ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

Fed Signals No Need to Ease More Unless U.S. Growth Falters

By Joshua Zumbrun and Jeff Kearns - Apr 4, 2012 3:28 AM GMT+0700

 

http://www.bloomberg.com/news/2012-04-03/fomc-saw-no-need-of-new-easing-unless-growth-slips-minutes-show.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

เทียบกันค่ะ ของปุย 1646 24024 23979 แต่ซื้อขายไม่ได้ ต้องตั้งราคา

 

ของเรา. Tdc ซื้อขายได้เลยคะ แต่ราคาซื้อขายจะสู้เจ้าอื่นไม่ค่อยได้ :70

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่มา สุทธิชัยหยุ่น

 

ตลาดหมดหวังQE3ขายสินทรัพย์เสี่ยงร่วงทั่วโลก

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555AAAขนาดตัวอักษร| |

 

นักลงทุนหมดหวังเฟดปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หลังไม่มีสัญญาณใช้ QE3 ส่งผลให้มีการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกอีกระลอก โดยหุ้นสหรัฐปิดลบหลังเฟดมองแนวโน้มเศรษฐกิจยังซบเซา รวมถึงฟากฝั่งยุโรปเริ่มกังวลเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤติหนี้สาธารณะที่ยังปกคลุมต่อเนื่อง โดยตลาดเริ่มจับตารมว.คลังจี-20 ประชุม 20 เม.ย.เพิ่มทุนไอเอ็มเอฟรับมือวิกฤติโลก ขณะที่ราคาสินคาโภคภัณฑ์อ่อนตัวลงทั้งราคาน้ำมันไนเม็กซ์ปิดร่วงลงกว่า 1 ดอลลาร์ที่ 104 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังนักลงทุนผิดหวังเฟดส่งสัญญาณชัดเจนไม่ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้ ด้านราคาทองร่วงกว่า 7 ดอลลาร์มาอยู่ที่ 1,670 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพราะนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์ในอินเดีย

 

 

ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นสำคัญสหรัฐปิดตลาดร่วงลงหลังธนาคารกลางสหรัฐกังวลปัญหาจ้างงานฉุดความพยายามฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดวานนี้ (3 เม.ย.) ร่วงลง 64.94 จุดหรือ 0.5 % ที่ 13,199.55 ดัชนีสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) 500 ขยับลง 5.66 จุดหรือ 0.4% ปิดที่ 1,413.38 และดัชนีแนสแด็ก ปรับตัวลง 6.1 จุดหรือ 0.2 % ปิดที่ 3,113.57

 

หุ้นสหรัฐปิดในแดนลบหลังจากธนาารกลางสหรัฐ (เฟด)แสดงความกังวลเรื่องการชะลอตัวของการจ้างงานว่าจะส่งผลกระทบต่อความพยายามฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ในโอกาสที่เฟดเปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการผู้กำหนดนโยบายการเงินของเฟด เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา

 

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อใหม่ของโรงงานในสหรัฐ ดีดตัวขึ้น 1.3% ในเดือนก.พ. ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.5% ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าทุน ไม่นับรวมเครื่องบิน ปรับตัวขึ้น 1.7% ในเดือนก.พ. ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.2% และยอดการส่งมอบสินค้าใหม่ของโรงงาน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.4%

 

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยุโรปมีการปรับตัวลงในการซื้อขายช่วงแรกวานนี้ หลังจาก

 

ทำสถิติพุ่งขึ้นมากที่สุดภายในวันเดียวในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยหุ้นกลุ่มเหมืองร่วงลงมากที่สุด หลังจากทะยานขึ้นเมื่อวานนี้รับข้อมูลภาคการผลิตที่แข็งแกร่งของสหรัฐ

 

โดยนักวิเคราะห์คาดว่า ตลาดคลายความกังวลไปบ้างจากข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐ โดยเศรษฐกิจสหรัฐยังคงส่งสัญญาณขยายตัว แต่เขาคิดว่าตลาดพุ่งขึ้นมากเกินไปและเร็วเกินไปแล้ว และในยุโรป ยังมีปัญหามากมายเกินไป โดยทุกประเทศกำลังใช้มาตรการรัดเข็มขัด และเป็นเรื่องยากมากที่จะหลุดจากวงจรหนี้ ซึ่งแนวโน้มตลาดอาจจะร่วงลงไปได้อีก 5%

 

น้ำมันดิบปิดร่วงหลังเฟดไร้แผนกระตุ้นศก.

