ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

นิ้วล็อค...การบริหารนิ้ว

โพสต์แนะนำ

นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

 

นิ้วล็อก

:D :wub: :lol:

 

 

 

นิ้วล็อก หมายถึง อาการที่งอข้อนิ้วมือ แล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปที่ต้องใช้มือจับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องบ่อยๆ โรคนี้ไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้

 

ชื่อ ภาษาไทย นิ้วล็อก, ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ

ชื่อภาษาอังกฤษ Trigger finger, Digital flexer tenosynvitis, Stenosing tenosynvits

 

สาเหตุ

เกิด จากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณโคนนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้น และติดขัดในการเคลื่อนไหวขณะเหยียดนิ้วมือ เมื่ออักเสบรุนแรงมากขึ้นจะเกิดปุ่มตรงเส้นเอ็น เวลางอนิ้วมือปุ่มจะอยู่นอกปลอกหุ้ม แต่ไม่สามารถเคลื่อนเข้าปลอกหุ้ม เวลาเหยียดนิ้วมือกลับไป ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกอยู่ในท่างอ ต้องออกแรงช่วยใน การเหยียด จึงจะสามารถฝืนให้ปุ่มเคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเข้าไปได้

 

การอักเสบของ เส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือมักเกิดจากแรงกดหรือเสียดสีของเส้นเอ็นซ้ำ ซาก หรือใช้งานฝ่ามือมากเกินไป เช่น การใช้มือหยิบจับอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน ทำสวน ขุดดิน เล่นกีฬา เล่นดนตรี เป็นต้น โรคนี้จึงพบบ่อยในกลุ่มแม่บ้าน เลขานุการที่พิมพ์ดีดบ่อยๆ ผู้ที่ชอบเล่นกีฬา (เช่น กอล์ฟ เทนนิส) หรือเล่นดนตรี (เช่น ไวโอลิน) นอกจากนี้ยังพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ เบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์

 

อาการ

ระยะ แรกมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักหนึ่งก็จะกำมือได้ดีขึ้น บางคนจะสังเกตว่าเวลางอแล้วเหยียดนิ้วมือจะได้ยินเสียงดังกิ๊ก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อกคือ เวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน นิ้วที่เป็นบ่อยได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง และนิ้วนาง อาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ และอาจเป็นที่มือข้างเดียวหรือทั้ง ๒ ข้างก็ได้ อาการมักจะเป็นมากตอนเช้า

 

การ แยกโรค

อาการ นิ้วงอ เหยียดขึ้นไม่ได้ อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เส้นเอ็นนิ้วมือฉีกขาดจากการบาดเจ็บ (ซึ่งมักเกิดขึ้นฉับพลันหลังได้รับบาดเจ็บ) การดึงรั้งของพังผืด (เช่น ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่นิ้วมือ) ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (เช่น Dupuytren's contracture) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข

 

การวินิจฉัย

แพทย์ มักจะวินิจฉัยจากอาการแสดงเป็นหลัก และการตรวจร่างกายอาจตรวจพบว่าเมื่อใช้มือกดตรงโคนนิ้วมือ ตรงปุ่มกระดูกจะรู้สึกเจ็บ และบางคนอาจคลำได้ปุ่มเส้นเอ็นที่อักเสบ

 

การ ดูแลตนเอง !_01

หาก มีอาการเจ็บตรงโคนนิ้วมือ เวลางอนิ้วมือแล้ว เหยียดนิ้วมีเสียงดังกิ๊ก หรือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้น เองไม่ได้ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อพบว่าเป็นโรคนิ้วล็อก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง และควรปฏิบัติดังนี้

 

* ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่เป็นนิ้วล็อก เล่น อาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นได้

* ถ้ามีอาการข้อฝืด กำไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่น้ำอุ่นจัดๆ และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น

* เมื่อ ต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น ไม้กอล์ฟ ตะหลิวผัดกับข้าว ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกดหรือเสียดสีลง

 

 

