ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณค่ะ คุณป๋า แม่ทองเขาจะไปไกลแค่ไหนค๊ะ

พึ่งจะเริ่มถือ ตามรหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง ให้เข้าซื้อ ก็ต้องถือไปตามระยะของ รหัสฯ คำตอบตอนนี้คือ " ไม่รู้ครับ " ว่า ราคาทองจะขึ้นไปที่เท่าไหร่เป็นจุดสูงสุด มีกำไรก็ขาย หรือ ดูรหัส 5,35,9 จะตัดกันอีกที เมื่อไหร่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 28 เมษายน 2557 07:14:53 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที 25 เม.ย.2557

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (25 เม.ย.) จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซียระลอกใหม่ ซึ่งกลบปัจจัยการรายงานผลประกอบการเอกชนสหรัฐซึ่งเปิดเผยอย่างคึกคักในสัปดาห์นี้

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,361.46 จุด ลดลง 140.19 จุด หรือ -0.85% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,075.56 จุด ลดลง 72.78 จุด หรือ -1.75% ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 1,863.40 จุด ลดลง 15.21 จุด หรือ -0.81%

 

-- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่เมื่อวันศุกร์ (25 เม.ย.) จากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ในยูเครน

 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าสู่ระดับ 1.3837 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.3825 ดอลลาร์ ปอนด์แข็งค่าแตะ 1.6801 ดอลลาร์จาก 1.6798 ดอลลาร์ ดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าแตะ 0.9269 ดอลลาร์สหรัฐจากระดับ 0.9259 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าแตะ 102.13 เยนจากระดับ 102.34 เยน และอ่อนค่าลงแตะ 0.8809 ฟรังค์สวิสจากระดับ 0.8820 ฟรังค์สวิส ขณะที่แข็งค่าสู่ระดับ 1.1039 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.1026 ดอลลาร์แคนาดา

 

-- ดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (25 เม.ย.) เนื่องจากการร่วงลงของหุ้นแอสทราเซเนกา และเอชเอสบีซีถ่วงดัชนี

ดัชนี FTSE 100 ปิดลดลง 17.31 จุด หรือ 0.26 ที่ 6,685.69 จุด

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (25 เม.ย.) เนื่องจากความขัดแย้งระลอกใหม่ระหว่างยูเครนและรัสเซียช่วยหนุนความต้องการทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และยังได้รับแรงหนุนจากการปิดปรับตัวลงของตลาดหุ้นนิวยอร์ก

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 10.2 ดอลลาร์ หรือ 0.79% ปิดที่ 1,300.8 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปรับตัวขึ้น 0.3 เซนต์ หรือ 0.02% ปิดที่ 19.691 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปรับตัวขึ้น 14.7 ดอลลาร์ หรือ 1.04% ปิดที่ 1,424.3 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับตัวขึ้น 8.90 ดอลลาร์ หรือ 1.1% ปิดที่ 811.20 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงเมื่อวันศุกร์ (25 เม.ย.) ภายหลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 1.34 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 100.60 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวลง 75 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 109.58 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (25 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทเอกชน และสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.8% ปิดที่ 333.5 จุด

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,443.63 จุด ลดลง 35.91 จุด หรือ -0.80% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,401.55 จุด ลดลง 147.13 จุด หรือ -1.54% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,685.69 จุด ลดลง 17.31 จุด หรือ -0.26%

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,361.46 จุด ลดลง 140.19 จุด -0.85%

 

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,863.40 จุด ลดลง 15.21 จุด -0.81%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,075.56 จุด ลดลง 72.78 จุด -1.75%

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,443.63 จุด ลดลง 35.91 จุด -0.80%

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,401.55 จุด ลดลง 147.13 จุด -1.54%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,685.69 จุด ลดลง 17.31 จุด -0.26%

 

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,774.12 จุด ลดลง 171.33 จุด -1.99%

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 14,429.26 จุด เพิ่มขึ้น 24.27 จุด +0.17%

 

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,971.66 จุด ลดลง 26.68 จุด -1.34%

 

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,036.52 จุด ลดลง 20.51 จุด -1.00%

 

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,685.10 จุด ลดลง 46.23 จุด -0.69%

 

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 22,223.53 จุด ลดลง 339.27 จุด -1.50%

 

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียที่ 4,897.64 จุด เพิ่มขึ้น 6.56 จุด +0.13%

 

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,860.98 จุด ลดลง 4.30 จุด -0.23%

