ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
kumponys

ช่วยกันระมัดระวังการคัดลอกเนื้อหาที่อาจมีลิขสิทธิ์

โพสต์แนะนำ

คุณกัมพลค่ะ

 

รบกวนสอบถามเพิ่มเติมค่ะ สงสัยว่าทำไม ID ของดิฉันเข้าไปแสดงความคิดในห้องคุยกันขำๆ เรื่องทองไม่ได้ค่ะ

ต้องให้ทำอย่างไร ถึงจะสนทนากับเพื่อนๆ ได้ค่ะ

 

ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะค่ะ

ณสุวรรณ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้างั้นให้เจ้าของห้อง ลบเฉพาะหนังออกไปได้มั๊ยคะ เพราะข้อมูลอื่นๆยังพอมีประโยชน์กับเพื่อนๆที่เเทรดทอง

เฮียกัมคะ เห็นด้วยกะคุณดอดค่ะ

เน้ือหาที่โพสในห้องเอนจอยมีประโยชน์มากๆค่ะ ขอความกรุณาด้วยนะคะ :_087

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้างั้นให้เจ้าของห้อง ลบเฉพาะหนังออกไปได้มั๊ยคะ เพราะข้อมูลอื่นๆยังพอมีประโยชน์กับเพื่อนๆที่เเทรดทอง

เห็นด้วยครับ ข้อมูลดีๆในกระทู้นี้ก็เยอะมาก (ทฤษฏี แนวทางต่างๆที่เพื่อนรวบรวมมาไว้) ลบแค่ที่ผิดออกไป เสียดายครับหากจะลบทั้งหมด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:01 คุณกัมพลค่ะ ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลการละเมิดลิขสิทธิ์ นะคะ

เพื่อให้หลาย ๆ ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติมค่ะ

 

:01 กราบขอบคุณ รศ.ดร.สุมาลี วงษ์วิฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โดย รศ.ดร.สุมาลี วงษ์วิฑิต

......................................................................

ด้วยความเคารพท่านอาจารย์ ขอนำเอกสารการบรรยายของท่านอาจารย์มาลงเผยแพร่

เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ เพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ในงาน Internet แม้อาจารย์จะบรรยายนานแล้ว แต่เห็นว่าเนื้อหาดังกล่าวนี้ยังคงทันสมัย สามารถใช้อ้างอิงประกอบการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ค่ะ

 

:) การค้นข้อมูลผ่าน Google ซึ่ง Google เป็นคนกลาง ถ้าหากว่ามีการทำละเมิดเกิดขึ้นโดยคนที่ใช้ Google สมมติว่าเราอยากรู้เรื่องลิขสิทธิ์จึงเปิดเข้าไปใน Google มีคนเขียนเรื่องลิขสิทธิ์เต็มไปหมด พอคลิกเข้าไปแล้ว copy ข้อมูลมาวาง แล้วสั่ง print ออกมาเป็นกระดาษแล้วเอาไปถ่ายเอกสาร การ Download ถือว่าเป็นการทำซ้ำหรือไม่ การ copy แล้ววางใน word เป็นการทำซ้ำหรือไม่ print ออกมา อัดสำเนาเอาไปขายผิดหรือไม่ ทั้งหมดนี้ คนที่ทำแบบนี้และตัว Google ซึ่งเป็นคนกลางที่ทำให้เราไปค้นข้อมูลต้องรับผิดด้วยหรือไม่

:) ต้องดูก่อนว่าคนที่ Copy ผิดหรือไม่ งานที่อยู่ใน Internet เป็นงานประเภทไหน เป็นงานที่ได้รับลิขสิทธิ์หรือไม่ การละเมิดลิขสิทธิ์ในงาน Internet ยังมีปัญหาอยู่ ศาลอเมริกาออก DMCA และให้กฎหมายไทยแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้มีการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต ปัญหาคืองานเหล่านี้มีลิขสิทธิ์หรือไม่ตามกฎหมายไทย และการกระทำเช่นไร จะมองว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ สมมติว่า เราเปิด Google พอเข้าไป search คำว่า ลิขสิทธิ์ แล้วปรากฏบทความเรื่องลิขสิทธิ์ ถามว่าช่วงระหว่างนี้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ทำซ้ำหรือไม่ ทำซ้ำชั่วคราวได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าสงสัยและยังเป็นปัญหาอยู่ เมื่อเปิดออกมาไม่ได้โหลดลงเครื่อง แต่ถ้าเปิดออกมาโหลดลงเครื่องก็ชัดเจนแล้วว่ามีการทำซ้ำ แต่เปิดออกมาอ่านแล้วไม่เอา หรือเปิดออกมายังไม่ได้อ่าน ไม่ได้ดู จะถือว่าทำซ้ำหรือไม่ แต่กฎหมายของ DMCA หรือ WCT ของ WIPO ถือว่าเป็นการทำซ้ำ ทำซ้ำชั่วคราวก็ถือว่าเป็นการทำซ้ำ สหรัฐฯ จึงบอกว่าเอาให้ชัด ขณะเดียวกัน Google เป็นคนกลาง Online การกระทำของ Google จะถือว่าเป็นละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

:) มีคดีเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ตัดสินคดีว่า Google could be liable แปลว่ามีความรับผิดได้ comtrubutory in fringement if it. ในความผิดที่เรียกว่าละเมิดร่วมกับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ Google เป็นผู้สร้างเครื่องมือ และคนใช้ Google ในการไปโหลดข้อมูลมาทำซ้ำ ศาลของสหรัฐอเมริกาบอกว่าอาจมีความรับผิดได้ ในฐานะที่เป็นผู้ทำละเมิดร่วมกัน แต่ศาลบอกว่า Could be หมายความว่าอาจมีความรับผิดได้ ในฐานะที่เป็นผู้ละเมิดร่วมกันกับผู้ทำละเมิด แต่ศาลก็บอกว่า if (ถ้า) ดังนั้น Google อาจจะรับผิดได้ (ถ้า) รู้ว่า infringement images were available using its search engine; การไปละเมิดภาพที่ไปค้น ไปดึงออกมา สามารถเป็นไปได้ และทำไปได้โดยใช้ search engine คือมีความรู้เรื่องนี้ แน่นอนว่า Google รู้เรื่องนี้ดีอยู่แล้ว

coule take simple measures to prevent further damage to the copyrighted works; and, สามารถที่จะนำเอามาตรการที่ธรรมดาง่าย ๆ ที่จะป้องกันความเสียหายจากงานอันมีลิขสิทธิ์ นั่นคือมาตรการทางเทคโนโลยีที่จะป้องกันไม่ให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ ในงานอันมีลิขสิทธิ์บน Internet จะเป็นเกราะป้องกัน Google ไม่ต้องรับผิดได้ และได้ดำเนินการวางมาตรการนั้น

failed to take such steps. Google ต้องรับผิด หากไม่ดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด หาก Google ได้วางมาตรการไว้ หรือมีการ Lock อะไรไว้ ถือว่า Google หลุด

แต่ถ้าจะให้ Google รับผิดเลย จะเห็นว่าไม่ใช่แค่ Google เท่านั้น Yahoo ก็มี search engine ที่จะค้นข้อมูลได้ แต่คนมักจะนิยมใช้ Google กันมาก เพราะค้นได้ดังใจ ถามว่าจะให้ Google รับผิดเต็ม ๆ Google ก็คงแย่ ผู้ที่ใช้งานอย่างเรา ก็คงจะต้องไปถือธงออกต้านด้วยว่าอย่าให้ Google รับผิดนะ

:) แต่อย่างไรก็ตามถ้าจะไปบอกว่า Google ไม่ต้องรับผิดเลย จะเป็นการที่ทำให้เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะว่า search engine ทำให้เกิดการละเมิดได้ง่ายเหลือเกิน ดังนั้นจึงมีเงื่อนไขว่า Google ต้องมีมาตรการทางเทคโนโลยีในการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดขึ้นมาได้ โดยวิธีการใดวิธี การหนึ่ง เช่น บางเว็บ บางข้อมูลเราเข้าไม่ได้เพราะมีการล็อค แต่ถ้าเกิดข้อมูลนั้นเขามีการติดต่อ Google ว่าข้อมูลอันนี้ให้มีการเผยแพร่ได้ อย่างนี้ไม่เป็นปัญหา ไม่ใช่ว่าใครจะสร้าง search engine ขึ้นมาก็สร้างไม่ต้องรับผิด เพราะไม่เกี่ยวกับฉัน ฉันไม่ใช่คนละเมิด เช่น บริษัท SONY สร้างเครื่องอัดเทป แล้วคนนำเครื่องอัดเทปไปอัดอะไรต่าง ๆ นานาที่ผิด สุดท้ายจะมาโทษคนสร้างไม่ได้ เช่น เมื่อก่อนมีการ Copy เพลง เจ้าของลิขสิทธิ์บอกว่า Sony ต้องรับผิด เพราะเป็นผู้สร้างเครื่องมือ มีการเถียงอยู่พักหนึ่ง ตอนหลังจึงต้องมีมาตรการป้องกัน ขึ้นมาว่า ถ้าจะมีการสร้างเครื่องมือ แล้วอาจทำให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ทำขึ้นได้โดยง่าย ต้องมีมาตรการทางเทคโนโลยี Lock ไว้ด้วย คดีนี้ยังไม่มีเกิดขึ้นในเมืองไทย ดังนั้นหลักในการพิจารณาคือ

