ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

"กรณ์"จี้รัฐบาลคุ้มครองผู้ฝากเงิน หวั่นธนาคารพาณิชย์ผลักภาระ ปชช.

 

 

วันที่ 07 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 17:19:06 น.

 

Share

 

 

ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมายืนยันว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยอมยกเลิกการใช้มาตรา 7 ของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯให้กับ ธปท.ว่า ถือเป็นพัฒนาการที่ดีที่รัฐบาลยอมถอยแนวคิดที่จะโอนหนี้ 1.14 ล้านล้านบาทของกองทุนฟื้นฟูฯไปให้ ธปท.รับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้กลับไปสู่เงื่อนไขเดิมคือ ให้ ธปท.นำรายได้หลังการหักการขาดทุนสะสมก่อน เท่ากับว่าไม่มีการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มหรือเอา เงินจากกองทุนสำรองระหว่างประเทศ แต่ความพยายามของรัฐบาลก็สะท้อนแนวคิดเผด็จการทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งเกิดมีกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงจากฝ่ายวิชาการ สังคม และคนใน ธปท. จนดำเนินการต่อไปไม่ได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การจะให้ธนาคารพาณิชย์เข้ามารับผิดชอบภาระดอกเบี้ยของหนี้กองทุนฟื้นฟูฯแทน รัฐบาล ซึ่งตนเคยพูดว่า โดยหลักการเป็นเรื่องที่พิจารณาได้ เนื่องจากหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯเกิดจากการเข้าไปอุ้มสถาบันการเงิน ดังนั้น เมื่อสถาบันการเงินมีความเข้มแข็งก็ควรมีส่วนที่จะแบ่งเบาภาระหนี้

 

"รัฐบาลต้องดูแลไม่ให้มีการผลักภาระของต้นทุนที่สูงขึ้น ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไปให้กับประชาชน ผมรู้สึกเป็นห่วงคนที่ไม่ได้ร่ำรวยคนที่มีเงินฝากไว้กับธนาคารจะได้รับผล กระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง เพราะเป็นกลุ่มคนที่อำนาจต่อรองน้อยที่สุด แต่เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่เป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ในลักษณะกองทัพมด ดังนั้น หากธนาคารพาณิชย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้ต่ำลง คนเหล่านี้ก็จะได้รับผลกระทบโดยตรง รัฐบาลจึงต้องกำหนดนโยบายที่ชัดเจนว่า ประชาชนที่เป็นผู้ฝากเงินจะไม่ถูกเอาเปรียบ อีกทั้งยังต้องมีมาตรการคุ้มครองผู้ที่ฝากเงิน หลังจากการนำเงินจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไปใช้ ซึ่งกระทรวงการคลังต้องมีความโปร่งใส" นายกรณ์กล่าว

 

ส่วนกรณีที่นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธาน กยอ. ระบุว่า การที่ ธปท.ออกมาคัดค้านการโอนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯให้ ธปท.รับ เป็นการทำให้สังคมไม่ไว้วางใจนักการเมืองนั้นขัดต่อหลักการประชาธิปไตย เพราะ ธปท.ไม่ได้มาจากประชาชนนั้น นายกรณ์กล่าวว่า ตนคิดว่านายวีรพงษ์คงจะสับสน เพราะ ธปท.มีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม เมื่อรัฐบาลมีแนวคิดที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของธนาคารกลาง ผู้บริหารองค์กรย่อมมีสิทธิออกมาโต้แย้งได้ เพราะธนาคารกลางของประเทศต้องมีความเป็นอิสระ ซึ่งตนเคยพูดเสมอว่า หากรัฐบาลเข้าไปครอบงำ ธปท.ได้ ก็ถือเป็นการนับถอยหลังเศรษฐกิจไทยได้เลย การที่อ้างว่า ธปท.ไม่ได้มาจากประชาชนนั้น ความจริงนายวีรพงษ์ก็ไม่ได้มาจากประชาชนเช่นกัน จึงไม่เข้าใจว่าความจริงแล้ว ความไว้วางใจที่ประชาชนมอบให้กับนักการเมืองนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของ นักการเมืองเอง จึงไม่ควรที่จะไปโทษคนอื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต่างประเทศ

 

 

พิษเศรษฐกิจโลก ส่งเฮดจ์ฟันด์อเชีย เสื่อมมนต์ขลัง

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

เพิ่งจะผ่านพ้นปีใหม่มาได้ไม่ถึงอาทิตย์ สัญญาณเลวร้ายทางเศรษฐกิจหลายประการก็เริ่มปรากฏลางๆ ให้บรรดานักลงทุน และนักวิเคราะห์ทั่วโลกได้อกสั่นขวัญแขวนแล้ว

ไล่เรียงตั้งแต่ ความไม่ชัดเจนทางการเมืองในสหรัฐจนส่งผลต่อความไม่แน่นอนในทิศทางเศรษฐกิจ ความตึงเครียดในอ่าวเปอร์เซียจนสั่นคลอนราคาน้ำมันโลก ความอึมครึมของวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป จนเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

และล่าสุดกับการคาดการณ์ของนายกรัฐมนตรีเหวินเจียเปาของจีนที่ระบุชัดว่า เศรษฐกิจจีนปีนี้มีแววเจอของแข็ง โดยมีปัจจัยบ่งชี้จากตัวเลขการค้าเกินดุลของจีนตลอดทั้งปี 2554 ที่หดตัวลง 12.6% เหลืออยู่เพียงแค่ 1.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จากที่เคยอยู่ที่ 1.83 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2553

สถานการณ์ทั้งหมดข้างต้น ส่งผลให้บรรดานักวิเคราะห์ ประมวลออกมาได้ในแนวทางเดียวว่าเศรษฐกิจทั่วทุกภูมิภาคของโลกมีแนวโน้มตก อยู่ในภาวะซึมเซาอย่างไม่ต้องสงสัย

