ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 7 ต.ค.2557

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (7 ต.ค.) หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงอย่างหนักของตลาดหุ้นยุโรป หลังจากมีรายงานว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีหดตัวลงมากที่สุดใน รอบกว่า 5 ปี

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,719.39 จุด ร่วงลง 272.52 จุด หรือ -1.60% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,385.20 จุด ลดลง 69.60 จุด หรือ -1.56% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,935.10 จุด ลดลง 29.72 จุด หรือ -1.51%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (7 ต.ค.) โดยดัชนี Stoxx 600 ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ หลังจากมีรายงานว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีหดตัวลงมากที่สุดใน รอบกว่า 5 ปี และจากการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลก

 

ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 1.5% ปิดที่ 330.85 จุด

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,086.21 จุด ร่วงลง 123.30 จุด หนทอ -1.34% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,209.14 จุด ลดลง 77.38 จุด หรือ -1.81% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,495.58 จุด ลดลง 68.07 จุด หรือ -1.04%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (7 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา และข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง

 

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 68.07 จุด หรือ 1.04% ปิดที่ 6,495.58 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (7 ต.ค.) หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลก ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจจะส่งผลให้ความต้องการพลังงานลดน้อยลงด้วย

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย.ร่วงลง 1.49 ดอลลาร์ ปิดที่ 88.85 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย. ลดลง 68 เซนต์ ปิดที่ 92.11 ดอลลาร์/บาร์เรล

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (7 ต.ค.) เนื่องจากการร่วงลงอย่างหนักของตลาดหุ้นสหรัฐและการอ่อนค่าของสกุลเงิน ดอลลาร์ ประกอบกับการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น ปัจจัยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 5.1 ดอลลาร์ หรือ 0.42% ปิดที่ 1,212.4 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 1.5 เซนต์ ปิดที่ 17.24 ดอลลาร์/ออนซ์

-- ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่และอ่อนแรงลงเป็นวัน ที่ 2 เมื่อเทียบสกุลเงินเยนเมื่อคืนนี้ (7 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนมีความต้องการสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีหดตัวลง และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก

 

ค่าเงินยูโรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2658 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2619 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นที่ 1.6089 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6049 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 108.15 เยน เทียบกับระดับ 109.01 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9578 ฟรังค์ จาก 0.9614 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8812 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8747 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,719.39 จุด ลดลง 272.52 จุด -1.60%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,385.20 จุด ลดลง 69.60 จุด -1.56%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (7 ต.ค.) เนื่องจากการร่วงลงอย่างหนักของตลาดหุ้นสหรัฐและการอ่อนค่าของสกุลเงิน ดอลลาร์ ประกอบกับการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น ปัจจัยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 5.1 ดอลลาร์ หรือ 0.42% ปิดที่ 1,212.4 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 1.5 เซนต์ ปิดที่ 17.24 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.พุ่งขึ้น 12.7 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,261.9 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 20.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 787.00 ดอลลาร์/ออนซ์

 

นักลงทุนแห่เข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงอย่างหนักในการซื้อขายเมื่อคืนนี้ และหลังจากที่ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2557 สู่ระดับ 3.3% และปี 2558 สู่ระดับ 3.8% ซึ่งลดลง 0.1% และ 0.2% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค. ตามลำดับ โดยไอเอ็มเอฟให้เหตุผลถึงการปรับลดคาดการณ์ว่า เป็นเพราะความอ่อนแอในยูโรโซน และการชะลอตัวในตลาดเกิดใหม่หลักๆหลายแห่ง

 

นอกจากนี้ สกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงยังได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำ อย่างคึกคัก เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์จะทำให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงิน ดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและดึงดูดแรงซื้อสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่นๆ โดยเมื่อวานนี้ ดัชนี Dollar ปรับตัวลดลง 0.2% มาอยู่ที่ระดับ 85.79

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 8 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดวันนี้ที่ 15,574.60 จุด ลดลง 209.23 จุด หรือ -1.33% ตามตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

 

ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟไอเอ็มเอฟได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2557 สู่ระดับ 3.3% และปี 2558 สู่ระดับ 3.8% ซึ่งลดลง 0.1% และ 0.2% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค. ตามลำดับ

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยเงินเยนแข็งค่าขึ้นแตะกรอบล่างของ 108 เยน ส่งผลให้หุ้นกลุ่มบริษัทผู้ส่งออก เช่น ผู้ผลิตรถยนต์และสินค้าไฮเทคปรับตัวลดลง

 