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดไนเม็กซ์ ส่งมอบเดือนพ.ค. ร่วงลง 1.22 ดอลลาร์ปิดตลาดที่ 104.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนพ.ค. ร่วงลง 57 เซนต์ ปิดที่ 124.86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

นอกจากสัญญาณเชิงลบจากเฟดแล้ว นักลงทุนยังจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 30 มี.ค. ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (อีไอเอ) จะเปิดเผยในคืนนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะลดลง 300,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล และคาดว่าอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันจะเพิ่มขึ้น 0.3%

 

ขณะเดียวกัน นักลงทุนก็จับตาดูสถานการณ์ของอิหร่าน หลังจากนายอาลี-อัคบาร์ ซาเลฮี รัฐมนตรีคลังอิหร่านกล่าวว่า อิหร่านจะไม่ยอมอ่อนข้อให้กับสหรัฐเพื่อแลกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งเป็นมาตรการตอบโต้อิหร่านที่ดำเนินโครงการนิวเคลียร์

 

การแสดงความคิดเห็นของนายซาเลฮี มีขึ้นก่อนที่การประชุมนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่าน และ 5 ชาติสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้แก่ สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน บวกเยอรมนี หรือกลุ่ม จี5+1 จะมีขึ้นในวันที่ 13 เม.ย.นี้ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี

 

ทั้งนี้ สำนักงานพลังงานสากล (ไออีเอ) คาดการณ์ว่า ต้นทุนการนำเข้าน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ใช้น้ำมันอาจพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2555 หากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ราคาทองสหรัฐปิดร่วง7ดอลลาร์

 

ราคาทองปรับตัวลงขณะนักลงทุนรอดูธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะเปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 13 มี.ค. ซึ่งในการประชุมดังกล่าว เฟด ได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ที่ระดับ 0-0.25% และยืนยันว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี 2557 แต่เฟดไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3) ในการประชุมครั้งนี้

 

ทั้งนี้ สัญญาทองคำล่วงหน้าที่ตลาดโคเม็กซ์ สหรัฐ ส่งมอบเดือนเม.ย. ปรับตัวลง 7.50 ดลอลาร์ หรือ 0.3% ปิดที่ราคา 1,670 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ความต้องการทองคำจากอินเดียยังคงอยู่ในภาวะซบเซา หลังจากบรรดาร้านค้าอัญมณีและเครื่องประดับในอินเดีย ประท้วงต่อเนื่องต่อการปรับเพิ่มภาษีนำเข้าทองของทางการอินเดีย ขณะที่สมาคมทองแท่งแห่งมุมไบ เปิดเผยว่าการนำเข้าทองแท่งในเดือนมี.ค.อยู่ที่ 15-20 ตัน ลดลงจาก 50-60 ตันในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอินเดีย เป็นผู้ซื้อทองแท่งรายใหญ่ที่สุดของโลก

 

นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาดในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อความหวังเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายคิวอี3 ซึ่งถ่วงราคาทองลง หลังจากที่ราคาพุ่งสูงในปีที่แล้วจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างมากของเฟด

 