ไม่เว้นแม้แต่ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเคยเป็นความหวัง ก็ไม่วายเจอพิษเศรษฐกิจซ้ำกระหน่ำให้อ่อนเปลี้ยเพลียแรงตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปีนี้นั้น ถือเป็นปีที่เลวร้ายสำหรับสำหรับบรรดากองทุนเฮดจ์ฟันด์ทั้งหลายของเอเชีย ซึ่งเคยตบเท้าทำกำไรอย่างคึกคักในช่วง 2 –3 ปีที่ผ่านมา

0EA9148981AB4533BC98954CC40DE2A5.jpg

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ผู้คว่ำหวอดในวงการตลาดเงินตลาดทุนต่างลงความเห็นสอดคล้องโดย ไม่ได้นัดหมายกันไว้ว่า กิจการเฮดจ์ฟันด์ของเอเชียในปีนี้จะดำเนินไปได้แบบไม่ค่อยสวยเท่าไรนัก

สาเหตุสำคัญแรกสุดที่ทำให้เฮจด์ฟันด์เอเชียไม่หอมหวานเหมือนเช่นที่เคย เป็นมาเป็นเพราะ บรรยากาศการลงทุนในปัจจุบันที่เอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ จนทำให้การคาดเดาหรือการเก็งกำไรทำได้ลำบาก

ต้องไม่ลืมว่า เฮดจ์ฟันด์คือ กองทุนขนาดใหญ่ที่นำเงินไปลงทุนในตลาดทุนต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการเล็งหาช่องว่างในการทำกำไรที่ปราศจากความเสี่ยง แต่ต้องได้ผลตอบแทนให้มากที่สุด

ดังนั้น การลงทุนของเฮดจ์ฟันด์ จึงเป็นประเภทกล้าได้กล้าเสีย เน้นระยะสั้นแบบมาไวไปไว และต้องทำกำไรให้นักลงทุน ซึ่งมักจะเป็นสถาบันการเงิน หรือนักธุรกิจเงินหนา ได้อยู่เสมอ

เท่ากับว่า หากตลาดมีความผันผวนสูง การทำกำไรของบรรดาผู้ค้าของเฮดจ์ฟันด์ย่อมเป็นไปได้ลำบาก เช่นเดียวกันกับการระดมทุน เพราะนักลงทุนไม่ค่อยอยากเสี่ยงลงทุน

สาเหตุข้างต้น นำไปสู่เหตุผลประการต่อมาที่ว่า บรรดาลูกค้าหลักๆ ของเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ จึงเลือกที่จะลงทุนกับผู้จัดการกองทุนใหญ่ๆ หรือกองทุนเฮดจ์ฟันใหญ่ๆ แทน

เนื่องจากอย่างน้อยที่สุด เฮดจ์ฟันด์ ใหญ่ๆ ระดับโลกมีความเก๋า ที่น่าเชื่อถือ มากกว่า เฮดจ์ฟันด์มือใหม่อย่างเอเชีย แม้ว่าจะมีพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจดีแค่ไหนก็ตาม

ทั้งนี้ ข้อมูลจากนักวิเคราะห์ในตลาดซึ่งบลูมเบิร์กได้รวบรวมไว้แสดงให้เห็นว่า นับตั้งแต่เกิดวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปเมื่อช่วงปี 2552เป็นต้นมา เงินทุนมากกว่า 1.82 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐล้วนไหลเข้าสู่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ขนาดใหญ่ เช่น เจพี มอร์แกน โกล์ดแมน แซค หรือบาร์คเลย์ แทบทั้งสิ้น

ขณะที่ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ของเอเชีย ที่ยังสามารถระดมเงินทุนได้อย่างไม่ยากเย็น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นกองทุนที่เป็นสาขาย่อมหรือผนวกรวมเข้ากับกองทุนขนาดใหญ่ จากชาติตะวันตก

เรียกได้ว่า บรรดากองทุนเฮดจ์ฟันด์ของเอเชียแท้ๆ นั้น ต้องเผชิญกับสภาวะยากลำบากจนต้องปิดตัวลงไปเป็นทิวแถว โดยข้อมูลจากบลูมเบิร์กระบุว่า เพียงแค่ 10 เดือนแรกของปี 2554 เฮดจ์ฟันด์เอเชียได้ปิดตัวลงไปแล้วถึง 123 แห่ง ขณะที่ ปีก่อนหน้า ตลอดทั้งปีมีเฮดจ์ฟันด์ปิดตัวลงไปเพียงแค่ 125 แห่ง

ยูเรกาเฮดจ์ บริษัทผู้ให้บริการฐานข้อมูลจากสิงคโปร์ ระบุว่า เฮดจ์ฟันด์ของเอเชียกำลังซบเซาอย่างหนัก เนื่องจากผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ไม่สามารถทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ

เพราะสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ไม่มีนักลงทุนคนไหนกล้าเสี่ยงกับเฮดจ์ฟันด์ของเอเชียโดยไม่จำเป็น ทำให้เฮดจ์ฟันด์ทั้งหลายไม่สามารถระดมทุนไปลงทุนในตลาดได้ ขณะที่ เงินที่นำไปลงทุนส่วนใหญ่ก็ประสบปัญหาตรงที่ว่าไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ คุ้มค่ากลับคืนมา

หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือว่า เป็นการลงทุนที่ยังคงมีความเสี่ยงเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม แต่กำไรที่ได้กลับมานั้น ถือได้ว่าไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่เสียไป หรือเผลอๆ อาจต้องขาดทุน

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 นั้น มีกองทุนเฮดจ์ฟันด์สัญชาติเอเชียเพียงแค่ 32% เท่านั้น ที่สามารถคืนผลตอบแทนในระดับบวก ซึ่งถือว่าลดลงมากถึง 75% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

