ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

แม้แต่รหัส 7,5,2 ยังออกรูปแบบไม่ดีต่อทองเลย วันนี้ ไปทำอย่างอื่นดีกว่า ไม่ตัองนั่งลุ้นเสียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท ยังดีขึ้น ที่น่าจะเปลี่ยนมาแนวอ่อนค่าแล้ว แต่คงขยับช้าๆ ไปเรื่อยๆ ไปรวดเร็วจนตกใจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อะไรกันนักหนา แม้แต่ตัวเลขโพลของ รายงานฝั่งยุโรป จะเดาว่า กดราคาทองย่อลง เซ็ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แม้กระทั้งโพลของรายงานสหรัฐฯ ก็เอาในทิศทางออกมาดี ก็ส่งผลให้ราคาทองย่อ " เอามันเข้าไป ไม่มีอะไรสนับสนุนทองเลย "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จะบอกว่า เกิดสงครามหลายที่ในโลก น่าจะช่วยดันราคาทองได้ ตอนนี้คงคิดผิดนะ เพราะ พยายามทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ่นในโลกใบนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันร่วงข้อมูลภาคแรงงานพยุงหุ้นมะกันปิดแคบ-ทองคำดิ่ง

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กรกฎาคม 2557 04:32 น.

 

เอพี/รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันร่วงแรง วานนี้ (24) จากแนวโน้มอุปสงค์เบนซินในสหรัฐฯ ขณะที่วอลล์สตรีทปิดในกรอบแคบ ได้ข้อมูลภาคแรงงานอันแข็งแกร่งเข้ามาพยุงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ และปัจจัยนี้เองก็ฉุดให้ทองคำลงหนัก เหตุนักลงทุนขายสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกันยายน ลดลง 1.05 ดอลลาร์ ปิดที่ 102.07 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนกันยายน ลดลง 96 เซนต์ ปิดที่ 107.07 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

แม้ในรายงานของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ เผยว่า คลังน้ำมันดิบสำรองของประเทศในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 กรกฎาคม ลดลงเกือบ 4 ล้านบาร์เรล แต่ขณะเดียวกัน สต๊อกน้ำมันเบนซินและน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงดีเซล ที่ต่างก็กลั่นมาจากน้ำมันดิบ กลับเพิ่มขึ้นเกินคาดหมาย บ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่ยังอ่อนแอ

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้ (24) ฟื้นตัวกลับมาปิดในกรอบแคบๆ หลังข้อมูลภาคแรงงานและรายงานผลประกอบการของบริษัทต่างๆ ช่วยบรรเทาความกังวลต่อวิกฤตความรุนแรงในยูเครนและฉนวนกาซา

 

ดาวโจนส์ ลดลง 2.83 จุด (0.02 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,083.80 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 0.97 จุด (0.05 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,987.98 จุด แนสแดค ลดลง 1.59 จุด (0.04 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,472.11 จุด

 

กระทรวงแรงงานสหรัฐฯเผยในวันพฤหัสบดี (24) ว่า ยอดผู้เข้ารับสิทธิประโยชน์คนว่างงานในสัปดาห์ที่แล้ว ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2006 หรือเกือบ 2 ปีก่อนเริ่มต้นเข้าสู่ภาวะถดถอยรุุนแรง ช่วงปี 2008

 

สัญญาณการฟื้นตัวของภาคแรงงานนี้ กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ แล้วหันไปแสวงหาผลกำไรในตลาดหุ้นแทน และเป็นผลให้ราคาทองคำวานนี้ (24) ร่วงลงหนัก โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 13.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,290.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน

 

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000084118

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อิสราเอลยิงปืนใหญ่ใส่โรงเรียนศูนย์อพยพUNในกาซาตาย15ศพ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 กรกฎาคม 2557 23:28 น.