การ รักษา !_Rd

แพทย์ จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค ในระยะแรก อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ เพื่อบรรเทาปวดและลดการอักเสบ การทำกายภาพ- บำบัด หรือฉีดยาสตีรอยด์เข้าไปที่เส้นเอ็นที่อักเสบ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้การรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใหม่ๆ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องมือสะกิดส่วนของพังผืดที่หนาตัวออกไป (โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัด จะมีแผลเป็นรูเล็กๆ ตรงตำแหน่งที่เจาะ) ถ้ายังไม่ได้ผลอาจต้องทำการผ่าตัดแก้ไข

 

ภาวะ แทรกซ้อน

ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด นอกจากทำให้มีอาการเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด

 

การดำเนินโรค

ถ้า ไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นเรื้อรัง และข้อฝืดมากขึ้น

ถ้าได้รับการรักษา ที่ถูกต้องก็มักจะหายได้

 

การป้องกัน !Aa

หลีก เลี่ยงการใช้มือทำงานที่มีลักษณะทำให้เกิดแรงกดหรือเสียดสีกับเส้นเอ็นแบบ ซ้ำซาก

 

* การหิ้วของหนักๆ เช่น ถุงหนักๆ ถังแก๊ส ถังน้ำ กระเป๋า (ควรใช้รถเข็นลาก หรือใส่ถุงมือ)

* การซักผ้า บิดผ้า (ควรใช้เครื่องซักผ้าแทน)

* เวลา กำหรือจับอุปกรณ์ต่างๆ ควรใส่ถุงมือลดแรงกดหรือเสียดสี เช่น ใส่ถุงมือเวลาจับไม้ตีกอล์ฟ กรรไกรตัดกิ่งไม้ มีดตัดต้นไม่หรือดายหญ้า

 

 

ความชุก

โรค นี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่ทำงานที่ต้องหยิบจับสิ่งของหรืออุปกรณ์อย่างต่อเนื่องนานๆ หรือใช้มือหิ้วของหนักๆ

 

http://www.doctor.or.th/node/1133

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นิ้วล็อค.....

:angry: :mad: ^_^

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=J2a5dZc2zZQ&feature=related

 

 

 

ท่าบริหารข้อนิ้ว สามารถรักษาอาการนิ้วล็อคได้ดี โดยบริหารเป็นประจำควบคู่กับการระมัดระวังพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ถือของโดยใช้นิ้วเกี่ยว นอกจากนี้ การบริหารเป็นประจำช่วยให้ข้อนิ้วมีความยืดหยุ่นที่ดี สามารถป้องกันอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อโรคา - บริหารมือและนิ้ว

 

http://www.youtube.com/watch?v=UiLxZ5yiSXo&feature=player_embedded

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เผยวิธีทำกายภาพมือง่ายๆ ก่อน "นิ้วล็อค" ถาวร!

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

 

 

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า มือของคนเรา เป็นอวัยวะสำคัญที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะหยิบจับสิ่งของ หรือใช้งานในกิจอื่นๆ ทั้งเด็กที่จะต้องใช้มือเขียนหนังสือ พ่อแม่คนทำงานที่ต้องใช้มือกับแป้นพิมพ์ เขียนงานเอกสาร หรือใช้ในงานด้านต่างๆ ตลอดจนแม่บ้านที่ต้องใช้มือในการหิ้วตะกร้าจ่ายกับข้าว ชอปปิ้ง บิดผ้า

 

เมื่อมือ เป็นอาวุธสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ใช้ทำงาน บางครั้งอาจถูกใช้งานอย่างหนัก โดยไม่ได้พัก หากเป็นเช่นนี้ ซ้ำๆ บ่อยๆ ย่อมมีความเสี่ยงต่อการเจ็บปวดตามมา สามารถนำพาไปสู่ภาวะนิ้วล็อค หรือ Trigger Finger ได้ในที่สุด

 