เรียกว่า เป็นผลการดำเนินการที่สร้างความผิดหวังให้กับบรรดานักลงทุน

ขณะที่ เฉพาะปีที่แล้ว บรรดาเฮดจ์ฟันด์ในภูมิภาคเอเชียมีเงินทุนไหลเข้ามาเพียง 1.25 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าช่วงปี 2551 ซึ่งตรงกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่เฮดจ์ฟันด์เอเชียเคยดึงดูดเงินลงทุนได้สูง ถึง 1.76 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

ปีเตอร์ ดักลาส ที่ปรึกษาเรื่องการลงทุนของจีเอฟไอเอจากสิงคโปร์ ระบุว่า สถานการณ์ในปัจจุบันส่งผลให้ความอดทนของนักลงทุนเริ่มหมดไป พร้อมๆ กับที่เริ่มรู้ตัวว่า การลงทุนโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ เลย เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากในปัจจุบัน

เรียกได้ว่า บรรดานักค้าของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ซึ่งเคยทำกำไรได้จากส่วนต่างของราคาหุ้นใน ตลาดไม่สามารถดำเนินกลยุทธ์แบบเดิมได้ ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถหาตัวเลือกในการลงทุน เพราะเงื่อนไขของตลาดหุ้นทุกวันนี้แปรปรวนมากเกินไปจนไม่เหมาะกับการลงทุน

ดังนั้น ปี 2555 จึงมีแนวโน้มที่โลกจะได้เห็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์เอเชียเดินหน้าปิดตัวครั้งใหญ่

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เเนะนำก่อนนะครับ เอา Portfolio มาเปิดดูกันมีทั้งได้ทั้งเสียนะครับ

web นี้เห็นมีผลประโยชน์กันมากมาย วันหลังผมเข้า ออก ยังไงจะเอา Port มาให้ชมกันครับ

ทำอะไรเเล้วเปิดเผย show กันไปเลยดีกว่าครับ

 

ตัวเลข เเดง หรือ เขียว

 

ตัวเลข Unrealized ไม่สนใจนะครับ

สนใจเเต่ตัวเลข Realized

 

น้องเสมหายไปนาน (แต่กระทู้นี้ ไม่เคยหายไป) พอปีใหม่ ฟ้าใหม่ น้องเสมมาแจ่มเลย จริงใจสุด ๆ ขอบคุณมากนะคะ อยากกด like สักพันครั้ง

สุขภาพแข็งแรงดีใช่ไหมคะ คิดถึงนะคะ น้องเสม

 

เสียดายก็แต่ ตอนนี้ พี่ แหกระบบ ไม่ได้ปิดเอส เอาไงดีน้อ ต้องรีบ stop ใช่ไหมคะ

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับข้อมูลค่ะ

ถูกแก้ไข โดย richy

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ (1)

 

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

 

ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวบ่อยครั้งเกี่ยวกับข้อเสนอของ รัฐบาลที่อยากโอนหนี้ 1.14 ล้านล้านบาท

ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) กลับไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทั้งนี้ ภูมิหลังมีอยู่ว่าได้มีการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ดังกล่าวมาเป็นหนี้สาธารณะเมื่อปี 2002 โดยมีข้อตกลงว่ารัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยที่เกิดจากหนี้ดังกล่าว ในขณะที่ ธปท.จะนำกำไรสุทธิส่งคืนให้รัฐบาลเพื่อรัฐบาลจะได้นำไปลดมูลหนี้ โดยในปี 2002 ได้มีการทำแบบจำลองคาดการณ์ว่าเป็นการแบ่งเบาภาระอย่างเท่าเทียมกัน คือ ทั้ง ธปท.และรัฐบาลจะผ่อนจ่ายเงินฝ่ายละประมาณ 1 ล้านล้านบาทใน 20 ปีจากปี 2002 หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ก็จะหมดลงทั้งจำนวน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 9 ปี ปรากฏว่า ธปท.มีผลดำเนินการขาดทุนมากกว่ากำไร จึงจ่ายคืนเงินต้นได้น้อยมาก (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลต้องจ่ายดอกเบี้ยต่อปีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยไปกว่า 6 แสนล้านบาท จึงเกิดความต้องการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเกี่ยวกับหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ดังกล่าว รวมทั้งการเสนอให้โอนหนี้ทั้งก้อนกลับไปให้ ธปท.บริหาร ซึ่ง ธปท.ก็คัดค้านเพราะจะเป็นภาระและส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการรักษาวินัย ทางการเงิน

กล่าวคือ หาก ธปท.ต้องบริหารจัดการหนี้จำนวนมหาศาลดังกล่าว ก็จะส่งผลให้ ธปท.ต้องพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก (การต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละ 50,000-60,000 ล้านของกองทุนฟื้นฟูฯ ก็เท่ากับการต้องพิมพ์เงินเพิ่มปีละ 5% เป็นต้น) ทำให้เสี่ยงต่อการกดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นและเงินบาทอ่อนค่าลง ในส่วนหลังนี้ผมคิดว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ (รวมทั้งตัวผมเอง) จะมองไปในทิศทางเดียวกันว่าการโอนหนี้จำนวนมากให้ ธปท. เป็นความเสี่ยงอย่างแน่นอน แม้บางคนจะอ้างถึงการพิมพ์เงินอย่างไม่จำกัดขอบเขตของธนาคารกลางสหรัฐและการ กดดันให้ธนาคารกลางยุโรปทำตามแบบสหรัฐ แต่เมื่อเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำก็ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ควรเอาอย่าง โดยเฉพาะสำหรับเงินบาทที่ไม่ได้มีสถานะพิเศษที่เป็นเงินสกุลหลักของโลก