 

อิสราเอลเมื่อวันพฤหัสบดี(24) ยิงปืนใหญ่ตกใส่โรงเรียนแห่งหนึ่งในฉนวนกาซา ซึ่งทางสหประชาชาติใช้เป็นศูนย์พักพิงรองรับพลเรือนหลายร้อยคน คร่าชีวิตชาวบ้าน 15 ศพ บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตชาวปาเลสไตน์เพิ่มเป็น 788 ศพ แม้นานาชาติพยายามเป็นคนกลางดึงทั้งสองฝ่ายเข้าสู่ข้อตกลงหยุดยิง

 

เหตุยิงปืนใหญ่เข้าใส่โรงเรียนที่ถูกใช้เป็นศูนย์พักพิงของชาวปาเลสไตน์บางส่วนจากทั้งหมดกว่า 100,000 คนที่ต้องทิ้งถิ่นฐานไปหาแหล่งหลบภัยตามสถานที่ปลอดภัยต่างๆ เกิดขึ้นท่ามกลางหลายสัปดาห์ของการสู้รบนองเลือดระหว่างทหารอิสราเอลกับนักรบปาเลสไตน์

 

กระสุนปืนใหญ่ตกลงไปตรงกลางลานกว้างที่ชาวบ้านใช้เป็นจุดตั้งแคมป์ ส่งผลให้บริเวณโดยรอบนองไปด้วยคราบเลือด โดยหน่วยฉุกเฉินกาซาเปิดเผยว่ามีประชาชนเสียชีวิต 15 รายและบาดเจ็บกว่า 200 คน ทำให้ยอดรวมผู้เสียชีวิตชาวปาเลสไตน์จาก 17 วันของการสู้รบ เพิ่มขึ้นเป็น 788 คน

 

ปฏิบัติการโจมตีอย่างดุเดือดของอิสราเอลยังมีขึ้นแม้ว่า นายจอห์น เคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่เวลานี้อยู่ในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ กำลังแสงหาความพยายามระดับภูมิภาคเพิ่มเติมสำหรับการเป็นคนกลางยุติความขัดแย้ง ด้วยอ้าแขนต้อนรับการมีส่วนร่วมของตุรกีและกาตาร์ สองชาติพันธมิตรของฮามาส

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (24 ก.ค.) หลังจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐลดลงมากกว่าที่คาด

 

ค่าเงินยูเพิ่มขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3464 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3458 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับลงที่ 1.6984 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.7030 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 101.83 เยน จากระดับ 101.54 เยน และทรงตัวเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9026 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9415 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9451 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุน หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค.ลดลง 19,000 ราย สู่ระดับ 284,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2549 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 305,000 ราย

 

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวขึ้นของดอลลาร์ได้ถูกสกัดไว้ด้วยข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยที่น่าผิด หวังของสหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ในเดือนมิ.ย.ลดลง 8.1% จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 406,000 ยูนิต

 

ส่วนสกุลเงินยูโรดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์ หลังอ่อนแรงลงในช่วง 3 วัน โดยได้รับแรงหนุนจากผลสำรวจของมาร์กิตที่แสดงให้เห็นว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นของยูโรโซนในเดือนก.ค.เพิ่มขึ้นแตะ 54.0 ซึ่งสูงสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 52.8 ในเดือนมิ.ย.

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 25 กรกฎาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค. ปรับตัวลดลงแตะที่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีครึ่ง ซึ่งบ่งชี้ถึงการปรับตัวดีขึ้นอย่างแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน

 

รายงานระบุว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ลดลง 19,000 ราย สู่ระดับ 284,000 ราย ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 305,000 ราย

 

ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งสามารถวัดแนวโน้มตลาดแรงงานได้ดีกว่าเพราะมีความผันผวนน้อยกว่าตัวเลขรายสัปดาห์นั้น ปรับตัวลดลง 7,250 ราย สู่ระดับ 302,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2550

 

กระทรวงระบุว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานจะเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงเวลานี้ของปี เนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคเรียนและเป็นช่วงที่โรงงานผลิตรถยนต์ปิดซ่อมบำรุงในฤดูร้อน และยังไม่มีปัจจัยอื่นที่ผิดปกตินอกเหนือไปจากปัจจัยด้านฤดูกาล

 

