ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รหัส 5,35,9 ของเงินตราสกุลดอลล์สหรัฐฯ มันตัดกันมา 3 วันแล้ว ค่าเงินดอลล์อ่อนค่ามา 3 วัน แต่ 2 วันสุดท้ายปิดตลาดแข็งค่าขึ้น แต่ราคาทองก็ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1233 ถึงจุดนี้ ต้องระวังผลจากดอลล์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น จะติดต่อกันในอาทิตย์นี้หรือไม่ ก็มีความเป็นไปได้มาก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 12,26,9 ของราคาทองคำ แบบนิยม มองตามกราฟ เส้น MACD ก็ยังบวก ต่อราคาทอง มองที่จุด 1223 นะ แต่ตอนนี้ 1233 ต้องมองแบบมันชนต้านแล้วนะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท วันนี้ ผันผวนในทิศทางแข็งค่าขึ้น และ แรงมากๆๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เช้านี้ มีรายงานจีน แต่น้องทอง ก็คงได้แค่มอง เฉยๆๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรปช่วงบ่าย จับตาตัวเลขเยอรมัน ช่วงบ่ายโมง โพลบอกมีทั้งดีและไม่ดี ส่วนตลาดสหรัฐฯ ไม่มีรายงานตัวเลขออก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 10 ต.ค. 2557

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (10 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากบริษัทไมโครชิพ เทคโนโลยีได้ออกรายงานเตือนว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีกำลังจะเข้าสู่ภาวะ "ปรับฐานลง" เป็นวงกว้างในระยะเวลาอันใกล้นี้ นอกจากนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ยังคงเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันให้กับตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วย

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,544.10 จุด ร่วงลง 115.15 จุด หรือ -0.69% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,276.24 จุด ดิ่งลง 102.10 จุด หรือ -2.33% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,906.13 จุด ลดลง 22.08 จุด หรือ -1.15%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันศุกร์ (10 ต.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจจะเผชิญอุปสรรคในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่รัฐมนตรีคลังของเยอรมนีออกมาเตือนเรื่องการใช้มาตรการผ่อนคลาย เชิงปริมาณ (QE) แบบเดียวกับในสหรัฐ ซึ่งถือเป็นการขัดแย้งกับที่นายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีได้ออกมาส่งสัญญาณก่อนหน้านี้ว่า อีซีบีพร้อมที่จะใช้มาตรการ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในยูโรโซน

 

ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 1.6% ปิดที่ 321.62 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,788.81 จุด ร่วงลง 216.21 จุด หรือ -2.40% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,073.71 จุด ลดลง 67.74 จุด หรือ -1.64% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,339.97 จุด ลดลง 91.88 จุด หรือ -1.43%

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (10 ต.ค.) หลังจากนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ส่งสัญญาณว่าอีซีบีพร้อมที่จะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจยูโรโซนกำลังชะลอตัวลง อย่างหนัก

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,339.97 จุด ลดลง 91.88 จุด หรือ -1.43%

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อวันศุกร์ (10 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไร หลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงอย่างหนักในรอบสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดเป็นไปอย่างซบเซา หลังจากมีรายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปค) ปรับตัวสูงขึ้น

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น 5 เซนต์ ปิดที่ 85.82 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น 16 เซนต์ ปิดที่ 90.21 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อวันศุกร์ (10 ต.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ส่งสัญญาณว่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไป

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 3.6 ดอลลาร์ หรือ 0.29% ปิดที่ 1,221.7 ดอลลาร์/ออนซ์ อย่างไรก็ตาม ตลาดทั้งสัปดาห์นั้น สัญญาทองคำปรับตัวขึ้นทั้งสิ้น 2.4% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์ครั้งแรกในรอบ 6 สัปดาห์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 11.5 เซนต์ ปิดที่ 17.303 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ร่วงลง 16.7 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,261.6 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 15.45 ดอลลาร์ ปิดที่ 785.05 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (10 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังชะลอตัวลงอย่างหนัก นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังคงได้รับแรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณผ่านรายงานการประชุมเดือนที่แล้วว่า เฟดจะยังตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไป

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 107.84 เยน จากวันพฤหัสบดีที่ระดับ 107.79 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9581 ฟรังค์ จากระดับ 0.9541 ฟรังค์

 

ส่วนยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2615 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2688 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.6052 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6120 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.8708 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8774 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,544.10 จุด ลดลง 115.15 จุด, -0.69%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,276.24 จุด ลดลง 102.10 จุด, -2.33%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,906.13 จุด ลดลง 22.08 จุด, -1.15%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

จีดีพีไตรมาส 2/57 ของยุโรป ที่จะประกาศเป็นครั้งที่ 3 ในวันที่ 17 ต.ค.นี้ ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มอ่อนแอลง หลังจากการประกาศจีดีพีไตรมาส 2/57 ครั้งที่ 2 ซึ่งต่ำกว่าคาด ขยายตัวได้เพียง 0.2% เท่านั้น

การประชุมติดตามความคืบหน้าต่อโครงการนิวเคลียร์อิหร่านที่จะจัดขึ้นในวัน ที่ 15 ต.ค. ที่กรุงเวียนนาว่าอิหร่านมีความคืบหน้าในการปฏิบัติตามแผนมากน้อยเพียงใด

ติดตามว่ารายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ต.ค. ของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ในวันที่ 14 ต.ค. นี้จะมีการปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้ลงอีกหรือไม่ หลังหลายฝ่ายยังกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการขยายตัวที่ลดลงของจีนและหลายประเทศในยุโรป ขณะที่สำนักสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดการณ์ว่าสภาพอากาศในฤดูหนาวปีนี้จะอบอุ่นกว่าฤดูหนาวปีที่แล้ว ทำให้อุปสงค์น้ำมันเพื่อทำความอบอุ่น (heating oil) อาจปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

วันจันทร์ดุลการค้าจีน - ก.ย. 57

วันอังคารการผลิตภาคอุตสาหกรรมยุโรป - ส.ค. 57

ดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจยุโรป - ต.ค. 57

วันพุธดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ - ก.ย. 57

ยอดขายปลีกสหรัฐฯ - ก.ย. 57

ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน - ก.ย. 57

ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน - ก.ย. 57

วันพฤหัสการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - ก.ย. 57

ดัชนีราคาผู้บริโภคยุโรป - ก.ย. 57

วันศุกร์ยอดการขอสร้างบ้านใหม่ - ก.ย. 57

จีดีพีไตรมาส2/57 ยุโรป

 

 

 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (13/10/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางจีนแถลงยังไม่กระตุ้นศก.ชี้รง.ยังดี

ข่าวต่างประเทศ วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2557 7:27น.

 

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของจีน แถลง จีนไม่จำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่า ศก.ชะลอตัว โดยระบุว่า ภาคแรงงานของจีนยังแข็งแกร่ง

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นายหม่า จุน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางแห่งประเทศจีน แถลงว่า เศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีน ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง แม้ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ร้อนแรงกำลังชะลอตัวอย่างรวดเร็ว เขายังไม่เห็นผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมในตลาดแรงงานการขยายตัวของการบริโภคในประเทศและการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจจากการผลิตเป็นการบริการกำลังสร้างโอกาสมากกว่าเสียโอกาส โดยที่ปรึกษาระดับสูง ธนาคารประชาชนของจีนผู้นี้ กล่าวต่อที่ประชุมสถาบันการเงินระหว่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐฯ ว่า ตลาดแรงงานกำลังแข็งแกร่งขึ้น แม้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะชะลอตัว

 

 

ปูตินสั่งถอนทหารรัสเซียออกพรมแดนยูเครน

ข่าวต่างประเทศ วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2557 8:03น.

 

ผู้นำรัสเซีย สั่งถอนทหารออกจากพรมแดนติดประเทศ ยูเครน ก่อนเจรจาจ้อตกลงหยุดยิงกับ ยูเครน 1 วัน

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย มีคำสั่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ถอนกองกำลังทหารรัสเซีย ออกจากพื้นที่ชายแดนติดกับยูเครนแล้ว โดยทาง รัฐบาลมอสโก ระบุว่า การตัดสินใจครั้งนี้ มีขึ้นก่อนหน้าการเจรจาครั้งสำคัญในข้อตกลงหยุดยิงกับยูเครน โดย ทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย แถลงว่า ประธานาธิบดีปูตินมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จัดการเคลื่อนกำลังทหารกลับเข้าประจำการยังฐานที่มั่นในรัสเซีย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Gold rose toward a two-week high as concern that global growth is slowing stoked bets the U.S. Federal Reserve may push back interest-rate increases, boosting demand for a store of wealth. Silver and platinum advanced.

