ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (13 ต.ค.) หลังจากที่บรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้กล่าวเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ว่า ภาวะชะลอตัวรุนแรงของเศรษฐกิจโลกอาจจะส่งผลให้เฟดต้องเลื่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไป

 

ค่าเงินยูโรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2679 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2615 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นที่ 1.6061 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6052 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 107.33 เยน เทียบกับระดับ 107.84 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9535 ฟรังค์ จาก 0.9581 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8760 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8708 ดอลลาร์

 

เจ้าหน้าที่เฟดหลายรายได้ออกมาแสดงมุมมองที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับความวิตกกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งอาจจะส่งต่อทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด โดยหากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดล่าช้าออกไปมากกว่าที่คาดก็นับเป็นปัจจัยลบต่อดอลลาร์สหรัฐ

 

นายสแตนลีย์ ฟิชเชอร์ รองประธานเฟดกล่าวในการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า หากการขยายตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศอ่อนแอกว่าที่คาด ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งจะทำให้การยกเลิกนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของเฟดล่าช้าออกไป

 

ความเห็นของนายฟิชเชอร์นับเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำในปัจจุบันต่อไปอีกในช่วงอนาคตอันใกล้นี้

 

นอกจากนี้ คำกล่าวของนายฟิชเชอร์ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับความเห็นของนายแดเนียล ทารุลโล ผู้ว่าการเฟด ซึ่งกล่าวในวันเดียวกันว่า เขามีความวิตกเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก ได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่า การแข็งค่าของดอลลาร์และการขยายตัวที่อ่อนแรงของเศรษฐกิจต่างประเทศอาจจะทำให้เฟดมีเหตุผลน้อยลงสำหรับการปรับขึ้นดอกเบี้ย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 14 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลล์อ่อนค่าลง-วิตกเศรษฐกิจโลกหนุนทองคำปิดตลาดปรับตัวขึ้น

 

 

สัญญาทองคำตลาดล่วงหน้าสหรัฐ ปิดตลาดปรับตัวขึ้น 8.30 ดอลลาร์ หลังจากที่ดอลลาร์อ่อนค่าลง จากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ และความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง

 

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ สหรัฐ ส่งมอบเดือนธ.ค. ปรับตัวขึ้น 8.30 ดอลลาร์ ปิดที่ราคา 1,23.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ความวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ ทำให้นักลงทุนเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และหันมาสนใจการลงทุนทางเลือกที่มีความปลอดภัย อย่างทองคำ

 

นอกจากนี้ สัญญาทองคำ ยังได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง หลังจากที่เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดกันไว้ หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงย่ำแย่ ซึ่งการที่เฟด ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับทอง แต่จะฉุดสกุลเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าลง

 

 

 

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (14/10/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอเปคส่งสัญญาณไม่ลดกำลังการผลิต ฉุดสัญญาน้ำมันดิบตลาดล่วงหน้าสหรัฐปิดร่วง

 

 

สัญญาน้ำมันดิบตลาดล่วงหน้าสหรัฐ ได้รับแรงกดดันจากอุปทานน้ำมันปริมาณมาก หลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) รายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปคโดยเฉลี่ยรายวันอยู่ที่ 30.47 ล้านบาร์เรล ซึ่งเพิ่มขึ้น 402,000 บาร์เรลจากเดือนที่แล้ว และส่งสัญญาณว่ากลุ่มโอเปค จะไม่ลดกำลังการผลิต

 

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัส ตลาดไนเม็กซ์ ส่งมอบเดือนพ.ย. ปรับตัวร่วงลง 8 เซนต์ ปิดที่ 85.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนพ.ย. ร่วงลงไป 1.32 ดอลลาร์ ปิดที่ 88.89 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

นอกจากนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (อีไอเอ) ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐใน รอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 ต.ค.เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาร์เรล แตะ 361.65 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.9 ล้านบาร์เรล และข้อมูลนี้ถ่วงให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวร่วงลง

 

ความวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์ในตลาดโลกที่อ่อนแรงลง ก็เป็นปัจจัยที่ฉุดราคาน้ำมัน โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้เป็นขยายตัว 3.3% ซึ่งลดลง 0.1% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก.ค. และปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าลง 0.2% สู่ระดับ 3.8%

