ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

น้ำมันลงต่ำสุดรอบ2เดือน หุ้นทรงตัว-ทองคำร่วงต่อ

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2557 05:22 น.

 

 

 

 

 

เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันวานนี้(15) ขยับลงต่ำกว่า 100 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หลังคลายกังวลต่ออุปทานในอิรัก ส่วนวอลล์สตรีททรงตัวและทองคำปรับลด หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแย้มอาจขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่วางกรอบเอาไว้

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 95 เซนต์ ปิดที่ 99.96 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 96 เซนต์ ปิดที่ 106.02 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน

 

อูจีนี แมคกินเลียน นักวิเคราะห์จากเทรดิชัน อีเนอร์จี ให้ความเห็นว่า "ความกังวลต่อปัญหาความวุ่นวายทางอุปทานในอิรักดูผ่อนคลายลงไป และระดับอุปสงค์อันซึมเซา ช่วยกลับกระแสความเสี่ยงจากสถานการณ์ในอิรักและยูเครน ที่ห้อมล้อมตลาดและผลักให้ราคาน้ำมันแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนเมื่อเดือนที่แล้ว"

 

รัฐสภาที่อ่อนไหวของอิรักเลือกประธานได้แล้วในวันอังคาร(15) ขั้นตอนสำคัญสำหรับเตรียมการเข้าสู่กระบวนการเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลหลังต้องประสบปัญหาล่าช้ามาพักใหญ่ ความคืบหน้าครั้งใหม่ที่มีขึ้นขณะทางการเริ่มกลับมาได้เปรียบในสถานการณ์สู้รบ ด้วยกองกำลังความมั่นคงรุกคืบประชิดเมืองติกริตที่ถูกนักรบญิฮัดยึดครองแล้ว

 

ด้วยสถานการณ์ทางภาคพื้นที่ทางฝ่ายรัฐบาลอิรักกลับมาได้เปรียบ และสามารถต้านทานการรุกรานของพวกนักรบไม่ให้ไปถึงภาคใต้ของประเทศ อันเป็นที่ตั้งทางอุตสาหกรรมน้ำมันอันสำคัญ ก็ช่วยผ่อนคลายความกังวลต่อปัญหาอุปทานตึงตัวในตลาดน้ำมันโลก

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(15) ปิดในกรอบแคบ หลังเฟดแย้มว่าอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายก่อนกำหนด พร้อมเตือนราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีบางตัวที่มีมูลค่าสูงเกินจริง

 

ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 5.26 จุด (0.03 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,060.68 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 3.82 จุด (0.19 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,973.28 จุด แนสแดค ลดลง 24.03 จุด (0.54 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,416.39 จุด

 

ดัชนีแนสแดค ช่วงหนึ่งของการซื้อขายร่วงลงไปแตะระดับ 4,389.70 จุด หลังรายงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ที่ส่งถึงสภาคองเกรส ระบุว่าหุ้นขนาดเล็กในกลุ่มสื่อสังคมออนไลน์และไบโอเทคโนโลยี ดูเหมือนว่าจะมีมูลค่าสูงเกินจริง

 

รายงานดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกมาพร้อมๆกับที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดเข้าให้ปากคำต่อสภาคองเกรส โดยเธอบอกว่าธนาคารกลางอาจขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วๆนี้และอาจเร็วกว่าที่คิดไว้ในตอนนี้ หากว่าสภาวะของตลาดแรงงานยังคงฟื้นต้วดีกว่าที่คาดหมาย

 

การส่งสัญญาณอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดนี้ ส่งผลให้ราคาทองคำในวันอังคาร(15) ปิดลบ 3 วันติดต่อกัน โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 9.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,297.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ดัชนีหุ้นสหรัฐฯวันอังคารส่วนใหญ่ปิดลบ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯเตือนว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีบางตัวอาจมีมูลค่าสูงเกินจริง ทำให้แนสแด็กร่วงกว่า 0.5%...

