ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ผมนี่ งง จริงๆๆ เรื่อง ดอกฯ ธนาคารกลางสหรัฐฯ กับ ราคาทอง มันจะเอายังไงกันแน่ เวลามีข่าวฯ ว่า

1. เลื่อนการขึ้นดอกฯ ของ Fed ส่งผล ทำให้ราคาทอง ย่อ ทุกที

2. บอกว่า จะขึ้นดอกฯ ปลายปี เดือนธันวาคม ส่งผล ทำให้ราคาทอง ร่วง

3. เมื่อวาน บอกว่า จะขึ้นดอกฯ 2 ที กันยายน และ ธันวา ส่งผล ทำให้ราคาทอง ร่วง อีกเช่นกัน

** ในเมื่อดอกฯ ตอนนี้ ยังคงเดิม เพราะเป็นเรื่องอนาคต ราคาทองไรับข่าวฯ ล่วงหน้า 4-5 เดือน มันน่าจะขึ้นอยู่กับอารมย์ของนักเกร็งกำไรสหรัฐฯ ที่มักเอา ดอกฯ กับ ทอง มาเกี่ยวข้องกัน คนไทยไม่นิยมหรอกที่จะเอามารวมคำกัน เป็น " ดอกทอง "

 

วันนี้ เราจึงต้องมุ่งหน้า ตั้งตามอง หนี้สินกรีซ ที่จะได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ เพราะข่าวฯ ว่า IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศปฎิเสธเงื่อนไขของกรีซโดยสิ้นเชิง เรามามองประเด็นนี้ดีกว่า ไม่อยากมอง อ้ายกันเล่นแต่ ดอกฯ กับ ทอง

post-775-0-43586800-1435194988.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันในวันพุธ(24มิ.ย.) ขยับลงพอสมควร หลังข้อมูลสหรัฐฯพบกำลังผลิตภายในประเทศยังสูงลิ่ว ส่วนวอลล์สตรีทปิดลบแรง จากสัญญาณปัญหาใหม่ของการเจรจาระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจของอเมริกา กดดันให้ทองคำปรับลดในกรอบๆ

 

น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 74 เซนต์ ปิดที่ 60.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 96 เซนต์ ปิดที่ 63.49 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ข้อมูลกระทรวงพลังงานสหรัฐฯพบว่ากำลังผลิตภายในประเทศในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 มิถุนายน ดีดตัวขึ้นเป็น 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้อีกด้านหนึ่งคลังน้ำมันดิบสำรองในสัปดาห์เดียวกัน จะลดลง 4.9 ล้านบาร์เรล แต่ก็ยังสูงถึง 463 ล้านบาร์เรล ใกล้ๆระดับสูงสุดตลอดกาล

 

จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆเลยที่บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐฯกำลังตัดลดปริมาณการผลิต แม้ต้องเผชิญกับภาวะราคาที่ตกต่ำ

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯในวันพุธ(24มิ.ย.) ขยับลงแรงตามตลาดทุนอื่นๆของยุโรป จากสัญญาณปัญหารอบใหม่ของการเจรจาระหว่างกรีซและเหล่าเจ้าหนี้นานาชาติซึ่งมีเป้าหมายป้องกันไม่ให้เอเธนส์ผิดนัดชำระหนี้

 

ดาวโจนส์ ลดลง 178.00 จุด (0.98 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,966.07 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 15.62 จุด (0.74 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,108.58 จุด แนสแดค ลดลง 37.68 จุด (0.73 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 5,122.41 จุด

 

น้ำเสียงการเจรจาระหว่างกรีซกับเหล่าเจ้าหนี้ระหว่างประเทศเคร่งเครียดหนัก ด้วยนายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ แสดงความไม่พอใจต่อข้อเสนอแย้งของเหล่าเจ้าหนี้ต่อแผนปฏิรูปของรัฐบาล

 

ปีเตอร์ คาร์ดิลโล ประธานฝ่ายยุทธศาสตร์การตลาดของร็อคเวลล์ โกลบอล แคปิตอล ให้ความเห็นว่าประเด็นกรีซเป็นตัวถ่วงตลาด แต่ก็ชี้ว่ามีนักลงทุนบางส่วนตัดสินใจขายออกมา ก่อนสิ้นสุดไตรมาส 2 ในวันอังคารหน้า

 