๑. งานนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่ เพราะเป็นงานบนอินเตอร์เน็ต ถ้าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต กฎหมายรับรองคุ้มครองให้หรือไม่ ถ้ากฎหมายไม่คุ้มครอง ก็ไม่ใช่งานอันมีลิขสิทธิ์

๒. ที่สำคัญคือการกระทำนั้น เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ มีข้อยกเว้นหรือไม่ ในการกระทำหลายอย่างรวมกัน เช่น

๒.๑ เปิดมาเห็นบทความหรืออื่น ๆ

๒.๒ Copy

๒.๓ เอาไปวาง

๒.๔ print out ออกมา หรือ Load เก็บไว้ในเครื่อง

๒.๕. นำเอาไปถ่ายเอกสาร หรือเผยแพร่

๒.๖ นำไปขาย หรือจำหน่าย

 

:031 กฎหมายประกอบ คัดมาเฉพาะที่เกี่ยวข้องและสำคัญ ๆ นะคะ

:) มาตรา 4 (บทนิยามศัพท์)

“ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

“ภาพยนตร์” หมายความว่า โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำดับของภาพ ซึ่งสามารถนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น เพื่อนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามี

“โสตทัศนวัสดุ” หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี

“งานแพร่เสียงแพร่ภาพ” หมายความว่า งานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน

“ทำซ้ำ” หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใดๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

“ดัดแปลง” หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

 

“เผยแพร่ต่อสาธารณชน” หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น

 

:) งานอันมีลิขสิทธิ์

 

มาตรา ๖ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิดหรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

 

มาตรา ๗ สิ่งต่อไปนี้ ไม่ถือว่า เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

(๑) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

(๒) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย

(๓) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

(๔) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

(๕) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม (๑) ถึง (๔) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

 

:) การคุ้มครองลิขสิทธิ์

 

มาตรา ๑๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

(๔) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น

(๕) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ไดแต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (๕) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

:) การละเมิดลิขสิทธิ์ (หัวใจสำคัญ สำหรับผู้ใช้งานบน Internet)

 

มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

 

มาตรา ๒๘ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

 

มาตรา ๓๑ ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

(๔) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

 

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

 

มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

 

มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นด้วยครับ ข้อมูลดีๆในกระทู้นี้ก็เยอะมาก (ทฤษฏี แนวทางต่างๆที่เพื่อนรวบรวมมาไว้) ลบแค่ที่ผิดออกไป เสียดายครับหากจะลบทั้งหมด

 

:047 เสียดายเนื้อหาของคุณญ่า คุณดอด คุณบอย เหมือนกันค่ะ

เชื่อว่าคุณกัมพลอาจต้องระงับไว้ก่อนเท่านั้นค่ะ เพื่อเป็นการแสดงว่า ได้แจ้งเตือนพวกเราแล้ว และแสดงความรับผิดขอบต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ว่าพวกเราไม่มีเจตนาที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง เพื่อค้าและหากำไร แต่ทุกท่านมีเจตนาสุจริต และปราถนาดีต่อเพื่อน ๆ เพื่อให้คลายเครียดและการเผยแพร่ดังกล่าว ก็ไม่ได้มุ่งหวังสิ่งใดตอบแทน มีเพียงความสุจริตที่กระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กระทู้ของทั้ง 3 ท่าน เป็นกระทู้ที่ดี มีประโยชน์ มีสาระ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างดีเยี่ยม (ดิฉันเขียนออกจากใจเลยนะ ไม่ได้แกล้งยอ) และทั้ง 3 ท่านมีความรู้ในเรื่องของการนำเสนอเป็นอย่างดี บางครั้งอดหลับ อดนอน ไม่สบาย ยังไม่ได้ทานข้าวด้วยซ้ำ แต่ความรับผิดชอบต่อเพื่อน ๆ ที่รอคอยการวิเคราะห์ของทั้ง 3 ท่าน ทำให้ทั้ง 3 ท่านต้องเสียสละเวลาส่วนตัว เพื่อเอาเวลาตรงนั้นมาแบ่งปันให้เพื่อน ๆ โดยไม่คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย ทั้ง 3 ท่านคือแบบอย่างที่ดีงามของคนรุ่นใหม่ค่ะ