ส่วนหุ้นกลุ่มอื่นๆที่ปรับตัวลงเช้าวันนี้รวมไปถึง กลุ่มเหมืองแร่ โบรกเกอร์ และประกัน สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

 

 

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 8 ตุลาคม 2557

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่และอ่อนแรงลงเป็นวันที่ 2 เมื่อเทียบสกุลเงินเยนเมื่อคืนนี้ (7 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนมีความต้องการสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีหดตัวลง และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก

 

ค่าเงินยูโรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2658 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2619 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นที่ 1.6089 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6049 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 108.15 เยน เทียบกับระดับ 109.01 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9578 ฟรังค์ จาก 0.9614 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8812 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8747 ดอลลาร์

 

ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยน จากการที่ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้เป็นขยายตัว 3.3% ซึ่งลดลง 0.1% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค. และปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าลง 0.2% สู่ระดับ 3.8% โดยระบุว่าการปรับลดดังกล่าวส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่อ่อนแอลงกว่าคาดในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 พร้อมกับเสริมว่าการฟื้นตัวดำเนินไปอย่างไม่สม่ำเสมอ

 

ขณะเดียวกันเงินเยน ซึ่งถือเป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัยนั้น ยังได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนชะลอความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากที่กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีเปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.ร่วงลง 4% จากเดือนก.ค. ที่ขยายตัว 1.6% นับเป็นการร่วงลงมากที่สุดในรอบกว่า 5 ปี

 

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับที่กระทรวงได้รายงานก่อนหน้านี้ว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของเยอรมนีในเดือนส.ค.หดตัวลง 5.7% โดยร่วงหนักสุดนับตั้งแต่ปี 2552 เช่นกัน และย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลง 2.5% ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจเยอรมนีจะชะลอตัวลง

 

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างก็จับตารายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟดประจำวันที่ 16-17 ก.ย. ซึ่งจะมีการเปิดเผยในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีนี้ ตามเวลาไทย โดยนักลงทุนต้องการประเมินสัญญาณบ่งชี้มากขึ้นเกี่ยวกับกำหนดเวลาที่เฟดจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 8 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้เป็นขยายตัว 3.3% ซึ่งลดลง 0.1% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค. และปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าลง 0.2% สู่ระดับ 3.8%

 

ไอเอ็มเอฟระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่า การปรับลดตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่อ่อนแอลงกว่าคาดในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 พร้อมกับเสริมว่าการฟื้นตัวดำเนินไปอย่างไม่สม่ำเสมอ

 

นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟยังเตือนถึงความเสี่ยงช่วงขาลงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองในภูมิภาคต่างๆ และความเสี่ยงจากการปรับฐานของตลาดการเงินในระยะสั้น

 

ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะขยายตัว 1.8% ในปี 2557 ซึ่งเท่ากับการคาดการณ์ในเดือนก.ค. แต่ได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราขยายตัวในปี 2558 ลงสู่ระดับ 2.3% จาก 2.4% ในเดือนก.ค.

 

ในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว ญี่ปุ่นถูกหั่นตัวเลขคาดการณ์ลงมากที่สุด โดยไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัว 0.9% ปีนี้ ซึ่งลดลงถึง 0.7% จากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนก.ค. เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ลดลง อันเป็นผลพวงที่ยืดเยื้อมาจากการขึ้นภาษีการขายเมื่อเดือนเม.ย. นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟยังได้ลดคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นปีหน้าลงเป็นขยายตัว 0.8% จาก 1.0%

 

ด้านสหรัฐอเมริกาได้รับการปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวปีนี้อีก 0.5% เป็น 2.2% หลังข้อมูลต่างๆแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟได้หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจยูโรโซนลง 0.3% มาอยู่ที่ 0.8% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และอุปสงค์ที่หดตัว

 

ขณะที่การขยายตัวของตลาดเกิดใหม่ คาดว่าจะแตะที่ 4.4% ในปี 2557 และ 5% ในปี 2558 ซึ่งตัวเลขคาดการณ์ทั้งปีนี้และปีหน้าลดลงเล็กน้อยจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้

 

ไอเอ็มเอฟได้คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนไม่เปลี่ยนแปลงที่ 7.4% ในปี 2557 และ 7.1% ในปี 2558 ระบุการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสสอง เนื่องจากการส่งออกที่แข็งแกร่งขึ้น และการใช้มาตรการต่างๆ ซึ่งรวมถึงการผ่อนคลายทางภาษีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานและการคลังที่เร็วขึ้น และการลดสัดส่วนการกันสำรองตามเป้า