ส่วนราคาทองคำในวันพุธ(24มิ.ย.) ปิดลบเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน นักลงทุนทบทวนข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาแรกของสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดกรอบเวลาการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ขณะเดียวกันก็จับตาการเจรจาแก้วิกฤตหนี้กรีซ ทองคำตลาดโคเม็กซ์ งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 3.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,172.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ข้อมูลล่าสุดพบว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงไตรมาสแรก หดตัวเพียงร้อยละ 0.2 น้อยกว่าจากที่ประมาณการณ์คราวก่อนที่ระบุว่าน่าจะหดตัวถึงร้อยละ 0.7 ปัจจัยนี้ส่งผลให้นักลงทุนจับตาก้าวย่างต่อไปของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของราคาทอง ปิดวันจันทร์ 1179 แท่งดำ ( เปิดมาสูง ราคาปิดต่ำลงแต่มากกว่าวันก่อน ) แนวโน้มยังคงเป็นด้านลบ ( ขึ้นไปชนแนวต้าน สุดท้ายก็ลงมาแนวรับ ) นอกจาก ช่วงไหนจะมีปัจจัยสำคัญมาเปลี่ยนทางเดินของราคาทอง ยับยั้งการกลับตัวลงมา

post-775-0-84605400-1435630441_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของ US Index ยังคงแนวโน้มแข็งค่า เส้นแดงเส้นดำ ยังไม่มีการตัดกันในรอบใหม่

post-775-0-93862800-1435630599_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท แข็งค่าขึ้นจากเมื่อวาน เสมือนเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ดูเงียบๆ ราบเรียบแบบนี้ เหมือนรอพายุอ่อนเข้ามา

post-775-0-14461600-1435630777_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทยอยเข้าตามแนวรับ ทยอยขายตามจุดต้านที่ปรากฎ

post-775-0-28061200-1435630886_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเดาราคาทอง อาทิตย์นี้ ไม่ได้ให้ตัวเลขขาเสี่ยง เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญในปัญหาการผิดนัดชำระของกรีซ แต่ได้กล่าวเพียงว่า

 

" นักลงทุนต่างรอวินาทีสุดท้ายของปัญหากรีซ ว่าจะเป็นยังไง แล้วค่อยเล่นตามในสิ่งที่จะพาไป ว่า กรีซจะล้มละลายและต้องออกจากยูโรโซนหรือไม่ หรือ จะคงอยู่ในยูโรโซนต่อไป แบบอุ้มๆ กันไป

 

โดยมีการลือว่า นางเมอร์เคิล ได้มีการกล่าวคำพูดว่า " กรีซจะต้องคงอยู่ในยูโรโซน และเธอมีแผนที่จะปกป้องกรีซ " ก็ว่ากันไปท่ามกลางข่าวลือ

 

เมื่อใด ที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าจนเมื่อเทียบกับ US dollar แล้วได้ 1:1 หรือต่ำกว่า เมื่อนั้นจะได้เห็นราคาทองปรับตัวสูงขึ้นมากมาย เพราะต่างคนจะรีบเข้ามาเก็บทองเพื่อเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ณ. ปัจจุบันนี้ ราคาทอง 1177 มีแนวต้าน 1191 และ 1205 เมื่อใดที่สามารถทะลุผ่านแนวต้าน 1205 จะเกิดภาวะตระหนกรีบเก็บทอง แล้วทองจะขึ้นไปมากพอสมควร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอเอฟพี - น้ำมันโลกร่วงหนักและวอลล์สตรีทดิ่งเหวเมื่อวันจันทร์(29มิ.ย.) ท่ามกลางเค้ารางว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ และด้วยความกังวลต่อวิกฤตทางการเงินของเอเธนส์ ผลักให้นักลงทุนแห่เข้าถือครองสินทรัพย์เสี่ยงต่ำและดันราคาทองคำปิดสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์

 

น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 1.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 58.33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 1.25 ดอลลาร์ ปิดที่ 62.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

มีหลายปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการปรับลงในราคาน้ำมันในวันจันทร์(29มิ.ย.) ในนั้นรวมถึงความกังวลต่อภาวะอ่อนแอของเศรษฐกิจจีน ชาติผู้บริโภครายใหญ่ และการเจรจานิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจ อาจนำมาซึ่งข้อตกลงยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อเตหะราน ที่จะเปิดทางให้น้ำมันดิบของอิหร่านเข้าสู่ตลาดนานาชาติเพิ่มเติม ในขณะที่อุปทานนั้นก็ล้นตลาดอยู่ก่อนแล้ว

 

แต่ปัจจัยสำคัญที่เหนี่ยวรั้งราคาน้ำมันวานนี้ เกิดจากการที่กรีซและเหล่าเจ้าหนี้ล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงปล่อยเงินช่วยเหลือแก่เอเธนส์ให้ทันเวลาที่ต้องชำระหนี้จำนวน 1,500 ล้านยูโร แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศในวันอังคาร(30มิ.ย.)

