ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ เนื่องจากตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ไม่รวมญี่ปุ่น ปรับตัวลดลง 0.4% เมื่อเวลา 9.54 น.ตามเวลากรุงโซล

 

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 22,884.00 จุด ลดลง 204.54 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,767.42 จุด ลดลง 199.02 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,919.48 จุด ลดลง 21.44 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,213.89 จุด ลดลง 9.98 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,808.21 จุด ลดลง 0.67 จุด

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันกีฬาและสุขภาพ

 

ตลาดหุ้นเอเชียได้รับปัจจัยถ่วงจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2557 สู่ระดับ 3.3% และปี 2558 สู่ระดับ 3.8% ซึ่งลดลง 0.1% และ 0.2% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค. ตามลำดับ

 

นักลงทุนวิตกกังวลมากขึ้นเมื่อนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ประกาศความพร้อมที่จะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อปกป้องเศรษฐกิจยูโรโซนให้รอดพ้นจากภาวะเงินฝืด และพร้อมที่จะใช้มาตรการแทรกแซงอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจยูโรโซนกำลังย่ำแย่

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 13 ตุลาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) เปิดเผยในวันนี้ว่า ยอดส่งออกของจีนในเดือนก.ย. ทะยานขึ้น 15.3% เมื่อเทียบรายปี แตะที่ 2.137 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 19 เดือน

 

ส่วนการนำเข้าในเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบรายปี แตะที่ 1.827 แสนล้านดอลลาร์ โดยเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2556

 

ส่วนมูลค่าการค้าระหว่างประเทศปรับตัวขึ้น 11.3% แตะที่ 3.964 แสนล้านดอลลาร์

 

ทั้งนี้ จีนมียอดเกินดุลการค้าเดือนก.ย.คิดเป็นกว่า 2 เท่าจากปีที่แล้ว ที่ระดับ 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อทียบกับยอดเกินดุลการค้าในเดือนส.ค.ที่ 4.98 หมื่นล้านดอลลาร์

 

สำหรับในช่วงเดือนม.ค.-ก.ย. มูลค่าการค้าต่างประเทศของจีน เพิ่มขึ้น 3.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แตะที่ 3.16 ล้านล้านดอลลาร์ โดยการส่งออกในช่วงเวลาดังกล่าวเพิ่มขึ้น 5.1% แตะที่ 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 1.3% แตะที่ 1.46 ล้านล้านดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 13 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรุงเทพฯ--13 ต.ค.--ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

สัปดาห์นี้ติดตามการเปิดเผยรายงาน Beige book

 

SPDR ถือทองลดลง 2.65 ตัน

 

แนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,235-1,240 ดอลลาร์

 

ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นในการซื้อขายสัปดาห์ก่อนหลังจากปรับตัวลดลงต่อเนื่องติดต่อกันหลายสัปดาห์ รายงานการปรับลดมุมมองเศรษฐกิจโลกจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐที่สะท้อนความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่อาจกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ กลับมาเป็นปัจจัยบวกต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ ส่วนราคาทองในประเทศได้รับแรงกดดันจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

 

เงินดอลลาร์สหรัฐยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวแข็งค่าขึ้น ทั้งจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีสัญญาณการฟื้นตัว ประกอบกับนักลงทุนต่างประเมินว่าธนาคารกลางยุโรปจะมีมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมหลังจากรายงานข้อมูลของประเทศในกลุ่มยุโรปต่างมีสัญญาณชะลอตัว โดยในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ได้ประกาศปรับลดความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสจากระดับ “เสถียรภาพ” ลงสู่ “เชิงลบ” และเตือนถึงภาวะการคลังของฝรั่งเศสที่อาจมีปัญหาในช่วงปีหน้า

 

