ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ส้มโอมือ

พลังงานทางเลือกเพื่อรักษาธรรมชาติที่สวยงามของประเทศ

โพสต์แนะนำ

10245494_10152088631732098_4374920419214807145_t.jpg

 

Greenpeace Southeast Asia (THAILAND)

 

ถูกใจหน้านี้ · 21 เมษายน

 

 

รับสมัครนักวิ่งรณรงค์ปกป้องกระบี่ในงาน "Greenpeace Mini Marathon – Run for Krabi" >> http://on.fb.me/1ntX1KC

 

18 พ.ค.นี้ มาร่วมผนึกพลังในการวิ่งรณรงค์ครั้งประวัติศาสตร์ เพื่อปกป้องมรกตแห่งอันดามัน ท้องทะเลที่สวยงาม และความสมบูรณ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับโลก จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน พร้อมประกาศก้องให้โลกรู้ว่า..กระบี่ของไทย เอาถ่านหินมาแลกเราไม่ยอม! #RunForKrabi #ProtectKrabi

 

ลงทะเบียนสมัครได้เลยที่ ► http://bit.ly/1lrnc3c

 

post-38-0-81680400-1398435191_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Decharut Sukkumnoed

 

เมื่อวานนี้

สอง ภาพแรกจากกระบี่ เป็นแผนที่การขนส่งถ่านหินจากประเทศออสเตรเลียและอินโดนีเซีย โดยตอนแรกมาด้วยเรือขนาดใหญ่ 50,000-100,000 ตัน แล้วมาจอดขนถ่ายลงเรือเล็กขนาด 3,000 ตัน ที่ใกล้เกาะปอ (ประมาณ 5 กม.จากเกาะปอ) แล้วเรือเล็กก็จะขนส่งเลียบชายฝั่ง ผ่านพื้นที่ การทำประมงและแหล่งหญ้าทะเล รวมถึงเส้นทางการท่องเที่ยวทางเรือ มาเข้าสู่แหลมหิน เหนือเกาะศรีบ่อยา เพื่อจอดที่ท่าเทียบเรือคลองรั้ว ซึ่งอยู่ในอ่าวแหลมหินที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำโดยธรรมชาติที่สำคัญของ จ.กระบี่ จากนั้น เขาจะขนถ่านเข้าสู่ท่าเรือ และขนผ่านอุโมงค์รอดใต้ป่าชายเลนยาว 2 กม. ก่อนขนสู่สะพานถ่านกินยาว 6.4 กม. จนถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ ต.เหนือคลองครับ ภาพนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานก่อนนะครับ ก่อนที่จะเจาะลงสู่การวิเคราะห์ผลกระทบในลำดับต่อไปครับ

post-38-0-48022400-1398435512_thumb.jpg

post-38-0-48022400-1398435512_thumb.jpg

post-38-0-15299300-1398435565_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Decharut Sukkumnoed

 

เมื่อวานนี้

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากการขนส่งถ่านหินสำหรับโรงไฟฟ้ากระบี่

 

พื้นที่ที่กฟผ. เตรียมไว้สำหรับเป็นท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหินคือ ท่าเทียบเรือคลองรั้ว ต.ตลิ่งชัน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ หรือเรียกกันว่า "อ่าวแหลมหิน" ซึ่งในด้านในของอ่าวแหลมหินเป็นพื้นที่ ป่าชายเลนขนาดใหญ่จึงเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญของจ.กระบี่ ส่วนพื้นที่อ่าว (ซึ่งเป็นเส้นทางวิ่งและท่าจอดเรือ) และพื้นที่ในทะเล เป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญของชาวบ้านหมู่บ้านแหลมหิน โดยในภาพจะเห็นปลาหมึก ปลากระเบน และปลิงทะเล ที่จับได้โดยชาวบ้านแหลมหิน จะเห็นว่าอ่าวนี้มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ

 

ปัจจุบัน กฟผ. ใช้น้ำมันเตาในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า และใช้เรือขนส่งน้ำมันเตามาที่ท่าเทียบเรือ ตามร่องน้ำนี้อยู่แล้ว โดยชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า เรือน้ำมันมักแล่นชนเครื่องประมงของชาวบ้านเสมอๆ ทำให้พื้นที่การทำประมงของชาวบ้านลดลงครับ

 

พื้นที่ในทะเลด้านนอกทั้งสองฝั่ง ตรงปากทางเข้าแหลมหิน นอกจากจะเป็นพื้นที่ทำประมงแล้ว ยังเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากจ.ตรัง ดังนั้นจึงเป็นแหล่งกระจายพันธุ์ที่สำคัญของพะยูน สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ด้วยครับ

 

โดยสรุป การขนส่งถ่านหินและท่าเทียบเรือถ่านหิน ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของ จ.กระบี่เป็นอย่างมาก ความผิดพลาดจากการดำเนินการขนถ่ายถ่านหิน (หากมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสมบูรณ์ของทรัพยากรในพื้นที่ โดยเฉพาะการสะสมของโลหะหนักในสัตว์น้ำครับ

 

นี้เป็นรายงานจากการเดินทางครั้งแรกครับ เดี๋ยวพวกเราจะลงไปศึกษากันเพิ่มเติมอีกในเดือนมิ.ย. ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พ.ร.บ.ปิโตรเลียมกับเพลง “จดหมายผิดซอง”: คสช.ช่วยได้ไหม?

blank.gif โดย ประสาท มีแต้ม 1 มิถุนายน 2557 22:48 น.

