ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

“อัลไซเมอร์” โรคใกล้ตัวคนสูงวัย

โพสต์แนะนำ

“อัลไซเมอร์” โรคใกล้ตัวคนสูงวัย แนะ 9 วิธีป้องกัน

 

 

แม้ว่าโรคอัลไซเมอร์ จะถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในวงสนทนาต่างๆ แต่เอาเข้าจริงๆ เมื่อถามว่า อัลไซเมอร์เป็นอย่างไร อาการแบบไหน ใช่ ไม่ใช่..อัลไซเมอร์ ฯลฯ ก็มักจะเป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบ ดังนั้นคำอธิบายจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้น่าจะให้คำตอบกับทุกบ้าน ได้ดีที่สุด

 

พญ.อุมามน พวงทอง จิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์ ให้ข้อมูลว่า โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการสมองเสื่อม (dementia) ในประเทศไทย มีการศึกษาถึงความชุกของภาวะสมองเสื่อม โดยพบว่าคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 75 จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็น 2 เท่า ตามอายุของผู้ป่วยในทุกๆ 5 ปี เพศชายและเพศหญิง มีโอกาสเกิดโรคได้เท่าๆ กัน

 

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่จากการวิจัยซึ่งก้าวหน้าอย่างมาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า น่าจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมบางตัว ความผิดปกติทางชีววิทยาในสมอง คือ มีการสะสมของโบรตันอะมัยลอยด์ (Amyloid plaques) และใยโปรตีน (Neuro fibrillary tangles) ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นโปรตีนที่เรียกว่า เทาว์โปรตีน (tau) “Tau protein” ที่ก่อให้เกิดการพันกันยุ่งเหยิงของเซลล์ประสาท นำไปสู่การล่มสลายของโครงสร้างเครือข่ายเซลล์ประสาทในการที่จะติดต่อสื่อสาร ซึ่งกันและกัน

 

นอกจากนั้น ปัจจัยด้านพันธุกรรมก็มีส่วนทำให้เกิดโรคด้วยเช่นกัน ซึ่ง พญ.อุมามน อธิบายว่าอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พันธุกรรมในโรคอัลไซเมอร์ที่เริ่มอาการตั้งแต่อายุน้อย คือ โรคอัลไซเมอร์ที่เริ่มแสดงอายุตั้งแต่ช่วง 40-60 ปี ซึ่งพบได้น้อยมาก ซึ่งมียีนที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ตัวหลัก คือ พรีซีนิลิน 1 พรีซีนิลิน 2 และอะมัยลอยด์พรีเคอร์เซอร์โปรตีน นอกจากนี้ ผู้ที่มีประวัติว่าพ่อแม่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็จะมีโอกาสเป็นโรคสูงถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว ส่วนพันธุกรรมในโรคอัลไซเมอร์ที่มีอาการเมื่ออายุมาก คือยีนหลักที่เกี่ยวข้อง อะโปไลโบรโปรตีนอี ที่เชื่อว่า เป็นตัวหลักที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ จะเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดโรค แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนมียีนตัวนี้ จะต้องเป็นโรคอัลไซเมอร์แน่นอน

 

พญ.อุมามน แจงถึงลำดับการดำเนินของโรคอัลไซเมอร์ให้ฟังว่า เป็นการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทอย่างช้าแต่จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีความแตกต่างระหว่างบุคคล หมายความว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีอาการแบบเดียวกันเสมอไป อาการอาจมีการขึ้นๆ ลงๆ ได้ และการดำเนินโรคช้าเร็วต่างกันได้ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 3-20 ปี โดยเฉลี่ยที่ประมาณ 8 ปี ขึ้นกับระยะเมื่อได้รับการวินิจฉัยและภาวะสุขภาพทางกายโดยรวมของผู้ป่วย นั้นๆ ด้วย

 

สำหรับอาการหลักที่พบในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้น จิตแพทย์กล่าวว่า เป็นอาการหลงลืมที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากหลงลืมเรื่องใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น ไปจนถึงไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ ถามคำถามเดิมซ้ำๆ เล่าเรื่องเดิมซ้ำๆ นึกคำพูดหรือประโยคไม่ออก เรียกชื่อสิ่งของผิด สับสนเรื่องเวลา สถานที่ รวมถึงอาจมีอารมณ์หงุดหงิด ซึมเศร้า วิตกกังวล ระแวง เห็นภาพหลอน อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจวัตรประจำวัน โดยสรุปแล้วผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีความบกพร่องในด้านต่างๆ 4 ด้านหลัก ได้แก่