ด้านฟากฝั่งหุ้นยุโรปร่วงลงแรงโดยเฉลี่ย 1.69% นำโดย FT100 ลอนดอน ปิดที่ 5,838.34 ลดลง 36.55 จุด หรือ 0.62% CAC40 ฝรั่งเศส ปิดที่ 3,406.78 ร่วงลง 56.13 จุด หรือ 1.62% และ DAX เยอรมัน ปิดที่ 6,982.28 ลบ 74.37 จุด หรือ 1.05% แม้ว่าช่วงเปิดตลาดจะมีบางตลาดพยายามทรงตัวในแดนบวกก็ตาม

 

จับตาคลังจี-20 ประชุม20เม.ย.เพิ่มทุนIMF

 

นายจุน อาซูมิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น เปิดเผยโดยหวังว่าจะเห็นความคืบหน้าว่าประเทศต่างๆ จะให้เงินสมทบมากขึ้นหรือไม่แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการประชุมสุดยอดวันที่ 20 เม.ย. หลังจากยุโรปเพิ่มเงินกองทุนในการป้องกันวิกฤติหนี้

 

กระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า นางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ได้โทรศัพท์ถึงนายโยชิฮิโกะ โนดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวัจันทร์หลังจากรมว.คลังยุโรปเห็นพ้องในวันศุกร์ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการปล่อยกู้ของกองทุนช่วยเหลือยุโรปสู่ระดับ 7 แสนล้านยูโรจาก 5 แสนล้านยูโร

 

ทั้งนี้ รมว.คลังจากกลุ่มจี-20 จะประชุมกันในวันที่ 20 เม.ย.ที่กรุงวอชิงตันเพื่อหารือเกี่ยวกับการเพิ่มทุนทรัพย์สำหรับไอเอ็มเอฟ

 

นายอาซูมิกล่าวว่า ญี่ปุ่นยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะให้เงินสมทบมากขึ้นแก่ไอเอ็มเอฟหรือไม่ แต่จะประสานงานกับประเทศอื่นๆก่อนตัดสินใจเกี่ยวกับจุดยืนของญี่ปุ่น

 

ทั้งนี้ ประเทศในยุโรปกำลังผลักดันให้มีการจ่ายเงินสมทบแก่ไอเอ็มเอฟมากขึ้นเพื่อเป็นทุนสนับสนุนในกรณีที่วิกฤติหนี้ที่ดำเนินมา 2 ปีเลวร้ายลง

 

ขณะที่ญี่ปุ่นและจีนจะจัดการเจรจาระดับรัฐมนตรีคลังที่กรุงโตเกียวในวันที่ 7 เม.ย. โดยมุ่งเน้นไปที่แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและประเด็นที่ทั้ง 2 ประเทศสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

 

เฟดยันไม่มีสัญญาณปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน

 

ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

นางแซนดรา เพียนัลโต ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ เป็นสมาชิกสายกลางที่มีความเห็นสอดคล้องกับสมาชิกกลุ่มหลักของ FOMC ซึ่งนำโดยนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด กล่าวว่า จุดยืนด้านนโยบายของเฟดยังคงเป็นจุดยืนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการส่งเสริมผลผลิต และการจ้างงานให้เติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และสำหรับการรักษาเสถียรภาพของราคา

 

ด้านนายโรเบิร์ต ฟิชเชอร์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าวว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้รับแรงหนุนมากยิ่งขึ้น และเฟดไม่ควรดำเนินมาตรการแบบรีบเร่ง โดยเฟดควรที่จะรอดูสถานการณ์ต่อไปเพื่อหาหลักฐานที่ชัดเจนมากกว่านี้ที่ยืนยันว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน ก่อนที่เฟดจะตัดสินใจเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวครั้งถัดไป

 

นายฟิชเชอร์มองไม่เห็นสัญญาณใดๆที่บ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดี นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ระบุว่า ความสามารถทางการผลิตอยู่ในภาวะตึงตัวทั่วโลก และปัจจัยนี้อาจส่งแรงหนุนต่ออัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ

 