 

Gold for immediate delivery climbed as much as 0.8 percent to $1,232.30 an ounce and traded at $1,230.22 by 8:10 a.m. inSingapore, according to Bloomberg generic pricing. Bullion on Oct. 9 advanced to $1,233.43, the highest since Sept. 23, after Fed officials expressed concern the U.S. economy may be at risk from a global slowdown, and maintained a pledge to keep rates near zero for a “considerable time.”

 

The metal rose 2.7 percent last week in the biggest such gain since the period to June 20, as the Bloomberg Dollar Spot Index snapped a seven-week rally and global equities measured by the MSCI All-Country World Index fell a third week. The International Monetary Fund Oct. 7 cut its 2015 world economic growth forecast.

 

“Gold is going to be doubly influenced by both the equity markets and the dollar over the course of the week,” Edward Meir, an analyst at INTL FCStone Inc., wrote in a note. “We suspect that both will continue to drop over the short term, offering a measure of support to prices.”

 

China’s Premier Li Keqiang said Oct. 11 that the quality of growth is as important as its pace. Economic expansion in the world’s largest bullion consumer is forecast to slow to 7 percent in 2015 from 7.3 percent in 2014, according to estimates compiled by Bloomberg.

 

Gold for December delivery rose 0.8 percent to $1,231.20 an ounce on the Comex in New York, extending last week’s 2.4 percent advance. Investors cut net-long positions in futures and options for an eighth week in the week ended Oct.7, U.S. government data show.

 

Silver for immediate delivery climbed 0.7 percent to $17.5162 an ounce, after increasing 3.3 percent last week to snap five weeks of losses. Spot platinum added 0.9 percent to $1,273.38 an ounce, extending last week’s 3.1 percent advance. Palladium rose 0.6 percent to $789.50 an ounce, after a 3.9 percent gain last week.

 

Source: bloomberg (13/10/2014)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาทเปิดที่ 32.41/43 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ยังไร้ปัจจัยหนุน คาดวันนี้เคลื่อนไหวกรอบแคบ

 

นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันนี้ที่ 32.41-32.43 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ปิดตลาดที่ 32.44-32.46 บาท/ดอลลาร์ ช่วงนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุนตลาด ส่งผลให้ค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ

  

 

สำหรับปัจจัยที่ต้องจับตามองในรอบสัปดาห์นี้คือ ตลาดหุ้นไทยที่มีแรงเทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง อาจกดดันให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงได้

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 13 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ราคาทองคำเมื่อวันศุกร์ปรับตัวลงเล็กน้อยจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ แต่ยังยืนเหนือ 1,220 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ได้...

 

โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 1,222.51 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ลดลง 1.19 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,217 และ 1,225 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ขายออกที่บาทละ 18,850 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 18,750 บาท กองทุน SPDR รายงานว่าได้ลดปริมาณการถือครองทองคำลงราว 2.65 ตัน ส่งผลให้ปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 759.44 ตัน

 

ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นในการซื้อขายสัปดาห์ก่อนหลังจากปรับตัวลดลงต่อ เนื่องติดต่อกันหลายสัปดาห์ รายงานการปรับลดมุมมองเศรษฐกิจโลกจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่สะท้อนความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่อาจกระทบต่อการขยาย ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำต่อไป กลับมาเป็นปัจจัยบวกต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ ส่วนราคาทองในประเทศได้รับแรงกดดันจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เงินดอลลาร์สหรัฐฯยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวแข็งค่าขึ้น

 