 

1.ความบกพร่องด้านความจำ โดย เฉพาะความระยะสั้น คือ ความจำหลังจากรับรู้สิ่งเร้าแล้วเพื่อนำมาใช้งาน ความจำนี้จำได้นาน 20-30 วินาที ความจำระยะสั้นนี้จะสูญสลายไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการทบทวนอยู่ตลอดเวลาจึงจะรักษาไว้ได้ ทำโดยการท่องซ้ำๆ เช่น เรากำลังคุยโทรศัพท์กับเพื่อนเพื่อขอเบอร์ของเพื่อนอีกคน เมื่อเพื่อนบอกหมายเลขโทรศัพท์แต่เราไม่มีสมุดจด ก็ท่องไว้ในใจ และรีบวางสายเพื่อต่อสายถึงเพื่อนคนนั้น แต่ในขณะที่เรากำลังกดเบอร์โทรศัพท์นั้นอยู่ ปรากฏว่า มีใครพูดแทรกขึ้นมา หรือชวนคุย ก็อาจทำให้เราลืมหมายเลขโทรศัพท์นั้นไปได้ทั้งๆ ที่ยังกดหมายเลขไม่จบ

 

2.ความบกพร่องด้านการใช้ภาษา การใช้เหตุผล รวมถึงอาจสับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่

 

3.บุคลิกภาพ หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น มีพฤติกรรมซ้ำๆ หรือพูดซ้ำๆ ตลอด มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายที่ไม่เป็นที่เป็นทาง ผู้ป่วยอาจจะจำใครไม่ได้เลย หรือจำเรื่องราวบางสิ่งได้เป็นนาที และลืมภายในไม่กี่นาที

 

4.ความบกพร่องในการใช้ชีวิตประจำวันด้วยตนเอง เช่น การรับประทาน อาจเคี้ยว หรือกลืนอาหารเองไม่ได้ หรือการขับถ่าย รวมไปถึงเรื่องการดูแลความสะอาดของร่างกาย

 

ทั้งนี้ การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อาจทำให้ลูกหลาน คนดูแล สมาชิกในครอบครัวรู้สึกรำคาญ เหน็ดเหนื่อย ท้อใจได้ ซึ่ง พญ.อุมามน ให้คำแนะนำที่จำเป็นหลักๆ ดังนี้

 

• แบ่งความรับผิดชอบให้สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ บ้าง เรื่องการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ทั้งในด้านกำลังกาย กำลังใจ และทุนทรัพย์ blank.gif blank.gif

• เมื่อมีปัญหาในการดูแลผู้ป่วย ควรบอกเล่าให้สมาชิกในบ้านได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ หาทางปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ป่วย ในบางครั้งถ้าปัญหามากเกินกว่าที่ผู้ดูแลจะรับมือไหว ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการร่วมปรับยา และให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วย

 

แนะ 9 วิธีป้องกัน “อัลไซเมอร์”

 

นอกจากนี้ ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการสมองเสื่อมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จิตแพทย์แนะนำ 9 ข้อสำคัญ ดังนี้

 

1.ควรงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะส่งผลต่อสมอง

 

2.ควรระวังเรื่องการใช้ยา ไม่ควรรับประทานยาสุ่มสี่สุ่มห้า ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้งและควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำไปให้ แพทย์ดูด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งยาซ้ำซ้อน

 

3.ควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ

 

4.สำหรับผู้สูงอายุที่เดินลำบากควรมีคนดูแล เช่น เวลาเข้าห้องน้ำควรมีคนไปเป็นเพื่อน เพราะอาจเกิดการลื่นหกล้มหัวฟาดในห้องน้ำได้

 

5.เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุควรหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และไม่ควรลืมเจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง

 

6.ตรวจเช็กความดันเลือดสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด หากพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงก็ต้องปฏิบัติตนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะมีผลกระทบต่อภาวะสมองเสื่อมได้

 

7.ควรออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้สูงอายุไม่ควรหักโหมจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดโทษได้

 

8.ควรหากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามสมควร

 

9.เมื่อสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการหลงๆ ลืมๆ มากผิดปกติ หรือมีอาการบ่งชี้อื่นๆ ที่น่าสงสัยก็ควรรีบไปพบประสาทแพทย์ หรือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุทันที

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคสมองเสื่อม | โรคอัลไซเมอร์ |dementia | alzheimers

 

 

ทุกท่านคงเคยได้ยิน ได้ฟัง เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่จะรู้จักมากน้อยแค่ไหน สงสัยว่าตนเองหรือญาติป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ และจะทำอย่างไรต่อไป เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้สักหน่อยดีไหม