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดการซื้อขายวันที่ 15 ก.ค. แบบผสมผสาน โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 5.26 จุด หรือ 0.03% ปิดที่ 17060.68 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 3.82 จุด หรือ 0.19% ปิดที่ 1973.28 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กลดลง 24.03 จุด หรือ 0.54% ปิดที่ 4416.39 จุด

 

ในรายงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ยื่นต่อสภาคองเกรสสหรัฐฯ ระบุว่า มูลค่าหุ้นขนาดเล็กในกลุ่มสังคมออนไลน์และเทคโนโลยีชีวภาพ อาจมีมูลค่าสูงเกินจริง ขณะที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดเข้าชี้แจงต่อสภาคองเกรสในวันเดียวกัน โดยเธอระบุว่า เฟดอาจเริ่มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรเร็วขึ้น และเพิ่มเร็วกว่าที่เคยคิดไว้ หากสถานการณ์ตลาดแรงงานยังพัฒนาดีเกินคาดต่อไปเช่นนี้

 

รายงานเรื่องมูลค่าหุ้นของเฟดส่งผลให้หุ้นของบริษัทกลุ่มเทคโนโลย และไบโอเทคลดลง เช่น 'แอมเจน' ลดลง 1.8%, 'ไบโอเจน' ลดลง 2.4%, 'เฟซบุ๊ก' ลดลง 1.1%, 'เทสลา มอเตอร์ส' ลดลง 3.1% และ 'เยลป์' ลดลง 2.9%

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (16/07/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจดี ตัวเลขออกมาดี นะนะนะ จีนมาซื้อทองเก็บเยอะๆๆ นะ ขอร้อง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ราคาทองคำปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดยราคาปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1,300 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ทำจุดต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ หลังจากเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้น ตอบรับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และนักลงทุนต่างกังวลว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ เร็วกว่าที่เคยประเมิน

 

โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวานนี้ 1,294.10 ดอลลาร์ ลดลง 12.85 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,292 และ 1,313 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวานนี้ ขายออกที่บาทละ 20,000 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 19,000 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 808.73 ตัน

 

ธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขานิวยอร์กรายงานว่า ดัชนีภาวะธุรกิจในนิวยอร์ก เดือนกรกฎาคม ปรับตัวขึ้นสู่ 25.60 จุด จากระดับ 19.28 จุด ในเดือนมิถุนายน บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในเขตดังกล่าวขยายตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี รายงานยอดค้าปลีกเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ ปรากฏว่าขยายตัวขึ้น 0.2% หลังจากขยายตัวขึ้น 0.5% ในเดือนก่อนหน้า และขยายตัวต่ำกว่าผลสำรวจที่ประเมินไว้ที่ 0.6%

 

เมื่อคืนที่ผ่านมา นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้แถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสว่า มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยุติโครงการซื้อสินทรัพย์ในเดือนตุลาคมนี้ โดยไม่หวั่นว่าอาจจะเกิดภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ พร้อมกับย้ำว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำที่ 0-0.25% เป็นระยะเวลาอีกนานพอควร หลังจากยุติการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์จำนองค้ำ ประกัน อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ในขณะนี้ หากตลาดแรงงานยังคงปรับตัวขึ้นเร็วกว่าที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ เฟด (FOMC) ได้ประเมินไว้ ค่ำวันนี้ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ มีกำหนดการต้องแถลงแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงินในครึ่งปีหลังต่อสภา คองเกรสเป็นวันที่ 2 ซึ่งโดยรวมแล้วคาดว่าในคำแถลงคงยังไม่มีประเด็นที่แตกต่างไปจากเมื่อวาน จึงไม่น่าจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำมากนัก

 

ส่วนรายงาน ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ ประจำเดือนมิถุนายน ในช่วงค่ำวันนี้ ผลสำรวจประเมินว่าจะขยายตัวขึ้น 0.2% ราคาทองปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวที่แนวรับบริเวณ 1,295-1,300 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ และยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงต่อ ในระหว่างวัน หากราคาทองดีดตัวกลับขึ้นไปยังแนวต้าน 1,305 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ควรระวังแรงขายที่คาดว่าจะมีกลับออกมาในระยะสั้นด้วยราคาที่ปรับลงมามาก จึงอาจมีการดีดตัวกลับเกิดขึ้น แต่หากยังไม่สามารถกลับขึ้นไปยืนเหนือแนวต้าน 1,305 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ได้ การเคลื่อนไหวของราคาทองในระยะนี้ก็ยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงไปยังแนวรับ บริเวณ 1,275-1,280 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ต่อไป

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (16/07/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.17/19 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.13/15 บาท/ดอลลาร์

 