ทั้งจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณการฟื้นตัว ประกอบกับนักลงทุนต่างประเมินว่าธนาคารกลางยุโรปจะมีมาตรการผ่อนคลายทางการ เงินเพิ่มเติมหลังจากรายงานข้อมูลของประเทศในกลุ่มยุโรปต่างมีสัญญาณชะลอตัว โดยในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ได้ประกาศปรับลดความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสจากระดับ “เสถียรภาพ” ลงสู่ “เชิงลบ” และเตือนถึงภาวะการคลังของฝรั่งเศสที่อาจมีปัญหาในช่วงปีหน้า ภาพเทคนิคของราคาทองคำยังมีแนวโน้มฟื้นตัว

 

โดยในการซื้อขายวันศุกร์ราคาทองแกว่งตัวในกรอบแคบ ก่อนที่จะปิดตลาดทรงตัว การเคลื่อนไหวในระยะสั้นคาดว่าราคาทองยังมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นได้ต่อ โดยมีแนวรับสำหรับกลับเข้าเก็งกำไรในระหว่างวันอยู่ที่บริเวณ 1,215-1,218 และ 1,205 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ตามลำดับ และมีแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,235-1,240 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์.

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (13/10/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นมาตรการทางการเงินเชิงปริมาณ (QE) ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เดือนตุลาคมนี้อย่างมาก โดยจะเห็นได้จากการประชุมของเฟดครั้งล่าสุดที่หลายฝ่ายต่างจับตาถึงถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณชี้นำ (Forward Guidance) ถึงจังหวะเวลาที่ชัดเจนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่สิ้นสุดมาตรการ QE จากเดิมที่ใช้คำว่าระยะเวลาที่เหมาะสมหรือไม่

 

อย่างไรก็ตาม ผลปรากฏว่า ประธานเฟด ยังคงใช้คำพูดเหมือนเดิม โดยยืนยันจะตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปอีกใน "ระยะเวลาที่เหมาะสม" หลังจากสิ้นสุดมาตรการ QE เพียงแต่หากลองพิจารณาถึงการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของเฟดจะสะท้อนให้เห็นได้ว่า หลังจากนี้อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดการณ์เดิมก็ได้ เนื่องจากเฟดได้ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2558 จะอยู่ที่ระดับ 1.375% ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ในเดือนมิถุนายน ที่อยู่ระดับ 1.125%

 

ดังนั้น ถึงแม้ว่าเฟดจะไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงระยะเวลาในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่เมื่อดูจากการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของเฟด ทำให้ประเมินได้ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในไตรมาส 2 ราวเดือนมิถุนายน 2558 หรืออย่างเร็วที่สุดจะเป็นเดือนเมษายน 2558 ซึ่งในปี 2558 คาดการณ์จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 5 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวมทั้งสิ้น 1.25% จากเดิมเฟดอาจจะปรับขึ้นในช่วงกลางปี 2558 หรือราวเดือนกรกฎาคม 2558

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 12 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดค่าเงินบาทสัปดาห์หน้า เคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะ 13 ต.ค. ตลาดการเงินสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวันโคลัมบัส

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 6 - 10 ต.ค. ว่า เงินบาททยอยแข็งค่า หลังจากที่แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 3 เดือน ที่ 32.68 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ ตามปัจจัยทางเทคนิค และแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ที่เข้ามาจากหลายกลุ่ม อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถล้างช่วงติดลบทั้งหมดลงในช่วงต่อมา ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออก ขณะที่ นักลงทุนทยอยขายทำกำไรเงินดอลลาร์ฯ ออกมาในช่วงที่การประเมินจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ยังคงไม่มีภาพที่แน่ชัด

 

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไประหว่างวันที่ 13-17 ต.ค. เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยตลาดอาจจับตาข้อมูลผลสำรวจภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค. ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. และเครื่องชี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ เพื่อประกอบการคาดการณ์เกี่ยวกับจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ นอกจากนี้ จุดสนใจเพิ่มเติมของตลาดอาจอยู่ที่การประกาศข้อมูลเศรษฐกิจเดือน ก.ย. ของจีน ซึ่งอาจมีผลเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์เสี่ยงและสกุลเงินในเอเชียในระหว่างสัปดาห์ ทั้งนี้ ตลาดการเงินสหรัฐฯ จะปิดทำการในวันจันทร์ (13 ต.ค.) เนื่องในวันโคลัมบัส

 

ที่มา : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น (วันที่ 12 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...