ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-รัฐบาลโปรตุเกสจ่อเข้าอุ้มธนาคารดัง “บังโก เอสปิริโต ซันโต” หวั่นวิกฤตในภาคสถาบันการเงินลุกลามจนสร้างหายนะแก่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ยังคงเปราะบาง

 

รายงานข่าวระบุว่า การ์โลส กอสตา ประธานธนาคารกลางโปรตุเกส ได้นำเสนอแผนช่วยเหลือสถาบันการเงินดังกล่าวต่อรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีเปโดร โกเอลโญแล้วในวันอาทิตย์ (3) โดยหนึ่งในมาตรการช่วยเหลือที่คาดว่าจะนำมาใช้ในเร็วๆนี้ คือ “การเพิ่มทุน” ให้กับธนาคารแห่งดังกล่าว ที่ถือเป็นธนาคารเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

 

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของทางการโปรตุเกสมีขึ้นหลังจากธนาคารบังโก เอสปิริโต ซันโต ออกมาประกาศผลประกอบการช่วงครึ่งปีแรกเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา และปรากฏว่าธนาคารแห่งนี้มีผลขาดทุนในช่วงดังกล่าวสูงถึง 3,570 ล้านยูโรหรือราว 154,100 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นผลการขาดทุนของธนาคารพาณิชย์ที่สูงที่สุดในกลุ่มยูโรโซน

 

การตัดสินใจของธนาคารกลางและรัฐบาลโปรตุเกสเพื่ออัดฉีดเม็ดเงินซึ่งยังไม่มีการเปิดเผยวงเงินที่แน่ชัดเข้าสู่บังโก เอสปิริโต ซันโต ถูกมองว่าเป็นความพยายามของทางการ ในการหยุดยั้งวิกฤตการแห่ถอนเงินของประชาชนออกจากธนาคารแห่งนี้

 

ทั้งนี้ ประชาชนชาวโปรตุเกสจำนวนไม่น้อยวิตกว่า หากกิจการของธนาคารดังกล่าวมีอันต้องล่มสลาย ก็อาจส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่เพิ่งจะก้าวออกมาจากแผนขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

 

ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 4 สิงหาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยในช่วงคืนวันศุกร์ว่า ธนาคารจะปรับปรุงแก้ไขนโยบายการเงินอย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ในขณะที่เพิ่มความสามารถในการคาดการณ์ ความเกี่ยวข้อง และประสิทธิภาพของการควบคุมนโยบาย

 

ธนาคารกลางจีนเผยแพร่รายงานประจำไตรมาสผ่านทางเว็บไซต์ โดยย้ำว่าธนาคารจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินขยายตัวอย่างระมัดระวัง ดำเนินมาตรการอย่างมีเสถียรภาพและสอดคล้องกัน บรรลุการขยายตัวด้านสินเชื่อและการระดมทุนในประเทศ และรักษาสภาพคล่องให้เหมาะสม

 

ในรายงานดังกล่าว ธนาคารกลางจีนยังได้ระบุด้วยว่าจะมีการนำเครื่องมือต่างๆมาใช้อย่างยืดหยุ่น อาทิ การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน สัดส่วนการกันสำรอง อัตราดอกเบี้ย re-lending และ rediscount กระบวนการหน้าต่างให้กู้ยืม และการอัดฉีดสภาพคล่องระยะสั้น

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 2 สิงหาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พาณิชย์เตรียมเจรจาอียู หามาตรการผ่อนปรนผู้ส่งออกไทยรับมือสินค้า 723 รายการถูกตัดจีเอสพีปีหน้า ขณะที่เอกชนเล็งเพิ่มกำลังการผลิตโรงงานในประเทศเพื่อนบ้าน ที่ยังได้สิทธิ...

 

เมื่อวันที่ 3 ส.ค. มีรายงานจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ว่า ขณะนี้กรมการค้าต่างประเทศ ได้เตรียมแนวทางการช่วยเหลือผู้ส่งออกสินค้าไทยไปตลาดยุโรป หลังจากในวันที่ 1 ม.ค. 58 สหภาพยุโรป (อียู) จะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่ให้กับสินค้าไทยอีก 723 รายการ เพราะไทยเข้าตามเงื่อนไขการถูกตัดจีเอสพีของอียู ที่กำหนดให้ประเทศที่มีรายได้ระดันปานกลางถึงสูง หรือมีรายได้เกิน 3,975 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคนต่อปีติดต่อกัน 3 ปี จะต้องถูกตัดสิทธิ โดยเบื้องต้นจะส่งเจ้าหน้าที่ไปเจรจากับอียู ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อขอให้อียูช่วยออกมาตรการผ่อนปรน ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีแก่ผู้ส่งออกไทย ขณะเดียวกัน จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โดยไม่ต้องพึ่งพาสิทธิประโยชน์จากจีเอสพี เป็นต้น