 

ด้วยเค้ารางที่กรีซอาจผิดนัดชำระหนี้นี้เอง ฉุดให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันจันทร์(29มิ.ย.) ร่วงลงอย่างหนักและปิดลบตามตลาดทุนทั่วโลก ขณะที่เอสแอนด์พี บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือคาดหมายว่ามีโอกาสถึง 50-50 ที่เอเธนส์จะต้องออกจากยูโรโซน

 

ดาวโจนส์ ลดลง 350.33 จุด (1.95 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,596.35 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 43.85 จุด (2.09 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,057.64 จุด แนสแดค ลดลง 122.04 จุด (2.40 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,958.47 จุด

 

ในวันจันทร์(29มิ.ย.) ถือเป็นวันแรกใน 2015 ที่เอสแอนด์พี 500 ดิ่งลงมากกว่าร้อยละ 2 และยังเป็นการปิดลบหนักหน่วงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2014

 

นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ผู้นำรัฐบาลฝ่ายซ้ายของกรีซสร้างความตกตะลึงไปทั่วยุโรปในวันอาทิตย์ ( 28 มิ.ย.) หลังออกมาประกาศมาตรการควบคุมเงินทุน และสั่งปิดทำการสถาบันการเงินทั่วประเทศ เพื่อรับมือกับวิกฤตแห่ถอนเงินของประชาชนในประเทศที่รู้สึกกังวลต่ออนาคตของกรีซ หลังรัฐบาลเอเธนส์เลือกใช้การจัดลงประชามติ เป็นทางออกว่าจะทำอย่างไรกับข้อตกลงทางการเงินกับเจ้าหนี้ต่างชาติ

 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ส่งผลให้ในวันจันทร์(29มิ.ย.) สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส(S&P)ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซ จาก'CCC' สู่ '-CCC' โดยบอกว่าตอนนี้ความเป็นไปได้ที่เอเธนส์จะออกจากยูโรโซนอยู่ที่ 50-50

 

วิกฤติทางการเงินที่เลวร้ายลงเรื่อยๆของกรีซ กระพือให้นักลงทุนแสวงหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและดันราคาทองคำเมื่อวันจันทร์(29มิ.ย.) แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 5.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,179.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มีประชาชนราว 17,000 คนรวมตัวกันบนท้องถนนของเอเธนส์และเทสซาโลนิกิเมื่อวันจันทร์(29มิ.ย.) แสดงพลังว่าจะโหวต "โน" ต่อข้อเสนอข้อตกลงช่วยเหลือล่าสุด พร้อมกล่าวหาเหล่าเจ้าหนี้นานาชาติว่าขู่กรรโชก

 

"ชีวิตของเราไม่ได้เป็นของเจ้าหนี้" ป้ายข้อความหนึ่งที่ขึงอยู่เหนือผู้ประท้วง ที่ส่วนใหญ่เป็นเหล่าผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส และบอกว่าจะทำตามเสียงเรียกร้องของผู้นำรายนี้ที่ขอให้โหวตต่อต้านข้อตกลงล่าสุดในการลงประชามติวันอาทิตย์นี้(5ก.ค.) แม้เสี่ยงผลักให้ประเทศต้องออกจากยูโรโซนก็ตาม

 

"ประชาชนกรีซเสียสละมามากแล้ว สิ่งที่ผมสนใจไม่ใช่ยูโร แต่เป็นสิ่งรับประกันเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่สง่างามของอนุชนรุ่นหลัง" สานเกลิส เซเรส วัย 50 ปี ที่ว่างงานมาตั้งแต่ช่วงต้นของวิกฤตหนี้สินปี 2010 บอกกับเอเอฟพีจากจัตุรัสซินตักมาในเมืองหลวง

 

ก่อนหน้านี้ในวันจันทร์(29มิ.ย.) เหล่าผู้นำสหภาพยุโรป ร้องขอผู้มีสิทธิ์ออกเสียงชาวกรีซ โหวตสนับสนุนข้อเสนอช่วยเหลืออันที่เป็นถกเถียงหรือไม่ก็เสี่ยงออกจากยูโรโซน โดยนายฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เตือนชาวกรีซว่าไม่ควรเลือกฆ่าตัวตายเพียงเพราะกลัวความตาย พร้อมเรียกร้องโหวต "เยส" เนื่องจากหากโหวต "โน" จะเท่ากับหันหลังให้แก่ยุโรป อย่างไรก็ตาม ลอลา บากรินา หนึ่งในผู้ชุมนุมบอกว่าเธอจะโหวต "โน" เพราะเธอต้องการปลดปล่อยลูกๆให้เป็นอิสระ"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อวันจันทร์(29มิ.ย.) เรียกร้องชาวกรีซโหวต "YES" ในประชามติชี้ชะตารับข้อเสนอกู้ยืมหรือออกจากยูโร ขณะที่คำสั่งปิดธนาคารของเอเธนส์ทำประชาชนตะเกียกตะกายควานหาเงินสด อย่างไรก็ตามพอมีสัญญาณแง่ดีเข้ามาบ้าง หลังเหล่าเจ้าหนี้อย่างเยอรมนี แบะท่าประนีประนอมพร้อมเปิดโต๊ะเจรจารอบใหม่ แต่ต้องหลังประชามติ ส่วนประธานยูโรกรุ๊ปก็เชื่อว่ายังมีหนทางที่จะหลีกเลี่ยง "Grexit" หรือกรีซต้องออกจากยูโรโซน