 

อัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วนเป็นแล้วไม่มีวันหาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกทุกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ในสหรัฐประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กว่า3-4 ล้านคน และจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น กล่าวคือจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปี หลังอายุ 60 ปี แม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษา ญาติสามารถช่วยผู้ป่วยโดยการศึกษาโรคนี้และช่วยผู้ป่วยอย่างถูกวิธี

 

สาเหตุของโรค

  1. จากความผิดปกติในเนื้อสมองจะพบลักษณะที่สำคัญสองอย่างคือกลุ่มใยประสาทที่พันกัน Neurofibrillary Tangles.และมีสาร Beta Amyloid ในสมอง ใยสมองที่พันกันทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง การที่สมองมีคราบ Beta Amyloid หุ้มทำระดับ acetylcholine สมองลดลงสาร acetylcholine จะมีส่วนสำคัญในเรื่องการเรียนรู้และความจำ
  2. การอักเสบ inflammatory สาร amyloid เมื่อสลายจะให้สารอนุมูลอิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง
  3. กรรมพันธุ์ โรค Alzheimer ทีเกิด late onset จะมีการเพิ่มของ gene ที่ควบคุมการสร้าง apolipoprotein E4 (ApoE 4) ส่วนที่เกิด early onset จะมีการเปลี่ยนแปลงของ gene presenilin-1 (PS1) และ presenelin-2 (PS2)

 

 

 

การดำเนินโรค

 

อาการจะเริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปี แต่บางรายเป็นเร็วกว่านั้นอาจจะเริ่มตอนอายุ 40 ปีอาการเริ่มเป็นใหม่ๆจะมีอาการขี้ลืม และสูญเสียสมาธิ ซึ่งอาการแรกๆอาจจะวินิจฉัยยากเพราะอาการนี้ก็เป็นกับผู้สูงอายุเป็นส่วน ใหญ่ การดำเนินโรคจะค่อยเป็นค่อยไป และทรุดลงในช่วงระยะ 1-3 ปี มีปัญหาเรื่องวันเวลาสถานที่ และอาจหลงทางกลับบ้านไม่ถูก ลืมชื่อญาติสนิท หวาดระแวง สับสน โดยเฉพาะกลางคืนอาจไม่นอนทั้งคืน จะออกนอกบ้าน และมีพฤติกรรมก้าวร้าว บางคนก็กลับเปลี่ยนไป เป็นไม่สนใจสิ่งแวดล้อม งดงานอดิเรกที่เคยทำ เช่น เก็บกวาดต้นไม้ หรือดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ ส่วนหนึ่งเพราะดูและอ่านไม่ค่อยเข้าใจ คิดคำนวณไม่ได้ ใช้จ่ายทอนเงินไม่ถูก เมื่อเวลาผ่านไปอีก 2-3 ปี อาการยิ่งทรุดหนัก ความจำเลวลงมาก จำญาติไม่ได้ เคลื่อนไหวช้าลง ไม่ค่อยยอมเดิน หรือเดินก็เหมือนก้าวขาไม่ออก ลังเล ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่นอาบน้ำ แปรงฟัน รับประทานอาหารไม่ได้ พูดน้อยลง ไม่เป็นประโยค ที่สุดก็ไม่พูดเลย กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ต้องมีคนดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลา 2-10 ปี โดยเฉลี่ย 10 ปี ด้วยโรคแทรก เช่น ติดเชื้อจากปอดบวม หรือแผลกดทับ

 

 

 

 

โรค Alzheimer สามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระยะได้แก่

  1. ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะรับรู้ว่าขี้ลืม ลืมปิดเตารีด ลืมปิดประตู ลืมชื่อคน ลืมรับประทานยา ต้องให้คนช่วยเขียนรายการที่จะทำ
  2. ระยะที่สองผู้ป่วยจะสูญเสียความจำโดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดใหม่ๆโดยอาจจะจำเรื่องราวในอดีต เริ่มใช้คำพูดไม่ถูกต้อง อารมณ์จะผันผวน
  3. ระยะที่สาม ผู้ป่วยจะสับสน ไม่รู้วันรู้เดือน บางรายมีอาการหลงผิด หรือเกิดภาพหลอน บางรายอาจจะก้าวร้าวรุนแรง ปัสสาวะราด ไม่สนใจตนเอง

 