ถ้อยแถลงของผู้กำหนดนโยบายเฟดกลุ่มนี้บ่งชี้ว่า เฟดอาจจะตั้งเงื่อนไขไว้สูงสำหรับการดำเนินการผ่อนคลายนโยบายการเงินครั้งต่อไป และผู้กำหนดนโยบายจะสนับสนุนให้เฟดผ่อนคลายนโยบายการเงินลงอีกรอบก็ต่อเมื่อมีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างรุนแรง

 

เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับใกล้ 0% ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2008 และเข้าซื้อตราสารหนี้ไปแล้ว 2.3 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาดในระยะนี้ ทำให้นักวิเคราะห์หลายรายคาดการณ์ว่า เฟดอาจจะมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนถึงช่วงปลายปี 2014 ถึงแม้เฟดระบุในแถลงการณ์ว่าเฟดน่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยจนถึงช่วงเวลานั้นก็ตาม

 

ทั้งนี้ เฟดมีกำหนดจะเปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 13 มี.ค.ในช่วงต่อไปในวันนี้ โดย FOMC จะประชุมกันครั้งถัดไปในวันที่ 24-25 เม.ย.

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เดาผิดยันเลยเรา :033 :033 :033

ถูกแก้ไข โดย 96Needle

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กดก่อนนอน เจ้ตายแน่ถึงว่านอนไม่หลับ มันลงมา 1645 นั่นเอง ออน 24150/24100 จ๊า

 

เทียบกันค่ะ ของปุย 1646 24024 23979 แต่ซื้อขายไม่ได้ ต้องตั้งราคา

 

รบกวนสอบถามคุณปุยและคุณเกี้ยมอี๋ครับ

 

ไม่ทราบว่าใช้บริการของเจ้าไหนอยู่ครับ เห็นแก๊ปราคาซื้อขายต่างกัน 50 บาท.....

 

ผมใช้ น้อง อ. ให้ราคาไม่ค่อยดี และแก๊ปราคาซื้อขาย 120-150 บาท อยากลองเปลี่ยนเจ้าบ้าง....

ถูกแก้ไข โดย artjar

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดีนะเมื่อคืนม่ายได้สอย ไม่งั้นดอยอีกก้อน :033

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

กดก่อนนอน เจ้ตายแน่ถึงว่านอนไม่หลับ มันลงมา 1645 นั่นเอง ออน 24150/24100 จ๊า

 

เมื่อคืนไม่ได้กดเหมือนกัน. อ่านอย่างเดียว เช้านี้กดได้หรือยังค่ะ. ใครรู้ช่วยชี้แนะด้วย ขอบคุณคร้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของสเปน หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสเปนปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากยอดสั่งซื้อสินค้าใหม่ของโรงงงานในสหรัฐที่ขยายตัวน้อยกว่าการคาดการณ์

 

ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 1.1% ปิดที่ 264.29 จุด

 

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3406.78 จุด ลบ 56.13 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 6982.28 จุด ลบ 74.37 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นอังกฤษปิดที่ 5838.34 จุด ลบ 36.55 จุด

 

กระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสเปนได้สร้างแรงกดดันอย่างมากต่อตลาดหุ้นทั่วยุโรป โดยเมื่อวานนี้ รัฐบาลสเปนคาดการณ์ว่า สัดส่วนหนี้สินของสเปนอาจจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 79.8% ของจีดีพีในปี 2555 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2533 ขณะที่ตลาดแรงงานของสเปนก็ถดถอยลงอย่างมาก เนื่องจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานพุ่งขึ้นเกือบ 39,000 ราย แตะระดับกว่า 4.75 ล้านคน ณ สิ้นเดือนมี.ค.