แต่ปัญหาการล่มสลายของสถาบันการเงินนั้นมิได้เกิดขึ้นมาโดยตัวของระบบการ เงินเอง แต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากความตกต่ำอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจไทย เมื่อปี 1997-1998 ที่มีต้นเหตุมาจากวิกฤติอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น รากเหง้าของปัญหาจึงเกิดจากเรื่องของการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องกล่าวถึงเพื่อให้เห็นภาพอย่างครบถ้วนและรอบด้าน เรื่องนี้ได้เคยมีการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งและกว้างขวางมาแล้ว โดยเฉพาะคณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.) ซึ่งได้ตีพิมพ์รายงานของคณะกรรมการออกมาเมื่อ 10 มีนาคม 2541 (1998) ซึ่งผมขอคัดลอกบทสรุปบางส่วนออกมาให้อ่านเพื่อเป็นภูมิหลังในการประเมิน ปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ดังต่อไปนี้ และเมื่ออ่านแล้วจะได้มาพิจารณาประเด็นต่างๆ ในเชิงวิเคราะห์ต่อไปครับ

สรุปความเห็น/ข้อเสนอแนะของ ศปร. (คัดลอกจากรายงาน ศปร.)

ข้อบกพร่องของโครงสร้างระบบการบริหารการเงินอันนำไปสู่วิกฤตการณ์และความไม่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจเชิงนโยบาย

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจไทยครั้งนี้มีจุดเริ่มมาจากการก่อหนี้ของภาคเอกชน แต่การดำเนินนโยบายการเงินของรัฐก็มีส่วนทำให้ปัญหาการก่อหนี้บานปลายอย่าง แทบจะไม่มีขีดจำกัด

ขั้นตอนของความเพลี่ยงพล้ำในการดำเนินนโยบายการเงิน ลำดับได้ดังต่อไปนี้

1. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจเลือกที่จะไม่ให้เปิดตลาดเงินทุนเสรีตั้งแต่ พ.ศ. 2533 แต่ ธปท.ก็เลือกที่จะให้เปิด การตัดสินใจให้เปิดครั้งนั้นนับว่าเป็นผลพวงของแนวนโยบายที่เป็นมาโดยต่อ เนื่องเป็นระยะยาวนาน และสะท้อนความต้องการของฝ่ายการเมืองในขณะนั้นอย่างเต็มที่ เมื่อนายวิจิตรเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการก็สานต่อนโยบายนั้นอย่างขะมัก เขม้นถึงขั้นเปิดวิเทศธนกิจ ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย

2. เมื่อ ธปท.เลือกที่จะเปิดตลาดเงินทุนให้เสร็จแล้ว ธปท.ก็ควรเลือกที่จะให้อัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่นมากกว่านี้ แต่ ธปท.ก็เลือกที่จะรักษาช่วง (band) อัตราแลกเปลี่ยนที่แคบมากไว้จะมาเริ่มพิจารณาก็ในเดือนเมษายน 2539 ซึ่งสายไปเสียแล้ว เพราะหลังจากนั้น อีกไม่กี่เดือนปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็รุนแรงจนทำให้ ธปท.กลัวที่จะดำเนินการใดๆ อีกต่อไป เพราะเกรงว่าจะส่งสัญญาณผิดให้กับตลาด

3. เมื่อ ธปท.เลือกที่จะรักษาช่วงอัตราแลกเปลี่ยนที่แคบไว้เช่นนั้น ก็หมายความว่า แนวนโยบายทางด้านอุปสงค์รวมจะต้องมีความระมัดระวัง (conservative) เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในระยะตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา นโยบายการคลังเป็นเรื่องของรัฐบาลและรัฐสภาก็จริงอยู่ แต่ ธปท.ก็มิได้ผลักดันอย่างจริงจังให้รัฐบาลมีนโยบายเกินดุลซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ในช่วงนั้น ส่วนนโยบายการเงินที่ดึงปริมาณเงินในประเทศก็ไร้ผล เพราะถูกลบล้างด้วยเงินกู้จากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

4. เมื่อ ธปท.ไม่สามารถใช้นโยบายการคลังหรือการเงินได้ ก็ควรจะใช้มาตรการไม่ให้เงินกู้ไหลเข้าประเทศอย่างมากมายเสียตั้งแต่ต้น แต่มาตรการที่ประกาศเป็นมาตรการที่อ่อนและนำมาใช้เมื่อสายไปแล้ว คือ หลังจากไทยมีหนี้สินระยะสั้นในระดับสูงมากเกินไปเสียแล้ว

จะเห็นว่า รายงานของ ศปร. ได้ชี้ให้เห็นว่าการสาเหตุของวิกฤติครั้งนั้น เกิดจากการบริหารจัดการที่บกพร่องในการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งในสัปดาห์หน้า ผมจะนำเสนอรายงานในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาสถาบันการเงินที่ส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงและการบริหารจัดการกองทุนฟื้นฟูฯ ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?

 

 

วันที่ 05 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 12:00:25 น.

 

Share 13257341691325735031.jpg

แฟ้มภาพ(AFP)

 

 

โดย ดำรง ลีนานุรักษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

 

(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 5 ม.ค.2555)

act01050155p1.jpg พอ ล ครุกแมน ศาสตราจารย์ นักเศรษฐ ศาสตร์ รางวัลโนเบล ปี 2550 และคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ เพิ่งเขียนบทความส่งสัญญาณเตือนว่า ทุกวันนี้ทั้งโลกกำลังจุกอกกันอยู่จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มจากสหรัฐอเมริกา และที่กำลังแผ่สะเทือนไปทั้งโลกจากกลุ่มประชาคมยุโรปหรืออียู โลกเราไม่ได้ต้องการศูนย์กลางวิกฤตเศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะส่งผลสะท้านสะเทือน โลกเพิ่มขึ้นอีกเลย แต่เราน่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ภาวะฟองสบู่อสังหาฯในเมืองจีนได้เริ่มแตกแล้ว (http://www.nytimes.com/2011/12/19/ opinion/krugman-will-china-break.html?src= me&ref=general)

