ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

รวมข่าวหุ้นวันพฤหัสค่ะ

 

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=18132

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจฝั่งถดถอย อเมริกา ญี่ปุ่น

เศรษฐกิจผี่งเติบโตรุนแรง จีน เวียดนาม ไทย(กะเค้าด้วยมั้ง)

 

อเมริกา

ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข อัตราการว่างงานสูง ว่างงานประมาณ 10กว่า% ของคนที่อยู่ในวัยทำงาน

ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการพื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่งออกเพิ่ม อัตราว่างงานลดลง อัตราการผลิตสินค้าสูงขึ้น

จากที่ทราบกัน วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เกิดขึ้นจากประเทศอเมริกา คนของเค้ามีการบริโภคที่ไม่สมดุลกับรายได้ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มีปัญหาเรื่องหนี้สิน เช่นหนี้บัตรเครดิต แบงค์ต่างๆสนใจแต่รายได้ปล่อยกู้มากไปจนลืมดูในเรื่องของความเสี่ยง จนเกิดปัญหาหนี้พอกพูนมากเข้าๆจนไม่อาจชำระได้ เกิดภาวะหนี้เสียเป็นจำนวณมาก แบงค์สุดท้ายประสบภาวะขาดทุนจนต้องปิดกิจการไปหลายแห่ง คนถูกให้ออกจากงานเป็นจำนวนมาก สินค้าและบริการขายไม่ออกเพราะคนขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ภาคการผลิตอื่น เช่น รถยนต์ ซึ่งเป็นสินค้าราคาแพง นี้คือจุดเริ่มต้นของวิกฤต

ในปัจจุบัน อเมริกา มีการพื้นตัวดีขึ้น ธุรกิจห้างร้านกลับมาค้าขายแบบมีกำไรมากขึ้น แต่อยู่ในภาวะใหม่ที่เรียกกันว่า "NEW NORMAL" แปลเป็นไทย น่าจะใกล้ๆกับคำว่า "ความเคยชินใหม่" คืออะไร? คือ ธุรกิจและห้างร้าน แต่เดิมใช้ปัจจัยการผลิตฟุ่มเฟือย (แรงงานถือเป็น 1 ใน 4 ปัจจัยการผลิตตามทฤษฎีของ Ricado) เปลื่ยนเป็นใช้ปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่ามากขึ้น ธุรกิจและห้างร้าน เรียนรู้ที่จะผลิตสินค้าให้ได้มากขึ้น โดยไม่จ้า่งคนเพิ่มขึ้น ใช้คนที่มีอยู่เดิม ปรับปรุงประสิทธิภาพ ให้โอที จ่ายเงินเดือนแพงขึ้น แต่ไม่จ้างงานเพิ่ม หลังจากวิกฤต คนที่มีรายได้เรื่ยนรู้ที่จะใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง คนที่ตกงานก็ยังคงไม่มีเงินจับจ่ายใช่สอย จากที่ผมอธิบายเรื่อง GDP ในบทความที่แล้ว จะเห็นว่า การที่ประชาชนไม่จับจ่าย จะทำให้เศรษฐกิจ ไม่พื้นตัว (ดูตรง GDP การใช้จ่ายมวลรวม) การไม่จับจ่าย ส่งผลต่อเนื่องไปยัง การผลิต ก็จะไม่เพิ่มขึ้นตาม การผลิตไม่เพิ่มการจ้างงานก็ไม่เพิ่ม จ้างงานไม่เพิ่ม คนก็ไม่มีเงินก็ไม่จับจ่าย วนลูปไปในทางแย่ลงแบบนี้ไปไม่รู้จบ

แนวทางการแก้ไข อเมริกา ต้องเพิ่มการผลิตเพื่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อมีการจ้างงานประชาชนจะมีเงินจับจ่ายใช้สอยเศรษฐกิจ ก็จะวนลูปไปในทางดีขึ้นเรื่อยๆ แต่จะทำอย่างไร จะให้การผลิตเพิ่มขึ้นโดยคนในประเทศไม่ซื้อแล้วจะขายใคร คำตอบอยู่ตรง (ดูตรง GDP การใช้จ่ายมวลรวม) ลงออก นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมอเมริกาต้องดำเนินนโยบายเงินดอล อ่อน เพิ่มให้ตนขายสินค้าของตัวเองให้มากขึ้นนั้นเอง