วันนี้เงินบาทขยับอ่อนค่าจากเมื่อวาน หลังจากที่เมื่อคืนนี้ประธานธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ออกมาแถลงนโยบายการเงินในรอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคาร ของวุฒิสภาสหรัฐ ในขณะที่ค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคก็ขยับอ่อนค่าเช่นกันเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

 

"บาทอ่อนค่าจากเมื่อวาน หลังประธานเฟดออกมาแถลงนโยบายการเงินครึ่งปี ตัวอื่นๆ ก็อ่อนค่ากันหมดเมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น แต่เงินบาทบ้านเราไม่ได้อ่อนค่ามากนักหากเทียบกับสกุลเงินอื่นที่อ่อนค่าไปมากกว่า วันนี้ทิศทางเงินบาทคงทรงๆ" นักบริหารเงิน ระบุ

 

นักบริหารเงิน คาดว่าวันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวแคบๆ ในกรอบ 32.10-32.20 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากวันนี้ยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อค่าเงิน ตอนนี้คงรอจังหวะที่บาทจะแข็งค่าไปแตะที่ 32 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งน่าจะเป็นผลจาก flow และ position ของตลาดมากกว่า

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 101.70 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 101.56 เยน/ดอลลาร์

 

- ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3568 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.3597 ดอลลาร์/ยูโร

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.1700 บาท/ดอลลาร์

 

- นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ส่งออกกำลังติดตามภาวะอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และเริ่มมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่อง เพราะหากเงินบาทแข็งค่าหลุด 32 บาทต่อดอลลาร์ จะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยลดลง และการส่งออกของไทยในครึ่งปีหลัง 2557 แต่เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนหรือแข็งค่าผิดปกติ ระดับที่เหมาะสม คือ 32-33 บาทต่อดอลลาร์

 

- คสช.อนุมัติกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 58 อยู่ที่ 2.575 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 5 หมื่นล้าน เป็นงบขาดดุล 2.5 แสนล้าน เผย 5 หน่วยงาน ที่ได้รับจัดสรรงบสูง กระทรวงศึกษาธิการ งบกลาง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลังตามลำดับ การจัดสรรงบเน้นสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11

 

- ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทยลุยถก "คสช." แจงประโยชน์กองทุน LTF พร้อมเสนอมาตรการส่งเสริมตลาดทุนมากขึ้น เผยสรรพากรย้ำชัดไม่แตะกอง RMF ส่วน LTF ยังใช้เกณฑ์เดิมไปจนถึงปี 2559 ก่อนพิจารณาข้อมูลใหม่ในการต่ออายุ ด้านกระทรวงการคลังจ่อส่งแผนปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ คสช. แต่อุบรายละเอียดใหม่ด้านการยกเว้นหรือจัดเก็บภาษี

 

- ดอลลาร์สหรัฐฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (15 ก.ค.) ขณะที่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรส โดยกล่าวว่าตลาดแรงงานสหรัฐยังคงอ่อนแอ แม้ข้อมูลการจ้างงานแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา และบ่งชี้ว่าเฟดมีแนวโน้มจะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปเป็นระยะเวลานาน หลังโครงการซื้อพันธบัตรสิ้นสุดลง

 

- ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แถลงต่อสภาคองเกรสเมื่อคืนนี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะยุติโครงการซื้อสินทรัพย์ในเดือนต.ค.นี้ โดยไม่หวั่นว่าอาจจะเกิดภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ พร้อมกับย้ำว่าเฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีกสักระยะ

 

- สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เปิดเผยว่า ราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงดิ่งลง 142 ดอลลาร์ฮ่องกง เปิดที่ระดับ 11,980 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้ โดยราคาดังกล่าวเทียบเท่ากับ 1,297.58 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ ลดลง 15.38 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยนล่าสุด 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ 7.75 ดอลลาร์ฮ่องกง

 

- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงไตรมาส 2/2557 ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจากอัตรา 7.4% ในช่วงไตรมาสแรก สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 จีดีพีจีนขยายตัว 7.4%

 

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ โดยสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงต่ำกว่าระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ค.ปีนี้ เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันจากตะวันออกกลางจะเข้าสู่ตลาดโลกมากขึ้น นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยรายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 95 เซนต์ ปิดที่ 99.96 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 96 เซนต์ ปิดที่ 106.02 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 16 กรกฎาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองมีแนวโน้มดิ่งลงตามตลาดโลก จากวิกฤติอิรัก (16/07/2557)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายก ส.ค้าทอง ชี้ราคาทองมีแนวโน้มลดลง หลังทยอยปรับลดต่อเนื่องวานนี้ ชี้ปัจจัยจากวิกฤติอิรัก คาดครึ่งปีหลังยังคงผันผวน อยู่ที่ 1,170-1,450 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ล่าสุดราคาทองในประเทศดีดขึ้น 50 บาท รูปพรรณขายออกบาทละ 20,400...