 

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจบราซิลถูกปรับลดลงถึง 1.0% เหลือเพียง 0.3% เนื่องจากการหดตัวในช่วงครึ่งปีแรก

 

ไอเอ็มเอฟระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2558 ที่สูงกว่าปี 2557 เล็กน้อยนั้น จะได้รับการขับเคลื่อนจากการดีดตัวขึ้นของเศรษฐกิจทั้งในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมและตลาดเกิดใหม่ พร้อมกับเสริมว่า ตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาจะยังคงคิดเป็นสัดส่วนขนาดใหญ่ของการขยายตัวทั่วโลก

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 8 ตุลาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่สอง ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลระลอกใหม่เกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกช่วยหนุนความต้องการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งถูกมองว่าเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยมากที่สุด

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีลดลง 0.02% มาอยู่ที่ 2.40% เมื่อเวลา 9.02 น.ตามเวลานิวยอร์ก โดยบอนด์ยิลด์ปรับตัวลงสู่ระดับ 2.38% เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเดือบ 1 เดือน

 

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวผกผันกับราคา โดยบอนด์ยีลด์สหรัฐอยู่ที่ระดับ 3% เมื่อช่วงต้นปีนี้

 

ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 ปี อยู่ที่ 1.020% ซึ่งลดลงจากระดับ 1.066% ในการประมูลครั้งล่าสุดเมื่อเดือนก.ย.

 

การประมูลขายพันธบัตรอายุ 3 ปีชุดใหม่ประจำสัปดาห์นี้จะเริ่มต้นขึ้นในเวลา 13.00 น.วันนี้ ขณะที่การขายพันธบัตรอายุ 10 ปีจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ ตามด้วยการประมูลขายพันธบัตรอายุ 30 ปีในวันพฤหัสบดี

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 7 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิตกเศรษฐกิจโลกอ่อนแอหนุนสัญญาทองคำตลาดล่วงหน้าสหรัฐ ปิดปรับตัวขึ้น

 

สัญญาทองคำตลาดล่วงหน้าสหรัฐ ปิดปรับตัวขึ้น หลังจากที่ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบปีนี้ เมื่อวันศุกร์ โดยสัญญาทองคำได้แรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

 

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ สหรัฐ ส่งมอบเดือนธ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,212.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ถือเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนตลาด โดยการอ่อนค่าของดอลลาร์จะทำให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและดึงดูดแรงซื้อสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่นๆ

 

นอกจากนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง กระตุ้นให้นักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างเช่นหุ้น และหันมาซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยเช่นพันธบัตร และทองคำแทน

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 8 ตุลาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวั่นเศรษฐกิจโลกถดถอย ฉุดสัญญาน้ำมันดิบตลาดล่วงหน้าสหรัฐ ปิดปรับตัวลง

 

สัญญาน้ำมันดิบตลาดล่วงหน้าสหรัฐ ปิดปรับตัวลง เนื่องจากความวิตกกังวลว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง จะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวลดลง หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แสดงให้เห็นว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีอ่อนแอลงในเดือนส.ค. ถือเป็นสัญญาณล่าสุดที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในยุโรปกำลังย่ำแย่ ประกอบกับการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกของไอเอ็มเอฟ

 

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัส ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ส่งมอบเดือนพ.ย. ปรับตัวลง 1.49 ดอลลาร์หรือ 1.6% ปิดตลาดที่ 88.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนพ.ย. ปิดที่ 92.11 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ร่วงลง 68 เซนต์ จากราคาปิดเมื่อวันจันทร์

 

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากภาวะอุปสงค์-อุปทาน โดยขณะนี้ทั่วโลกมีอุปทานน้ำมันมากพอแต่อุปสงค์กลับซบเซา ท่ามกลางการขยายตัวทางเศรษฐกิจในจีนและยุโรปที่ชะลอตัว ขณะที่คาดว่าปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของสหรัฐและชาติพันธมิตรต่อกลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรียนั้น ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในตะวันออกลาง

 

ขณะเดียวกัน นักลงทุนรอดูรายงานสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงาน (อีไอเอ) ของสหรัฐในวันพุธนี้

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 7 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.64/65 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.64/66 บาท/ดอลลาร์

 

"เมื่อคืนเงินบาทเหวี่ยงในกรอบประมาณ 10 สตางค์ ลงไปทดสอบ 32.58(บาท/ดอลลาร์) แล้วก็กลับขึ้นมา ซึ่งเป็นไปตาม Trend กับภูมิภาค" นักบริหารเงิน กล่าว