ที่มา สำนักข่าวงอินโฟเควสท์ (24/07/57)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนยังไม่คลี่คลายแม้ภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้น ตัวเลขพุ่งสูงสุดในรอบ 9 ปี เหตุประชาชนสะสมไว้มากเกินไป ซ้ำเจอช่วงเศรษฐกิจซบยาวนานซ้ำเติม ขณะที่ปมค่าครองชีพสูงรุมเร้า ทำให้ความสามารถในการชำระคืนลดลงต่ำสุดตั้งแต่ปี 2549 ร้องรัฐเร่งแก้ปัญหาด่วน ทั้งอัดเงินเข้าระบบ ผุดมาตรการแก้หนี้

 

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลจากการสำรวจความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในการก่อ หนี้ภาคครัวเรือน 1,200 ตัวอย่าง ว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาที่หนักสุดนับตั้งแต่มีการสำรวจเมื่อปี 2549 หรือในรอบ 9 ปี โดยปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว มูลค่าภาระหนี้ครัวเรือนไทยปี 2557 มีมูลค่ารวมเฉลี่ยที่ 219,158.20 บาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 และอัตราการขยายตัวของจำนวนหนี้สินเพิ่มขึ้น 16.1% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 2549 โดยผลจากภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นทำให้ประชาชนมีการระมัดระวังการใช้จ่าย เพื่อกันเงินไปใช้ชำระหนี้ และยังเป็นปัจจัยส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนไม่ฟื้นตัวเต็มที่ แม้ว่าความเชื่อมั่นจะมีสูงขึ้น ซึ่งหนี้สินภาคครัวเรือนคิดเป็น 80% ของจีดีพี อีกทั้งยังมีโอกาสที่ลูกหนี้จะผิดนัดชำระหนี้เพิ่มสูงขึ้นด้วย

 

ทั้งนี้ทางภาครัฐควรมีการอัดเร่งฉีดเม็ดเงินเข้ามาในระบบให้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 รวมทั้งยังต้องมีการดูแลค่าครองชีพให้ประชาชนอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อช่วยลดการก่อหนี้นอกระบบ เพราะกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำมักมีการกู้เงินนอกระบบเพิ่มขึ้น อีกทั้งควรมีการดึงลูกหนี้ให้มาอยู่ในระบบ เพื่อลดปัญหาสังคม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ทำให้เศรษฐกิจไทยค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง

 

ด้านนายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 74.8% ระบุว่ามีหนี้สิน มีเพียง 25.2% ที่ระบุว่าไม่มีหนี้สิน โดยภาระหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนของไทยอยู่ที่ประมาณ 219,158.20 ล้านบาท เป็นหนี้ในระบบ 50.9% และหนี้นอกระบบ 49.1% สำหรับการผ่อนชำระหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 13,358.35 บาทต่อเดือน ซึ่งที่มาของหนี้มาจาก หนี้ที่เกิดจากการซื้อสินทรัพย์ 36.9%, เป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายทั่วไป 32.2%, หนี้ที่เกิดจากการลงทุน 19.6% และหนี้จากการซื้อบ้าน 10.1%

 

ส่วนสาเหตุที่ทำให้หนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน มาจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูง ขึ้น 14.3%, ค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน 14%, การผ่อนสินค้ามากเกินไป 12.5%, หนี้เกิดจากภัยธรรมชาติ 12.1%, มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมาก 10.1%, หนี้ที่เกิดจากการได้รับเงินโครงการรับจำนำข้าวล่าช้า 9.6%, ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จากภัยธรรมชาติ 8.7%, ขาดรายได้เนื่องจากถูกออกจากงาน 7.9%, การซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น เช่น บ้าน รถ 6.8%, เป็นหนี้จากช่วงมีฟุตบอลโลก 1.5%, หนี้ที่เกิดขึ้นจากการพนันบอล 1.1% และอื่นๆ 1.4%

 