 

พอ ลว่า ให้ลองพิจารณาภาพต่อไปนี้ : การเจริญทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ขึ้นอยู่กับการบูมของสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ใหญ่ๆ ที่ถูกกระตุ้นโดยการพุ่งสูงขึ้นของราคาอสังหาฯ ร่วมกับสัญญาณที่คลาสสิกของฟองสบู่

 

นั่นคือ การเพิ่มขยายตัวอย่างสูงในการปล่อยสินเชื่อ โดยที่สินเชื่อส่วนใหญ่เหล่านั้นไม่ได้ถูกปล่อยจากระบบธนาคารที่เป็นสากล แต่กลับถูกปล่อยจากระบบธนาคารเงา (shadow banking) ที่ไม่ได้ถูกควบคุมกำกับ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลหรือมีการประกันหนุนหลังโดยรัฐบาล ขณะนี้ฟองสบู่กำลังแตก และเป็นเรื่องที่น่าหวาดวิตกต่อการเกิดวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจ

 

ภาพ ข้างบนดูแล้วอย่างกับว่ากำลังอธิบายปรากฏการณ์ฟองสบู่แตกในปลายปี 2523 ที่ญี่ปุ่น หรือไม่ก็ที่อเมริกา เมื่อปี 2550 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นกำลังเกิดขึ้นที่จีน และกำลังก่อตัวขึ้นเป็นจุดอันตรายจุดใหม่ในเศรษฐกิจโลก

 

เขาออกตัวว่า เขาลังเลอยู่เหมือนกันที่จะให้น้ำหนักกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจีน ส่วนหนึ่งเป็น เพราะว่า มันยากที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้วอะไรที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศจีน ด้วยข้อมูลสถิติทางด้านเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ดูแล้วน่าเบื่อแบบนิยายวิทยา ศาสตร์ แต่ตัวเลขของจีนกลับแปร่งๆ แบบนิยายกว่าเขาหมด เขาเคยลองปรึกษาเรื่องนี้กับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์จีน พบว่าผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนไม่เคยอธิบายผลออกมาในทางเดียวกันเลย แม้ว่าข้อมูลที่เป็นทางการของจีนจะมีปัญหาอยู่ แต่ข่าวสารที่มีอยู่ในปัจจุบันก็รุนแรงเพียงพอที่จะต้องตีระฆังเตือนกัน

 

สิ่ง ที่เด่นชัดเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคือ เรื่องของอัตราการบริโภคในครัวเรือนที่สูงขึ้น แต่อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม

 

ในเรื่องนี้พบ ว่าการใช้จ่ายในครัวเรือนอยู่ที่เพียง 35 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งต่ำกว่าสัดส่วนเดียวกันนี้ของอเมริกาอยู่ครึ่งหนึ่ง

 

อเมริกาคือ ผู้ซื้อรายใหญ่ของสินค้าและบริการที่ผลิตจากจีน แต่กำลังซื้อได้หดลงเพราะวิกฤตการณ์ทางการเงิน จีนยิ่งต้องผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น เพื่อรักษาให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่รอด แต่เรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องนี้ของจีนอยู่ที่การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งได้พุ่งทะยานขึ้นสูงเกือบครึ่งหนึ่งของ GDP

 

คำถามที่เกิดขึ้นคือ ในขณะที่ความต้องการหรืออุปสงค์เพื่อการบริโภคค่อนข้างต่ำ อะไรที่จูงใจให้มีการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่สูงมากๆ นั้น

 

คำตอบที่ชัดๆ คือ มันสืบเนื่องจากภาวะฟองสบู่ของอสังหาฯที่สั่งสมมานาน

 

การ ลงทุนในภาคอสังหาฯได้เพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวในสัดส่วนของ GDP ตั้งแต่ปี 2543 หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของการลงทุนรวมทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น และเป็นที่มั่นใจได้ว่าการลงทุนในภาคอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นการลงทุนในการขยายกิจการร้านค้าที่ทำธุรกรรมกับกลุ่มอุตสาหกรรมการก่อ สร้าง

 

แล้วเรารู้จริงๆ หรือว่าเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาฯ ในจีน?

 

เขา ว่า พบว่าสัญญาณต่างๆ มันแสดงออกอย่างนั้น : ไม่ใช่แค่ราคาพุ่งสูงขึ้น แต่บรรยากาศเต็มไปด้วยการปั่นการเก็งกำไรที่คุ้นๆ กันอยู่ในอเมริกาก่อนหน้านี้ เช่นแถบชายฝั่งฟลอริดา

 

ยังมีอีกเรื่อง หนึ่งที่เหมือนกับกำลังเดินคู่อยู่ในแนวทางเดียวกับประสบการณ์ของอเมริกา : เมื่อการให้สินเชื่อบูม สินเชื่อส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากธนาคาร แต่จะมาจากการปล่อยสินเชื่ออย่างขาดการให้คำแนะนำที่ดี จากระบบธนาคารเงาที่ผู้กู้ไม่ได้รับความคุ้มครอง จริงอยู่ที่จะมีความแตกต่างอย่างมากในรายละเอียด : ธนาคารเงาหรือ shadow banking ในสไตล์แบบอเมริกามักปล่อยกู้กับบริษัทใหญ่ๆ ดังๆ แถบวอลสตรีตและกลุ่มธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อน

 

ในขณะที่เวอร์ชั่น ของจีนมีแนวโน้มที่จะผ่านไปทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินใต้ดินและแม้แต่ โรงจำนำ แต่แน่นอนว่า ผลเบื้องปลายของมันไม่ต่างกัน ในจีนจะเจอเหมือนอเมริกาเมื่อหลายปีก่อน ระบบการเงินอาจจะเลวร้ายรุนแรงมากกว่าตัวเลขความเสียหายที่จะถูกเปิดเผยโดย ธนาคาร

 

พอล ครุกแมน กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่าได้เห็นการแตกของฟองสบู่แล้ว มันจะทำความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจจีนและโลกเพียงใด?

 

บาง คนอาจจะกล่าวว่า ไม่ต้องห่วงหรอก จีนมีผู้นำประเทศที่เข้มแข็งและฉลาด ที่จะทำทุกอย่าง เพื่อสกัดการไหลเลื่อนลงเหวของเศรษฐกิจ และเขาจะทำได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องห่วงเรื่องละเมิดประชาธิปไตย

 

พอลว่า ฟังแล้วเหมือนการสัญญารับรองสุดท้าย ที่คุ้นๆ ที่เขาจำได้เมื่อวิกฤตของญี่ปุ่นช่วง 3 ทศวรรษก่อน เมื่อเจ้าหน้าที่ที่เก่งๆ ของกระทรวงการคลัง ที่ทุกคนเชื่อว่าแก้ไขปัญหาทุกอย่างในตอนนั้นได้อย่างดี แต่ต่อมาก็พบว่าล้มเหลวและเป็นการรับรองที่ทำให้ญี่ปุ่นเกิดภาวะเศรษฐกิจ ชะงักงันไปร่วมทศวรรษ คำรับรองแบบที่อเมริกาไม่ควรตามและผิดซ้ำ

 

แต่ปรากฏว่าพอถึงทีของอเมริกากลับทำได้ห่วยแตกกว่าที่ญี่ปุ่นทำเสียอีก

 

ใน วันเดียวกันกับการตีพิมพ์บทความเรื่องนี้ของพอล ครุกแมน นิตยสาร Forbes ได้ตีพิมพ์บทความของ Gordon G, Chang เรื่อง The No.1 Problem of the Chinese Economy (http://www.forbes.com/sites/gordonchang/ 2011/12/18/the-no-1-problem-of-the-chinese-economy/) ได้ให้ข้อมูลจากการประชุมระดับนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ (China′s Central Economic Work Conference) ที่ปักกิ่งในวันพุธที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมานี้ การประชุมครั้งนี้ มีความสำคัญด้วยเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 18 ใน ปีหน้า

 

ข้อสรุปจากที่ประชุมดังกล่าวสะท้อนให้เห็น ว่า รัฐบาลจีนยังดำเนินการทุกอย่างให้เดินไปตามปกติ หรือ Business as usual โดยเป้าหมายทางเศรษฐกิจของปีหน้าจีนจะ "ดำเนินการให้ก้าวหน้าต่อไป ในขณะที่จะรักษาเสถียรภาพ" เสถียรภาพตามที่ประกาศจากที่ประชุมหมายถึง "ยังคงรักษานโยบายเศรษฐศาสตร์มหภาคตามที่ดำเนินมา เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างสัมพัทธ์ ดัชนีผู้บริโภคที่คงตัว และมีความสงบในสังคม" Chang กล่าวว่า ปฏิญญาที่ประกาศออกมาชี้ให้เห็นว่า เป็นการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ทั้งหลายส่วนใหญ่ไม่สนใจคำประกาศ แต่บอกให้เน้นดูว่ารัฐบาลจีนจะทำอะไรจริงๆ มากกว่า

 

โดยข้อเท็จจริง รัฐบาลจีนกำลังจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมารัฐบาล โดยธนาคารกลางได้ผ่อนคลายมาตรการเรื่องสัดส่วนทุนสำรองของธนาคารเพื่อการ สหกรณ์ลง 20 ธนาคาร ตามมาด้วยการผ่อนคลายมาตรการนี้ให้แก่ธนาคารทั้งใหญ่และเล็กอย่างครบถ้วน การปล่อยสินเชื่อของธนาคารจึงเพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ย. สูงกว่าการประมาณการที่เคยตั้งไว้

 

Chang ตั้งคำถามว่า "ควรหรือไม่ที่นโยบายเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนทิศทาง?"

 

จริง อยู่เศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวอย่างแรงเมื่อต้นปี ได้ลดความร้อนแรงลงมาเหลือแค่ตัวเลขหลักเดียว หรือหดตัวเสียด้วยซ้ำไป ทุกวันนี้ไม่มีอะไรในจีน ที่เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ว่าการส่งออก การบริโภคภายในประเทศ คำสั่งซื้อสินค้า หรือราคาอสังหาฯ

 

และปัญหาเหล่านี้จะเพิ่มความเลวร้ายมากขึ้น ใน ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังวิ่งเข้าสู่สภาพทุพพลภาพ

 

ความ น่าเป็นห่วงต่อเศรษฐกิจจีนว่าจะล่มตามข้อเขียนของพอล ครุกแมน ดูท่าเราท่าน นักอะไรทั้งหลายคงต้องโฟกัสกัน การวางนโยบายเดินหน้ารักษาฟองสบู่ที่เป่งเต่งจะแตกปุ๊ป๊ะของจีน เสมือนยืนยันประกันว่า ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างดีแบบ บ่ๆ มีหยังดอก มังกรจีนเรามีความโดดเด่นไม่เหมือนเขา ฟองสบู่ของจีนแตกไม่เป็นว่านั้นเถอะ

 

ปีหน้าปีมะโรง ปีงูใหญ่ มันจะยิ่งไปเสริมความหลงของเล่ามังกรจีนว่าเป็นปีแห่งความเจริญรุ่งเรือง แบบมังกรทองสะท้านฟ้า เราท่านก็เตรียมตัวกันให้ดีเถอะครับ ปีหน้ามีคนคาดคะเนไว้ว่า ทั้งเศรษฐกิจโลกล่ม ทั้งสภาวะอากาศวิปริต และเมืองไทยเราเขาว่าน้ำจะท่วมใหญ่กว่าปีนี้อีก