 

 

 

blank.gif ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปน่าจะเคยได้ยินเพลงลูกทุ่ง “จดหมายผิดซอง” ขับร้องโดยมนสิทธิ์ คำสร้อย เป็นเพลงที่ดังมากจนได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำเมื่อปี 2540 ดังนั้นคนรุ่น 30 ปีขึ้นไปจึงน่าจะโตพอที่จะจำความได้แล้ว

 

แต่ก่อนจะเล่าต่อไป เพื่อเอาใจท่านผู้อ่านที่มีเวลาน้อย ผมขอเรียนสรุปไว้ตั้งแต่ตอนนี้เลยว่า สาเหตุที่คนไทยต้องซื้อก๊าซหุงต้มในราคาแพงกว่าเจ้าของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ถึงเกือบสองเท่านั้นเกิดจากปรากฏการณ์ “จดหมายผิดซอง” ที่อยู่ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมนั่นแหละ

 

นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยส่งน้ำมันดิบออกต่างประเทศปีละกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ทั้งๆ ที่มีการนำเข้าน้ำมันดิบจำนวนมาก รวมทั้งการส่งน้ำมันสำเร็จรูป (มูลค่าปี 2556 เกือบ 4 แสนล้านบาท) ในราคาที่ถูกกว่าขายให้คนไทยที่หน้าโรงกลั่นก็เป็นเพราะปรากฏการณ์ “จดหมายผิดซอง” เช่นเดียวกัน

 

กลับมาต่อกันที่เรื่องเพลงเดิมครับ เนื้อเพลงกล่าวถึงหนุ่มคนหนึ่งซึ่งได้รับจดหมายทางไปรษณีย์ของสาวที่เคย บอกว่ารักเขา เนื้อเพลงเริ่มต้นด้วยความรู้สึกที่แสนดีใจเพราะจำลายมือหน้าซองได้ แต่เมื่อเขาเปิดจดหมายออกมาอ่านกลับพบว่า

 

“ซองนั้นเป็นของพี่ ซองนั้นเป็นของพี่

แต่จดหมายนี้สิเป็นของใคร

บอกพี่หน่อยได้ไหม

เธอเขียนถึงใคร กันหนอชอบกล

ได้อ่านสำนวนจ๊ะจ๋า

รู้ไหมน้ำตา ของพี่จะหล่น

ยิ่งอ่าน ยิ่งช้ำสุดทน

โถคน ละไม่น่าหลายใจ”

 

ท่านผู้อ่านต้องสงสัยแน่นอนว่า แล้วเพลงจดหมายผิดซองนี้มันเกี่ยวอะไร พ.ร.บ.ปิโตรเลียม

 

สาระสำคัญมันเหมือนกันเลยครับ ใน พ.ร.บ. ฉบับ 2514 ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ในมาตรา 23 บัญญัติว่า

 

ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่นต้องได้รับสัมปทาน” (พ.ร.บ.แร่ก็ทำนองเดียวกันครับ แต่ใช้คำว่า “ประทานบัตร” ซึ่งมาจากคำในภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ Concession เพียงแต่เป็น Mining Concession)

 

ถ้าเราอ่านเพียงผิวเผิน เราก็ยังสรุปไม่ได้หรอกครับว่า ความหมายของมาตรานี้มันเหมือนกับเพลง “จดหมายผิดซอง” อย่างไร จนกว่าเราจะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า “สัมปทาน” แต่ในตอนนี้เราพอจะสรุปได้ว่า แม้เราจะมีโฉนดที่ดินซึ่งเรามีสิทธิในการทำประโยชน์ทั้งบนดินและใต้ดิน แต่ถ้าบังเอิญว่าใต้ที่ดินของเรามีทรัพยากรปิโตรเลียม กฎหมายนี้กำหนดว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ไม่ใช่ของผู้เป็นเจ้าของโฉนด

 

ในความเห็นของผมแล้ว ผมเห็นว่าการที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรมแล้ว เพราะว่ารัฐหรือประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมกันเสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้อง ที่ดินในโฉนดนี้เอาไว้ในนามของคนชาติเดียวกัน (คิดถึงเพลงชาติจังครับ!) ดังนั้นเมื่อเกิด “ลาภลอย” ขึ้นมา ผลประโยชน์ตรงนี้จึงควรจะตกเป็นของรัฐซึ่งก็คือประชาชนทุกคน ไม่ควรจะเป็นของเจ้าของโฉนด

 

ในขณะที่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่า ถ้าอยู่ในโฉนดของเอกชน กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมก็เป็นของเอกชน การเปลี่ยนมือของเจ้าของที่ดินก็จะเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมไปด้วย แต่กรณีประเทศไทยไม่ใช่ครับ แม้ที่ดินจะเปลี่ยนมือแต่กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมยังคงเป็นของรัฐตลอดไป

 

ดังนั้น บัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมจึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก จนสามารถเปล่งวาจาออกมาดังๆ ตามเพลงข้างต้นว่า “พี่แสนดีใจ…ว่าบังอรส่งถึงพี่ชาย” คือเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ

 

แต่ปัญหามาอยู่ที่ว่า ผู้ใดจะสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมจะต้องได้รับสัมปทาน แต่ที่น่าแปลกมากๆ ก็คือไม่มีคำนิยามหรืออธิบายใดๆ ว่าสัมปทานหมายถึงอะไร? ปล่อยให้คนเข้าใจเอาเองอย่างไม่ครบถ้วนและลึกซึ้งในสาระสำคัญที่ซ่อนอยู่

 

ผมเองได้ให้ความสนใจเรื่องปิโตรเลียมอย่างจริงจังมานานร่วม 20 ปี แต่ก็ไม่เคยตั้งคำถามถึงเพราะคิดเอาเองว่าตนเองเข้าใจแล้ว จนกระทั่งเมื่อได้มาร่วมทำรายงานของคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ด้านพลังงาน วุฒิสภา จึงได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า “สัมปทาน” จากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโททางนิติศาสตร์เรื่อง “การนำระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing) มาใช้ในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย” โดย สมบัติ พฤติพงศภัค (ปัจจุบันจบปริญญาเอกและเป็นผู้พิพากษา) ซึ่งผมตีความจากที่ท่านสรุปมาว่า

 

“ระบบสัมปทานเป็นการให้สิทธิของลัทธิเมืองขึ้น”

 

ตกใจใช่ไหมครับ!