 

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,267.57 จุด ลดลง 16.36 จุด -0.50%

 

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 22,688.07 จุด ลดลง 188.47 จุด -0.82%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

http://www.ryt9.com/s/iq20/1885496

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ32.24-32.27 บาท/ดอลลาร์ โดยแข็งค่าค่าจากที่ปิดตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ระดับ 32.35-32.37 บาท/ดอลลาร์ โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลในเรื่องของยูเครนและรัสเซีย จึงหันมาขายดอลลาร์แล้วนำมาซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น

 

สำหรับวันนี้ คาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.20-32.35 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ(วันที่ 28 เมย.57)

 

 

China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า เงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.11% แตะที่ 6.1565 หยวนต่อดอลลาร์เช้าวันนี้

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศของจีนนั้น เงินหยวนได้รับอนุญาตให้ปรับตัวขึ้นหรือลงไม่เกิน 2% จากอัตราค่ากลางของการซื้อขายแต่ละวัน

 

ทั้งนี้ อัตราค่ากลางสกุลเงินหยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อิงกับราคาเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ก่อนที่ตลาดจะเปิดทำการซื้อขายในแต่ละวัน

 

ที่มา: อินโฟเควสท์(วันที่ 28 เมย.57)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "การประชุมเฟดรอบ 29-30 เม.ย. 2557: คาดเฟดปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ต่อเนื่อง หลังสัญญาณเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น "

 

ประเด็นสำคัญ

 ในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)วันที่ 29-30 เมษายน 2557 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เฟดน่าจะปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือนมาที่ระดับ 45 พันล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือน

 กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯฟื้นตัวขึ้น หลังแรงกดดันจากสภาพอากาศที่เลวร้ายคลายตัวลง

 อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อาจไม่ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังคงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่

 สำหรับผลของการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟดต่อเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ใน ระดับที่จำกัด และน่าจะอยู่ในวิสัยที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยไม่ได้สร้างผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงเท่าใดนัก

 

 

ในการประชุมรอบที่สามของปี 2557 ของเฟดในวันที่ 29-30 เมษายน นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) น่าจะมีมติให้ปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯจาก 55 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือน เหลือ 45 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือน หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ บ่งชี้ว่า การอ่อนตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงต้นปี 2557 ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เลวร้าย ในขณะที่มองไปข้างหน้า ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงน่าจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หลังแรงกดดันจากสภาพอากาศคลายตัวลง

 

ภาพรวมของพัฒนาการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้ภาพที่สดใสมากขึ้น หลังจากที่แรงกดดันจากสภาพอากาศที่เลวร้ายคลายตัวลง

 

เครื่องชี้ต่างๆของเศรษฐกิจสหรัฐฯ บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ หลังจากที่แรงกดดันจากสภาพอากาศที่เลวร้ายในช่วงต้นปีคลายตัวลง ทั้งนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภาคเอกชน รวมทั้ง ภาคการผลิต ให้สัญญาณถึงการฟื้นตัวกลับมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. 57 ที่กลับมายืนเหนือระดับ 80 อีกครั้ง โดยยอดค้าปลีกเดือนมี.ค. 57 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.1%MoM อันเป็นการปรับขึ้นในระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน ขณะที่กิจกรรมภาคการผลิตก็ยังคงให้ภาพเชิงบวก โดยผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ISM Manufacturing เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ 53.7 และ ISM New Order ก.พ. 57 อยู่ที่ 52.90 ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า อันเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงมุมมองเชิงบวกต่อภาคการผลิตในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงสภาวะตลาดแรงงาน ตัวเลขการจ้างงานได้เริ่มกลับมาฟื้นตัวในระดับใกล้เคียงกับช่วงปลายปีที่ แล้ว หลังจากที่ชะลอตัวลงในเดือน ธ.ค. 56 –ม.ค. 57 โดยการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ 192,000 ตำแหน่งและมีค่าเฉลี่ยของการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 183,000 ตำแหน่ง/เดือนขณะที่อัตราการว่างงานยังคงทรงตัวที่ระดับ 6.7% ทั้งนี้ ด้วยภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงฟื้นตัว คงสนับสนุนให้เฟดทยอยปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

 

 

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อาจไม่ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังคงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ (Slack in the Labor Market)

 