อันที่จริงโรคนี้มีมานานแล้วโดย Dr. Alois Alzheimer เป็นแพทย์ชาวเยอรมันเป็นผู้บรรยายไว้ตั้งแต่ปี คศ.1906 ที่นำมากล่าวขานกันระยะหลังนี้มากขึ้น ด้วยเหตุมีผู้ที่เคยเป็นผู้นำประเทศอย่าง Ronald Reagan ป่วยเป็นโรคนี้ และ วงการแพทย์ค้นพบปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้มากขึ้น ที่สำคัญคือ สามารถผลิตยาที่ช่วยทำให้อาการของอัลไซเมอร์ดีขึ้น[/indent]

 

 

ปัจจัยเสี่ยงคือ
  1. อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมากดังกล่าว พบว่าร้อยละ25ของผู้ป่วยอายุ 85ปี เป็นโรคนี้

  2. โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ การรักษาความดันจะทำให้ความจำดีขึ้น

  3. เรื่องของกรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โอกาสที่จะเป็นก็มากขึ้น เรื่องพันธุกรรมนี้มีความก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น ทราบว่าความผิดปกติของยีน (gene) ที่สร้าง amyloid precursor protein จะทำให้ได้โปรตีนที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดตะกอนที่เรียกว่า amyloid plaques ในเนื้อสมอง และผู้ที่มี gene บนโครโมโซมที่ 19 ชนิด Apolipoprotein E4 จะมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ ยังพบโปรตีนที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น Tau protein ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary tangles) ที่พบเป็นลักษณะจำเพาะของพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์

 

ยากับโรคอัลไซเมอร์

 

การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เริ่มมีความสำคัญ ในต่างประเทศพบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนมี โอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่า และเป็นโรคช้ากว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยานี้

 

ยากลุ่มต้านการอักเสบที่เรียกว่า NSAID ก็พบว่า อาจมีบทบาทลดอุบัติการณ์ของโรค เนื่องจากพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์มีประวัติใช้ยากลุ่มนี้น้อยกว่าผู้ ที่ไม่ได้เป็น นอกจากนี้ยาหรือสารต้านอ๊อกซิแดนท์ต่างๆ เช่น วิตามิน C และ E รวมถึงใบแปะก๊วย (gingo bibloa) ก็กำลังอยู่ในความสนใจ และมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ว่าอาจจะช่วยหรือป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้

 

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีปริมาณเซลล์สมองลดลง และสารสื่อประสาท อะเซติลโคลีนลดลงด้วย สารสื่อประสาทนี้เป็นตัวเชื่อมโยงคำสั่งต่างๆ ของเซลล์สมองที่ควบคุมด้านความจำ ความคิดอ่านและพฤติกรรมต่างๆ เมื่อสารอะเซติลโคลีนลดลง จึงทำให้เกิดอาการต่างๆของโรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบันมียาที่ช่วยเพิ่มปริมาณของสารอะเซติลโคลีนในสมอง โดยออกฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์อะเซติลโคลีนเอสเตอเรสที่ย่อยสลายอะเซติลโคลีน ยานี้จึงช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีอาการดีขึ้นได้ และชลอการทรุดลงของโรคถ้าได้ใช้ในระยะเริ่มแรก แต่จะไม่ทำให้โรคหายขาด
ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)เป็น โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากเซลส์สมองตาย ทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ,การควบคุมอารมณ์ตัวเอง, ความทรงจำจนถึงขั้นไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น พูดไม่ได้ ,แปรงฟันไม่ได้ เป็นต้น ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น กล่าวคือจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปี หลังอายุ 60 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไปแล้วยังไม่ป่วยเป็นโรคนี้ อัตราการเกิดโรคจะลดลงถึง 50%

 

อาการของโรค

 

โรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ โดยในแต่ระยะจะมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดการตายของเซลล์สมอง รู้ได้อย่างไรว่ากำลังจะเป็น "อัลไซเมอร์"

 

1. หลงๆลืมๆ เช่น ลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์ หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้

2. สับสนเรื่องเวลา สถานที่ กลับบ้านไม่ถูก (ข้อนี้ พวกหนีเมียไปเที่ยวนอกบ้านไม่เกี่ยว 555)

3. จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกภายในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า (รู้ไม๊ว่าผมเป็นลูกใคร 555)

4. มีปัญหาเรื่องการพูด ลืม หรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำ หรือประโยคซ้ำๆ

5. ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก

6. มีปัญหาเรื่องการนับ หรือถอนเงิน การใช้โทรศัพท์

7. มีพฤติกรรม ก้าวร้าว , ซึมเศร้า, หูแว่ว, หวาดระแวง

8. ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น, อาบน้ำไม่เป็น,การขับถ่ายไม่เป็นที่ เป็นต้น

