ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

อรุณสวัสดิ์เพื่อนๆทุกคนครับ:lol: โหวตเพิ่มหนึ่งครับ สำหรับนายกสมาคมผู้ซื้อทอง...ฮ่าฮ่า ขอบคุณสำหรับข่าวสารด้วยครับ:lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ครับทุกท่าน

 

เงินบาทเปิด30.60/62 บาท/ดอลลาร์

20 กันยายน 2554 เวลา 08:21 น.

 

เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 30.60/62 บาท/ดอลลาร์ เหตุยังกังวลต่อเศรษฐกิจในยุโรป

 

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 30.60/62 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงอีกจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.46/48 บาท/ดอลลาร์

 

เงินบาทเช้านี้อ่อนค่าลงต่อจากเมื่อวาน เนื่องจากนักลงทุนยังมีความกังวลต่อเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป ที่ล่าสุดสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สาธารณะของอิตาลี โดยอ้างความอ่อนแอทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การคลัง และการเมืองในประเทศ จึงส่งผลให้นักลงทุนหันกลับไปถือครองสกุลเงินดอลลาร์

 

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงเปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 76.50/55 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3641/3646 ดอลลาร์/ยูโร

 

ทั้งนี้ คาดว่า วันนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าได้อีก และเป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นในภมิภาค โดยคาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.60-30.70 บาท/ดอลลาร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับพี่ใหญ่ ขอขอบคุณที่หาข่าวมาให้ได้ติดตาม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหน พี่ใหญ่ก็ยัง

เป็นพี่ใหญ่ของทุกคนจริงๆ ครับ (บอกให้รับเป็นนายกสมาคมผู้ซื้อทองแห่งประเทศไทย ก็ไม่ยอมรับซักที)

 

มีคนโหวตเยอะ ตูโดนด่าอีกแน่ :ph34r:

 

ช่วงนี้งานค่อนข้างเยอะครับ ปลีกตัวแทบไม่ได้เลย เลยขาดการสนทนากัน แต่ก็พยายามแว๊ปๆ มา

ตลอดครับ... :wacko:

สวัสดีครับ คุณ GB2514

มิกล้ารับครับ ท่านน้องอั้งชิกง ท่านน้องฯ ดู ท่านนายกสมาคมผู้ค้าทองแห่งประเทศไทย

ตั้งราคาช่วงนี้สิครับ เดาทางตามเซียนไม่ถูกจริงๆ ครับ

 

ตอนราคาทองเมืองนอกขึ้น 1,818 ท่านฯ ก็ตั้งราคาแบบมองลง และพอตอนราคาทองเมืองนอกลง

1,780 ท่านฯ ก็ตั้งราคาแบบมองขึ้น

 

เข้าตำรา " จริงคือเท็จ เท็จคือจริง ต้องใช้สมาธิความนิ่ง เข้าสยบ เพื่อรอทิศทางของแท้ "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา คาดว่า จะแถลงแผนการกระตุ้นรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปีในวันนี้ เวลา 21.30 น.ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งนับเป็นความพยายามครั้งล่าสุดในการปรับงบประมาณของรัฐบาลให้มีความสมดุล

 

สื่อท้องถิ่นของสหรัฐรายงานว่า มาตรการเพิ่มรายได้ฉบับใหม่นี้อาจจะมาจากการขึ้นภาษีชาวอเมริกันที่มีฐานะร่ำรวยและจากบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งจะคิดเป็นสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของแผนการลดยอดขาดดุลงบประมาณมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์

 

ขณะเดียวกันมีการคาดการณ์ว่า โอบามาจะเสนอแผนการดังกล่าวต่อคณะกรรมาธิการที่รับผิดชอบด้านการลดยอดขาดดุลงบประมาณซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก 12 คนจากทั้งพรรคเดโมแครทและรีพับลิกัน เพื่อปูทางสู่การรับรองร่างกฎหมายการสร้างงานมูลค่า 4.47 แสนล้านดอลลาร์ของโอบามา และเพื่อควบคุมยอดขาดดุลงบประมาณ

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา โอบามาได้เปิดเผยแผนการสร้างงาน ซึ่งรวมถึงการลดภาษีเงินได้ให้กับพนักงานและนายจ้าง รวมถึงเพิ่มการลงทุนใหม่ๆในโครงการสาธารณูปโภค ขณะที่สหรัฐเผชิญกับเศรษฐกิจที่ขยายตัวช้าลงและอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูงมาก

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า โอกาสที่แผนการขึ้นภาษีของประธานาธิบดีโอบามาจะผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสนั้น มีน้อยมาก เพราะมีแนวโน้มว่าแผนการดังกล่าวจะถูกคัดค้านจากพรรครีพับลิกัน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 กันยายน 2554)

 

 

ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐฯ เสนอออกกฎหมายภาษีใหม่ ตั้งเป้าทำรายได้ 1 ล้าน 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามแผนลดการขาดดุลงบประมาณระยะยาว 10 ปี

 

กฎหมายใหม่นี้จะใช้ชื่อว่า Buffet Tax ตามชื่อของวอร์เรน บัฟเฟ็ต มหาเศรษฐีอเมริกันที่ก่อนหน้านี้เสนอให้ปรับขึ้นภาษีเศรษฐีให้เท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป โดยได้กล่าวถึงกฎหมายนี้ระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ ที่โรสการ์เด้นของทำเนียบขาวเมื่อคืนที่ผ่านมา ก่อนมีการยื่นแผนลดการขาดดุลงบประมาณมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคณะกรรมาธิการพิเศษ

 

ตามแผนนี้โอบามาเสนอที่จะลดการใช้จ่ายในโครงการต่างๆ เช่น Medicare ซึ่งเป็นสวัสดิการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ, คนพิการ และคนจน มูลค่า 5 แสน 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การถอนกำลังทหารกลับจากอิรักและอัฟกานิสถานจะช่วยประหยัดเงินได้ถึง 1 ล้าน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมกันนี้โอบาม่ายังขู่จะวีโต้ หรือคัดค้านแผนลดการขาดดุลงบประมาณของพรรครีพับลิกันด้วย หากมีการเสนอลดงบสวัสดิการช่วยคนชรา แต่ไม่ยอมขึ้นภาษีเศรษฐีและบริษัทใหญ่ๆ

 

อย่างไรก็ตาม คาดว่าข้อเสนอของโอบาม่า มีโอกาสน้อยมากที่จะผ่านการลงมติของรัฐสภา แต่อาจได้เสียงสนับสนุนจากประชาชน เนื่องจากชูประเด็นให้คนอเมริกันทุกคนแบกรับภาระอย่างเท่าเทียม โดยเป้าหมายของแผนนี้ ก็เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯภายใน 10 ปี

 

ขณะที่ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ระบุว่า ควรตั้งเป้าลดงบประมาณมากกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดที่จะทำให้สหรัฐฯ สามารถควบคุมหนี้สาธารณะได้

 

ที่มา : ข่าวราคายาง (วันที่ 20 กันยายน 2554)

 

 

วอชิงตัน 20 ก.ย.-ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ เปิดเผยแผนมูลค่า 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 108 ล้านล้านบาท ที่จะตัดลดการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐ ด้วยการขึ้นภาษีคนรวย แต่สมาชิกพรรครีพับลิกันปฏิเสธแผนการดังกล่าว และแสดงความชัดเจนว่ามีโอกาสน้อยมากที่แผนการนี้จะผ่านรัฐสภาออกมาเป็น กฎหมาย

 

ผู้นำสหรัฐเรียกร้องให้ยกเครื่องกฎหมายภาษีของสหรัฐ รวมถึงกฎหมายบัฟเฟตต์ ซึ่งกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำสำหรับผู้ที่มีรายได้ปีละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป แม้จะส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันเพียงไม่กี่ล้านคน แต่ผู้ใกล้ชิดกับโอบามาบอกว่า จะเป็นการสร้างมาตรฐานการเสียภาษีที่มีความเป็นธรรมขึ้นในสังคมอเมริกัน แต่สมาชิกของพรรครีพับลิกันซึ่งคัดค้านอย่างต่อเนื่องต่อมาตรการการขึ้นภาษี กล่าวว่า แผนของโอบามาจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจที่กำลังต่อสู้เพื่อให้ฟื้นตัว เนื่องจากเป็นแผนการที่เพิ่มภาระให้ธุรกิจที่สร้างงาน

 

ทั้งนี้ นายมิตช์ แมคคอนเนลล์ ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาจากพรรครีพับลิกัน กล่าวว่า จะยับยั้งแผนการขึ้นภาษี ขณะที่นายจอห์น เบเนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรครีพับลิกัน ระบุว่าการขึ้นภาษีคนรวยจะไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง เขาเปรียบเทียบการให้รัฐบาลกลางได้เงินมากขึ้นจากภาษีก็เหมือนการให้ผู้เสพ ติดโคเคนได้โคเคนเพิ่มขึ้น

 

นักวิเคราะห์จากหลายสถาบันมองว่า โอบามาเสนอกฎหมายที่ผ่านได้ยากลำบาก และเป็นความพยายามของเขาที่จะได้คะแนนเสียงเพื่อชนะการเลือกตั้งอีกครั้งใน ปีหน้า.-ที่มา : สำนักข่าวไทย (วันที่ 20 กันยายน 2554)

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นสหรัฐร่วงหนัก ท่ามกลางความวิตกระลอกใหม่ถึงความเป็นไปได้ที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ และกลุ่มประเทศยูโรไม่มีการเคลื่อนไหวแก้ปัญหาดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ของสหรัฐ ปิดซื้อขายวานนี้ (19 ก.ย.) ดิ่งลง 108.08 จุด (0.94%) มาอยู่ที่ 11,404.01 จุด ขณะดัชนีเอส แอนด์ พี 500 ร่วงลง 11.92 จุด (0.98%) ที่ 1,204.09 จุด และดัชนีแนสแด็ก ลดลง 9.48 จุด (0.36%) ที่ 2,612.83 จุด

 

ตลาดตกอยู่ท่ามกลางแรงเทขาย หลังการหารือของรัฐมนตรีคลังสหภาพยุโรป (อียู) ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ล้มเหลวที่จะหาทางสร้างความมั่นใจให้กับตลาดว่า จะแก้ปัญหาวิกฤติหนี้กรีซ

 

