ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2554

 

19.45 น. นิวคาสเซิ่ล - เชลซี ทรูสปอร์ต 1

22.00 น. แมนฯ ซิตี้ - นอริช ซิตี้ ทรูสปอร์ต 1

22.00 น. ควีนส์ปาร์ค - เวสต์บรอมวิช ทรูสปอร์ต 2

22.00 น. สเปอร์ส - โบลตัน ทรูสปอร์ต 3

22.00 น. วีแกน - อาร์เซน่อล ทรูสปอร์ต 5

22.00 น. แบล็คเบิร์น - สวอนซี ทรูสปอร์ต เอ๊กซ์ตร้า 107

00.30 น. แอสตัน วิลล่า - แมนฯ ยูไนเต็ด ทรูสปอร์ต 3

 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม 2554 คู่แข่งขัน ช่องถ่ายทอดสด

 

22.00 น. เอฟเวอร์ตัน - สโต๊ค ซิตี้ ทรูสปอร์ต 1

23.00 น. วูล์ฟแฮมป์ตัน - ซันเดอร์แลนด์ ทรูสปอร์ต 3

 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม 2554 เวลา คู่แข่งขัน ช่องถ่ายทอดสด

 

03.00 น. ฟูแล่ม - ลิเวอร์พูล ทรูสปอร์ต 1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตอบ k.hipp

 

เป็น pnt 1.1 ครับ ที่ผม edit data เองช่วงนี้มีแค่ GC ครับ สินค้าอื่น ๆ ใน USFU ไม่ได้ edit ครับ

 

ข้อมูลที่นำมา edit โหลดมาจาก link นี้นะครับ http://www.livechart..._historical.php

 

ผมลองเช็คย้อนหลังเทียบกับข้อมูลที่โหลดจาก CDC แล้ว ต่างกันเล็กน้อย

 

แต่ที่เลือกใช้ข้อมูลจาก link นี้ เพราะเห็นข้อมูลได้ชัดเจนดีไม่ซับซ้อนครับ

 

ลองดูนะครับ

ขอบคุณครับผม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงสัย link ที่ให้จะมีปัญหา ราคาเท่ากันหมดเลย :wacko:

 

ไปหามาให้ละ ตามนี้นะครับ สำหรับ GC

 

open : 1,752.50

 

high : 1,758.00

 

low : 1,737.20

 

close : 1,749.80

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาตรการ 6 แบงก์ชาติแค่'พาราฯ'โลกตั้งตารอยาฆ่าเชื้อหนี้ยุโรป

02 ธันวาคม 2554 เวลา 07:14 น. | เปิดอ่าน 572 | ความคิดเห็น 2

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

อาจถือได้ว่าเป็นทั้ง “ข่าวดี” และ “ข่าวร้าย” ส่งท้ายปีไปพร้อมๆ กัน กับความร่วมมือของ 6 ธนาคารกลางใหญ่ระดับโลก นำโดยเฟด หรือธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางของอังกฤษ ญี่ปุ่น แคนาดา และสวิตเซอร์แลนด์ ที่เปิดสวอปไลน์ให้แบงก์พาณิชย์กู้ยืมเงินเหรียญสหรัฐจากแบงก์ชาติเหล่านี้ได้ถูกลง โดยลดค่าธรรมเนียมกู้ยืมให้ 0.5% ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2011–1 ก.พ. 2013 และเปิดช่องให้กู้ยืมเงินสกุลอื่นได้ด้วยในกรณีที่จำเป็น เพื่อลดความตึงเครียดในระบบการเงินโลก จากวิกฤตการณ์หนี้สาธารณะในยุโรป

 

ข่าวดีก็คือ นี่เป็นสัญญาณชี้ชัดทางการเมืองว่า ประเทศการเงินขนาดใหญ่ทั่วโลกพร้อมที่จะจับมือกันเพื่อร่วมแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมดีกว่าการแก้ปัญหาแบบตัวใครตัวมัน

 

ทว่าข่าวร้ายที่ดูจะมีหลายข้อมากกว่าด้านดีก็คือ นี่เป็นสัญญาณชี้ชัดเช่นกันว่า ปัญหาเศรษฐกิจโลกวันนี้ “รุนแรงกว่าที่คาดไว้”

 