อย่างไรก็ตามในรอบปีที่ผ่านมาประชาชนส่วนใหญ่ 83% ระบุว่าเคยมีปัญหาในการชำระหนี้ มีเพียง 17% เท่านั้นที่ระบุว่าไม่เคยมีปัญหาในการชำระหนี้ ซึ่งความสามารถในการชำระหนี้ในรอบปีที่ผ่านมาแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2549 ทั้งนี้หากประชาชนไม่ชำระหนี้ได้ ประชาชนส่วนใหญ่ 37.4% จะมีการกู้ยืมที่อื่นมาชำระก่อน, 30.1% จะขอผ่อนผันเจ้าหนี้ก่อน, 17.7% จะหลบหนี้, 13.7% จะปล่อยให้ยึดสิ่งของไป และวิธีอื่นๆ 1.1% ในขณะที่ฝ่ายเจ้าหนี้หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ 60.4% จะดำเนินคดีตามกฎหมาย, 17.4% ทำลายข้าวของ, 13.1% จะมีการข่มขู่, 5.7% ทำร้ายร่างกาย และวิธีอื่นๆ 3.4%

 

ทั้งนี้หากประชาชนต้องกู้ยืมเงินในปัจจุบันวัตถุประสงค์ที่จะทำการกู้คือ ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 39.7%, ชำระเงินกู้นอกระบบ 17.1%, ซื้อยานพาหนะ 10.9%, เพื่อลงทุนประกอบธุรกิจ 10%, เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 6.4%, เพื่อชำระหนี้การพนัน 4.8%, ซื้อที่อยู่อาศัย 4.6%, เพื่อซ่อมแซมยานพาหนะหรืออุปกรณ์ประกอบอาชีพ 4.6%, เพื่อการศึกษา 3.7% และอื่นๆ 1.9%

 

ส่วนในเรื่องของการออมเงิน กลุ่มตัวอย่าง 48.9% ตอบว่ามีเงินออม และ 51.1% ตอบว่าไม่มีการออม ทั้งนี้ประชาชนยังเห็นว่า ค่าครองชีพในปัจจุบันกระทบต่อการออมเงินให้ลดลง 48%, การออมลดลงมาก 27.2%, การออมเพิ่มขึ้น 13.1%, ไม่กระทบเลย 9.8% และทำให้ออมเพิ่มขึ้น 2% อีกทั้งค่าครองชีพที่ไม่ได้กระทบต่อการใช้จ่าย 34%, ทำให้การใช้จ่ายลดลง 32.8%, ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 19.6%, การใช้จ่ายลดลงมาก 11.9% และทำให้การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก 1.7%

 

ในขณะเดียวกันประชาชนต้องการเสนอแนะให้ภาครัฐช่วยแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยการลดค่าครองชีพให้เหมาะสมกับรายได้ของคนส่วนใหญ่, ดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้อย่างจริงจังและสามารถปฏิบัติได้, สร้างงานแก้ ปัญหาการว่างงาน, จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือ, กระตุ้นเศรษฐกิจ และกระตุ้นการลงทุน

 

ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 25 กรกฎาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ประชาชาติธุรกิจ" ได้รวบรวมข้อมูลการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนต่างชาติทั้งในตลาดหุ้นและตลาดบอนด์ รวมถึงค่าเงินบาท ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (ดูตาราง) พบว่า ในช่วงเดือน ก.ค. (2-22 ก.ค.) ต่างชาติเข้าซื้อสุทธิในตลาดหุ้น 18,767 ล้านบาท และตลาดบอนด์ 77,053 ล้านบาทรวมเงินต่างชาติที่ไหลเข้าประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 2.15% ซึ่งสถานการณ์แตกต่างจากช่วงเดือน พ.ค. ที่ปัญหาการเมืองตกอยู่ในภาวะวิกฤตจนทำให้ "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" (คสช.) ต้องเข้ามายึดอำนาจในช่วงวันที่ 22 พ.ค. 2557ซึ่งต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้น-บอนด์ และค่าเงินบาทก็อ่อนค่าลง 0.95% ขณะที่ล่าสุด เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยวันที่ 22 ก.ค. 2557 ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 31.76 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดนำภูมิภาค เป็นผลจากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ (บอนด์) สูงถึง 2.4 หมื่นล้านบาท