ในวันนี้ ทีมงาน Life and Family มีเกร็ดความรู้จากงาน "Banana Family in Love" จัดโดย Banana Family Park ภายใต้โครงการ Workshop กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งได้มีการพูดคุยถึงภาวะนิ้วล็อค และวิธีการดูแลมือไว้อย่างน่าสนใจ จึงนำมาฝากให้กับทุกครอบครัวไว้ปรับใช้ก่อนนิ้วล็อคถาวรกัน

 

หากพูดถึง ภาวะนิ้วล็อค ทีมงานได้รับความรู้ว่า เป็นกลุ่มอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่มีการใช้มือทำงานอย่างหนัก ซึ่งจะมักมีอาการเจ็บร่วมกับมีเสียงดังกึก ทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเมื่องอนิ้ว แต่เมื่อมีการอักเสบเส้นเอ็นจะบวมและหนาตัว ทำให้ลอดผ่านห่วงลำบาก จึงรู้สึกเจ็บและเกิดอาการนิ้วล็อคตามมา

 

โดยส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะแม่บ้านที่ใช้มือทำงานอย่างหนัก เช่น หิ้วตะกร้าจ่ายกับข้าว ชอปปิ้ง บิดผ้า ส่วนในผู้ชายมักพบในอาชีพที่ใช้มือทำงานหนักๆ มีการจับ ออกแรงบีบอุปกรณ์ซ้ำๆ เช่น คนทำสวนใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ช่างที่ใช้ไขควงหรือเลื่อย พนักงานพิมพ์ดีด นักกอล์ฟ เป็นต้น

 

นอกจากนี้ลักษณะการใช้งานของมือในแต่ละกิจกรรมจะใช้งานแต่ละนิ้วไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดนิ้วล็อคที่ตำแหน่งนิ้วต่างกันด้วย เช่น พ่อแม่ที่เป็นครู หรือนักบริหาร มักเป็นนิ้วล็อคที่นิ้วโป้งขวา เพราะใช้เขียนหนังสือมาก และใช้นิ้วโป้งกดปากกานานๆ ขณะที่แม่บ้านซักบิดผ้า มักเป็นที่นิ้วชี้ซ้ายและขวา แต่ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกัน และรักษาให้หายได้ ถ้ารู้จักวิธีดูแลตนเองอย่างถูกต้อง

 

สำหรับอาการ ในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัด หรือกำได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักก็จะกำมือได้ดีขึ้น เวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อค คือ เวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน ซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ บางรายอาจรุนแรงถึงนิ้วบวมชา ติดแข็งจนใช้งานไม่ได้

 

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000104284

*** กายภาพมือง่ายๆ ก่อน "นิ้วล็อค" ถาวร!

553000011070202.JPEG

 

1. ยืดกล้ามเนื้อแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยทำ 6-10 ครั้ง/เซต

 

2. บริหารการกำ-แบมือ โดยฝึกกำ-แบ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือ และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ หรืออาจถือลูกบอลในฝ่ามือก็ได้ โดยทำ 6-10 ครั้ง/เซต

 

3. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้งอ-เหยียดนิ้วมือ โดยใช้ยางยืดช่วยต้าน แล้วใช้นิ้วมือเหยียดอ้านิ้วออก ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อยๆ ปล่อย ทำ 6-10 ครั้ง/เซต

*** ระวังตัวง่ายๆ ลดเสี่ยง "นิ้วล็อค"

 

1. ไม่หิ้วของหนักเกินไป ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทน เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ

 

2. ควร ใส่ถุงมือ หรือห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้นและจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งาน ขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ

 

3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง

 

4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น

5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบา ๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อฝืดลดลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณมดแดง ตื่นมาก็ได้ท่าบริหารนิ้วอีกอย่าง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณมดแดงนะคร้า บังเอิญกดไปกดมารอราคาทองค่ะเลยได้มาอ่าน โชคดีเลยคร้า ขอมอบดอกไม้ให้คุณมดแดงคร้าpost-510-078239800 1289548570.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณมดแดงนะคร้า บังเอิญกดไปกดมารอราคาทองค่ะเลยได้มาอ่าน โชคดีเลยคร้า ขอมอบดอกไม้ให้คุณมดแดงคร้าpost-510-078239800 1289548570.jpg

