ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รับรองได้ว่าโครงการนี้จะมีปัญหาตามออกมาอีกเป็นระลอกๆ :blush: ไม่อยากที่จะมองแง่ลบมาก

เดี๋ยวจะมีคนมาแย้งว่าเขาไม่ทำก็ด่า ก็ดูๆ กันไปครับ ปัญหาที่จะตามมามีอะไรบ้าง

1.

1.1

1.2

1.3

2. :wacko:

เด็กขายของ ตอบให้ 2 ข้อ

3. อยากให้คนใช้ระบบขนส่งมวลชนแต่ออกมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรกเพื่อให้คนไปซื้อรถยนต์ และต้องอัดงบคืนภาษี 3 หมื่นล้านบาท 

4. นโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ แต่ลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

ทำให้ราคาเบนซินและแก๊สโซฮอล์จึงต่างกันไม่มาก คนก็ใช้น้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของ ธนาคารกสิกรไทย ประจำวันพฤหัสบดีที่ 15 ก.ย. 2554 เวลา 08.16 น. มีดังนี้

 

ดอลลาร์สหรัฐฯ รับซื้อที่ 29.02 บาท ขายออก30.41บาท ยูโรอยู่ที่ระดับ41.82 บาทต่อยูโร ปอนด์ อยู่ที่ 48.22 บาทต่อปอนด์ เงินหยวนของจีน อยู่ที่ 4.87 และเงินเยนของญี่ปุ่น อยู่ที่ 0.39955

 

ที่มา : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

gf ปรับ เงินมาจิ้น 92000 วันที่ 19 ใช่ปะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า จำนวนผู้ไม่มีงานทำในอังกฤษเพิ่มสูงขึ้นถึง 80,000 ราย มาอยู่ที่ 2.51 ล้านรายในช่วง 3 เดือนจนถึงเดือนก.ค. ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี ขณะที่อัตราว่างงานอยู่ที่ 7.9%  โดยการว่างงานในกลุ่มเยาวชนพุ่งขึ้นถึง 78,000 ราย มาอยู่ที่ 973,000 ราย ส่วนผู้ที่ขอรับสวัสดิการระหว่างว่างงานเพิ่มขึ้น 20,300 ราย ในเดือนส.ค. แตะ 1.58 ล้านราย ขณะที่จำนวนผู้ที่มีงานทำร่วง 69,000 ราย มาอยู่ที่ 29.17 ล้านรายในช่วง 3 เดือนจนถึงเดือนก.ค.           ทั้งนี้ การจ้างงานภาคเอกชนจำนวน 41,000 ตำแหน่ง ช่วยชดเชยการจ้างงานในภาครัฐที่ร่วงลง 110,000 ตำแหน่งได้บางส่วน

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มิลาน 14 ก.ย.- ธนาคารกลางอิตาลีเปิดเผยว่า หนี้ภาครัฐของอิตาลีเพิ่มเป็น 1.911 ล้านล้านยูโร (78 ล้านล้านบาท) ในเดือนกรกฎาคม หลังจากพบว่าเป็นหนี้เกินเพดานที่กำหนดไว้ 1.9 ล้านล้านยูโรเมื่อเดือนที่แล้วเป็นครั้งแรก

 

อย่างไรก็ตามธนาคารกลางอิตาลีไม่ได้เปิดเผยตัวเลขหนี้ใหม่เทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งเป็นตัวกำหนดที่ประเทศกลุ่มยูโรโซนนิยมใช้เป็นมาตรวัดเพดานหนี้สาธารณะ สำหรับหนี้ภาครัฐในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของจีดีพี ในบ่ายวันนี้สมาชิกสภานิติบัญญัติอิตาลีได้ผ่านร่างงบประมาณ 54,200 ล้านยูโรเพื่อให้งบประมาณสมดุลภายในปี 2556. –