 

 

ระวังเก็งกำไรปั่นตลาดผันผวน

 

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า การไหลเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในครั้งนี้เริ่มเห็นทิศทางที่เปลี่ยนไป โดยเน้นลงทุนพันธบัตรระยะยาวสูงขึ้นมาก ซึ่งสะท้อนว่านักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แต่ส่วนตัวแล้วเกรงว่าจะยังเป็นการเก็งกำไรจากการทำ Over The Counter (OTC) ซึ่งเป็นการซื้อขายโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายตกลงต่อรองราคากันได้เอง โดยเฉพาะในตลาดพันธบัตร จะทำให้ตลาดผันผวนหนัก ดังนั้นจึงต้องจับตาอย่างใกล้ชิด"แม้ต่างชาติจะเข้าซื้อพันธบัตรระยะ 10 ปี แต่บางส่วนก็ขายก่อน ถือเป็นการเข้ามาลงทุนเพื่อเก็งกำไรที่มีช่องว่างที่พอทำได้บ้าง ปัจจุบันการถือครองหน่วยลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดบอนด์ของไทยยังมีสัดส่วนน้อยประมาณ 10% เทียบกับมาเลเซียและอินโดนีเซียอยู่ที่ 30% จึงยังมีโอกาสที่จะเห็นการไหลเข้ามาได้อีก แต่จากนี้คงต้องจับตาว่าจะลงทุนยาวนานแค่ไหน แต่ระยะสั้นค่าเงินคงผันผวนหนัก" นายอมรเทพกล่าวด้านนายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า ในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.มีกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในประเทศไทยค่อนข้างมากทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งทำให้ค่าเงินมีความผันผวนในระยะสั้น แต่คาดว่าในปลายปีจะกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง โดยให้กรอบที่ 32.50 บาท/ดอลลาร์ จากนั้นอาจอ่อนค่าลงอีกในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 จากแรงคาดการณ์ของนักลงทุนต่อปัจจัยการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจอ่อนไปถึง 33.50 บาท/ดอลลาร์ ก่อนจะเริ่มนิ่งอีกครั้งเมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยเรียบร้อยในกลางปี 2558ส่วนนางสาวปารีณา พ่วงศิริ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สถานการณ์นี้น่าจะเป็นการแข็งค่าระยะสั้น ๆ เนื่องจากมีเม็ดเงินบางส่วนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนซื้อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งในตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคเอเชียต่อเนื่อง หลังเศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะเดียวกันยังมีเม็ดเงินบางส่วนที่ถอนตัวออกมาจากรัสเซียจากความกังวลเรื่องสงคราม โดยพบว่าช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ นักลงทุนถอนเงินลงทุนออกจากรัสเซียราว 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปี 2556 ตลอดทั้งปีที่นักลงทุนขายสินทรัพย์ทำกำไรทั้งปีราว 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

 

 

ผลตอบแทนลงทุนไทยดีมาก

 

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (21 ก.ค. 57) ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น 2.4% โดยแข็งค่าขึ้นมากในเดือน ก.ค.ที่ 1.3% เป็นผลจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อสินทรัพย์ของไทยมากขึ้น โดยเฉพาะเดือน ก.ค. ต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นมากส่วนการซื้อขายพันธบัตรสุทธิในเดือน ก.ค.เพิ่มขึ้นถึง 7.95 หมื่นล้านบาท จากตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเข้ามาแล้ว 1.54 แสนล้านบาท ที่น่าสนใจคือเป็นการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวมากกว่า 1 ปี ถึง 22.9% และพันธบัตรระยะสั้นต่ำกว่า 1 ปี 18%ด้านนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บล.ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มการไหลเข้าของฟันด์โฟลว์จะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในตลาดบอนด์และตลาดหุ้น เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน 3 เรื่อง ได้แก่ การย้ายเงินลงทุนจากตลาดที่พัฒนาแล้ว เข้าไปหาตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)ที่ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้น การปรับมุมมองเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในภูมิภาคเอเชียของต่างชาติ และที่สำคัญคือแนวโน้มการสร้างผลตอบแทนของหุ้นไทยเริ่มดีขึ้น เพราะผลประกอบการได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2/2557 ดังนั้นในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า

