ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

นิ่วในถุงน้ำดี

โพสต์แนะนำ

นิ่วในถุงน้ำดีเกิดได้อย่างไร

 

 

 

ตับ liver เป็นอวัยวะสร้างน้ำดี ซึ่งจะส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี เมื่อต้องการไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีก็บีบตัวส่งน้ำดีไปตามท่อน้ำดี common bile duct เข้าสู่ลำไส้ doudenum และย่อยอาหาร น้ำดีประกอบด้วย น้ำ ,cholesterol ,ไขมัน, bile salt เมื่อน้ำในน้ำดีลดลงก็ทำให้เกิดนิ่ว พบบ่อยๆมี 2 ชนิดคือ นิ่วที่เกิดจาก cholesterol และนิ่วที่เกิดจากเกลือต่างๆ

 

นิ่วในถุงน้ำดีอาจจะหลุดและอุดทางเดินน้ำดีทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

 

billiary.gif

 

:huh: ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่ว

 

* คนอ้วนจะเกิดนิ่วที่มี cholesterol เนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง

* การได้ฮอร์โมน estrogen จากการรับประทานหรือตั้งครรภ์ทำให้ระดับ cholesterol ในน้ำดีสูง

* เชื้อชาติ

* เพศ หญิงพบมากกว่าชาย

* อายุที่พบบ่อยอายุ 60 ขึ้นไป

* ได้ยาลดไขมันบางชนิด ทำให้ cholesterol ในน้ำดีสูง

* ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากมีระดับ triglyceride สูง

* การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป

:blink: อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี

 

ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการอะไร บางรายมีอาการปวดเฉียบพลัน

 

* ปวดท้องบนขวาปวดตลอดอาจจะปวดนานเป็นชั่วโมง

* ปวดมักจะปวดอยู่บริเวณสะบัก

* อาจจะปวดร้าวไปไหล่ขวา

* มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

 

 

ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเรื้อรังโดยมากมักจะสัมพันธ์กับอาหารมัน อาการอื่นที่พบมี :lol:

 

* ท้องอืด

* รับประทานอาหารมันแล้วทำให้ท้องอืด

* ปวดมวนท้อง

* เรอเปรียว

* มีลมในท้อง

* อาหารไม่ย่อย

 

:huh: ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์

 

* ไข้สูง และมีเหงื่อออก

* ไข้เรื้อรัง

* ตัวเหลืองตาเหลือง หรือที่เรียกดีซ่าน

* อุจาระเป็นสีขาว

;) การวินิจฉัย

หลังจากซักประวัติและตรวจร่างกายหาก สงสัยว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี แพทย์จะส่งตรวจ ultrasound โดยใช้คลื่นเสี่ยงความถี่สูงตรวจหานิ่ว บางรายแพทย์จะตรวจพิเศษ เช่น Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) เป็นการตรวจโดยการส่องกล้องเข้าในท่อน้ำดีเพื่อหาตำแหน่งของนิ่วในท่อน้ำดี

 

http://www.youtube.com/watch?v=V-X4ZK2tQOk&feature=player_embedded

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การรักษา

 

นิ่วในถุงน้ำดีที่ไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องผ่าตัด นิ่วที่มีอาการต้องผ่าตัดเอานิ่วออกวิธีทีนิยมคือ laparoscopic cholecystectomy โดยการเจาะที่หน้าท้องเป็นรูหลายรูแล้วใส่เครื่องมือเพื่อตัดเอาถุงน้ำดีออกมา วิธีนี้สะดวก เจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเก่า และอยู่ในโรงพยาบาลไม่นาน ผู้ป่วยบางรายหลังส่องดูแล้วผ่าตัดแบบ laparoscopic cholecystectomy ไม่ได้ต้องเปลี่ยนโดยการผ่าตัดแบบเก่า

นิ่วที่อยู่ในท่อน้ำดีอาจจะเอาออกโดยการทำ Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) และเอานิ่วออก