 

ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่ยังได้รับสิทธิจีเอสพีในตลาดยุโรปและเสียภาษีเป็น 0% เช่น กัมพูชา พม่า ลาว และบังกลาเทศ ซึ่งผู้ประกอบการไทยหลายกิจการได้ทยอยขยายฐานการผลิตไปลงทุนในประเทศเหล่านี้แล้วจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มยุโรป, รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

 

สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เตรียมความพร้อมมาหลายปีแล้ว ซึ่งหลายรายมีโรงงาน 5-6 แห่งกระจายในประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่ในเวียดนามและกัมพูชา และในอนาคตจะพิจารณาไปตั้งโรงงานในพม่าและบังกลาเทศเบื้องต้น หากจีเอสพีถูกตัดสิทธิ ผู้ประกอบการไทยหลายราย จะเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น แต่สาขาในไทยก็ไม่ได้ทอดทิ้ง เพราะโรงงานในไทยจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจทั้งหมด

 

"ในส่วนของการส่งออกไปตลาดยุโรปนั้น ขอแนะนำให้ผู้ส่งออกไทยต้องส่งสินค้าก่อนวันที่ 25 พ.ย. 57 หากช้ากว่านั้นอาจส่งไม่ทันภายในวันที่ 31 ธ.ค. 57 ได้ เพราะเรือต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 เดือน หากเรือไปถึงวันที่ 1 ม.ค. 58 ก็จะทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียภาษีในอัตราปกติทันที".

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (วันที่ 4 สิงหาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

-จับตาภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินบริเวณทะเลเหนือและแอฟริกา ท่ามกลางความต้องการใช้น้ำมันดิบจากโรงกลั่นที่ซบเซาทั้งในยุโรปและเอเชีย อันเป็นผลมาจากค่าการกลั่นที่ตกต่ำ

-เหตุการณ์ความตึงเครียดในอิรักและรัสเซีย ที่ยังคงไม่ได้กระทบต่อความสามารถในการส่งออกน้ำมันดิบของทั้งสองประเทศ โดยล่าสุดอิรักยังคงสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้ตามแผนที่ราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อีกทั้งการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียยังไม่ทำให้การส่งออกน้ำมันดิบปรับ ลดลงแต่อย่างใด

- ติดตามรายงานประจำเดือนของ OPEC ในวันที่ 8 ส.ค.นี้ ว่าจะมีมุมมองต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบโลกอย่างไร ภายหลังตัวเลขเศรษฐกิจของผู้ใช้น้ำมันดิบหลักโลกอย่างสหรัฐฯ และจีนออกมาดีกว่าคาด ส่อเค้าว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น

-เสถียรภาพของกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากลิเบีย ภายหลังการกลับมาดำเนินการของท่าเรือขนส่งและหลุมน้ำมันดิบ ทำให้กำลังการผลิตในเดือน ก.ค. ปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ราว 430,000 บาร์เรล จากราว 210,000 บาร์เรลในเดือนก่อนหน้า ท่ามกลางความวิตกกังวลถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่มกบฏจะกลับเข้าขัดขวางการผลิต น้ำมันดิบอีก เหมือนเช่นที่เคยเป็นมา

-การปิดซ่อมบำรุงหลุมน้ำมันดิบ Buzzard ที่ทะเลเหนือเป็นเวลาสองสัปดาห์ในเดือน ส.ค. โดยหลุมน้ำมันดังกล่าวเป็นหลุมน้ำมันดิบที่มีกำลังการผลิตสูงสุดในทะเลเหนือ โดยคาดว่าการปิดซ่อมดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบที่จะส่งออกลดลง ประมาณ 24%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันที่ 28 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2557 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวในแนวแข็งค่าต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์

 

โดยปัจจัยหลักที่ตลาดให้ความสนใจอยู่ที่ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งตลาดได้คาดการณ์ว่า เฟดจะลดโครงการซื้อพันธบัตรลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และอาจจะส่งสัญยารเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมของเฟดช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยในวันพุธ (31/7) ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของเฟดมีมติด้วยคะแนนเสียง 9-1 เห็นพ้องให้ปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยปรับลดลง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สู่ระดับ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน จากวงเงินเดิม 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

