถึงจุดนี้จึงต้องมีการฟื้นฟู “หากคุณหยุดการรักษาข้อเท้าที่บาดเจ็บทันทีที่เห็นว่าอาการต่างๆ หายไป คุณจะเจอปัญหาในวันข้างหน้าอีกครับ” ดร.เฮอร์เทล บอก ใน ขณะที่การฟื้นฟูที่ทำอย่างถูกวิธีจะช่วยคืนสภาพให้ข้อเท้าคุณ ซึ่งถ้าคุณไม่มีอาการเท้าพลิกอีกภายในหนึ่งปี นั่นแปลว่าความเสี่ยงของคุณจะกลับไปเหลือเท่าตอนที่เท้าคุณยังไม่เคยพลิก เคล็ดลับในการคืนสภาพข้อเท้าคุณมีอยู่ 4 ประการ ดังนี้

 

tumkunga_20060604004111.gif ประเมินสภาพ tumkunga_20060604004111.gif

 

ภาย ใต้ก้อนเนื้อม่วงเขียวช้ำที่คุณเห็นประกอบด้วยกลุ่มเส้นเอ็น 3 กลุ่มที่ยืด (หรือเคยยืด) ข้อต่อให้เข้าที่เส้นเอ็นเหล่านี้อาจยืดออกจนหลวม (การพลิกระดับ 1) ยืดออกจนฉีกขาดบางส่วน (ระดับ 2) หรือฉีกขาดทั้งหมด (ระดับ 3) ถ้าเป็นกรณี “High Ankle Sprain” อย่างที่พบในรายงานการบาดเจ็บของ NFL เส้นเอ็นขนาดใหญ่ที่โยงระหว่างข้อเท้ากับกระดูกเขาท่อนล่างสองท่อนจะได้รับ ความเสียหายไปด้วย

 

การวินิจฉัยเบื้องต้นนั้นง่ายมาก “อาการข้อเท้าพลิกส่วนใหญ่มีสองอย่างคือ เล็กน้อยหรือรุนแรง คุณอาจจะยังเดินได้อยู่หรือไม่ได้เลยก็ได้” นพ.จอห์น เคนเนดี ศัลยแพทย์กระดูกที่โรงพยาบาล Special Surgery ในเมืองนิวยอร์ก กล่าว ถ้าเท้าคุณรับน้ำหนักไม่ได้เลย ให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของการพลิก แต่ถ้าไม่มากขนาดนั้นก็ข้ามไปที่ขั้นตอนต่อไป

 

tumkunga_20060604004111.gif พัก tumkunga_20060604004111.gif

 

ทำตามสูตร RICE นั่นคือ พัก (Rest) ประคบน้ำแข็ง (Ice) กระชับ (Compress) และยกเท้าสูง (Elevation) ซึ่ง เป็นสูตรที่หลาย ๆ คนรู้ดีครับ แต่ทำไม่ค่อยจะถูกกันสักเท่าไร ขณะที่คุณพักการใช้เท้า ให้ใช้ผ้าพันกระชับรอบเท้าและข้อเท้าเพื่อลดการบวม เวลาที่ข้อเท้าบวม “เส้นใยในเส้นเอ็นจะถูกดันออกไปคนละทิศละทางและอาจรักษาตัวเองไม่ได้เมื่ออยู่ในตำแหน่งกายวิภาคปกติ”

 

นพ.มาร์ก ดราโคส หัวหน้าทีมเขียนรายงานการวิจัยของโครงการศึกษาการบาดเจ็บใน NBA กล่าวให้ย กข้อเท้าข้างที่เจ็บสูงเหนือหัวใจเพื่อป้องกันของเหลวสะสม แล้วนำน้ำแข็งมาประคบราว 20 นาที ช่วงนี้คุณอาจจำเป็นต้องนั่งบนโซฟาหรือนอนที่เตียงเก้าอี้ทำงานคงไม่น่าจะ เวิร์กนัก ประคบน้ำแข็งครั้งละ 20 นาที ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ให้ครบ 2 วัน

 

แน่นอนว่าคุณยังมีเรื่องให้ต้องเดินเหินอยู่ดี ดร.เฮอร์เทลบอกว่า “ความ แตกต่างที่สำคัญระหว่างการดูแลข้อเท้าพลิกของคุณกับพวกนักกีฬาอาชีพ คือพอเกิดเหตุพวกนักกีฬาจะออกจากสนามโดยใส่ Waking Boot หรือเฝือกรองเท้าไว้เพื่อไม่ให้เท้าขยับ ซึ่งผลการศึกษาของอังกฤษบอกว่า การไม่ขยับเท้าเป็นวิธีรักษาเท้าพลิกที่ได้ผลดีกว่าพันผ้ากระชับเป็นไหน