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

วอชิงตัน ดีซี/เบอร์ลิน (เอพี/รอยเตอร์ส) - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ มีกำหนดเดินทางเยือนโปแลนด์เป็นเวลา 1 วันในสัปดาห์นี้ เพื่อเข้าพบหารือกับบรรดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของกลุ่มประเทศยูโรโซน หลังเกิดกระแสความหวั่นวิตกว่ากรีซซึ่งมีหนี้สินล้นพ้นตัว อาจประสบภาวะล้มละลายและสูญเสียศักยภาพในการชำระหนี้ ขณะที่อิตาลีกำลังจะถูกมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ปรับลดความน่าเชื่อถือ นับเป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐ จะเข้าร่วมการประชุมกับบรรดาขุนคลังยูโรโซน

 

การตัดสินใจเดินทางไปยังโปแลนด์ของไกธ์เนอร์ ถือเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจแก่หลายฝ่ายไม่น้อย เนื่องจากขุนคลังของสหรัฐรายนี้ เพิ่งจะเดินทางกลับไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเสร็จสิ้นภารกิจในการเดินทางมาประชุมกับรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศจี-7 ที่เมืองมาร์กเซย์ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส การตัดสินใจเดินทางกลับมายังยุโรปอีกครั้งภายในระยะเวลาไม่กี่วันของไกธ์เนอร์ ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า รัฐบาลสหรัฐมีความกังวลต่อปัญหาหนี้สินของกลุ่มยูโรโซนอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาของรัฐบาลกรีซ ที่เหลือเงินสดอยู่ในมือเพียงพอสำหรับใช้จ่ายเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น

 

ข่าวการเยือนยุโรปครั้งที่ 2 ในรอบสัปดาห์ของไกธ์เนอร์ มีขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชื่อดัง เตรียมประกาศปรับลดเครดิต เรตติ้ง ของอิตาลี หนึ่งในชาติสมาชิกยูโรโซนที่กำลังประสบปัญหาหนี้สิน ท่ามกลางกระแสข่าวที่ระบุว่ารัฐบาลอิตาลีของนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี กำลังขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก เพื่อให้ช่วยรับซื้อหนี้สินของอิตาลี

 

ด้านนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมนีพยายามผ่อนคลายความวิตกกังวลความเป็นไปได้ที่กรีซจะล้มละลาย โดยกล่าวว่า ประเทศสมาชิกยูโรโซนทั้ง 17 ประเทศต้องสามัคคี และจะต้องหลีกเลี่ยงการล้มละลายที่ควบคุมไม่ได้ พราะหากปล่อยให้เกิดสิ่งนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อกรีซแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อทุกประเทศหรืออย่างน้อยก็หลายประเทศอย่างมโหฬาร เธอย้ำด้วยว่าประเทศในยูโรโซนจะต้องอยู่ด้วยกัน ซึ่งบ่งเป็นนัยว่าถ้ากรีซจะต้องออกจากกลุ่ม ก็จะมีประเทศอื่นที่ออกตามอย่างรวดเร็ว เยอรมนีมีจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการทุกอย่างเพื่อรักษากลุ่มยูโรโซนไว้ไม่ให้แตกสลาย นางแมร์เคิลพูดให้กำลังใจกรีซที่กำลังเผชิญวิกฤติหนี้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินก่อนล้มละลาย เธอบอกว่าสิ่งที่ได้ยินจากรัฐบาลกรีซคือความหวังที่จะเห็นความชัดเจนในการช่วยเหลือ และขณะนี้กรีซได้ทำในบางสิ่งที่ผู้ช่วยเหลือต้องการแล้ว

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิกฤติยูโรโซนยังน่าเป็นห่วง มูดี้ส์ลดเรตติ้งธนาคารชั้นนำฝรั่งเศส 2 แห่ง ขณะจีนประสานเสียงสหรัฐแสดงความวิตกปัญหาหนี้สินกรีซลุกลาม ผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมนีต่อสายหารือนายกฯ กรีซ ตลาดยุโรปดีดรับข่าวบวก คณะกรรมาธิการยุโรปเล็งเสนอออกพันธบัตรยูโร แต่ชาติเบิ้มในอียูยังค้าน

 คำประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารเครดิตอะกริกอล และธนาคารโซซิเยเต้เจเนราล ของฝรั่งเศส ลงสถาบันละ 1 จุด มีขึ้นไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าที่นายกฯ อังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนีและประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส จะประชุมทางไกลกับนายกฯ ยอร์ยุส ปาปันเดรอู ของกรีซในวันพุธ เพื่อกดดันให้ผู้นำกรีซเร่งเดินหน้าแผนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนในประเทศ ให้ได้ตามเป้าหมายงบประมาณที่รับปากไว้

 รัฐบาลกรีซกล่าวไว้ว่า เงินกรีซจะหมดคลังภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า หากยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือก้อนใหม่อีก 8 พันล้านยูโรในเดือนตุลาคมเพื่อใช้จ่ายเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ ปัญหาหนี้สินของกรีซซึ่งทำให้นักลงทุนหวั่นเกรงว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การก่อตั้งยูโรโซน กำลังทำให้รัฐบาลหลายชาติวิตกกังวล หลังจากเมื่อวันอังคารประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐ ได้แสดงความเป็นห่วงและเรียกร้องให้พวกผู้นำชาติยักษ์ใหญ่ของยุโรปรับผิดชอบโอบอุ้มสมาชิกที่อ่อนแอ รวมถึงขอให้ใช้นโยบายการคลังรวมกันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

 ในวันพุธ นายกฯ เวินเจียเป่า ของจีน กล่าวว่า รัฐบาลปักกิ่งเต็มใจจะช่วยเหลือคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน แต่ก็เตือนว่ายุโรปต้องยุติวิกฤติครั้งนี้ ซึ่งกำลังลุกลามไปถึงอิตาลี ไม่ให้ขยายตัว ขณะที่อีกด้านหนึ่ง เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลอินเดียเปิดเผยว่า รัฐมนตรีคลังกลุ่มบริกส์ที่ประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และแอฟริกาใต้ จะหารือข้อเสนอของบราซิลที่ต้องการให้เพิ่มการถือครองพันธบัตรของยูโรโซน ระหว่างการประชุมที่วอชิงตันวันที่ 22 กันยายนนี้

 

 รัฐสภาอิตาลีเตรียมจะลงมติอนุมัติแผนลดค่าใช้จ่าย 54 พันล้านยูโรในเย็นวันพุธ หลังเสร็จสิ้นการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายกฯ ซิลวิโอ แบร์ลุสโกนี ช่วงเช้า แต่แผนดังกล่าวไม่ได้รับการคาดหวังมากนักว่าจะช่วยแก้ปัญหาหนี้ของอิตาลีซึ่งเท่ากับ 120% ของจีดีพีได้

 

 ช่วงเดียวกับผู้นำยุโรปกำลังดิ้นรนป้องกันการเบี้ยวหนี้ของกรีซอยู่นั้น คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) และรัฐสภายุโรปในกรุงบรัสเซลส์ก็พยายามหาทางกอบกู้วิกฤตินี้ ด้วยการเตรียมจะเสนอให้สภารับรองการออกพันธบัตร "ยูโรบอนด์" ข่าวดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นยุโรปดีดตัวถ้วนหน้า

 จาเซ็ก รอสทอฟสกี รัฐมนตรีคลังโปแลนด์ ประธานสหภาพยุโรป (อียู) วาระปัจจุบัน กล่าวว่า อียูซึ่งมี 27 ชาติสมาชิก อาจพังทลายลงได้ "ยุโรปกำลังอยู่ในอันตราย" เขากล่าวต่อรัฐสภายุโรป "หากยูโรโซนแตก อียูจะไม่สามารถรอดพ้นจากผลลัพธ์ทั้งหลายทั้งปวงที่ตามมา"

 

 โฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานอีซีเห็นด้วยว่ายุโรปเจอวิกฤติครั้งใหญ่สุดในชั่วรุ่นนี้ เขาเรียกร้องรัฐบาลใน 17 ชาติยูโรโซนรับรองแผนโอบอุ้มกรีซรอบสองมูลค่า 160 พันล้านยูโรที่ผ่านความเห็นชอบแล้วเมื่อเดือน ก.ค. เขากล่าวด้วยว่า อีซีเตรียมจะเสนอทางออกเพิ่มเติมด้วยการออกยูโรบอนด์ ซึ่งเยอรมนีและบรรดาชาติเจ้าหนี้จากยุโรปเหนือยังคัดค้าน นักลงทุนเชื่อกันว่าการออกพันธบัตรร่วมกันของยูโรโซนจะลดต้นทุนการกู้ยืมของยูโรปลงได้.