 

เมื่อวันที่ 15 ก.ค. นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า ราคาทองคำมีแนวโน้มที่จะลดลงอีก ซึ่งต้องดูปัจจัยหลายๆ อย่างทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สงครามของต่างประเทศ โดยมองปัจจัยสนับสนุนประเด็นใกล้เคียงกันคือความเสี่ยงในอิรัก ทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินบาท สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อราคาทองคำในระยะยาว คาดการณ์ว่าสหรัฐฯ จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลให้เงินเหรียญสหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ทำให้ทองคำอ่อนตัวลง

 

ทั้งนี้ ได้คาดการณ์กรอบราคาทองคำช่วงครึ่งปีหลัง จะอยู่ที่ 1,170-1,450 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยทิศทางยังคงผันผวน เป็นผลมาจากสงครามในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 14 ก.ค. สัญญาทองคำล่วงหน้าปรับตัวลงแรงกว่า 23 เหรียญ มาซื้อขายที่ 1,314 ดอลลาร์ต่อออนซ์เหรียญ ส่งผลให้ราคาในประเทศเปลี่ยนแปลง 7 ครั้ง ลดลงรวม 300 บาท เพราะปัญหาธนาคารโปรตุเกส และความกังวลเรื่องสหรัฐฯปรับขึ้นดอกเบี้ย

 

อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และแนะนำให้ทยอยซื้อสะสมเมื่อราคาปรับตัวลงมาในกรอบ 1,180-1,250 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากในระยะยาวราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากที่ธนาคารกลางต่างๆ ได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง

 

มีรายงานเพิ่ม ความเคลื่อนไหวราคาทองคำในประเทศ ล่าสุดเมื่อเวลา 12.47 น. สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาทองคำซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 2 โดยดีดขึ้นมาที่ 50 บาท ส่งผลให้ราคาทองคำแท่งรับซื้อบาทละ 19,900 ขายออกบาทละ 20,000 ส่วนทองรูปพรรณรับซื้อบาทละ 19,617.04 ขายออกบาทละ 20,400.

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (วันที่ 15 กรกฎาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รัฐสภาสหภาพยุโรปมีมติ422ต่อ250เสียง อนุมัติให้นายฌอง คล็อด ยุงเกอร์ ขึ้นเป็นประธานคณะกรรมาธิการยุโรปคนใหม่

 

มติครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดทางสำหรับการประชุมวาระพิเศษของอียู ในวันนี้ (16 ก.ค.) ที่กรุงบรัสเซลล์ เพื่อให้บรรดาผู้นำชาติสมาชิกอียู ดำเนินการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญๆ ในรัฐสภาอียูให้ครบ รวมถึง หัวหน้านโยบายต่างประเทศอียู และประธานสภาอียูคนใหม่ แทนที่นายฟาน รอมปุย

 

ก่อนหน้าที่จะมีการลงมตินั้น นายยุงเกอร์ แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการบริหารงานอียู ให้คำมั่นถึงการฟื้นฟูทั้งเศรษฐกิจ และจิตวิญญาณของยุโรป พร้อมระบุว่า ยุโรปได้สูญเสียความน่าเชื่อถือไปมาก และว่า ช่องว่างระหว่างอียู กับประชาชนของตัวเอง กำลังขยายวงกว้างมากขึ้น

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 16 กรกฎาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เจอกัน 72 เลยพี่ใหญ่ อิอิ

สวัสดี คุณarthas หายไปนานคิดถึงค่ะ มาคุยกับคุณป๋าบ่อยๆๆน๊ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลสลากงวด16ก.ค.57รางวัลที่1 468728/ท้าย3ตัว104,944,117,205ท้าย2ตัว45