 

ขณะเดียวกัน การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสเปน พุ่งขึ้น 0.10% แตะที่ 5.43% เมื่อวานนี้ ยิ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาระหนี้สินของสเปนมากขึ้นด้วย

 

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับปัจจัยลบจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ยอดสั่งซื้อใหม่ของโรงงานในสหรัฐ เพิ่มขึ้นเพียง 1.3% ในเดือนก.พ. ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.5%

 

การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนได้ฉุดหุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรปร่วงลง โดยหุ้นธนาคารป๊อปปูเลร์ เดอ มิลาโน ดิ่งลง 6.6% หุ้นธนาคารบังโค ซานตานเดร์ ร่วงลง 4% หุ้นธนาคารอินเทซา ซานเปาโล ร่วงลง 4.7% และหุ้นยูนิเครดิต ดิ่งลง 5%

 

หุ้น Ferrovial ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและบริหารสนามบินของยุโรป ร่วงลง 6.4%

อย่างไรก็ตาม Novo Nordisk ซึ่งเป็นผู้ผลิตสารอินซูลินรายใหญ่ที่สุดในโลก พุ่งขึ้น 2.4% หลังจากนักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่า ยอดขาย "Victoza" ซึ่งเป็นยารักษาโรคเบาหวานที่ผลิตโดย Novo Nordisk จะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสแรกปีนี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 4 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆหลังเฟดระบุ ยังไม่มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 ในระยะนี้

 

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.93% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 82.830 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 82.070 เยน และพุ่งขึ้น 0.68% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9097 ฟรังค์ จากระดับ 0.9036 ฟรังค์

 

สกุลเงินยูโรร่วงลง 0.68% แตะที่ 1.3230 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3321 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สกุลเงินปอนด์ร่วงลง 0.71% แตะที่ 1.5911 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6024 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.81% แตะที่ 1.0324 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0408 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.63% แตะที่ 0.8184 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8236 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ได้รับแรงหนุนอย่างแข็งแกร่ง หลังจากรายงานการประชุมของเฟดระบุว่า คณะกรรมการเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการใช้มาตรการคิวอี3 ในระยะนี้ แม้คณะกรรมการเฟดยังคงกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมก็ตาม

 

ขณะที่สกุลเงินยูโรร่วงลง เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศยูโรโซน โดยเฉพาะสเปน เมื่อรัฐบาลสเปนเปิดเผยว่า สัดส่วนหนี้สินของสเปนอาจจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 79.8% ของจีดีพีในปี 2555 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2533 ขณะที่ตลาดแรงงานของสเปน ถดถอยลงอย่างมาก เนื่องจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานพุ่งขึ้นเกือบ 39,000 ราย แตะระดับกว่า 4.75 ล้านคน นับจน ถึงสิ้นเดือนมี.ค.

 

สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากธนาคารกลางออสเตรเลีย มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ขณะที่นายเกลน สตีเฟนส์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ข้อมูลที่ได้รับเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในระดับต่ำกว่าเป้าหมายในปีนี้

 

ทั้งนี้ ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.

 

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.จะเพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมี.ค.จะทรงตัวที่ 8.3%

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 4 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (3 เม.ย.) หลังจากจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เฟดยังไม่มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 (QE3) ในระยะนี้

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.93% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 82.830 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 82.070 เยน และพุ่งขึ้น 0.68% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9097 ฟรังค์ จากระดับ 0.9036 ฟรังค์

 

 

 

สกุลเงินยูโรร่วงลง 0.68% แตะที่ 1.3230 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3321 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สกุลเงินปอนด์ร่วงลง 0.71% แตะที่ 1.5911 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6024 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.81% แตะที่ 1.0324 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0408 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.63% แตะที่  0.8184 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8236 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุนอย่างแข็งแกร่ง หลังจากรายงานการประชุมของเฟดระบุว่า คณะกรรมการเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการใช้มาตรการ QE3 ในระยะนี้ แม้คณะกรรมการเฟดยังคงกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมก็ตาม

 

ขณะที่สกุลเงินยูโรร่วงลงเนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศยูโรโซน โดยเฉพาะสเปน เมื่อรัฐบาลสเปนเปิดเผยว่า สัดส่วนหนี้สินของสเปนอาจจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 79.8% ของจีดีพีในปี 2555 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2533 ขณะที่ตลาดแรงงานของสเปนก็ถดถอยลงอย่างมาก เนื่องจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานพุ่งขึ้นเกือบ 39,000 ราย แตะระดับกว่า 4.75 ล้านคน ณ สิ้นเดือนมี.ค.