 

http://www.youtube.com/watch?v=Pr3Md9XlLvw&feature=player_embedded

 

^_^ การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดผลที่ได้ยังไม่ดี คือ

 

* Oral dissolution therapy เป็น bile acid ใช้ละลายนิ่วที่เป็น cholesterol ที่ก้อนไม่ใหญ่ ต้องใช้เวลานานในการละลาย ผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดท้องร่วง และตับมีการอักเสบเล็กน้อย

* Extracorporeal shockwave lithotripsy (ESWL).โดยการใช้คลื่นแสงกระแทกให้นิ่วแตก หลังการทำผู้ป่วยอาจจะปวดท้อง และอัตราผลสำเร็จต่ำ

 

:P ถุงน้ำดีถูกตัดออกไปแล้วมีผลอย่างไรต่อร่างกาย

 

เนื่องจากถุงน้ำดีเป็นที่เก็บน้ำดีไว้ เมื่อต้องการใช้ถุงน้ำดีก็จะบีบตัวไล่น้ำดีออกมา คนที่ถูกตัดถุงน้ำดีจะมีน้ำดีไหลออกมาตลอดทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการท้องร่วง บางรายงานแนะนำต้องตรวจระดับ cholesterol

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Liver

 

humananatomy

 

:ph34r: -_- :lol:

 

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความรู้เกี่ยวกับนิ่วในทางเดินน้ำดี และวิธีการรักษา

 

โดย นพ.วิชัย อยู่ยงวัฒนา อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลปิยะเวท

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=-5eq9j4_Xmw

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นิ่วในถุงน้ำดี

 

นพ.ชิงเยี่ยม ปัญจปิยะกุล โรงพยาบาลสมิติเวช

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นิ่วในถุงน้ำดี

 

 

รองศาสตราจารย์ น.พ. ดรินทร์ โล่ห์สิริวัฒน์ ..น.พ. วชิรบุณย์ ศาสตระรุจิ......น.พ. วชิรบุณย์ ศาสตระ

 

นิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารประกอบในน้ำดี ซึ่งเมื่อมีนิ่วเกิดขึ้นแล้ว อาจมีอาการตั้งแต่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางครั้งนิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดี ทำให้มีอาการปวดแบบปวดดิ้น หรือถ้านิ่วตกลงไปอุดท่อน้ำดีใหญ่ จะทำให้มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ในบางรายอาจตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีแต่ไม่มีอาการได้เช่นกัน แต่อาการดังกล่าวข้างต้นจะเกิดเมื่อใดก็ได้ ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งถุงน้ำดี พบว่ามีนิ่วร่วมด้วยเป็นส่วนใหญ่

นิ่วในถุงน้ำดี ไม่สามารถรักษาได้โดยใช้เครื่องสลายนิ่ว การรักษาโดยใช้ยาละลายนิ่วใช้ได้เฉพาะนิ่วบางชนิดเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ต้องรับประทานยาเป็นเวลานาน และเมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีก อีกทั้งนิ่วของคนไทยส่วนมากมักไม่ละลายโดยใช้ยา ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุด คือการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ซึ่งการตัดถุงน้ำดี ไม่มีผลต่อการย่อยอาหาร เพราะน้ำดีสร้างมาจากตับ ถุงน้ำดีเป็นเพียงที่เก็บพักน้ำดีเท่านั้น

อาการ

ผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดี อาจไม่มีอาการเลย หรือมีอาการบางอย่าง ดังต่อไปนี้ โดยไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการ ได้แก่

- ท้องอืด

- แน่นท้องหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก

- ปวดท้องใต้ชายโครงขวาเป็นครั้งคราว

- ปวดท้องรุนแรง และปวดร้าวไปถึงสะบักด้านขาว

- ไข้สูงเฉียบพลัน ถ้ามีการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน

- ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม

 

จะตรวจพบว่าเป็นนิ่วถุงน้ำดีได้อย่างไร?