 

การเตรียมพร้อมมี แผนรองรับความไม่แน่นอนที่เลวร้ายจากการคาดคะเนหรือพยากรณ์ (Forcast, ไม่ใช่ดูหมอเอา) อย่างสงบ ไม่วุ่นวายใจ และไม่กลัว ภายใต้ความเป็นจริงของข้อมูลที่มีอยู่ ถ้าเหตุร้ายเกิดขึ้นตามการคาดคะเนจริง ก็จะได้ผ่อนหนักเป็นเบา เขาเรียกว่ามีวิชั่นหรือมีวิสัยทัศน์ แต่ถ้าเตรียมการแล้วเหตุร้ายไม่เกิด ทางพระเรียกว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาทครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

2012 ปี สยองของเศรษฐกิจโลก

 

โดย : ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย

ไม่นับรวมคำทำนายของ ด.ช.ปลาบู่ หรือการทำนายของหมอดูหลายคนที่มองไว้เลวร้ายหลายอย่างในปีหน้า

รวมไปถึงการพยากรณ์ "วันสิ้นโลก" อันเกิดจากแกนโลกพลิกในช่วงปลายเดือน ธ.ค. 2012 ซึ่งอาจเป็นภัยพิบัติระดับใหญ่หลวงอย่างยิ่งต่อมนุษยชาติ บทความนี้ จะพูดเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลกเท่านั้น

หลังจากที่โลกได้เผชิญกับ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2008 ไปแล้วนั้น บาดแผลเกิดจากความเสี่ยงของการล้มละลายของสถาบันการเงินในอเมริกา เช่น เลแมน บาร์เธอร์ส เป็นต้น อย่างไรก็ดี เวลานั้น โลกมีทั้ง ยาฉีด (นโยบายการคลัง) ยากิน (นโยบายการเงิน) และยาทา (นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน) เพื่อบรรเทาอาการของบาดแผลไปได้มาก จนนึกว่าหายสนิทแล้ว แต่เมื่อมาถึงปี 2011 กลับพบว่า บาดแผลได้ขยายวง "ลึกขึ้น" (โดยลามจากสถาบันการเงินไปยังรัฐบาลของประเทศอ่อนแอ เช่น PIIGS) และ "กว้างขึ้น" (ไม่เฉพาะแต่ประเทศพัฒนาแล้ว แต่ในจีน และอินเดียเองก็เริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวเร็วมาก โดยดัชนีหุ้นของ 2 ประเทศที่ตกต่ำสุดในรอบ 2 ปีได้ชี้นำเศรษฐกิจล่วงหน้าแล้ว) ขณะที่ยาทุกประเภทนั้นใช้ไปจนหมดคลังแล้ว ผมขอตั้งชื่อวิกฤติครั้งใหม่นี้ว่า "วิกฤติหมูหัน" อันมาจากชื่อของ "อาหารจีน" และประเทศชายขอบในยูโรโซน (PIIGS) ประกอบกันเป็น วิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2012

นี่จึงเป็นที่มาของคำพูดของ ผู้อำนวยการ IMF นางลาร์การ์ดที่เกรงว่า เศรษฐกิจโลกจะหดตัวทั่วโลกในปี 2012 จะมีลักษณะคล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1930 ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็ตาม จะได้ผลกระทบต่อการถดถอยครั้งนี้ อาจมีการปกป้องการค้าจนทำให้การส่งออกหดตัวลงด้วย จำเป็นที่ประเทศทั่วโลกต้องประสานกัน ร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าฟัน "วิกฤติหมูหัน" ครั้งนี้ไปด้วยกันให้ได้ นี่คือ ความหวั่นเกรงของ "หมอใหญ่" ที่คอยดูแลเศรษฐกิจโลกอยู่ โดยไม่รู้ว่ารับมือจัดการกับวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่นี้อย่างไรดี เพราะยาทุกประเภทที่รู้จักได้ใช้ไปหมดแล้วแต่ไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ

ตามปกติแล้ว หากเรารักษาด้วยยาแผนตะวันตกแล้วไม่ได้ผล สิ่งที่คิดทำต่อไป ก็คือ ใช้แพทย์ทางเลือกไงครับ ฝังเข็ม นวดกดจุด โยคะ สมุนไพร และอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นแพทย์แผนตะวันออกนั่นเอง และสำหรับวิกฤติครั้งนี้ก็เช่นกัน

พุทธเศรษฐศาสตร์ ควรจะดูแลปัญหานี้ได้หรือไม่ ผมคิดว่า นี่คือ "วัคซีน" ชั้นยอดที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมา เพราะ ควบคุมความโลภได้ตั้งแต่ต้นแล้ว โลกก็ไม่เป็นโรคไม่เกิดแผล อย่างไรก็ดี ตอนนี้บาดแผลลึกและกว้างมาก ติดเชื้อเริ่ม "เน่าเฟะ" แล้วด้วย วัคซีน คงไม่อาจช่วยอะไรได้มากนัก นอกจากนี้ เป้าหมายของพุทธเศรษฐศาสตร์ คือ "นิ่ง-สงบ-เย็น" ซึ่งเป็นพลังหยิน ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายที่เศรษฐกิจโลกต้องการในด้านพลังหยาง คือ "เติบโต-คึกคัก-ร้อนแรง"

