ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

โซรายา ซาเอนซ์ เด ซานตามาเรีย รองนายกรัฐมนตรีสเปน กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการยื่นขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ และจะยังไม่มีการตัดสินใจจนกว่าผลการตรวจสอบจากทีมที่ปรึกษาต่างประเทศและจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอ) จะเผยให้เห็นว่า ระบบธนาคารสเปนต้องการเงินทุนมากเท่าไร

 

 

 

อย่างไรก็ตาม เธอไม่ได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่สเปนจะขอความช่วยเหลือจากสถาบันต่างๆในยุโรป แต่ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวจะต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

 

ทั้งนี้ คำกล่าวของรองนายกฯสเปนเป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับกระแสข่าวที่มีการลือกันอย่างหนาหูว่า สเปนอาจขอเงินช่วยเหลือในช่วงบ่ายวันเสาร์นี้ (ตามเวลาท้องถิ่น)

 

ขณะที่นาย อมาเดอู อัลตาฟาจ โฆษกคณะกรรมาธิการยุโรปด้านกิจการเศรษฐกิจและการเงิน กล่าวย้ำในทำนองเดียวกันว่า รัฐบาลสเปนยังไม่ได้ขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อวันศุกร์ รัฐบาลสเปนได้ประกาศปฏิรูปการเงินรอบ 3 เพื่อปรับโครงสร้างธนาคารพาณิชย์ของประเทศ

 

ขณะที่นาย ลูอิส เด กวินดอส รมว.เศรษฐกิจกล่าวว่า ธนาคารกลางสเปนจะดูแลเรื่องการวิเคราะห์ผลการตรวจสอบบัญชีธนาคารพาณิชย์สเปน จากนั้นจึงจะตัดสินใจใข้มาตรการที่จำเป็น

 

สำหรับผลการตรวจสอบในเบื้องต้นนั้น จะมีการประกาศในวันที่ 21 มิ.ย. และในวันที่ 31 ก.ค. จะมีการรายงานผลขั้นสุดท้าย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 9 มิถุนายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สเปนยังไม่พ้น 3 ปมปัญหาใหญ่ แม้รับเงินช่วยเหลือ 1 แสนล้านยูโร กอบกู้ภาคธนาคาร จุดชนวนคำถามชะตากรรมยูโรโซนรอบใหม่

 

 

รัฐมนตรีคลังยูโรโซนอนุมัติความช่วยเหลือทางการเงิน 1 แสนล้านยูโร (ราว 1.25 แสนล้านดอลลาร์) แก่สเปน เพื่อช่วยกอบกู้ภาคธนาคารที่กำลังมีปัญหา แต่เกิดคำถามตามมาว่า ปัญหาของแดนกระทิงดุจะยุติหรือต้องขอกู้เงินเพิ่มอีก เพราะสเปนกำลังเผชิญวิกฤตหลายด้าน ไม่ใช่แค่ปัญหาในภาคธนาคาร

 

"วอลล์สตรีท เจอร์นัล" ตั้งข้อสังเกตว่า หากสเปนต้องขอรับความช่วยเหลือเต็มรูปแบบซ้ำรอยกรีซ ชะตากรรมของยุโรปจะตกอยู่ในความเสี่ยงจากหายนะอย่างฉับพลันรุนแรงตามมา เพราะสเปนเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 4 ของยูโรโซน ใหญ่กว่ากรีซ โปรตุเกส และไอร์แลนด์รวมกัน หมายความว่าเงินช่วยเหลือที่สมาชิกลงขันกันไว้จะอยู่ในภาวะตึงตัว

 

และแม้สเปนจะได้รับเงินช่วยเหลือภาคการเงิน ซึ่งไม่ได้ส่งผลให้ต้องปฏิรูปเศรษฐกิจและใช้มาตรการรัดเข็มขัด แต่แทบทุกสายตายังจับจ้องไปที่กรีซ ซึ่งกำลังจะเลือกตั้งอีกรอบในอีก 7 วันข้างหน้า ชี้ชะตาระหว่างพรรคที่หนุนการขอรับเงินช่วยเหลือแลกกับการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ กับพรรคที่ต่อต้านแนวทางนี้ ซึ่งหากกรีซเลือกหนทางหลังก็ย่อมหมายถึงรอยแตกร้าวที่จะเกิดกับยูโรโซน และจะยิ่งวุ่นวายหนักขึ้นจากปัญหาในภาคการเงินของสเปน

 