 

ตลาดหุ้นไทยจึงมีทิศทางที่ดีสามารถลงทุนได้"เรายังไม่ ได้ประมาณการว่าเงินบาทจะแข็งค่าไปถึงระดับไหนแต่แนวโน้มก็น่าจะเกิดขึ้นได้ อีกจากฟันด์โฟลว์ เนื่องจากเรามีเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นมาระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามปัจจัยที่จะเร่งให้เงินทุนไหลเข้ามาในระยะถัดไป คงต้องขึ้นอยู่กับการประกาศนโยบายการคลัง และการตั้งรัฐบาลว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งนี่คือสิ่งที่ต่างชาติจับตา" นายปริญญ์กล่าว

 

คาดทุนต่างชาติไหลเข้าต่อเนื่อง

 

นายสุชาติ ธนฐิติพันธ์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย คาดว่าการซื้อตราสารหนี้ของต่างชาติน่าจะเข้ามาต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ทั้งในโปรตุเกส สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย เกิดความไม่สงบ ทั้งภาคการเงินและการเมือง ส่งผลให้นักลงทุนโยกเงินบางส่วนมาลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยทุกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ขณะเดียวกันเห็นว่าต่างชาติเข้ามาซื้อพันธบัตรไทยากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนถือว่าน่าลงทุนเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย จึงเห็นเงินลงทุนต่างชาติเข้ามาถือทั้งระยะสั้นและระยะยาว นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ความเชื่อมั่นต่อการเมืองและเศรษฐกิจของไทยที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติปรับฐานะการลงทุนกลับเข้ามาประเทศไทยมากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ปรับลดน้ำหนักความสำคัญด้านการลงทุนไทยลงไป โดยเริ่มเห็นเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรมากขึ้นตั้งแต่เดือน มิ.ย.ต่อเนื่องถึงเดือน ก.ค. ซึ่งแตกต่างจากเดือน พ.ค.ที่เงินทุนไหลออก และเงินบาทอ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาค

 

โดยแนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่า ขึ้นถือว่ายังอยู่ในทิศทางเดียวกับภูมิภาคการแข็งค่าของเงินบาทในรอบนี้อาจ เป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการที่มีภาระเงินตราต่างประเทศ เช่น ต้องการซื้อเงินสกุลต่างประเทศเพื่อนำเข้าสินค้า หรือชำระคืนหนี้ต่างประเทศ หรือต้องการไปลงทุนต่างประเทศด้วย

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 25 กรกฎาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไทยโพสต์ * ธปท.แจงนักลงทุนตื่นรับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ดันเงินบาทแข็งช่วงสั้น ยันติดตามใกล้ชิด ไม่ให้ผันผวนจนกระทบต่อภาคธุรกิจ แต่ดูเป็นรายวันไม่ได้ เอกชนระบุเงินลงทุนเริ่มไหลกลับเข้าไทย หลังโรดแม็พ คสช.เดินหน้าตามแพลน "กรุงไทย" กางผลสำรวจธุรกิจเชื่อมั่น เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 1 ปี

 

นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.อยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้มีการเคลื่อนไหวผันผวน จนกระทบการปรับตัวของภาคธุรกิจ โดยตั้งแต่ต้นปีจนถึงล่าสุด (22 ก.ค.) อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.4%

 