 

ทั้งนี้ เฟดระบุว่า จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และซื้อ MBS ในวงเงิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนในเดือน ส.ค.ลดลงจากเดิมที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และซื้อ MBS ในวงเงิน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

 

อีกทั้ง เฟดยังแถลงว่า จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ในช่วง 0-0.25% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากมาตรการซื้อพันธบัตรสิ้นสุดลง พร้อมกันนี้ยังระบุอีกว่าภาวะตลาดแรงงานได้กระเตื้องขึ้นและการว่างงานได้ลดลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อได้ขยับเข้าใกล้เป้าหมายระยะยาว ที่เฟดกำหนดไว้ ส่วนการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อในระยะยาวยังคงมีเสถียรภาพ

 

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้เผยตัวเลขประมาณการขั้นต้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 2 โดยระบุว่ามีการขยายตัว 4% สูงกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 3.0% หลังติดลบ 2.1% ในไตรมาสแรก พร้อมระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัว 0.9% ในช่วงครึ่งปีแรก และคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยมากกว่า 2% ในปีนี้ ซึ่งจากเรื่องดังกล่าวส่งผลให้ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักต่างๆ รวมทั้งเงินบาท

 

อย่างไรก็ดี ตลาดจับการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในคืนวันนี้ (1/8) โดยคาดว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 233,000 ตำแหน่งในเดือน ก.ค. ซึ่งลดลงอย่างมากจาก 288,000 ตำแหน่งในเดือน มิ.ย. แต่ก็ยังคงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันที่การจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 200,000 ตำแหน่งซึ่งเป็นสถิติเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2540

 

ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันจันทร์ (28/7) ที่ระบุ 31.80/82 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวเมื่อเทียบกับระดับปิดตาดในวันศุกร์ (25/7) ที่ 31.78/79 บาท/ดอลลาร์ โดยในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ ค่าเงินบาททรงตัวและเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ขณะที่การซื้อขายมีไม่มากนัก โดยตลาดยังขาดปัจจัยใหม่ หลังจากในช่วงก่อนหน้านี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นมามาก อย่างไรก็ดี ในช่วงท้ายสัปดาห์ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ภายหลังการประกาศมติการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธ (30/7) ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์ได้แรงหนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 2 ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ ทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยังคงเข้าซื้อเงินดอลลาร์ และส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าเหนือ 32.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐอีกครั้ง ทั้งนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 31.83-32.29 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (1/8) ที่ระดับ 32.24/26 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

 

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดวันจันทร์ (28/7) ที่ระดับ 1.3452/53 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (25/7) ที่ระดับ 1.3463/64 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยตลอดทั้งสัปดาห์ ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากที่ข้อมูลความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ย่ำแย่ของเยอรมนีเพิ่มความวิตกว่า สถานการณ์ตึงเครียดในรัสเซียและยูเครนกำลังกระทบเศรษฐกิจยูโรโซน ประกอบกับสหภาพยุโรปและสำหรับประกาศมาตรการคว่ำบาตรเศรษฐกิจต่อรัสเซีย กดดันให้ยูโรร่วงลง นอกจากนี้ การประกาศลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ของเฟด และข้อมูลอัตราเงินเฟ้อยูโรโซนร่วงลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 5 ปี ที่ระดับ 0.4% ต่อปีในเดือน ก.ค. ซึ่งยังถือว่าอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ 2% เป็นอย่างมาก ได้กดดันค่าเงินยูโรเพิ่มเติม ส่งผลให้เงินยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือนที่ระดับ 1.3365 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อย่างไรก็ดี ข้อมูลเงินเฟ้อดังกล่าวน่าจะทำให้ผู้กำหนดนโยบายจับตาความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืด แม้ว่าอาจจะไม่กระตุ้นให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ดำเนินการในทันทีในการประชุมครั้งต่อไปในสัปดาห์หน้า (7/8) ก็ตาม ทั้งนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1.3365-1.3444 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (1/8) ที่ระดับ 1.3390/92 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

 

ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนนั้น ค่าเงินเยนเปิดตลาดวันจันทร์ (28/7) ที่ระดับ 101.78/79 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (25/7) ที่ระดับ 101.37/39 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยตลอดทั้งสัปดาห์ ค่าเงินเยนทยอยปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซนออกมาย่ำแย่ ขณะที่ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ของสหรัฐแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นจากภาวะชะลอตัวอย่างมาก อีกทั้งเฟดได้ประกาศลดโครงการซื้อพันธบัตรลงอีก 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าจะไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใดก็ตาม ส่งผลให้นักลงทุนหันกลับมาถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐอีกครั้ง และกดดันให้เงินเยนอ่อนค่าลง ทั้งนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 101.69-102.32 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (1/8) ที่ระดับ 102.92/95 เยน/ดอลลาาร์สหรัฐ

 

อนึ่ง ในวันพุธ (30/7) ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปและสหรัฐได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมต่อรัสเซีย โดยพุ่งเป้าไปที่ธุรกิจพลังงาน, ธนาคาร และการซื้อขายอาวุธ ซึ่งนับเป็นการดำเนินการระหว่างประกาศที่แข็งกร้าวที่สุดต่อการที่รัสเซียให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏในภาคตะวันออกของยูเครนโดยมาตรการดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ของการเผชิญหน้าครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกนับตั้งแต่สงครามเย็นซึ่งเลวร้ายลงหลังจากเครื่องบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH17 ถูกยิงตกในภาคตะวันออกของยูเครนเมื่อวันที่ 17 ส.ค. จากสิ่งที่ชาติตะวันตกระบุว่าเป็นขีปนาวุธที่จัดหาโดยรัสเซีย นอกจากนี้ ในวันพฤหัสบดี (31/7) อาร์เจนตินาประสบความล้มเหลวในการทำข้อตกลงกับเจ้าหนี้กลุ่ม holdout หรือกลุ่มที่ไม่ยอมเข้าร่วมในการปรับโครงสร้างนี้ ทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 12 ปี หลังจากอาร์เจนตินาผิดนัดชำระหนี้ครั้งแรกในปี 2002 โดยอาร์เจนตินาไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับกองทุนกลุ่มนี้ได้ทันกำหนดเส้นตายสำหรับการชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือครองพันธบัตรปรับโครงสร้างซึ่งการผิดนัดชำระหนี้ครั้งนี้เป็นผลมาจากการที่อาร์เจนตินาไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่กำหนดให้ผู้ถือพันธบัตรต้องได้รับการชำระคืนพันธบัตรในเวลาพร้อมกับการจ่ายดอกเบี้ย539 ล้านดอลลาร์ให้แก่ผู้ที่ยอมรับการจ่ายในราคาที่ลดลงในการปรับโครงสร้างหนี้ 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ถึงแม้อาร์เจนตินาจะผิดนัดชำระหนี้เป็นเวลาสั้น ๆ แต่การผิดนัดดังกล่าว ก็จะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมบริษัทอาร์เจนตินาพุ่งสูงขึ้น, ทำให้แรงกดดันต่อสกุลเงินเปโซของอาร์เจนตินาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของอาร์เจนตินา และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของอาร์เจนตินาพุ่งสูงขึ้นไปอีกจากระดับที่สูงมากอยู่แล้ว

 

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐสำคัญที่น่าสนใจได้แก่ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ค., มาร์กิตเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือน ก.ค., รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือน ก.ค. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือน มิ.ย. และสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตเดือน ก.ค. (1/8), สถาบันจัดการด้านุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจรัฐนิวยอร์กเดือน ก.ค. และ Conference Board เปิดเผยดัชนีแนวโน้มการจ้างงาน (EI) เดือน ก.ค. (4/8), มาร์กิตเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือน ก.ค., กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือน มิ.ย., สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ก.ค. (5/8), กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยข้อมูลการค้าระหวางประเทศเดือน มิ.ย. (6/8), กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (7/8), กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต๊อกสินค้า และยอดค้าส่งเดือน มิ.ย. (8/8)

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 1 สิงหาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทัพยูเครนโจมตีกบฏด้านนอกแคว้นโดเนตสก์

ข่าวอาชญากรรม วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2557 7:48น.