 

วิธีที่ดีที่สุด ที่จะวินิจฉัยว่ามีนิ่วในถุงน้ำดี คือการตรวจอัลตร้าซาวด์

 

การรักษา

 

การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกเป็นการแก้ปัญหาที่ถาวร เพื่อไม่ให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีขึ้นได้อีกต่อไป และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆ

การผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบัน มี 2 วิธี

%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%903a.jpg

ผ่าตัดแบบเดิม

 

 

%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%904a.jpg

ผ่าตัดภายใต้กล้อง

 

 

 

1. ผ่าตัดแบบเดิม โดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ( Open Cholecystectomy ) ปัจจุบันจะเลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง

2. ผ่าตัดภายใต้กล้อง โดยการเจาะรูเล็กๆ ที่หน้าท้อง ( Laparoscopic Cholecystectomy ) ถ้าผู้ป่วยไม่มีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน สามารถทำได้สำเร็จถึงร้อยละ 95 ถ้าถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันเกิน 3 วัน โอกาสผ่าตัดโดยวิธีนี้ได้สำเร็จจะน้อยลง

 

วิธีการผ่าตัดภายใต้กล้อง

 

§ เจาะรูเล็กๆ บริเวณหน้าท้อง 4 แห่ง ด้วยเครื่องมือที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการเจาะหน้าท้องอย่างปลอดภัย ขนาดของรูประมาณ 0.5 ซม. 3 ตำแหน่ง และขนาด 1 ซม.ที่สะดืออีก 1 ตำแหน่ง

 

%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%902a.jpg

 

§ ใส่กล้องที่มีก้านยาวๆ และเครื่องมือต่างๆผ่านรูที่ผนังหน้าท้องลงไป ศัลยแพทย์จะสามารถมองเห็นถุงน้ำดีและอวัยวะต่างๆจากจอโทรทัศน์ซึ่งกล้องส่งสัญญาณภาพมา

§ ศัลยแพทย์สามารถเลาะแยกถุงน้ำดีออกจากตับ และใช้คลิปหนีบห้ามเลือดแทนไหมเย็บแผล ก่อนตัดขั้วของถุงน้ำดี แล้วเลาะส่วนที่เหลือให้หลุดออก

 

%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%90%205a.jpg

 

§ เมื่อตัดถุงน้ำดีได้แล้ว บรรจุใส่ถุงที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ แล้วดึงออกจากร่างกายบริเวณรูสะดือ จากนั้น ศัลยแพทย์จะสำรวจความเรียบร้อยเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนดึงเครื่องมือและกล้องออกแล้วเย็บปิดแผล

§ ในผู้ป่วยบางรายถ้ามีการอักเสบมาก อาจต้องมีการใส่ท่อระบายไว้ 2-3 วัน

 

ผลดีของการผ่าตัดถุงน้ำดีภายใต้กล้อง

 

ü อาการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่า เพราะแผลมีขนาดเล็กกว่า

ü อยู่โรงพยาบาล ประมาณ 1-2 วัน ซึ่งถ้าผ่าตัดแบบเดิม อยู่โรงพยาบาล ประมาณ 7-10 วัน

ü การพักฟื้นหลังผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ทำให้กลับไปทำงานตามปกติได้เร็วกว่า ถ้าผ่าตัดแบบเดิม ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 เดือน

ü แผลขนาดเล็กดูแลง่ายกว่า และมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าแผลขนาดใหญ่

ü เมื่อแผลหายจะเป็นรอยเล็กๆบนหน้าท้องเท่านั้น

 

 

http://www.thonburihospital.com/th/tip_detail.asp?id=43

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

PreOp® Patient Education Gallbladder Removal Laparoscopic

 

 

 

 

 

PreOp® Patient Education: Gallbladder Removal Laparoscopic 2

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...