อย่างไรก็ตาม การติดตามอัตราแลกเปลี่ยนคงพิจารณาวันต่อวันไม่ได้ ต้องมองในภาพรวม ซึ่งขณะนี้ค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่าในช่วงสั้นๆ มาจากปัจจัยนักลงทุนเชื่อมั่นต่อการเมืองและเศรษฐกิจไทย แต่ยังแข็งค่าน้อยกว่าเมื่อเทียบสกุลเงินอินโดนีเซีย และยัง เกาะกลุ่มค่าเงินของมาเลเซียและ เกาหลีใต้ "ช่วงที่ผ่านมา นักลง ทุนในตลาดโลกเชื่อว่าภูมิภาคเอ เชียมีปัจจัยเฉพาะในแต่ละประเทศที่น่าเข้ามาลงทุน โดยในส่วนของไทยมีทั้งข่าวดี เช่น เรื่องเศรษฐ กิจขยายตัว และคาดว่าช่วงครึ่ง ปีหลังจะเติบโตต่อเนื่อง รวมทั้ง สถานการณ์ทางการเมืองที่มีการ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว การประกาศวันจัดตั้งสภานิติบัญ ญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปฯ และคณะรัฐมนตรี ซึ่งส่งผลออกมาในเชิงบวก" นางรุ่งกล่าว

 

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประ ธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประ เทศไทย (สอท.) กล่าวว่า การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่ว คราวของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะส่งผลให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เกิดความเชื่อมั่นประเทศไทยมากขึ้น การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทปัจจุบันที่แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 31.99 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เกิดจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น หากทั้งปีเคลื่อนไหวในกรอบ 31.50-32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังถือเป็นระดับที่ไม่ผันผวนมากนัก

 

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการ ตลท. กล่าวว่า ตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับเศรษฐกิจและผลประกอบการของ บจ.ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคธนาคารในช่วงไตรมาส 2/2557 ที่มีผลประกอบการออกมาค่อนข้างดี โดยมองว่าหลังจากนี้ทิศทางเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้บริโภคกลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้งในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา ส่วนเม็ดเงินลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มไหลเข้ามามากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่เชื่อว่ายังอยู่ในภาวะปกติ

 

นางเกศรา มัญชุศรี กรรม การและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า กรณีมีความกังวลด้านเงินบาทแข็งค่า เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจลงทุนในหุ้นไทยค่อนข้างมาก และความต้องการเงินบาทมีเพิ่มมากขึ้นนั้น กรณีดังกล่าวคาดว่า ธปท.จะมีมาตรการดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป

 

นายพูลพัฒน์ ศรีเปล่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานบริหารความเสี่ยง ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจกรุงไทย ประจำไตรมาส 2/2557 สำรวจจากนักธุรกิจกว่า 2,300 รายทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นจากระดับ 49.52 ไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 51.03 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ตามความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ในอนาคต สะท้อนถึงความคาดหวังของนักธุรกิจที่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจจะฟื้นตัว ดีขึ้น หลังปัญหาทางการเมืองที่กดดันต่อเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้าได้ผ่อนคลายลง อีกทั้ง คสช.ได้ประกาศนโยบายและมาตรการเศรษฐกิจที่ค่อนข้างชัดเจน.

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (วันที่ 25 กรฎาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธ.ไทยพาณิชย์ ห่วงส่งออกปีนี้โตต่ำเพียง 1% แนะต้องเร่งเปลี่ยนเทคโนโลยีการส่งออกทั้งระบบ พร้อมคงจีดีพีปีนี้โต 1.6% พร้อมคาดช่วงครึ่งปีหลัง ทิศทางค่าเงินมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเป็น 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากภาวะเงินทุนไหลออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเป็นผลจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่เร็วกว่ากำหนด รวมถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมีแนวโน้มทรงตัวที่ 2% เป็นระดับต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค

 

น.ส.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) กล่าวว่า แม้จะมีการคงอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 1.6 แต่มีความเป็นห่วงการส่งออกปีนี้ขยายตัวต่ำกว่าคาด โดยในช่วง 5 เดือนแรกหดตัวร้อยละ 1.2 เนื่องจากการส่งออกไปจีน และอาเซียนซบเซาจากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยมองว่าทั้งปีการส่งออกจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1 ซึ่งต่ำกว่าประมาณการเดิมที่โตร้อยละ 4

 

