ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

การเงินโลกสะท้านกฎเหล็กบาเซิล หวั่นซ้ำเติมวิกฤตความเชื่อมั่น

 

 

 

 

 

โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

สัญญาณเลวร้ายทางเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นอย่างค่อนข้างชัดเจนตั้งแต่ เริ่มต้นปีใหม่นี้ ถือเป็นของขวัญสุดเจ็บประจำปีที่ไม่มีใครอยากอ้าแขนรับเท่าใดนัก

ทว่าเมื่อไม่ค่อยมีหนทางให้หลีกเลี่ยง ทางเดียวที่พอจะเหลืออยู่ก็คือการเตรียมการตั้งรับและเตรียมใจให้ดีที่สุด โดยหนึ่งในการเตรียมความพร้อมที่สำคัญที่สุดที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ การเตรียมการของบรรดาธนาคารพาณิชย์ทั่วโลกที่กำลังยืนหมิ่นเหม่จ่อปาก เหวอยู่ในขณะนี้

เพราะสภาพที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ของตลาด อันเป็นผลจากวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาคยุโรป ส่งผลให้นักลงทุนไม่ค่อยอยากนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน จนบรรดาธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเริ่มประสบปัญหากับการขาดสภาพคล่อง จนมีสิทธิซ้ำรอยวิกฤตเลห์แมน บราเธอร์ส เมื่อปี 2551

รูปการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้คณะกรรมการด้านนโยบายการเงินที่คอยควบคุมดูแลหลักเกณฑ์การกำกับดูแล สถาบันการเงิน หรือที่รู้จักกันดีใน ชื่อ บาเซิล ส่งสัญญาณออกมาแล้วว่า จะเริ่มตรวจสอบสถานะของธนาคารพาณิชย์ในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น และสหรัฐ ภายในไตรมาสแรกของปีนี้

0EA345C661084FB4B6066547A3A914AC.jpg

เหตุผลหลักๆ ของการตรวจสอบก็เพื่อดูว่าบรรดาธนาคารพาณิชย์ในประเทศนั้นๆ ปฏิบัติตามเกณฑ์บาเซิล 2 ที่กำหนดให้ธนาคารต้องกันเงินทุนสำรองให้ได้ 2% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารอย่างจริงจังเข้มงวดมากน้อยแค่ไหนเพื่อให้แน่ ใจว่า ธนาคารมีความแข็งแกร่งพอที่จะรับมือวิกฤตการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น

ทั้งนี้ โลกได้เผชิญหน้ากับวิกฤตการเงินครั้งใหญ่มาแล้วเมื่อช่วงปี 25512552 ที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินแทบทุกแห่งต้องเจอกับปัญหาการขาดสภาพ คล่อง ขณะที่บางแห่งเลวร้ายหนักถึงขั้นล้มละลาย กลายเป็นกรณีศึกษาให้ทั่วโลกต้องจดจำ เช่น เลห์แมน บราเธอร์ส เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์สุดระทึกต้องเกิดซ้ำรอยอีกระลอก กฎบาเซิลจึงเกิดขึ้น

บาเซิล คือหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงินบาเซิล ซึ่งจะคอยกำหนดกฎเกณฑ์ ดูแล ตรวจสอบการดำรงเงินกองทุน และการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของบรรดาธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลก เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สถาบันการเงินสามารถต้านทานภาวะวิกฤตในระบบการเงิน และระบบเศรษฐกิจได้ดีขึ้น พร้อมทั้งลดการส่งต่อความเสี่ยงจากระบบการเงินไปยังภาคเศรษฐกิจจริง

หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือว่า เป็นหลักเกณฑ์ที่ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าธนาคารมีกันชนที่แข็งแรงดีพอที่ จะรับมือวิกฤตไม่ให้กิจการล้มและไม่ให้ลุกลามไปกระทบบรรดากิจการโรงงานทั้ง หลาย ด้วยการดูว่าธนาคารเหล่านี้มีทุนสำรองเพียงพอและมีสินทรัพย์คุณภาพที่มีสภาพ คล่องสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาล AAA

ทั้งนี้ นอกจากจะเดินหน้าตรวจสอบอย่างจริงจังแล้ว ทางบาเซิลยังส่งสัญญาณเตรียมยกระดับความเข้มงวดของหลักเกณฑ์ที่ใช้กันอยู่ ให้มากขึ้น

เรียกได้ว่า เปลี่ยนสถานะจากกฎบาเซิล 2 เป็นบาเซิล 3 โดยธนาคารต้องเพิ่มสัดส่วนเงินทุนสำรองให้ไปอยู่ที่ 7% ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ต้องกันเงินทุนสำรองมากกว่าธนาคารปกติถึง 12.5% จากระดับ 7% ที่กำหนดไว้

พร้อมกันนี้ บาเซิลยังเตรียมใช้มาตรการกำหนดอัตราสินทรัพย์ต่อสภาพคล่อง (Liquidity Coverage Ratio : LCR) กับการกำหนดกฎสภาพคล่องใหม่ของธนาคาร โดยการเพิ่มอัตราส่วนเงินกองทุน เพื่อเป็นหลักประกันให้กับบรรดานักลงทุนให้ใจชื้นขึ้นมาได้เปลาะหนึ่งว่า ธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะอยู่รอดเป็น เวลา 30 วัน หากเกิดวิกฤตจนไม่สามารถระดมเงินทุนจากตลาดได้

แน่นอนว่า การเร่งเดินหน้าตรวจสอบสุขภาพทางการเงินของธนาคารทั้งหลายย่อมเป็นเรื่องดี ที่จะเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้กลับคืนมาได้

และการเดินหน้าปฏิรูปหลักเกณฑ์บาเซิลให้เข้มงวดมากขึ้นก็ย่อมช่วยให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อดีไม่น้อย แต่บรรดานายธนาคารและนักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งกลับมองว่า หลักเกณฑ์บาเซิลดังกล่าวอาจทำให้ธนาคารหลงลืมหน้าที่สำคัญของตนเอง ก็คือการเป็นแหล่งเงินทุนให้กับบรรดาธุรกิจและกิจการทั้งหลาย

พูดแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือว่า ถ้าต้องปฏิบัติตามกฎของบาเซิลอย่างจริงจัง ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งก็จำต้องลดการปล่อยกู้ให้กับบรรดาธุรกิจ ซึ่งอยู่ในภาคเศรษฐกิจจริงลง

หมายความว่า ในสภาพที่เศรษฐกิจทั่วโลกยังชะลอตัว บริษัทห้างร้านทั้งหลายย่อมต้องการเงินทุนสนับสนุนเพื่อกระตุ้นให้มีความ เคลื่อนไหวหมุนเวียน มีสภาพคล่องในตลาด

แต่เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของบาเซิลที่ได้ตกลงกันไว้ ธนาคารหลายแห่งมีแนวโน้มที่อาจจะต้องลดการปล่อยกู้ลง

เท่ากับยิ่งเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจที่ซึมเซาทั่วโลกให้ซึมเซาหนักขึ้น

นอกจากนี้ บรรดานายธนาคารต่างแสดงความวิตกกังวลถึงอนาคตของธนาคารที่ต้องเผชิญกับกฎบาเซิลที่เข้มงวดขึ้น

เพราะการที่ธนาคารพาณิชย์ต้องมุ่งกันทุนสำรองเงินฝากให้ได้ตามมาตรฐานบา เซิล จะทำให้ธนาคารต้องมุ่งเก็บเงินมากขึ้น แทนที่จะนำไปใช้ลงทุนอย่างอื่นให้งอกเงยจนท้ายที่สุดก็จะกระทบต่อผลกำไรและ การเติบโตของธนาคารเอง

ดังนั้น การที่คณะกรรมการนโยบายการเงินออกมาส่งสัญญาณตั้งแต่ต้นปีว่า หลักเกณฑ์บาเซิล คือกฎเหล็กสูงสุดที่ธนาคารต้องคำนึงถึงก่อนเรื่องอื่นใด จึงเป็นเรื่องที่ธนาคารหรือแม้กระทั่งนักลงทุนเองจะอดออกอาการสะท้านไม่ได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อวานนี้ โลหะมีค่าพากันดีดขึ้นอย่างร้อนเเรง ผมยังถือ GF ที่บอกให้เปิดเมื่อวานก่อนหน้านั้น

ยังไม่ Take profit นะครับ เค้าเรียก Let's profit run

 

 

 

เดี่ยวว่าไม่เชื่อเอา port มาให้ดูกันเหมือนเดิมครับ

post-31-0-56152900-1326255783_thumb.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"เสม 888"..เสี่ยเสม..

คุณคือวีระบุรุษในใจผมตลอด..

..ขอขอบคุณครับ.. :gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โปรแกรมฟุตบอล คืนวันพุธที่ 11 มกราคม 2554

 

คาร์ลิ่ง คัพ อังกฤษ

 

02.45 น. แมนฯ ซิตี้ - ลิเวอร์พูล ช่อง7

 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ

 

02.45 น. สเปอร์ส - เอฟเวอร์ตัน ทรูสปอร์ต 1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อวานนี้ โลหะมีค่าพากันดีดขึ้นอย่างร้อนเเรง ผมยังถือ GF ที่บอกให้เปิดเมื่อวานก่อนหน้านั้น

ยังไม่ Take profit นะครับ เค้าเรียก Let's profit run

 

 

 

เดี่ยวว่าไม่เชื่อเอา port มาให้ดูกันเหมือนเดิมครับ

 

 

สุดยอดมากค่ะน้องเสม เยี่ยมและจริงใจจริง ๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมกลัวคุณเสมจะมาแย่งลูกค้าผมอะครับ :_09

 

คุณเปิด web ของตัวเองดีไหมคะ จะได้ไม่ต้องมาคอยวิพากษ์วิจารณ์กัน เพราะกระทู้นี้ มีแต่แฟนคลับน้องเสม ที่ติดตามการลงทุนด้วยระบบกันทั้งนั้น และก็เข้าใจในเจตนา และความหวังดีของน้องเสมมาโดยตลอดหลายปีค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเปิด web ของตัวเองดีไหมคะ จะได้ไม่ต้องมาคอยวิพากษ์วิจารณ์กัน เพราะกระทู้นี้ มีแต่แฟนคลับน้องเสม ที่ติดตามการลงทุนด้วยระบบกันทั้งนั้น และก็เข้าใจในเจตนา และความหวังดีของน้องเสมมาโดยตลอดหลายปีค่ะ

 

อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน

 

แม้องค์พระปฏิมายังราคิน มนุษย์เดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา

 

หนีไม่พ้นหลอกครับการนินทาว่าร้าย ขอแค่เรารู้ว่าเราทำดีก็พอแล้ว แค่ได้ทำดีก็สุขใจแล้ว ทำดีแล้วมีผู้รับได้ประโยชน์จากสิ่งที่ทำ ผู้ให้ก็น่าจะสุขใจมากแล้ว แต่การหวังให้ทุกคนมองว่าเราทำดีเป็นไปไม่ได้ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สลด! พิษเศรษฐกิจ เด็กๆ ในกรีซถูกพ่อแม่ทอดทิ้งมากขึ้นเรื่อยๆ blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มกราคม 2555 03:36 น.

 

 

Share84

blank.gif 555000000484801.JPEG blank.gif

เดลิเมล์ - พบเด็กในประเทศกรีซ ถูกครอบครัวที่กำลังลำบากยากเข็ญจากพิษเศรษฐกิจทิ้งขว้างมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพ่อแม่ไม่สามารถดูแลพวกเขาได้อีกต่อไป

 

รายงานดังกล่าวมีออกมาขณะที่เหล่าเภสัชกรเปิดเผยว่าประเทศแห่งนี้ ต้องประสบปัญหาขาดแคลนแอสไพรินขณะที่มาตรการรัดเข็มขัดหลายหมื่นล้านยูโรส่ง ผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสังคม และการที่เด็กถูกครอบครัวทิ้งขว้างก็กำลังกลายเป็นเรื่องน่าเศร้าสลดที่สุด ของมนุษย์ที่มีต้นตอมาจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน

 

ศูนย์เยาวชนอาร์คออฟเดอะเวิลด์ของเอเธนส์เปิดเผยว่า แค่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีคนนำเด็กมาทิ้งไว้ข้างประตูศูนย์ถึง 4 ราย ในจำนวนนั้นรวมไปถึงทารกแรกเกิดรายหนึ่ง