 

ในระบบสัมปทาน สาระสำคัญอยู่ที่ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียม ก่อนการทำสัญญา กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมเป็นของรัฐ แต่ทันทีที่รัฐบาลทำสัญญาในระบบสัมปทานกับบริษัทคู่สัญญาซึ่งส่วนมากเป็น บริษัทเอกชนต่างประเทศ กรรมสิทธิ์ดังกล่าวจะตกเป็นของบริษัททันที แม้ว่ารัฐจะได้รับผลประโยชน์จากการให้สัมปทาน แต่อำนาจหรือกรรมสิทธิ์ที่สะท้อนความเป็นเจ้าของแทบจะไม่เหลืออะไรเลย

 

กรรมสิทธิ์ดังกล่าวสามารถแบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

 

(1) กรรมสิทธิ์ในเรื่องข้อมูลการสำรวจปิโตรเลียมซึ่งอาจต้องใช้เงินประมาณหลัก ร้อยล้านบาท ข้อมูลที่ได้เป็นของบริษัท บางบริษัทขายต่อสัมปทานไปในราคากำไร 4-5 พันล้านบาทโดยที่รัฐไม่ได้อะไรเลยในส่วนต่าง นอกจากรอเก็บค่าภาคหลวงเท่านั้น

 

(2) กรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมที่ขุดได้เป็นของบริษัทผู้รับสัมปทาน ดังนั้นบริษัทสามารถเลือกขายให้ใครก็ได้ เช่น กรณีก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี ก่อนหน้านี้เกือบ 20 ปีติดต่อกัน ประเทศไทยเราเป็นผู้ส่งออกมาตลอด แต่เมื่อกิจการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีบูมขึ้น ก๊าซจึงขาดแคลน บริษัท ปตท. ซึ่งผูกขาดโรงแยกก๊าซ (และบังคับให้บริษัทรับสัมปทานขายก๊าซให้ ปตท. แต่เพียงผู้เดียว) จึงเลือกขายก๊าซแอลพีจีให้บริษัทลูกของตนเองในราคาประมาณ 17 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ส่วนที่เหลือจึงขายให้คนไทยและอุตสาหกรรมอื่นในราคา 31 บาทต่อกิโลกรัม

 

จริงอยู่มีการกำหนดเงื่อนไขบางอย่างในการขายไว้ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมด้วย แต่เป็นเงื่อนไขที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ เช่น “ในกรณีที่น้ำมันดิบที่ผลิตได้ทั่วราชอาณาจักรมีปริมาณถึงสิบเท่าขึ้นไปของความต้องการใช้ภายในราชอาณาจักร” แล้วมันเคยเกิดขี้นบ้างไหม?

 

เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ผมลองสมมติสถานการณ์ว่า ถ้าหากมีความต้องการก๊าซหุงต้มจำนวนมากในประเทศเพื่อนบ้านและมีราคาสูงกว่า ราคาบ้านเราพอสมควร ด้วยระบบกรรมสิทธิ์ของระบบสัมปทาน ผมรับรองว่าคนไทยจะไม่ได้ใช้ เพราะไม่มีมาตราใดเลยที่ระบุว่าต้องขายให้คนไทยอย่างทั่วถึงก่อน

 

(3) สิทธิในอุปกรณ์การผลิต เช่น แท่นเจาะเป็นของผู้รับสัมปทาน เมื่อครบอายุสัญญา จึงเป็นไปโดยปริยายว่าจะต้องต่อสัญญาให้บริษัทเดิม ไม่ว่ารัฐจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม

 

ในทางตรงกันข้าม ยังมีระบบสัญญาอีกหลายแบบ เช่น ระบบการแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing) ระบบรับจ้างบริการ (Service Contract) เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาตรงกันข้ามกับระบบสัมปทานในประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ กล่าวคือสิทธิความเป็นเจ้าของปิโตรเลียมที่ขุดแล้วยังเป็นของรัฐ จะขายหรือไม่ขายให้ใครก็เป็นสิทธิของรัฐ ในกรณีการแบ่งปันผลผลิตรัฐมีอำนาจควบคุมให้บริษัทดำเนินการตามที่รัฐต้องการ คู่สัญญาเพียงแต่ดำเนินการในนามของรัฐเท่านั้น บริษัทจะได้ส่วนแบ่งผลผลิตตามสัญญาเท่านั้น

 

ในระบบสัมปทานเป็นระบบที่ทำให้รัฐ (ซึ่งอ้างตนว่าเป็นเจ้าของปิโตรเลียมตามกฎหมาย) ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยของตนเอง ในแผ่นดินของตนเอง ให้กับบริษัทต่างชาติ เพราะทันที่มีการลงนามในสัญญาสิทธิใน 3 ข้อข้างต้นของตนก็หมดลงทันที มีสิทธิอย่างเดียวคือ การนั่งรอเก็บค่าภาคหลวง (เดิมร้อยละ 12 แล้วแก้ไขเป็นร้อยละ 5-15 แต่เก็บได้จริงแค่ 12.3%) และภาษีเงินได้

 

อำนาจในการควบคุมของรัฐได้หมดไปแล้ว

 

สมมติว่าราคาปิโตรเลียมลดลง บริษัทรับสัมปทานอาจจะหยุดการผลิตก็ได้ทั้งๆ โรงไฟฟ้ากำลังอ้าปากรอจะกินก๊าซอยู่ หรือในกรณีที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำแต่ราคาปิโตรเลียมในตลาดโลกสูง บริษัทก็จะถือโอกาสเร่งผลิตเพื่อส่งออก ทั้งๆ ที่เราควรจะเก็บไว้ในหลุมเพื่อให้ลูกหลานในอนาคต แต่ก็ทำไม่ได้ หรือหากรัฐมีความจำเป็นต้องใช้เงินมาทำโครงการเร่งด่วน รัฐก็ไม่มีสิทธิที่จะไปสั่งการบริษัทให้ผลิตเพิ่มได้

 

หรือหากรัฐมีนโยบายจะลดการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติสัก 10% แล้วหันไปใช้พลังงานแสงแดดซึ่งเรามีมากก็ทำไม่ได้ เพราะรัฐได้หมดสิทธิในการสั่งการไปตั้งแต่วันลงนามสัญญาสัมปทานแล้ว

 

นี่หรือครับที่เขาเรียกว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย อย่าลืมนะครับขณะนี้พื้นที่สัมปทานปิโตรเลียมที่ได้ออกไปแล้วมีจำนวนหลายแสน ตารางกิโลเมตร บางสัมปทานในภาคเหนือครอบคลุมพื้นที่ 5-6 จังหวัดเลยทีเดียว

 

ความจริงอำนาจอธิปไตยมันก็เคยเป็นของประชาชนจริงมาตลอดนั่นแหละครับ แต่ทันทีที่ลงนามสัญญาสัมปทานจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ “จดหมายผิดซอง” เพราะรัฐบาลไทย (ในนามตัวแทนของรัฐ) ได้ยกกรรมสิทธิ์ดังกล่าวไปให้บริษัทเอกชนเสียนิ!