 

 

:_09 แม้จะมีการลบในส่วนนั้นออก แต่ทางกฎหมายเขาถือว่าความผิดได้สำเร็จแล้วค่ะ

เพราะเมื่อมีการ Copy มาวางที่กระทู้ของเรา ถือว่าเป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลง และมีการเผยแพร่

อาจต้องรอให้ google มีคำตอบให้คุณกัมพลก่อนค่ะ เชื่อว่ากระทู้ในดวงใจของทุกท่าน

จะกลับมาอยู่กับพวกเราแน่นอน....ดิฉันเชื่อเช่นนั้น

 

:01 ขอบคุณค่ะ คุณญ่า คุณดอด คุณบอย

ถูกแก้ไข โดย ตู้เย็น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:031 เพิ่มเติมฎีกาให้นะคะ สำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นกีฎาที่ถูกใช้อ้างอิงมากที่สุดฎีกาหนึ่ง

ในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ค่ะ

 

ฎีกาที่ 1908 / 2546

 

:) คดีนี้โจทก์ฟ้องและแก้ไขฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทวรรณกรรม โจทก์เป็นคนที่ทำงานอยู่ใน ก.พ. เป็นเป็นวิทยากรมีหน้าที่คอยให้ความรู้ในเรื่องของการประเมินผล และได้เขียนหนังสือ”คู่มือการประเมินผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม สัมมนา” และ “คู่มือการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม สัมมนา” จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำซ้ำ ดัดแปลง งานวรรณกรรม และเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยพิมพ์จำหน่ายหนังสือของโจทก์แก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายรวมทั้งค่าขาดกำไร เป็นเงิน จำนวน 800,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์

 

:)จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นอาจารย์สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งได้เขียนตำรา เรื่อง “กลยุทธ์ในการฝึกอบรม” เพื่อประเมินผลงาน โดยคัดลอก ทำซ้ำ หรือดัดแปลงข้อความและสาระสำคัญต่าง ๆจากหนังสือของโจทก์ประมาณ 30 หน้า โดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 (มหาวิทยาลัย) จัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ออกจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป และจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า งานของโจทก์เป็นการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมารวบรวมไว้ใช้ในกิจการของสำนักงาน ก.พ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เป็นการทำตามคำสั่งหรืออยู่ในความควบคุมของของหน่วยงานราชการที่โจทก์สังกัดอยู่และไม่มีการตกลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว หนังสือ “กลยุทธ์ในการฝึกอบรม” เป็นตำราประกอบการสอนของจำเลยที่ 1 การจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวจำเลยทั้งสองมิได้แสวงหากำไรทางการค้า แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ในเชิงวิชาการ หากมีการกล่าวอ้างถึงผลงานของบุคคลใดก็มีการระบุถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ไว้ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการศึกษาและวิจัยไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร จึงไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ไม่เสียหาย ขอให้ยกฟ้อง

:_Rd ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า หนังสือทั้งสองเล่มเป็นงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้น โจทก์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว การการะทำของจำเลยที่ 1 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสองจัดจำหน่ายหนังสือ กลยุทธ์ในการฝึกอบรม เพื่อแสวงหากำไรและเป็นการแข่งขันกับโจทก์ จึงไม่อาจอ้างข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ศาลพิพากษาจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 

:_Rd จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแก้ ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 (มหาวิทยาลัย) นอกจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

 

:031 สรุป

 