 

ถ้า เป็นการพลิกที่รุนแรง การพันผ้ากระชับอาจยังคุมเท้าไม่ให้เคลื่อนไหวได้ไม่ดีพอ ลองถามหมอดูว่าคุณควรใส่เฝือกรองเท้าหรือไม่ เพื่อจะได้ใช้ชีวิตตามปกติได้ โดยเฉพาะเมื่อต้องปฏิบัติตามข้อต่อไปนี้

 

tumkunga_20060604004111.gifออกกำลังกาย tumkunga_20060604004111.gif

 

นพ.ตรา โคสแนะนำว่า เมื่อคุณยกเท้าสูงและยืดส้นเท้าไว้ไม่ให้ขยับเขยื้อนเรียบร้อยแล้ว ใช้นิ้วหัวแม่เท้าเขียนอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ฝึกวันละ 10 นาที 4 ครั้งต่อวัน ในช่วงสองวันแรกหลังจากบาดเจ็บพอพ้น 48 ชั่วโมงไปแล้ว ให้คุณทำดังนี้

 

หา อ่างหรือถังใหญ่มาสองใบ อ่างหนึ่งใส่น้ำร้อน อ่างหนึ่งใส่น้ำแข็งบดและน้ำ ถอดเฝือกหรือผ้าพันออก จุ่มข้อเท้าลงในน้ำร้อนแล้วใช้เท้าวาดตัวอักษรแบบตอนแรกประมาณ 5 นาที จากนั้นจุ่มข้อเท้าแช่น้ำแข็งโดยวางส้นเท้าให้ติดก้นอ่าง เอียงนิ้วเท้าไปพิงข้างอ่าง ค้างไว้ที่ท่านี้นาน 8 วินาที

 

จากนั้นยกเท้าขึ้นมาผ่อนคลายอีก 2 วินาที ท่าซ้ำแบบนี้ 6 ครั้ง พอครบแล้วให้เปลี่ยนมาแช่ในน้ำร้อนและน้ำเย็นสลับกันอย่างละ 30 วินาทีนาน 4 นาที ทำให้ครบทั้งหมดนี้วันละ 4 ครั้ง โดยลดเวลาที่ใช้เท้าวาดอักษรในอ่างน้ำร้อนลงครั้งละ 1 นาที วิธีนี้จะช่วยให้เส้นเลือดอ่อนตัวลง ช่วยสลายของเหลวที่คั่งค้างและลดอาการบวมใส่ผ้าพันหรือเฝือกไว้ตลอดเวลาที่ ไม่ได้แช่เท้าหรือจนกว่าจะหายปวดหายบวม

 

 

ฝึกทรงตัว tumkunga_20060604004111.gif

 

พอข้อเท้าคุณดูเป็นปกติและไม่ปวดแล้ว คนส่วนใหญ่มักหยุดการรักษาและเริ่มคิดว่าจะกลับไปเล่นกีฬาต่อ แต่ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ การฝึกรับรู้ทิศทางและตำแหน่งการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อส่งเสริมเรื่องการทรงตัว เสถียรภาพ และการรับรู้ตำแหน่งของข้อเท้า

 

“เรื่อง นี้เป็นงานใหญ่ของเราครับ” แจ็ค แมคฟเลมีศัลยแพทย์ด้านกระดูกที่โรงพยาบาล Lankenau ในฟิลาเดลเฟียและแพทย์ประจำทีม 76ers กล่าว “เรา พยายามฝึกให้นักกีฬาคอยสังเกตตัวเองเวลาที่ข้อเท้ามีการหมุน ข้อมูลนี้จะถูกส่งไปที่สมองได้เร็วขึ้น และสมองจะส่งสัญญาณต่อด้านออกมา”

 

สิ่งที่คุณต้องทำคือ ยกเท้าข้างที่ปกติดีขึ้น และยืนบนเท้าอีกข้างในขณะแปรงฟัน ทำแบบนี้วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 นาที (สำหรับการฝึกขั้นก้าวหน้ากว่านี้ ดูที่หัวข้อ “ชุดกายบริหารปกป้องข้อเท้า” ในกรอบด้านล่าง) ผลการศึกษาเกี่ยวกับนักวอลเลย์บอลที่ไม่ได้ตีพิมพ์ฉบับหนึ่งรายงานว่า การฝึกทรงตัวจะลดโอกาสข้อเท้าพลิกลงไปได้ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง

 

