ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

การคาดแนวโน้มราคาทองคำระดับสัปดาห์ต่อจากนี้ภายใน 1-2 เดือน ราคาน่าจะมีขึ้นมีลงไหลไปถึง 1520 - 1507 คือถ้าไปถึงเร็วอาจจะแค่ 1520 ถ้ามาช้าระดับเดือน คงได้เห็น 1507 ราคาจะลงไปย้ำเส้นแนวรับใหญ่ของการปรับฐานรอบนี้ จากนั้นค่อยๆขึ้นแล้วมีด่านวัดใจตรง 1720-1725 ถ้าผ่านเป็นขาขึ้นใหญ่ต่อไป ถ้าไม่ผ่าน จะเป็นแค่การรีบาวด์แล้วหาทิศทางอีกครั้ง

 

เดาว่าเมื่อลงไปแถวๆ 1520 แล้วคงดีดไปที่ 1720 จากนั้นลงมาย้ำแถวๆแนว 1650-1680 อีกสักครั้ง ก่อนจะดีดพ้น 1720 เป็นขาขึ้นในระยะยาวต่อไป ทั้งหมดไม่น่าเกิน 2 เดือนได้เห็นครับ เดาตามกราฟเทคนิค เพื่อให้ทราบมุมมองระยะยาวนะครับ

ถูกแก้ไข โดย DonJuan

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะ พี่ DJ พี่เด็กขายของ พี่เจ๊ และทุกคนนะคะ โชคดีมีกำไรถ้วนหน้านะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะ พี่ DJ พี่เด็กขายของ พี่เจ๊ และทุกคนนะคะ โชคดีมีกำไรถ้วนหน้านะคะ

 

ขอบคุณจ้า น้องน้ำหวาน แห่งคลองลัดมะยม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณจ้า น้องน้ำหวาน แห่งคลองลัดมะยม

 

ถ้าลงไปถึงแบบที่คุณพี่ว่า 1507 น้องคงต้องรีบไปเปิดร้านขายน้ำหวานที่คลองลัดมะยมเสียแร้ววว เพราะจะได้มีเงินมาถัวเนิน ดอย ลูกระนาด :_02

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าลงไปถึงแบบที่คุณพี่ว่า 1507 น้องคงต้องรีบไปเปิดร้านขายน้ำหวานที่คลองลัดมะยมเสียแร้ววว เพราะจะได้มีเงินมาถัวเนิน ดอย ลูกระนาด :_02

 

แนวโน้มอาจลงไปขนาดนั้นนะครับ แต่เป้นข้อดีสำหรับผู้ที่มีเงินเย็นคือ ถ้าราคาลงไปขนาดนั้นจริง ปีนี้อาจจะได้เห็น 2000 ครับ อย่างช้าสุดไม่เกิน กพ. ปีหน้าจ้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แต่ขาใหญ่ก็ดูกราฟ กราฟก็ใช้กันทั่ว เรารู้เขาก็รู้ ส่วนใหญ่มักลากลงไปไม่ถึงแนวนั้นให้เราได้เก็บของถูก แล้วก็มักจะลากเลยเพื่อให้เราได้จองพื้นที่บนดอยครับ อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แต่ขาใหญ่ก็ดูกราฟ กราฟก็ใช้กันทั่ว เรารู้เขาก็รู้ ส่วนใหญ่มักลากลงไปไม่ถึงแนวนั้นให้เราได้เก็บของถูก แล้วก็มักจะลากเลยเพื่อให้เราได้จองพื้นที่บนดอยครับ อิอิ

 

พี่ค่ะ เห็นภาพเลยค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รู้สึกว่าพยายามจะลงไปหาแนวรับอย่างเดียวเลย :_cd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การคาดแนวโน้มราคาทองคำระดับสัปดาห์ต่อจากนี้ภายใน 1-2 เดือน ราคาน่าจะมีขึ้นมีลงไหลไปถึง 1520 - 1507 คือถ้าไปถึงเร็วอาจจะแค่ 1520 ถ้ามาช้าระดับเดือน คงได้เห็น 1507 ราคาจะลงไปย้ำเส้นแนวรับใหญ่ของการปรับฐานรอบนี้ จากนั้นค่อยๆขึ้นแล้วมีด่านวัดใจตรง 1720-1725 ถ้าผ่านเป็นขาขึ้นใหญ่ต่อไป ถ้าไม่ผ่าน จะเป็นแค่การรีบาวด์แล้วหาทิศทางอีกครั้ง