บรรยากาศการซื้อขายในตลาดยิ่งตกอยู่ภายใต้แรงกดดันมากขึ้นน หลังมีรายงานว่า กระทรวงการคลังกรีซจัดประชุมกับกลุ่มเจ้าหนี้ อียู กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป เพื่อเจรจาเรื่องเป้าหมายงบประมาณที่วางไว้ การเคลื่อนไหวที่ทำให้ตลาดยิ่งคาดการณ์มากขึ้นว่า กรีซจะผิดนัดชำระหนี้

 

ความกังวลที่มากขึ้นดังกล่าว ยังฉุดให้ราคาน้ำมันร่วงลงมาอย่างมาก

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท เวสต์เท็กซัสอินเตอร์มีเดียท ส่งมอบเดือน ต.ค.ที่ตลาดไนเม็กซ์ ของสหรัฐ ดิ่งลง 2.26 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 85.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ ส่งมอบเดือนเดียวกัน ที่ตลาดลอนดอน อังกฤษ ร่วงลง 3.08 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,019.14 จุด

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  (วันที่ 20 กันยายน 2554)

 

 

 

เปิดแผนลดยอดขาดดุล 3 ล้านล้านดอลล์"โอบามา"-เน้นเก็บภาษีคนรวยช่วยชาติแก้ปัญหาขาดดุล

นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศแผนปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยการลดยอดขาดดุลลงราวครึ่งหนึ่ง จะมาจากการขึ้นภาษีประชาชนที่มีฐานะร่ำรวย และบริษัทขนาดใหญ่

ทั้งนี้ นายโอบามา ซึ่งประกาศแผนนี้ ที่โรส การ์เด้น ทำเนียบขาว พยายามเรียกเสียงสนับสนุนจากกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต ด้วยการให้สัญญาว่า โครงการประกันสังคมของชนชั้นกลาง จะไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปรับลดงบประมาณขนาดใหญ่

แผนปรับลดของนายโอบามาครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของร่างแผนการที่นายโอบามา จะส่งไปให้คณะกรรมาธิการในสภาคองเกรสพิจารณา โดยคณะกรรมาธิการชุดนี้มีภารกิจในการหาช่องทางออมเงินให้ได้อย่างน้อย 1.2 ล้านล้าน ดอลลาร์ในช่วง 10 ปีข้างหน้า

ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาสำคัญในแผนของนายโอบามา

การปรับขึ้นภาษี

แผนดังกล่าวจะระดมเงิน 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ผ่านทางการแก้กฎหมายภาษีสหรัฐ โดยเม็ดเงินจากเงินก้อนจำนวนประมาณ 8 แสนล้านดอลลาร์ จะมาจากการปล่อยให้กฎหมายลดหย่อนภาษีคนรวยสหรัฐหมดอายุลง หลังจากมีการใช้กฎหมายนี้มาตั้งแต่สมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช

ส่วนเงินอีกประมาณ 7 แสนล้านดอลลาร์ จะมาจากการยกเลิกกฎหมายลดหย่อนภาษีพิเศษ โดยนายโอบามา เสนอให้มีการจำกัดการลดหย่อนภาษีของครัวเรือนที่มีรายได้สูง และเสนอให้ยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษี สำหรับบริษัทน้ำมันและก๊าซ รวมถึงบริษัทที่ซื้อเครื่องบินไว้ใช้ภายในบริษัท

นายโอบามา เสนอให้มีการเก็บภาษีจากคนรวยมากยิ่งขึ้น โดยเรียกแนวคิดนี้ว่า "กฎบัฟเฟตต์" เนื่องจากข้อเสนอนี้ มาจากแนวคิดของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีที่เป็นพันธมิตรของนายโอบามา

ทั้งนี้ นายบัฟเฟตต์ ระบุว่า คนรวยอย่างเช่นตัวเขาเองนั้น มักจะจ่ายภาษีน้อยกว่าลูกจ้าง เพราะมีช่องโหว่ทางกฎหมายภาษี

สวัสดิการสำหรับผู้เกษียณอายุ

นายโอบามา หลีกเลี่ยงการปรับลดงบประมาณขนาดใหญ่ สำหรับโครงการสวัสดิการของชนชั้นกลาง เช่น โครงการประกันสังคมสำหรับผู้เกษียณอายุ และโครงการเมดิแคร์ (ระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย) ซึ่งแผนการนี้ รวมถึงการประหยัดงบประมาณ 2.48 แสนล้านดอลลาร์จากโครงการเมดิแคร์ โดยการประหยัดงบส่วนใหญ่จะมาจากการปรับลดการจ่ายเงินให้แก่บริษัทประกัน สุขภาพ

นอกจากนี้ นายโอบามา ยังเสนอแนะให้ประหยัดงบอีก 3.30 แสนล้านดอลลาร์ ผ่านทางโครงการสวัสดิการอื่นๆด้วย

เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐกล่าวว่า นายโอบามา จะใช้สิทธิวีโต้แผนการใดก็ตาม ที่มีการปรับลดการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประกันสุขภาพตามโครงการเมดิแคร์ นอกจากว่าจะมีการกำหนดให้คนรวยและบริษัทขนาดใหญ่จ่ายภาษี "ในสัดส่วนที่เป็นธรรม"

แผนการของนายโอบามา จะไม่ส่งผลให้มีการปรับเพิ่มอายุของผู้ที่มีสิทธิรับสวัสดิการเมดิแคร์ และไม่เสนอให้มีการปรับเปลี่ยนใดๆในโครงการประกันสังคม