ภาพเทคนิคของราคาทองคำยังมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยในการซื้อขายวันศุกร์ราคาทองแกว่งตัวในกรอบแคบ ก่อนที่จะปิดตลาดทรงตัว การเคลื่อนไหวในระยะสั้นคาดว่าราคาทองยังมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นได้ต่อ โดยมีแนวรับสำหรับกลับเข้าเก็งกำไรในระหว่างวันอยู่ที่บริเวณ 1,215-1,218 และ 1,205 ดอลลาร์ ตามลำดับ และมีแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,235-1,240 ดอลลาร์

 

ราคาโลหะเงินแกว่งตัวในกรอบแคบและปิดตลาดทรงตัวใกล้ระดับปิดของวันพฤหัส การเคลื่อนไหวทางเทคนิคยังมีแนวโน้มที่ราคาโลหะเงินจะปรับตัวขึ้นต่อ โดยคาดว่าราคาโลหะเงินจะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างแนวรับและแนวต้านบริเวณ 17.0 และ 18.0 ดอลลาร์ ตามลำดับ และควรระวังแรงขายที่อาจมีกลับออกมามากหากไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณ 17.0 ดอลลาร์ ได้

 

โกลด์ฟิวเจอร์สเดือนต.ค.57

 

Close chg. Support Resistance

 

18,870 -20 18,650/18,550 18,950/19,100

 

ในระหว่างวันหากราคาทองอ่อนตัวลงเข้าใกล้แนวรับบริเวณ 1,210-1,215 ดอลลาร์ ยังเป็นระดับแนวรับที่สามารถกลับเข้าเปิดสถานะซื้อเก็งกำไร โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 1,200 ดอลลาร์

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 13 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเดาทอง รายอาทิตย์ กล่าวว่า ราคาทองได้หวนกลับมายืนเหนือ 1200 อีกครั้งหนึ่ง หลังจากการลงต่ำกว่า 1180 ยังไม่สามารถเกิดขึ้น พลิกผัน และชนแนวต้าน 1230-1233 แล้วย่อในช่วงเช้าของวันจันทร์ ซึ่งถ้าผ่านแนวต้านนี้ไปได้ ก็มีแนวต้านถัดไปที่ 1252 สัญญานรายสัปดาห์ ยังคงเป็น Bearish ( ด้านลบ ) แต่รายวันดันเป็นบวกต่อราคาทอง

 

พร้อมแนวทางขาเสี่ยง รายอาทิตย์ คือ

 

LONG GOLD above 1225 SL 1222 TP 1235-1238-1248-1252

SHORT GOLD below 1220 SL 1223 TP 1215-1208-1202-1193

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

MACD รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์สหรัฐ ยังคงทิศทางในการอ่อนค่า แต่พึงระวังตัวเลขรายงานเศรษฐกิจยุโรปบ่ายนี้ ที่โพลบอกว่า " แย่ลง " ซึ่งถ้าตามนั้นจะส่งผลให้ดอลล์สลับมาแข็งค่าขึ้น / วันแรกของสัปดาห์ ปรับอ่อนค่าลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

MACD รหัส 5,35,9 ของทองคำ ยังคงทิศทางขาขึ้นไปต่อ ในรายวัน ต้านติดๆๆ กัน 1235 และ 1238 ตามลำดับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในภาพของ MACD รหัส 12,26,9 แบบนิยม ก็ยังให้ทิศทางรายวันแบบไปต่อได้ ต้าน 1235 และ 1238

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท วันนี้ น่าจะมีการอ่อนค่าลงมา เดาที่ 32.45 กรอบวิ่ง 32.35-32.45

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานฝั่งยุโรป วันนี้ช่วงบ่าย ตามโพลออกมาไม่ค่อยดี ราคาทองน่าจะย่อช่วงบ่ายแก่ๆ ถึงเย็นๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนฝั่งสหรัฐฯ ไม่มีรายงานอะไรที่จะกระตุ้น ราคาทองในช่วงรายงานเลยนะ ขึ้นหรือลง ตามอารมย์ของค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ว่าจะแข็ง ทองก็ลง อ่อนค่า ทองก็ขึ้น แต่ตามรหัส MACD รหัสนำทาง 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์สหรัฐ ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่าลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าครับ

 

ขอบคุณป๋าสำหรับกราฟรหัสคร้าบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันร่วงต่ำสุดรอบ4ปี หุ้นสหรัฐฯดิ่งเหว-ทองคำขึ้นเล็กน้อย

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 ตุลาคม 2557 04:26 น.