ปัจจัยเสริม นโยบายการคลัง ดำเนินนโยบายขาดดุล คงภาษีในอัตราต่ำ เพื่อเพิ่มรายได้ประชาชนให้มากขึ้น นโยบายทางการเงิน คงอัตราดอกเบี้ยให้อัตราตำ่่ เพื่อ เพิ่มเม็ดเงินในตลาดให้มากขึ้น เพื่อเพื่มการจับจ่ายภาคเอกชน นำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยให้น้อยลง ผลิตสินค้าฟุ่มเฟือยเองเพื่อไม่ให้ขาดตลาด

 

ญี่ปุ่น

ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข เงินฝืด

ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการพื้นตัวทางเศรษฐกิจ การบริโภคภาคเอกชนที่สูงขึ้น

ญี่ปุ่นเป็นอะไรที่แก้ยากนะผมว่า ญี่ปุ่นมีปัญหาเรื่องเงินฝืด มาเป็น 10 ปีแล้ว ประชาชนเค้าไม่ค่อยยอมจับจ่าย เหตุผลเนื่องจากลักษณะนิสัยของคนของเค้า เป็นคนประหยัด มักจะเก็บออมไม่ยอมจับจ่าย เมื่อประชาชนไม่ยอมจับจ่าย การผลิตก็ลดลง การผลิตลดลง การจ้างงานก็ลงลด รายได้ประชาชนก็ลดลง การบริโภคก็ลดลง วนลูปไปเรื่อยๆ

แนวทางการแก้ไข ญี่ปุ่นพยายามแก้ปัญหาโดยการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับตำ่ แต่ก็ดูเหมือนจะแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ส่งออกเพิ่มขึ้น ก็ไม่น่าจะได้ เพราะต้นทุนในการผลิตในประเทศเค้าแพง คงต้องรอดูกันต่อไปว่าเค้าจะแก้ยังไง

ถูกแก้ไข โดย TOUNE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีน

ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข อัตราการจ้างงานเต็ม ค่าแรงสูงขึ้นเร็วเกินไปหน่วยธุรกิจจะเสี่ยงในเรื่องของการควบคุมต้นทุนให้ไม่ผันผวน ความต้องการบริโภคเติบโตเร็วเกินกว่าภาคผลิตจะผลิตได้ทัน

ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจ ฟองสบู่ เงินเฟ้อรุนแรง!!

ก่อนหน้านี้ซัก 2-3 ปี จีนเป็นสวรรค์ของนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลจีนส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนให้การช่วยเหลือ อำนวนความสะดวก ที่มากกว่าหลายประเทศในระแวกเดียวกัน รัฐสามารถเวนคืนที่ดินต้องการตรงไหนก็ได้ ค่าแรงถูกมาก ปัจจุบันการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลจีนเปลื่ยนไป ไปลงทุนในจีนยากขึ้น จีนมีเงินทุนต่างชาติมาก มากจนล้น ไม่ต้องการเงินทุนจากต่างชาติอีกต่อไป ค่าจ้างในจีนได้ยินว่า เพิ่มขึ้นแบบรวดเร็ว เป็น 100% ภาคในปีเดียว มีการแย่งแรงงานในการผลิตจนต้องปรับค่าจ้างเพื่อดึงดูดแรงงานให้ผลิตได้ทันตามกำหนด ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคนจีนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ทำให้คนจีนมีกำลังจับจ่ายสูงขึ้นอย่างมาก เห็นได้ชัด เพื่อนๆลองย้อนกลับไปดู ปังกิ่งเมื่อ 10 ปีก่อนกับตอนนี้ เมื่อก่อนหายากมากที่จะเห็นรถยนต์ขับผ่านมาซักคันเห็นแต่รถจักรยาน เดียวรถยนต์เต็มถนนแถมติดซะด้วยซ้ำไป การเติบโตทีี่รวดเร็วเกินไป เกินกำลังผลิต ก่อให้เกิดการแย่งกันกินแย่งกันบริโภค สินค้าบางอย่างที่ขาดแคลนราคาถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้ารัฐบาลจัดการแก้ปัญหาไม่ดีจะเกิดปัญหาในแบบตรงข้ามกับอเมริกา ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าประชาชนเคยประหยัดสุดๆ เป็นประเทศที่อู้ฟู่ขึ้นในอัตราเร่งที่เร็ว