การยุติสงคราม

นายโอบามา เสนอให้ประหยัดงบ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ จากการปิดฉากการทำสงครามในอิรัก และการเดินหน้าแผนการปรับลดกำลังพลในอัฟกานิสถาน

บรรดานักวิเคราะห์มองว่า เนื้อหาส่วนนี้เป็นเพียง "กลเม็ด" อย่างหนึ่ง เนื่องจากแผนนี้ ไม่ได้ระบุถึงนโยบายใหม่ และสหรัฐได้ประกาศไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้วว่าจะมีการถอนทหาร

การออมเงินที่ใช้ในการจ่ายดอกเบี้ย

แผนดังกล่าว ระบุว่า จะประหยัดงบให้ได้ 4.3 แสนล้านดอลลาร์ จากการชำระค่าดอกเบี้ย โดยเป็นผลจากการปรับลดงบประมาณในส่วนอื่น ๆ

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 20 กันยายน 2554)

 

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ คุณ GB2514

มิกล้ารับครับ ท่านน้องอั้งชิกง ท่านน้องฯ ดู ท่านนายกสมาคมผู้ค้าทองแห่งประเทศไทย

ตั้งราคาช่วงนี้สิครับ เดาทางตามเซียนไม่ถูกจริงๆ ครับ

 

ตอนราคาทองเมืองนอกขึ้น 1,818 ท่านฯ ก็ตั้งราคาแบบมองลง และพอตอนราคาทองเมืองนอกลง

1,780 ท่านฯ ก็ตั้งราคาแบบมองขึ้น

 

เข้าตำรา " จริงคือเท็จ เท็จคือจริง ต้องใช้สมาธิความนิ่ง เข้าสยบ เพื่อรอทิศทางของแท้ "

ขอคารวะ ท่านจิวแป๊ะทง "จริงคือเท็จ เท็จคือจริง ต้องใช้สมาธิความนิ่ง เข้าสยบ เพื่อรอทิศทางของแท้"

นับถือ นับถือ นับถือ เมื่อพบความจริงแท้ ขอท่านโปรดแจ้งแก่บรรดาศิษย์ทั้งหลายด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากนายเบอร์นันเก้ พรุ่งนี้

 

นับเป็นเรื่องที่ทั่วโลกต่างจับตามองอย่างใกล้ชิดอีกครั้ง กับการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20–21 ก.ย.นี้ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐรอบใหม่อีกครั้ง หลังจากที่สภาพเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่ได้กระเตื้องขึ้นแม้แต่น้อย

 

ยืนยันได้ชัดจากตัวเลขการว่างงานของสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 9% และตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แทบไม่ขยับเขยื้อนใดๆ

 

สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้บรรดาสมาชิกเฟดเริ่มตระหนักแล้วว่า ไม่อาจจะขอประวิงเวลารอดูเหตุการณ์เหมือนที่แล้วมาได้อีกต่อไป และจำเป็นต้องหาทางนำเงินใส่เข้าไปในระบบเพื่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นอีกครั้ง อันจะส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ภายใต้การผลักดันอย่างเต็มที่จากคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (เอฟโอเอ็มซี)

 

อย่างไรก็ตาม สมาชิกเฟดอีกส่วนหนึ่งกลับคัดค้านที่จะให้เฟดเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะหวั่นใจกับปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐได้เพิ่มจาก 3.6% ในเดือน ก.ค. มาอยู่ที่ 3.8% ในเดือน ส.ค. ซึ่งเกินเพดานที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% อีกทั้งยังมีแนวโน้มจะขยับขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานที่ขยับพุ่งขึ้นทั่วโลก และเป็นช่วงที่เฟดใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ด้วยการทุ่มซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากถึง 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

 

 

เฟด จึงได้รับเสียงตำหนิมากมายจากเหล่าสมาชิกสภาคองเกรสที่เป็นตัวการกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ จนทำให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายของเฟดไม่ต้องการลงมือกระทำการใดๆ ที่จะไปกระตุ้นกระแสต่อต้านเฟดภายในสภาคองเกรสให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

 

ปัญหาเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจที่เดินหน้าเข้าสู่ภาวะถดถอยจึงกลายเป็นความขัดแย้งภายในของบรรดาผู้กำหนดนโยบายของเฟด ที่นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักต่างลุ้นระทึกว่า เฟดจะเลือกทางไหนระหว่างกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป หรือชะงักไว้ก่อนเพื่อชะลอเงินเฟ้อ

 

ทว่า เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าหน้าที่หลักของเฟดในตอนนี้ก็คือการแก้ปัญหาตัวเลขการว่างงาน ความเป็นไปได้ที่ว่าเฟดจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปจึงมีมากกว่า

 

ทั้งนี้ หากเฟดเลือกที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ท่ามกลางเงินเฟ้อขาขึ้น นักวิเคราะห์หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เฟดพอจะรอมชอมให้ประกาศใช้ออกมาได้ก็คือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า ปฏิบัติการ “Operation Twist” มากกว่าที่จะใช้มาตรการคิวอี เนื่องจากมาตรการพิมพ์ธนบัตรใหม่ออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาล ให้ผลไม่ตรงตามประโยชน์ที่วาดหวังกันไว้

 

การกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวทางของ Operation Twist ก็คือการปรับสัดส่วนการถือครองพันธบัตรของเฟดให้เป็นตราสารระยะยาวมากขึ้น และลดการถือครองตราสารระยะสั้น หรือก็คือการยืดอายุการชำระหนี้ออกไป โดยมีเป้าหมายเพื่อกดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น เลี่ยงการเก็งกำไร และกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น

 

พูดให้ง่ายว่า วิธีการดังกล่าวก็คือการที่เฟดจะออกพันธบัตรระยะสั้นมาเปลี่ยนกับพันธบัตรระยะยาว โดยไม่จำเป็นจะต้องใช้เงินเพิ่มเติม เพื่อกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะเป็นการหลีกเลี่ยงวิธีการแบบเดิมที่ต้องทุ่มเงินเข้าระบบการเงินแบบไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม จนทำให้เกิดเงินเฟ้อเหมือนที่เป็นมา

 

ทั้งนี้ สหรัฐเคยนำแนวทาง Operation Twist มาใช้แล้วครั้งหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ 1960 หรือระหว่างปี 2504-2508 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว และขายตั๋วเงินคลังระยะสั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินผ่านจากจัดการปริมาณเงินในระบบ ก่อนที่จะประกาศใช้อีกครั้งในเดือน มี.ค. 2552 แต่มีเป้าหมายที่ต่างออกไปก็คือเพื่อทำให้ปัจจัยแวดล้อมในระบบการเงินที่ตึงตัวอยู่ผ่อนคลายลง

 

Operation Twist จึงเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด และเหมาะสมที่สุดหลังจากที่เฟดเพิ่งจะผ่านพ้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่อย่างคิวอีมาแล้วสองรอบ

 

เพราะคิวอีทำให้เฟดต้องเข้าถือพันธบัตรระยะสั้นในมือมากขึ้น ขณะที่ Operation Twist จะช่วยเปลี่ยนพันธบัตรระยะสั้นเหล่านั้นให้เป็นระยะยาวซึ่งจะลดดอกเบี้ยในระยะยาว จนทำให้ธนาคารยอมปล่อยกู้ให้กับบรรดาบริษัทห้างร้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือไปจากการยืดระยะเวลาการคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับใกล้ศูนย์เพิ่มออกไปอีก 2 ปี ที่หลายฝ่ายในเฟดมองว่าอาจเป็นช่องทางให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ฉวยโอกาสเก็บเงินสดไว้ แทนที่จะนำไปใช้ในการลงทุนและการจ้างงาน

 

สำหรับความเป็นไปได้อีกทางที่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าเฟดอาจจะเลือกลงมือทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็คือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ธนาคารพาณิชย์สำหรับทุนสำรองส่วนเกินที่นำมาฝากไว้ที่เฟด ซึ่งเท่ากับเป็นการบีบบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้มากยิ่งขึ้นเพื่อแลกกับอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว

 

ทว่า ปัญหาที่ตามมาก็คือ ธนาคารพาณิชย์ไม่อาจกำหนดดอกเบี้ยให้สูงได้ในช่วงที่เจ้าของกิจการหรือประชาชนคนธรรมดาต่างแสวงหาหนทางปรับลดต้นทุนกู้ยืมของตนเองลง

 

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า เครื่องมือทั้งหมดที่พอจะให้เฟดใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้ขณะนี้ ล้วนส่งผลเสียต่อเฟดแทบทั้งสิ้น

 

แต่เมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้เพื่อให้เกิดการจ้างงาน บรรดานักเศรษฐศาสตร์จึงเห็นตรงกันว่า Operation Twist ดูจะเป็นทางเลือกที่อันตรายน้อยที่สุดสำหรับเฟดในเวลานี้แล้ว

 

ที่มา : ข่าวราคายาง (วันที่ 20 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณทุกๆข่าวสารค่ะ วันนี้เก็บดอยอีกแล้ว เมื่อวานยังไม่ได้ปล่อยของเลย ค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูโรร่วงลงในช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย โดยเคลื่อนตัวใกล้แตะระดับ ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนเมื่อเทียบกับยูโร หลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P)  ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี และนักลงทุนวิตกว่า กรีซจะสามารถกู้เงิน จากเจ้าหนี้ระหว่างประเทศได้หรือไม่ 

        ความกังวลเรื่องยุโรป ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลง ทำให้ นักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยง และทำให้ดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงแตะระดับต่ำสุดใน รอบ 1 เดือน ขณะที่สกุลเงินของประเทศเกิดใหม่หลายประเทศ อาทิ เรียลของ บราซิล เผชิญกับแรงกดดันอย่างหนัก 

        ยูโรร่วงลง 0.6% มาที่ 1.3610 ดอลลาร์ โดยเคลื่อนตัวใกล้แตะระ ดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนที่ 1.3945 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว 

        ยูโรฟื้นตัวขึ้นในช่วงสั้นๆในช่วงท้ายตลาดนิวยอร์ควานนี้ หลังจากกรีซ เปิดเผยว่า ใกล้บรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ แต่นักลงทุนก็ยังไม่เชื่อ มั่น