 

สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้ ขณะที่นายเกลน สตีเฟนส์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ข้อมูลที่ได้รับเมื่อไม่นานมานี้ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในระดับต่ำกว่าเป้าหมายในปีนี้

 

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.

 

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.จะเพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมี.ค.จะทรงตัวที่ 8.3%

 

ที่ีมา : สำนักข่าวอินโฟเ้ควสท์ (วันที่ 4 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาน้ำมันดิบที่ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขาย หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 (QE3) นอกจากนี้ การขยายตัวที่น้อยเกินคาดของยอดสั่งซื้อใหม่ของโรงงานในสหรัฐ ยังเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันในตลาดด้วย

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนพ.ค.ร่วงลง 1.22 ดอลลาร์ หรือ 1.16% ปิดที่ 104.01 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 104.55 - 104.01 ดอลลาร์

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอนส่งมอบเดือนพ.ค.ปรับตัวลง 57 เซนต์ หรือ 0.45% ปิดที่ 124.86 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจากยอดสั่งซื้อใหม่ของโรงงานในสหรัฐ ดีดตัวขึ้น 1.3% ในเดือนก.พ. ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.5%

 

อย่างไรก็ตาม ยอดสั่งซื้อสินค้าทุน ซึ่งไม่นับรวมเครื่องบิน ปรับตัวขึ้น 1.7% ในเดือนก.พ. ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.2% ส่วนยอดการส่งมอบสินค้าใหม่ของโรงงาน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.4%

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังลดการทำโพสิชั่น หลังจากรายงานการประชุมของเฟดระบุว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) มีความกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม แต่ก็ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการใช้มาตรการ QE3 ในระยะนี้

 

ตลาดได้รับแรงกดดันมากขึ้น หลังจากซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของกลุ่มโอเปคระบุว่า ซาอุดิอาระเบียจะเดินหน้าการผลิตน้ำมันในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้มีความเป็นไปได้ว่ากลุ่มประเทศตะวันตกจะระบายน้ำมันออกจากคลังสำรองฉุกเฉินก็ตาม โดยซาอุดิอาระเบียมีเป้าหมายที่จะลดผลกระทบที่เกิดจากภาวะอุปทานตึงตัว อันเป็นผลมาจากมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน

 

นักลงทุนจับตาดูสถานการณ์ของอิหร่าน หลังจากนายอาลี-อัคบาร์ ซาเลฮี รมว.คลังอิหร่านกล่าวว่า อิหร่านจะไม่ยอมอ่อนข้อให้กับสหรัฐเพื่อแลกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งเป็นมาตรการตอบโต้อิหร่านที่ดำเนินโครงการนิวเคลียร์ ซึ่งการแสดงความคิดเห็นของนายซาเลฮีมีขึ้นก่อนที่การประชุมนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่าน และ 5 ชาติสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน) บวกเยอรมนี หรือกลุ่ม G5+1 จะมีขึ้นในวันที่ 13 เม.ย.นี้ที่เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 30 มี.ค. ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยในคืนนี้ตามเวลาไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะลดลง 300,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล และคาดว่าอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันจะเพิ่มขึ้น 0.3%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควทส์ (วันที่ 4 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อดีตประธานาธิบดีอิหร่านเรียกร้องให้อิหร่านสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับซาอุดิอาราเบียเพื่อรับมือการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก (04/04/2555)

 

นายอัคบาร์ ฮาเชมิ ราฟซานจานี อดีตประธานาธิบดีอิหร่าน เรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านเดินหน้าสร้างสัมพันธไม่ตรีที่ดีกับซาอุดิอาราเบีย เพื่อรับมือกับการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านของบรรดาชาติตะวันตก