 

นักลงทุนมองว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา จะส่งผลให้ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกย่ำแย่ลงด้วย

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (14/10/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

IMF ระบุ เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวไม่สม่ำเสมอ ขณะที่ความเสี่ยงสู่ภาวะขาลงมีมากขึ้น

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายทาร์มาน ชานมูการัตนาม รัฐมนตรีคลังสิงคโปร์ และประธานที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMFC) กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สม่ำเสมอและขยายตัวได้น้อยกว่าการคาดการณ์ อีกทั้งความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะขาลงนั้น ก็มีมากขึ้นด้วย

 

นายชานมูการัตนามกล่าวในการประชุม IMFC ครั้งที่ 30 ว่า "เห็นได้ชัดเรากำลังอยู่ในช่วงการฟื้นตัวทั่วโลก แต่ก็ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ แม้ว่าเราได้บรรลุเป้าหมายในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังมีสิ่งที่จะต้องทำอีกมาก"

 

IMFC ระบุในแถลงการณ์ว่า ความเสี่ยงในช่วงขาลงเกิดขึ้นจากการที่ประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศเริ่มกลับมาใช้นโยบายการเงินที่เป็นปกติ ภาวะเงินเฟ้อระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ยืดเยื้อยาวนาน ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในตลาดเงิน และความตึงเครียดด้านภูมิศาสตร์การเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้น

 

นอกจากการจัดการความเสี่ยงในปัจจุบันแล้ว รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางที่เข้าร่วมการประชุม IMFC ได้เน้นถึงการจัดการความท้าทายในอนาคต และยอมรับว่าการดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้างมีความจำเป็นต่อการขยายตัวในวันข้างหน้านั้น ยังล่าช้าเกินไป

 

 

 

ที่มา Money Channel (13 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 ตุลาคม 2557) สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 8.3 ดอลลาร์ หรือ 0.68% ปิดที่ 1,230 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาทองคำดีดตัวขึ้นเพราะได้แรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง หลังจากนายสแตนลีย์ ฟิชเชอร์ รองประธานเฟดได้กล่าวในการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า หากการขยายตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศอ่อนแอกว่าที่คาด ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งจะทำให้การยกเลิกนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของเฟดล่าช้าออกไป และนับเป็นสัญญาณที่ตลาดมองว่า เฟดอาจจะชะลอเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงหนุนหลังจากสำนักงานศุลกากรจีน (GAC) เปิดเผยเมื่อวานนี้ ยอดส่งออกของจีนในเดือนก.ย. ทะยานขึ้น 15.3% เมื่อเทียบรายปี แตะที่ 2.137 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 19 เดือน

 

 

ที่มา ฐานเศรษฐกิจ (14 ตุลาคม 2557)

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 32.41/42 แข็งค่าเล็กน้อยตามภูมิภาค หลังดอลล์อ่อน (14/10/2557)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.41/42 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.45/46 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค หลังดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่า

 

"เงินบาทปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยแต่ค่อนข้างนิ่ง ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคปรับตัวแข็งค่าหลังดอลลาร์อ่อนค่า" นักบริหารเงิน กล่าว

 

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ระหว่าง 32.35-32.50 บาท/ดอลลาร์เช่นเดิม

 

"สัปดาห์นี้เงินบาทน่าจะแกว่งตัวในกรอบ" นักบริหารเงิน กล่าว

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.22 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 107.37 เยน/ดอลลาร์

 

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2726 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.2679 ดอลลาร์/ยูโร

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.4220 บาท/ดอลลาร์

 

- นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังกลับจากการเดินทางไปร่วมประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศปี 2557 ที่สหรัฐอเมริกา ว่า ได้หารือกับสถาบันจัดอันดับเครดิต พบว่ามีมุมมองต่อประเทศไทยดีขึ้น โดยต่างชาติมองว่าเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง มีพื้นฐานเศรษฐกิจดี หากการส่งออกปีนี้ดีขึ้นจะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้มากกว่า 1.5%

 