 

!thk !thk !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บริหารนิ้ว-ร่างกายแข็งแรง

 

 

 

 

ท่าที่ 1 ให้ปลายนิ้วชี้ประกบปรายนิ้วหัวแม่มือ - ช่วยให้สมองทำงานดี ความจำดี

 

 

 

ท่าที่2. ให้ปลายนิ้วนาง ประกบปรายนิ้วหัวแม่มือ ทำให้ผิวดี เพิ่มความแข็งแกร่ง ให้คนที่อ่อนเพลีย

finger2.1.gif

 

ท่าที่ 3 . ให้ปลายนิ้วก้อย ประกบปรายนิ้วหัวแม่มือ

(นิ้วที่เหลือ 3 นิ้วต้องยีดตรง และติดกัน)เลือดไม่จะข้น กล้ามเนื้อ ไม่ยึดติด

 

finger3.1.gif finger3.gif

 

 

ท่าที่ 4 พับนิ้วชี้ เอานิ้วแม่โป้งกดนิ้วชี้ไว้ นิ้วที่เหลือต้องยืดครง และติดกัน ทำครั้งละ 45 นาที ติดต่อกัน 2เดือนรักษาข้ออักเสบ เก๊าท์ ท้องมีแก๊สมาก

finger4.gif

 

ท่าที่ 5 พับนิ้วกลาง เอานิ้งแม่โป้งกดนิ้วกลาง

ครั้งละ 40 -60 นาที ทุกวัน ช่วยให้การได้ยินดีขึ้น

 

finger5.gif

 

 

http://www.keedkean.com/knowledge/KK0001922.html

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่าที่ 6 ให้นิ้วนางพับลง เอานิ้วแม่โป้ง กดนิ้วนางไว้ ทำ 5–15 นาที ช่วยเรื่อง ไทรอยท์ และระบบย่อยอาหาร ช่วยลดอาการตื่นเต้น

 

finger6.gif finger6.1.gif

 

 

ท่าที่ 7 ให้ปลายนิ้วก้อย และปลายนิ้วนาง แตะปลายนิ้วแม่โป้ง อีก 2 นิ้วที่เหลือ ยีดตรง และติดกันทำครั้งละ 5 – 15 นาที ทำบ่อย ๆ ได้ตามต้องการ สายตาจะดีขึ้น และร่ายการหายเพลีย

 

finger7.gif finger7.1.gif

 

 

ท่าที่ 8 ปลายนิ้วกลางกับนิ้วนาง ให้แตะปลายนิ้วแม่โป้ง นิ้วชี้และนิ้วก้อย ยีดตรง ทำ 45นาที ช่วยเรื่องท้องผูกสะสม ทำให้ถ่ายทุกวัน

 

finger8.gif

 

 

 

ท่าที่ 9 พับนิ้วชี้ลง ให้ปลายนิ้วกลาง และปลายนิ้วนาง แตะปลายนิ้วปลายนิ้วแม่โป้ง นิ้วชี้จะแตะที่ฐาน นิ้วแม่โป้ง (ตรงติดกับง่ามนิ้ว) ทำประมาณ 15นาที ทำให้หัวใจแข็งแรงกระเพาะย่อยดี

 

finger9.gif

 

finger9.1.gif finger9.2.gif

 

 

ท่าที่ 10 กดนิ้วมือให้ประสานกัน ให้นิ้วโป้งข้างซ้ายชูขึ้นตรง นิ้วโป้งข้างขวาโอบนิ้วโป้งซ้าย .....