อาจเลวร้ายยิ่งกว่าแฮมเบอร์เกอร์ ไครซิส เมื่อปี 2008 และการจับมือกันเสริมสภาพคล่องของ 6 แบงก์ชาติครั้งนี้ ก็ยังเป็นเพียงมาตรการ “บรรเทา” เบื้องต้น ที่ยังถือว่า “ห่างชั้น” หากจะงัดมาเพื่อแก้วิกฤตการณ์หนี้ยุโรป

 

 

และหากมองในแง่ที่ว่าการจับมืออัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบของ 6 แบงก์ชาติครั้งนี้ ช่างเหมือนกับมาตรการในปี 2008 เพื่อแก้วิกฤตการณ์ทางการเงินสหรัฐหลังการล่มสลายของวาณิชธนกิจ เลห์แมน บราเธอร์ส ปัญหาหนี้ยุโรปในปลายปี 2011 ก็อาจนับได้ว่าเป็น “วิกฤตการณ์สินเชื่อครั้งที่ 2” (Credit Crunch II) ที่ลุกลามจากภาครัฐเข้าสู่ภาคการเงินทั้งระบบ

 

การให้พาราเซตามอล 2 เม็ด จึงทำได้แค่บรรเทาอาการปวด และไม่สามารถช่วยให้หายจากโรคได้เหมือนกับการให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นมาตรการแรงที่เหล่าแบงก์ชาติหรือรัฐบาลกลางยังไม่พร้อมจะเข้าแลก

 

ในเบื้องต้น ยาแก้ปวด 2 เม็ดนั้น สามารถช่วยให้ตลาดทุนหายปวดหัวเป็นปลิดทิ้งชั่วขณะ ตลาดหุ้นทั่วทั้งโลกพุ่งทะยานสูงสุดอย่างไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบกว่า 2 ปีมานี้ ดัชนี FTSE-100 ตลาดลอนดอน บวกได้ 3.16% ไปปิดที่ 5,505.42 จุด ดัชนี CAC-40 ปารีส บวก 4.22% ไปปิดที่ 3,154.62 จุด และ DAX-30 แฟรงก์เฟิร์ต บวกแรง 4.98% ปิดที่ 6,088.84 จุด

 

ฟากดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์บวกได้ถึง 4.2% ไต่ไปถึงเกือบ 500 จุด ขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 12,045.68 จุด หรือขึ้นสูงสุดภายในวันเดียวในรอบ 2 ปีครึ่ง เช่นเดียวกับเอสแอนด์พี 500 ที่บวกได้ 4.3% และแนสแด็ก 4.2% ขณะที่ฝั่งเอเชียนั้นก็บวกกันได้ทุกตลาด โดยเฉพาะฮ่องกง ซึ่งดัชนีฮั่งเสงทะยานขึ้นไปถึง 1,012.91 จุด หรือบวก 5.63% ไปปิดตลาดที่ 19,002.26 จุด เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.

 

เพราะอย่างน้อยที่สุด การลดค่าธรรมเนียมกู้ยืมจากแบงก์ชาติลง 0.5% มาอยู่ที่ราว 0.6% ก็ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในตลาดการเงินให้แบงก์พาณิชย์ทั้งในยุโรป และสหรัฐได้ในระดับหนึ่ง โดยช่วยให้สามารถเข้าถึงเงินได้ง่ายขึ้น จากสภาพปัจจุบันที่การปล่อยสินเชื่อเป็นไปอย่างตึงตัว ทั้งการปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจ หรือการปล่อยกู้ระหว่างแบงก์พาณิชย์ด้วยกันเอง

 

เอพีรายงานว่า การปล่อยกู้ของบรรดาแบงก์ยุโรปให้แก่ภาคธุรกิจในไตรมาส 3 ลดลงถึง 16% และเริ่มมีสัญญาณมาช่วงหนึ่งแล้วว่า แบงก์ในสหรัฐปล่อยกู้ให้แบงก์ในยุโรปน้อยลง เพราะจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เคยมีการเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจนว่า บรรดาแบงก์พาณิชย์ทั้งรายใหญ่และรายย่อยทั่วยุโรป “จะขาดทุน” จากการถือครองตราสารหนี้ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลที่มีปัญหาหนี้มากเท่าไร

 