 

คนไทยเราจึงเกิดอารมณ์ตามเนื้อร้องของเพลงดังว่า “น้องเขียนบรรยาย ถึงชายคนอื่น บอกว่าทนขมขื่น พี่กล้ำพี่กลืน น้ำตาไหลนอง”

 

เพื่อความชัดเจนมากกว่านี้ ผมขอยกตัวอย่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย ทั้งสองประเทศนี้เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน ปิโตรเลียมทั้งคู่ โดยเริ่มต้นจากระบบสัมปทานแบบเดียวกับประเทศเรานี่แหละครับ แต่ทันทีที่เขาได้รับเอกราช เขาขอแก้ไขสัญญาไปสู่ระบบการแบ่งปันผลผลิตโดยการเจรจาอย่างสันติ ไม่ได้ยึดคืนอย่างที่คนบางส่วนเข้าใจหรือกลัวกันไปเอง

 

ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ เขาเขียนหลักการใหญ่ๆ สำคัญๆ เอาไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น “เพื่อให้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน” จากนั้นก็ตามด้วยกฎหมายลูก เช่น ประเทศมาเลเซียมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาปิโตรเลียม 2517 (PETROLEUM DEVELOPMENT ACT 1974)

 

แม้กระนั้นก็ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาปิโตรเลียมดังกล่าวนี้ ก็ยังไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องใช้ระบบสัญญาแบบใดในบรรดา 2-3 แบบที่มีการใช้กันในวงการอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เพราะเขาได้เปิดโอกาสให้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์จริง

 

แต่ประเทศไทยเรากลับระบุตายตัวว่าจะต้องใช้ระบบสัมปทานเท่านั้น

 

คำถามง่ายๆ ก็คือ หากมีปิโตรเลียมเหลืออยู่น้อยมาก ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่าต่อการผลิตของบริษัทยักษ์ๆ แล้วเขาถอนตัวไป เราจะจัดการอย่างไรกับปิโตรเลียมที่เหลือซึ่งยังพอจะคุ้มค่าอยู่ จะทำสัญญารับจ้างบริการ (ซึ่งประเทศมาเลเซียใช้จัดการกับแปลงเล็กๆ) ก็ไม่ได้เพราะ พ.ร.บ.ค้ำคออยู่

 

แผนที่ข้างล่างนี้แสดงลักษณะสัญญาปิโตรเลียมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะเห็นว่ารอบๆ ประเทศไทยซึ่งทั้งหมดเคยเป็นประเทศเมืองขึ้นและเคยใช้ระบบสัญญาสัมปทานมา ก่อน แต่ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิต (สีเขียว) ในขณะที่ประเทศไทย (สีเหลือง) ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่ยังคงใช้ระบบสัมปทาน (หมายเหตุ สหรัฐอเมริกาใช้ระบบสัมปทานเพราะกฎหมายกำหนดให้ปิโตรเลียมเป็นของเจ้าของ ที่ดิน การเปลี่ยนมือของบริษัทจึงไม่เกิดปรากฏการณ์จดหมายผิดซอง)

557000006335801.JPEG blank.gif ในเรื่องปิโตรเลียม ผมมีข้อเสนอต่อ คสช. ดังนี้

 

1. ขอให้สั่งการให้หยุดการเปิดสัมปทานรอบใหม่คือรอบที่ 21 เอาไว้ก่อน เพราะภาคประชาชนได้เคลื่อนไหวเรียกร้องมาตลอด เรื่องปิโตรเลียมไม่ได้มีปัญหาเรื่องส่วนแบ่งรายได้ของรัฐน้อยเกินไปเพียง อย่างเดียว แต่หมายถึงอธิปไตยของชาติดังที่ได้กล่าวมาแล้วด้วย กรุณาอย่าให้เกิดการลักหลับเหมือนกับพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบเหมาแข่งซึ่งเป็น ที่มาของการประท้วง

 

2. เมื่อมีสภานิติบัญญัติแล้ว ควรเสนอให้มีการร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับใหม่ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2540 และ 2550

 

3. ผมรู้สึกดีใจที่ประธาน คสช.ได้พูดถึงพลังงานแสงแดดในการแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (30 พ.ค.) แต่ผมขอเรียนว่าเรื่องนี้มี 3 ประเด็น คือ (ก) การยกเลิกระเบียบกรมโรงงานที่เรียกว่า รง.4 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการติดโซลาร์เซลล์บนหลังคา (ข) การจำกัดโควตาไว้ที่ 200 เมกะวัตต์ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะประเทศเยอรมนีซึ่งประสบผลสำเร็จมากที่สุดในโลกไม่มีโควตา ควรเปิดโอกาสให้ทุกหลังคาเรือน และ (ค) อัตรารับซื้อไฟฟ้าที่ 6.96 บาทต่อหน่วยไฟฟ้านั้นน่าจะสูงเกินไป เพราะต้นทุนการติดตั้งได้ลดลงมาต่ำมากแล้ว จากข้อมูลเบื้องต้นของผมคิดว่าอัตรารับซื้อ 5 บาทต่อหน่วยก็น่าจะเหมาะสม

 

4. ภาพที่เห็นข้างล่างเป็นสวนผักของเกษตรกรรายหนึ่งในเมืองชิบะของประเทศ ญี่ปุ่น เขาติดแผงโซลาร์เซลล์บนสวนผัก นอกจากแผงนี้จะทำหน้าที่ลดแสงแดดให้ผักแล้วยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้ด้วย

557000006335802.JPEG blank.gif เจ้าของลงทุนติดแผงขนาด 34.4 กิโลวัตต์ ด้วยเงินลงทุนประมาณ 4 ล้าน 3 หมื่นบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 35,000 หน่วย (เฉลี่ยหนึ่งกิโลวัตต์ได้ไฟฟ้า 1,017 หน่วยต่อปี ในขณะที่ในรัฐคุชราตของอินเดียได้ 1,600 หน่วยเพราะแดดเข้มกว่า) ปรากฏว่าในปี 2556 เขาสามารถขายไฟฟ้าได้ 5.1 แสนบาท (ประมาณ 8 ปีจะได้ทุนคืน) ในขณะที่ขายผักได้เพียง 3.2 หมื่นบาทเท่านั้น (เพราะผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ ที่เมืองฟูกุชิมะ) ที่เป็นดังนี้เพราะว่ารัฐบาลรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 13.56 บาท (ในขณะที่การไฟฟ้าขายไฟฟ้าในปี 2554) ได้หน่วยละประมาณ 8.32 บาท