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเดาทองยามเย็น กล่าวว่า คิดไม่ถึงว่า ราคาทองจะหล่นมาต่ำกว่า 1300 และ ตอนนี้ น่าจะมีทดสอบ 1300 ราคาทองมีแนวรับ 1295 และจากนั้น 1285 แกร่งมาก อาจจะรอมาเข้าซื้อตรงนี้ พอไหว เพื่อลุ้นขึ้นบน แต่ยังไง ก็ต้องตั้ง Stop Loss เผื่อไว้ พร้อมแนวทางขาเสี่ยง

 

LONG GOLD above 1285 SL 1282 TP 1305-1316-1322-1328

SHORT GOLD below 1278 SL 1281 TP 1266-1254-1242

 

โชคดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไอเอ็มเอฟเตือนตื่นตระหนก'รอบใหม่' ฉุดเศรษฐกิจ'ยูโรโซน'ฟื้นตัว

 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประกาศเตือนว่าเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกครั้งใหม่เกี่ยวกับสถาบันการเงิน อาจทำให้เศรษฐกิจยูโรโซนยุติการฟื้นตัว ทำลายความเชื่อมั่นในตลาด และส่งผลให้ยูโรโซนประสบกับภาวะเงินฝืด

 

ไอเอ็มเอฟระบุในรายงานว่า "เนื่องจากยูโรโซนไม่สามารถปรับนโยบายได้มากนักในระยะใกล้ ดังนั้นถ้าหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกยูโรโซน เหตุดังกล่าวก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน, ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนหยุดชะงักลง และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อร่วงลงหรืออาจทำให้เกิดภาวะเงินฝืด"

 

เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวมาเป็นเวลานานหนึ่งปีแล้ว แต่ยังคงเติบโตในระดับที่อ่อนแอเกินกว่าที่จะชดเชยภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ดำเนินมานานสองปีได้ นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจในยูโรโซนยังไม่สามารถส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงจากระดับสูง

 

ยูโรโซนประกอบด้วยสมาชิก 18 ประเทศในปัจจุบัน โดยอัตราการว่างงานในยูโรโซนอยู่ที่ 11.6 % ในเดือนพ.ค. เทียบกับระดับสูงสุดที่ 12.0 % ในเดือนก.ย. 2556 โดยอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่แตะระดับ 9.8 % ในเดือนเม.ย. 2555

 

มีรายงานในสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับการทำผิดกฎระเบียบในบริษัทแห่งหนึ่งของตระกูลเอสปิริโต ซานโต ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารแบงโก เอสปิริโต ซานโต (BES) ซึ่งเป็นธนาคารจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกส และข่าวนี้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมของประเทศสมาชิกยูโรโซนบางประเทศพุ่งสูงขึ้น และทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจเกิดวิกฤติหนี้ขึ้นอีก

 

ไอเอ็มเอฟระบุว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอเกินไป หลังจากรัฐบาลประเทศสมาชิกยูโรโซนพยายามปฏิรูปเศรษฐกิจ, ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ดำเนินมาตรการกระตุ้นการเติบโต และมีการดำเนินมาตรการสะสางปัญหาในภาคการเงิน

 

ยูโรสแตท ซึ่งเป็นสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (อียู) รายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนดิ่งลง 1.1 % ในเดือนพ.ค. หลังจากปรับตัวขึ้นในเดือนเม.ย. โดยตัวเลขนี้ตอกย้ำถึงความเปราะบางของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในยูโรโซน

 

ไอเอ็มเอฟเรียกร้องให้ยูโรโซนดำเนินมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ทางเศรษฐกิจ, ปฏิรูปภาคธนาคาร (หรือมาตรการจัดตั้งสหภาพธนาคาร) ให้แล้วเสร็จ และผลักดันการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง

 

ไอเอ็มเอฟระบุว่า "ในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวและตลาดการเงินพุ่งขึ้น ความก้าวหน้าในการปฏิรูปก็อาจจะอ่อนแรงลง ทั้งในระดับประเทศและในระดับของยูโรโซน"

 

นายยัวร์คี คาไตเนน ว่าที่กรรมาธิการด้านเศรษฐกิจของยุโรป กล่าวว่าการดำเนินมาตรการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอาจช่วยหนุนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (อียู) ให้เพิ่มขึ้นอีก 1.5-6.0 % ในช่วง 5 ปีข้างหน้า และกล่าวเสริมว่ายุโรปจำเป็นต้องรักษาวินัยทางการคลังต่อไป