- นางภรณี ทองเย็น อุปนายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เปิดเผยผลสำรวจนักวิเคราะห์ 24 แห่ง เกี่ยวกับแนวโน้มการลงทุนปี 2557-2558 โดยนักวิเคราะห์คาดว่า ราคาทองคำสิ้นปี 2557 จะอยู่ที่ 18,681 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ ปรับลดลงจากเดิม คาดว่าจะอยู่ที่ 20,494 บาท เนื่องจากเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ทำให้นักลงทุนเลือกถือเงินดอลลาร์มากกว่า และสิ้นปี 2558 ราคาทองคำจะอยู่ที่ 19,540 บาท

 

ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยสิ้นปี 2557 อยู่ที่ 1,574 จุด เพิ่มจากคาดการณ์เดิมที่ 1,484 จุด ปรับขึ้น 90 จุด หรือ 6% จากแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ ส่วนดัชนีสิ้นปี 2558 คาดว่าจะอยู่ที่ 1,706 จุด สูงสุดของปีที่ 1,763 จุด ต่ำสุดของปี 2558 ที่ 1,500 จุด

 

- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ เพราะได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ได้ออกมาส่งสัญญาณว่าอาจจะชะลอเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 8.3 ดอลลาร์ หรือ 0.68% ปิดที่ 1,230 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 4.2 เซนต์ ปิดที่ 17.345 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือน ม.ค.ปรับตัวลง 40 เซนต์ ปิดที่ 1,261.2 ดอลลาร์/ออนซ์

 

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ หลังจากซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปค) ส่งสัญญาณว่า ซาอุดิอาระเบียสามารถยอมรับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงได้ โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ย.ขยับลง 8 เซนต์ ปิดที่ 85.74 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือน พ.ย.ร่วงลง 1.32 ดอลลาร์ ปิดที่ 88.89 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ หลังจากบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ได้กล่าวเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ว่า ภาวะชะลอตัวรุนแรงของเศรษฐกิจโลกอาจจะส่งผลให้เฟดต้องเลื่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไป โดยค่าเงินยูโรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2679 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2615 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นที่ 1.6061 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6052 ดอลลาร์ ส่วนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 107.33 เยน เทียบกับระดับ 107.84 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9535 ฟรังค์ จาก 0.9581 ฟรังค์ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8760 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8708 ดอลลาร์

 

ที่มา NG>: สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 14 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อาจจะสามารถกุมอำนาจทางการเมืองในประเทศไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และแผ่ขยายอิทธิพลคุกคามเพื่อนบ้านอย่างยูเครน แต่มีอย่างหนึ่งที่ผู้นำรัสเซียไม่สามารถบงการได้ตามต้องการได้ นั่นคือสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ

 

บลูมเบิร์ก รายงานว่า ตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงแนวโน้มแง่ลบของเศรษฐกิจแดนหมีขาวได้ชัดเจนที่สุดคงหนีไม่พ้น ค่าเงินรูเบิลที่รูดลง 20% นับตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ และตอนนี้อ่อนค่าที่สุดนับจากรัสเซียผิดนัดชำระหนี้ในปี 2541

 

แม้ว่าธนาคารกลางรัสเซียจะพยายามเข้าแทรกแซงด้วยการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศราว 1.75 พันล้านดอลลาร์มาพยุงค่าเงินรูเบิลในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่นักวิเคราะห์มองว่าค่าเงินของรัสเซียจะยังคงทรุดลงอีก เนื่องจากอยู่ภายใต้ "แรงกดดันระยะยาว" ซึ่งนักธุรกิจต่างชาติชะลอหรือยกเลิกแผนการลงทุนในรัสเซียและขนเงินกลับประเทศ ส่วนภาคธุรกิจของรัสเซียก็ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนภายนอกประเทศจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก

 

การผลาญทุนสำรองระหว่างประเทศไปกับการปกป้องค่าเงิน ทำให้เหตุการณ์ลดค่าเงินรูเบิล และผิดนัดชำระหนี้ของรัสเซียในปี 2541 ถูกหยิบยกขึ้นมาเปรียบเทียบอีกครั้งว่าประวัติศาสตร์อาจซ้ำรอยเดิม แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลรัสเซียจะมีเสถียรภาพแข็งแกร่งกว่ายุคนั้น ทั้งยังมีทุนสำรองมากกว่าปีดังกล่าวถึง 57 เท่า

 

