ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

น้ำมันลงแรง หุ้นสหรัฐฯ-ทองคำปิดบวกหลังเฟดส่งสัญญาณคงดบ.

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2557 05:28 น.

 

 

 

 

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันยังลงต่อเนื่องในวันพุธ(9) จากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจจีน ชาติผู้บริโภครายใหญ่ของโลก ส่วนวอลล์สตรีทและทองคำขยับขึ้น หลังเฟดส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไปอีกสักพัก

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 1.11 ดอลลาร์ ปิดที่ 102.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 66 เซนต์ ปิดที่ 108.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

กระทรวงพลังงานสหรัฐฯเผยเมื่อวันพุธ(9) ว่าคลังน้ำมันดิบสำรองของประเทศ ลดลงถึง 2.7 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 กรกฎาคม บ่งชี้ถึงอุปสงค์อันแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ชี้ปัจจัยที่ฉุดให้ตลาดปิดในแดนลบ ได้แก่อัตราเงินเฟ้อระดับต่ำในจีน ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(9) ปิดในแดนบวก หลังรายงานการประชุม(minutes) ของเฟด ส่งสัญญาณว่าธนาคารของอเมริกาแห่งนี้จะคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไปสักระยะ

 

ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 79.15 จุด (0.47 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,985.77 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 9.08 จุด (0.46 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,972.79 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 27.57 จุด (0.63 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,419.03 จุด

 

ในรายงาน minutes ของการประชุมประจำเดือนมิถุนายน ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน(FOMC) แห่งธนาคารสหรัฐฯ(เฟด) เผยให้เห็นว่าธนาคารกลางแห่งนี้มีแผนยุติมาตรการเข้าซื้อพันธมิตรในเดือนธันวาคม

 

แต่ขณะเดียวกันคณะกรรมการคาดหมายจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับเตี้ยติดพื้นต่อไปอีกสักระยะหลังมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรสิ้นสุดลง โดยเฉพาะหากประมาณการณ์ว่าภาวะเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 ตามเป้าหมายระยะยาวของคณะกรรมการ

 

ปัจจัยที่เฟดส่งสัญญาณยังไม่เร่งรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนี้ ก็ผลักให้ราคาทองคำในวันพุธ(9) ปิดบวกเป็นครั้งแรกใรอบ 4 วัน โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 7.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,324.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

 

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000077746

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เผยธนาคารกลางสหรัฐฯมีแผนเลิกQEในเดือนตุลาคม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2557 04:30 น.

 

สำนักงานธนาคารกลางสหรัฐฯในวอชิงตัน

 

เอเอฟพี - ธนาคารกลางสหรัฐฯมีแผนหยุดเข้าซื้อพันธบัตรในเดือนตุลาคม เตรียมออกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวอย่างมั่นคงของตลาดแรงงาน รายงานการประชุมนโยบายเฟดเผยให้เห็นเมื่อพุธ(9)

 

"หากเศรษฐกิจมีความก้าวหน้าอย่างที่คณะกรรมการคาดหมายว่า การลดระดับครั้งสุดท้ายอาจเกิดขึ้นตามหลังการประชุมประจำเดือนตุลาคม" รายงานการประชุม minutes ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) แห่งธนาคารสหรัฐฯ(เฟด) ระบุ

 

นับตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา ทางกรรมการกำหนดนโยบายการเงินได้ลดระดับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)ลงเดือนละ 10,000 ดอลลาร์ ทำให้จนถึงเดือนมิถุนายน ตัวเลขการเข้าซื้อพันธบัตรของเฟดเหลืออยู่ที่ 35,000 ล้านดอลลาร์ จากวงเงินเริ่มต้น 85,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน

 

อย่างไรก็ตามในรายงาน minutes ของการประชุมประจำเดือนมิถุนายน พบว่าเสียงส่วนมากของผู้กำหนดนโยบาย เห็นพ้องว่าถ้าตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวและภาวะเงินเฟ้อกลับคืนสู่เป้าหมายระยะยาว อาจยุติการเข้าซื้อสินทรัพย์ด้วยการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งสุดท้าย 15,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม

 

ทั้งนี้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน มีกำหนดประชุมกันอีก 2 ครั้งในเดือนกรกฎาคมและกันยายน ก่อนถึงการประชุมประจำเดือนตุลาคม ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 28-29

 

ทางคณะกรรมการคาดหมายจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับเตี้ยติดพื้นต่อไปอีกสักระยะหลังมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรสิ้นสุดลง โดยเฉพาะหากประมาณการณ์ว่าภาวะเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 ตามเป้าหมายระยะยาวของคณะกรรมการ

 

ในรายงาน minutes ยังเผยให้เห็นด้วยว่าเหล่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายกำลังประเมินถึงพัฒนาการต่างๆในต่างแดน ที่อาจส่งผลกระทบต่อนโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยหลายคนเชื่อว่านโยบายเชิงผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางญี่ปุ่นเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นไปได้ที่จะช่วยให้ภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐฯจะกลับคืนสู่เป้าหมายของเฟด

 

"อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่ยังคงกังวลว่าภาวะเงินเฟ้อระดับต่ำที่เรื้อรังในยุโรปและญี่ปุ่น ท้ายที่สุดแล้วอาจกัดกร่อนตัวเลขเงินเฟ้อมากกว่าที่คาดหมายไว้" รายงาน minutes ระบุ "นอกจากนี้แล้วคณะกรรมการบางคนยังแสดงความกังวลต่อความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและญี่ปุ่นด้วย"

 

 

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000077738

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีเช้าทองขึ้น แล้วบาท แข๊ง แข็ง

 

ขอบคุณ ป๋า นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 9 ก.ค.2557

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (9 ก.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรายงานการประชุมครั้งล่า สุด นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่สดใสของอัลโค อิงค์ ผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่ของสหรัฐ

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,985.61 จุด เพิ่มขึ้น 78.99 จุด หรือ +0.47% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,419.03 จุด เพิ่มขึ้น 27.57 จุด หรือ +0.63% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,972.83 จุด เพิ่มขึ้น 9.12 จุด หรือ +0.46%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดเกือบทรงตัวเมื่อคืนนี้ (9 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยรายงานการประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งเฟดได้เปิดเผยรายงานดังกล่าวหลังจากตลาดหุ้นยุโรปปิดทำการแล้ว

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลงไม่ถึง 0.1% ปิดที่ 339.96 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค.

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,359.84 จุด เพิ่มขึ้น 17.31 จุด หรือ +0.40% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,808.20 จุด เพิ่มขึ้น 35.53 จุด หรือ +0.36% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,718.04 จุด ลดลง 20.41 จุด หรือ -0.30%

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (9 ก.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 1.11 ดอลลาร์ ปิดที่ 102.29 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 66 เซนต์ ปิดที่ 108.28 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (9 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาทองคำปิดร่วงลงติดต่อ กัน 3 วันทำการก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะรับทราบรายงานการประชุมของธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีขึ้นหลังจากตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการแล้ว

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 7.8 ดอลลาร์ หรือ 0.59% ปิดที่ 1,324.3 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 5.5 เซนต์ ปิดที่ 21.068 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 10.4 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,506.9 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 20 เซนต์ ปิดที่ 872.70 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (9 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนมองว่าไม่มีสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยจากรายงานการประชุมนโยบายการเงินครั้งล่าสุดของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3645 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3612 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.7156 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.7130 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 101.57 เยน จากระดับ 101.54 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8908 ฟรังค์ จากระดับ 0.8929 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9419 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9399 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (9 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มประกัน นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยรายงานการประชุม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อปี 2556 ค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าลงจาก 28.50 บาท มาอยู่ที่ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินบาทในปัจจุบันยังอยู่ในช่วงที่อ่อนลง ซึ่งค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันที่ 7 กรกฎาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 32.38/39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทรงตัวในระดับเดียวกับช่วงเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่ทิศทางค่าเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา

ค่าเงินบาทอยู่ในเกณฑ์อ่อนค่ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เพราะความเคลื่อนไหวทางการเมืองส่งผลต่อค่าเงินบาท เนื่องจากปัญหาทางการเมืองที่เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2557 ที่มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย จนกระทั่งมีการประกาศยึดอำนาจทางการเมืองดังที่ทราบกัน สิ่งนี้ส่งผลให้นักลงทุนต้องขายบาททิ้งเพื่อนำเงินไปสู่ที่ปลอดภัยกว่า หรือนำกลับประเทศ

 

ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยบอกว่า ช่วงเช้าวันที่ 3 มกราคม 2557 เงินบาทอ่อนค่าสุดอยู่ที่ 33.03 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2553 หรือเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา และตั้งแต่เปิดทำการในปี 2557 เงินบาทยังอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่นหลายสกุลในภูมิภาค โดยเงินบาทอ่อนค่าลงมา 0.5% ขณะที่บางกลุ่มประเมินว่าค่าเงินบาทอาจตกไปที่ 40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ

ปัญหาค่าเงินจะกระทบเราต่อไปอย่างเราหรือไม่ กรณีนี้เราเห็นว่า ค่าเงินบาทนั้นไม่ว่าจะเป็นทัศนะของผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าเขายังปรับตัวได้ ไม่ว่าค่าเงินจะแข็งขึ้นหรืออ่อนค่าลงก็ตาม เพียงแต่ว่าขอให้มีเสถียรภาพระยะยาวขึ้นด้วย คือ คงค่าใกล้เคียงราคาเดิมค่อนข้างนานไม่ใช่ผันผวนแบบผกผันไม่ราบเรียบ ขอให้ขึ้นลงแบบเสมอฟันปลาก็ยังดี ยังพอจะคาดการณ์ล่วงหน้าในระยะสั้นได้

ธนาคารกสิกรไทยเคยระบุเมื่อต้นปีนี้ว่า ปัญหาการเมืองภายในประเทศกับ เศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงมีน้ำหนักถึง 80% ส่วนที่เหลืออีก 20% มาจากการลดขนาดมาตรการคิวอีของสหรัฐฯ นี่เป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนที่สุด และปัจจุบันสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศได้เปลี่ยนไปแล้ว นับจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติยึดอาจไปเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เมื่อการเมืองสงบ ความมั่นใจของนักลงทุนก็มีมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทตามความจำ เป็น นั่นก็หมายความว่า บางกลุ่มบางสำนักเคยคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าว่า เราอาจจะเห็นค่าเงินบาทตกไปอยู่ที่ 40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯคงจะห่างไกลจากความเป็นจริง

IMF มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังฟื้นตัวอย่างและเติบโตได้ต่อเนื่อง หากธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุติการใช้มาตรการคิวอี 3 อย่างเป็นระบบ และมีการวางกรอบงบประมาณระยะกลางอย่างชัดเจน ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ปัจจัยลบต่อค่าเงินบาทจากคิวอีสหรัฐฯยังมีต่อไป แต่ไม่ส่งผลรุนแรง

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 10 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวด้วยอัตราที่ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีภาคการผลิต (ISM Manufacturing) เดือน พ.ค. 57 เพิ่มขึ้นเป็น 55.4 จุด จาก 54.9 จุดในเดือนก่อนหน้า ด้วยแรงหนุนจากดัชนีย่อยด้านการผลิตปรับตัวดีขึ้นมาก และดัชนียอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ยังขยายตัวได้ดี ทางด้านดัชนีธุรกิจภาคบริการ (ISM non-manufacturing) เพิ่มขึ้นเป็น 56.3 จุด จาก 55.2 จุด เป็นผลของยอดคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payrolls) ในเดือน พ.ค.อยู่ที่ 217,000 ตำแหน่ง แม้จะชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด และเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่การจ้างงานสูงกว่าระดับ 200,000 ตำแหน่งต่อเดือน และอัตราว่างงานทรงตัวจากเดือนก่อนที่ระดับ 6.3% แสดงถึงตลาดแรงงานในสหรัฐฯ ยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง

 

การประชุมวันที่ 18 มิ.ย. 57 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ปรับลด QE ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน อยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และมีแนวโน้มที่จะยังเดินหน้าปรับลดวงเงิน QE จนจบโครงการภายในปีนี้ และได้ระบุว่า แม้การขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะดีขึ้น แต่ยังไม่ฟื้นตัวมากพอในระดับที่จะมั่นใจได้ว่าการฟื้นตัวจะมีความยั่งยืน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพื่อสนับสนุนการฟื้น ตัวของเศรษฐกิจต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย เท่ากับว่าเฟดจะยังไม่เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ เฟดได้คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ที่ระดับ 2.1-2.3% นอกจากนี้ เฟดได้ปรับลดประมาณการอัตราดอกเบี้ยระยะยาวลงจาก 4% เหลือ 3.75% สะท้อนมุมมองต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะยาวที่ลดลง

 

เศรษฐกิจของประเทศกลุ่มแถบยุโรป การฟื้นตัวของกิจกรรมทางธุรกิจและอัตราว่างงานมีอัตราชะลอลง โดยดัชนี Markit PMI ภาคการผลิตและบริการของกลุ่มยูโรโซน (PMI Composite) ในช่วงปลายเดือน พ.ค.อยู่ที่ 53.5 จุด ลดลงจากเดือน เม.ย.ซึ่งเป็น 54.0 จุด อัตราว่างงานในกลุ่มยูโรโซนของเดือน เม.ย.ลดลงเป็น 11.7% ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี แต่อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 1% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 โดยตัวเลขเงินเฟ้อของเดือน พ.ค.นั้นอยู่ที่ 0.5% เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืด ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 0.25% เป็น 0.15% และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (ดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB) ลดลงจาก 0.00% เป็น -0.10% นับเป็นธนาคารกลางที่สำคัญแห่งแรกที่ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ

 

นอกจากนี้ยังออกมาตรการ Targeted Long-Term Refinancing Operations (TLTROs) มูลค่าประมาณ 4 แสนล้านยูโร เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้กับบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่ธุรกิจการ เงิน ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการให้เม็ดเงินเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจได้ดีกว่าที่เงินอัดฉีดจะถูกนำไปลงทุนในตราสารการ เงินเหมือนการอัดฉีดในครั้งก่อนๆ โดยจะมีการทยอยอัดฉีดทีละส่วนภายในช่วงระยะเวลา 4 ปี (สิ้นสุดเดือนกันยายน 2561) อย่างไรก็ตาม มาตรการ TLTROs ที่ออกมานี้มีมูลค่าน้อยกว่าที่ตลาดคาด และมีเงื่อนไขที่ปริมาณการอัดฉีดจะขึ้นกับความสามารถในการปล่อยเงินกู้ของ ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งที่มาขอกู้เงินจาก ECB ปริมาณเงินที่จะเข้าระบบจริงในอนาคตจึงยังไม่แน่นอน

 