ที่จริงสเปนไม่ได้มีปัญหาเฉพาะในภาคธนาคาร แต่เศรษฐกิจของสเปนเองก็หดตัว คาดกันว่าอาจหดตัว 1.7% ในปีนี้ อัตราว่างงานที่สูง โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานหนุ่มสาว รวมถึงทางการมาดริดจะทำอย่างไรกับปัญหาขาดดุลงบประมาณ ซึ่งตัวเลขทางการอยู่ที่ 5.3% ของจีดีพี แต่คาดกันว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านั้น ก่อนหน้านี้ สเปนต้องการกู้เงิน 8.6 หมื่นล้านยูโรในปีนี้ เพื่อจัดการกับปัญหาขาดดุลงบประมาณและจ่ายหนี้ที่ครบกำหนดชำระ ส่วนนักลงทุนก็หนีหายไปจากตลาดพันธบัตรสเปน

 

แม้เงินช่วยเหลือที่ได้รับล่าสุดจะช่วยต่อลมหายใจ แต่ถึงอย่างไรนี่ก็เป็นต้นทุนที่สเปนต้องจ่ายคืน และอาจส่งผลให้การระดมทุนเพิ่มเติมของสเปนทำได้ยากขึ้น เพราะเงินกู้ที่ได้รับจากกลไกรักษาเสถียรภาพการเงิน (อีเอสเอ็ม) กำหนดให้สเปนต้องจ่ายคืนแก่อีเอสเอ็มก่อนผู้ถือครองพันธบัตรทั่วไป หากสเปนต้องผัดนัดชำระหนี้ จึงทำให้นักลงทุนลังเลที่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสเปน

 

"เฮเลน ฮาเวิร์ธ" หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์อัตราดอกเบี้ยประจำยุโรปของเครดิต สวิส ในลอนดอน ระบุว่า ที่สุดแล้วเราต่างรู้ว่าสเปนต้องการเงินมากกว่าที่สันนิษฐานไว้ การขาดดุลงบประมาณที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.3% ก็ชัดเจนว่าไม่เป็นไปตามนั้น

 

ขณะที่ "ภาวัน วัดห์วา" นักกลยุทธ์จากเจ.พี. มอร์แกน มองว่า สเปนเผชิญปัญหา 3 เด้ง นั่นคือ ระบบธนาคารที่มีปัญหา การใช้จ่ายมหาศาลของภาครัฐ และเศรษฐกิจที่ออกอาการไม่ดี ซึ่งช่วยเหลือเหลือที่ได้รับก็ช่วยแก้ปัญหาเพียง 1 ใน 3 เรื่องเท่านั้น

 

ที่ีมา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 11 มิถุนายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรีซ ชี้ วิกฤติหนี้ยุโรปเป็นปัญหาระดับประเทศ

ข่าวต่างประเทศ วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2555 7:18น.

 

กลุ่มยุโรโซน ตอบรับ ยินดีที่จะให้เงินกู้ตามจำนวนที่สเปนขอ  ซึ่งมากถึง 4 ล้านล้านบาท เพื่อนำมาค้ำระบบธนาคาร โดยกรณีนี้ก็ทำให้ กรีซ ได้โอกาสชี้ว่า วิกฤติหนี้สินเป็นปัญหาร่วมกันหลายประเทศ

หลังทราบข่าว ชาวกรีซ ในกรุงเอเธนส์ มีความเห็นว่า วิกฤติหนี้สินที่ผ่านมาไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นปัญหาร่วมกันของหลายประเทศ โดยก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีคลังของสเปน ประกาศว่า จะยื่นความจำนงขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกลุ่มชาติยุโรป ที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือ ยูโรโซน  ซึ่งสเปนเป็น 1 ใน 17 ประเทศสมาชิก จำนวน 1 แสนล้านยูโร หรือ ประมาณ 4 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อนำมาเพิ่มทุนในระบบธนาคาร ด้านสหภาพยุโรป ประกาศตอบรับในทันทีเช่นกัน โดย โฆษกคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ระบุว่า เมื่อสเปนยื่นขอมาอย่างเป็นทางการ ยูโรโซน ก็ยินดีที่จะอนุมัติไปตามจำนวนนั้น ซึ่งหลายฝ่ายมีความเห็นว่า ยูโรโซน ต้องรีบจัดการกับปัญหาของสเปน ก่อนที่กรีซจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภารอบใหม่ ในวันที่ 17 มิถุนายนนี้

 

สำหรับ สเปนนั้นยังไม่ได้กำหนดวันเวลาการยื่นขอกู้อย่างเป็นทางการ โดยรัฐมนตรีคลังของสเปน คาดว่า  จะเป็นปลายเดือนนี้ หลังการตรวจสอบบัญชีภายใน หรือ ออดิทของธนาคารเสร็จเรียบร้อย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะคุณพี่ดอน คุณป๋า คุณพี่เจ๊ คุณพี่ pasaya และพี่ๆทุกคนค่ะ