 

ทั้งนี้ ทางศูนย์เล่าว่า มีคุณแม่รายหนึ่งนำลูกสาววัย 2 ขวบมาที่ศูนย์แล้วก็วิ่งหนีไปเฉยๆ ขณะที่หนูน้อยแอนนา วัย 4 ขวบ ถูกพบโดยครูรายหนึ่งพร้อมกับจดหมายที่มีใจความว่า "ฉันคงไม่ได้มารับตัว แอนนา ในวันนี้ เพราะฉันไม่สามารถดูแลเธอได้ กรุณาดูแลเธอด้วยนะ ฉันเสียใจค่ะ"

 

ส่วนนางมาเรีย คุณแม่อีกคนที่ต้องนำลูกสาววัย 8 ขวบมาขอให้ทางศูนย์ช่วยดูแลหลังจากต้องตกงาน ทั้งนี้เธอเล่าว่าพยายามหางานใหม่มามากกว่า 1 ปีแล้วและทุกครั้งที่ออกมาหางานก็ต้องทิ้งลูกให้อยู่ที่บ้านเพียงลำพัง และช่วงนั้นก็ประทังชีวิตด้วยอาหารที่รับแจกมาจากโบสถ์ท้องถิ่น

 

เธอบอกว่า “ทุกๆ คืนฉันต้องนอนร้องไห้เพียงลำพัง แต่ฉันจะทำอะไรได้ มันทำให้ฉันเจ็บปวด แต่ฉันไม่มีทางเลือก” โดยเวลานี้เธอเพิ่งได้งาน ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่งแต่ได้ค่าจ้างเพียง 16 ปอนด์ต่อวัน ซึ่งไม่เพียงพอที่จะนำลูกสาวกลับไปเลี้ยงดูด้วยตนเอง

 

อันโตนิออส ปาปานิโคลาอู ผู้ก่อตั้งศูนย์บอกว่า “ในปีที่แล้ว มีผู้ปกครองหลายร้อยคนบอกกับเราว่าอยากให้ลูกๆมาอยู่ที่นี่ พวกเขารู้จักเราและไว้ใจเรา พวกเขาบอกว่าไม่เหลือเงินแล้ว ไม่มีที่พักและไม่มีอาหารสำหนับเลี้ยงดูลูกๆ ดังนั้นจึงหวังว่าเราจะสามารถจัดหาสิ่งนั้นให้เด็กๆ ได้”

 

อีกหนึ่งหลักฐานที่บ่งชี้ว่าชาวกรีซกำลังเจ็บปวดจากมาตรการรัด เข็มขัดคือปัญหาขาดแคลนแอสไพรินและเวชภัณฑ์อื่นๆ เนื่องจากมาตรการควบคุมราคาให้อยู่ในระดับต่ำของรัฐบาล ทำให้บริษัทยาเลือกกักตุนสินค้าและหันไปส่งออกขายยังต่างประเทศที่ได้ราคา สูงกว่าแทน จึงทำให้ชาวกรีซต้องเจอปัญหาขาดแคลนแอสไพรินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2555

 

22.00 น. เชลซี - ซันเดอร์แลนด์ ทรูสปอร์ต 1

22.00 น. ลิเวอร์พูล - สโต๊ค ซิตี้ ทรูสปอร์ต 2

22.00 น. แมนฯ ยูไนเต็ด - โบลตัน ทรูสปอร์ต 3

22.00 น. สเปอร์ส - วูล์ฟแฮมป์ตัน ทรูสปอร์ต 5

22.00 น. แอสตัน วิลล่า - เอฟเวอร์ตัน ทรูสปอร์ต 6

22.00 น. แบล็คเบิร์น - ฟูแล่ม ทรูสปอร์ต เอ๊กซ์ตร้า

22.00 น. เวสต์บรอมวิช - นอริช ซิตี้ ทรูสเปเชียล สปอร์ต 161

 

 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2555

 

20.30 น. นิวคาสเซิ่ล - ควีนส์ปาร์ค ทรูสปอร์ต 1

23.00 น. สวอนซี ซิตี้ - อาร์เซน่อล ทรูสปอร์ต 1

 

 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คืนวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2555

 

03.00 น. วีแกน - แมนฯ ซิตี้ ทรูสปอร์ต 1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พญาอินทรีสยายปีกอำนาจกร่างคับโลก!!! สั่งคว่ำบาตรบริษัทจีนค้าน้ำมันกับอิหร่าน!!!

 

 

Hillary%20Clinton%20-%20Reuters.jpg

 

รูปภาพ : นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ

 

ที่มาภาพ : Reuters

สหรัฐฯได้ออกมาตรการคว่ำบาตรบริษัท น้ำมันของรัฐบาลจีนที่ชื่อ จูไห่ เจินหรง คอร์เปอเรชั่น (Zhuhai Zhenrong Corp.) เมื่อวานนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2012) ซึ่งทางการสหรัฐฯกล่าวว่า บริษัทฯเป็นผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่กลั่นแล้วรายใหญ่ของอิหร่าน เนื่องจากสหรัฐฯต้องการส่งสัญญาณไปยังรัฐบาลปักกิ่งและเตหะรานถึงความแน่วแน่เด็ดขาดของสหรัฐฯในการเพิ่มการกดดันทางเศรษฐกิจ

นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯยังได้สั่งให้มีการคว่ำยาตรบริษัทน้ำมันสิงคโปร์ที่ชื่อกั๊วะ ออยล์ พีทีอี (Kuo Oil Pte) และ บริษัท เอฟเอแอล ออยล์ จำกัด (FAL Oil Cpmpany) ซึ่งเป็นผู้ค้าพลังงานอิสระในประเทศ UAE กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯกล่าวในแถลงการณ์

กระทรวงการต่างประเทศยังกล่าวอีกว่า มาตรการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในวงกว้างของนานาชาติในการเพ่งเล็งไปที่ภาคน้ำมันของอิหร่านและโน้มน้าวรัฐบาลเตหะรานให้ล้มเลิกความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของตัวเองลง

"มาตรการคว่ำบาตรที่ประกาศในวันนี้เป็นก้าวสำคัญเพื่อไปสู่เป้าหมาย เนื่องจากมาตรการเหล่านี้พุ่งไปที่บริษัทต่างๆที่ช่วยอิหร่านหลบหลีกมาตรการคว่ำบาตรทั้งหลายที่ผ่านมา" แถลงการณ์ระบุ

มาตรการคว่ำบาตรนี้มีผลในตัดสิทธิ์ทั้ง 3 บริษัทดังกล่าวนี้ในการได้รับใบอนุญาตส่งออกของสหรัฐฯ, การได้การสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าสหรัฐฯ หรือได้รับเงินกู้เกินกว่า 10 ล้านดอลลาร์จากสถาบันการเงินสหรัฐฯ กระทรวงการต่างประเทศระบุ โดยเน้นว่า การคว่ำบาตรนี้มีผลเฉพาะบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่กับรัฐบาลหรือประเทศที่บริษัทอยู่

สหรัฐฯตัดสินใจประการศมาตรการคว่ำบาตรหลังจากจีนบอกปัดนายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯในสัปดาห์นี้ซึ่งเดินทางไปปักกิ่งเพื่อกดดันจีนในเรื่องที่สหรัฐฯต้องการให้จีนทำอะไรมากกว่านี้เพื่อช่วยปิดช่องทางรายได้น้ำมันของอิหร่าน

'ส่งสัญญาณเตือน'

บรรดานักวิคราะห์กล่าวว่า มาตรการครั้งนี้ของสหรัฐฯโดยหลักแล้วเป็นไปในเชิงสัญลักษณ์มากกว่า โดยให้เหตุผลว่าเจินหรงไม่น่าจะมีการเชื่อมโยงทางธุรกิจกับสหรัฐฯมากนัก แต่นั่นเป็นการส่งสัญญาณไปยังรัฐบาลปักกิ่งและบริษัทน้ำมันของ รัฐบาลจีนยักษ์ใหญ่อย่าง ไชน่า เนชั่นแนล ปิโตรเลียม คอร์เปอเรชั่น หรือ CNPC (China National Petroleum Corp.), ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล คอร์เปอเรชั่น หรือ Sinopec (China Petroleum and Chemical Corp.) และ ไชน่า เนชั่นแนล ออฟชอร์ ออยล์ คอร์เปอเรชั่น หรือ CNOOC (China National Offshore Oil Corp.)

โดยทั้ง 3 บริษัทนี้ได้ลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในภาคพลังงานสหรัฐฯ และสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้มากกว่า

"มันเป็นการส่งสัญญาณเตือนชั้นเลิศและเป็นการบอกว่า สหรัฐฯนั้นจริงจังเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรนี้อย่างแข็งขัน นั่นสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการระดมมาตรการคว่ำบาตรชุดใหญ่โดยมีเป้าหมายไปยังบริษัทของจีนหากว่าจีนไม่สามารถระงับการค้ากับอิหร่านได้" นายมาร์ค ดูโบวิทส์ (Mark Dubowitz) กรรมการบริหารของมูลนิธิการปกป้องประชาธิปไตย (Foundation for Defense of Democracies) ซึ่งเป็นกลุ่มกดดันในวอชิงตันที่มีความโน้มเอียงในทางการใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงต่ออิหร่าน ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์

จูไห่ เจินหรง หนึ่งใน 4 บริษัทค้าน้ำมันรายใหญ่ของรัฐบาลจีน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งมอบน้ำมันสำเร็จรูปมูลค่ากว่า 500 ล้านดอลลาร์ให้กับอิหร่านในช่วงระหว่างกรกฎาคม 2010 ถึง มกราคม 2011 ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายคว่ำบาตรสหรัฐฯ กระทรวงการต่างประเทศระบุ

ขณะที่มาตรการของสหรัฐฯพุ่งเป้าไปที่เจินหรงในฐานะที่ขายน้ำมันสำเร็จรูปให้อิหร่าน บริษัทนี้มีบทบาทใหญ่ในการเจรจาต่อรองด้านพลังงานของรัฐบาลปักกิ่งกับอิหร่าน และเป็นผู้ซื้อน้ำมันอิหร่านรายใหญ่นับแต่ปี 1995 โดยหลักๆแล้วจะขายน้ำมันที่ได้มาให้กับ Sinopec และ PetroChina ซึ่งทั้ง 2 เป็นบริษัทกลั่นน้ำมันรายใหญ่ของจีน

เจินหรงซื้อน้ำมันราววันละ 240,000 บาร์เรลเป็นเวลาหลายปีแล้ว คิดเป็นราว 5% ของการนำเข้นน้ำมันของจีน แม้แหล่งข่าวหลายแหล่งได้ระบุเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เจินหรงจะตัดลดการนำเข้าอิหร่านเป็นเดือนที่ 2 ในกุมภาพันธ์เช่นเดียวกับผู้ค้าน้ำมันรายอื่นของจีนท่ามกลางความขัดแย้งในเรื่องการชำระเงิน

ช่วงกลางปี 2010 เจินหรงได้ร่วมวงไปกับบริษัทพลังงานรายอื่นๆของรัฐบาลจีนในการเข้าไปเสียบแทนบริษัทน้ำมันและผู้ค้าพลังงานตะวันตกซึ่งได้หยุดการขายน้ำมันสำเร็จรูปให้กับอิหร่านเนื่องมาจากสหรัฐฯเพิ่มความเข้มข้นในการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน

นายเดเร็ก ซิคเซอร์ส (Derek Scissors) ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจจีนจกมูลนิธิเฮอร์เทจ (Heritage Foundation) สถาบันคลังสมองชั้นนำของสหรัฐฯกล่าวว่า มาตรการที่มีต่อเจินหรงเป็นการส่งข้อความไปยังบริษัทน้ำมันอื่นๆของรัฐบาลจีนด้วย

"เราไม่ต้องการบังคับใช้มาตรการกับบริษัทอย่าง Sinopec, CNPC และ CNOOC บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีอำนาจทางการเมืองด้วย" เขากล่าวกับรอยเตอร์

"แต่เจินหรงก็ใกล้ชิดกับพวกเขาพอ และเอาเข้าจริงๆมันก็ไม่ได้ไปไกลเกินกว่าการส่งสัญญาณเฉยๆ"

