ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

Tai Chi

โพสต์แนะนำ

สอนการฝึกชี่กง ด้วย ไทเก็ก...

 

น.พ เทอดศักดิ์ เดชคง.. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

 

ฝึกชี่กง ด้วย ไทเก็ก หนึ่งในแนวทางการรักษาสุขภาพด้วย ตนเอง ช่วยบริหารร่างกายให้แข็งแรงโดยไม่ต้องพึ่­งยารักษาโรค

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เพื่อสุขภาพ ในรูปแบบไทเก๊ก

 

 

ไทเก๊ก... ร่างกายเคลื่อนไหว จิตใจสงบนิ่ง

 

 

ในทางการแพทย์จีนแล้ว อาการเจ็บป่วยต่างๆ เกิดจากสาเหตุสองอย่างคือ เลือดและลม เลือดคือระบบวงจรของเลือดที่หมุนเวียนในร่างกาย

ส่วนลมนั้น หมายถึงบริเวณที่ว่างในร่างกาย ถ้าเลือดและลมไม่สมดุลกันจึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรค และการสูญเสียสมดุลของหยิน หยางในร่างกาย

ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้เช่นกันไทเก๊กเป็นการฝึกพลังลมปราณ

บริหาร ร่างกายและทำสมาธิ เพื่อนำสิ่งที่เรียกว่า "ชี่" หรือลมปราณไปปรับสมดุลของหยินหยางในร่างกาย ช่วยทำให้อวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานเป็นธรรมชาติถือว่าเป็นดุลยภาพบำบัดอย่างหนึ่ง

 

การฝึก จิตให้นิ่งสงบ โดยผูกจิตโยงเข้ากับการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างช้าๆ แต่มั่นคง ทุกท่วงท่าให้การทรงตัวที่ดี ร่างกายอยู่ในสมดุลของกันและกัน เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องส่งผลดีต่อสุขภาพของปอดและหัวใจ

 

เน้นหลักของ ความอ่อนตัวและยืดหยุ่นในขณะฝึกทำให้ร่างกายได้ออกแรงในขณะที่จิตใจได้รับ ความผ่อนคลาย ปรมาจารย์ของไทเก๊ก คือ จางซานฟง ค้นคิดเมื่อ 800 ปีที่แล้ว

มาแพร่หลายในสมัยกบฏนักมวยเมื่อราษฎรลุกฮือขึ้นต่อสู้กับชาติตะวันตก และเมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงแพร่หลายไปทั่วประเทศจีน

หลักหยินหยาง แก่นแท้แห่งเต๋า

 

ที่ ว่า "เต๋าให้กำเนิดแก่หนึ่ง จากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสาม จากสามเป็นสามเป็นสรรพสิ่งในจักรวาล จักรวาลที่ถูกสร้างสรรค์ ประกอบด้วย หยางอยู่ด้านหน้า หยินอยู่ด้านหลัง สิ่งหนึ่งขาว

สิ่งหนึ่งดำ สิ่งหนึ่งบวก สิ่งหนึ่งลบ ทั้งสองสิ่งผสมผสานกัน จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว" การออกกำลังกายด้วยการรำไทเก๊กท่าต่าง ๆ จะต่อเนื่องเหมือนไม่สิ้นสุด เมื่อเดินลมปราณร่วมไปด้วย

 

ก็จะเกิดการรวมเป็นหนึ่งเดียวระหว่างกายกับจิต เกิดเป็นสมาธิ เป็นความสงบ เกิดความรู้แจ้ง สามารถบรรลุไปสู่เต๋าในท้ายสุด

 

หลักสำคัญ5 ประการ ของไทเก๊ก

 

1. ความช้า พัฒนาความรับรู้

2. ความเบา ช่วยให้การเคลื่อนไหวต่อเนื่องราบรื่น

3. ความสมดุล ทำให้ร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่เกร็ง

4. ความสงบ ได้จากการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง

5.ความชัดเจน คือชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากความคิดฟุ้งซ่าน

 

การบำบัดรักษาด้วยไทเก๊ก

 

การ บริหารร่างกายตามศิลปะแบบไทเก๊กนั้นเป็นการฝึกฝนการหายใจและการทําสมาธิเข้า ด้วยกัน โดยการบริหารอย่างต่อเนื่อง การหายใจเข้าออกอย่างสม่ำเสมอและการหายใจลึกๆ ทําให้