เศรษฐกิจญี่ปุ่น ฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็วหลังจากที่ ชะลอเนื่องจากการขึ้นภาษีการบริโภค (Consumption tax) โดยในธุรกิจภาคการผลิต ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Nomura/JMMA Manufacturing PMI) ของเดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้นเป็น 51.1 จุด จาก 49.9 จุดในเดือน พ.ค. กลับเข้าสู่ภาวะขยายตัวอีกครั้ง และดัชนีคำสั่งซื้อใหม่และดัชนีการผลิตสามารถพลิกเป็นการขยายตัวได้ ด้านธุรกิจภาคบริการยังหดตัว แต่ด้วยอัตราที่ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนี Markit Services PMI เดือน พ.ค.ฟื้นตัวขึ้นเป็น 49.3 จุด จาก 46.4 จุด การฟื้นตัวได้รวดเร็วของภาวะธุรกิจญี่ปุ่นนั้นเป็นสัญญาณที่ดีว่าแนวโน้มการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะมีความต่อเนื่องได้ดี นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีแผนจะลดอัตราภาษีนิติบุคคลที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกที่เกือบ 36% (สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ในโตเกียว) เพื่อจูงใจการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ

 

ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจไทย

 

ตัวเลขเศรษฐกิจไทยสำหรับเดือน เม.ย. 57 โดยรวมทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น

 

- ดัชนีการอุปโภคบริโภคหดตัว 0.8% YoY แต่ปรับเพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนหน้า ทยอยฟื้นตัวเล็กน้อยได้เป็นเดือนที่สอง

 

- ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัว 4.7% YoY และ 0.2% MoM จากการชะลอการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวในภาคการก่อสร้างและยอดขายซีเมนต์ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวขึ้นเป็น 52.2 จาก 50.7 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าผู้ประกอบการเริ่มมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ

 

- การส่งออกสินค้าโดยรวมฟื้นตัวได้ช้า โดยยังหดตัว 0.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น แต่การส่งออกสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ตก ต่ำและอุปสงค์จากจีนที่ชะลอตัว

 

- จำนวนนักท่องเที่ยวปรับเพิ่มขึ้นหลังการประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังหดตัว 1.7% ซึ่งดีขึ้นจากที่หดตัว 9.4% ในเดือนที่แล้ว

 

การมีรัฐบาลรักษาการของ คสช.จะส่งผลบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง 2557 จากการดำเนินนโยบายในหลายๆ ด้านของ คสช. เช่น การเร่งจ่ายเงินจำนำข้าว 9.2 หมื่นล้านบาทภายใน มิ.ย. 57 การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น (รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าใน กทม. ปริมณฑล) การเร่งเบิกจ่ายงบปี 2557 และจัดทำงบประมาณปี 2558 การตั้งบอร์ด BOI เพื่ออนุมัติโครงการที่ค้างอยู่เป็นมูลค่ากว่า 700 ล้านบาท ซึ่งความคืบหน้าเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจให้ ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่ ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว และความชัดเจนของแผนการดำเนินนโยบายในด้านต่างๆ

 

ธปท.คาดว่า GDP ไทยปี 2557 จะขยายตัว 1.5% โดย GDP ในครึ่งปีแรกจะติดลบ 0.5% แต่จะกลับมาขยายตัวได้ 3.4-3.5% ในครึ่งปีหลัง ส่วนในปี 58 ธปท.คาดว่า GDP จะขยายตัวได้ 5.5% ด้วยแรงหนุนจากการลงทุนทั้งภาคเอกชนและรัฐบาลที่คาดจะโต 11.2% และ 9.7% ตามลำดับ รวมทั้งการบริโภคเอกชนคาดขยายตัว 4.7%

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 9 กรกฎาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบแคบในการซื้อขายระหว่างวัน ก่อนที่จะเริ่มดีดตัวขึ้นในการซื้อขายช่วงค่ำ เงินดอลลาร์ที่กลับอ่อนค่าลงเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ราคาทองฟื้นตัวขึ้น...