บริษัทในเป้าหมาย

การประกาศมาตรการล่าสุดของสหรัฐฯในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากชาติตะวันตกได้ออกมาตรการเพื่อกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลเตหะรานผ่านมาตรการคว่ำบาตรแต่เพียงฝ่ายเดียว

ประธานาธิบดีบารัก โอบามาของสหรัฐฯได้ลงนามในกฎหมายคว่ำบาตรสถาบันการเงินที่ทำธุรกรรมกับธนาคารกลางอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่หลักในการชำระเงินค่าน้ำมันให้อิหร่าน ขณะที่สหภาพยุโรปคาดว่าจะมีการตกลงในมาตรการใหม่เพื่อคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านเร็วๆนี้

รัฐบาลวอชิงตันต้องการส่งสัญญาณไปยังมิตรและศัตรูซึ่งหมายถึงธุรกิจ โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่ของทางการสหรัฐฯๆไปทั่วโลกเพื่อเตือนถึงอันตรายการทำธุรกรรมกับอิหร่าน

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลโอบามาได้เน้นย้ำว่า จุดประสงค์ของมาตรการคว่ำบาตรทั้งหลายก็เพื่อดึงอิหร่านกลับสุ่โต๊ะเจรจาเพื่อหารือถึงการยุติความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งเป็นอีกครึ่งหนึ่งของนโยบายกดดันและเข้าจัดการแบบ 2 ทางของสหรัฐฯ

"ทฤษฎีสำหรับกรณีนี้ก็คือว่า สุดท้ายแล้วทั้ง 2 ทางจะลู่เข้าหากัน และอิหร่านจะต้องตัดสินใจว่า มันสำคัญที่จะต้องกลับสู่โต๊ะเจรจาเพื่อพยายามถอนเอามาตรการคว่ำบาตรบางส่วนออกไป เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของตนเอง" แหล่งข่าวจากรัฐบาลโอบามาเปิดเผยกับรอยเตอร์ภายใต้เงื่อนไขไม่ระบุตัวตน

ขณะที่อีก 2 บริษัทที่ติดบัญชีของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯด้วยนั้น ซึ่งทั้งคู่เป็นที่รู้จักดีในวงการค้าน้้ำมันในเอเชียนั้นมีขนาดเล็กกว่า และเป็นบริษัทเอกชนซึ่งเชี่ยวชาญด้านการจัดส่งน้ำมันเตาหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีตะกอนหนัก แต่ก็เช่นเดียวกับเจินหรง ทั้ง 2 บริษัทก็พึ่งเริ่มเข้ามาทำธุรกิจขายน้ำมันเชื้อเพลิงให้อิหร่านด้วย

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯกล่าวว่า กั๊วะ ออยล์ได้จัดหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่กลั่นสำเร็จให้กับอิหร่านเป็นมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ในช่วงปลายปี 2010 ถึงต้นปี 2011 ขณะที่เอฟเอแอลได้จัดหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่นสำเร็จมูลค่ามากกว่า 70 ล้านดอลลาร์ให้กับอิหร่านในการจัดส่งทางเรือหลายครั้งในช่วงปลายปี 2010

ในทุกกรณี การจัดส่งของแต่ละบริษัทนั้นมีมูลค่าที่สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ตามกฎหมายสหรัฐฯที่ 1 ล้านดอลลาร์ และมูลค่ารวมของธุรกรรมก็สูงกว่าระดับที่กฎหมายกำหนดไว้ที่ 5 ล้านดอลลาร์อย่างเห็นได้ชัดสำหรับกิจกรรมที่เข้าข่ายถูกคว่ำบาตรเป็นเวลา 12 เดือน กระทรวงการต่างประเทศระบุ

ที่มา ข่าว Real Time จากโปรแกรม Reuters 3000 Xtra

ไอดีข่าว nL1E8CCH1F

แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

'ตะวันตก'-'อิหร่าน'ตั้งท่าจะรบกัน blank.gif โดย วิกเตอร์ คอตเซฟ 13 มกราคม 2555 20:15 น.

 

 

Share

blank.gif

(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)

 

The war dance is in full swing

By Victor Kotsev

10/01/2012

 

อิหร่านถูกกล่าวหาว่ากำลังก้าวข้าม เส้นสีแดงอันตรายอย่างอุกอาจอีกคำรบหนึ่ง ด้วยการดำเนินการเพิ่มความเข้มข้นยูเรเนียมในโรงงานแห่งใหม่ซึ่งสร้างเอาไว้ ใต้ดิน ในเวลาเดียวกับที่สหรัฐฯก็เร่งทวีการเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าไปตาม ฐานทัพต่างๆ ในย่านตะวันออกกลาง รวมทั้งเตรียมพร้อมสำหรับการฝึกซ้อมการป้องกันขีปนาวุธร่วมกับอิสราเอลซึ่ง จะเป็นการฝึก “ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยกระทำกันมา” ขณะที่ความเคลื่อนไหวทางทหารต่างๆ เหล่านี้อาจจะถูกใช้เป็นการซ้อมใหญ่เพื่อตระเตรียมโลกให้พรักพร้อมสำหรับ สงครามระดับเต็มขั้นที่กำลังจะเกิดตามมา แต่ในอีกด้านหนึ่ง ฝ่ายตะวันตกก็ยังตั้งท่าคอยรับมือกับศึกกลางเมืองที่ดูใกล้จะระเบิดขึ้นอยู่ รอมร่อแล้วในซีเรีย โดยที่เรื่องหลังนี้น่าจะกลายเป็นเหตุการณ์ใหญ่ซึ่งครอบงำวาระความเป็นไปของ ภูมิภาคแถบนี้ในระยะต่อไป

 