 

สำหรับวันนี้มองว่า วันนี้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่องไปทดสอบแนวต้าน 32.70 บาท/ดอลลาร์ หากผ่านแนวต้านนี้ไปได้ก็น่าจะไปทดสอบแนวต้านถัดไป 32.90 บาท/ดอลลาร์

 

นักบริหารเงิน มองว่า เงินบาทน่าจะยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อได้อีก ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 32.60-32.70 บาท/ดอลลาร์

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.29 เยน/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเย็นวานนี้ที่ระดับ 108.70 เยน/ดอลลาร์

 

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2645 ดอลลาร์/ยูโร แข็งค่าจากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.2600 ดอลลาร์/ยูโร

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.5820 บาท/ดอลลาร์

 

- ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่และอ่อนแรงลงเป็นวันที่ 2 เมื่อเทียบสกุลเงินเยนเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนมีความต้องการสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีหดตัวลง และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอชเอสบีซี โฮลดิงส์เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนในเดือนก.ย.ลดลงแตะ 53.5 จาก 54.1 ในเดือนส.ค.

 

ดัชนีที่สูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมภาคบริการยังคงมีการขยายตัว และหากดัชนีต่ำกว่า 50 จะบ่งชี้ถึงภาวะหดตัว

 

นายฉู หงปิน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซีกล่าวว่า PMI ภาคบริการจีนในเดือนก.ย.ชะลอลงจากระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือนที่ 54.1 ในเดือนส.ค. ขณะที่ดัชนีธุรกิจใหม่และราคาอ่อนแรงลง ส่วนการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า

 

นายฉูกล่าวว่า โดยรวมแล้ว ภาคบริการมีการขยายตัวในเดือนก.ย. แม้ว่ามีแรงกดดันช่วงขาลงในภาคการผลิต โดยเอชเอสบีซีเชื่อว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะใกล้ยังคงเผชิญความเสี่ยงในช่วงขาลง และมีเหตุผลสมควรในการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่เอื้อต่อเศรษฐกิจ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 8 ตุลาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

องค์การการค้าโลก (WTO) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของการค้าทั่วโลกในปีนี้ เหลือ 3.1% จากเดิมที่ประเมินไว้ 4.7% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พร้อมหั่นประมาณการเติบโตในปีหน้าจาก 5.3% เป็น 4.0%

 

การปรับลดตัวเลขการเติบโตครั้งนี้เป็นผลมาจากการขยายตัวของจีดีพีของหลายประเทศในช่วงครึ่งปีแรกต่ำกว่าที่คาด เช่น จีนรวมถึงยุโรป ประกอบกับในช่วงเดียวกันนั้นดีมานด์ต่อสินค้านำเข้าซบเซาลงด้วย โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งออกจากภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกากลาง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยแง่ลบรุมเร้าหลายอย่าง อาทิ การเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังไม่มีเสถียรภาพ และความมีความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์การเมืองสูงขึ้น

 

แม้นักเศรษฐศาสตร์ของ WTO จะมองว่าปีหน้าการค้าจะกระเตื้องขึ้นโดยขยายตัวที่ 4.0% แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา (2533-2553) ซึ่งเติบโต 5.2% จากผลกระทบของความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัสเซียกับยุโรปและสหรัฐ ซึ่งนำไปสู่มาตรการคว่ำบาตรทางการค้าระหว่างกัน อีกทั้งมีความเป็นไปได้ที่ความไม่สงบในแถบตะวันออกกลางจะกดดันให้ราคาน้ำมันพุ่งสูง และวิกฤตเชื้อไวรัสอีโบลาที่ยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้

 

WTO ประเมินว่า ปีนี้การส่งออกในประเทศกำลังพัฒนาจะเติบโต 4.0% และ 4.5% ในปีหน้า ส่วนการนำเข้าของกลุ่มประเทศดังกล่าวจะขยายตัว 2.6% ในปีนี้ และ 4.5% ในปี 2558

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 7 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาปิดตลาดเมื่อเช้าตรู่ ค่าเงินดอลล์สหรัฐ เมื่อ MACD ใส่รหัส 5,35,9 ปรากฎว่า ยังสามารถอ่อนค่าลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาปิดของทอง รหัส 5,35,9 จะเห็นว่า ออกมาตรงกันข้ามกับ โพสต์ข้างบน และ MACD ปรากฎสลับกันระหว่าง ซื้อ กับ ขาย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...