 

กองทัพรัฐบาลยูเครน ปฏิบัติการโจมตีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนยูเครน ในเขตชานเมือง เปอร์โวไมสค์ ด้านนอกของแคว้น โดเนตสก์ โดยใช้เครื่องบินไร้คนขับในการตรวจจับตำแหน่งที่ตั้งและโจมตีด้วยปืนใหญ่

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กองกำลังรัฐบาลวางกำลังล้อมรอบพื้นที่การปิดล้อมสองเมืองที่อยู่ด้านนอกของเขตโดเนตสก์ ทำให้กองทัพยูเครนเข้าใกล้เมืองหัวใจสำคัญที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนถือครองอยู่ตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาขณะที่ กองทัพยูเครนอีกกลุ่ม ยังคงโจมตีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในเขตชานเมืองเปอร์โวไมสค์เป็นวันที่สอง กองทัพยูเครนได้ใช้เครื่องบินไร้คนขับในการตรวจจับตำแหน่งที่ตั้งของกลุ่มกบฎและโจมตีด้วยปืนใหญ่ กองกำลังยูเครนโหมกระหน่ำโจมตีกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ตั้งแต่ประธานาธิบดี เปโตร โปโรเชนโก ก้าวขึ้นสู่อำนาจ หลังได้รับเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมและทั้งสองฝ่ายก็ต่อสู้กันอย่างดุเดือด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นในการซื้อขายวันศุกร์หลังรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดประเมิน...

 

เงินดอลลาร์ที่กลับอ่อนค่าลงหลังจากแข็งค่าขึ้นติดต่อกันหลายวันลดแรงกด ดันต่อการเคลื่อนไหวของราคาทอง นักลงทุนเริ่มคลายกังวลเกี่ยวกับการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง สหรัฐฯ โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 1,293.19 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 11.69 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,279 และ 1,296 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ขายออกที่บาทละ 19,700 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 19,600 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 801.84 ตัน

 

เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในการซื้อขายช่วงค่ำของวันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากมี การรายงานข้อมูลจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ ซึ่งออกมาต่ำกว่าที่ตลาดประเมิน จึงเกิดการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไป โดยรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนกรกฎาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้นน้อยกว่าผลสำรวจที่ประเมินไว้ที่ 230,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราว่างงานขยับขึ้นสู่ระดับ 6.2% ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯช่วงท้ายเดือนกรกฎาคมโดยรอย เตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ปรับตัวลงสู่ 81.8 จากระดับ 82.5 ในเดือนก่อนหน้า

 

โดยผลสำรวจประเมินไว้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นช่วงท้ายเดือนกรกฎาคมจะอยู่ ที่ 81.9 ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาทองในภาพรวมของสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลงต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ที่ 3 อย่างไรก็ตามสำหรับราคาในประเทศได้รับปัจจัยบวกจากเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าลง หลังจากนักลงทุนต่างประเทศกลับมาขายสุทธิต่อเนื่องในตลาดหุ้นไทยการเคลื่อน ไหวของราคาทองในภาพรวมยังมีแนวโน้มอ่อนตัว แม้ว่ารายงานการจ้างงานและอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือนล่าสุดจะออกมาต่ำกว่าที่ตลาดประเมิน แต่รายงานดังกล่าวคงมีผลต่อการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ยในช่วงสั้นๆ เนื่องจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆ ของสหรัฐฯ โดยรวมแล้วบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เริ่มฟื้นตัว

 

ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาทองในวันนี้มีสัญญาณการฟื้นตัวในระยะสั้นหลัง จากราคาทองดีดตัวกลับขึ้นจากแนวรับบริเวณ 1,280 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากสามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขึ้นไปได้ ก็จะเป็นสัญญาณซื้อเก็งกำไรในระยะสั้นและคาดว่าราคาทองจะปรับตัวขึ้นไป เคลื่อนไหวที่แนวต้านบริเวณ 1,310-1,315 และ 1,330 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ต่อไป.

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (04/08/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรุงเทพฯ--4 ส.ค.--ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

- ทองปิดลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3

 

- รายงานจ้างงานสหรัฐต่ำกว่าตลาดประเมิน

 

- คาดทองแกว่งตัวระหว่าง 1,280-1,300 ดอลลาร์

 

ราคาทองปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 นักลงทุนต่างประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐจะลดปริมาณการผ่อนคลายทางการเงินต่อเนื่องไปจนถึงต้นไตรมาส 4 ก่อนที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า กดดันราคาทองอ่อนตัวลงสวนทางกับเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ส่วนเงินบาทในสัปดาห์นี้เริ่มอ่อนค่าลงหลังนักลงทุนต่างประเทศกลับมาขายสุทธิต่อเนื่องในตลาดหุ้นไทยส่งผลบวกต่อราคาทองในประเทศ