หลอดเลือดมีการ ขยายตัว ปรับอัตราการเต้นของหัวใจ และปรับระดับความดันโลหิต อวัยวะภายในช่องท้องก็มีการเคลื่อนไหว ซึ่งเสมือนเป็นการนวดภายในอย่างหนึ่ง ทําให้ อวัยวะมีการทํางาน

และเสริมสร้างสมรรถภาพ ซึ่งเป็นผลดีต่อการรักษาโรคเรื้อรังหลายชนิด ช่วยบรรเทาอาการทางปอดของวัณโรค รักษาโรคกระเพาะอาหาร และโรคอาหารไม่ย่อย รักษาโรคประสาท วิตกกังวลสูง

ปวดหัว อาการนอนไม่หลับจะลดลงหรือหายไปเลย รักษาโรคโลหิตจาง รักษาโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ รักษาโรคหัวใจ เช่น หัวใจอ่อนแรง รักษาโรคทางกระดูกกล้ามเนื้อ เอ็น เช่น รูมาติค เหน็บชา กล้ามเนื้ออัมพาต กล้ามเนื้อลีบรวมถึงช่วยรักษาอาการบอบช้ำภายใน จากการถูกกระแทกกระเทือนได้ด้วย

ไทเก๊กคลายความเครียด

 

การ ศึกษาทางสรีรวิทยาพบว่าขณะที่ฝึกมวยไทเก๊ก ร่างกายใช้พลังงานสูงกว่าปกติถึง 4 เท่า เทียบได้กับการเดินด้วยความเร็ว 6 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง จากการทดสอบยังพบว่า

ผู้ฝึกไทเก๊กอยู่เสมอมีระดับฮอร์โมนความเครียดน้อย กว่าคนทั่วไป ผู้ฝึกไทเก๊กจะมีความเครียด ความซึมเศร้า ความโกรธ ความอ่อนเพลีย ความสับสน และภาวะความกังวล ลดลง

แต่มีความสดชื่นและอารมณ์คงที่เพิ่มขึ้นไทเก๊กชะลอความแก่

ใน ทางเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุทั่วไปมีอัตราการเสื่อมถอยของหัวใจ ปอด และหลอดเลือดเร็วกว่าผู้สูงอายุที่ฝึกมวยไทเก๊กอยู่เป็นประจำ ถึง 2 เท่า

รายงานวิจัยชิ้นนี้นับเป็นหลักฐานทางการแพทย์ชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า การฝึกมวยไท้เก๊กสามารถชะลอความแก่ได้

ไทเก๊กเสริมสร้างและฟื้นฟู

 

ใน ปัจจุบันมีหลักฐานทางการแพทย์เพียงพอที่สนับสนุนคุณประโยชน์ของไทเก๊ก ทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกนำการฝึกไทเก๊กมาเข้ามาเสริมการรักษาให้ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ไทเก๊กช่วยเสริมสร้างการทรงตัวเพื่อลดการหกล้มในผู้สูง อายุช่วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ ตลอดจนสามารถเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น

 

ในประเทศไต้หวันมีการศึกษาพบว่าการฝึกไทเก๊กช่วยลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้อีกด้วย ฝึกต่อเนื่องด้วยท่าดั้งเดิม

อย่าง ไรก็ตามถึงแม้การฝึกมวยไทเก๊กจะให้ประโยชน์หลายประการ แต่การฝึกด้วยท่ามวยที่ถูกต้องตามแบบแผนที่แท้จริง และระยะเวลาที่ฝึกอย่างต่อเนื่องก็มีความสำคัญมีการทดสอบพบว่า

 

การฝึกมวย ไท้เก๊กด้วยท่าที่ดัดแปลงซึ่งนิยมใช้ในประเทศทางตะวันตกไม่มีผลต่อการเพิ่ม ความสามารถในการทรงตัวและความอ่อนตัวของร่างกายในผู้ฝึกที่สูงอายุ ถึงแม้จะมีการฝึกมาอย่างต่อเนื่องถึง 10 สัปดาห์

 