 

 

 

 

รอยเตอร์/เอเอฟพี - น้ำมันลอนดอนเมื่อวันจันทร์(13ก.ย.) ร่วงลงต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ปีระหว่างการซื้อขาย หลังชาติผู้ผลิตตะวันออกกลางส่งสัญญาณคงกำลังผลิตแม้ราคาดำดิ่งต่อเนื่อง ส่วนวอลล์สตรีทก็ปิดลบหนักจากความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก สวนทางกับทองคำที่ปิดบวก หลังดอลลาร์อ่อนค่าลง

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ลดลง 8 เซนต์ ปิดที่ 85.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งหล่นไปอยู่ที่ 84.07 ดอลลาร์ ส่วนเบรท์ทะเลเหนือลอนดอน ลดลง 1.32 ดอลลาร์ ปิดที่ 88.89 ดอลลาร์ต่อบร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งร่วงลงไปอยู่ที่ 87.47 ดอลลาร์ ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2010

 

ราคาน้ำมันตลาดลอนดอนร่วงลงเกือบร้อยละ 25 แล้วนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน จากอุปทานล้นตลาดและอุปสงค์ทีอ่อนแอ ทั้งสองปัจจัยนี้เพิ่มความเป็นไปได้ว่าโอเปกจะปรับลดการผลิตลง

 

อย่างไรก็ตามรอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดกับซาอุดีอาระเบีย เปิดเผยว่ามีผู้ส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดยังรับได้กับราคาน้ำมันที่อยู่ระหว่าง 80 ถึง 90 ดอลลาร์ ขณะที่รัฐมตรีพลังงานของคูเวต ก็ยืนยันแบบเดียวกันว่าโอเปกไม่น่าจะมีมติลดกำลังผลิตในการประชุมทางนโยบายครั้งที่กำลังจะมาถึง ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน

 

ด้านหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันจันทร์(13ต.ค.) ดิ่งลงหนัก เนื่องจากความกังวลต่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจโลกยังห้องล้อมตลาด ก่อนหน้าที่บริษัทต่างๆเตรียมเผยแพร่ผลประกอบการไตรมาส 2 ออกมา

 

ดาวโจนส์ ลดลง 223.22 จุด (1.35 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,320.88 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 31.30 จุด (1.64 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,847.83 จุด แนสแดค ลดลง 62.58 จุด (1.46 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,213.66 จุด

 

หลังจากซื้อขายผันผวนในช่วงเปิดตลาด ตลาดก็ร่วงหนักนช่วงชั่วโมงสุดท้าย โดยอาร์ท โฮแกน นักยุทธศาสตร์การตลาดจากวันเดอร์ลิช ซีเคียวริตี บอกว่า "การปรับลดวันนี้ เคลื่อนไหวตามแรงเทขายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตลาดยังคงมีความกังวลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก"

 

ส่วนราคาทองคำวานนี้(13ต.ค.) ฟื้นตัวขึ้นมาปิดบวก จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง หลังเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) บ่งชี้ว่าอาจเลื่อนแผนขึ้นดอกเบี้ยออกไป ปัจจัยนี้ช่วยปลดเปลื้องแรงกดดันออกจากโลหะมีค่า โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 8.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,230.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 13 ต.ค.2557

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายหุ้น ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจและภาวะปรับฐานลงของ อุตสาหกรรมเทคโนโลยี ขณะที่นักลงทุนจับตาดูรายงานผลประกอบการของภาคเอกชน