นายราฟซานจานี ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานคณะที่ปรึกษาของนายอยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน กล่าวในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติศึกษา ซึ่งเป็นวารสารราย 3 เดือนของอิหร่าน ที่ออกในวันนี้ว่า มีเพียงซาอุดิอาราเบียเท่านั้น ที่สามารถเติมเต็มช่องว่างที่อิหร่านได้เปิดไว้ สิ่งที่อิหร่านต้องทำ มีเพียงการผลิตน้ำมันตามโควตาของกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก หรือโอเปก เท่านั้น และจะไม่มีใครที่จะสามารถข่มขุ่อิหร่านได้

ที่มา : สำนักข่าวแห่ีงชาติ กรมประชาสัมพันธ์ (วันที่ 3 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 13 มี.ค.ในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย โดยรายงานระบุว่า คณะกรรมการกำหนนดโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ยังไม่มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

"สมาชิกบางคนของเอฟโอเอ็มซีส่งสัญญาณว่า การใช้มาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมจะเป็นสิ่งจำเป็นก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจหดตัวลง หรืออัตราเงินเฟ้อยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ 25 ในระยะกลาง" รายงานการประชุมของเฟดระบุ

 

 

 

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ถ้อยแถลงดังกล่าวถือเป็นการส่งสัญญาณว่า เฟดจะยังไม่ใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 หรือ QE3 เมื่อพิจารณาจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

 

แถลงการณ์ในการประชุมวันที่ 13 มี.ค.ระบุว่า คณะกรรมการเอฟโอเอ็มซีมีมติด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 1 ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับ 0 - 0.25% และยังคงดำเนินโครงการขยายกำหนดเวลาการไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่เฟดถือครองอยู่ออกไป ตามที่ได้ประกาศไว้ในเดือนก.ย. 2554 และเฟดจะยังคงดำเนินนโยบายในการนำเงินต้นที่ได้รับจากตราสารหนี้ของหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ มาลงทุนใหม่ในหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนองของหน่วยงานดังกล่าว

 

เฟดระบุว่า การใช้จ่ายในภาคครัวเรือนและการลงทุนในภาคธุรกิจยังคงมีการขยายตัว แต่ตลาดที่อยู่อาศัยยังอยู่ในภาวะซบเซา ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงในระดับหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม การที่ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินได้ปรับตัวขึ้นในระยะนี้ อาจจะหนุนเงินเฟ้อให้สูงขึ้นชั่วคราว แต่ถึงกระนั้นก็ตาม เฟดคาดว่าเงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับหรือต่ำกว่าระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2% ในวันข้างหน้า

 

นอกจากนี้ เฟดประเมินว่า ภาวะตึงเครียดในตลาดการเงินทั่วโลกได้ผ่อนคลายลงแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะตึงเครียดที่ยังคงเกิดขึ้นในขณะนี้ยังคงทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะขาลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

สำหรับการประชุมเฟดครั้งหน้าจะมีขึ้นในวันที่ 24-25 เม.ย.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน (NDRC) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 8.4% เมื่อเทียบรายปีในไตรมาสแรก ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะขยายตัว 3.5% ในช่วงเวลาดังกล่าว

 

นายจาง เสี่ยวเฉียง รองประธาน NDRC ซึ่งเป็นหน่วยงานวางแผนเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน กล่าวระหว่างการประชุม Boao Forum for Asia ประจำปี 2555 ว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขเบื้องต้นของ NDRC

 

ทั้งนี้ ดัชนี CPI อย่างเป็นทางการจะได้รับการเปิดเผยในวันจันทร์ที่ 9 เมษายน ส่วนจีดีพีจะเปิดเผยในวันศุกร์ที่ 13 เมษายน สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเ้ควสท์ (วันที่ 3 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...