ไทเก๊ก 13 ท่า

ท่า มือ 8 ท่า และท่าเท้า 5 ท่า รุกหน้า ถอยหลัง ฉากซ้าย ฉากขวาและกลางมั่นผสานกับการหายใจแบบเต๋า หรือชี่กงจนเป็นมวยไทเก๊ก 13 ท่าโดยยึดหลัก

ปรัชญาอี้จิง หยินหยาง 5 ธาตุ ( เปรียบได้กับการก้าว 5 แบบ ) 8 ทิศ ( เปรียบได้กับท่ามือ 8 ท่า ) การฝึกไทเก๊ก จะมีหลายรูปแบบ แต่จะมีการฝึกที่สำคัญ ๆ ที่สุดได้แก่

 

การยืน การฝึกท่ามวย การฝึกผลักมือ การฝึกหายใจ

การยืน คือการฝึกยืนเพื่อสร้างความผ่อนคลาย การหายใจแบบธรรมชาติกำลังขาการจัดโครงสร้างร่างกายให้

เตรียมพร้อมกับการฝึกมวยไทเก๊ก

ท่ามวย จะฝึกตั้งแต่ท่าเดี่ยว การใช้เอว การถ่ายเทน้ำหนัก ท่าร่างมวย การจัดโครงสร้างร่างกาย จนไปถึงการ

รำมวย และการสร้างส่งแรง

ผลักมือ คือการฝึกเพื่อสร้างแรงฟัง หรือการรับรู้จังหวะ ระยะ ในการต่อสู้ เป็นการฝึกเพื่อรับรู้ตัวเอง และคู่ฝึก

เพื่อแก้ไขท่าร่าง การผ่อนคลาย การสลายแรง การกดแรง การส่งแรงต่าง ๆ เป็นการฝึกที่ต้องฝึกควบคู่

กับการฝึกท่ามวย

การหายใจ ฝึกเพื่อบริหารอวัยวะภายในร่างกาย ให้เลือดลมวิ่งปลอดโปร่ง ไม่ติดขัด ทั้งยังสร้างลมปราณ หรือ

พลัง ที่เปรียบเสมือนยาอายุวัฒนะ

 

*******การฝึกไทเก๊กนั้น ที่สำคัญด้องฝึกอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำจึงจะให้ผลดีต่อสุขภาพ ไทเก๊ก สามารถฝึกได้ทุกเพศ ทุกวัย

โดย เฉพาะถ้าเริ่มฝึกตั้งแต่ยังหนุ่มสาว จะได้รับประโยชน์สูงสุดเมือเราแก่ตัวไป แต่ถ้าเราอายุมากก็ยังไม่สาย อย่าลืมว่ามามีอะไรสายเกินไปที่จะเริ่มต้น*******************

 

 

http://www.skh.moph.go.th/webboard/index.php?topic=139.0

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ เพิ่งรู้ว่ามีไทเก็กแบบ 13 ท่าด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อยากรู้ว่าคนฝึกไทเก็กนี่อายุยืนกันจริงไหม ท่านจางซันฟง ปรมาจารย์ ตามประวัติว่ามีอายุกว่า 200 ปี คนที่ฝึกไทเก็กในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง จะมีอายุยืนยาวเท่าไหร่ ไม่รู้ว่ามีใครเคยเก็บสถิติไว้บ้างไหม แต่ที่รู้ ๆ ผมเองยังไม่ตาย อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:wub: โรคหัวใจ :wub:

 

heart.jpg

 

ชั่วโมงการทำงานที่อัดแน่นด้วยความเครียด และการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและเกลือ กำลังคุกคามสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน อีกไม่นาน... การใช้ชีวิตสมัยใหม่แบบนี้ อาจทำให้ โรคหัวใจ ระบาดทั่วเมือง...

 

หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ" แต่ถ้าวันหนึ่ง... หัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร...?

 

ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข แพทย์จากหน่วย โรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้

 

โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน...

 

คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้

 

1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ

 

2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ

 

3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

 

4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน

 

5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้

 

6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย...

 

นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...

 

1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว

 

2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง

 

โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย...

 

การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 

ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี...