 

ที่มา : ไทยโพสต์ (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ บอกว่า แบงก์ชาติอาจเชิญผู้ประกอบการค้าทองคำมาหารืออีกรอบ เพื่อรับมือกับความผันผวน หากเห็นว่าสถานการณ์ทองคำในตลาดโลกยังมีความผันผวนในระดับที่สูง

 

ด้านนายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ ยอมรับว่า ตอนนี้ราคาทองคำมีความผันผวนแรงขึ้นหากเทียบกับอดีต ซึ่งตามปกติราคาทองจะขยับต่อครั้งประมาณ 50 บาท แต่ตอนนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงประมาณ 200-300 บาทต่อครั้ง ซึ่งนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนจะต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น

 

สำหรับแนวโน้มราคาทองคำยังคงผันผวน ตราบใดที่กองทุนเก็งกำไรยังเข้ามาลงทุน โดยคาดว่าภายใน 3 เดือนข้างหน้าราคาทองมีโอกาสที่จะขยับขึ้นไปยืนที่ 1,920 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ที่มา : money channel (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก ระบุว่า เงินฝากของสถาบันและลูกค้ารายย่อยของธนาคารกรีซลดลง 19% ในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ขณะที่ธนาคารในไอร์แลนด์มียอดเงินฝากทรุดฮวบเกือบ 40% ในช่วง 1 ปีครึ่ง

 

ในเยอรมนีเงินฝากจากสถาบันการเงินลดลง 12% นับตั้งแต่ต้นปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ส่วนยอดเงินฝากประเภทเดียวกันของธนาคารฝรั่งเศส ลดลงประมาณ 6% นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553

 

ส่วนภาคธนาคารอิตาลี พบว่า แม้เงินฝากรายย่อยจะลดลงเพียง 1% แต่เงินฝากสถาบันกลับไหลออกเกิน 1 แสนล้านดอลลาร์ หรือลดลง 13%

 

ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินในสหภาพยุโรป หรืออียู ก็ปล่อยกู้ระหว่างกันน้อยลง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องหันไปขอเงินกู้จากธนาคารกลางยุโรป หรืออีซีบี ที่เปิดวงเงินกู้ชั่วคราวไว้ประมาณ 5 แสนล้านยูโร หรือประมาณ 6 แสน 8 หมื่นล้านดอลลาร์

 

ธนาคารในยุโรปกำลังสูญเสียยอดเงินฝาก เพราะบรรดานักออมและกองทุนที่หวั่นวิตกเรื่องหนี้สาธารณะยุโรปหันไปหาสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยมากกว่า ซึ่งแนวโน้มนี้จะทำให้สถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจเลวร้ายยิ่งขึ้น

 

ที่มา : money channel (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางนิวซีแลนด์มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% ในการประชุมวันนี้ เนื่องจากธนาคารกลางมีความวิตกกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก มากกว่าปัญหาเงินเฟ้อซึ่งเป็นมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ

 

นายอลัน บอลลาร์ด ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจนิวซีแลนด์ขยายตัวได้ดีเกินคาดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น แต่ภาวะผันผวนในตลาดการเงินทั่วโลกทำให้ธนาคารกลางกังวลว่าจะฉุดรั้งการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศทั่วโลกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม นายบอลลาร์ดกล่าวว่า หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ไม่มากนัก ก็มีความเป็นไปได้ว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก พร้อมกับกล่าวว่า แม้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็คาดว่าจะลดลงมาอยู่ใกล้ระดับ 2% ในไม่ช้านี้

 