 

อ้อ ขอเพิ่มอีกนิดครับ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศเยอรมนี กว่าร้อยละ 84 เป็นการติดบนหลังคา โดยส่วนใหญ่เป็นบ้านของชาวนาและเอกชนขนาดเล็ก ในขณะที่การติดตั้งในประเทศไทยกว่าร้อยละ 95 เป็นการติดในโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่ในแวดวงของนักการเมือง

 

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าความอยู่ดีกินดี ของประชาชนนั้นขึ้น อยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญครับ คสช.ช่วยได้ไหม? ช่วยสลับจดหมายให้ตรงกับซองตามที่ควรจะเป็นเถอะครับ ถ้าทำได้แล้วประชาชนจะยกย่อง ทราบแล้วเปลี่ยนครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Decharut Sukkumnoed

 

เมื่อวานนี้ มีเพื่อนท่านหนึ่งให้ช่วยเปรียบเทียบระหว่างโรงไฟฟ้าถ่านหินกับโรงไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก ผมเลยลองเปรียบเทียบทางเลือก 2 ทางเลือกคือ โรงไฟฟ้าถ่านหินกับพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีกติกาว่าทั้งสองทางเลือกจะต้องผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากันคือ 6,000 ล้านหน่วย/ปี และเรามาดูกันว่า แต่ละทางเลือกจะให้ผลที่แตกต่างกันอย่างไร?

 

ในกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน เราจะต้องมีกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ ซึ่งจะใช้เงินลงทุน 44,000 ล้านบาท โดยต้องนำเข้าถ่านหิน 2.3 ล้านตัน/ปี คิดเป็นเงินที่เสียไปปีละ 7,100 ล้านบาท การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทำให้เกิดการจ้างงานประมาณ 1,100 อัตรา แต่การเผาไหม้ถ่านหินจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ปริมาณ 5.72 ล้านตัน/ปี (เพื่อให้ภาพชัดเจนขึ้น ปีพ.ศ. 2554 คนกระบี่ทั้งจังหวัดปล่อยก๊าซ CO2รวมกัน 970,000 ตัน เพราะฉะนั้น โรงไฟฟ้านี้โรงเดียวจะปล่อยก๊าซ CO2มากกว่าคนกระบี่ทั้งจังหวัดถึง 5 เท่ากว่าเลยทีเดียว)

 

แน่นอนว่าก๊าซ CO2 เหล่านี้จะค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศนานกว่า 150 ปี กลายเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนไปจนชั่วลูกชั่วหลานชั่วเหลน เพราะฉะนั้น หากเราไม่ต้องการส่งต่อภาระปัญหานี้ให้ลูกหลาน เราก็จำเป็นต้องปลูกป่าเพื่อดูดซับก๊าซ CO2 ที่โรงไฟฟ้าถ่านหินนี้ปล่อยออกมา คิดเป็นพื้นที่ป่าไม้ถึง 1,355,100 ไร่ (เพื่อให้เห็นภาพพื้นที่ป่าไม้ทั้งจังหวัดกระบี่เท่ากับ 616,000 ไร่ นั้น หมายความว่า ต้องปลูกเพิ่มขึ้นสองเท่าของป่าไม้ที่อยู่ทั้งจังหวัด) นอกจากนั้น การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินยังต้องใช้น้ำอีกประมาณ 12 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี (หรือเทียบเท่ากับปริมาณการบริโภคน้ำของคน 156,000 คน)

 

ส่วนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์นั้น เนื่องจากเราไม่สามารถผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตลอดทั้งวัน เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์ในกำลังการผลิตติดตั้งที่มากกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วพบว่า จะต้องลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะใช้เงินลงทุนถึง 240,000 ล้านบาท แต่ก็ทำให้เกิดการจ้างงานมากถึง 74,000 อัตรา (เทียบกับ 1,100 ตำแหน่งในกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน) แถมยังไม่ต้องเสียเงินค่าเชื้อเพลิงรายปี และยังลดต้นทุนค่าดำเนินการและซ่อมบำรุงลงได้อีกมาก

 

ฉะนั้น เมื่อคำนวณต้นทุนรายปีที่ประหยัดได้ พบว่า ระยะเวลาประมาณ 20 ปีก็จะคุ้มกับการลงทุน โดยยังมิได้นำผลประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาคิดด้วย

 

ในเชิงพื้นที่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะใช้พื้นที่เพียง 17,500 ไร่ (หรือประมาณร้อยละ 0.6 ของพื้นที่ทั้งจังหวัดกระบี่ ซึ่งในความเป็นจริงสามารถติดบนหลังคาอาคารต่างๆ จึงไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่) แถมยังไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต ส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 .ในขั้นของการผลิตแผงโซลาร์เซลเท่ากับ 180,000 ตันเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 5.72 ล้านตัน/ปีของโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

ดังนั้น โดยสรุปก็คือ โรงไฟฟ้าถ่านหินลงทุนน้อยกว่า แต่เกิดผลกระทบมากกว่า ซึ่งหากจะต้องจัดการกับผลกระทบเหล่านั้น (เช่น ปลูกป่า 1.355 ล้านไร่เพื่อดูดซับก๊าซให้หมด) ต้นทุนของโรงไฟฟ้าถ่านหินก็จะสูงมาก

 

ตรงกันข้ามกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งดูเหมือนจะลงทุนมาก แต่ก็สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาของโครงการ แถมยังไม่ส่งผลกระทบไปถึงลูกหลาน และประหยัดพื้นที่มากกว่าโรงฟ้าถ่านหินอีกด้วย (เมื่อเปรียบเทียบกับการที่จะต้องไปปลูกป่าเพื่อดูดซับก๊าซ CO2 จากโรงไฟฟ้าถ่านหินกลับมา)

 

สำหรับเพื่อนๆ พี่น้องที่สนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน อย่าเพิ่งหงุดหงิดหรืออารมณ์เสียนะครับ เพื่อนๆ มีประเด็นท้วงติง สงสัย เพิ่มเติม ประเด็นใด สอบถามเข้ามาได้ เพราะแม้มุมมองของเราอาจจะแตกต่างกัน (ในประเด็นนี้) แต่จุดยืนของเราเหมือนกัน นั่นคือ เราจะยืนเคียงข้างกัน และอยู่ร่วมบนความต่างในสังคมประชาธิปไตยครับ

10297583_642149792543642_3206348966084918061_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่ปุณณ์เคยไปดูเหมืองถ่านหินเก่าๆ สภาพหลังจากขุดหมดแล้วทำความเสียหายทางธรณีวิทยามากนะคะ

พื้นที่นั้นก็มีทั้งฝุ่น ทั้งหลุม ไม่สามารถใช้สอยอะไรได้อีก ต้องปิดร้างไป

แต่พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานภายนอกที่ไม่ทำลายพื้นโลก

เราสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่มาก

เวลาขับรถผ่านฟาร์มที่ติดตั้งแผงโซล่าร์เซล พี่ปุณณ์ยังเคยคิดจะติดตั้งแผงบนหลังคาบ้านประมาณ 200 ตรม.