ในช่วงที่ผ่านมาตลาดการเงินโลกเริ่มมีความกังวลถึงโอกาสที่เฟดอาจจะตัดสินใจ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในจังหวะเวลาที่เร็วกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เฟดยังไม่มีความจำเป็นในการที่จะต้องพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายใน ระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐฯยังไม่ได้มีสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างเต็มที่

 

ทั้งนี้ อัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงาน (Labor Participation Rate) ของสหรัฐฯ รวมทั้ง อัตราการปรับขึ้นของค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วง ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในขณะที่แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ในระดับ 1.5%YoY ในเดือนมีนาคม ซึ่งต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ 2.0% อยู่มาก อันอาจเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเงินฝืดซึ่งจะกระทบต่อศักยภาพในการขยาย ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนี้ คาดว่าเฟดจะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำไปอย่างต่อเนื่องอีกระยะ เวลาหนึ่ง หลังจากที่สิ้นสุดการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ภายใต้โครงการ QE จนกระทั่งทิศทางของตลาดแรงงานมีสัญญาณของการฟื้นตัวซึ่งชัดเจนมากขึ้น หรือแรงกดดันเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น โดยมองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดน่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในช่วง หลังของปี 2558 มากกว่าในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2558

 

สำหรับผลต่อประเทศไทย ผลของการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟด น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในวงจำกัด

 

นับเป็นเวลากว่า 4 เดือน ที่เฟดได้เริ่มต้นในการทยอยปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงตั้งแต่เดือน ม.ค. 2557 ที่ผ่านมา และส่งผลให้ประเทศในตลาดเกิดใหม่บางประเทศเผชิญกับความผันผวนของตลาดการเงิน อย่างไรก็ดี ผลกระทบต่อตลาดการเงินไทยยังคงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากเสถียรภาพภายนอกประเทศ (External Balance) ของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งระดับทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยที่อยู่ในระดับสูง และมีหนี้ต่างประเทศในระดับค่อนข้างต่ำ ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็กลับมาเกินดุลอีกครั้ง โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2557 ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 5.3 พันล้านดอลลาร์ฯ

 

ทั้งนี้ หากพิจารณาปริมาณการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 57 ที่ผ่านมา ที่นักลงทุนต่างชาติมีการถือครองพันธบัตรจำนวน 6.8 แสนล้านบาท ปรับตัวลดลงไม่มากเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่ผ่านมาที่มีการถือครองอยู่ที่ 7.1 แสนล้านบาท ขณะที่ปริมาณการซื้อตราสารหนี้สุทธินับตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในตราสารหนี้ไทยอยู่กว่า 3 หมื่นล้านบาท

 

อย่างไรก็ดี แม้ว่าในปัจจุบันผลกระทบของการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟดต่อเศรษฐกิจ ไทยน่าจะยังคงอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ แต่คงต้องยอมรับว่าภาวะชะงักงันของเศรษฐกิจไทยจากปัจจัยการเมืองในประเทศที่ สร้างผลกระทบเชิงลบต่อแนวโน้มการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ รวมทั้ง ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐฯที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะในช่วงที่เฟดสิ้นสุดโครงการซื้อสินทรัพย์ เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการไหลออกของเงินทุนในอนาคต อันจะส่งผลต่อระดับสภาพคล่องในระบบการเงินไทยและต้นทุนการระดมทุน โดยเฉพาะจากภาครัฐซึ่งยังมีโครงการลงทุนและระดมทุนจำนวนมากอยู่ในแผนในระยะ ข้างหน้าได้

 

กล่าวโดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดน่าจะยังคงดำเนินการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิง ปริมาณลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯ ในการประชุมครั้งที่สามของปี 2557 ในวันที่ 29-30 เมษายน 2557 นี้ ท่ามกลางเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว หลังแรงกดดันจากสภาพอากาศที่เลวร้ายเริ่มคลายตัวลง และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดสามารถที่จะปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงได้ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ภายใต้สภาวะที่ตลาดแรงงานที่ยังไม่ได้มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ กอปรกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่น่าที่จะส่งผลให้เฟดเร่งรีบในการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ว่าเฟดจะสิ้นสุดโครงการการซื้อสินทรัพย์แล้วก็ตาม

 

สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทย การปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟด น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในวงจำกัด แต่ในระยะข้างหน้า คงต้องติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจในประเทศ ตลอดจน ประเด็นด้านอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ที่อาจจะมีผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนในระยะต่อไป