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับราคาทองในประเทศปรับตัวขึ้นน้อยกว่าปกติ เนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตามการเคลื่อนไหวของเงินสกุลในเอเชีย โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ 1,326.55 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7.05 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,313 และ 1,324 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวานนี้ ขายออกที่บาทละ 20,200 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 20,100 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 800.28 ตัน

 

เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง หลังรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าจะมีการปรับระดับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเร็วกว่าที่ ตลาดเคยประเมิน ส่งผลให้ราคาทองเมื่อคืนนี้เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาดใกล้แนวต้านบริเวณ 1,330 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ส่วนการรายงานดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนมิถุนายนของจีนในช่วงเช้าวานนี้ไม่มีผล ต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองมากนัก เนื่องจากรายงานที่ออกมาไม่น่าจะเป็นประเด็นที่ทำให้รัฐบาลจีนปรับเปลี่ยน รูปแบบการดำเนินนโยบายการเงิน โดยวานนี้มีรายงานว่าดัชนีราคาผู้ผลิตของจีนหดตัวลง 1.1% หลังจากในเดือนก่อนหน้าหดตัวลง 1.4% โดยเป็นการหดตัวลงเมื่อเทียบรายปีเป็นเดือนที่ 28 ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าอัตราการหดตัวเริ่มชะลอตัวลง บ่งชี้ว่าดัชนีราคาผู้ผลิตของจีนเริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายนขยายตัวขึ้น 2.3% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 2.5% โดยระดับการขยายตัวของรายงานเดือนล่าสุด คงไม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบนโยบายการเงินของทางการจีน

 

ส่วนในช่วงค่ำวันนี้จะมีการรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย สัปดาห์ของสหรัฐฯ ซึ่งผลสำรวจประเมินว่าจะมีผู้ขอรับสวัสดิการราว 3.16 แสนราย จากสัปดาห์ก่อนที่มีจำนวน 3.15 แสนราย หากรายงานออกมาดีกว่าคาดก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนมุมมองเกี่ยวกับการฟื้นตัว ของตลาดแรงงานในสหรัฐฯ ต่อเนื่องจากรายงานการจ้างงานเดือนมิถุนายน และจะเป็นปัจจัยลบกดดันให้ราคาทองอ่อนตัวลง

 

ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาทองในวันนี้ หากราคาทองสามารถดีดตัวขึ้นไปยืนเหนือแนวต้านบริเวณ 1,330-1,335 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ได้ จะเป็นสัญญาณซื้อเก็งกำไรในทางเทคนิค และคาดว่าราคาทองจะปรับตัวขึ้นไปยังแนวต้านถัดไปบริเวณ 1,355-1,360 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ได้ต่อไป ส่วนกรณีที่ราคากลับอ่อนตัวลงในระหว่างวัน แนวรับบริเวณ 1,310 และ 1,300 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ยังเป็นระดับแนวรับที่คาดว่าจะมีแรงซื้อกลับเข้ามา และสามารถซื้อเก็งกำไรได้จากแนวรับดังกล่าว.

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (10/07/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็น / มอง / ดู การกำหนดราคาฯ ประกาศที่ 1 ต้องบ่นว่า " กล้าได้กล้าเสีย " อย่างมาก ต่อเซียนเหนือเมฆ เซียนเหยียบเซียน

 

1. มองว่า ขาขึ้นไปต่อ สับขาหลอก อยากให้นักลงทุนทองแท่ง มาไล่เก็บคืน เพราะขายทิ้งกันไปเยอะ เดี๋ยวตกขบวนรถไฟ แต่ก็ไม่รู้สินะว่า ขึ้นไปแล้ว จะได้รับชะตากรรม แบบที่พึ่งเกิดขึ้นหรือเปล่า

2. มองว่า ขาลง แต่อาแปะขอกำไรทองแท่งหน้าร้านฯ แต่อาแปะ ก็จะต้องขาดทุน กับ ทองกระดาษ ที่อาจจะแทง Short เพราะราคาลดลงง่ายกว่าที่จะปรับขึ้น ทั้งจากราคาทองที่ชนแนวต้าน และ ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และ การตั้งราคาที่กั้กสูง

 

ผลจะออกมาเป็นยังไงก็ตาม " รถไฟขบวนนี้ ก็ยังไม่น่าขึ้น แค่เหยียบขึ้นขบวน ก็ขาดทุนตรงราคาไม่แฟร์ ที่จะซื้อ และต้องลุ้นเพิ่มขึ้นเยอะ กว่าจะได้เห็นกำไร ของ ทองแท่งตัวเป็นๆ ที่จ่ายเงินแสน เงินล้าน ถือเข้ามาครอบครอง