ยิ่งไปกว่านั้น ราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของรัสเซียยังมีราคาสูงกว่าเมื่อ 16 ปีที่แล้วถึง 9 เท่า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทั้งหมดข้างต้นไม่ได้รับประกันว่า เศรษฐกิจรัสเซียจะเอาตัวรอดจากหายนะรอบนี้ไปได้

 

ไม่เพียงแค่ชาวต่างชาติเท่านั้นที่สูญเสียความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจแดนหมีขาว แม้แต่คนรัสเซียเองยังเทขายเงินรูเบิลแล้วหันมาถือเงินดอลลาร์หรือยูโร เพื่อรักษาอำนาจซื้อของตัวเอง จนทำให้เงินรูเบิลกลายเป็นสกุลเงินที่ถูกเทขายมากที่สุดในโลกช่วง 3 เดือนมานี้

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาที่รุมเร้าเศรษฐกิจรัสเซียรอบนี้ มีต้นตอมาจากความพยายามขยายอิทธิพลครอบงำเพื่อนบ้านของนายปูติน ด้วยการผนวกแคว้นไครเมียของยูเครน และสนับสนุนกบฏแบ่งแยกดินแดนฝักใฝ่รัสเซียทางภาคตะวันตกของชาติดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจจากสหภาพยุโรปและสหรัฐ แถมยังถูกซ้ำเติมด้วยการร่วงลงของราคาน้ำมันโลกที่ลดต่ำกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับจากเมษายน 2556

 

การทำสงครามค่าเงินของธนาคารกลางรัสเซียมีส่วนทำให้ปีนี้ทุนสำรองระหว่างประเทศหายไปแล้ว 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เหลือ 4.54 แสนล้านดอลลาร์ ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี แต่ดูเหมือนยังไม่สามารถต้านทานกระแสเทขายเงินรูเบิลได้ นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าธนาคารกลางจะออกมาตรการเพิ่มเติม อย่างการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในเดือนนี้ ซึ่งย่อมสะเทือนการเติบโตของเศรษฐกิจรัสเซียที่ลุ่มๆ ดอนๆ อยู่แล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

ผู้รับเคราะห์รายหลักจากการเสื่อมค่าของเงินรูเบิล จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากผู้บริโภคชาวรัสเซียที่ต้องเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งเป็น 8% ส่วนราคาอาหารก็ปรับตัวสูงขึ้นถึง 11.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สืบเนื่องจากรัสเซียสั่งห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารจากประเทศตะวันตก เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติ

 

ฟากธนาคารและธุรกิจสัญชาติรัสเซียก็เจอผลกระทบหนักเช่นกัน เพราะมีหนี้สินในรูปสกุลเงินต่างประเทศถึง 1.58 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งราว 5.47 หมื่นล้านดอลลาร์ของจำนวนดังกล่าวจะครบกำหนดชำระคืนภายใน 3 เดือนข้างหน้า ขณะที่รัฐบาลรัสเซียเองกู้เงินสกุลต่างประเทศราว 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ และถูกสถาบันจัดอันดับสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส หั่นเครดิตในเดือนเมษายนมาอยู่ที่ BBB- ซึ่งสูงกว่าระดับ "ขยะ" เพียงขั้นเดียว

 

ส่วนบริษัทต่างชาติที่เข้าไปตั้งฐานการผลิตในรัสเซีย กำลังประสบปัญหาต้นทุนการนำเข้าชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบจากต่างชาติราคาสูงขึ้นจนต้องผลักภาระให้ผู้บริโภคผ่านการปรับขึ้นราคา ซึ่งจะยิ่งฉุดให้ยอดขายลดลง

 

ที่น่ากังวลคือ มีแนวโน้มจะเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันพร้อมกับราคาสินค้าพุ่งสูง (Stagflation) โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ประเมินว่าปีนี้เศรษฐกิจรัสเซียซึ่งมีขนาด 2.1 ล้านล้านดอลลาร์จะขยายตัวเพียง 0.2% ต่ำสุดนับจากปี 2552 นายลาร์ส คริสเตนเซน นักวิเคราะห์ประเทศตลาดเกิดใหม่จากเดนสเกแบงก์ชี้ว่า "ส่วนผสมที่เลวร้ายที่สุด ได้แก่การอ่อนค่าของเงินรูเบิลกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา"