:) อาจารย์ท่านนี้ (จำเลยที่ 1) ได้ไปลอกงานของโจทก์มาจำนวน 30 หน้า จาก 150 หน้า ส่วนที่เหลือมีการดัดแปลงมาเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเขียนตำราประเมินผลงานของตนเอง ประเด็นดังกล่าวคือมีการอ้างอิง แต่เอามาจากคน ๆ เดียว ประมาณ 30 หน้า (จำเลยที่ 2) เป็นมหาวิทยาลัยที่อาจารย์ท่านนี้สังกัดอยู่ ข้อเท็จจริงคือเมื่อจำเลยลอกผลงานของโจทก์โดยการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณะคือมีการจำหน่าย แม้จะไม่ได้กำไร เพราะขายในราคาทุน ส่วนมหาวิทยาลัย เป็นผู้นำงานไปเผยแพร่ มหาวิทยาลัยต้องรับผิดหรือไม่ มหาวิทยาลัยไม่รู้ว่าอาจารย์ท่านนี้ไปลอกผลงานของโจทก์มา ศาลจึงยกฟ้องมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจึงหลุดและไม่ต้องรับผิดชอบในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คือโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน ขณะที่โจทก์เขียนหนังสือ ก.พ. ไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์ทำ แต่โจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวด้วยตัวโจทก์เองเพื่อใช้ในการฝึกอบรม สัมมนา ที่โจทก์เป็นวิทยากร ดังนั้น ลิขสิทธิ์จึงตกเป็นของโจทก์ โจทก์เป็นเจ้าของผลงานและเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ จึงมีอำนาจฟ้องว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะเป็นการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณะ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขาดประโยชน์ตามสมควรที่ควรจะเป็น ถึงแม้จะมีการอ้างอิงไว้ก็ตาม

 

:) และหากจำเลย นำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง สามารถที่จะนำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ต้องไม่เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น จำเลยสามารถที่จะนำข้อมูลความรู้ในตำราต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์อ้างอิงได้ ตราบเท่าที่การใช้ประโยชน์ของจำเลยไม่เป็นการ ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ต่อสาธารณชน อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์

 

:v@ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

ถูกแก้ไข โดย ตู้เย็น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เข้าใจว่า ที่ google เตือน คงเป็น link ไปเวปที่ละเมิดนะครับ พอเวปเรามี link ไป เลยโดนพ่วงไปด้วย ส่วนพวกหนังจาก youtube ดูเหมือน google จะปิดเองไปเยอะมากอยู่แล้ว เปิดไป ก็ดูไม่ได้จำนวนมาก

 

ตอนนี้ ผมให้สิทธิ์คุณต้นหญ้า เข้าไปคัดลอกส่วนที่ต้องการออกมาเองนะครับ หลังจากลองพยายามจะดูว่า จะตัดตอนอะไรออกมาได้บ้าง

แต่ดูแล้ว มันยาวจัดจริงๆ แถมหนังมันแทรกอยู่เยอะมากจนเหมือนเป็นเนื้อเดียว ไม่รู้จะตัดแยกช่วยยังไง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โพส link youtube เข้าข่ายไม่เหมาะสมด้วยมั๊ยครับ

 

ขอบคุณครับ

 

like รักแท้อยู่เหนือกาลเวลา

โพสท์ลิง แบบนี้ไม่น่าผิดนะ เพราะตอนเปิด ต้องวิ่งไปเปิดที่ youtube นะ แต่ถ้าผิด คงมีคนทำผิด เยอะเลย ครับ กรรม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เข้าใจว่า ที่ google เตือน คงเป็น link ไปเวปที่ละเมิดนะครับ พอเวปเรามี link ไป เลยโดนพ่วงไปด้วย ส่วนพวกหนังจาก youtube ดูเหมือน google จะปิดเองไปเยอะมากอยู่แล้ว เปิดไป ก็ดูไม่ได้จำนวนมาก

 

ตอนนี้ ผมให้สิทธิ์คุณต้นหญ้า เข้าไปคัดลอกส่วนที่ต้องการออกมาเองนะครับ หลังจากลองพยายามจะดูว่า จะตัดตอนอะไรออกมาได้บ้าง

แต่ดูแล้ว มันยาวจัดจริงๆ แถมหนังมันแทรกอยู่เยอะมากจนเหมือนเป็นเนื้อเดียว ไม่รู้จะตัดแยกช่วยยังไง

สรุปว่า Link ที่คุณต้นหญ้าทำไว้ไม่มีความผิด ใช่ปะครับเฮีย :01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:031เพิ่มเติมอีกนิดนะคะ สืบเนื่องจากมีกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกันกับ พ.ร.บ ลิขสิทธิ์ 2537 หากไม่นำมาลงข้อมูลอาจไม่ครบถ้วน จึงต้องนำมาลงควบคู่กันไปค่ะ นอกจาก พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 แล้ว จะมีกฎหมายอีกตัวหนึ่งที่ใกล้เคียงและเคียงคู่กันไป เพราะเมื่อมีการตั้งข้อหาหรือจับตาม พ.ร.บ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้ ก็มักจะจับตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551