 

แค่อยากบ่น อย่าถือสา คนขรี้บ่นนะ

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาทเปิดตลาด 32.14-32.15 บาท/ดอลล์ แข็งค่า คาดวันนี้เคลื่อนไหว 32.00-32.20 บาท/ดอลลาร์

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ 32.14-32.15 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากเมื่อวานที่ปิดตลาดที่ 32.24-32.35 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมามาก ส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาค รวมถึงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังการรายงานของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ออกมาเมื่อคืนนี้ และยังยืนยันที่จะดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป แม้สถานการณ์การว่างงานจะเริ่มออกมาดีแล้วก็ตาม

 

ส่วนกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ คาดว่าอยู่ที่ 32.00-32.20 บาท/ดอลลาร์

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (10/07/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

สำนักงานศุลกากรจีนเปิดเผยว่า การส่งออกของจีนในเดือนมิ.ย.ขยายตัว 7.2% เมื่อเทียบรายปี แตะระดับ 1.868 แสนล้านดอลลาร์

 

ส่วนการนำเข้าในเดือนมิ.ย.ปรับตัวขึ้น 5.5% สู่ระดับ 1.552 แสนล้านดอลลาร์ และมูลค่าการค้าต่างประเทศทั้งหมดเพิ่มขึ้น 6.4% แตะ 3.42 แสนล้านดอลลาร์

 

ทั้งนี้ จีนมียอดเกินดุลการค้า 3.16 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย.

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10/07/57)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็น / มอง / ดู การกำหนดราคาฯ ประกาศที่ 1 ต้องบ่นว่า " กล้าได้กล้าเสีย " อย่างมาก ต่อเซียนเหนือเมฆ เซียนเหยียบเซียน

 

1. มองว่า ขาขึ้นไปต่อ สับขาหลอก อยากให้นักลงทุนทองแท่ง มาไล่เก็บคืน เพราะขายทิ้งกันไปเยอะ เดี๋ยวตกขบวนรถไฟ แต่ก็ไม่รู้สินะว่า ขึ้นไปแล้ว จะได้รับชะตากรรม แบบที่พึ่งเกิดขึ้นหรือเปล่า

2. มองว่า ขาลง แต่อาแปะขอกำไรทองแท่งหน้าร้านฯ แต่อาแปะ ก็จะต้องขาดทุน กับ ทองกระดาษ ที่อาจจะแทง Short เพราะราคาลดลงง่ายกว่าที่จะปรับขึ้น ทั้งจากราคาทองที่ชนแนวต้าน และ ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และ การตั้งราคาที่กั้กสูง

 

ผลจะออกมาเป็นยังไงก็ตาม " รถไฟขบวนนี้ ก็ยังไม่น่าขึ้น แค่เหยียบขึ้นขบวน ก็ขาดทุนตรงราคาไม่แฟร์ ที่จะซื้อ และต้องลุ้นเพิ่มขึ้นเยอะ กว่าจะได้เห็นกำไร ของ ทองแท่งตัวเป็นๆ ที่จ่ายเงินแสน เงินล้าน ถือเข้ามาครอบครอง

 

แค่อยากบ่น อย่าถือสา คนขรี้บ่นนะ

 

 

 

 

ชอบคนขี้บ่นครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณป๋า อยากบ่นบ้าง อุตส่าแข็งใจถือแท่งไว้เป้าหมาย1330 แต่พอเป้ามาถึง ก็ถูกเงินบาทบาดจนได้ ........ต้องทำใจต่อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณป๋า รอบชิงที่3 กะ ชิงชนะเลิศ เชียร์ทีมไหนคะ เตะเสาร์ อาทิตย์ เด๋วลืมถาม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...