ทั้งนี้ สาเหตุมาจากการลดลงอย่างต่อเนื่องของราคาสินค้าเกษตร การชะลอตัวของประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งกระทบชัดเจนต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ รวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการส่งออกรถยนต์ โดยมีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนรถอีโคคาร์ที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่ารถประเภท อื่น และการสูญเสียความนิยมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 7 ของการส่งออกไทย เพราะเทคโนโลยีผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยล้าสมัย

 

ขณะที่ทั่วโลกนิยมสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ดังนั้น ภาครัฐต้องแก้ไขปัญหาการส่งออกอย่างเป็นระบบ ด้วยการวางยุทธศาสตร์เปลี่ยนเทคโนโลยีการส่งออกให้ทันสมัยตรงความต้องการของ ตลาดโลก และให้ความสำคัญต่อตลาดเพื่อนบ้านตามแนวชายแดน ซึ่งต้องปรับการผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการของคู่ค้า เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งลดต้นทุนภาคการขนส่ง ด้วยการเพิ่มการขนส่งทางราง และขนส่งน้ำที่มีต้นทุนต่ำกว่าถนน และสร้างถนนให้เชื่อมต่อการค้าชายแดน ขณะเดียวกัน ต้องไม่มองข้ามคู่แข่ง เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งเริ่มมีการผลิตรถยนต์ และพลาสติกเคมีภัณฑ์ที่มีศักยภาพมากขึ้น

 

สำหรับปัจจัยที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง คือ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนภาครัฐ และการให้ความสำคัญต่อโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ และการช่วยเหลือเกษตรกรผ่านโครงการรับจำนำข้าว และการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีผ่านการให้สินเชื่อต่างๆ บวกกับสถานการณ์การเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งส่งผลชัดเจนต่อความเชื่อมั่นภาคเอกชน แต่คาดว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นเอกชนจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อย ไป แม้การบริโภคผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ยังมีแรงกดดันด้านรายได้ และหนี้ครัวเรือน รวมไปถึงการตรวจสอบการใช้จ่ายภาครัฐ จากคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ และคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในด้านความโปร่งใส แต่อาจส่งผลให้การลงทุนภาครัฐในบางส่วนมีความล่าช้า

 

น.ส.สุทธาภา กล่าวถึงทิศทางค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปี 2557 โดยระบุว่า ในช่วงครึ่งปีหลังทิศทางค่าเงินมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเป็น 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากภาวะเงินทุนไหลออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเป็นผลจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดที่เร็วกว่ากำหนด รวมถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมีแนวโน้มทรงตัวที่ร้อยละ 2 เป็นระดับต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 24 กรกฎาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2557 ลงอีกระลอก อันเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงของจีนและสหรัฐ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 2 อันดับแรก

 

รายงาน World Economic Outlook ฉบับล่าสุดของไอเอ็มเอฟคาดว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.4% ในปี 2557 ซึ่งลดลง 0.3% จากตัวเลขคาดการณ์เมื่อเดือนเม.ย.

 

อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวจะยังคงเพิ่มขึ้นไปแตะที่ระดับ 4% ในปี 2558 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับตัวเลขคาดการณ์ในครั้งก่อน

 

ไอเอ็มเอ็ฟแสดงความวิตกว่า มีเพียงบางปัจจัยที่นำไปสู่การปรับตัวลดลงเพียงชั่วคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ร่ำรวยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจชะลอตัวหากไม่มีการดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการปฏิรูปในเชิงลึกมากขึ้น เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการแก้กฎหมายเกี่ยวกับภาษี

 

ไอเอ็มเอฟระบุว่า ยังไม่มั่นใจว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังจากเกิดวิกฤตการเงินอย่างรุนแรงในระหว่างปี 2550-2552 จะแข็งแกร่งเพียงไร อีกทั้งยังมีความเสี่ยงทางการเมืองจากวิกฤตในตะวันออกกลางและยูเครนที่อาจจะฉุดรั้งอัตราการขยายตัวลงได้อีก

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (24/07/57)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...