 

จุงเกอร์ กล่าวโจมตีตรงๆต่อนายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีของกรีซ โดยบอกว่าเขารู้สึกผิดหวังต่อพฤติกรรมของรัฐบาลซ้ายจัดเอเธนส์ พร้อมระบุถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลของนายซีปราสต้องบอกความจริงกับผู้มีสิทธิ์ออกเสียง

 

กรีซ ซึ่งประกาศมาตรการควบคุมเงินทุนเมื่อวันอาทิตย์(28มิ.ย.) กำลังโงนเงนสู่การผิดนัดชำระหนี้ต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)ในวันอังคาร(30มิ.ย.) และเป็นไปได้ที่ต้องออกจากยูโรโซน หลังสร้างความตกตะลึงด้วยการล้มโต๊ะเจรจาหนี้กับเหล่าเจ้าหนี้ระหว่างประเทศเมื่อวันเสาร์(27มิ.ย.)

 

เมื่อยังไม่มีข้อตกลงปฏิรูปแลกความช่วยเหลือซึ่งจะปลดล็อกเงินกู้งวดสุดท้าย 7,200 ล้านยูโรที่ถูกแช่แข็งไว้ กรีซซึ่งนับตั้งแต่ปี 2010 ได้รับแพกเกจเงินกู้ช่วยไม่ให้ล้มละลาย 2 แพกเกจคิดเป็นมูลค่ารวม 240,000 ล้านดอลลาร์แล้ว ก็คงต้องผิดนัดชำระหนี้ ไม่มีเงินผ่อนจ่ายคืนเงินกู้ให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อถึงกำหนดชำระในวันอังคาร (30 มิ.ย.)

 

"ผมจะบอกกับชาวกรีซ คนที่ผมที่รักอย่างสุดใจ ว่าคุณไม่ควรเลือกฆ่าตัวตายเพียงเพราะคุณกลัวความตาย" อดีตนายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์กล่าว พร้อมเรียกร้องชาวกรีซโหวต "เยส" ในการลงประชามติวันอาทิตย์(5ก.ค.)นี้ "การโหวตโนอาจหมายถึง กรีซปฏิเสธยุโรป" เขาแถลงต่อผู้สื่อข่าวในกรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม

 

นายจุงเกอร์ แสดงความผิดหวังอย่างยิ่งต่อนายซีปราสวัย 40 ปี เนื่องด้วยในช่วงเวลา 5 เดือนแห่งการเจรจาหนี้ที่เต็มไปด้วยปัญหา ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปรายนี้เป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดหรือบางครั้งก็เป็นพันธมิตรเพียงหนึ่งเดียวของกรีซ อย่างไรก็ตามเอเธนส์ ก็ตอบโต้กลับมาอย่างทันควัน โดยตั้งคำถามถึงความจริงใจของนายจุงเกอร์ในโต๊ะเจรจา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ด้วยโลกาภิวัฒน์ของการเงินที่เกิดจากการจากการกู้ยืมที่มีความเสี่ยงสูง การค้าระหว่างประเทศไม่สมดุล เเละฟองสบู่เเตกในภาวะการปล่อยสินเชื่อที่ง่ายทั่วทวีปยุโรป ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวง โดยเฉพาะต่อ "ประเทศกรีซ" ซึ่งภายหลังได้เริ่มใช้เงินสกุลยูโรในเดือนมกราคม ปี 2544 ทำให้กรีซสามารถกู้ยืมเงินได้จากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ต่ำจนเกินไป ทำให้เกิดภาวะขาดดุลทางภาครัฐเเละมีหนี้สินสาธารณะเกินที่จะสามารถควบคุมได้

 

วิกฤติหนี้กรีซ...มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

 

2552 /2009

 

สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจกรีซ สาเหตุแรกมาจาก การขาดดุลภาครัฐของรัฐบาล โดยในปี 2552 การขาดดุลการคลังของกรีซอยู่ที่ 12.7% ของ GDP ซึ่งสูงกว่าระดับที่เหมาะสมที่ทางกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ถึงประมาณ 4 เท่าตัว จากการขาดดุลภาครัฐของรัฐบาลนั้นส่งผลให้หนี้ของภาครัฐของกรีซเพิ่มสูงขึ้นถึง 112.6% ของ GDPในปี 2552 ซึ่งสูงกว่าระดับที่เหมาะสมที่ทางกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ถึงประมาณเกือบ 2 เท่าตัว