แนวทางการแก้ไข ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในขั้นต้น ควบคุม ภาวะฟองสบู่ โดยเฉพาะภาคอสังหา แลกเงินทุนออกไปเป็นสินค้าที่ไม่เน่าเสีย ตุนเหล็กถ่านหิน แร่ธาตุ โลหะมีค่า หากยังแก้เงินเฟ้อไม่ได้ ต้องขึ้นภาษี และยังคงต้องผูกติดค่าเงินกับดอลล่าร์ (ตรงนี้จะอธิบายเวียดนาม)

 

เวียดนาม

ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข ความเชื่อมั่นในระบบเงิน ด่อง ของตัวเองที่เสียไปแล้ว

ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจ น่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว ถ้าภาครัฐยังคงไม่เปลื่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ

เวียดนามในช่วง หลายปีที่ผ่านมามีลักษณะคล้ายจีนมาก ในเรื่องของการเติบโตในอัตราเร่งที่เร็วมาก ณ วันนี้เกิดปัญหาแล้วก็เลยพูดได้ว่า เร็วจนเกินไป (อย่างที่ผมบอกเร็วไปใช่ว่าจะดี) เวียดนามได้รับเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามามาก รายได้เฉลี่ยประชาชาติต่อหัวของเวียดนามถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคม คนรวยๆขึ้นแบบก้าวกระโดด คนจนมีเงินเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย รัฐบาลพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยการ คุมราคาสินค้าให้ไม่แพงเร็วเกินไป เพื่อช่วยเหลือคนจน ปัญหาอยู่ที่ว่า กำลังซื้อที่สูงขึ้น ราคาสินค้าไม่เพิ่มเพิ่มไม่ได้ เกิดการไม่สมดุล (อ่านเรื่องจุดดุลภาพ ที่ผมเขียนเมื่อบทความที่แล้ว) ความต้องการซื้อของเพิ่มขึ้น คนซื้อของเก็บเป็นจำนวนมาก ของขาดตลาด ในเมื่อราคาของเพิ่มไม่ได้ ระบบเงินก็ปรับสมดุลในวิธีของมันเอง ปรกติเงินเฟ้อเกิดจาก ราคาสินค้าเพื่มสูงขึ้น เรามีเงินเท่าเดิม เราก็เลยรู้สึกว่าค่าเงินเราน้อยลง ในเวียดนาม ของราคาไม่เพิ่ม แต่ ค่าลงด่องลดลง (เป็นประเทศเดียวในเอเชียเลยมั้ง ค่าเงินอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์)ประชาชนเห็นค่าเงินลดลง ก็ยิ่งตุนสินค้ายิ่งทิ้งด่องซื้อดอล ยิ่งทำให้สินค้าขาดค่าเงินก็ยิ่งลดลงอย่างรุนแรง ในเวียดนาม เมื่อคนได้เงินจะไม่ใครเก็บเงินเวียดนามไว้ จะนำไปแลกเป็นทองหรือ ดอลลาร์จนหมด นี่ละครับ เป็นเหตุที่จีนใช้ระบบผูกเงิน ไม่ว่าจะเฟ้อยังไงประชาชนก็แลกดอลได้เท่าเดิมก็ไม่มีใครอยากไปแลกดอลล่าร์ยังไงละครับ

อีกอย่างที่เป็นปัญหา รัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาด ในภาวะที่ควรลดการกระตุ้นเศรษฐกิจ กลับเพิมการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการ เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ (ดูตรง GDP การใช้จ่ายมวลรวม ตัวที่ 3)เช่นการลงทุนรถไฟหัวกระสุน ที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากต้องใช้ทรัพยากรมาก เป็นการเร่งใหปัจจัยผลิตขาดตลาดเร็วและแรงขึ้น

แนวทางการแก้ไข ดำเนินนโยบายเกินดุล เก็บภาษีมากขึ้นกับคนที่มีรายได้สูงมาแก้ปัญหา เลิกกระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงความเชื่อมั่นในระบบการเงินของตัวเอง(ทำไง ไม่รู้เหมือนกัน)