        นายอีวานเจลอส เวนิเซลอส รมว.คลังกรีซกล่าวว่า การประชุมทาง ไกลของกีซกับเจ้าหนี้ระหว่างประเทศนั้น น่าพอใจ และจะดำเนินต่อไปในวันนี้  แต่เขาก็เสริมว่า ยังคงมีสิ่งที่ต้องดำเนินการอยู่

        S&P ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ซึ่งทำให้มีแรงขายยูโรครั้ง ใหม่ โดย S&P ดำเนินการก่อนมูดี้ส์ ซึ่งเทรดเดอร์หลายคนคาดการณ์มานานหลาย สัปดาห์แล้วว่า มูดี้ส์อาจจะลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี

        ยูโรร่วงลง 0.6% มาที่ 104.17 เยน โดยฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดใน รอบ 10 ปีที่ 103.90 เยนที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว

        ความวิตกว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะปั่นป่วนครั้งใหญ่ เมื่อดูจากความวุ่นวาย ในยุโรปและภาวะชะลอตัวในสหรัฐนั้น กำลังทำให้นักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์ และสกุลเงินของประเทศเกิดใหม่ 

        ดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.6% มาที่ระดับต่ำสุดใหม่ในรอบ 1 เดือน ที่ 1.0148 ดอลลาร์ 

        นักลงทุนที่กำลังวิตกต่อวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ กำลังขายสินทรัพย์ที่พวก เขาคิดว่ามีสภาพคล่องจำกัด และหันกลับไปถือดอลลาร์ ซึ่งเป็นสกุลเงินที่มีสภาพ คล่องสูงสุด

        แต่ดอลลาร์อาจจะได้รับผลกระทบ ถ้าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ผ่อน คลายนโยบายลงมากกว่าที่ตลาดคาดไว้ในวันพรุ่งนี้ แต่นักวิเคราะห์หลายคนก็คาดว่า อัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างสูงของสหรัฐจะขัดขวางเฟดไม่ให้ผ่อนคลายนโยบายครั้งใหญ่

        คาดว่าเฟดจะพยายามทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ต่ำอยู่แล้วนั้น ลดลง อีกในสัปดาห์นี้ด้วยการปรับไปที่พันธบัตรระยะยาวในปฏิบัติการที่เรียกว่า Operation Twist

        ส่วนเยน/ดอลลาร์ทรงตัวที่ 76.60 ใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่  75.94 ที่ทำไว้ในเดือนที่แล้ว แต่ความระมัดระวังเกี่ยวกับการแทรกแซงของญี่ปุ่น ได้สกัดเยน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ทันหุ้น (วันที่ 20 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณทุกๆข่าวสารค่ะ วันนี้เก็บดอยอีกแล้ว เมื่อวานยังไม่ได้ปล่อยของเลย ค่ะ

ให้กำลังใจ เพื่อนๆที่มีทองแท่งในพอร์ต ด้วยข่าวนี้

 

ราคาทองสปอตปรับตัวขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากความ สนใจในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น หลังจากการที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์(S&P)ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ซึ่งได้เพิ่มความวิตกเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ ของยูโรโซน 

        ณ เวลา 09.28 น.ตามเวลาไทย ราคาทองสปอตขยับขึ้นอยู่ที่ 1,782.30 ดอลลาร์/ออนซ์ 

        ส่วนราคาทองส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาด COMEX บวก 0.4% มาที่  1,786.20 ดอลลาร์/ออนซ์

        S&P ได้ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีลง 1 ขั้น โดยระบุว่า อิตาลีมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง และแผน ปฏิรูปของรัฐบาลจะไม่ช่วยได้มากนัก 

        คาดว่าข่าวดังกล่าวจะหนุนราคาทอง หลังจากที่ราคาทองสปอต ร่วงลง 1.8% เมื่อวานนี้ ขณะที่ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และดอลลาร์ ดีดตัวขึ้น

        นักลงทุนกำลังจับตาดูการประชุมนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ในวันนี้และวันพรุ่งนี้ เพื่อดูว่าเฟดจะใช้มาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ 

        สภาทองคำโลกเปิดเผยว่า อุปสงค์ทองของจีนอาจจะเพิ่มขึ้น 10% หรือราว 70 ตันในปีนี้ ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคเลือกทองเป็นการปกป้องความมั่งคั่ง รูปแบบหนึ่ง

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ทันหุ้น (วันที่ 20 กันยายน 2554)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฟด จะจัดประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินในวันอังคารและพุธนี้ และจะประกาศผลการประชุมหลังเที่ยงคืนวันพุธตามเวลาประเทศไทย นักวิเคราะห์คาดว่า เฟดอาจจะปรับสัดส่วนงบดุลที่มีขนาด 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ และเพิ่มสัดส่วนการถือครองหลักทรัพย์ระยะยาวมากขึ้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวอาจกดดันอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ลดต่ำลง การที่เฟดกดให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวลดลง อาจจะทำให้นักลงทุนโยกเงินเข้าสู่หุ้น หรือหุ้นกู้เอกชนมากยิ่งขึ้น เพื่อผลตอบแทนที่สูงกว่า

 