 

ปี 2553/2010

 

ในเดือน มีนาคม 2553 รัฐสภากรีซผ่านร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดรายจ่ายภาครัฐลงถึง 48,000 ล้านยูโร โดยการดำเนินมาตรการหลายอย่าง รวมทั้งการลดค่าจ้างภาคเอกชน เป็นเหตุให้ประชาชนนัดหยุดงานทั่วประเทศ ณ กรุงเอเธนส์เพื่อประท้วงต่อการลดค่าใช้จ่ายและการเพิ่มภาษี

 

ในเดือนพฤษภาคม 2553 ได้มีการบรรลุข้อตกลงกู้ยืมระหว่างกรีซ กับกลุ่มทรอยกา ซึ่งได้แก่ สหภาพยุโรป, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวประกอบด้วยเงินกู้ทันที 45,000 ล้านยูโรที่จะได้รับในปี2553 และเงินกู้อื่น ๆ จะได้รับในภายหลัง ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 110,000 ล้านยูโร โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 5%

 

ในเดือนตุลาคม 2553 สำนักงานสถิติแห่งเฮเลนนิค (The Hellenic Statistical Authority-ELSTAT) ได้รายงานผลสำรวจว่า อัตราการว่างงานของกรีซ เพิ่มสูงขึ้นเป็น 13.5 นับว่าสูงสุดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา

 

ในเดือนธันวาคม 2553 กรีซมีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.2% และมีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 65.6% ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ 67.3% โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดน้อยลงเป็นผลมาจากเศรษฐกิจของกรีซที่ยังย่ำแย่ และสภาพการเงินฝืดเคืองสะท้อนภาพอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนกำลังลงได้ชัดเจน

 

 

ปี2554/2011

 

กลาง ปี2554กรีซยังประสบปัญหาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจถึงจะมีมาตรการรัดเข็มขัด และพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจลดจำนวนข้าราชการเพิ่มภาษีแต่ก็ยังไม่สามารถระดม เงินได้ทันและคาดว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ทันกำหนดส่งผลให้ธนาคารและสถาบัน การเงินต่างๆในยุโรปโดยเฉพาะในเยอรมนีและฝรั่งเศสซึ่งถือพันธบัตรหรือตราสาร หนี้ของกรีซเป็นมูลค่าสูงได้รับผลกระทบตามไปด้วย

 

 

ปี2555/2012

 

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จาก ผลกระทบต่อประเทศในยูโรโซนดังกล่าว รัฐบาลกรีซจึงได้รับการอนุมัติเงินช่วยเหลือระยะสองมูลค่า 130,000 ล้านยูโร จากมติของที่ประชุมของยูโรกรุ๊ป ซึ่งจำนวนเงินส่วนหนึ่งจะเข้าสู่สถาบันการเงินกรีซไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านยูโร และการปรับลดหนี้ของภาคเอกชนลงร้อยละ 53.5 ด้วยการลดอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้และออกตราสารใหม่เพิ่มเติม ที่จะมีผลให้หนี้สินภาคเอกชนลดลงประมาณ 110 ล้านยูโร จากเดิม 206 ล้านยูโร โดยครั้งนี้รัฐบาลของประเทศสมาชิกอียู พยายามดึงธนาคารและสถาบันการเงินเอกชนเข้ามาร่วมรับภาระด้วยและกำหนดให้ รัฐบาลกรีซต้องดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดด้านการเงินและการคลังอย่างจริงจัง

 

เดือนธันวาคม2555กรีซเสนอร่างกฎหมายจัดเก็บภาษีเพิ่มอีก2,500ล้านยูโร(ราว100,000ล้านบาท)ระหว่างปี2556-2557 ภายใต้เงื่อนไขรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยร่างกฎหมายจัดเก็บภาษีเพิ่มเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการตัดลดค่าใช้จ่าย มูลค่า 13,500 ล้านยูโร (ราว 540,000 ล้านบาท) เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้สามารถรับความช่วยเหลืองวดใหม่จากสหภาพยุโรป (อียู)และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

 

โดยธนาคารกลางกรีซ ประเมินว่า การลดค่าใช้จ่ายและขึ้นภาษีจะทำให้เศรษฐกิจกรีซปีหน้าถดถอยเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน เศรษฐกิจจะหดตัวรวมร้อยละ 24 โดยกรีซจะต้องดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้ได้เงินกู้ก้อนใหม่ 14,700 ล้านยูโร (ราว 588,000 ล้านบาท) ภายในสิ้นเดือนมีนาคม (2556) เพื่อเลี่ยงการประสบภาวะล้มละลาย