อย่าทำนาน เพราะการทำนี้ จะทำให้ร่างกายเกิดความร้อนได้ ท่านี้ช่วยเรื่องปอด และทำให้หายหวัด

 

finger10.gif0fyre.png

 

 

ท่าที่ 11.อีกท่าที่น่าสนใจคือ Joint Mudra ช่วยเรื่องปวดข้อ

 

finger11.gif

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!thk ขอบคุณ คุณมดแดงมากค่ะ มือใหม่ปวดมือ อุ้งมือ ข้อมือมานานแระค่ะ วันนี้มาเจอกระทู้คุณมดแดง ดีมากเลยค่ะลองทําตามคลิปดู อืม รู้สึก ผ่อนคลาย หายปวดไปได้ค่ะ เดี๋ยวจะลองทําบ่อยๆ คงหายปวดจริงๆสักที ขอบคุณอีกครั้งนะคะ :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!thk ขอบคุณ คุณมดแดงมากค่ะ มือใหม่ปวดมือ อุ้งมือ ข้อมือมานานแระค่ะ วันนี้มาเจอกระทู้คุณมดแดง ดีมากเลยค่ะลองทําตามคลิปดู อืม รู้สึก ผ่อนคลาย หายปวดไปได้ค่ะ เดี๋ยวจะลองทําบ่อยๆ คงหายปวดจริงๆสักที ขอบคุณอีกครั้งนะคะ :wub:

 

นำเรื่องนี้มานำเสนอ...เพราะคิดว่าท่านเพื่อนๆสมาชิกต้องใช้นิ้วมือ ข้อมือ ( สายตา กล้ามเนื้อคอ ไหล่..หลัง ..ซึ่งได้โพสต์ไว้ให้อ่านกันแล้ว ในกระทู้สุขภาพค่ะ ) ในการใช้งานมากนะคะ ถ้าอยู่หน้าจอนานๆ

 

 

:P การบริหารเป็นการป้องกันที่ดีค่ะ แต่ถ้าใครเป็นแล้ว จะลงเอยแบบใดก็ต้องอยู่ที่ตัวท่านเองเป็นคนเลือก.....ลองดูง่ายๆแต่เจ็บตัวนิดนึงค่ะ....เสียวนิดนึงถ้าดู.. ใครใจไม่แข็งห้ามดูนะคะ... :wub: :lol:

 

 

:lol: ลองดูวิธีนี้บ้างค่ะ.. เร็วดี.... น่าจะดูดีกว่าวิธีผ่าตัดแบบเก่าๆซึ่งดูแล้วหวาดเสียว :ph34r:

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เคยเป็นแล้วครับเป็นระดับ3ครับทรมานมาก ได้รับการรักษาด้วยวิธีในคลิบนี่แหละครับ จากคุณหมอวิชัยในคลิบช้างบน คุณหมอชำนาญมากเรื่ิองนิ้วล๊อก เคยอ่านประวัติว่าวิธีนี้ท่านเป็นคนคิด และรักษากับตัวเองก่อนเพราะท่านก็เป็น แล้วถึงนำออกเผยแพร่ การรักษาวิธีนี้ผมว่าดีครับ แผลเล็กมากจนแทบมองไม่เห็น หายเร็วกว่าวิธีแบบเก่าที่ต้องผ่าตัด แทบจะไม่เสียเลือดเลย รวมเวลารักษาประมาณ10-20นาทีก็เสร็จ กลับบ้านได้เลย พันแผลไว้หนึ่งอาทิตย์ ผมลองแกะออกดูมองไม่เห็นแผลเลยครับ ผมเลยประมาททั้งที่คุณหมอสั่งนักสั่งหนาว่าห้ามถูกน้ำเดี๋ยวจะติดเชื้อ ผลติดเชื้อครับ วิธีรักษาลำบากมากครับ กรีดแผลให้กว้างยัดผ้าชุบยาเข้าไปในแผลฉีดยากินยาแก้อักเสบทุกวัน ไปๆมาๆโรงพยาบาลเลืศสินหนึ่งเดือนเต็ม นี่แหละครับค่าโง่ที่เจ็บปวดจริงๆ สิ่งที่ต้องทำหลังจากรักษานิ้วล็อกด้วยวิธีในคลิปคือต้องปฏิบัติตัวตามคำสั่งแพทย์โดยเคร่งครัดครับนี่คือบทเรียนที่ได้รับมาtongue.gif

ถูกแก้ไข โดย 13k

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...