นักวิจัยบอกว่าปกติเราจะใช้เวลา 30-50 มิลลิวินาทีในการหมุนข้อเท้า ในขณะที่สมองต้องการเวลามากกว่านั้น 3-4 เท่า นั่นคือ 120 มิลลิวินาทีในการส่งข้อมูลในหยุดการเคลื่อนไหวนั้น การฝึกทรงตัวจึงเป็นวิธีฝึกการคิดให้เร็วขึ้น

 

“คน ไข้ที่เคยบาดเจ็บรุนแรงที่ข้อเท้ามักจะรู้สึกว่าทำได้ไม่ดีเท่าตอนยังไม่บาด เจ็บ แม้ว่าที่จริงจะไม่เป็นแบบนั้นก็ตาม พวกเขาจะมองว่าข้อเท้าเป็นจุดอ่อนของร่างกายไปเลย วิธีแก้มีอย่างเดียวคือต้องทำให้พวกเขารู้สึกว่ามันเป็นส่วนที่แข็งแกร่งที่ สุดของร่างกายให้ได้ ด้วยการบริหารแบบนี้ล่ะครับ หัวใจสำคัญของการฝึกคือเพื่อสร้างสมดุล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในทุกด้านของชีวิต ไม่ใช่แค่ข้อเท้าอย่างเดียวหรอกครับ แต่การทรงตัวที่ดีด้วยข้อเท้าคือจุดเริ่มต้นที่ดีในการเคลื่อนไหวครับ” ดร.เคนเนดีกล่าว

 

tumkunga_20060604004111.gifชุดกายบริหารปกป้องข้อเท้า tumkunga_20060604004111.gif

 

ท่าฝึกเหล่านี้จะช่วยให้สมองคุณคอยจับตาดูตำแหน่งของข้อเท้าและปรับการทรงตัวให้ดีขึ้น ดร.คยุงโม ฮัน จากมหาวิทยาลัยซานโฮเซสเตท ซึ่งเป็นผู้ออกแบบท่าฝึกชุดนี้ กล่าว ฝึก ตามนี้วันเว้นวัน นาน 4 สัปดาห์ ท่าละ 3 เซ็ต เซ็ตละ 15 ครั้ง หาแผ่นยางยาว 6 ฟุตมาผูกเข้ากับบานพับประตูด้านล่างให้สูงกว่าระดับข้อเท้าเล็กน้อย แล้วเอาปลายอีกด้านผูกเข้ากับสันกระดูกข้อเท้าข้างที่ไม่บาดเจ็บ

 

1. Front Pull

 

ยืน หันหลังให้ประตูแล้วเดินก้าวออกมาจนแผ่นยางตึงพอประมาณ วางเท้าข้างที่ไม่ได้ผูกยางไว้ข้างหน้าห่างไปสัก 2-3 ฟุต จิกปลายเท้าลงพื้น งอเข่าเล็กน้อยเปิดส้นเท้าขึ้น ลากเท้าข้างที่ผูกยางไปข้างหน้าจนนำเท้าอีกข้างไป 2-3 นิ้ว จากนั้นกลับสู่ท่าเริ่มต้น

 

2. Back Pull

 

หันหน้าเข้าหาประตู ยืนบนเท้าข้างที่ไม่ผูกยาง งอเข่าเล็กน้อย ปลายเท้าจิกพื้น และยกส้นเท้าไว้ เริ่มต้นด้วยการวางเท้าที่ผูกยางไว้หน้าเท้าอีกข้างประมาณ 1-3 นิ้ว แล้วลากเท้าข้างที่ผูกยางไปข้างหลัง 2-3 ฟุต เหยียดสะโพกและเข่าตามไป ปลายเท้าติดพื้นไว้ส้นเท้ากระดก จากนั้นย้อนกลับสู่ท่าเริ่มต้น

 

3. Crossover

 

ยืน หันข้างที่ไม่เจ็บเข้าหาประตู แยกเท้าให้กว้างกว่าช่วงไหล่เล็กน้อย สะโพก และเข่างอเล็กน้อย เท้าข้างที่ไม่ผูกยางวางเป็นหลักไว้ ยกเท้าอีกข้างไขว้มา แล้วแตะปลายเท้าข้างเท้าอีกด้าน จากนั้นย้อนกลับสู่ท่าเริ่มต้น

 

4. Reverse Crossover

 

ฝึกท่า Crossover ซ้ำ แต่ให้เปลี่ยนมาหันข้างที่บาดเจ็บเข้าหาประตูแทน - Laura Roberson

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อย่าไปนวด เพิ่มการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อกันนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อย่าไปนวด เพิ่มการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อกันนะครับ

 

หมายถึง เท้าพลิกหรือคะ :047

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับกูรูมดแดง เป็นประโยชน์มากครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...