 

:)หลายท่านคงจำกรณี “คนเก็บขยะขายแผ่นซีดี” ปรากฏต่อสาธารณชนทางสื่อมวลชนทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ที่ผ่านมา จากการที่นายสุรัตน์ มณีนพรัตน์สุดา ลูกจ้างพนักงานเก็บขยะประจำเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร นำแผ่นซีดีที่เก็บได้จากกองขยะไปวางขายตลาดนัดย่านตลาดหน้าหมู่บ้านนักกีฬา เขตหัวหมาก จำหน่ายแผ่นละ 20 บาท โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพื่อหาเงินมาเลี้ยงชีพจุนเจือครอบครัวและเลี้ยงลูกสาว 2 คน ในวัย 6 ขวบ และ 4 เดือน แต่ถูกตำรวจจับกุมในข้อหาจำหน่ายแผ่นซีดีโดยไม่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีทัศน์ ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 54 ประกอบมาตรา 82 พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง และศาลพิจารณาพิพากษาปรับเป็นเงิน 200,100 บาท แต่ลดโทษเหลือปรับเป็นเงิน 133,400 บาท ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมเป็นอย่างมากถึงการใช้กฎหมายต้องคู่กับคุณธรรม ซึ่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 อาจครอบคลุมไม่ถึงการจำหน่ายนั่นเอง

 

:) และเชื่อว่าหลายท่านอาจมีญาติพี่น้อง ลูกหลาน เปิดร้านขายอาหาร-เครื่องดื่ม เปิดร้านขายแผ่นซีดี เปิดร้านเกม เปิดร้านคาราโอเกะ เปิดร้านจำหน่ายตุ๊กตา สิ่งที่เข้ามารบกวนร้านค้าเหล่านี้คือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ และพ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราซื้อแผ่นซีดีเพลงหรือแผ่นภาพยนตร์ เราสามารถนำไปเปิดในร้านอาหารของตนเองได้หรือไม่ หรือเมื่อเรามีแผ่นซีดีหรือแผ่นภาพยนตร์เยอะแยะมากมาย เราสามารถนำไปจำหน่ายได้หรือไม่ ทั้ง ๆ ที่เป็นของเราเอง ขอแยกเป็นกรณี ๆ ดังนี้นะคะ

 

:)กรณีที่ 1 หากแผ่นที่เรานำมาเปิดในร้านอาหารของเรา เป็นแผ่นแท้หรือแผ่นลิขสิทธิ์ และการเปิดแผ่นซีดีเพลงหรือแผ่นภาพยนตร์ วัตถุประสงค์เพื่อสร้างบรรยากาศในร้านและบริการลูกค้าโดยไม่คิดค่าบริการ เท่ากับเราไม่ได้ประโยชน์เพิ่มเติม สามารถเปิดหรือกระทำได้ ควรเก็บใบเสร็จรับเงินการซื้อแผ่นซีดีไว้ด้วย เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเราซื้อมาจริง แต่หากเราเปิดเพลงแล้วมีการเก็บค่าบริการ เช่น มีบริการให้ลูกค้าร้องคาราโอเกะ คิดค่าบริการเพลงละ 10 บาท หรือ Load จาก Net ขึ้นโปรเจคเตอร์ หรือขึ้นจอ LCD วันดีคืนดี อาจมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทต่าง ๆ มาล่อซื้อ โดยแฝงตัวเป็นแขกของร้านเข้าไปทานอาหาร สั่งเครื่องดื่ม อยากร้องเพลงเราก็เปิดเพลงให้ร้อง ไม่นานเจ้าหน้าที่ตำรวจจะตามมาพร้อมหมายจับ และแจ้งว่าเราละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ เพราะมีการเก็บค่าบริการ ส่วนใหญ่เมื่อเจอปัญหาดังกล่าว ร้านค้ามักไม่อยากเสียเวลาไปศาล และไม่อยากโดนปั้มลายนิ้วมือเพราะทำให้มีประวัติคดีอาญา จึงเป็นประเด็นให้หน่วยล่อซื้อและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตั้งศาลเตี้ย เรียกเอาประโยชน์จากร้านได้อย่างง่าย ๆ สบาย ๆ