 

 

 

การดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยง

 

 

เมื่อรู้แล้วว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากการที่เซลล์สมองตาย เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากเป็นโรคนี้เราจะต้องทำตัวอย่างไร มาดูกัน

 

 

1.รับประทานอาหารที่บำรุงสมองเป็นประจำ เพื่อ บำรุงและชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์สมอง ได้แก่อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ , กรดไขมันโอเมก้า-3,วิตามิน บี6 บี12 เช่น ผัก,ผลไม้ ,ธัญพืช ,ปลา , วิตามิน E, ใบแป๊ะก๊วย, น้ำมันปลา เป็นต้น งานวิจัยของมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ระบุว่า

มีผักและผลไม้ 5 ชนิด มีสารประกอบที่ทำหน้าที่เหมือนกับยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ได้คือ บร็อกโคลี มันฝรั่ง ส้ม แอปเปิ้ล และหัวไชเท้า โดยเฉพาะบร็อกโคลี มีสารดังกล่าวเยอะที่สุด

 

2.หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ของทอด อาหารเค็มจัด หวานจัด และอาหารหมักดอง อาหาร พวกนี้นอกจากทำให้ผูที่ทานอารหารเหล่านี้เป็นประจำ ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด, ไขมันในเลือดสูง,เบาหวาน ตามสถิติยังพบว่า ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นด้วย

 

3.บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นออกกำลังกายทำให้เลือดไหวเวียนดี ได้รับออกซิเจนเป็นผลดีต่อระบบประสาท รวมถึงการบริหารสมองด้วย เช่น การเล่นเกมอักษรไข้ว, เกมต่อภาพ,เกมทดสอบความจำ หรือการเรียน เต้นรำ, ดนตรี ,ภาษาใหม่ๆ เป็นต้น

 

4.จัดการกับความเครียด เพราะความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์สมอง จึงควรเรียนรู้ในการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ด้วยการผ่อนคลาย และพักผ่อนให้เต็มที่ เช่น การนั่งสมาธิ , การนอนหลับ

 

 

เพิ่มเติม http://thai-healthy..../2011/02/2.html

http://thai-healthy....tmlรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรค

 

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องได้ตั้งแต่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองขนาดใหญ่ จนถึงขนาดเล็กในระดับเส้นเลือดฝอย ก็เป็นอีกสาเหตุ

หนึ่งพบบ่อยในผู้สูงอายุไทย

 

2. ผู้ป่วยโรคพากินสัน หรือโรคที่ป่วยด้วยอาการสั่นที่เป็นมาระยะนาน ๆ เริ่มพบว่าผู้ป่วยมีการสูญเสียความสามารถของสมองในเรื่องของความจำ และการ

เรียนรู้ด้วยไปด้วย แต่ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคสมองฝ่อกลุ่มอาการหลงลืมมากกว่าผู้สูงอายุอื่น ๆ ต้องใช้ทักษะทางสมองมีการฝึกคิด ใช้ทักษะ

ทางสมองมากว่า แต่ใช้มากเกินไปก็พบว่า ถ้าความคิดออกไปในแง่ของความเครียด ความเครียดก็อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่อาจทำให้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมได้

 

3. ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมากกว่าอย่างอื่น ๆ ปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ลักษณะอาการที่ส่งผล

ให้ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเสื่อม เกิดการ ตีบ แตก ตัน แล้วก็ทำให้สมองฝ่อได้มากขึ้น เมื่อมีอายุมากขึ้น

 

การลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

 

1. การใช้ชีวิตแต่ละวัน ทำให้ผู้ป่วยแต่ละคนมีความเสี่ยงไม่เท่ากันขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เป็นเรื่องสำคัญ แต่ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยอื่น

เข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น การศึกษา การใช้สมอง ความเครียดในการดำรงชีวิต อาหารคงเป็นส่วนนึง การควบคุมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไขมันต่ำ

น้ำตาลต่ำ รับประทานผักผลไม้ที่ไม่หวานจัด และรับประทานโปรตีนที่มีไขมันต่ำ ก็จะช่วยให้คุณภาพของหลอดเลือดดีขึ้น ลดความเสี่ยง

 

2. การออกกำลังโดยเฉพาะเรียกว่าการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน หรือการออกกำลังกายแบบแอโรบิคก็จะช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น

สมองก็ได้รับเลือดที่ดี ได้รับออกซิเจนที่ดี การออกกำลังกาย ทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น ช่วยลดคลอเลสตอรอลตัวที่ไม่ดีและไขมันตัวที่ไม่ดีในเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไป

เลี้ยงสมองที่ดี

 

3. การออกกำลังกายสมองด้วยการฝึกคิด ฝึกจด ฝึกจำ เข่น อักษรไขว้ แต่ถ้าไม่ชอบการฝึกทักษะสมองลักษณะนี้จะกลายเป็นความเครียดมากกว่าถือว่าไม่ดี

เพิ่มความเสี่ยง การฝึกทักษะสมองจะต้องเป็นสิ่งที่ถูกจริต ทำแล้วเกิดความชอบทำให้เกิดผลดีกับสมอง การฝึกทักษะสมองด้านศิลปะ เช่น การฝึกงานด้านศิลปะ

ก็จะช่วย การฟังดนตรี การนั่งสมาธิสวดมนต์ ทำแล้วรู้สึกสบายใจมีความสุขเพลิดเพลิน แต่ไม่ได้ทำในชีวิตประจำวันบ่อยนัก สิ่งเหล่านี้ช่วยได้

 

วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หรือการอยู่ร่วม

 

การดูแลหรือการอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ต้องอาศัยความรัก และความเข้าใจที่สูงมาก เนื่องจากว่าสภาพของสมองมีการฝ่อลงหรือการเหี่ยวลง ทำให้

การแสดงออกหรือพฤติกรรมหลาย ๆ ไม่เหมือนเดิม แต่หน้าตาเขายังเป็นคุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า เหมือนเดิม อาการอาจก้าวร้าว มีพฤติกรรมเหมือนเด็ก ๆ

หรือขาดการยับยั้งชั่งใจ มีพฤติกรรมการแสดงที่ไม่เหมาะสม โดยที่ตัวผู้ป่วยไม่รู้ตัว ดังนั้นการอยู่ร่วมกันกับเขาต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจเป็นอย่างมาก

การรักษาใช้ยาเป็นการตอบโจทย์แค่ครึ่งเดียวและยาที่ใช้รักษาโรคในปัจจุบันเองก็ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพง ส่วนการรักษาอีกครึ่ง คือการอาศัยความรักและความ

เข้าใจ

 

 

http://www.stou.ac.th/study/sumrit/11-55/page1-11-55.html

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่

 

ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถทราบสาเหตุของโรคได้อย่างแน่ชัด แต่ก็ได้มีการระบุ ปัจจัยหลายๆ

อย่างที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Possible Risk Factors for

Alzheimer's disease) คือ

 

1. การสูงอายุ โดยภาวะการเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น โดย

ช่วงอายุระหว่าง 65 - 74 ปี พบว่าจะมีอัตราเสี่ยงโดยเฉลี่ย 3%

ช่วงอายุระหว่าง 75 - 84 ปี พบว่ามีอัตราเสี่ยงสูงขึ้นเป็น 19%

 

2. ประวัติครอบครัว กรรมพันธุ์ และ Down Syndrome จากการศึกษาพบว่าใน

คู่แฝดแท้ ถ้าแฝดคนหนึ่ง ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์แล้ว คู่แฝดอีกคนหนึ่งจะมี

ภาวะความเสี่ยงสูงถึง 40-50% และนอกจากนั้นถ้าหากมีญาติในครอบครัว

ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ พบว่าก็จะมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นเพิ่มสูงขึ้น

ในเรื่องกรรมพันธุ์พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของยีนและในผู้ที่เป็น Down

Syndrome ถ้ามีอายุยืนถึง 40-50 ปี จะพบว่ามีภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้น

 

3. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่ายีนจะเป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงอัลไซเมอร์ใน

คู่แฝดแท้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งแวดล้อมก็น่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เสี่ยงต่อ

การเกิดโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากใพบว่าคู่แฝดนั้นอาจได้รับการวินิจฉัยว่า

เป็นโรคอัลไซเมอร์ต่างกันถึง 15 ปี และผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในฮาวาย

จะมีอัตรา การเป็นอัลไซเมอร์สูงกว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยุ่ในญี่ปุ่น

 

4. การตรวจพบโปรตีนชนิดหนึ่งในยีนที่อยู่ในโครโมโซมคู่ที่ 19 ผลจากหลายๆ

การวิจัย ระบุว่า apolipoprotein E4 (APOE4)จะเพิ่มภาวะความเสี่ยงต่อการ

เป็นโรคอัลไซเมอร์การค้นพบครั้งนี้จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการป้องกัน

ได้ถ้ามีการพัฒนายา

 

5. การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ อย่างไม่สม่ำเสมอ จากการศึกษา

พบว่าผู้ที่ใช้ยาในกลุ่ม NSAIDS เป็นประจำ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี มี

อัตราเสี่ยงน้อยลงถึง 30-60 % ที่จะเป็นอัลไซเมอร์ งานวิจัยอีกขั้นหนึ่งระบุว่า

หลังจากที่มีการใช้ NSAIDS เพิ่มขึ้นพบว่า ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ

และอารมณ์ลดลง อย่างไรก็ตามปัญหาของการใช้ยากลุ่มนี้คือมีผลต่อ

กระเพาะอาหาร เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

6. การใช้หรือไม่ได้ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนระยะสั่นในวัยหมดประจำเดือนจาก

หลายๆกรณีการศึกษาวิจัย พบว่าหญิงในวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับฮอร์โมน

ทดแทนสามารถป้องกันหรือ ชลอโรคอัลไซเมอร์ได้ ดังนั้นฮอร์โมนเอสโตรเจน

อาจมีผลต่อการช่วยรักษาโรคนี้ได้ ผลเสียของการใช้วิธีนี้ก็คือ ทำให้มีภาวะ

เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นถึง 20-30 % และยังเสี่ยงต่อการ

เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นถ้าใช้ฮอร์โมนเอสดตรเจนเพียงอย่างเดียวโดย

ไม่มีการใช้โปรเจสเตอโรน ร่วมด้วย

 

7. ภาวะขาดสารอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนท์ เป็นที่เชื่อกันว่า โมเลกุลออกซิเจน

ในร่างกาย หรืที่เรียกว่า Free radicles เป็นต้นต่อของการเกิดมะเร็งโรค

ลำไส้และยังมีส่วนทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ สารอาหารที่มีสารแอนตี้

ออกซิแดนท์เป็นองค์ประกอบ วิตามินเอ / ซี / อี / ซีเลเนียม

 

8. ภาวะเกิดสมองกระทบกระเทือน มีหลักฐานที่ชี้แนะว่า การที่สมองได้รับการ

กระทบกระเทือนจนทำให้หมดสติจะมีผลทำให้เกิดโอกาสเป็นอัลไซเมอร์สูงขึ้น

 

9. มีระวัติ Down Syndrome ในครอบครัว ถ้ามีญาติใกล้ชิดป็นโรคดาวน์

ซินโดรม จะปรากฏว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น

 

10. การสัมผัสหรือเจือปนกับสารสังกะสี จำนวนมากนักวิจัยชาวออสเตรเลีย

พบว่า การได้รับสารสังกะสีมากเกินไป จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบาง

อย่างของสมองคล้ายกับที่พบในอัลไซเมอร์ ยังหาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้

 

11. การสัมผัสหรือเจือปนกับสารอลูมิเนียมสารอลูมิเนียมปกติจะอยู่ในเนื้อเยื่อ

ของพยาธสภาพบางอย่างในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ได้มีการศึกษาหนึ่ง

ระบุว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มอัตราเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์ กับปริมาณ

น้ำดื่มที่มีอลูมิเนียมสูงกว่า 11 ไมโครกรัม/ลิตร ขึ้นไป อย่างไรก็ตามยังหา

ข้อสรุปความสัมพันธืนี้ไม่ได้

 

 

http://www.thailabon...m/alzheimer.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไปเจอครับแปลมาให้อ่าน

 

การวินิจฉัยโมเลกุลเทคโนโลยีการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

ความสามารถ

วีทีที(VTT) ได้พัฒนาให้ชีวะโมเลกุลให้เป็นที่ยอมรับและวิศวะกรรมแอนติบอดี้สำหรับการวินิจฉัยการรักษาและการวิเคราะห์เช่นเดียวกับการค้นพบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ(biomarker) ปัจจุบันนี้แอนติบอดี้มีความความผูกพันที่น่าสนใจเนื่องด้วยมันมีความสามารถในการสร้างตัวเองเพื่อต่อต้านโมเลกุลที่มีค่าความสัมพันธ์คงที่ในช่วงนาโนโมลา(nanomolar)

แอนติบอดี้กับ สารก่อภูมิแพ้, ตัวรับเซลล์, ยาต่างๆ, สารพิษ และโมเลกุลขนาดเล็กอื่นๆ ที่เหมาะกับการวินิจฉัยและการบำบัดแบบใหม่ที่มีการสร้างขึ้นโดยใช้ฟาจดิสเพลย์(Phage Display)และวิธีการตรวจคัดกรองอย่างสูง