"ยูโรโซน" ยังคงเป็นปัญหาหนักต่อไป การให้สินเชื่อผ่าน IMF, EU, ECB, EFSF, ESM อะไรก็แล้วแต่ เป็นเพียงแค่เอาช้อนไปคนในแก้วที่มี "น้ำ" กับ "น้ำมัน" รวมกันอยู่เท่านั้น แม้ไม่สามารถจะรวมกันได้อยู่ดี แต่ก็ยังพอจะหลอกๆ ผู้คนไปได้ระยะหนึ่งว่า ยูโรโซน ยังคงรวมกันเป็นหนึ่งเดียวอยู่ แต่ในที่สุดแล้วก็คงฝืนธรรมชาติ และทฤษฎีการเงินระหว่างประเทศ (International Fisher Effect) ซึ่งกล่าวว่า ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย ย่อมชดเชย ด้วยส่วนต่างของค่าเงินในระยะยาว นั่นหมายถึง ประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ย 10 ปีในระดับสูงมาก กรีซ (35%) โปรตุเกส (13%) อิตาลี (7%) ควรจะมีค่าเงินที่อ่อนลงกว่าประเทศที่มี อัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่น เยอรมนี (2.0%) เนเธอร์แลนด์ (2.3%) แต่ค่าเงินของ 2 กลุ่มประเทศนี้กลับผูกด้วยเงินสกุลเดียว คือ "ยูโร" แน่นอนว่า นักวิชาการจำนวนมากนอกเขตยูโรโซน ได้วิจารณ์โจมตี "เงินยูโร" ว่าถูกสาปตั้งแต่ก่อกำเนิดแล้ว และมาถึงปัจจุบันยิ่งถูกโจมตีอย่างหนักเพราะเห็นถึงปัญหาของการสูญเสียทั้ง "อิสรภาพ" และ "ดุลยภาพ" ของประเทศสมาชิก

ส่วนประเทศจีน นั้นสร้างฟองสบู่โดยมี ปริมาณเงิน (M2) สูงกว่า Nominal GDP Growth ทั้งๆ ที่ควรยืนใกล้เคียงกันที่ 13-15% ต่อปี แต่จีนกลับปล่อยให้ M2 เติบโตสูงถึง 28% ในปี 2009 และ 20% ในปี 2010 ซึ่งเงินส่วนเกินนี้จึงเข้าไปสร้างฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก และเมื่อถึงเวลานี้ก็เดินเข้าใกล้ "ภาวะฟองสบู่แตก" เต็มที โดยราคาอสังหาฯ เริ่มลดลงอย่างชัดเจนแล้วตั้งแต่เดือน พ.ย. ขณะเดียวกัน ดัชนี PMI ก็เข้าสู่ภาวะถดถอย เมื่อรวมกับค่าดัชนีหุ้นที่ตกต่ำในรอบ 2 ปี ยิ่งฉายภาพชัดถึงการชะลอตัวลงเร็วในปี 2012

สำหรับมุมมองด้านการลงทุนก็คือ อัตราดอกเบี้ยน่าจะยังคงเดินหน้าเป็น "ขาลง" ต่อไป ดังนั้น กองทุนพันธบัตรระยะยาวจึงน่าสนใจ ขณะที่สินทรัพย์เสี่ยงทุกประเภท ทั้ง หุ้น ทองคำ น้ำมัน อาจดิ่งลงกว่า 20% ได้ไม่ยาก เพราะเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น สำหรับการเก็งกำไรแล้ว "ชอต" (short) จึงน่าจะเป็นคาถาสั้นๆ ที่จะสร้างกำไรได้ในครึ่งปีแรกของ 2012 แต่เมื่อถึงกลางปีคาดว่า "ยูโรโซน" น่าจะแตกตัวออกเป็น 3 สกุลด้วยกันเพื่อรองรับพื้นฐานเศรษฐกิจของกลุ่มแข็งแรง กลางๆ และอ่อนแอ แม้อาจสร้างความสับสนยุ่งเหยิงในช่วงแรกๆ แต่เป็นการ "ดุลยภาพ" ใหม่ให้ประเทศ PIIGS สามารถยืนบนขาตนเองได้อีกครั้ง และน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เริ่มเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ได้อีกครั้งหนึ่งด้วย

แต่หากมองในมุมเศรษฐศาสตร์แล้ว ผมคิดว่า "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" (Taiji-Econ.) ที่นำแนวคิดของจีนทั้ง เต๋า และไทเก๊ก มาช่วยด้วยการรักษาสมดุล การยืมแรงสะท้อนแรง และเปลี่ยนนิ่งเป็นเคลื่อน โดยมียา 4 ชุด คือ การคลังไทเก๊ก การเงินไทเก๊ก FX ไทเก๊ก และบำนาญไทเก๊ก น่าจะเป็นยารักษาที่เหมาะกับ "วิกฤติหมูหัน" ในปีหน้า โดยคาดว่าน่าจะเริ่มมีการนำไปใช้ตั้งแต่กลางปีเป็นต้นไปครับ

Tags : ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เเนะนำก่อนนะครับ เอา Portfolio มาเปิดดูกันมีทั้งได้ทั้งเสียนะครับ

web นี้เห็นมีผลประโยชน์กันมากมาย วันหลังผมเข้า ออก ยังไงจะเอา Port มาให้ชมกันครับ

ทำอะไรเเล้วเปิดเผย show กันไปเลยดีกว่าครับ

 

ตัวเลข เเดง หรือ เขียว

 

ตัวเลข Unrealized ไม่สนใจนะครับ

สนใจเเต่ตัวเลข Realized

 

หวังว่าคุณเสมจะไม่รับ ดูแลพอตเสียเองนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปีใหม่นี้ อากาศเย็นๆ ทำใจสบายๆ เถิดนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวังว่าคุณเสมจะไม่รับ ดูแลพอตเสียเองนะครับ

 

 

คิดได้ไง ถึงพิมพ์อย่างนี้ คุณเสมเป็นผู้มีน้ำใจใสสะอาดมานานนักมีแต่ให้ข้อมูลที่ดีๆ

 

ฟรีๆ แฟร์ๆ ตลอดมาไม่เคยมีนอกใน อยากให้คุณลบข้อความของคุณจัง

 

ทำลายน้ำใจโดยหาใช่เหตุอันควรเลย เฮ่อ----- :033

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...