 

เดาว่าเมื่อลงไปแถวๆ 1520 แล้วคงดีดไปที่ 1720 จากนั้นลงมาย้ำแถวๆแนว 1650-1680 อีกสักครั้ง ก่อนจะดีดพ้น 1720 เป็นขาขึ้นในระยะยาวต่อไป ทั้งหมดไม่น่าเกิน 2 เดือนได้เห็นครับ เดาตามกราฟเทคนิค เพื่อให้ทราบมุมมองระยะยาวนะครับ

ช่วง1-2เดือนนี้ไม่อ่านวิเคราะทองคำแล้ว จะอ่านเรื่องที่มีสาระของเจ้ เฮียและป๋าเท่านั้น :Announce เพื่อที่จะรอราคา1920(ใช่หรือเปล่าคะ จัดหนักๆให้คงดอนซักรอบซิคะ :uu :uu

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนวโน้มอาจลงไปขนาดนั้นนะครับ แต่เป้นข้อดีสำหรับผู้ที่มีเงินเย็นคือ ถ้าราคาลงไปขนาดนั้นจริง ปีนี้อาจจะได้เห็น 2000 ครับ อย่างช้าสุดไม่เกิน กพ. ปีหน้าจ้า

ปีนี้อาจจะได้เห็น2000และอย่างช้าไม่เกินกพ.ปีหน้า........คือว่าช่วยบอกปีพ.ศ.ด้วยได้เปล่า เดี๋ยวเฮียก็เล่นมุกปีหน้าไปเรื่อยๆซิ :_10 :_10

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปีนี้อาจจะได้เห็น2000และอย่างช้าไม่เกินกพ.ปีหน้า........คือว่าช่วยบอกปีพ.ศ.ด้วยได้เปล่า เดี๋ยวเฮียก็เล่นมุกปีหน้าไปเรื่อยๆซิ :_10 :_10

 

คงไม่เล่นมุขนะครับถ้าไม่มากก็หน้าแหกกันไป(บางครั้งแหกไม่พอเสียตังตนเองด้วย อิอิ) ผมเดาว่า 2555 อาจจะได้เห็นช่วงปลาย หรือ อย่างช้า เดือน 2 (ก.พ.) ปี 2556 ครับผม ทั้งหมดจากการคาดเดา ตามกราฟและสถิติ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากเกิดข่าวสารใหญ่ๆนะครับ

ถูกแก้ไข โดย DonJuan

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ช่วง1-2เดือนนี้ไม่อ่านวิเคราะทองคำแล้ว จะอ่านเรื่องที่มีสาระของเจ้ เฮียและป๋าเท่านั้น :Announce เพื่อที่จะรอราคา1920(ใช่หรือเปล่าคะ จัดหนักๆให้คงดอนซักรอบซิคะ :uu :uu

 

ของเจ้ จะหนักไปทางไร้สาระ กับลามกสาสตร์ ได้ข่าวว่าชอบกันตรึม พักหลังต้องซาๆบ้างแล้ว ปั้วขอร้อง

 

:17 :17

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 31.19/21 ตลาดยังให้ความสำคัญข่าวยุโรป-เจพีมอร์แกนกดดัน

 

นักบริหารเงินธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 31.19/21 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.18/21 บาท/ดอลลาร์ ช่วงเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาก็ยังคงมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับยุโรปเหมือนเดิม ตลาดยุโรปก็ยังดูไม่ดี และมีเรื่องที่เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่สุดของสหรัฐเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ธนาคารขาดทุนเป็นจำนวนมากจากการซื้อขายหลักทรัพย์

 

สำหรับค่าเงินสกุลต่างประเทศที่สำคัญเช้านี้ เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2890/2892 ดอลลาร์/ยูโร ส่วนเงินเยนอยู่ที่ระดับ 80.09/10 เยน/ดอลลาร์

 

ด้านทิศทางค่าเงินบาทวันนี้มองว่าน่าจะยังอ่อนค่าต่อ โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทไว้ระหว่าง 31.15-31.25 บาท/ดอลลาร์