 

ปี 2556/2013

 

เดือนกรกฎาคม 2556 เจ้าหนี้กลุ่มทรอยกาที่ประกอบไปด้วย คณะกรรมาธิการยุโรป ธนาคารกลางยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า การกอบกู้เศรษฐกิจของกรีซดำเนินไปอย่างเชื่องช้าเกินไป และไม่มีความแน่นอน

 

โดยในการประชุมของกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ที่กรุงบรัสเซลล์ มีข้อตกลงการมอบเงินช่วยเหลือกรีซจำนวน 2,500ล้านยูโร จากกองทุนช่วยเหลือยูโรโซน กับอีก 1,500 ล้านยูโรจากธนาคารกลางยุโรป จากนั้นภายในเดือนตุลาคม(ปีเดียวกัน)จะมีการโอนเงินเพิ่มเติมอีก 500 ล้านยูโรจากกองทุนช่วยเหลือและอีก 500 ล้านยูโรเท่ากันจากธนาคารกลางยุโรป ส่วนไอเอ็มเอฟ จะมอบเงินกู้งวดแรก 1,800 ล้านยูโร จากทั้งหมด 6,800 ล้านยูโร

 

โดยในขณะนั้น มีเจ้าหน้าที่รัฐหลายพันคนรวมตัวชุมนุมประท้วงแผนการปรับลดเจ้าหน้าที่รัฐ ตามเงื่อนไขเงินกู้ของทรอยกา เนื่องจากเห็นว่ากรีซมีอัตราว่างงานมากเกือบร้อยละ 30 และมาตรการรัดเข็มขัดโดยการปลดเจ้าหน้าที่รัฐจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาและทำให้คนยากจนลงไปกว่าเดิม

 

ต่อ มากรีซได้สั่งปิดสถานีโทรทัศน์"เฮเลนิคบรอดแคสติ้งคอร์ปอเรชั่น"หรือERT เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับสหภาพยุโรปและกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศในการตัดลดงบประมาณอย่างการปิดรัฐวิสาหกิจโดยการปิดสถานี โทรทัศน์ดังกล่าวได้สร้างความประหลาดใจให้กับชาวกรีซซึ่งสถานีโทรทัศน์ 7 แห่ง สถานีวิทยุ 29 แห่ง รวมไปถึงหน้าเว็บไซต์อีกหลายเว็บถูกปิดตัวลง รวมไปถึงลูกจ้างอีก 2,650 คนถูกไล่ออกจากงาน ซึ่งนายแอนโตนิส ซามาราส นายกฯของกรีซ(ในขณะนั้น) กล่าวว่า การปิดสถานีโทรทัศน์ ERT ของรัฐนั้นเป็นแค่การปิดชั่วคราว เพื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของส่วนรวม

 

ปี 2557 /2014

 

ภายใต้เงื่อนไขของการรับความช่วยเหลือทางการเงินจากนานา ชาติ กรีซต้องจัดทำงบประมาณเกินดุลให้ได้ถึง 4.5 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพีในปี 2559 ซึ่งรัฐบาลกรีซในขณะนั้นบอกว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายดังกล่าวโดยไม่ต้อง ใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่ไม่ได้รับความนิยมมากไปกว่านี้แต่หวังว่าจะหันมา อาศัยความช่วยเหลือจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและระบบการจัดเก็บภาษีที่ดีขึ้น

 

ด้าน ทรอยกายืนยันว่ากรีซจะต้องตัดลดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มอีกเนื่องจากพวกเขา กังขาว่าความแข็งแกร่งของระดับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการปราบปรามบรรดาผู้ ที่หลบเลี่ยงภาษีอย่างเอาจริงเอาจังคงไม่สามารถฟื้นฟูสถานะทางการเงิน ของกรีซได้มากเพียงพอ

 

นอกจากนี้กรีซและบรรดาเจ้าหนี้นานาชาติยังไม่ สามารถบรรลุข้อตกลงในประเด็นสำคัญๆอีกหลายเรื่องซึ่งรวมถึงการจัดทำงบประมาณ ของปี2557ยุทธศาสตร์ทางการคลังระยะกลางระหว่างปี2557-2560 และกฎการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ใหม่ ทั้งนี้ รัฐบาลกรีซต้องชำระหนี้พันธบัตรมูลค่า 1,850 ล้านยูโร (ราว 79,000 ล้านบาท) ภายในต้นเดือนมกราคมปี2558

 

 

ปี 2558/2015

 