 

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 25 เมย.57)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

26 เมษายน 2557 21:33

เศรษฐกิจซบทำตลาดทองเงียบเหงา

news_img_578142_1.jpg

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

"จิตติ" เผย เศรษฐกิจซบเซา ทำตลาดทองเงียบเหงา คาด เปิดเทอมผู้ปกครองแห่จำนำแน่น

 

นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า บรรยากาศการซื้อขายทองคำในตลาดช่วงนี้ว่าถือว่าซบเซา เนื่องจากประชาชนไม่มีกำลังซื้อจากปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งนี้คาดว่า ในช่วงใกล้เปิดเทอม เชื่อว่าจะมีผู้ปกครองนำทองมาจำนำที่ร้านทองมากกว่าปกติ เพื่อนำเงินไปใช้จ่าย ส่วนราคาทองในขณะนี้ขยับขึ้นเล็กน้อย แต่ถือว่าราคายังไม่สูงมากนัก โดยคาดว่า กรอบราคาทองจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,170 - 1,450 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์

 

http://www.bangkokbiznews.com

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "การประชุมเฟดรอบ 29-30 เม.ย. 2557: คาดเฟดปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ต่อเนื่อง หลังสัญญาณเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น "

 

ประเด็นสำคัญ

 ในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)วันที่ 29-30 เมษายน 2557 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เฟดน่าจะปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือนมาที่ระดับ 45 พันล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือน

 กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯฟื้นตัวขึ้น หลังแรงกดดันจากสภาพอากาศที่เลวร้ายคลายตัวลง

 อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อาจไม่ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังคงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่

 สำหรับผลของการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟดต่อเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ใน ระดับที่จำกัด และน่าจะอยู่ในวิสัยที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยไม่ได้สร้างผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงเท่าใดนัก

 

 

ในการประชุมรอบที่สามของปี 2557 ของเฟดในวันที่ 29-30 เมษายน นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) น่าจะมีมติให้ปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯจาก 55 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือน เหลือ 45 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือน หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ บ่งชี้ว่า การอ่อนตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงต้นปี 2557 ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เลวร้าย ในขณะที่มองไปข้างหน้า ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงน่าจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หลังแรงกดดันจากสภาพอากาศคลายตัวลง

 

ภาพรวมของพัฒนาการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้ภาพที่สดใสมากขึ้น หลังจากที่แรงกดดันจากสภาพอากาศที่เลวร้ายคลายตัวลง

 

เครื่องชี้ต่างๆของเศรษฐกิจสหรัฐฯ บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ หลังจากที่แรงกดดันจากสภาพอากาศที่เลวร้ายในช่วงต้นปีคลายตัวลง ทั้งนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภาคเอกชน รวมทั้ง ภาคการผลิต ให้สัญญาณถึงการฟื้นตัวกลับมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. 57 ที่กลับมายืนเหนือระดับ 80 อีกครั้ง โดยยอดค้าปลีกเดือนมี.ค. 57 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.1%MoM อันเป็นการปรับขึ้นในระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือน ขณะที่กิจกรรมภาคการผลิตก็ยังคงให้ภาพเชิงบวก โดยผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ISM Manufacturing เดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ 53.7 และ ISM New Order ก.พ. 57 อยู่ที่ 52.90 ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า อันเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงมุมมองเชิงบวกต่อภาคการผลิตในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงสภาวะตลาดแรงงาน ตัวเลขการจ้างงานได้เริ่มกลับมาฟื้นตัวในระดับใกล้เคียงกับช่วงปลายปีที่ แล้ว หลังจากที่ชะลอตัวลงในเดือน ธ.ค. 56 –ม.ค. 57 โดยการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ 192,000 ตำแหน่งและมีค่าเฉลี่ยของการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 183,000 ตำแหน่ง/เดือนขณะที่อัตราการว่างงานยังคงทรงตัวที่ระดับ 6.7% ทั้งนี้ ด้วยภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงฟื้นตัว คงสนับสนุนให้เฟดทยอยปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

 

 

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อาจไม่ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังคงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ (Slack in the Labor Market)

 

ในช่วงที่ผ่านมาตลาดการเงินโลกเริ่มมีความกังวลถึงโอกาสที่เฟดอาจจะตัดสินใจ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในจังหวะเวลาที่เร็วกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เฟดยังไม่มีความจำเป็นในการที่จะต้องพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายใน ระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐฯยังไม่ได้มีสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างเต็มที่