 

ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น โรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด

 

สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ

 

สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น

 

ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย

 

ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น

 

รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น

 

ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ

 

... ยามใดที่ร่างกายอ่อนล้า เราหยุดพักให้หายเหนื่อยได้... แต่ยามใดที่หัวใจอ่อนแรง มันก็ยังคงเดินต่อไป ทำงานต่อไป... เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า "หัวใจ" คนเราไม่เคยหยุดพัก อย่าลืมดูแลรักษามันไว้ให้ดีๆ นะคะ เพือจะได้ไม่เป็น โรคหัวใจ ค่ะ

 

ขอบคุณเฮียกัม :wub:

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อยากรู้ว่าคนฝึกไทเก็กนี่อายุยืนกันจริงไหม ท่านจางซันฟง ปรมาจารย์ ตามประวัติว่ามีอายุกว่า 200 ปี คนที่ฝึกไทเก็กในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง จะมีอายุยืนยาวเท่าไหร่ ไม่รู้ว่ามีใครเคยเก็บสถิติไว้บ้างไหม แต่ที่รู้ ๆ ผมเองยังไม่ตาย อิอิ

 

 

งานวิจัยที่เคยอ่านและมีอยู่หาไม่เจอ เลยเอานี้มาฝาก

 

http://www.fajing.net/thai/2007/09/effect_of_tai-chi-chaun_exercise_and_15_miles_running/

 

 

 

:lol: ผลของการออกกำลังกายแบบไทเก็กกับการออกกำลังโดยการวิ่งระยะทาง 1.5 ไมล์ ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

Effect of Tai-Chi-Chaun Exercise and 1.5 miles Running on Health-Related Physical Fitness of Students at Prince of Songkla University, Pattani Campus

 

 

ผู้วิจัย: อาจารย์ฤทธี เทพไทอำนวย

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ

 

ภาควิชา: พลศึกษา

 

ปีพุทธศักราช: 2543

 

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบไทเก็กกับการ ออกกำลังกายโดยการวิ่งระยะทาง 1.5 ไมล์ ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภาคการศึกษาที่ 2/2543 อายุระหว่าง 19-21 ปี และไม่เป็นนักกีฬาตัวแทนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 45 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 15 คน คือ กลุ่มควบคุม ประกอบภารกิจประจำวันตามปกติ กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกออกกำลังกายแบบไทเก็ก กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกออกกำลังกายโดยการวิ่งระยะทาง 1.5 ไมล์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการเปรียบเทียบพหุคูณ โดยวิธีของตูกีย์

ผลการวิจัย พบว่า

 

1. การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายก่อนการทดลองกับภายหลังการทดลองภายในกลุ่มของ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองออกกำลังกายแบบไทเก็กและกลุ่มทดลองออกกำลังกายโดยการวิ่งระยะทาง 1.5 ไมล์ ผลปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายก่อนการทดลองกับหลังการทดลองทั้ง 3 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายก่อนการทดลองสูงกว่าหลังการทดลอง ส่วนกลุ่มออกกำลังกายแบบไทเก็กและกลุ่มออกกำลังกายโดยการวิ่งระยะทาง 1.5 ไมล์ มีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง

 

2. การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายภายหลังการทดลองของ กลุ่มออกกำลังกายแบบไทเก็กและกลุ่มออกกำลังกายโดยการวิ่งระยะทาง 1.5 ไมล์ ผลปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายของกลุ่มออกกำลังกายแบบไทเก็กกับกลุ่มออกกำลัง กายโดยการวิ่ง 1.5 ไมล์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายของกลุ่มออกกำลังกายแบบไทเก็กกับกลุ่มออกกำลัง กายโดยการวิ่งระยะทาง 1.5 ไมล์ ไม่แตกต่างกัน

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับคุณมดแดง มีคนไทยวิจัยไว้เด้วย ดีจัง เล่นไทเก็ก เท่ากับวิ่งไมล์ครึ่ง

:ph34r:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไทเก็ก ไทชิ ดีกับเบาหวาน

 

 

เอามาฝากครับ จาก http://gotoknow.org/blog/health2you/175240

โดยคุณหมอวัลลภ พรเรืองวงศ์

 

การ ศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การฝึกไทเกก-ไทชิ(ชี่กง) ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค โดยทำให้ผลของการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ดีขึ้น วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า ไทเกก-ไทชิช่วยควบคุมโรคเบาหวานมาฝากครับ

 

สำนักข่าว BBC รายงานว่า คนสหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) ซึ่งมีประชากรน้อยกว่าไทยนิดหน่อยคือ 60.6 ล้านคนในปี 2006 (พ.ศ. 2549) เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หรือชนิดที่พบบ่อยในผู้ใหญ่และเด็กโตที่อ้วนมากๆ 1.8 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีคนไข้อีก 750,000 คนที่เป็นเบาหวาน และไม่รู้ว่าเป็น

 

...