ตอนนั้นคิดเรื่องทุนและการดูแลรักษาแล้วเลยยั้งไว้ก่อน เลยต้องปลูกต้นไม้ใหญ่แทนก็ยังสู้แดดไม่ไหวเลยค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ณ ที่ตรงนี้ ชายหาดอันสวยงามของกระบี่ กำลังจะเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

เราจะยอมไหม

 

Greenpeace Southeast Asia (THAILAND)

 

Do you know that EGAT plans to develop the coal power plant and coal seaport in Krabi, our beautiful beach paradise?

 

Coal and its destructive impacts will change Krabi forever.

 

Sign this petition today. Together we can protect Krabi ► www.protectkrabi.org/?EN#ProtectKrabi

10155187_10152180002127098_6019676299105581519_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาพข้างล่างนี้กลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ส่งมาครับ(วันที่21/03/2013) เป็นภาพแม่กำลังพ่นยาแก้หอบให้ลูก เป็นภาพที่เพิ่งถ่ายภายหลังจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะโฆษณาอย่างอึกทึกครึกโครมว่า อากาศที่นั่นบริสุทธิ์ผุดผ่อง

วิศวกรที่โรงงานผมบอกว่าเพื่อนเขาทำงานโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อนเขาบอกว่าที่ประกาศว่าไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพแล้วอย่าไปเชื่อ ประชาชนในพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้าเจ็บป่วยกันมากมาย

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง (ของสำนักงานงบประมาณสภาสหรัฐอเมริกา) ระบุว่า ถ้าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะติดตั้งเครื่องดัก จับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 99% ก็จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นถึง 76% ของต้นทุนปกติ และปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวก็ยังไม่อยู่จริง ต้องรอจนกว่าจะถึงปี 2573

http://www.manager.c...D=9560000131467post-38-0-30654200-1403015273.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรงไฟฟ้าถ่านหินปลอดภัยแค่ไหน ลองฟังฝั่งที่คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกันครับ

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่

 

มีนาคม 7, 2557

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่

 

1.ถ่านหินสะอาด เรื่องจริงหรือแค่มายา

 

ถาม: กฟผ.กล่าวว่า มีขั้นตอนการใช้เทคโนโลยีการเผาที่พ่นหินปูนเข้าไปในเตาเผาเพื่อให้หินปูนทำ หน้าที่ดูดซับกำมะถัน การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินจึงเป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อมจริง หรือ

 

 

ตอบ: การกล่าวว่าเทคโนโลยีการเผาไหม้ ที่มีประสิทธิภาพสามารถเพิ่มประสิทธิผล และลดการปล่อยก๊าซเสียได้เป็นเพียงมายาคติ ถ่านหินสะอาดคือความพยายามของภาคอุตสาหกรรมเพื่อลบล้างภาพลักษณ์ที่สกปรก เป็นคำประดิษฐ์ของอุตสาหกรรมถ่านหิน มิใช่ถ่านหินชนิดใหม่แต่อย่างใด

เทคโนโลยีการเผาไหม้ถ่านหินสะอาดวิธีอื่นยังคงอยู่ในขั้นตอนการเริ่ม พัฒนา และไม่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาประสิทธิภาพได้เกินร้อยละ 43 มาตรฐานโลกด้านประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยี Pulverised อยู่ที่ร้อยละ 37.5 (11) ส่วนเทคโนโลยี Pulverised ขั้นสูงนั้นจะเพิ่มประสิทธิภาพได้เพียงร้อยละ 41-44 และอาจจะได้รับการพัฒนาให้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ในอีก 100 ปีข้างหน้า

ถาม: การทำความสะอาดถ่านหินจะช่วยลดระดับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ แร่ธาตุในถ่านหินได้จริงหรือ

 

ตอบ: ผลจากการทำความสะอาดถ่านหินทำให้เกิดสารอันตรายจำนวนมาก โดยการนำถ่านหินไปกองไว้รวมกัน และให้น้ำฝนเป็นตัวชะล้าง โดยน้ำฝนจะชะเอาสารพิษออกจากถ่านหินและน้ำเสียเหล่านั้นก็จะไหลลงสู่แม่น้ำ และลำธารน้ำเสียจะเต็มไปด้วยกรดและโลหะหนักต่างๆ แต่ซัลเฟอร์ไม่ใช่มลพิษเดียว ยังมีปรอทที่ไม่สามารถควบคุมได้

ถาม: การเผาไหม้โดยใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจะควบคุมมลพิษให้กับโรงไฟฟ้าด้วยการลดการปล่อยก๊าซที่ปนสารพิษได้จริงหรือ

 

ถ่านหินประกอบด้วยวัสดุที่ไม่สามารถเผาไหม้ประมาณร้อยละ 7-30 และจะต้องมีการกำจัดขั้นสุดท้ายในที่สุด เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดพยายามดักจับกากของเสียเหล่านี้ก่อนที่จะถูกปล่อยออก ทางปล่องของโรงไฟฟ้า กากของเสียที่ถูกดักจับเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ (ทั้งที่มีสารพิษตกค้างจำนวนมาก) ทิ้งกองไว้บนดิน หรือนำไปฝังกลบ

การใช้ถ่านหินที่มีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งมีปริมาณเถ้าและซัลเฟอร์ต่ำกว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเสียออกทางปล่อง และเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นได้ แต่ประสิทธิภาพด้านความร้อนจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น หากรัฐบาลเลือกถ่านหินสะอาดในการผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มมาก ขึ้นแทนการใช้พลังงานสะอาด แน่นอนว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มสูงตามไปด้วย

จากรายงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ระบุว่า ปรอทและสารประกอบของปรอทมีความเป็นพิษอย่างสูง และเป็นภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมต่อมนุษยและสัตว์ป่า การรับเอาสารปรอทเข้าไปจะก่อให้เกิดให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง และเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพของมนุษย์ รายงานยังระบุอีกว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินและการผลิตความร้อนที่ใช้ถ่านหินเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของสาร ปรอทที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ ข้อมูลของสภาวิจัยการใช้ประโยชน์จากถ่านหินระบุว่า ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่จะใช้ดักจับปรอทที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินได้

สรุป: ถ่านหินสะอาด คือ วิธีการปล่อยทิ้งมลพิษจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งในที่สุดก็ยังคงปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมอยู่นั่นเอง เมื่อใดก็ตามที่มีการเผาไหม้ถ่านหิน ก็จะมีการปล่อยสารปนเปื้อนออกมา ซึ่งอาจอยู่ในรูปของเถ้าลอย ก๊าซที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ น้ำเสีย หรือ กากของเสีย ที่ถูกทิ้งไว้หลังการเผาไหม้ ท้ายที่สุดล้วนแต่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจึงเป็นการอ้างเทคโนโลยีที่ต้องการลดมลพิษ แต่ไม่มีถ่านหินใดในโลกที่สะอาดอย่างแท้จริง นอกจากนี้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดยังมีราคาแพงเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ในแต่ละวันอีกด้วย สำนักงานสารสนเทศพลังงานของสหรัฐประเมินว่า เงินทุนของโรงงาน IGCC ซึ่งเป็นต้นแบบ (สถานีทดลองโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ปล่อยก๊าซปริมาณต่ำ) อยู่ที่ 1,383 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ และ 2,088 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ หากรวมค่าแยกคาร์บอนด้วย ขณะที่ราคาของการติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าทั่วไปอยู่ที่ 1,015 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์

2.ภาคใต้ไฟฟ้าไม่พอใช้ดังที่เกิดขึ้นกับกรณีวิกฤตไฟฟ้าดับทั้งภาคใต้เมื่อ 21 พฤษภาคม 2556

 

ถาม: หากไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเกิดกรณีไฟฟ้าดับขึ้นอีก?

 

ตอบ: กรณีไฟฟ้าดับในครั้งนั้นถูกอ้าง ว่าเนื่องจากกำลังผลิตไฟฟ้าของภาคใต้ไม่เพียงพอ แต่ในความจริงภาคใต้มีกำลังผลิตติดตั้ง 2,429 เมกะวัตต์ รับจากภาคกลาง 500 เมกะวัตต์ และมีการแลกไฟฟ้ากับประเทศมาเลเซียอีก 300 เมกะวัตต์ เฉลี่ยแล้วรวมทั้งสิ้น 3,229 เมกะวัตต์ ซึ่งความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 2,100 เมกะวัตต์ ดังนั้นเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบการจ่ายไฟ ไม่เกี่ยวกับการที่กำลังการผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของ ประชาชนตามที่ กฟผ. กล่าวอ้าง ที่จริงแล้ว กฟผ. ควรตระหนักถึงจุดอ่อนของการผลิตไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ที่มีความเสี่ยง และเน้นพัฒนาการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและการผลิตแบบกระจายศูนย์

"ถ่านหินมีความจำเป็น” และสร้างวาทกรรม “ก๊าซธรรมชาติจะหมดจากอ่าวไทย” และ “วิกฤตไฟฟ้าดับ” เป็นเพียงการสร้างความชอบธรรมในการผลักดันแผนการลงทุนทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง กับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าได้เดินหน้าต่อไปโดยไม่สนใจเสียงท้วงติง

3.ทางออกของพลังงานประเทศไทยคืออะไร

 

ถาม: หากไม่เอาพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน แล้วจะพึ่งพาพลังงานจากอะไรในเมื่อความต้องการทางพลังงานเพิ่มขึ้นและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

 

ตอบ: ปัจจุบันกระบี่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนประมาณร้อยละ 70 ของปริมาณไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบี่เป็นเมืองท่องเที่ยว พลังงานหมุนเวียนจะช่วยส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวได้ ต่างจากพลังงานสกปรกที่จะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ และการท่องเที่ยวเช่นกัน

กระบี่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานหมุนเวียนอย่างเต็มที่ ทั้งสายลมทั้งแสงแดด อีกทั้งกระบี่ยังเป็นเมืองปาล์มน้ำมัน ซึ่งสามารถใช้วัสดุปาล์มหรือน้ำเสียจากโรงงานน้ำมันปาล์มมาทำเป็นไบโอแก๊ส และโรงงานชีวมวลจากวัสดุปาล์มได้ ปัจจุบันกระบี่มีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มอยู่ 13 โรง และสามารถทำไบโอแก๊สจากน้ำเสียโรงงานได้ 60 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่าเกินครึ่งของการใช้ไฟฟ้าที่จังหวัดกระบี่ (100 เมกะวัตต์) ตัวอย่างของการปฏิวัติพลังงานหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเห็นได้ชัดจากประเทศ เยอรมันนี โดยพลังงานแสดงแดดและพลังงานลมมีน้อยความประเทศไทยมาก แต่สามารถตั้งเป้าและทำได้จริงจนประสบผลสำเร็จ ถ้าเยอรมนีทำได้ ก็น่าจะเป็นความหวังให้ประเทศอื่นๆ ว่าสามารถทำได้ด้วยเช่นกัน

ถาม: การมาของโรงไฟฟ้าถ่านหินจะช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนมากกว่าพลังงานหมุนเวียนใช่หรือไม่

ตอบ: รายได้ของชุมชนจังหวัดกระบี่ ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจท่องเที่ยว และการทำประมง ซึ่งล้วนแล้วแต่พึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ แต่โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่นั้นจะส่งผลกระทบอันร้ายแรงต่อระบบนิเวศ สร้างมลพิษทั้งทางผืนดิน ทะเล และอากาศ นอกจากจะทำลายวิถีชีวิตและรายได้ของคุนในชุมชนแล้ว ยังส่งผลร้ายต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกด้วย