 

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ 31.2485 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ 2.88990%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กลางวันนี้ แหลก ยำ ปลาทู เพิ่ม โอเมก้า 3 อยู่

 

คืนนี้เล่นคุณไสย์ อ้ายกันเพื่อนที่รัก สัก หน่อย แต่ ทิดคุง ยังอยู่ดีน้าเจ้เป็นห่วง :17

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 สถานการณ์ราคาน้ำมันวันที่ 7 – 11 พ.ค. 55

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอีกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากความกังวลต่อปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจของยุโรป หลังจากที่กรีซไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลร่วมได้สำเร็จ รวมถึงผลการเลือกตั้งฝรั่งเศสโดยพรรคสังคมนิยมได้รับชัยชนะ ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าการแก้ปัญหาหนี้ของยุโรปอาจขาดความต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันปริมาณน้ำมันดิบในตลาดปรับเพิ่มขึ้น โดยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน ประกอบกับกลุ่มโอเปกมีการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลาดจึงลดความกังวลต่อปัญหาอุปทานน้ำมันดิบตึงตัวที่มีสาเหตุมาจากความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบและมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 96.13เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับลดลง 2.36 เหรียญฯ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ส่วนเบรนท์ปรับลดลง 0.92 เหรียญฯ มาปิดที่ 112.26 เหรียญฯ

ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบ ประกอบด้วย

ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากความล้มเหลวในการจัดตั้งรัฐบาลของประเทศกรีซหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากจุดยืนนโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ต่างกัน โดยเฉพาะพรรคซ้ายจัด(Left Coalition) ไม่สนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัด ทำให้กรีซอาจจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ากรีซอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินอีกครั้งภายในสิ้นเดือน มิ.ย.หากยังไม่มีรัฐบาลใหม่มาเจรจาขอเงินช่วยเหลือจาก EU และ IMF

ตลาดมีความกังวลต่อการแก้ปัญหาหนี้ของกรีซ โดยเฉพาะ ในเรื่องมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขหลักที่กรีซจะได้รับเงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ทั้งนี้พรรคซ้ายจัดที่ปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัดได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมาก อาจจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งใหม่

การเลือกตั้งประธานธิบดีฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา นาย ฟรองซัวส์ โอลลองด์ ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนืออดีตประธานธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี โดยผู้นำคนใหม่ของฝรั่งเศสยืนยันในนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจและไม่สนับสนุนนโยบายรัดเข็มขัดที่นาย ซาร์โกซี ได้ตกลงร่วมกันกับเยอรมนีไว้ก่อนหน้านี้ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลต่อความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี รวมทั้งนโยบายร่วมในการจัดการปัญหาหนี้ยุโรป

ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน โดยสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 พ.ค. ปรับเพิ่มขึ้นอีก 3.7 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 379.52 ล้านบาร์เรล ซึ่งทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 20 ปี เมื่อนับรวมทั้ง 7 สัปดาห์ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 33 ล้านบาร์เรล

ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกยังคงปรับเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 31.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน เม.ย. จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากอิรักและลิเบีย ส่วนการผลิตของซาอุดิอาระเบียปรับเพิ่มขึ้นเหนือระดับ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยซาอุฯ กล่าวว่า มีปริมาณสำรองคงคลังถึง 80 ล้านบาร์เรล ซึ่งพร้อมนำออกมาสู่ตลาดถ้ามีความจำเป็น

ตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน เม.ย. ของจีนออกมาชี้ชัดว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง โดยการส่งออกขยายตัวเพียง 4.9% จากปีก่อน ต่ำกว่าคาดที่ 8.5% ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น 9.3% ต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี และยอดค้าปลีกขยายตัว 14.1% ต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี ส่งผลให้ตลาดกังวลต่อภาพรวมการบริโภคน้ำมันของจีนในปีนี้

อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. ของจีนปรับลดลงมาอยู่ที่ 3.4 % ส่งผลให้ตลาดคาดว่า รัฐบาลจีนอาจจะใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการปรับลดสัดส่วนสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์และการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ออกมาในทิศทางที่ดีขึ้น โดยยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสัปดาห์ล่าสุดปรับลดลง 1,000 ตำแหน่ง ขณะที่งบดุลการค้าในเดือน มี.ค. ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น โดยมูลค่าการนำเข้าปรับเพิ่มขึ้น 5.2% จากเดือนก่อน และการส่งออกปรับเพิ่มขึ้น 2.9% รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ค. แตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี

ตลาดได้คลายความกังวลต่อปัญหาหนี้กรีซได้ระดับหนึ่ง หลังสหภาพยุโรปมีมติจ่ายเงินช่วยเหลือแก่กรีซ 5.2 พันล้านยูโร โดยส่วนแรก 4.2 พันล้านยูโรได้จ่ายไปแล้วในวันที่ 10 พ.ค. เพื่อให้กรีซมีเงินเพียงพอที่จะชำระเงินเดือนและพันธบัตรรัฐบาลที่จะครบกำหนดในวันที่ 15 พ.ค. นี้ ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้กรีซในภายหลังขึ้นอยู่กับความต้องการของกรีซ นอกจากนี้ทางสหภาพยุโรปได้ออกมากล่าวว่า ได้เตรียมเงินไว้ช่วยเหลือกรีซในช่วงที่กรีซยังคงไม่มีรัฐบาลใหม่

 

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ

 

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 108 – 115 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวที่กรอบ 93 - 100 เหรียญฯ โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นจะยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลต่อปัญหาหนี้ยุโรปและเศรษฐกิจยุโรปที่อยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันของโลก ขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับสูงและเพียงพอต่อความต้องการ

 

ในสัปดาห์นี้ ติดตามปัญหาการเมืองในกรีซที่อาจจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ หากกรีซยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ตามกำหนดภายในสัปดาห์นี้ โดยพรรคซ้ายจัด ไซริซา (Syriza) ที่มีนโยบายปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัด อาจจะได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งครั้งใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตของกรีซที่อาจจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจาก EU และ IMF และต้องเผชิญกับภาวะล้มละลาย หากกรีซปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัดที่เป็นเงื่อนไขหลักของ EU และ IMF

 

รวมทั้งติดตามปัญหาของภาคธนาคารในสเปน ว่าธนาคารพาณิชย์ของสเปนจะสามารถเพิ่มทุนรวมกันกว่า 30 พันล้านยูโร เพื่อกันสำรองหนี้จากภาคอสังหาริมทรัพย์ หลังธนาคารอันดับ 4 ของสเปน Bankia ได้ถูกรัฐบาลเข้าควบคุมกิจการไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรป ที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้จะเป็นตัวเลขของภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

 

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิตและผู้บริโภค ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์คและรัฐฟิลาเดลเฟีย ยอดขายปลีก ยอดการขอสร้างบ้านใหม่ การผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน รวมทั้งรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีตัวเลขเศรษฐกิจจากยุโรป ได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรม จีดีพี และดัชนีความรู้สึกต่อภาวะเศรษฐกิจ (ZEW economic sentiment)

 

ความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาลของกรีซ ซึ่งกรีซอาจจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายในเดือน มิ.ย. นี้ ถ้ายังไม่มีพรรคการเมืองใดจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ รวมทั้งความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของนโยบายการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป หลังนาย ฟรองซัวส์ โอลลองด์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศสซึ่งไม่เห็นด้วยกับมาตรการรัดเข็มขัดซึ่งนายซาร์โกซีได้ตกลงร่วมกับเยอรมนีไว้ก่อนหน้านี้

 

การเจรจาครั้งที่ 2 ระหว่าง 6 ประเทศแกนนำหลักของโลกและอิหร่านในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านในวันที่ 23 พ.ค. ที่เมืองแบกแดด ประเทศอิรัก โดยอิหร่านพยายามจะเจรจาให้สหรัฐฯและยุโรปยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบ ขณะที่สหรัฐฯ ยังไม่มีท่าทีที่จะยกเลิกมาตรการดังกล่าว ส่วนสหภาพยุโรปจะมีการหารือกันอีกครั้งในวันที่ 14 พ.ค. นี้ว่าจะเดินหน้ามาตรการคว่ำบาตรต่อหรือไม่

สถานการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ได้แก่ ไนจีเรีย ซีเรีย อิรัก เยเมน ลิเบีย และซูดานใต้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...