 

นายคาไตเนน ซึ่งเป็นตัวแทนของฟินแลนด์ในคณะกรรมาธิการยุโรป(อีซี) กล่าวต่อรัฐสภายุโรปว่า "เพื่อเป็นการสานต่อความพยายามในอดีต การปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณจำเป็นจะต้องดำเนินต่อไปเพื่อแก้ไขยอดหนี้สินที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี แผนยุทธศาสตร์ทางการคลังใดๆ จำเป็นต้องเอื้ออำนวยต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและต้องมีความยุติธรรม"

 

ไอเอ็มเอฟประกาศเตือนว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในยูโรโซนยังไม่กลับขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติหนี้ และอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำจนน่ากังวล

 

นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟยังระบุเตือนว่า รัฐบาลประเทศสมาชิกยูโรโซนไม่ควรปรับลดงบรายจ่ายลงไปอีก ถ้าหากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจตกต่ำลง

 

ไอเอ็มเอฟระบุว่า "จุดยืนทางการคลังที่เป็นกลางในวงกว้างถือเป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ เหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่ควรทำให้มีการดำเนินความพยายามปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงไปอีก เพราะการทำเช่นนั้นจะถือเป็นการทำร้ายตัวเอง"

 

เศรษฐกิจยูโรโซนซึ่งมีขนาด 9.6 ล้านล้านยูโร ฟื้นตัวขึ้นอย่างน่าผิดหวังในไตรมาสแรก โดยได้รับแรงกดดันจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในอิตาลี, เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส นอกจากนี้ เยอรมนียังเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซาในระยะนี้ ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ชะลอตัว

 

ไอเอ็มเอฟระบุว่า การขยับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและการอ่อนค่าของยูโร ซึ่งไอเอ็มเอฟมองว่าอยู่ในภาวะดุลยภาพในวงกว้าง จะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนเศรษฐกิจยูโรโซน

 

อัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคยูโรโซนเคลื่อนตัวอยู่ใต้ระดับ 1 % นับตั้งแต่เดือนต.ค. 2556 และไอเอ็มเอฟแสดงออกอย่างชัดเจนว่าพร้อมที่จะดำเนินมาตรการแก้ไข ถ้าหากราคาผู้บริโภคทรงตัวอยู่ในระดับต่ำเกินไปเป็นเวลานานเกินไป หรือถ้าหากเกิดภาวะเงินฝืด

 

ไอเอ็มเอฟระบุว่า "ราคาผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งรวมถึงราคาผู้บริโภคพื้นฐาน โดยความเปลี่ยนแปลงของราคาอาหารและพลังงาน การแข็งค่าของยูโร และการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ล้วนเป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา แต่ปัจจัยเหล่านี้ไม่สามารถอธิบายการปรับตัวลงของอัตราเงินเฟ้อได้ทั้งหมด"

 

นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในระยะนี้ ไม่มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปเป็นเวลายาวนาน

 

ธนาคารยูนิเครดิตระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนประจำปี 2557/58 ว่า "เราคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจอาจเติบโตเร็วขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 2 หรือฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนมิ.ย.

 

แต่อัตราการเติบโตรายไตรมาสมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เล็กน้อย และต่ำกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ในผลสำรวจภาคธุรกิจ"

 

ทั้งนี้ จะมีการรายงานตัวเลขประเมินขั้นต้นสำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซนประจำไตรมาส 2 ในวันที่ 14 ส.ค.

 

นักวิเคราะห์ของไอเอ็มเอฟระบุในรายงานอีกฉบับว่า ถ้าหากอีซีบีดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หรือมาตรการพิมพ์เงินใหม่เพื่อขยายขนาดงบดุลของอีซีบีอย่างต่อเนื่อง อีซีบีก็จำเป็นต้องรับประกันว่าประเทศสมาชิกยูโรโซนทุกประเทศจะได้รับผลดีจาก QE แทนที่จะมีประโยชน์เพียงแค่ประเทศขนาดใหญ่เท่านั้น

 

ไอเอ็มเอฟระบุว่า "ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำเกินไปอีซีบีก็ควรจะพิจารณาเรื่องการขยายขนาดงบดุลครั้งใหญ่ ซึ่งรวมถึงการดำเนินมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์"

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 16 กรกฎาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...