 

เพราะมีทุนสำรองมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากจีนและญี่ปุ่น ประกอบกับภาคการเงินของรัสเซียได้รับการยกเครื่องขนานใหญ่มาแล้ว ทำให้นักวิเคราะห์หลายสำนักเชื่อว่า มีโอกาสน้อยที่รัสเซียจะเดินซ้ำรอยวิกฤตเศรษฐกิจปี 2541 แต่มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจครั้งนี้อาจสูงพอที่จะกดดันให้นายปูตินยอมวางมือจากการแทรกแซงยูเครน ก่อนที่ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองจะบีบคั้นประชาชนชาวรัสเซียให้พุ่งความโกรธแค้นมาที่ผู้นำประเทศ

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 14 ตุลาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ราคาทองคำเมื่อวานปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ โดยปรับตัวเข้าใกล้แนวต้านบริเวณ 1,240 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ก่อนที่จะเริ่มอ่อนตัวลดช่วงบวกลง...

 

โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวานที่ 1,236.15 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ เพิ่มขึ้น 13.64 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,222 และ 1,237 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวาน ขายออกที่บาทละ 18,900 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 18,800 บาท กองทุน SPDR รายงานว่าได้ลดปริมาณการถือครองทองคำลงราว 2.65 ตัน ส่งผลให้ปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 759.44 ตัน

 

ราคาทองคำปรับตัวขึ้นโดยได้แรงหนุนจากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง เนื่องจาก นักลงทุนกังวลกับแนวโน้มเศรษฐกิจ และกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไปเป็นเวลานาน หลังจากนายสแตนลีย์ ฟิชเชอร์ รองประธานเฟดได้กล่าวในการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า หากการขยายตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศอ่อนแอกว่าที่คาด ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้การยกเลิกนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของเฟดล่าช้าออกไป และนับเป็นสัญญาณที่ตลาดมองว่า เฟดอาจจะชะลอเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

ส่วนราคาทองคำในประเทศได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทซึ่ง วานนี้แกว่งตัวค่อนข้างผันผวน แต่โดยรวมแล้วเงินบาทแข็งค่าขึ้น กดดันให้ราคาทองคำในประเทศวานนี้ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าปกติ วันนี้จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยุโรป ซึ่งผลสำรวจประเมินว่ารายงานที่ออกมายังมีสัญญาณชะลอตัว ซึ่งจะกดดันราคาทองผ่านการอ่อนค่าของเงินยูโร โดยวันนี้จะมีการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเดือนตุลาคม ซึ่งผลสำรวจประเมินว่าจะอยู่ที่ 0.2 จุด จากเดือนก่อนหน้าที่ 6.9 จุด ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศในยูโรโซนเดือนตุลาคมประเมินว่า จะลดลงเหลือ 7.1 จุด จากเดือนก่อนหน้าที่ 14.2 จุด

 

ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมซึ่งผลสำรวจประเมินว่าจะหดตัวลง 1.5 % จากเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวขึ้น 1% ภาพเทคนิคของราคาทองคำยังมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยมีแนวต้านอยู่ที่บริเวณ 1,240 และ 1,250 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ตามลำดับ อย่างไรก็ดีระวังแรงเทขายทำกำไรที่คาดว่าจะมีออกมาเป็นระยะๆ ที่แนวต้านดังกล่าว ขณะที่แนวรับสำหรับกลับเข้าเก็งกำไรในระหว่างวันอยู่ที่บริเวณ 1,218-1,220 และ 1,205 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ตามลำดับ.

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (14/10/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์สหรัฐ ยังปรากฎในทิศทางดอลล์อ่อนค่า แต่พึงคำนึงว่า วันนี้ ประธานธนาคารกลางยุโรป จะออกมาพูดถึงการอัดฉีดเงิน QE เข้าสู่ระบบฯ แล้วเมื่อนั้น มันจะเกิดการเปลี่ยนทิศ เป็นดอลล์แข็งอย่างกะทันหัน ( เพราะวันนี้ มีนายคานที พูด )

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเด็นรายงานฝั่งยุโรป ประธานฯ ธนาคารกลางยุโรป ออกมาพูด และ ตัวเลขเยอรมัน ที่น่าจะอ่อนแอลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...