 

:) กรณีที่ 2 หากแผ่นที่เราซื้อเป็นแผ่นไม่แท้คือไม่มีลิขสิทธิ์ มีการ copy มาจากแผ่นลิขสิทธิ์ แล้วนำมาจำหน่ายให้กับเรา เช่น 3 แผ่นร้อย แบบที่คุณตู้เย็นชอบซื้อ ร้านทั่วไปมักไม่ออกใบเสร็จให้เราแน่นอน กรณีนี้เมื่อมีการล่อซื้อ จะโดนข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ทันที มี case study ตลก ๆ ขำ ๆ ว่า "ร้านขายของแบะกะดิน ทุกอย่าง 10 บาท" โดนจับข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเปิดเพลงดึงดูดลูกค้า หลายคนถึงกับอึ้งว่า จับได้อย่างไร คนทำมาหากิน ปัญหาอยู่ที่แผ่นที่นำมาเปิด เป็นแผ่นที่ผ่านการ copy มาจากแผ่นลิขสิทธิ์ และร้านทุกอย่าง 10 บาทนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยการเปิดเสียงดังเพื่อดึงดูดลูกค้า เป็นความผิดซึ่งหน้า จับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ ช่างทำไปได้ !!!!!!

 

:) กรณีที่ 3 แม้จะเป็นแผ่นแท้หรือแผ่นมีลิขสิทธิ์ เป็นแผ่นที่เราซื้อมาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีใบเสร็จรับเงินเรียบร้อย แต่หากมีการนำไปวางขายหรือจำหน่าย จะมีความผิดฐานจำหน่ายแผ่นซีดีโดยไม่ได้ใบอนุญาตมาตรา 54 ประกอบกับมาตรา 82 คือปรับตั้งแต่ 100,000 – 500,000 บาท กฎหมายฉบับนี้เขาเรียกมือสังหารร้านขายแผ่นซีดี ด้วยเหตุที่มีอัตราโทษปรับสูงมาก ขั้นต่ำคือ 100,000 บาท ให้สังเกตคำว่า “ตั้งแต่” ดังนั้นไม่ว่าร้านใหญ่ ร้านเล็ก วางขายตลาดนัด หรือขายแผ่นซีดีเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ และไม่ว่าจะจำหน่ายเพียง 1 แผ่นหรือกี่พันแผ่น ปรับเท่ากันหมดคือตั้งแต่ 100,000 บาท และสูงสุดคือ 500,000 บาท ดังนั้น หน่วยล่อซื้อมักถามว่าจะให้ใช้ พ.ร.บ. ไหน จะจ่ายหมื่นห้า หรือจะจ่ายห้าแสน เป็นต้น

 

 

:) ดังนั้น เมื่อเป็นกฎหมายแล้ว เราเป็นเพียงประชาชน คนธรรมดา จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายก็ไม่ได้ เพราะกฎหมายปิดปาก คำว่ากฎหมายปิดปากไม่ใช่ภาษาที่ไม่สุภาพนะคะ แต่เป็นภาษาที่เราใช้กันเพื่อให้เข้าใจง่าย คำนี้ มาจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 “บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ เว้นแต่.....” ดังนั้นเราจะรู้หรือไม่รู้กฎหมายก็ตาม เราไม่อาจอ้างได้ กฎหมายจึงปิดปากว่า เมื่อเป็นกฎหมายแล้ว เราต้องรู้ จะตอบว่าไม่รู้ไม่ได้ จึงทำได้เพียงระมัดระวัง และรู้เท่าทันหน่วยล่อซื้อ เพื่อให้เราหลุดพ้นจากการเอารัดเอาเปรียบอันเนื่องมาจากช่องว่างของกฎหมายนั่นเองค่ :v@

ถูกแก้ไข โดย ตู้เย็น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ

ผมมีปัญหาในการใช้อยากจะขอความช่วยเหลือครับ

 

ผมได้ลองเปลี่ยนการใช้มาเป็นโหมดโทรศัพท์และไม่ชอบการแสดงผลเช่นนี้ จึงอยากจะกลับไปใช้อย่างเดิมต้องทำอย่างไรครับ

 

ขอบคุณครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

menu เปลี่ยน theme อยู่ล่างๆ ลองหาดูนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ช่วยๆกันเป็นหูเป็นตานะค่ะ

รับทำเว็บไซต์ ลำพูน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...