นอกจากนี้ นายบอลลาร์ดกล่าวว่า การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในหลายภาคส่วนของประเทศ และยังทำให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าด้วย สำนักข่าวซินหัวรายงาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยว่า ยอดขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นแตะ 1.3415 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.294 แสนล้านดอลลาร์ของเดือนก.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 1.320 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งการที่ยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐพุ่งขึ้นเหนือระดับ 1.23 ล้าล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค.นั้น ถือเป็นหลักฐานล่าสุดที่บ่งชี้ว่า สถานะการคลังของสหรัฐยังคงอ่อนแอ โดย รายได้จากการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลสหรัฐอยู่ที่ 1.6925 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. ขณะที่รายจ่ายในเดือนดังกล่าวมีอยู่ถึง 3.034 แสนล้านดอลลาร์

 

        ทั้งนี้  สำนักงานงบประมาณแห่งรัฐสภาสหรัฐ (CBO) คาดการณ์ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐในปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 1.28 ล้านล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นอัตราส่วน 8.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งนับเป็นอีกปีหนึ่งที่ยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐเคลื่อนไหวอยู่เหนือระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นางแองเจลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวว่า กรีซ ดำเนินการมาถูกขั้นตอนแล้ว เพื่อให้ได้รับเงินช่วยเหลืองวดต่อไป พร้อมกับเตือนว่า การปล่อยให้ กรีซ ผิดนัดชำระหนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ที่ใช้เงินสกุลยูโร  นอกจากนี้ ยูโรโซน ยังไม่มีกลไกป้องกันการล้มละลายอย่างเป็นระบบจนกว่าจะมีการจัดตั้งกองทุนถาวร สำหรับช่วยเหลือประเทศสมาชิก ในปี 2556  ทั้งนี้ นายกฯเยอรมนี กล่าวต่อว่า ภารกิจสำคัญ คือ การป้องกันไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้อย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อกรีซ เท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบไปทั่วทุกประเทศ หรือ อย่างน้อยก็อาจจะส่งผลกับหลายประเทศ

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บีโอเจเตือนเอเชียรับมือผลกระทบวิกฤติหนี้ยุโรป (15/09/2554)

นายริวโซ มิยาโอะ สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่น อาจจะได้รับแรงหนุนน้อยเกินคาดจากความต้องการของต่างประเทศ ขณะที่วิกฤติหนี้ยุโรป ทวีความรุนแรงขึ้น และเศรษฐกิจสหรัฐ ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง โดย ขณะนี้ มีสัญญาณบ่งชี้ว่า วิกฤติหนี้ยุโรปกำลังสร้างความเสียหายต่อภาคการธนาคารและเศรษฐกิจยุโรป และเตือนว่า เศรษฐกิจเอเชียและประเทศตลาดเกิดใหม่ที่เคยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะเริ่มได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วชะลอการฟื้นตัว ทั้งนี้  นายมิยาโอะ ยืนยันการคาดการณ์ของบีโอเจที่ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจฟื้นตัวขึ้นปานกลางในช่วงต่อไปในปีนี้ แต่ก็เตือนถึงปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งรวมถึงการแข็งค่าของเยนและการปรับขึ้นของต้นทุนพลังงาน  และปัจจัยนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น"

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

-ปัจจัยที่น่าจับตามอง

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ และรายงานที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันพฤหัส: ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์คและรัฐฟิลาเดลเฟีย ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน  การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึง ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ และยูโรโซน และรายงานประจำเดือนของธนาคารกลางยุโรป

วันศุกร์: ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ

• ความคืบหน้าของแผนกระตุ้นการสร้างงานมูลค่า4.47 แสนล้านดอลลาร์ ของประธานาธิปดีโอบามา (American Jobs Act) ว่าจะผ่านการเห็นชอบจากสภาคองเกรสหรือไม่ 

• การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 20-21 ก.ย. นี้ ว่าจะมีการเสนอแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมออกมาหรือไม่ หลังอัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชะลอตัวลง

• ติดตามสถานการณ์ของธนาคารกลางยุโรปหลังการลาออกของนาย Juergen Stark

• ติดตามรายละเอียดของแผนช่วยเหลือหนี้กรีซโดย EU/IMF ว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อใด หลังกำหนดการเข้าตรวจสอบความคืบหน้าแผนขาดดุลงบประมาณเดิมถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 20 ก.ย. รวมถึง ติดตามปัญหาหนี้ของประเทศอื่นๆ ในยุโรป และสหรัฐฯ ด้วย

• ติดตามการกลับมาส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียหลังเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศมีท่าทีจะยุติ รวมถึงสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอื่นๆ เช่น ซีเรีย และเยเมน ต่อไป

• ความรุนแรงของฤดูกาลเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก ที่คาดว่าจะมีมากกว่า 6-10 ลูก ซึ่งอาจกระทบต่อการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ ในบริเวณอ่าวเม็กซิโก

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปภาวะตลาดเงิน

          - USD/THB อ่อนค่าเล็กน้อยที่ 30.23 โดยปรับตัวอ่อนค่าในช่วงเช้าตามตลาดในภูมิภาค โดยนักลงทุนเข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐฯจากการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน วันนี้คาดปรับตัวขึ้นไปที่ 30.35

          - EUR/USD อยู่ที่ระดับ 1.374 โดยยูโรแข็งค่าราว 0.46% จากการคลายความกังวลของนักลงทุนต่อการให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่กรีซ วันนี้คาดปรับตัวขึ้นไปที่ 1.379

          - USD/JPY อยู่ที่ 76.71 ทั้งนี้เงินเยนแข็งค่าจากความต้องการเงินเยนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาหนี้ในยุโรป วันนี้คาดปรับตัวลงไปที่ 76.40

 

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

          - ราคาน้ำมันดิบ ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนต.ค. ร่วงลง 1.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 88.91 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หลัง EIA ประกาศว่าสต็อกผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้น (แต่สต็อกน้ำมันดิบลดลง) และอุปสงค์น้ำมันเบนซินอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ราคาน้ำมันผันผวนต่อจากการที่ลิเบียจะเริ่มส่งออกน้ำมันได้

          - ราคาทองคำ ตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 3.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 1,826.50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง หลังมีความคลี่คลายในตลาดยุโรป โดยนักลงทุนหันไปลงทุนในหุ้นมากขึ้น คาดว่านักลงทุนรอมาตรการจากเฟดในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ

          - ตลาดหุ้นไทย ปิดลบราว 0.88% โดยยังคงมีแรงขายหุ้นขนาดใหญ่ซึ่งกดดันให้ตลาดยังคงอยู่ในแดนลบ จากความกังวลต่อวิกฤติหนี้ยุโรป ที่ยังไม่มีแนวทางแก้ไขอย่างชัดเจน ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ดูเหมือนจะกระตุ้นตลาดทุนมากนัก ต่างชาติยังคงขายต่อเนื่อง

          - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ พุ่งขึ้นราว 1% จากความพยายามแก้ไขปัญหาหนี้ ยูโรโซน หลังมีการคาดว่ากรีซจะได้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติม หากมีการใช้มาตรการเข้มงวดทางการคลังอย่างจริงจัง โดยจะเห็นว่าปัจจัยยุโรปเป็นแรงหนุนตลาดแม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาไม่ดีนัก

 

อัตราดอกเบี้ย

ไทย          ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (Repo rate)  3.50%

สหรัฐฯ        Fed Funds rate                     0-0.25%

ยูโรโซน       Refinancing Rate                     1.50%

อังกฤษ        Repo Rate                            0.50%

ญี่ปุ่น          Official Cash Rate              0.00-0.10%

 

ตลาดหุ้นที่สำคัญ

          - ตลาดหุ้นไทย ปิดลบราว 0.88% โดยยังคงมีแรงขายหุ้นขนาดใหญ่ซึ่งกดดันให้ตลาดยังคงอยู่ในแดนลบ จากความกังวลต่อวิกฤติหนี้ยุโรป ที่ยังไม่มีแนวทางแก้ไขอย่างชัดเจน ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ดูเหมือนจะกระตุ้นตลาดทุนมากนัก ต่างชาติยังคงขายต่อเนื่อง

          - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ พุ่งขึ้นราว 1% จากความพยายามแก้ไขปัญหาหนี้ ยูโรโซน หลังมีการคาดว่ากรีซจะได้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติม หากมีการใช้มาตรการเข้มงวดทางการคลังอย่างจริงจัง โดยจะเห็นว่าปัจจัยยุโรปเป็นแรงหนุนตลาดแม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาไม่ดีนัก

 

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

          - ราคาน้ำมันดิบ ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนต.ค. ร่วงลง 1.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 88.91 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หลัง EIA ประกาศว่าสต็อกผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้น (แต่สต็อกน้ำมันดิบลดลง) และอุปสงค์น้ำมันเบนซินอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ราคาน้ำมันผันผวนต่อจากการที่ลิเบียจะเริ่มส่งออกน้ำมันได้ใน 10 วันข้างหน้า

          - ราคาทองคำ ตลาด COMEX ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 3.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 1,826.50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง หลังมีความคลี่คลายในตลาดยุโรป โดยนักลงทุนหันไปลงทุนในหุ้นมากขึ้น คาดว่านักลงทุนรอมาตรการจากเฟดในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

ตลาดเงินนิวยอร์ค

          - EUR/USD อยู่ที่ระดับ 1.374 โดยยูโรแข็งค่าราว 0.46% จากการคลายความกังวลของนักลงทุนต่อการให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่กรีซ หลังเยอรมัน และฝรั่งเศสสร้างความเชื่อมั่นว่ากรีซยังอยู่ในยูโรโซน และจะได้เงินช่วยเหลือ โดยมีข้อแม้คือกรีซจะต้องปรับลดงบขาดดุล และสร้างวินัยทางการคลังให้ได้ อย่างไรก็ดียูโรยังคงมีแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกรีซ และประเทศที่มีปัญหาหนี้ที่ขึ้นสูง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการระดมทุนจากตลาด แม้จีนจะช่วยเหลือก็ตาม

 

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

          - USD/JPY อยู่ที่ 76.71 ทั้งนี้เงินเยนแข็งค่าจากความต้องการเงินเยนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาหนี้ในยุโรป อย่างไรก็ดีการที่เงินเยนแข็งค่าอย่างต่อเนื่องอาจสร้างแรงกดดันให้กระทรวงการคลังแทรกแซงค่าเงินเพื่อช่วยผู้ส่งออกญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดผันผวน

          - GPB/USD อยู่ที่ระดับ 1.5764 ทั้งนี้ปอนด์อ่อนค่าลงต่อจากความไม่มั่นใจในการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษ หลังตัวเลขที่ออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก ส่งผลให้นักลงทุนต้องการสินทรัพย์เสี่ยงลดลง 

 

ตลาดเงินเอเชีย 

          - สกุลเงินเอเชีย ปรับอ่อนค่า โดยนักลงทุนยังคงกังวลต่อสภาพคล่องในตัวเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หลังตลอดช่วงการซื้อขายเงินเอเชียยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือกรีซ โดยวานนี้ค่าเงินรูเปียห์อ่อนค่าแรงจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ส่วนสิงคโปร์ดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าต่อจากแรงซื้อกลับดอลลาร์

          - USD/THB อ่อนค่าเล็กน้อยที่ 30.23 โดยปรับตัวอ่อนค่าในช่วงเช้าตามตลาดในภูมิภาค โดยนักลงทุนเข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐฯจากการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และจากการที่นักลงทุนต้องการเสริมสภาพคล่องในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ความไม่แน่นอนในการแก้ปัญหาระหว่างเยอรมัน และฝรั่งเศส ที่จะให้ความช่วยเหลือกรีซ ยังเป็นแรงกดดันสำคัญต่อค่าเงินบาท และสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ในภูมิภาค

 

หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนที่ปรากฏอ้างอิงจาก Reuters ซึ่งอาจไม่ใช่ราคาทำการจริงในตลาด

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ทันหุ้น (วันที่ 15 กันยายน 2554)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...