ส่วนการระดมทุนจากการออกตราสารหนี้ต่างๆ ก็ทำได้ยากขึ้น เพราะทุกวันนี้ตราสารหนี้กลายเป็นสิ่งที่นักลงทุน “ไม่เชื่อมั่น” มากที่สุดอย่างหนึ่งไปแล้ว

 

หากยังปล่อยให้ตลาดสินเชื่อตึงตัวเช่นนี้ต่อไป นักลงทุนอาจตัดสินใจเทขายหุ้นทิ้งครั้งใหญ่เหมือนที่เคยทำมาแล้วเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งจะกลายเป็นจุดเริ่มของวิกฤตการณ์ภาคการเงินครั้งใหญ่ตามมา ทั้ง 6 แบงก์ชาติจึงต้องออกมาตรการเบื้องต้นเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของตลาดทุน ซึ่งถือเป็นมาตรการร่วมกันทั่วโลกครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยพร้อมเพรียงกันเมื่อเดือน ต.ค. 2008 ก่อนที่จะทยอยแก้ปัญหากันต่อไป

 

และสิ่งที่นักลงทุนต้องการเห็นมากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ มาตรการช่วยซื้อพันธบัตร (Bonds Purchasing) เหมือนกับที่เฟดตัดสินใจทำมาก่อนหน้านี้ เพื่อแก้วิกฤตซับไพรม์

 

ทว่าอีซีบี ซึ่งมีรูปแบบและอำนาจหน้าที่ที่ต่างไปจากเฟด ไม่สามารถเข้าซื้อพันธบัตรจากรัฐบาลที่มีปัญหาโดยตรงได้ จะซื้อได้ก็จากตลาดรอง (Secondary Market) เท่านั้น และยังกังวลว่าหากอัดฉีดเงินมากเกินไป จะกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อ และยิ่งบีบให้รัฐบาลต่างๆ ต้องรัดเข็มขัดตัดลดงบประมาณหนักขึ้นไปอีก ซึ่งมาตรการรัดเข็มขัดเป็นเสมือนดาบ 2 คม ที่ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังยิ่งในเวลานี้

 

สิ่งที่หลายฝ่ายต้องจับตาดูต่อไป ก็คือการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป ในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ ว่าจะมีมาตรการอย่างไรต่อไป หลังจากที่การประชุมรัฐมนตรีคลังก่อนหน้าไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องการเพิ่มวงเงินกองทุนรักษาเสถียรภาพยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) ให้ถึงเป้าที่เคยตั้งไว้ 1 ล้านล้านยูโร และแม้แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่ถูกโยนให้เข้าช่วยด้วย ก็กระเป๋าแฟบมีเงินเหลืออยู่ในขณะนี้แค่ 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

 

และโลกก็คงต้องเตรียมรับมือความผันผวนของตลาดทุนหลังจากนี้อย่างไม่มีทางเลือก

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคับ คุณส้มโอมือ ข่าวนี้มีประโยชน์มากๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณส้มโอมือมากๆๆๆๆ คะ ขอให้การประชุมออกมาดีน้องทองจะได้พุ่งแรง :upstrong:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับผม

สงสัย link ที่ให้จะมีปัญหา ราคาเท่ากันหมดเลย :wacko:

 

ไปหามาให้ละ ตามนี้นะครับ สำหรับ GC

 

open : 1,752.50

 

high : 1,758.00

 

low : 1,737.20

 

close : 1,749.80

 

 

จากทีมงานข้อมูลเวปฉโลก นะครับ ข้อมูล ต้องทางมีปัญหาเล็กหน่อยนะครับ ทำให้ ข้อมูลที่ดึง จากโปรแกรม Stock Downloader จึงมีปัญหานะครับ รบกวนดึงจาก โปรแกรมที่ชื่อ ว่า CDCDL นะครับ จะมีข้อมูล สองซีรีย์ใกล้สุดนะครับ ส่วน.1 จะทำให้ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์นะครับ เทรดสินค้าตัวไหน ดูซีรีย์นั้นเป็นหลักนะครับ เช่นเทรดทองก็ควรดู GCZ2011 or GCH2012 นะครับ พวก.1 เอาไว้ดูภาพรวมนะครับ เช่นดูเวฟ ทามมิ่ง อะไรแบบนี้นะครับ ส่วนการตัดสินใจเทรดควรดู ตัวสัญญาเป็นหลัก นะครับ พูดง่ายๆดู เขียวแดงที่ตัวซีรีย์เลยครับ ไม่ได้ เอา .1 ดูสัญญาณนะครับ อย่าเอาไปใช้ผิดวิธีนะครับ ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คาดECBลดดอกอีกพฤหัสฯนี้-แถมอาจประกาศมาตรการ ‘ไม่ปกติ’