จากงานวิจัยของมูลนิธิสุขภาวะ หากมุ่งพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจังหวัดกระบี่จะนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ 3,500 ล้านบาท การสร้างงาน 10,500 ตำแหน่ง ลดการนำเข้าเชื้อเพลิง 950 ล้านบาทต่อปี ลดก๊าซเรือนกระจก 1.1 ล้านตันต่อไป และลดมลพิษอีกมากมาย

ถาม: หากกระบี่และประเทศไทยมีประสิทธิภาพด้านพลังงานหมุนเวียนอย่างเต็มที่ เพราะเหตุใดพลังงานหมุนเวียนจึงไม่ได้รับการพัฒนา

ตอบ: อุปสรรคสำคัญของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในอาเซียน คือ (1) ขาดกองทุนหรือยากต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (2) ขาดความน่าเชื่อถือของระบบสายส่งพลังงานของประเทศ และขาดการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน (3) ขาดประสบการณ์และความตระหนักด้านเทคโนโลยีและการจัดการ (4) ขาดการจัดทำวิจัยย่อยหรือการอบรมคนที่มีความสามารถ รวมทั้งขาดการศึกษาวิจัยและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนบางชนิด (5) ขาดโครงสร้างทางด้านสถาบันพลังงานหมุนเวียน การสนับสนุนทางการเงิน และความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้หากมีกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เอื้อให้มีการ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแต่ละพื้นที่ด้วยศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็ม ที่

การลดการพึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลจากระบบพลังงานแบบรวมศูนย์ รัฐจะต้องรับซื้อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้ทั้งหมด เป็นลำดับแรก และรับซื้อไว้ทั้งหมด การเจริญเติบโตของการผลิตพลังงานหมุนเวียนในประเทศจึงสามารถเติบโตได้อบ่าง เต็มที่เพราะมีการรับซื้อแน่นอนในระยะยาว และเป็นแรงกระตุ้นให้มีการผลิตพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด ทว่าที่ผ่านมารัฐยังไม่จริงใจกับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน โดยกระทรวงพลังงานตัดโควต้าของกระบี่ออกจากจังหวัดที่มีโครงการนำร่องด้าน พลังงานหมุนเวียน

http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/coal/true-cost-of-coal-home/ProtectKrabi/Frequency-asked-question-Krabi-coal-fired-power-plant/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเทศไทยมีพื้นที่513,120 ตร.กม. เยอรมันมีพื้นที่357,021 ตร.กม.

เชื่อไหมครับว่า หากเราสามารถยกแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งไว้แล้วในเยอรมนีมาติดในประเทศไทย ไฟฟ้าที่ได้จากแผงดังกล่าวจะสามารถตอบสนองความต้องการไฟฟ้าของคนไทยทั้งประเทศถึง 41%

 

 

สิ่งที่ต้องย้ำก็คือ ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้สูงอย่างที่ทาง กฟผ.กำลังโฆษณาชวนเชื่ออย่างบิดเบือน เพื่อต้องการที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในหลายจังหวัดของภาคใต้ เหตุผลที่ทราบกันทางสื่อกระแสหลักการที่ทาง กฟผ.ต้องการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อ เพลิงอาจเพราะว่ากลุ่มทุนถ่านหินในประเทศไทยได้ไปลงทุนทำเหมืองถ่านหินใน ต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียไว้แล้วกลุ่มทุนดังกล่าว มีอำนาจในการจัดทำแผนพีดีพี (แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า) ซึ่งเป็นแผนที่ทาง กฟผ.ต้องปฏิบัติตาม http://www.manager.c...D=9570000067095

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10390367_817198958290374_4019952084904240013_n.jpg

Navin Pang

 

อัลบั้มไม่มีชื่อ

 

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ 18 ชั่วโมงที่แล้ว

ร่วมทดลองใช้โซลาเซลล์กับชาวบ้านตำบลเขาสามสิบ

 

ทดสอบโซลาเซลกับปั๊มชัก ท่อ 1 นิ้ว การใช้งานจริงลดขนาดท่อเป็น 6 หุนเพื่อให้น้ำไหลแรง

สูบน้ำบาดาลลึก 10 กว่าเมตร ส่งขึ้นถังเก็บน้ำสูง 4 เมตร

ใช้มอเตอร์กระแสตรง 500 วัตต์ (ถ้าแปลงถ่านหมดเปลี่ยนได้)

ใช้แผงโซลาอะมอฟัส 120 วัตต์ ต่อ แบตเตอรี่ 100 เแอมป์มือสอง

ทดรอบมอเตอร์ตามอุปกรณ์ที่หาได้ 555 ปั๊มทำงานได้รอบช้า มอเตอร์ไม่ร้อน สูบน้ำเรื่อยๆ

 

ทดสอบวันแรกน้ำไหลแรงเต็มท่อ พี่บุญส่งผู้ลงทุนยิ้มได้

วางแผนจะใช้น้ำปลูกข่าอ่อนประมาณ 1 ไร่

น่าจะได้ทุนคืนภายในการเพาะปลูกไม่เกิน 2 รอบ

ตอนนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบเรื่องการชาร์จแบต และการสูบน้ำได้เรื่องอย่างไรจะมาเล่าสู่ผู้ที่สนใจอีกครั้งครับ

 

ลืมบอกไปค่าอุปกรณ์ ทั้งแผงโซลา มอเตอร์ ตัวควบคุมการชาร์จ ปั๊มชัก แบตมือสอง รวมกันแล้วไม่เกิน 12,000 บาทนะครับ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปฏิรูปประเทศไทย ช่วงที่1 ทำไมต้องคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปฏิรูปประเทศไทย ช่วงที่2 ทำไมต้องคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่ปุณณ์อยากได้ข้อมูลการติดตั้งแผงโซลาร์เซลและการสำรองไฟฟ้าเพื่อใช้ในบ้านค่ะ

ถ้ามีชื่อบริษัทที่รับติดตั้งหรือราคากลางก็ขอด้วยนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่ปุณณ์อยากได้ข้อมูลการติดตั้งแผงโซลาร์เซลและการสำรองไฟฟ้าเพื่อใช้ในบ้านค่ะ

ถ้ามีชื่อบริษัทที่รับติดตั้งหรือราคากลางก็ขอด้วยนะคะ

 

จะลองตามให้นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...