เดือนมกราคม 2558 นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรคไซรีซา ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกรีซ โดยนายซิปราสได้เป็นผู้นำพรรครัฐบาลผสมหลังคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปของกรีซ

 

โดยก่อนหน้านี้ พรรคไซริซา ได้ชูนโยบายหาเสียงว่าจะต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ชาวกรีกต้องแบกรับ แลกกับแพ็กเกจเงินกู้ช่วยเหลือจากนานาชาติ อาจทำให้เกิดความขัดแย้งในอนาคตระหว่างกรีซกับกลุ่มเจ้าหนี้ จนนำไปสู่การแยกตัวจากยูโรโซนได้

 

ทั้งนี้ ในอดีตระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งปี 2555 นายซีปราสเคยโจมตีพรรครัฐบาลขณะนั้นอย่างรุนแรงที่ยอมดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดตามใบสั่งจากเจ้าหนี้ และการได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดทำให้เขาเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่วโลก ว่าเป็นนายกฯกรีซที่กล้างัดข้อกับกับไอเอ็มเอฟ และสหภาพยุโรป

 

สำหรับ ความกังวลเรื่องกรีซจะออกจากยูโรโซน ที่เริ่มซาลงหลังจากรัฐบาลกรีซชุดใหม่สัญญาว่าจะไม่ยกเลิกหนี้ครึ่งหนึ่งตาม ที่เคยลั่นวาจาไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งได้กลับมาเป็นประเด็นถกเถียงกันใน ยุโรปอีกครั้งหลังจากนายอลันกรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ออกมาทำนายว่ากรีซจะต้องออกจากยูโรโซนอย่างแน่นอน มิเช่นนั้นก็จะไม่สามารถหลุดพ้นจากวิกฤตหนี้ได้ ทำให้ทั่วโลกหันกลับมาหวั่นวิตกกับวิกฤตยูโรโซน และเริ่มการประเมินความเสี่ยงอย่างจริงจังอีกครั้งว่าหากกรีซต้องหลุด จากกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินสกุลยูโรจริงๆจะเกิดอะไรขึ้นกับกรีซและยุโรป

 

ทั้งนี้โดยเมื่อปีที่เเล้วนายอันโตนิส ซามาราส อดีตนายกรัฐมนตรีผู้เป็นฝ่ายโปรยุโรป เคยกล่าวไว้ว่าหากกรีซออกจากยูโรโซน คุณภาพชีวิตของชาวกรีกจะตกต่ำลงถึงร้อยละ 80 ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ กิจการต่างๆจะล้มละลาย และธนาคารจะต้องอายัดบัญชีเงินฝากของประชาชนเพื่อไม่ให้แบงก์ล้ม ขณะที่ราคาสินค้านำเข้าจากยุโรปจะแพงขึ้น 2-4 เท่า เนื่องจากสกุลเงินของกรีซจะอ่อนค่าจนไม่ต่างจากกระดาษ แม้แต่ธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งน่าจะได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินกรีซอ่อน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติจับจ่ายใช้สอยได้คล่องมือขึ้น ก็อาจได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจที่หนักหนาสาหัส

 

เดือนกุมภาพันธ์2558 มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีคลังของกรีซกับประเทศยูโรโซน เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการแก้ไขวิกฤติ หนี้ของกรีซ ซึ่งในการประชุมดังกล่าวได้ปิดฉากลงในเวลาอันรวดเร็วโดยไร้ความคืบหน้า ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวของทั้งสองฝ่าย

 

เดือนมีนาคม 2558 ทางการสหภาพยุโรปได้เปิดการหารือกับนายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ เกี่ยวกับการจัดการปัญหาหนี้ของกรีซ โดยสมาชิกอียูหลายประเทศ รวมทั้งเยอรมนียืนกรานหนักแน่นว่ากรีซจะต้องทำตามเงื่อนไขของอียูอย่างเคร่ง ครัด โดยอียูได้ตัดสินใจขยายเวลาเงินกู้มูลค่า 240,000 ล้านยูโรให้กับกรีซ ซึ่งยอมยืดกำหนดเวลาชำระหนี้ของกรีซออกไปอีก 4 เดือน ด้านรัฐบาลกรีซอ้างว่า เป็นเงื่อนไขของฝ่ายอียูในการเข้ามาตรวจสอบการบริหารเงินกู้ของกรีซนั้นอยู่ เหนือบทบาทของการเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงและเหล่าเจ้าหนี้พยายามเข้าแทรก แซงการเมืองกรีซ

 

เดือนพฤษภาคม2558 กรีซกับเจ้าหนี้ทั้ง3ฝ่าย ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางยุโรปและIMFยังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องเงินกู้มูลค่า 7,200 ล้านยูโรกันได้ ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของแพ็กเกจเงินช่วยเหลือ 240,000 ล้านยูโร โดยเจ้าหนี้ปฏิเสธที่จะอนุมัติเงินก้อนดังกล่าว