หากกระแสการไต่ระดับความตึงเครียด ซึ่งบังเกิดขึ้นในตะวันออกกลางในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เป็นการเพียงเกทับบลัฟฟ์กันเท่านั้นแล้ว มันก็จะเป็นการบลัฟฟ์ที่ดูเป็นจริงเป็นจังอย่างที่สุดทีเดียว เวลานี้พวกนักวิเคราะห์ชาวรัสเซียหลายรายกำลังคาดเก็งกันว่า ฝ่ายตะวันตกจะต้องเข้าแทรกแซงทางทหารเพื่อเล่นงานซีเรียหรือไม่ก็อิหร่าน (หรือกระทั่งทั้งสองประเทศเลย) โดยน่าจะเริ่มเปิดฉากกันภายในสิ้นเดือนนี้แหละ ทั้งนี้ในส่วนการเล่นงานอิหร่านนั้น เวลานี้ยังออกจะเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการคล้อยตาม ถึงแม้เมื่อพิจารณาจากกรอบเวลาแล้ว เหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังพัฒนาไปตลอดจนอัตราความเร็วที่สิ่งเหล่านี้ปรากฏขึ้นมา ก็ดูจะมีอะไรชวนให้นึกหวั่นใจ

 

ถ้าในระยะสองสามสัปดาห์ข้างหน้านี้ ตะวันออกกลางยังไม่มีสงครามเต็มขั้นปะทุขึ้นมาแล้ว เราก็คงสามารถพิจารณาได้ว่าสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายกำลังกระทำกันอยู่ในเวลานี้ แท้ที่จริงแล้วคือ “การเต้นออกศึก” ในเวอร์ชั่นสมัยใหม่นั่นเอง มันเป็นการซ้อมใหญ่ที่ใช้เครื่องแต่งกายและฉากต่างๆ เหมือนจริง ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการอวดโอ่และสร้างความตื่นตาตื่นใจ ทั้งต่อผู้คนภายในประเทศ ต่อศัตรูคู่ปรปักษ์ และต่อประชาคมระหว่างประเทศ

 

ขณะนี้มีความรับรู้ความเข้าใจกันอย่างกว้างขวางว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นทั้งกับอิหร่านและกับซีเรียนั้น กำลังคืบใกล้จะถึงจุดไคลแมกซ์แล้ว เวลานี้มีกำลังทางนาวีขนาดใหญ่โตมหึมาของฝ่ายตะวันตกไปปรากฏตัวที่บริเวณนอก ชายฝั่งของทั้งสองประเทศ โดยที่คู่ปรปักษ์ทั้งสองฝ่ายยังต่างกำลังดำเนินการซ้อมรบประลองยุทธ์ด้วย อัตราความถี่อันชวนให้เวียนศีรษะ ในทางเป็นจริงแล้ว มันดูน่าสงสัยมากทีเดียวว่าการประลองยุทธ์เหล่านี้เป็นเพียงข้อแก้ตัวสำหรับ ให้พวกเขาสามารถที่จะคงแสนยานุภาพทางทหารเอาไว้ในระดับเตือนภัยสูงสุดอยู่ แทบจะตลอดเวลาเสียมากกว่า ในเวลาเดียวกันนี้ สงครามการทูตก็กำลังไต่ระดับขยับเข้าไปใกล้ขั้นสูงสุดเช่นกัน

 

ยกตัวอย่างเพียงระยะไม่กี่วันที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่เมื่อวันจันทร์(9) ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) หน่วยงานชำนัญพิเศษด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ ได้ออกมาแถลงยืนยันข้อกล่าวอ้างของฝ่ายเตหะรานที่ว่า อิหร่านกำลังจะเริ่มต้นดำเนินการเพิ่มความเข้นข้นยูเรเนียมภายในโรงงานแห่ง ใหม่ซึ่งสร้างอยู่ใต้ดิน ในเขตฟอร์โด (Fordo) ของจังหวัดคุม (Qom) นี่เท่ากับว่าเตหะรานกำลังก้าวผ่านเส้นสีแดงอันตรายอีกเส้นหนึ่งที่อิสราเอล และสหรัฐฯขีดเตือนเอาไว้ ในทางเป็นจริง ไอเออีเอระบุว่าอิหร่านได้เริ่มต้นกระบวนการเพิ่มความเข้มข้นยูเรเนียมไป แล้วด้วยซ้ำ [1] ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้แสดงปฏิกิริยาต่อข่าวนี้ โดยระบุว่า นี่เป็นพัฒนาการของ “การไต่ระดับเพิ่มความตึงเครียดสูงขึ้น” ขณะที่อิหร่านตอบโต้ด้วยการแถลงข่าวว่า ศาลของตนได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิต “สายลับ” อเมริกันผู้หนึ่ง

 

พิจารณาจากบริบทดังกล่าวนี้ ความพยายามของประธานาธิบดีมะห์มูด อาห์มาดิเนจัด (Mahmud Ahmadinejad) แห่งอิหร่าน และประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ (Hugo Chavez) ของเวเนซุเอลา ในการพูดให้ตลกขบขันเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กำลังบังเกิดขึ้น [2] จึงดูจะกลายเป็นการพูดจาเพ้อเจ้อไร้สาระและไร้รสนิยม นอกจากนั้นการที่อิหร่านข่มขู่ว่าจะปิดช่องแคบฮอร์มุซ (Strait of Hormuz) ไม่ให้เรือต่างๆ สัญจรเข้าออก ยังกลายเป็นการกระตุ้นฝ่ายตะวันตกให้ตื่นตระหนก และหลายๆ ประเทศ เป็นต้นว่า สหรัฐฯ, อังกฤษ, ตลอดจนมีรายงานบางกระแสระบุว่าฝรั่งเศสด้วย ต่างก็ได้ส่งเรือรบออกไปยังอาณาบริเวณดังกล่าวเพื่อคอยคุ้มกันการติดต่อ สัญจรในเชิงพาณิชย์ ในสัปดาห์ที่แล้ว ยังมีการประกาศแผนการเตรียมพร้อมสำหรับการนำเอาน้ำมันสำรองฉุกเฉินของสหรัฐฯ ออกมาใช้ ถ้าหากเตหะหรานเดินหน้าปฏิบัติการตามคำข่มขู่ของตน (ว่ากันว่าน้ำมันสำรองดังกล่าวจะมีพอใช้ไปได้ประมาณ 3 เดือน) [3]

 

ในเวลาใกล้ๆ กันนี้เอง อิหร่านเพิ่งเสร็จสิ้นการซ้อมรบทางนาวีขนาดใหญ่ที่ใช้เวลา 10 วัน อีกทั้งประกาศว่าจะดำเนินการประลองยุทธ์ทางเรืออีกหนหนึ่งในเดือนหน้า [4] มิหนำซ้ำในเวลาไม่กี่วันหลังมานี้ เตหะรานยังกำลังดำเนินการซ้อมรบทางภาคพื้นดินอีกด้วย [5]