แนะนำ น่าไปเที่ยวเวียดนาม ก่อนไปแลกเงินดอล ไปนะครับ ซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าปรกติ กลับมาใช้บ้านเรา อิอิ

 

ไทยติดไว้ก่อนครับ เลยเวลามามากแล้ววันนี้

 

 

 

 

 

ถูกแก้ไข โดย TOUNE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SET ปิดตลาดที่ระดับ 1,047.13 จุด ลบ 3.65 จุด

 

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ประจำวันที่ 6 มกราคม 2553

ปิดตลาดที่ระดับ 1,047.13 จุด ลบ 3.65 จุด (-0.35%)

มูลค่าการซื้อขายรวม 24,070.42 ล้านบาท

 

ดัชนี SET 100 ปิดช่วงเช้าที่ระดับ 1,596.01 จุด ลบ 7.25 จุด (-0.45%)

ดัชนี SET 50 ปิดช่วงเช้าที่ระดับ 730.31 จุด ลบ 3.67 จุด (-0.50%)

ดัชนี MAI ปิดช่วงเช้าที่ระดับ 278.09 จุด บวก 1.76 จุด (+0.64%)

 

หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ดังนี้

หลักทรัพย์ มูลค่า(“000 บาท) ล่าสุด เปลี่ยนแปลง(%)

SCB 2,549,638 105.50 -1.00 (-0.94%)

TOP 1,781,596 75.75 -3.75 (-4.72%)

BBL 1,446,467 159.50 +3.50 (+2.24%)

KTB 1,264,095 18.70 +0.60 (+3.31%)

IRPC 1,203,610 6.05 -0.30 (-4.72%)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SET ปิดตลาดที่ระดับ 1,050.98 จุด บวก 0.20 จุด

 

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ประจำวันที่ 6 มกราคม 2553

ปิดตลาดที่ระดับ 1,050.98 จุด บวก 0.20 จุด (+0.02%)

 

ดัชนี SET 100 ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,601.32 จุด ลบ 1.94 จุด (-0.12%)

ดัชนี SET 50 ปิดวันนี้ที่ระดับ 732.75 จุด ลบ 1.23 จุด (-0.17%)

ดัชนี MAI ปิดวันนี้ที่ระดับ 278.23 จุด บวก 1.90 จุด (+0.69%)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รวมข่าวหุ้นเช้าวันศุกร์ค่ะ

 

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=18163

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไทย

ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องแก้ไข เลิกนโยบายประชานิยม

ปัจจัยนำที่ควรจับตาที่จะก่อให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจ หนี้สารธณะเพิ่มมาก ราคาน้ำมันเพิ่มเร็ว&แรง เงินเฟ้อเร็ว&แรง ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง

การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย อยู่ในช่วงที่ยังเติบโตต่อเนื่องแบบควบคุมได้ง่ายกว่า (ถ้าเทียบกับจีนหรือ เวียดนาม) อัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 1.5-2% มาหลายปีแล้ว ซึ่งถือว่าน้อยถ้าเทียบกับอเมริกา (ที่มาสำนักสถิติแห่งชาติ) ในบางพื้นที่มีปัญหาการจ้างงานตึงตัว เช่นในเขตนิคมอุตสาหกรรม ที่ระยอง ชลบุรี มีการขาดแคลนแรงงานอยู่ในระดับนึง GDP ของไทย (GDP การใช้จ่ายมวลรวม) เน้นหนักไปที่ การส่งออก มากที่สุด รองลงมาเป็น การจับจ่ายภาคเอกชน และ การใช้จ่ายภาครัฐ มีบทบาทมากขึ้นในช่วงปี 2ปีที่ผ่านมา ตรงนี้จะเห็นว่า ค่าเงินบาทแข็งและแรงงานเริ่มเป็นปัญหาของธุรกิจภาคเอกชน ราคาน้ำมันเป็นอีกตัวที่ผมรู้สึกค่อนข้างกังวลกว่า ราคาน้ำมัน (ดู cost push inflation) น้ำมันเป็นสินค้าทุนที่ใช้ในการผลิตในแทบทุกธุรกิจ และเราอยู่ในสถานะที่จนใจต้องใช้ ไม่ว่าจะถูกหรือแพง ราคาน้ำมันถ้าเพิ่มขึ้นเร็ว&แรงเกินไป จะทำให้ต้นทุนการผลิตของธุรกิจสูงขึ้น สินค้าและบริการจะแพงขึ้น เกิดเงินเฟ้อแบบ cost push