 

คณะ นักวิจัยจากไต้หวันทำการศึกษาในคนไข้เบาหวาน 30 คนเทียบกับคนที่มีสุขภาพดี 30 คน ให้คนไข้ฝึกไทเกก-ไทชิ 37 ท่าภายใต้การสอนของครูฝึก และมีวิดีทัศน์ (VCD) ให้กลับไปชมที่บ้าน

 

การฝึกทำครั้งละ 1 ชั่วโมง 3 ครั้งต่อสัปดาห์

 

...

 

เมื่อ ติดตามผลหลังฝึก 12 สัปดาห์ปรากฏว่า คนไข้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น เครียดน้อยลง ร่างกายมีความยืดหยุ่น (flexibility) มากขึ้น ผลการตรวจเลือดระบบภูมิคุ้มกันเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

 

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การออกกำลังมีผลต่อสุขภาพเป็นรูปโค้งระฆังคว่ำ กล่าวคือ

 

การไม่ออกแรง-ออกกำลังเลย ออกแรง-ออกกำลังน้อยเกิน หรือหักโหมมากเกินต่างก็ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำลง

การออกแรง-ออกกำลังแรงปานกลาง เช่น เดินเร็ว ไทเกก-ไทชิ ฯลฯ ทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น

...

 

คณะ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ออสเตรเลีย ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็ฯโรคเบาหวาน 11 คน ให้ฝึกไทชิ-ไทเกก และชี่กง 60-90 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

 

ผลการศึกษาพบว่า คนไข้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น น้ำหนักลดลง ความดันเลือดลดลง นอนหลับได้ดีขึ้น รู้สึกมีแรง-มีกำลังมากขึ้น อาการปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง ความอยากกินอาหารแบบรุนแรง (food craving) ลดลง

 

...

 

เรียน เสนอให้พวกเราที่เป็นเบาหวานหันมาออกแรง-ออกกำลังแรงปานกลาง เช่น ไทเกก-ไทชิ มวยจีน เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส ฯลฯ คราวละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วันขึ้นไป

 

ถ้ามีเวลาน้อยหรือมีภารกิจการงานมาก จะแบ่งการออกกำลังเป็นช่วงๆ เช่น คราวละ 5-20 นาที ฯลฯ นำเวลามารวมกันคล้ายๆ เก็บเงินเข้ากระปุกออมสินก็ได้

 

...

 

การ ออกแรง-ออกกำลังในคนไข้เบาหวานนั้น... ถ้าจะให้ได้ผลดีขึ้นหน่อย ควรทำเป็นประจำทุกวัน และค่อยๆ เพิ่มเป็นวันละ 60 นาที (ถ้าทำได้) เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ออกแรง-ออกกำลังจะช่วยจับน้ำตาลไปใช้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงเกิน

 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

 

 

 

http://www.thaitaiji.com/forum/viewtopic.php?f=2&t=438

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นด้วยกับความดีของกสรฝึกชิกงค่ะ

ดิฉันฝึกมาสิบกว่าปี ตอนนี้ไม่มีอาการของความดัน หรือเบาหวานเลยค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไทเก็ก ไทชิ ดีกับเบาหวาน

การฝึกทำครั้งละ 1 ชั่วโมง 3 ครั้งต่อสัปดาห์

 

เท่าที่ผมเคยได้ยินมา หมอสายที่เข้าวัด รักษาคนไข้เบาหวานโดยการให้เดินจงกรม 20-30 นาที ทุกวันก็ได้ผลดีครับ

ได้ประโยชน์ 2 ต่ออีกต่างหาก cool.gif

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...