 

ทั้งนี้ อัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงาน (Labor Participation Rate) ของสหรัฐฯ รวมทั้ง อัตราการปรับขึ้นของค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วง ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในขณะที่แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ในระดับ 1.5%YoY ในเดือนมีนาคม ซึ่งต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ 2.0% อยู่มาก อันอาจเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเงินฝืดซึ่งจะกระทบต่อศักยภาพในการขยาย ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนี้ คาดว่าเฟดจะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำไปอย่างต่อเนื่องอีกระยะ เวลาหนึ่ง หลังจากที่สิ้นสุดการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ภายใต้โครงการ QE จนกระทั่งทิศทางของตลาดแรงงานมีสัญญาณของการฟื้นตัวซึ่งชัดเจนมากขึ้น หรือแรงกดดันเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น โดยมองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดน่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในช่วง หลังของปี 2558 มากกว่าในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2558

 

สำหรับผลต่อประเทศไทย ผลของการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟด น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในวงจำกัด

 

นับเป็นเวลากว่า 4 เดือน ที่เฟดได้เริ่มต้นในการทยอยปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงตั้งแต่เดือน ม.ค. 2557 ที่ผ่านมา และส่งผลให้ประเทศในตลาดเกิดใหม่บางประเทศเผชิญกับความผันผวนของตลาดการเงิน อย่างไรก็ดี ผลกระทบต่อตลาดการเงินไทยยังคงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากเสถียรภาพภายนอกประเทศ (External Balance) ของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งระดับทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยที่อยู่ในระดับสูง และมีหนี้ต่างประเทศในระดับค่อนข้างต่ำ ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็กลับมาเกินดุลอีกครั้ง โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2557 ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 5.3 พันล้านดอลลาร์ฯ

 

ทั้งนี้ หากพิจารณาปริมาณการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 57 ที่ผ่านมา ที่นักลงทุนต่างชาติมีการถือครองพันธบัตรจำนวน 6.8 แสนล้านบาท ปรับตัวลดลงไม่มากเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่ผ่านมาที่มีการถือครองอยู่ที่ 7.1 แสนล้านบาท ขณะที่ปริมาณการซื้อตราสารหนี้สุทธินับตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในตราสารหนี้ไทยอยู่กว่า 3 หมื่นล้านบาท

 

อย่างไรก็ดี แม้ว่าในปัจจุบันผลกระทบของการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟดต่อเศรษฐกิจ ไทยน่าจะยังคงอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ แต่คงต้องยอมรับว่าภาวะชะงักงันของเศรษฐกิจไทยจากปัจจัยการเมืองในประเทศที่ สร้างผลกระทบเชิงลบต่อแนวโน้มการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ รวมทั้ง ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐฯที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะในช่วงที่เฟดสิ้นสุดโครงการซื้อสินทรัพย์ เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการไหลออกของเงินทุนในอนาคต อันจะส่งผลต่อระดับสภาพคล่องในระบบการเงินไทยและต้นทุนการระดมทุน โดยเฉพาะจากภาครัฐซึ่งยังมีโครงการลงทุนและระดมทุนจำนวนมากอยู่ในแผนในระยะ ข้างหน้าได้

 

กล่าวโดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดน่าจะยังคงดำเนินการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิง ปริมาณลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์ฯ ในการประชุมครั้งที่สามของปี 2557 ในวันที่ 29-30 เมษายน 2557 นี้ ท่ามกลางเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว หลังแรงกดดันจากสภาพอากาศที่เลวร้ายเริ่มคลายตัวลง และเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดสามารถที่จะปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงได้ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ภายใต้สภาวะที่ตลาดแรงงานที่ยังไม่ได้มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ กอปรกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่น่าที่จะส่งผลให้เฟดเร่งรีบในการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ว่าเฟดจะสิ้นสุดโครงการการซื้อสินทรัพย์แล้วก็ตาม

 

สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทย การปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ของเฟด น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในวงจำกัด แต่ในระยะข้างหน้า คงต้องติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจในประเทศ ตลอดจน ประเด็นด้านอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ที่อาจจะมีผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนในระยะต่อไป

 

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 25 เมย.57)

 