 

วันนี้ขึ้นก็ได้ลงก็ได้ ช้านนนรับไว้เอง ขอให้คุณพี่กะคุณเจ๊ลงดอยตามที่มุ่งหมายนะคะ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

25762_a.png

 

สำหรับกราฟฯ ที่มานำเสนอนี้ จุดการเคลื่อนไหวของราคา อ้างอิงมาจากการเคลืี่อนไหวของ ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด

 

http://www.safehaven.com/article/25762/trading-gold-by-timing-the-fed?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+safehaven%2Fall-articles+%28Safehaven+-+Most+Recent+Articles%29&utm_content=FeedBurner

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะคุณพี่ดอน คุณป๋า คุณพี่เจ๊ คุณพี่ pasaya และพี่ๆทุกคนค่ะ

 

วันนี้ขึ้นก็ได้ลงก็ได้ ช้านนนรับไว้เอง ขอให้คุณพี่กะคุณเจ๊ลงดอยตามที่มุ่งหมายนะคะ^^

 

สวัสดีคร่ะ ดีนะจ๊ะที่คุณน้อง ย่อชื่อคุณพรี่ แล้วไม่สั้นเดินไป มี น หนู ติดมาด้วย ไม่งั้นพรี่คงเครียด :17 ว่าแต่เห็นน้องน้ำหวาน สำราญใจ แต่เช้า วันนี้น่าจะมีอะไรดีๆ :uu

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะคุณพี่ดอน คุณป๋า คุณพี่เจ๊ คุณพี่ pasaya และพี่ๆทุกคนค่ะ

 

วันนี้ขึ้นก็ได้ลงก็ได้ ช้านนนรับไว้เอง ขอให้คุณพี่กะคุณเจ๊ลงดอยตามที่มุ่งหมายนะคะ^^

 

สวัสดีจ้า สวัสดีทุกๆ คนด้วยน๊า

วันนี้พร้อมรบแล้วจ้า.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีคร่ะ ดีนะจ๊ะที่คุณน้อง ย่อชื่อคุณพรี่ แล้วไม่สั้นเดินไป มี น หนู ติดมาด้วย ไม่งั้นพรี่คงเครียด :17 ว่าแต่เห็นน้องน้ำหวาน สำราญใจ แต่เช้า วันนี้น่าจะมีอะไรดีๆ :uu

ต้องการให้เชียร์ขึ้นหรือลงค่ะคุณพี่ เด๋วน้องจะได้ทายให้ถูกใจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ทำไมดอลล่าลงแรงจัง แล้วทองจะดีดแค่ไหน อยากรู้จัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต้องการให้เชียร์ขึ้นหรือลงค่ะคุณพี่ เด๋วน้องจะได้ทายให้ถูกใจ

 

ไม่ต้องเชียร์ขึ้น หรือ ลงนะจ๊ะ เชียร์ให้เข้ามาในใจพรี่ ก็พอ :32

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไปดูกะหลานๆมาเหรอจ๊ะ

ไปดูคนเดียว...ดูมาทุกภาคแล้ว หลานมันไม่ว่างประชุมเชียร์และมันไม่ค่อยอยากไปด้วยเพราะมันบอกว่าเหมือนอาเสียพาอีหนูไปเที่ยว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดีจังเลย ได้ไปดูหนังการ์ตูนสนุกสนาน

 

และ ทั้ง 2 ตอนที่ผ่านมา ได้เห็นมิตรภาพของตัวละครที่เป็นสัตว์ต่างประเภทกัน พวกเขามักอยู่เคียงข้างกัน พวกเขาเรียนรู้ร่วมกัน พวกเขาใช้ความสามารถร่วมกันเพื่อหาทางรอดในยามวิกฤติ แล้วในภาคที่ 3 สถานที่ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ชีวิตคุ้มค่าเสมอไป

" แต่เป็นคนในสังคมรอบตัวของเรา ต่างหากที่ทำให้ชีวิตคุ้มค่า และ มีความสุขที่แท้จริง ”

ขอบคุณครับที่บรรยายได้โดนใจ :01 :01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จาก'กรีซ'ถึง'โกลด์' : คอลัมน์วันอาทิตย์คิดเรื่องเงิน : โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล k_wuttikul@hotmail.com

 

               ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา คนที่ลงทุนในหุ้นและทองคงปวดหัวกันระนาว เพราะทั้งราคาหุ้นและราคาทองปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยมีเหตุและปัจจัยหลักมาจากความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจยุโรป โดยมี "กรีซ" เป็นแกนกลาง หลังจากที่กรีซ ซึ่งเป็นหนึ่ง แต่ประเด็นที่ทำให้ราคาหุ้น ราคาทองคำ (รวมถึงราคาน้ำมัน) ปรับตัวลดลงวูบๆ นั้น ไม่ใช่วิกฤติเศรษฐกิจของกรีซ แต่กลายเป็นวิกฤติทางการเมือง เมื่อกรีซไม่สามารถและยังไม่ทีท่าที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ หลังจากผ่านพ้นการเลือกตั้งที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา

 

               ก่อนสิ้นสุดสัปดาห์มีข่าวว่า ประชาชนจำนวนมากต่างก็ไม่เชื่อมั่นในสถานการณ์ของประเทศ พากันแห่ถอนเงินออกจากธนาคารคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 700 ล้านยูโร หรือประมาณ 894 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยในอัตราแลกเปลี่ยน 31 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ก็ตกประมาณกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท

 

               ถ้านึกภาพไม่ออก ก็ย้อนนึกถึงเหตุการณ์ในบ้านเราเมื่อปี 2540 นั่นแหละ ต่างกันแต่ว่า วิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" ของไทยนั้น เหตุเกิดจาก "หนี้ภาคเอกชน" เมื่อบรรดาบริษัทใหญ่ๆ ต่างพากันกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศ หลังจากภาครัฐเปิดช่องทางการไหลเข้าออกของเงินทุน และเมื่อเกิดการโจมตีค่าเงินบาท แล้วแบงก์ชาติสู้ไม่ถอยจนทุนสำรองร่อยหรอหมดหน้าตัก สุดท้ายเมื่อต้องลอยตัวค่าเงินบาท หนี้สินสกุลเงินต่างประเทศที่กู้ๆ กันมาก็พอกพูนจนกลายเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว

 

               ส่วนวิกฤติกรีซ รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในยุโรป อาทิ สเปน อิตาลี มาจากปัญหา "หนี้" เช่นกัน แต่เป็นหนี้สาธารณะหรือหนี้ภาครัฐ ที่ว่ากันว่าก็มาจากระบบรัฐสวัสดิการ ที่รัฐเอื้อเฟื้อ อุดหนุน ดูแลประชาชน จนทำให้ฐานะการคลังของรัฐอ่อนแอลง เช่นเดียวกับประชาชนในชาติที่อ่อนแอลงจากความเคยชินกับความสุขสบายที่รัฐจัดหามาให้   แม้รากเหง้าของปัญหาจะเริ่มต้นไม่เหมือนกัน แต่ผลลัพธ์สุดท้ายก็คือ "วิกฤติ" เหมือนๆ กัน

 

               "เหตุ" ที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิด "ผล" กับราคาหุ้นและราคาทองคำในทางลบ หลายคนอาจจะเห็นเป็นเรื่องแปลก เพราะเราถูกสอนและถูกสั่งให้จำว่า ในวิกฤติเศรษฐกิจ ควรวิ่งเข้าหาสินทรัพย์ที่ต้านทานวิกฤติได้ ซึ่งแน่นอนว่า นั่นคือ โลหะที่มีค่าอย่าง "ทองคำ" แล้วทำไมจึงมีแรงขายทองคำ ทั้งๆ ที่วิกฤติยังคงอยู่ ก็เนื่องเพราะโลกไม่ได้มีเหตุเดียวผลเดียวอีกต่อไป คำอธิบายสำหรับการเทขายทองคำ ก็คือ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า เม็ดเงินจากการลงทุนในทองคำจึงถูกโยกย้ายและถ่ายโอนไปลงทุนในเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และทองคำ (รวมถึงหุ้นและน้ำมัน) อ่อนค่าลง

 

               จากเดือนกันยายน ปี 2554 ที่ราคาทองคำทำสถิติสูงสุดตลอดกาลที่ 1,920 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ปัจจุบันราคาลดลงเหลือ 1,530-1,540 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หายไปเกือบ 400 ดอลลาร์หรือเกือบๆ 4 พันบาท

 

               คำถามคือ ทองคำ ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่ เรื่องนี้ คุณณัฐฑี จุฑาวรากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด บอกว่า สุดท้าย "ทองคำ" ก็ยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แม้ว่าในช่วงนี้ราคาจะลดลงมาก็ตาม เพราะไม่ว่าจะอย่างไร ทองคำก็เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวเอง เพียงแต่ปัจจัยที่เข้ามามีผลกระทบในแต่ละช่วงเวลา ทำให้ราคาทองคำผันผวนไปตามปัจจัยนั้นๆ