การขึ้นเงินเดือนของภาครัฐ ค่าแรงขั้นต่ำ (เงินเดือน สส ด้วยมั้ง)อีกตัวจะเป็นตัวหลักให้เกิดเงินเฟ้อมากขึ้น ในปี 54 กล่าวคือ เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น กำลังจับจ่ายใช้สอยก็จะสูงขึ้น demand ความต้องการใช้จ่ายในสินค้าและบริการจะสูงขึ้น ในขณะที่กำลังผลิต เพิ่มได้ไม่เร็วนัก จากปัญหาขาดแคลนแรงงาน จากเหตุผลที่กล่าวมา เงินเฟ้อ จะเป็นปัญหาหลักอย่างนึง ที่เราจะเจอแน่ๆในปี 54 ซึ่งหน้าที่แก้ปัญหาอันนี้ จะไปตกกะ แบงค์ชาติ และ กระทรวงพานิชย์ ซึ่งปีนี้คงได้เห็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกหลายครั้ง

 

นโยบายภาครัฐ เป็นอีกเรื่องที่ควรกังวล ในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตได้ด้วยตัวของมันเอง รัฐบาลควรหยุดการเพิ่มการจับจ่ายโดยเฉพาะการใช้จ่ายแบบเลว ลดการใช้จ่าย แบบกลาง และใช้จ่ายแบบดี แบบระมัดระวัง

ตรงนี้ขอขยายความนิดนึง ปรกติการใช้จ่ายของรัฐบาลจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1 แบบดี เอาเงินไปลงทุนในสิ่งที่จะให้สร้างรายได้กับภาครัฐในอนาคต เช่น สร้างถนน โรงไฟฟ้า รถไฟฟ้า ระบบสารธณูปโภค ต่างๆ

2 แบบกลางๆ เอาเงินไปแลกซื้อสินค้าและบริการ เช่น เงินเดือน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ที่ได้ผลตอบแทนเป็น service ของงานรัฐ ป้องกันประเทศ และ ดูแลความปลอดภัยของคนในประเทศ

3 แบบเลว ไม่ได้อะไรกลับคืนมาเลย เช่น แจกเงินให้เปล่า เช่นจ่ายเช็คให้เปล่า ตรงนี้ควรให้ก็ต่อเมื่อคนที่ได้รับเดือดร้อนจริงๆ เช่นเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น ถ้าให้พรำเพื่อ คนในประเทศจะเคยตัว และงอมืองอเท้า รอรับของแจกอย่างเดียว

 

ซึ่งถ้าหากเงินที่เอามาแจก แบบให้เปล่า ถ้าเงินเป็นเงินของรัฐบาลเอง ผมก็ไม่ได้ขัดข้องอะไร แต่รัฐบาล เอาเงินภาษีประชาชนมาแจก หรือ กู้มาแจก การกู้เงินของรัฐบาล ก่อให้เกิด สิ่งที่เรียกว่า "หนี้สารธณะ" หนี้สารธณะ คือสิ่งที่รัฐบาลกู้แต่พวกเราทุกๆคนชดใช้ กล่าวคือ ถ้ารัฐบาลชุดที่กู้นี้ไม่ได้เป็นรัฐบาลในสมัยหน้า เจ้าหนี้ของรัฐบาล จะไม่ไปตามเก็บหนี้กับอดีตรัฐบาลที่กู้ แต่จะไปเก็บหนี้กับรัฐบาลชุดใหม่ รัฐบาลใหม่ถ้าไม่มีเงินจ่าย ก็จำเป็นต้องเก็บภาษีเพิ่มจากเราๆท่านๆ หรือ กู้เพิ่ม กู้เพิ่มมาจ่ายหนี้เรื่อยๆ จนหนี้พอกพูนไปเรื่อยๆ เราก็จะประสบปัญหาแบบ ที่ประเทศกรีก เป็นอยู่ ซึ่งเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีระบบการคลังที่ไม่ดี