 

ราคาทองดีดตัวขึ้นจากแนวรับสำคัญทางเทคนิคบริเวณ 1,280 ดอลลาร์ หลังจากเงินดอลลาร์กลับอ่อนค่าลง โดยในช่วงค่ำของวันศุกร์เงินดอลลาร์เริ่มอ่อนค่าลงหลังมีรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดประเมินเช่นเดียวกับอัตราการว่างงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนกรกฎาคมมีจำนวนเพิ่มขึ้น 2.09 แสนตำแหน่ง เทียบกับผลสำรวจที่ประเมินไว้ที่ 2.3 แสนตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ 6.2%

 

ราคาทองคำยังมีแนวโน้มอ่อนตัว แม้ว่ารายงานการจ้างงานและอัตราการว่างงานของสหรัฐเดือนล่าสุดจะออกมาแย่กว่าที่ตลาดประเมิน แต่รายงานดังกล่าวคงมีผลต่อการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ยในช่วงสั้นๆ เนื่องจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆของสหรัฐโดยรวมแล้วบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจสหรัฐที่เริ่มฟื้นตัว

 

ราคาทองดีดตัวกลับขึ้นมาปิดที่แนวต้านบริเวณ 1,295-1,300 ดอลลาร์ หลังจากในระหว่างสัปดาห์อ่อนตัวลงเข้าสู่แนวรับบริเวณ 1,280 ดอลลาร์ ภาพเทคนิคของราคาทองยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัว แต่หากสามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1,300 ดอลลาร์ ขึ้นไปได้ ก็จะเป็นสัญญาณซื้อเก็งกำไรในระยะสั้นและคาดว่าราคาทองจะปรับตัวขึ้นไปเคลื่อนไหวที่แนวต้านบริเวณ 1,310-1,315 และ 1,330 ดอลลาร์ ได้ต่อไป

 

หากราคาโลหะเงินอ่อนตัวลงไปต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 20.0 ดอลลาร์ ก็จะเป็นสัญญาณขายกดดันให้ราคาปรับตัวลงไปเคลื่อนไหวที่แนวรับบริเวณ 19.50 และ 19.0 ดอลลาร์ต่อไป

 

โกลด์ฟิวเจอร์สเดือนส.ค.57

 

Close chg. Support Resistance

 

19,810 +90.00 19,650/19,550 19,850/20,000

 

ราคาทองดีดตัวขึ้นจากแนวรับบริเวณ 1,280-1,285 ดอลลาร์ ในกรณีที่ราคาทองกลับขึ้นมาปิดที่แนวต้านบริเวณ 1,300 ดอลลาร์ การเก็งกำไรในระยะสั้นสามารถเลือกเปิดสถานะขายเก็งกำไรจากแนวต้านบริเวณนี้ โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 1,310 ดอลลาร์

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 4 สิงหาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับป๋า

 

เลข non-farm ยังมีฤทธิ์เดชเช่นเดิม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

" ระวังนะทุกคน!!! วันนี้ดีเดย์วันแรก ห้ามใช้มือถือในรถ ตำรวจเริ่มจับแล้ววันนี้ ใช้บลูทูธหรือสมอลทอล์กได้ ห้ามเล่นไลน์หรือ Chat หรือ ดูเวปฯ ราคาทอง โดยเด็ดขาด ปรับ 400-1,000 บาท ถ้าถูกจับแล้วเถียงตำรวจไม่ยอมรับ จะถูกดำเนินคดีในชั้นศาลแทน "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ก็ยังแบบเดิมๆๆ ไม่ตัดกันสักที ให้กลายเป็นสัญญานนำทางให้เข้าซื้อ ก็ต้องมองดูเฉยๆๆ ต่อไปสำหรับใครมองตรงนี้ ส่วน รหัส 7,5,2 แบบไวไว น่าจะเกิดอาการทับกันตอนนี้ แต่มองเดาล่วงหน้า ก็น่าที่เส้นแดงตะกลับไปยืนบรเส้รแดงได้ ก็ยังมองในแง่ดีว่า ราคาทองน่าจะขยับขึ้น วนเวียนระดับ แค่ 129x อย่าพึ่งหวังไปไกล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรปออกมาเสมอตัว อาจทำให้ราคาทองไม่เคลื่อนไหว ในทางที่ลบต่อทอง เพราะพอออกระกาศทีไร มีแต่แย่ลง แย่ลง ทองร่วงทุกที

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...