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 ธันวาคม 2554 08:18 น. Share

 

 

 

 

มาริโอ ดรากี ประธานอีซีบีคนใหม่

 

 

เอเอฟพี – คาดปลายสัปดาห์นี้ ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในรอบสองเดือน ตลาดยังจะเฝ้าจับตา ‘มาตรการไม่ปกติ’ ที่แบงก์กลางของเขตยูโรโซนแห่งนี้อาจประกาศออกมาเพื่อพยายามควบคุมวิกฤต

คณะกรรมาธิการที่เป็นผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะประชุมกันเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยประจำเดือนสุดท้ายของปีนี้ในวันพฤหัสฯ (8) ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่พวกผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) นัดพบกันที่บรัสเซลส์ เพื่อหารือถึงวิธีแก้ไขวิกฤตที่กำลังคุกคามความอยู่รอดของระบบเงินสกุลเดียวแห่งยุโรป

รัฐบาลของหลายชาติและนักวิเคราะห์มากมายมองว่า อีซีบีเป็นสถาบันเดียวที่สามารถดับวิกฤตหนี้ในเงื่อนไขเฉพาะหน้าได้ ทว่า มาริโอ ดรากี ประธานใหม่ของอีซีบี ย้ำหลายครั้งว่า บทบาทดังกล่าวเป็นเพียงบทบาทชั่วคราว แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ชาติสมาชิกต้องรักษาระบบระเบียบทางการคลังของตนเอง

ตอนที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนที่แล้ว ดรากีสร้างเซอร์ไพรส์ให้ตลาดด้วยการประกาศลดดอกเบี้ยทันที 0.25% ขณะที่ 17 ชาติยูโรโซนซวนเซใกล้ปากเหวการถดถอยครั้งใหม่

ตลาดและผู้สังเกตการณ์คาดการณ์ว่า เดือนนี้อีซีบีจะสานต่อมาตรการดังกล่าวด้วยการลดต้นทุนกู้ยืมในยูโรโซนลงอีกจนกระทั่งเหลือ 1.0%

มิเชล ชูเบิร์ต และราล์ฟ โซลวีน นักเศรษฐศาสตร์ของคอมเมิร์ซแบงก์ ชี้ว่าการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจของอีซีบีที่จะออกมาวันพฤหัสฯ เช่นเดียวกัน น่าจะมีการปรับลดตัวเลขลงอย่างมากนั้น เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เชื่อได้ว่า อีซีบีจะตัดสินใจลดดอกเบี้ย

ด้วยความที่เรื่องนี้เป็นที่คาดการณ์กันอย่างกว้างขวางแล้ว ดังนั้น จุดสนใจในวันพฤหัสฯ จึงไปอยู่ที่ ‘มาตรการไม่ปกติ’ ที่ดรากีจะประกาศออกมาด้วย เพื่อพยายามให้วิกฤตอยู่ในความควบคุม

เจนนิเฟอร์ แม็กคีโอน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของแคปิตอล อิโคโนมิกส์ ชี้ว่า ขณะนี้ สัญญาณที่บ่งชี้ภาวะตึงเครียดในภาคการเงินชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จากการที่อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารพุ่งขึ้น และแบงก์เลือกฝากเงินกับอีซีบีมากขึ้นแทนที่จะปล่อยกู้ระหว่างกัน

สัญญาณตอกย้ำเรื่องนี้ยังมาจากการที่อีซีบีล้มเหลวในการ ‘ฆ่าเชื้อ’ หรือดูดซับสภาพคล่องที่ล้นเกินจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดผ่านโปรแกรมการซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหา

หนึ่งในคำตอบสำหรับเรื่องนี้อาจเป็นการที่อีซีบีขยายระยะเวลาในการจัดหาสภาพคล่องจาก 1 ปีในปัจจุบัน เป็น 2-3 ปี และประโยชน์สูงสุดของมาตรการนี้จะเกิดขึ้นได้จากการผ่อนคลายกฎเกี่ยวกับสินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