ทั้งนี้ เฟดเคยดำเนินมาตรการซื้อพันธบัตรระยะยาวมาแล้วในอดีต โดยมาตรการดังกล่าวเรียกว่า “operational twist” ซึ่งใช้ในปี 2503-2508 เพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เฟดจะต้องตัดสินใจว่าจะใช้มาตรการ twist รอบใหม่ในระดับที่เข้มข้นขนาดไหน ซึ่งหากดำเนินมาตรการแบบค่อยเป็นค่อยไป เฟดก็จะปล่อยให้หลักทรัพย์ที่ถือครองไว้ครบกำหนดไถ่ถอนก่อน แล้วจึงแทนที่หลักทรัพย์ดังกล่าวด้วยพันธบัตรที่มีอายุยาวกว่า แต่หากดำเนินแผนแบบเข้มข้น เฟดก็จะขายหลักทรัพย์ระยะสั้น และเข้าซื้อหลักทรัพย์ระยะยาวแทน ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้

 

ที่มา : money channel (วันที่ 20 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) ให้สัมภาษณ์ Money Channel ว่า ขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจโลก ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสหภาพยุโรป หรือ อียู และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ในคืนนี้ว่าจะให้กรีซ เบิกเงินงวดที่ 6 หรือไม่

 

ถ้าไอเอ็มเอฟ ไม่อนุมัติเงินช่วยเหลือกรีซ จะทำให้กรีซผิดนัดชำระหนี้อย่างเป็นทางการ ปัยหาวิกฤตหนี้ยุโรปก็จะลุกลามอย่างรวดเร็ว โดยอิตาลีก็จะเป็นรายต่อไป หลัง เอสแอนด์พี พึ่งจะหั่นเครดิตอิตาลีลง 1 ขั้น ซึ่งเป็นประเด็นที่นักลงทุนกังวลมาก

 

และนั้นจะทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐก็จะแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน อาจจะทะลุ 31 บาทต่อดอลลาร์ได้ จากระดับ 30.60 บาทต่อดอลลาร์ในปัจจุบัน ส่วนตลาดหุ้นไทยก็จะตกต่ำอย่างรุนแรงเช่นกัน โดยขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณการเทขายบอนด์ในเอเชียออกมาแล้ว เพื่อหันไปซื้อดอลลาร์แทน

 

นางสาวอุสรา หวังว่า ในการตัดสินใจคืนนี้ ไอเอ็มเอฟ จะตระหนัก ถึงผลกระทบทั่วโลก และยอมผ่อนผันให้กรีซเบิกจ่ายเงินงวดนี้ไปก่อน เพื่อซื้อเวลา ไม่ให้วิกฤตยุโรป ปะทุขึ้นเร็วๆ นี้

 

ที่มา : money channel (วันที่ 20 กันยายน 2554)

 

 

สกุลเงินยูโรร่วงลง 0.6% สู่ระดับ 1.3610 ดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตราโตเกียวช่วงเช้าวันนี้ หลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีลง 1 ขั้น ซึ่งข่าวดังกล่าวส่งผลให้ยูโรแกว่งตัวเข้าใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนที่ 1.3945 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว

          S&P ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีลง 1 ขั้น สู่ระดับ A/A-1 จากอันดับเดิมที่ A+/A-1+ พร้อมกับคงแนวโน้มความน่าเชื่อถือไว้ที่ "เชิงลบ" โดยระบุว่าอิตาลีซึ่งมีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยูโรโซนนั้น ยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวที่อ่อนแอ นอกจากนี้ สถานการณ์ด้านการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาลของอิตาลีก็อยู่ในภาวะที่เประบางมาก

          นอกจากนี้ สกุลเงินยูโรยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่ากรีซอาจจะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ หลังจากการประชุมฉุกเฉินระหว่างกรีซ สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อวานนี้ไม่มีการส่งสัญญาณว่าไอเอ็มเอฟและอียูจะให้ความช่วยเหลือครั้งใหม่ต่อกรีซ

 

 

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ทันหุ้น (วันที่ 20 กันยายน 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จัสติน ยีฟู หลิน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และรองประธานอาวุโสของธนาคารโลกกล่าวว่า ในขณะที่อเมริกาและยุโรปต่างก็เผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่ถดถอยและวิกฤตหนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของจีนจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างมาก

 

นายหลินกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าวซินหัวในกรุงวอชิงตันว่า ประชาคมโลกที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดแนบแน่น การเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาถือว่าเป็นกลไลสำคัญในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของโลก

 

“ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของโลก ถ้าเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตเข้มแข็งอย่างนี้ ถือว่าจีนจะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยเศรษฐกิจโลกพ้นวิกฤตได้" เขากล่าวหลังงานแถลงข่าวให้สื่อมวลชนรับทราบถึงรายงานเรื่อง การพัฒนาโลก ปี 2555 ซึ่งนำเสนอก่อนการประชุมประจำปีที่จะจัดขึ้นในเร็วๆนี้

 

ประเทศจีนมีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อยๆในการแสดงความคิดเห็นต่างๆเรื่องนโยบายที่สำคัญ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นในกลุ่มประเทศ G20 และองค์กรสำคัญระดับโลก และยังได้รับเสียงชื่นชมสำหรับบทบาทในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของโลก

 

แต่นายหลินเน้นย้ำว่า 60% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลกรวมกันยังถือว่าประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงมีส่วนในการสร้างและพัฒนา ในขณะที่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เริ่มส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน การส่งออก และเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในช่วงฤดูร้อนนี้

 