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,321.07 จุด ร่วงลง 223.03 จุด หรือ -1.35% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,213.66 จุด ลดลง 62.58 จุด หรือ -1.46% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,874.74 จุด ลดลง 31.39 จุด หรือ -1.65%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเป็นส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ หลังจากทางการจีนเปิดเผยว่า ยอดส่งออกเดือนก.ย.พุ่งขึ้นแข็งแกร่งสุดในรอบ 19 เดือน อย่างไรก็ตาม ดัชนี Europe Stoxx 600 ขยับลงเล็กน้อยเนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,812.43 จุด เพิ่มขึ้น 23.62 จุด หรือ +0.27% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,078.70 จุด เพิ่มขึ้น 4.99 จุด หรือ +0.12% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,366.24 จุด เพิ่มขึ้น 26.27 จุด หรือ +0.41%

 

ส่วนดัชนี Europe Stoxx 600 ขยับลงไม่ถึง 0.1% ปิดที่ 321.56 จุด

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) นำโดยหุ้นกลุ่มเหมือง ซึ่งขานรับข้อมูลการค้าที่แข็งแกร่งของจีน

 

ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 26.27 จุด หรือ 0.41% ปิดที่ 6,366.24 จุด

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาส่งสัญญาณว่าอาจจะชะลอเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 8.3 ดอลลาร์ หรือ 0.68% ปิดที่ 1,230 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 4.2 เซนต์ ปิดที่ 17.345 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ปรับตัวลง 40 เซนต์ ปิดที่ 1,261.2 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) หลังจากซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ส่งสัญญาณว่า ซาอุดิอาระเบียสามารถยอมรับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงได้

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย.ขยับลง 8 เซนต์ ปิดที่ 85.74 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.ร่วงลง 1.32 ดอลลาร์ ปิดที่ 88.89 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) หลังจากที่บรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้กล่าวเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ว่า ภาวะชะลอตัวรุนแรงของเศรษฐกิจโลกอาจจะส่งผลให้เฟดต้องเลื่อนการปรับขึ้น ดอกเบี้ยออกไป

 

ค่าเงินยูโรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2679 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2615 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นที่ 1.6061 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6052 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 107.33 เยน เทียบกับระดับ 107.84 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9535 ฟรังค์ จาก 0.9581 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8760 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8708 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,321.07 จุด ลดลง 223.03 จุด -1.35%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,213.66 จุด ลดลง 62.58 จุด -1.46%

 

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,874.74 จุด ลดลง 31.39 จุด -1.65%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,366.24 จุด เพิ่มขึ้น 26.27 จุด +0.41%

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,812.43 จุด เพิ่มขึ้น 23.62 จุด +0.27%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มูลค่าการส่งออกของเยอรมนีในเดือนสิงหาคมลดลงในอัตราสูงสุดรอบ 5 ปี นับเป็นข้อมูลล่าสุดที่แสดงให้เห็นถึงสภาวะทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของประเทศ เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยูโรโซน ส่งผลให้สถาบันเศรษฐกิจหลายแห่งปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเยอรมนีในปีนี้ลง

 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มูลค่าการส่งออกของเยอรมนีในเดือนสิงหาคมลดลง 5.8% จากเดือนก่อน นับเป็นอัตราลดลงที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ระหว่างเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้รายงานตัวเลขคำสั่งซื้อและการผลิตจากภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีก็ เผชิญกับการหดตัวในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 5 ปีเช่นเดียวกัน

ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอทำให้สถาบันเศรษฐกิจชั้นนำของเยอรมนีปรับลดคาด การณ์การเติบโตสำหรับปีนี้และปีหน้าลงอย่างมาก โดยรายงานล่าสุดของสถาบันเศรษฐกิจชั้นนำ 4 แห่งของเยอรมนีซึ่งจัดทำขึ้นร่วมกันปีละ 2 ครั้ง คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตได้ 1.3% ในปีนี้ และ 1.2% ในปี 2558 ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์การเติบโตไว้เมื่อช่วงต้นปีที่ 1.9% สำหรับปีนี้ และ 2% ในปีหน้า พร้อมเตือนว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจภายในประเทศที่ลดลงและแนวโน้มการส่ง ออกจะเป็นปัจจัยกดดันต่อเศรษฐกิจเยอรมนี