มีแรงซื้อทองคำกลับเข้ามามากในการซื้อขายช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้ราคาทองในสัปดาห์ก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับปิดของสัปดาห์ก่อน หน้า ความตึงเครียดในยูเครนกลับมาเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ ส่วนในสัปดาห์นี้การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นประเด็นหลักที่นักลงทุนต่างให้ความสนใจ โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 1,302.31 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 9.43 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,290 และ 1,304 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาขายออกที่บาทละ 19,950 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 19,850 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 792.14 ตัน

 

ราคาทองคำปรับตัวขึ้นในการซื้อขายช่วงปลายสัปดาห์หลังมีรายงานสถานการณ์ ในยูเครนที่กลับมาตึงเครียดมากขึ้น นักลงทุนจึงเริ่มลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงและกลับมาเพิ่มการถือครองทองคำ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น โดยในช่วงค่ำวันศุกร์มีรายงานว่ากลุ่มประเทศ G7 มีมติให้คว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติม เนื่องจากรัสเซียไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในยูเครน ซึ่งนอกจากรายงานข่าวดังกล่าวแล้ว นักลงทุนกังวลสถานการณ์ในยูเครนมากขึ้นหลังมีรายงานว่าผู้นำสหรัฐฯ และรัสเซียได้ยุติการติดต่อกันโดยตรงอันเนื่องมาจากปัญหาในยูเครนที่รุนแรง มากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ได้มีการออกมาปฏิเสธรายงานข่าวนี้ในภายหลัง ส่วนสัปดาห์นี้นอกจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ แล้ว การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเป็นประเด็นที่นักลงทุนหยิบมาใช้เก็งกำไรในทองคำหากราคาปรับตัวลง นักลงทุนต่างรอติดตามว่าหลังการประชุมจะมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการปรับ อัตราดอกเบี้ยหรือไม่ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนปริมาณการผ่อนคลายทางการเงินว่าจะมีการปรับลดต่อ เนื่องจากครั้งก่อนหรือไม่ และสำหรับภาพเทคนิคของราคาทองคำพบว่ามีสัญญาณการกลับตัวเกิดขึ้นจากเครื่อง มือทางเทคนิค หลังจากราคาทองดีดตัวกลับในการซื้อขายช่วงปลายสัปดาห์และกลับขึ้นมาเคลื่อน ไหวเหนือ 1,300 ดอลลาร์ ได้ในช่วงปลายสัปดาห์ การเคลื่อนไหวในสัปดาห์นี้จึงยังมีแนวโน้มที่ราคาทองจะปรับตัวขึ้นได้ต่อ หากปรับฐานลงในระหว่างวัน ที่แนวรับบริเวณ 1,285-1,290 ดอลลาร์ ยังเป็นระดับแนวรับที่สามารถกลับเข้าซื้อเก็งกำไร.

 

 

 

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (28/04/2557)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชาวจีนแห่ซื้อทองหลังราคาตกหวังขายทำกำไร

ข่าวต่างประเทศ วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ.2557 7:34น.

 

ชาวจีนแห่ซื้อทองคำ เพื่อเก็บไว้กันเป็นจำนวนมาก หวังขายทำกำไรในอนาคต หลังจากที่ ภาวะราคาทองคำในประเทศจีนร่วงลง อย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือน มี.ค.

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า หลังจากที่ ภาวะราคาทองคำในประเทศจีนร่วงลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้ชาวจีนพากันแห่ไปซื้อทองคำมาเก็บไว้กันอย่างมากมาย สร้างความกังวลให้กับเจ้าของร้านทองไปตามๆ กัน โดย ลูกค้าร้านทองในกรุงปักกิ่งรายหนึ่งกล่าวว่า จะมีสักครั้งจึงไม่ยอมพลาดโอกาสนี้ ขณะที่เจ้าของร้านทอง กล่าวว่า แม้จะขายทองคำและอัญมณีได้มากกว่าปีที่แล้วถึง 30% แต่กลับไม่ได้กำไรเท่าที่ควร เนื่องจากราคาทองคำลดลงกว่า 5% นับแต่กลางเดือนที่แล้วเป็นต้นมา

 

 

 

หมายเหตุว่า ปล. ใช้วิจารณญานในการเดามั่วของพ้ม : ดังนั้น ราคาทองจึงไปไม่ไกล ด้วยสาเหตุประการฉะนี้ มีกำไรก็ขาย ในทองแท่ง ในออนไลน์ เล็กสั้นขยัยซอยเข้่ๆ ออกๆ. แล้วพวกท่านทั้งหลายคิดไหมว่า ราคาทองจะไปไกลแบบสุดเอื้อม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคม ของจีนเปิดเผยในวันนี้ว่า จำนวนประชากรจีนผู้มีงานทำในเขตเมืองเพิ่มขึ้น 3.44 ล้านคนในไตรมาสแรกของปีนี้ ส่วนอัตราว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ

 

ตัวเลขจ้างงานดังกล่าวสูงกว่าช่วงเดียว กันของปีที่แล้วอยู่เล็กน้อย แม้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.ได้ลดลงแตะระดับต่ำสุด นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2555 ก็ตาม

 

นายหลี่ จง โฆษกกระทรวงฯ เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนมี.ค. อัตราว่างงานในเขตเมืองอยู่ที่ระดับ 4.08% ซึ่งค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

 

นอกจากนี้ จีนยังได้พยายามอย่างหนักเพื่อช่วยให้แรงงานในชนบทมีงานทำ โดยแรงงานท้องถิ่น 7.27 ล้านคนได้รับการจ้างงานโดยบริษัทในพื้นที่ และ 6.89 ล้านคนได้รับการจัดสรรให้ทำงานต่างพื้นที่ในไตรมาสแรก

 

นายหลี่เปิดเผยว่า รายได้รวมของกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น 18.8% เมื่อเทียบรายปี สู่ระดับ 9.1213 แสนล้านหยวน (1.4813 แสนล้านดอลลาร์) ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 7.3073 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้น 18.5% จากปีก่อน

 

ทั้งนี้ กองทุนประกันสังคมจีนประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญขั้นพื้นฐาน การประกันสุขภาพขั้นพื้นฐาน การประกันการว่างงาน การประกันการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน และการประกันการคลอดบุตร สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา: อินโฟเควสท์(วันที่ 25 เมย.57)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นิวยอร์ก - นักเศรษฐศาสตร์จากไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์ คาดว่าในการประชุมสัปดาห์หน้า ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด จะลดปริมาณซื้อพันธบัตรลงอีก 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 325,000 ล้านบาท) ซึ่งเป็นมาตรการเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวเพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุน และการจ้างงาน แต่จะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหรือนโยบายอื่นๆ ก่อนหน้านี้ สมาชิกคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) รวมถึง นางเจนเน็ต เยลเลน ผู้ว่าการเฟดคนปัจจุบันได้ส่งสัญญาณว่า จะลดการซื้อพันธบัตรรายเดือนลงอีก เพื่อลดการพึ่งพานโยบายคิวอี ซึ่งใช้กระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐมาตั้งแต่วิกฤตการเงินในปี 2551 ข้อมูลก่อนหน้านี้ระบุว่า ตลาดบ้านในสหรัฐชะลอแต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ กระเตื้องขึ้น สอดคล้องกับตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ที่ระบุว่า ยอดขายบ้านใหม่ในเดือน มี.ค. ลดลงร้อยละ 13.3 ต่อปี ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันหลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อเดือนในเดือนกุมภาพันธ์

 

ฮอนด้ากำไรพุ่ง 56%

 

โตเกียว - ฮอนด้า ค่ายรถยนต์ชั้นนำสัญชาติญี่ปุ่น ประกาศกำไรสุทธิในปีงบการเงิน สิ้นสุดเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้น 574,000 ล้านเยน (ราว 168,000 ล้านบาท) หรือคิดเป็น 56% เป็นผลพวงจากยอดขายในตลาดต่างประเทศแข็งแกร่งและอานิสงส์จากเงินเยนอ่อนค่า ส่วนรายได้ของฮอนด้า เพิ่มขึ้นประมาณ 20% เป็น 11.84 ล้านล้านเยน นอกจากนี้ บริษัทยังคาดการณ์ผลกำไรสำหรับปีงบการเงิน สิ้นสุดเดือนมีนาคมปี 2558 ไว้ที่ 595,000 ล้านเยน ทั้งนี้ ผลประกอบการของฮอนด้ารายไตรมาสช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.ยังคงแข็งแกร่ง และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าเป็น170,500 ล้านเยน จากปีก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ กำไรจากการดำเนินงานยังเพิ่มขึ้นเกือบ 40% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้

 

ที่มา: แนวหน้า(วันที่ 28 เมย.57)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าครับป๋า

 

ขอบคุณสำหรับ ข่าวสาร นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า ตุรกีและรัสเซียได้ลดการถือครองทองในเดือนมี.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้นในเดือนก.พ.