ผู้กำหนดนโนบายในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่รวมถึงจีน ควรจะต้องตื่นตัวเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนจากภายนอกหลายประการและติดตามแรงกดดันเงินเฟ้อภายในประเทศและภาวะฟองสบู่สินทรัพย์

 

จีนยังสามารถดูแลสภาวะเศรษฐกิจและการจ้างงานให้เติบโตอย่างมั่นคงและรวดเร็ว ในขณะที่อัตราการออมทรัพย์ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง และแนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรม โครงการสร้างสาธารณูปโภคใหม่ๆ และโครงการพัฒนาชนบทก็ยังคงมีสูงเช่นกัน

 

เขากล่าวว่า ความกังวลอีกระลอกเรื่องหนี้กลุ่มประเทศยูโรโซนและการปรับลดเครดิตของสหรัฐนั้น ถือเป็นปัจจัยที่สั่นคลอนตลาดการเงิน

 

“ผู้กำหนดนโยบายในประเทศที่พัฒนาแล้วควรคำนึงผลกระทบที่ต่อเนื่องเมื่อนำนโยบายมาใช้" เขากล่าวเตือน

 

นายหลินกล่าวว่า สกุลเงินดอลลาร์และยูโรต่างก็เป็นสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศ และทั้งสหรัฐและกลุ่มประเทศยูโรโซนต่างก็มีกำลังและทรัพยากรที่จะช่วยแก้ปัญหาปัญหาเศรษฐกิจได้

 

เขายืนกรานว่า ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในการดำเนินนโยบายกระตุ้นการคลังระยะสั้น เพื่อลดปัญหาการว่างงานและการปรับเปลี่ยนนโยบายการคลังในระยะยาว

 

“แนวทางหนึ่งที่ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาด คือ การใช้มาตรการกระตุ้นระยะสั้นด้านการคลัง เพื่อหมุนเงินไปยังโครงการที่จะช่วยลดภาวะชะงักงันของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว" เขากล่าว ทั้งนี้ นายหลินยังเสริมว่า วิธีการเหล่านี้ช่วยให้เกิดการสร้างงาน พัฒนาการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ในระยะยาว

 

นอกจากนี้ นายหลินยังได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับความวิตกกังวลในตลาดอันเนื่องมาจากวิกฤตหนี้ยูโรโซนและการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนตัวในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วว่า โอกาสที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยนั้นยังคงมีอยู่ แม้ว่าจะมีโอกาสอยู่น้อยก็ตามในอนาคตอันใกล้นี้

 

นายหลินเตือนว่า ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำอาจจะเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับญี่ปุ่น ซึ่งตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะงักงันเป็นเวลานานและอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง

 

ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศมีกำหนดการประชุมประจำปีในเดือนนี้ที่กรุงวอชิงตัน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 กันยายน 2554)

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฟดมาคืนนี้และพร่งนี้สงสัยทองร่วงแน่ๆๆ อยากจะร้องไห้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อยากมาบ่น มาโม้ว่า หลังจากอ่านข่าวเสร็จ

ได้แต่คิดว่า ระยะ 1 วันนี้ น่ากลัวว่า ราคาทองจะลง เพราะ ค่าเงินยูโรจะอ่อนค่าลง ซึ่งจะทำให้สกุลเงินดอลล์สหรัฐ

กลับมาแข็งค่าขึ้น พลอยทำให้ค่าเงินทั่วโลกปรับตัวอ่อนค่าลง เกือบทั้งหมด ผลจะทำให้ราคาทองคำแท่ง เมื่อ

ปรับเปลี่ยนเป็นสกุลเงินชาตินั้นๆ ราคาขายจะสูง นักลงทุนฯ จะเทขายทำกำไร แล้วหันมาถือครองดอลล์สหรัฐ

เพราะ ธนาคารกลาง 5 ชาติ อยากได้ US Dollar

 

แต่ถ้าผ่านวันนี้ไปได้ โดยราคาทองร่วงไม่เยอะ ก็ปลอดโปร่ง จาก Fed ในวันพรุ่งนี้ ถ้ามีการเลื่อนอะไรออกไปอีก

บอกว่า คิดไม่ออก กำลังปรึกษากันอยู่ แต่เรื่องจริงๆ ที่ซ่อนอยู่ อาจจะเป็นกังวลเรื่อง ยูโรหาเหามาใส่หัว US$

คือ US Dollar แข็งมากช่วงนี้ ประกอบกับ ตัวเลขเศรษฐกิจภาคอื่นๆ เริ่มปรับแนวโน้มดีขึ้น ยกเว้น ภาคการจ้างงาน

ซึ่งประเด็นการจ้างงาน โอบามา คงไม่ต้องการให้เข้ามายุ่ง เพราะกำลังยื่น พระราชบัญญัติ สู่สภาคองเกรสเพื่อ

พิจารณางบประมาณสร้างงานอยู่ เดี๋ยวหาว่า ขัดแย้งภายใน แล้วเมื่อ Fed ไม่มีการหยิบกระต่ายออกจากหมวกเหมือนเดิม

ค่าเงิน US Dollar. อาจกลับมาอ่อนตัว แล้วทำให้ราคาทองพุ่งขึ้นได้

 

ก็ต้องติดตาใว่า มันจะเป็นอย่างไรต่อไป หยุดการบ่นไว้ก่อน ไปทำงานประจำก่อนนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...