 

ปล ส่วนเรื่องการขึ้นเงินเดือนราชการ ไม่ใช่ผมจะไม่เห็นด้วยให้ขึ้น แต่ควรจะ มีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย โดยให้เงินเดือนเพิ่มแก่ข้าราชการที่ทำงานได้ดีและมาก ลดการจ้างงาน คนที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพออกไป เพื่อคืนแรงงานสู่ภาคการผลิตด้วย ถ้าทำได้แบบนี้ คงไม่มีใครขัดข้อง

เขียนไปเขียนมา กล่าวเป็นเขียนโจมตีรัฐไปได้ แต่ที่จริง มีบางโครงการของภาครัฐที่ผมเห็นด้วยและสนับสนุนให้ทำ เช่น โครงการ broadband แห่งชาติ ถ้ามีนักวิชาการที่รู้ทิศทางราคาสินค้าเกษตร คอยแนะนำเกษตรว่าปีนี้ควรปลูกอะไร ไม่ควรปลูกอะไร ก็น่าจะช่วยเกษตรลดปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำลงได้ อีกอย่างก็ช่วยเรื่องการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาสในชนบทด้วย

 

แนวทางการแก้ไข เอกชนควรแก้ปัญหาแรงงานตึงตัว โดยการนำเข้าเครื่องจักรการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต/แรงงาน ให้สูงขึ้น อีกทั้งได้ประโยชน์จากค่าเงินที่ต่ำทำให้ได้ เครื่องจักรที่ถูกลงด้วย ภาครัฐ ความเลิกนโยบาย ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น นโยบายประชาภิวัตน์อะไรนั้น ผมว่ามันก็คือ ประชานิยมย้อมแมว นั้นเอง

 

 

 

ถูกแก้ไข โดย TOUNE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นไทยภาคเช้าปิดลบ 4.14 จุด ที่ 1,046.84 จุด ท่ามกลางแรงขายทำกำไรระยะสั้น วอลุ่มเกือบ 2 หมื่นล้านบาท

 

บรรยากาศ การลงทุนตลาดหุ้นไทยเช้านี้ (7 ม.ค.) ดัชนีแกว่งตัวในแช่วงแคบในแดนลบ ท่ามกลางแรงขายทำกำไรระยะสั้น ระหว่างชั่วโมงการซื้อขายดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ 1,051.49 จุด ต่ำสุดที่ 1,046.81 จุด ก่อนปิดตลาดในภาคเช้าที่ 1,046.84 จุด ลบ 4.14 จุด หรือ 0.39% มูลค่าการซื้อขาย 19,958.66 ล้านบาท

 

หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรกประกอบด้วย

 

BBL ปิดที่ 164.00 บาท +4.50 (+2.82%)

SCB ปิดที่ 104.50 บาท -1.00 (-0.95%)

TRUE ปิดที่ 6.60 บาท -0.30 (-4.35%)

TOP ปิดที่ 74.25 บาท -1.50 (-1.98%)

LANNA ปิดที่ 22.50 บาท +1.90 (+9.22%)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีปีใหม่คะ คุณ toun ขอรบกวนถามคุณ toun หน่อยคะว่าหุ้น sta ยัง ok อยู่หรือเปล่าคะ ราคาไหนเข้าได้คะ ขอบคุณคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,036.45 จุด ลบ 14.53 จุด

 

ดัชนีตลาดหลักทรพัย์ ประจำวันที่ 7 มกราคม 2554

ปิดตลาดที่ระดับ 1,036.45 จุด ลบ 14.53 จุด (-1.38%)

 

ดัชนี SET 100 ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,577.75 จุด ลบ 23.57 จุด (-1.47%)

ดัชนี SET 50 ปิดวันนี้ที่ระดับ 721.31 จุด ลบ 11.44 จุด (-1.56%)

ดัชนี MAI ปิดวันนี้ที่ระดับ 277.39 จุด ลบ 0.84 จุด (-0.30%)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รวมข่าวเช้าวันจันทร์ค่ะ

 

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=18209

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รวมข่าวหุ้นเช้าวันอังคารค่ะ

 

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=18244

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...