การทำงานของวีทีทีคือการนำแอนติบอดี้ของฟาจดิสเพลย์(Phage Display)ใช้ในการแยกความผูกพันจำเพาะได้อย่างรวดเร็ว วิศวะกรรมแอนติบอดี้สามารถใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณสมบัติของแอนติบอดี้ที่ถูกแยกตัว เช่น สำหรับการวินิจฉันโรคติดเชื้อโดยการใช้การตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การวินิจฉัยโมเลกุลมีความสำคัญพิเศษกับต่อต้านแฮปเทนแอนติบอดี้(Anti-hapten antibodies)และการพัฒนาของแอนตี้บอดี้เบสไมโคร(Antibody-based micro)และโปรแกรมนาโนเทคโนโลยี

ในด้านเทคโนโลยีการสร้างระบบภูมิคุ้มกันวีทีทีมุ่งเน้นการวิจัยเรื่องภูมิแพ้และพัฒนาการวินิจฉัยและรักษาแอนติบอดี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ผู้ป่วยเฉพาะเจาะจง

ความท้าทาย

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพระบุโดยจีโนมิกส์(Genomics),โปรทีโอมิกส์(Proteomics)และเมตาโบโลมิกส์(Metabolomics) ให้การวินิจฉัยและการบำบัดขั้นสูงที่ช่วยให้การสันนิษฐานและบำบัดโรค สร้างความท้าทายสำหรับเจนเนอร์เรชั่นที่มีประสิทธิภาพและความรวดเร็วของแอนติบอดี้ที่มีความเฉพาะเจาะจงมาใช้ในการตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ(biomarker) การแยกความจำเพาะพูกผันที่แตกต่างกันสามารถพร้อมๆกันจากยีนแอนติบอดี้ โดยใช้ตัวเลือกจากหลายๆที่และขั้นตอนการคัดกรอง

วิธีแก้ปัญหา

เรามีการสร้างคลังฟาจแอนติบอดี้(Antibody phage libraries)จากแหล่งภูมิคุ้มกัน,ไม่มีภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยที่ได้รับการแยกตัวของแอนติบอดี้สามารถดำเนินการได้ในหลอดทดลอง(vitro)และในสัตว์ทดลอง(vivo)หรือใช้เทคนิคการคัดกรองโดยตรง

การผลิตขนาดใหญ่ของชิ้นส่วนแอนติบอดี้ถูกทำขึ้นที่เอสเชอริเชีย โคไล(Escherichia coli) วิธีการใช้ชีวะโมเลกุลและระบบภูมิคุ้มกันถูกนำมาใช้สำหรับการจำแนกคุณสมบัติของความจำเพาะพูกผัน

ความสัมพันธ์, ความจำเพาะ, ความเสถียรและการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพของแอนติบอดี้นั้นสามารถปรับแต่งสายพันธุ์และการสลับดีเอนเอ

การฟิวชั่นกับเปปไทด์แท็ก มีการหยุดการเคลื่อนที่หรือการแสดงคุณสมบัติที่แตกต่างกันสามารถทำได้โดยการเพิ่มการบังคับใช้ของพวกนั้น

 

การสร้างคลังฟาจแอนติบอดี้

-การแยกแอนติบอดี้จากคลังฟาจดิสเพลย์(Phage display libraries) เช่น การใช้ความเร็วสูงและตัวคัดกรองในหลอดทดลองในที่ทำการโดยหุ่นยนต์

-การผลิตขนาดใหญ่ของชิ้นส่วนแอนติบอดี้ใน อี โคไล

-การแสดงลักษณะคุณสมบัติของแอนติบอดี้ที่มีผลผูกพัน

-การปรับปรุงคุณสมบัติของแอนติบอดี้

ประโยชน์ที่ได้รับ

เทคโนโลยีการรีคอมบีเน้นท์แอนติบอดี้(Recombinant anitibody technology) ทำให้

-การแยกของรีคอมบีเน้นท์แอนติบอดี้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม

-การสร้างแอนติบอดี้ต่อต้านการป้องกัน,ความเป็นพิษและแอนติเจนของตัวเอง

-การตัดต่อแอนติบอดี้ให้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการ

-การผลิตชิ้นส่วนแอนติบอดี้ด้วยราคาที่คุ้มค่า

 

 

...ที่เมืองไทยเองก็มีการวิจัยและบริการบำบัดรักษาในลักษณะนี้ ที่ศูนย์ชีวะโมเลกุล ใครรู้จักที่อื่นยังไงบอกกันได้นะครับกำลังหาพวก alternative medicine อยู่ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...