โดยรวมแล้วนักวิเคราะห์เชื่อว่า อีซีบีกำลังเตรียมดำเนินการแข็งกร้าวมากขึ้น และมีแนวโน้มว่า จะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้นำอียูยอมรับกรอบโครงการคลังที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งอาจเป็นในช่วงระหว่างการประชุมสุดยอดวันที่ 8-9 นี้ที่บรัสเซลส์

กระนั้น ยังมีนักวิเคราะห์บางคน อาทิ โฮลเกอร์ ชมิดดิง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเบเรนเบิร์ก แบงก์ ที่เชื่อว่า ซัมมิตปลายสัปดาห์นี้จะทำให้สถานการณ์คลี่คลายลงเพียงเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่อาจต้องรอถึงต้นปีหน้าจึงจะได้เห็นการเข้าแทรกแซงเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากอีซีบีและบุนเดสแบงก์ (ธนาคารกลางเยอรมนี) ตระหนักว่าไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

วันที่ 5 ธันวาคม 2554 05:00ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ คอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์จานร้อน"

จำนวนคนอ่าน 956 คน.ทำไมสหรัฐ “ดูดี” กว่ายุโรป

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

 

ครั้งที่แล้วผมสรุปเรื่องหนี้สาธารณะของสหรัฐว่าสหรัฐยังไม่ได้เริ่มแก้ปัญหาดังกล่าวเลยโดยมีประเด็นหลักๆ ดังนี้

 

1. สหรัฐยังขาดดุลงบประมาณ 8% ของจีดีพีต่อปีเพื่อขับเคลื่อนให้จีดีพีโต 2% ต่อปี ในขณะที่ดอกเบี้ยก็อยู่ที่ 0% แล้ว ดังนั้นจึงต้องถามว่าในอนาคตสหรัฐจะมีปัจจัยอะไรมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

 

 

2. ปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐนั้นปัจจัยหลักมาจากรายจ่ายรัฐสวัสดิการ กล่าวคือรัฐบาลมีสัญญาประชาคมว่าจะจ่ายเงินเพื่อประกันสุขภาพและประกันสังคมอย่างถ้วนหน้า โดยคำนวณได้ว่าภาระใช้จ่ายดังกล่าวใน 30 ปีข้างหน้าจะสูงถึง 40-50 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐเก็บภาษีได้เพียงปีละ 2 ล้านล้านดอลลาร์ การที่รายจ่ายรัฐสวัสดิการสูงกว่ารายรับมากก็เพราะสหรัฐจะมีผู้สูงอายุที่อายุยืนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้ให้ข้อสรุปที่กระชับดังนี้คือระบบสวัสดิการของสหรัฐนั้นก่อตั้งขึ้นโดยตั้งสมมติฐานว่าประชาชนจะเกษียณอายุเมื่ออายุ 62 ปีและแก่ตายตอนอายุ 65 ปี แต่ปัจจุบันเกษียณอายุ 65 ปี แต่แก่ตายตอนอายุ 78 ปี

 

 

3. พรรครีพับลิกันไม่ยอม (และไม่กล้า) ปรับขึ้นภาษีเพราะจะกระทบกับฐานเสียง ส่วนพรรครเดโมแครตก็ไม่ยอม (และไม่กล้า) ปรับลดสวัสดิการโดยเฉพาะการประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นงานชิ้นโบแดงของประธานาธิบดีโอบามา ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ารัฐบาลสหรัฐยังสร้างหนี้สาธารณะประมาณ 137 ล้านดอลลาร์ต่อชั่วโมงไปเรื่อยๆ แม้จะมีมาตรการปรับลดรายจ่ายอัตโนมัติ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ใน 10 ปีข้างหน้า จึงไม่แปลกในที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ กล่าวตักเตือนและมองแนวโน้มของสหรัฐในเชิงลบอย่างชัดเจน

 

 

แต่ทำไมเศรษฐกิจสหรัฐจึง ดูดี ในขณะที่ยุโรปโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรอยู่ในสภาวะยุ่งเหยิงและมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเข้าสู่สภาวะถดถอยในไตรมาสปัจจุบันและในครึ่งแรกของปีหน้า? คำตอบของผมคือพฤติกรรมของเจ้าหนี้น่าจะเป็นตัวกำหนดหลักและนโยบายการเงินเป็นตัวกำหนดรอง