เศรษฐกิจทั่วยูโรโซนที่ยังอ่อนแอส่งผลกระทบต่อยอดขายในยุโรปของบริษัท เยอรมนี ขณะที่ความต้องการจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งเคยเข้ามาช่วยทดแทนความต้อง การที่อ่อนแอจากยุโรป เวลานี้มีลดน้อยลงเนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเช่นกัน นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ตลอดจนความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในพื้นที่อื่นๆ อาจเป็นปัจจัยที่สร้างความเสียหายต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในเยอรมนี

สัญญาณบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของเยอรมนีเกิดขึ้นในเวลาที่การฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจทั่วยูโรโซนมีแนวโน้มอ่อนแอลงเช่นเดียวกัน การเติบโตในระดับต่ำทั่วทั้งภูมิภาคและอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูงต่อ เนื่อง ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำจนเสี่ยงต่อภาวะเงินฝืดกดดันให้รัฐบาลยูโรโซน ต้องทบทวนแนวทางนโยบายซึ่งที่ผ่านมาเน้นไปที่การรัดเข็มขัดเพื่อควบคุมการ ขาดดุลและหนี้สาธารณะ

เฟอร์ดินานด์ ฟิชต์เนอร์ นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยดีไอดับเบิลยู วิพากษ์วิจารณ์แนวทางนโยบายของนางอันเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ที่ให้ความสำคัญกับการทำงบประมาณให้มีความสมดุลว่า เป็นนโยบายที่ไม่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในขณะนี้ "มีงบประมาณที่เกินดุลอยู่ซึ่งสามารถนำมาใช้เพิ่มการลงทุนได้" นายฟิชต์เนอร์กล่าว

ด้านนางแมร์เคิลกล่าวในสัปดาห์นี้ว่า รัฐบาลเยอรมนีกำลังหาทางแก้ปัญหาการเติบในระดับต่ำด้วยการกระตุ้นการลงทุน โดยเฉพาะในด้านพลังงานและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงลดกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนของทางการเพื่อเอื้อต่อการลงทุนของภาค ธุรกิจ "เรามุ่งมั่นที่จะเดินไปตามแนวทางนี้และจะหยิบยกปัญหาเหล่านี้มาพูดคุยกันใน เวทียุโรป"

เยอรมนีเริ่มต้นปีด้วยเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แต่ในไตรมาส 2 เศรษฐกิจกลับหดตัวลง 0.2% นักเศรษฐศาสตร์หลายรายประเมินว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 3 อาจจะไม่มีการเติบโต หรือมีโอกาสหดตัวลงเล็กน้อย ซึ่งหมายความว่าเยอรมนีมีโอกาสเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ตลอดจนบางประเทศสมาชิกยูโรโซนได้เรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมนีเพิ่มการใช้จ่าย เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคไม่ให้กลับสู่ภาวะถดถอยและเผชิญกับภาวะ เงินฝืดเหมือนเช่นที่รุมเร้าญี่ปุ่นมาเป็นเวลากว่าสิบปี อย่างไรก็ดี นายโวล์ฟกัง ชอยเบลอ รัฐมนตรีคลังเยอรมนี กล่าวยืนยันบนเวทีสัมมนาของไอเอ็มเอฟในวันพฤหัสบดี (9 ตุลาคม) ว่ารัฐบาลเยอรมนีไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว โดยระบุว่ายุโรปจำเป็นต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

หลายฝ่ายเชื่อว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา เยอรมนีลงทุนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยในช่วงต้นทศวรรษ 1990 การลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนมีสัดส่วน 23% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) แต่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับประมาณ 17% เท่านั้น ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 20% ของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี)ผู้นำภาคเศรษฐกิจเยอรมนีเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่าย โดยรวมถึงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกละเลยมานาน "เราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มการลงทุน รัฐบาลลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเกือบ 2 หมื่นล้านยูโรต่อปี" นายโวลเกอร์ ไทรเออร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมนี กล่าว

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 12 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...