ทั้งนี้ มีการจับตาสัดส่วนการถือครองทองของธนาคารกลางอย่างใกล้ชิด เนื่องจากธนาคารกลางกลายเป็นผู้ซื้อสุทธิในปี 2010 หลังจากที่เป็นผู้ขายสุทธิในช่วง 2ทศวรรษที่ผ่านมา

ตุรกีได้ลดสัดส่วนการถือครองทองลง 14.3 ตัน สู่ระดับ483 ตันในเดือนมี.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนก.พ.

ข้อมูลของสภาทองคำโลกระบุว่า ตุรกีถือครองทองมากที่สุดเป็นรายที่ 13 ของโลก โดยสภาทองคำโลกนับรวมทองคำที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับธนาคารกลางเป็นส่วนหนึ่งของการถือครองทองของธนาคารโลกด้วย

ส่วนรัสเซีย ซึ่งมีทองคำมากที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลกได้ลดสัดส่วนการถือครองทองลง 1.2ตัน สู่ระดับ 1,041 ตัน ในเดือนมี.ค.หลังจากที่เพิ่มขึ้นราว 7ตันในเดือนก.พ.

วิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2008 ทำให้เกิดกระแสความสนใจทองของภาครัฐ

การซื้อทองของภาครัฐแตะระดับสูงสุดในรอบ 48 ปีในปี 2012 ที่ระดับ 544.1 ตัน แต่ก็ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ 368.6 ตันในปีที่แล้ว อันเนื่องจากความผันผวนของราคา

 

ที่มา: ทันหุ้น(วันที่ 25 เมย.57)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

26 เมษายน 2557 21:33

เศรษฐกิจซบทำตลาดทองเงียบเหงา

news_img_578142_1.jpg

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

"จิตติ" เผย เศรษฐกิจซบเซา ทำตลาดทองเงียบเหงา คาด เปิดเทอมผู้ปกครองแห่จำนำแน่น

 

นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า บรรยากาศการซื้อขายทองคำในตลาดช่วงนี้ว่าถือว่าซบเซา เนื่องจากประชาชนไม่มีกำลังซื้อจากปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งนี้คาดว่า ในช่วงใกล้เปิดเทอม เชื่อว่าจะมีผู้ปกครองนำทองมาจำนำที่ร้านทองมากกว่าปกติ เพื่อนำเงินไปใช้จ่าย ส่วนราคาทองในขณะนี้ขยับขึ้นเล็กน้อย แต่ถือว่าราคายังไม่สูงมากนัก โดยคาดว่า กรอบราคาทองจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,170 - 1,450 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์

 

http://www.bangkokbiznews.com

 

อาแปะ มาแนะนำ ราคาทอง ทีไร ผมล่ะ หนาวแบบ เหนื่อยแตก ทุุกที่ ครับป๋า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลงทุนตั้งแต่25600 ยอมออกตอนนี้ (ยอมเสียค่าความอ่อนหัด) แล้วค่อยต้วมเตี้ยมดีไหม ใครช่วยตอบที

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

อาแปะ มาแนะนำ ราคาทอง ทีไร ผมล่ะ หนาวแบบ เหนื่อยแตก ทุุกที่ ครับป๋า

สวัสดีครับ คุณบอนไซ

หนาวอะไรกันครับ อาแปะ เขาเล่าถึงอุปสงค์อุปทาน ในประเทศไทย ที่อาจจะมีปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้น. ภาวะหนี้สินครัวเรือนขยายตัว ปัญหาในภาวะเปิดเทอม ที่บางครอบครัวอาจจะนำทองมาจำนำ มาขายคืน ( ถ้ามีกำไร ) เพื่อเอาไปใช้อุปกรณ์การศึกษาต่อลูกๆๆ สมัยนี้ ไม่ได้ " มโน " หรือ " คิดไปเอง " นะ แต่รายจ่ายสูงขึ้นมาก

 

ในมุมมองของอาแปะ ต่อตลาดทอง แกยังไม่กล้าเน้นเหมือนแต่ก่อน ท่านฯ ตั้งกรอบช่วง " โคตรห่างเลย " 1170 -1450 ดังนั้น จากจุดนี้ คงมีจังหวะขึ้นได้อีก และ ค่าเงินบาท ต้องอ่อนสิ ที่มันแข็ง ผมว่า ภาพลวงตา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...