 

 

ในกรณีของยุโรปนั้นประเทศลูกหนี้ (มีหนี้สินมากและขาดดุลงบประมาณ) ได้แก่ PIIGS คือ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซและสเปนเป็นหลัก ส่วนประเทศเจ้าหนี้ใหญ่คือเยอรมนีและฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่าในกรณีของกลุ่มประเทศยูโรนั้นประเทศที่กำหนดทิศทางและนโยบายของประเทศลูกหนี้ก็คือประเทศเจ้าหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมนีนั้นถือว่าใช้ไม้แข็งคือสั่งการให้ประเทศลูกหนี้ต้องรัดเข็มขัดทางการคลังอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นผลให้ปัญหาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะเมื่อเศรษฐกิจอ่อนตัวลงรัฐบาลก็ยิ่งเก็บภาษีได้น้อยและขาดดุลมากขึ้น เยอรมนีก็ยืนยันนโยบายรัดเข็มขัด และสั่งให้ทำอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น จนกระทั่งระบบการเงินของยุโรปสั่นคลอนอย่างเห็นได้ชัดและลามออกไป ทำให้แม้แต่เยอรมนีและฝรั่งเศสเองก็ยังได้รับผลกระทบจากธนาคารพาณิชย์ที่นับวันจะพิการมากขึ้น ทำให้ดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศยูโรปรับเพิ่มขึ้นอย่างถ้วนหน้า ในกรณีของอิตาลี (ซึ่งใหญ่เกินกว่าจะ อุ้ม เอาไว้ได้) ดอกเบี้ยปรับขึ้นจาก 4-5% เป็น 7% แม้แต่เยอรมนีดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้นจาก 1.8% เป็น 2.2% (ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี)

 

 

แต่เยอรมนีก็ยังยืนยันไม่ให้ธนาคารกลางของยุโรป (อีซีบี) เข้าไปแทรกแซงซื้อพันธบัตรรัฐบาล ของประเทศ PIIGS มากนัก ทั้งๆ ที่นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญเกือบทุกคนกดดันให้อีซีบีพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรอย่างไม่อั้นเพื่อกดดอกเบี้ยลงและช่วยบรรเทาภาระให้กับรัฐบาลของ PIIGS และบรรเทาภาระให้กับระบบธนาคารของยุโรป อย่างไรก็ดีเยอรมนีจะยืนยันตลอดว่าอีซีบีไม่มีหน้าที่ อุ้ม รัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง แต่มีภารกิจหลัก 2 เรื่องคือรักษาเสถียรภาพของราคา (เงินเฟ้อต่ำ) และรักษาเสถียรภาพของระบบธนาคารและระบบการเงิน ซึ่งหลายฝ่ายก็กำลังกดดันให้อีซีบี เลี่ยงบาลี โดยอ้างว่าระบบธนาคารกำลังพิการจึงสมควรที่อีซีบีจะเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากกว่าสัปดาห์ละ 8,000-10,000 ล้านยูโร ดังที่เป็นอยู่โดยยกตัวอย่างธนาคารกลางสหรัฐที่ใช้เงินเกือบ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์เข้าไปซื้อทุกพันธบัตรที่ขวางหน้า ทำให้ดอกเบี้ยในสหรัฐต่ำเตี้ยมาโดยตลอดซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐมีเวลาฟื้นตัว

 

 

นิตยสารอีโคโนมิสต์ได้เขียนบทวิเคราะห์ปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปเอาไว้อย่างละเอียดในวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมาโดยสรุปว่าหากไม่แก้ปัญหาโดยเร็ว มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มประเทศยูโรจะแตกสลายได้ภายในเร็ววัน ทั้งนี้โดยมีข้อเสนอแนะหลัก 2 ประการคือ 1. แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยให้อีซีบีพิมพ์เงินอย่างไม่จำกัดในการซื้อพันธบัตรเพื่อทำให้ตลาดเงินตลาดทุนสงบนิ่งและประการที่ 2. คือการยอมออกพันธบัตรรัฐบาลยูโร (eurobond) ซึ่งค้ำประกันโดยรัฐบาลในกลุ่มประเทศยูโร แปลว่าต้องพึ่งพาสถานะทางการคลังของประเทศเยอรมนีเป็นหลักประกันพื้นฐานนั่นเอง ซึ่งทั้ง 2 ข้อนี้เยอรมนียังปฏิเสธมาโดยตลอด แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นทางออกสุดท้ายของกลุ่มยูโรแล้วและเชื่อว่าเยอรมนีจะต้องตัดสินใจในทิศทางนี้ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า มิฉะนั้นปัญหาจะเติบใหญ่และรุนแรงเกินกว่าจะแก้ไขได้