 

               หลังจากที่ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 1,550 ดอลลาร์ต่อออนซ์ คุณณัฐฑีบอกว่า ให้รอดูที่ระดับต่ำสุดเดิมที่ 1,522 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และมีความเป็นไปได้ที่ราคาทองจะลงไปที่ 1,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นจุดที่น่าจะทยอยซื้อสะสมได้ เช่นเดียวกับคุณกฤษณา วิเศษสินธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทองคำ แอสเซท ที่แนะนำให้ลงทุนทองคำในระดับราคาบริเวณ 1,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และมองว่า ในช่วงสิ้นปีนี้ ราคาทองจะฟื้นตัวไปอยู่ที่ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

                สำหรับคนที่ลงทุนทองคำอยู่แล้ว เรื่องรูปแบบการลงทุนไม่ใช่ปัญหา หลังจากนี้ก็ว่ากันไปในเรื่องของราคา ส่วนที่คนมองทองมานาน และเก็บเงินไว้เพื่อรอเวลาลงทุนในทอง มีข้อคิดเรื่อง "รูปแบบการลงทุน" มาฝาก เป็นข้อคิดที่มาจากหนังสือ "เงินทองต้องจัดการ" ของคุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ว่าด้วยบทตอนเกี่ยวกับการลงทุนในทองคำ ซึ่งคุณวิวรรณได้เขียนถึงการเลือกรูปแบบการลงทุนในทองคำให้เหมาะสม ด้วยการตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้เสียก่อน

 

               นั่นคือ ทำไมอยากซื้อทองคำ ถ้าอยากซื้อเพราะต้องการสวมใส่ และต้องการสะสมเพื่อความสวยงาม ก็ควรซื้อทองรูปพรรณ แต่ต้องทำใจว่าการซื้อและการขายคืนมีส่วนต่างที่เป็นค่ากำเหน็จอยู่ แต่ถ้าอยากซื้อเพื่อการลงทุน ก็มีทางเลือกที่เพิ่มขึ้น

 

               ต้องการจับต้องหรือไม่ หรือต้องการเพียงอยากมีส่วนได้เสียกับการขึ้นลงของราคาทองคำ บางคนซื้อเพื่อการลงทุน แต่ก็อยากจับต้อง ถ้าเป็นแบบนี้ต้องเลือกซื้อทองคำแท่งหรือเหรียญทอง แต่ถ้าไม่ต้องการจับต้อง ก็มีทางเลือกอื่นเพิ่ม เช่น การลงทุนในกองทุนทองคำหรือโกลด์ฟิวเจอร์ส

 

               จะเก็บรักษาไว้เองหรือจะเก็บไว้ในตู้มั่นคงของธนาคาร บางคนอยากซื้อทองคำแท่งก็เพื่อจะจับต้อง แต่พอซื้อมากๆ ก็ต้องนำไปไว้ในห้องมั่นคงของธนาคาร แต่จะกลายเป็นนานๆ จับต้องได้สักครั้ง ดังนั้น ต้องให้แน่ใจก่อนว่าอยากจะทำอะไร

 

               มีข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นภาษี ค่าคอมมิชชั่น ค่ากำเหน็จ ค่าเก็บรักษา ค่าเบี้ยประกัน ฯลฯ ซึ่งรูปแบบของการลงทุนแต่ละอย่างจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ถัดมา คือ ร้านหรือบริษัทหรือคนที่จะซื้อขายด้วยน่าเชื่อถือเพียงใด และสุดท้าย คือ ทองคำเข้ากับการลงทุนอื่นๆ ของตัวเองหรือไม่ เพราะสุดท้ายแล้ว ไม่ว่าอย่างไร การลงทุนก็ยังต้องยึดหลักของการกระจายความเสี่ยงอยู่ดี

 

               จากวิกฤติ "กรีซ" ไปถึงความเป็นไปของทองคำ "โกลด์" (Gold) ส่วนใครจะถึงเป้าหมาย "โกล" (Goal) หรือไม่ อย่างไร และแค่ไหนนั้น ต้องบอกว่า

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก (วันที่ 11 มิถุนายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่ๆ จะ gap (โว้ย) เมื่อไหร่ เรียกกันบ้างนะจ๊ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่ๆ จะ gap (โว้ย) เมื่อไหร่ เรียกกันบ้างนะจ๊ะ

 

อยากเก็บที่ 1592-1594 ครับ แต่สงสัยทองคงจะเลือกไปก่อน คงไปได้แถวๆ 1640-1660 แล้วคงลงมาปิด GAP นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...