 

ด้านผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวกรีก พบว่า 3 ใน 4 ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซนต่อไป และเกินครึ่งต้องการให้รัฐบาลบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ แม้ว่าจะหมายถึงการต้องแบกรับการรัดเข็มขัดที่หนักขึ้น ดังนั้นหากนายซีปราส นายกฯไม่สามารถตกลงกับเจ้าหนี้ได้ย่อมส่งผลต่อคะแนนเสียง

 

27 มิถุนายน 2558 นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ประกาศใช้มาตรการลงประชามติซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 5 ก.ค นี้ เพื่อพิจารณาว่า กรีซควรรับข้อเสนอให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อกู้วิกฤตหนี้หรือไม่ ซึ่งกลุ่มเจ้าหนี้ทั้งสหภาพยุโรปและธนาคารกลางยุโรป ระบุในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอียูในเบลเยี่ยมว่าจะยืดเวลาช่วยเหลือไปอีก 5 เดือนเเละหากว่ากรีซทำตามเเผนปฎิรูปการเงิน กลุ่มเจ้าหนี้ก็พร้อมที่จะอนุมัติเงินกู้ช่วยเหลือราว 68,000 ล้านบาทให้ในทันทีรวมถึงจะพิจารณาอนุมัติเงินกู้งวดสุดท้ายอีก 270,000 ล้านบาท จากงบประมาณช่วยเหลือทั้งสิ้น 9 ล้านล้านบาท

 

ด้านนายซีปราส ยืนกรานว่า ข้อเสนอดังกล่าวสร้างความอับอายให้กรีซเเละได้ประณามข้อเรียกร้องของกลุ่มเจ้าหนี้ว่ามากเกินกว่าจะรับได้ เเละนายกฯกรีซยังยืนยันไม่ทำตามข้อเสนอ เเม้จะต้องชำระหนี้กว่า 56,000 ล้านบาทภายในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ก็ตาม

 

28 มิถุนายน 2558 ชาวกรีกทั่วประเทศ แห่พากันไปถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มของธนาคาร ด้วยความตื่นตระหนกและกังวล เนื่องจากนายกฯกรีซประกาศชัดเจนว่า รัฐสภามีมติเห็นชอบให้มีการลงประชามติ เกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กรีซยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับบรรดาเจ้าหนี้ได้ โดยนายสตาฟรอส โคคอส ประธานสหภาพพนักงานธนาคาร เผยว่า ตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา(27 มิ.ย.) มีเงินสดถูกถอนออกไปราว 1,300 ล้านยูโร หรือประมาณ 48,954 ล้านบาท ซึ่งมีเพียง 40% เท่านั้นที่ยังมีเงินสดเหลืออยู่ในตู้เอทีเอ็ม

 

และนี่คือ ลำดับเหตุการณ์ความเป็นมาของวิกฤติหนี้สาธารณะของประเทศกรีซ และกำลังเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่จะกระทบวงกว้างต่อประชาคมเศรษฐกิจยุโรปอยู่ในเวลานี้...

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 29 มิถุนายน 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรและเงินเยนเมื่อคืนนี้ (29 มิ.ย.) ขณะที่สถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับวิกฤตหนี้กรีซส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนใน ตลาดการเงิน และทำให้นักลงทุนไม่แน่ใจว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1248 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.1160 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5736 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5731 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 122.46 เยน จาก 123.85 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9264 ฟรังก์ จาก 0.9364 ฟรังก์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7703 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7652 ดอลลาร์

 

ดอลลาร์อ่อนแรงลง เนื่องจากนักวิเคราะห์เกรงว่าเฟดชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป หากความปั่นป่วนในกรีซลุกลามมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

 

ขณะเดียวกัน สกุลเงินยูโรฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่ร่วงหนักในการซื้อขายช่วงเช้าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐจากความกังวล ที่ว่ากรีซอาจจะผิดนัดชำระหนี้ หลังจากที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ในการเจรจาเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ ที่ผ่านมา

 

กรีซมีกำหนดชำระหนี้ 1.6 พันล้านยูโรแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในวันนี้ และการผิดนัดชำระหนี้อาจส่งผลให้กรีซต้องออกจากยูโรโซน

 

นอกจากนี้ นักลงทุนต่างก็จับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในเดือนมิ.ย.ที่ จะมีการเปิดเผยในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อประเมินภาพรวมเกี่ยวกับตลาดแรงงานสหรัฐ ซึ่งอาจจะบ่งชี้ถึงช่วงเวลาในการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 30 มิถุนายน 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...