 

 

เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วก็อาจทำให้หลายคนมองว่ายุโรปเดินผิดทาง ในขณะที่สหรัฐเดินถูกทาง แต่ผมมองตรงกันข้าม ในกรณีของยุโรปนั้นเดินถูกทางแล้วเพราะปัญหาคือรัฐบาลมีหนี้สินมากเกินไป ดังนั้นรัฐบาลจึงควรตั้งหน้าตั้งตาลดหนี้ซึ่งรัฐบาลของ PIIGS นั้นต่างก็กำลังเร่งลดหนี้เป็นภารกิจหลักของนโยบายไปแล้ว ที่สำคัญคือรัฐบาลของประเทศดังกล่าวที่เป็นต้นเหตุในการใช้เงินเกินตัวนั้นต่างก็หลุดจากอำนาจทุกรัฐบาลแล้ว จึงสรุปได้ว่าประเทศเจ้าหนี้คือเยอรมนีนั้นเข้มงวดกับลูกหนี้จนเดินมาถูกทาง แต่หลายฝ่ายมองว่าการ ลงแส้ ของเยอรมันนั้นอาจจะรุนแรงเกินไปทำให้เศรษฐกิจล่มสลายลงต่อหน้าต่อตาและทำให้กลุ่มสกุลเงินยูโรล้มลงทั้งระบบก็เป็นได้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากลไกหลักที่กดดันให้รัฐบาล PIIGS หันมารัดเข็มขัดอย่างจริงจัง คือดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับเพิ่มขึ้น

 

 

ในกรณีของสหรัฐนั้นนักการเมืองสามารถทะเลาะกันได้อย่างไม่จบไม่สิ้น ส่วนหนึ่งผมเห็นว่าเป็นเพราะดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐสหรัฐ 2 ปีนั้นเพียง 0.25% ในขณะที่ดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีนั้นอยู่ที่ 2% จึงไม่น่าจะแปลกใจว่าหากรัฐบาลสหรัฐสามารถกู้เงินได้ที่ดอกเบี้ยต่ำระดับนี้ ก็ยากที่นักการเมืองจะรู้สึกถูกกดดันว่าการมีวินัยทางการคลังนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบจัดการโดยทันที บางคนอาจมองว่าที่เป็นเช่นนั้นได้ก็เพราะสหรัฐสามารถพิมพ์เงินที่เป็นเงินสกุลหลักของโลกได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่มีเงินจ่ายหนี้ เพราะนายเบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐนั้นพร้อมเสมอที่จะพิมพ์เงินออกมาอุ้มรัฐบาลสหรัฐ โดยไม่ขัดข้อง (รัฐบาลหลายประเทศคงอยากให้ธนาคารกลางของตนมีนิสัยเหมือนนายเบอร์นันเก้)

 

 

แต่ผมจะต้องโทษเจ้าหนี้ของสหรัฐเป็นหลักที่ยังรุมซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐกันอย่างไม่ลดละ ทำให้สหรัฐไม่จำเป็นต้องรักษาวินัยทางการคลัง ซึ่งเจ้าหนี้หลักๆ ของสหรัฐก็คือธนาคารกลางของประเทศเอเชีย (รวมทั้งไทย) ที่ยังมองว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นที่หลบภัย (safe haven) แต่ยิ่งมองก็ยิ่งมองไม่เห็นว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะเป็นที่หลบภัยได้อย่างไร เพราะอีก 5 ปีข้างหน้าหากรัฐบาลสหรัฐยังมีพฤติกรรมอย่างนี้สถานะทางการคลังของสหรัฐจะไม่แตกต่างจากอิตาลีเลยครับ ที่แตกต่างคือเจ้าหนี้จะไม่ใช่เยอรมนีแต่จะเป็นพวกเราในเอเชียครับ

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...