 

ทางอีกฟากหนึ่งของแนวรั้วลวดหนามนี้ อิสราเอลและสหรัฐฯก็กำลังเตรียมการสำหรับจัดการฝึกซ้อมป้องกันขีปนาวุธร่วม กัน ซึ่งจะเป็นการฝึก “ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำกันมา” โดยใช้ชื่อรหัสว่า “ออสเทียร์ แชลเลนจ์ 12” (Austere Challenge 12) พึงสังเกตด้วยว่าการซ้อมรบคราวนี้บังเกิดขึ้นภายหลังจากที่อิสราเอลได้ ดำเนินการประลองยุทธ์ขนาดใหญ่มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง สำหรับในคราวนี้จะมีทหารอเมริกันหลายพันคนและระบบต่อต้านขีปนาวุธอันก้าว หน้าล้ำสมัยเข้ามาอยู่ในดินแดนรัฐยิวแห่งนี้ โดยที่ตามรายงานข่าวสองสามกระแสระบุว่า กองกำลังและยุทโธปกรณ์อเมริกันเหล่านี้บางส่วน ยังจะคงอยู่ในอิสราเอลต่อไปอีกเป็นแรมเดือน

 

การมีกองทหารและระบบต่อต้านขีปนาวุธล้ำสมัยตั้งประจำอยู่เช่นนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าย่อมช่วยเพิ่มพูนสมรรถนะของอิสราเอลขึ้นเป็นเท่าตัว ในการรับมือกับขีปนาวุธจำนวนที่น่าจะเป็นพันๆ ลูก ซึ่งเล็งยิงมายังรัฐยิวแห่งนี้ ถ้าหากเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายครั้งใหญ่ในระดับภูมิภาคขึ้นมา ขณะเดียวกัน มันก็อาจจะเป็นการเพิ่มแรงบีบคั้นต่ออิสราเอลเพื่อไม่ให้เปิดฉากทำการเสี่ยง ภัยใดๆ ตามลำพังเดียวดาย

 

เมื่อมองภาพสถานการณ์โดยรวม แหล่งข่าวหลายๆ รายทีเดียวรายงานว่า การเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังฐานทัพต่างๆ ของอเมริกันที่อยู่รอบๆ ตะวันออกกลาง มีอัตราเร็วเพิ่มขึ้นในระยะไม่กี่สัปดาห์และไม่กี่เดือนหลังๆ มานี้ เห็นได้ชัดเจนสุดๆ ว่าความเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นการเตรียมตัวสำหรับการทำสงคราม กระนั้นมันก็ยังมิได้หมายความว่ากำลังใกล้จะเกิดการเปิดฉากโจมตีอิหร่านขึ้น มาในวันในพรุ่งแล้ว เราต้องเข้าใจว่าการปฏิบัติการในลักษณะดังกล่าว เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามอย่างละเอียดซับซ้อนทีเดียว

 

ทำนองเดียวกับที่อิหร่านย่อมต้องการเวลาระยะหนึ่ง นับจากช่วงขณะของประกาศถอนตัวออกจากสนธิสัญญาห้ามการแพร่กระจายอาวุธ นิวเคลียร์ (nuclear Non-Proliferation Treaty) ไปจนถึงช่วงขณะแห่งการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นมาได้สำเร็จ สหรัฐฯก็จำเป็นต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งตั้งแต่ขณะที่ตัดสินใจจะทำการโจมตี ไปจนถึงขณะที่ลงมือปฏิบัติการ มันอาจจะต้องใช้เวลาหลายๆ สัปดาห์ หรือกระทั่งเป็นเดือนๆ ทีเดียว ในการเคลื่อนย้ายบุคลากรทางทหารที่จำเป็น, เครื่องบินต่างๆ , และ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง) ยุทธปัจจัยทั้งหลายไปยังฐานทัพต่างๆ ในอาณาบริเวณดังกล่าว

 

การโจมตีอิหร่านคราวนี้ถ้าหากเกิดขึ้นมาจริงๆ คงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงสถานที่ตั้งทางนิวเคลียร์จำนวนหนึ่งเท่านั้น พวกสถานที่ทางทหารสำคัญๆ อื่นๆ เป็นต้นว่า กองกำลังต่อสู้อากาศยาน, ฐานขีปนาวุธ, และโครงสร้างการสั่งการบังคับบัญชา เหล่านี้แทบเป็นที่แน่นอนทีเดียวว่าจะต้องตกเป็นเป้าหมายด้วย การระวังป้องกันอ่าวเปอร์เซียไม่ให้กองกำลังวางทุ่นระเบิดของอิหร่านเข้าไป ปฏิบัติการได้สำเร็จ ก็จะเป็นภารกิจที่มิได้ง่ายดายเลยเช่นกัน กล่าวโดยสรุปแล้ว สหรัฐฯนั้นกำลังเพิ่มเดิมพันในเกมแห่งการประจันหน้าวัดใจว่าใครจะกล้าใครจะ ฝ่อ ด้วยการลดทอนกรอบเวลาที่ต้องใช้ในการทำการตอบโต้เมื่อสงครามระเบิดขึ้น

 

การไต่ระดับเพิ่มความตึงเครียดมากขึ้นเช่นนี้ ยังมีจุดมุ่งหมายสำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ เป็นวิธีการที่จะเตรียมประชามติโลกให้พรักพร้อมสำหรับสงคราม ทั้งนี้ถ้าหากประธานาธิบดีบารัค โอบามา ตัดสินใจเลือกที่จะเดินไปตามเส้นทางนี้แล้ว เรื่องนี้คือสิ่งหนึ่งที่เขาจะต้องดำเนินการอย่างช้าๆ และอย่างเป็นระบบด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งกว่านั้น ถ้าหากเวลาเดือนสองเดือนข้างหน้าผ่านพ้นไปโดยที่สงครามยังไม่ระเบิดเสียที นี่ก็จะก่อให้เกิดความสับสนเพิ่มมากขึ้นอีกว่าการโจมตีจะเกิดขึ้นอย่างหลีก เลี่ยงไม่พ้นจริงหรือไม่ และ/หรือจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาไหนแน่ กระทั่งว่ามันอาจช่วยทำให้เกิดความเซอร์ไพรซ์เล็ก ๆขึ้นมาได้ด้วย เมื่อจะมีการเปิดการโจมตีต่อๆ ไปในอนาคต

 

ยังมีเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้สหรัฐฯ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอิสราเอล อาจจะยังคงลังเลและยังไม่เข้าโจมตีอิหร่านในตอนนี้ ตามความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ เอลี เลค (Eli Lake) การที่อิสราเอลจะเข้าโจมตีสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านนั้น จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยสงครามอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งดำเนินการจากพวก อากาศยานไร้คนขับ (drone) [6] อย่างไรก็ตาม เมื่อ 1 เดือนที่แล้วอิหร่านประสบความสำเร็จในการ “สอย” อากาศยานไร้คนขับสุดล้ำติดตั้งเทคโนโลยีหลบหลีกเรดาร์ (stealth) ของอเมริกันได้ลำหนึ่ง โดยที่มีรายงานว่าเตหะรานใช้วิธีปิดกั้นการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ของอากาศยานลำนั้น รวมทั้งลวงให้เกิดความผิดพลาดในระบบนำทางจีพีเอส (GPS navigation system) ของมัน เรื่องนี้ย่อมเป็นการสาธิตให้เห็นว่า ไม่มีหลักประกันเลยว่าภารกิจการเข้าโจมตีอิหร่านจะประสบความสำเร็จได้อย่าง แน่นอน สันนิษฐานกันว่า อิสราเอลและสหรัฐฯอาจจำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าสองสามสัปดาห์ ในการตอบโต้อุปกรณ์ล้ำสมัยทำในรัสเซีย ซึ่งถูกระบุว่าเป็นปัจจัยที่ำทำให้ฝ่ายอิหร่านสามารถทำการโจมตีอากาศยานไร้ คนขับของอเมริกันลำนั้นได้

 

ในอีกด้านหนึ่ง สถานการณ์ในซีเรียเวลานี้กำลังเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วเข้าสู่ภาวะอันเหลือจะ ทนทานได้อีกต่อไป มีความเป็นไปได้อย่างมากทีเดียวว่า “การเต้นออกศึก” ของฝ่ายตะวันตกซึ่งมุ่งเล่นงานอิหร่านนั้น ยังถูกใช้เป็นการตักเตือนสาธารณรัฐอิสลามแห่งนี้ให้หลีกห่างออกจากการเข้าไป เกี่ยวข้องพัวพันกับซีเรีย ทั้งนี้ ระบอบปกครองของประธานาธิบดีบาชาห์ อัล อัสซาด (Bashar al-Assad) แห่งซีเรีย ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของอิหร่านนั้น กำลังเดินโซซัดโซเซอยู่บนขอบเหว ขณะที่สงครามกลางเมืองในประเทศนั้นเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

 

ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ดังก้องขึ้นทุกทีว่า คณะผู้สังเกตการณ์ซึ่งสันนิบาติอาหรับ (Arab League) ส่งเข้าไปยังซีเรียเวลานี้ แทนที่จะทำหน้าที่บรรเทาความรุนแรงลงมาให้ได้ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ที่สำคัญแล้วพวกเขากลับกำลังถูกระบอบปกครองอัสซาดใช้เป็นเครื่องอำพรางการ ดำเนินการปราบปรามผู้ประท้วงคัดค้านอย่างโหดเหี้ยมทารุณมากกว่า [7] นายกรัฐมนตรี เรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน (Recep Tayyip Erdogan) ของตุรกี ได้ออกมากล่าวคำปราศรัยอย่างเผ็ดร้อนอีกครั้งเมื่อวันจันทร์(9)ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตีความอย่างกว้างขวางว่า คือการข่มขู่อย่างเป็นนัยๆ ว่า ประเทศของเขาจะเข้าแทรกแซงซีเรียเพื่อป้องกันไม่ให้สงครามกลางเมืองในประเทศ นั้นลุกลามบานปลาย [8]

 

ทางด้านรัสเซีย ก็มีท่าทีวิตกเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับสถานการณ์ในซีเรีย ตลอดจนชะตากรรมของฐานทัพเรือเพียงแห่งเดียวที่แดนหมีขาวมีอยู่ในทะเล เมดิเตอร์เรเนียม ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองตาร์ตุส (Tartus) ของซีเรีย หลักฐานอันชัดเจนของความกังวลดังกล่าว ได้แก่การตัดสินใจส่งกองเรือรบที่นำโดยเรือบรรทุกเครื่องบิน แอดมิรัล คุซเนตซอฟ (Admiral Kuznetsov) ไปยังประเทศนั้น เพื่อแสดงถึงการสนับสนุนประธานาธิบดีอัสซาด [9]

 

ขณะที่ยังคงมีความหวังเล็กๆ ว่าการเจรจาต่อรองระหว่างฝ่ายตะวันตกกับอิหร่านจะประสบความสำเร็จ (โดยเกมการประจันหน้าวัดใจซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างจัดการซ้อมรบขึ้นมาระลอกแล้ว ระลอกเล่า เป็นเพียงความพยายามที่จะทำให้ฝ่ายตนมีแต้มต่อรองสูงขึ้น) แต่สำหรับกรณีของซีเรีย ดูเหมือนจะหมดหวังเสียแล้ว ภาพการคาดการณ์สถานการณ์อย่างมองโลกแง่ดีตามที่วาดๆ กันก็คือ อัสซาดยอมเดินทางออกนอกประเทศโดยแลกเปลี่ยนกับการที่เขาจะไม่ถูกฟ้องร้อง กล่าวโทษ ทว่านี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากเหลือเกิน อีกทั้งไม่น่าที่จะสามารถป้องกันไม่ให้อำนาจส่วนกลางในซีเรียเกิดการแตกสลาย ดูเหมือนว่าการเข้าแทรกแซงจากภายนอกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งแทบจะเป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว ถึงแม้ยังยากที่จะพยากรณ์ว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะเกิดขึ้นในช่วงจังหวะเวลา ไหนและในรูปแบบใด

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...