ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

Tai Chi

โพสต์แนะนำ

-ขอบคุณอย่างมากๆ สำหรับความเห็นของคุณงูดิน

 

เรื่องออกกำลังเพื่อสุขภาพนี่ผมว่ามีความสำคัญมาก ต้องใช้ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวมากในการบังคับตัวเองให้กระทำได้ต่อเนื่องและ ต้องใช้ความพยายามมาก แต่ถ้าสามารถทำได้ ผลที่ได้รับมีมหาศาล การเล่นไทเก็ก ชี่กง เต้นแอโรบิก หากทำสม่ำเสมอ ผู้กระทำก็จะรู้ได้ด้วยตัวเองเลยว่า อาการเจ็บปวดร่างกาย อาการนิ้วล็อก การขับถ่าย การรับประทานอาหาร อาการปวดศีรษะ ฯลฯ ทุกระบบของร่างกายสามารถฟื้นฟูและกลับมาดีขึ้นยิ่งกว่าเดิมจนรู้สึกได้เลย จริง ๆ

 

และวันนี้ เช่นกัน มดแดงต้องบังคับตัวเองให้ออกกำลังหลายอย่างๆละนิดหน่อยนำมาผสมกัน ตามแบบอาจารย์ลัดดาวัลย์แห่งโรงพยาบาลบ้านสวน ชี่กงหรือไทเก็กและ โยคะ เพราะกล้ามเนื่้้อต้นขามันเจ็บ ต้องทานยาแล้ว วันนี้ลองออกกำลังในท่าที่ไม่เจ็บ แปลกใจนิดๆ เมื่อเช้าตื่นมารีบออกไปหากับข้าวและแวะไปดูน้ำแถวใกล้บ้านญาติ รู้สึกเดินไม่ค่อยดี แต่กลับมาเปิดทีวี คุณหมอท่านนึงในช่องเนชั่น ท่านพูดถึงน้ำมันมะพร้าว เลยไปเอามาทานหลังจากไม่ได้ทานนานได้แต่เอามาทำoil pulling และออกกำลังต่อ แปลกใจทำไมมันไม่เจ็บ ทั้งๆที่เช้านี้ยังไม่ได้ทานยา ตอนนี้ค่าเวลาเลยมาโพสต่อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชิกุง 18 ท่า กายบริหารลมปราณเพื่อสุขภาพ (ตอนจบ)

 

 

ฉบับ นี้มาฝึกต่ออีก 9 ท่า จะได้ครบ 18 ท่า ท่าซึ่งถือว่าครบกระบวนท่า เพราะการออกกำลังกายนั้นต้องทำให้ครบทุกท่าติดต่อกันตามจำนวนครั้งที่กำหนด ไว้ จึงจะมีผลทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง

หากท่านอ่านฉบับนี้เลยอาจจะงง ควรกลับไปอ่านฉบับที่แล้วก่อน แล้วจึงอ่านฉบับนี้ต่อ

 

ท่าที่ 10

 

หายใจ เข้า เมื่อผลักมือซ้ายออกไปแล้ว ให้หันฝ่ามือเข้าหาตัวในระดับตา มือขวาให้ผลักไปข้างหน้า ค่อยๆหมุนเอวไปข้างซ้ายพร้อมกับเคลื่อนแขนทั้งสองข้างตามไปทางซ้ายมือจนสุด

หายใจ ออก เมื่อหมุนตัวไปด้านซ้ายจวนจะสุดแล้ว ให้ยกมือขวาขึ้นหันฝ่ามือเข้าหาตัวจนถึงระดับตา มือซ้ายลดลงหมุนเอวไปทางขวาเคลื่อนแขนไปทางขวามือจนสุดเช่นกัน ทำซ้ำในลักษณะเดียวกัน 10 ครั้ง

 

187.10_0.jpg

 

 

187.11_1.jpg

 

 

ท่าที่ 11

หายใจเข้า ก้าวเท้าซ้ายออกไปข้างหน้าย่อเข่าซ้ายลง ขาขวาเหยียดตรง โน้มตัวไปข้างหน้า ไขว้มือไว้ที่หัวเข่า

หายใจออก ค่อยๆยกแขนสูงขึ้นจนเลยศีรษะแล้วกางแขนทั้งสองข้างออก ฝ่ามือหันเข้าหากัน ขาซ้ายตรง ขาขวางอ ทำซ้ำสลับข้าง 6 ครั้ง

 

ท่าที่ 12

 

หายใจ เข้า ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า ยกมือสองข้างขึ้นระดับอก งอข้อศอกเข้า หันฝ่ามือออกด้านหน้า ถ่ายน้ำหนักตัวลงบนขาขวาให้ส้นเท้าแตะพื้น กระดกปลายเท้าซ้ายขึ้น

หายใจออก ถ่ายน้ำหนักตัวลงที่เท้าซ้าย โน้มตัวไปข้างหน้า ส้นเท้ายกขึ้นแล้วผลักฝ่ามือออกไปจนถึงระดับตา ทำซ้ำสลับข้าง 6 ครั้ง

 

ท่าที่ 13

 

หายใจเข้า ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า แขนตรงหันฝ่ามือเข้าหากัน ถ่ายน้ำหนักตัวลงบนเท้าขวา กางแขนออกจนสุด

หายใจออก ถ่ายน้ำหนักตัวลงที่เท้าซ้าย ปลายเท้าขวาเขย่งขึ้น หุบแขนที่กางออกเข้าหากันกลางอก ทำซ้ำสลับข้าง 6 ครั้ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อก่อนออกกำลังกาย ไปฟิตเนต แข็งแรง เดี๋ยวนี้กินแต่เหล้าครับ ใครก็ได้บอกวิธีกลับไปฟิตหน่อย :ph34r:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อก่อนออกกำลังกาย ไปฟิตเนต แข็งแรง เดี๋ยวนี้กินแต่เหล้าครับ ใครก็ได้บอกวิธีกลับไปฟิตหน่อย :ph34r:

 

ลดการกินเหล้า แล้วกลับไปฟิตเนต ทำแบบค่อยเป็นค่อยไปทำได้ไหมคะ เมื่่อไปบ่อย ๆ ร่างกายจะหลั่งสาร เอ็นโดรฟิน ทำให้ติดการออกกำลัง เมื่่อไม่ไปจะรู้สึกหงุดหงิด จะต้องไปออกกำลัง และการกินเหล้า สังคมออกกำลังก็จะเปลี่ยนไป ทำให้รักตัวเองมากขึ้น หันมาดูแลตัวเองมากขึ้น

ไม่มีใครบอกวิธีคุณได้ นอกจากตัวคุณเอง ตัดสินใจกระทำ เหมือนคนอยากลดความอ้วน แต่ไม่ยอมออกกำลัง แล้วบอกว่าอยากผอมน่ะค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

thanks !

ก็ว่าจะกลับมาแด้นซ์นะจ๊ะ

 

 

 

ขอบคุณเจ้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

thanks !

ก็ว่าจะกลับมาแด้นซ์นะจ๊ะ

 

 

 

ขอบคุณเจ้า

 

 

สงสัยเสียกำลังกายโดยไม่ได้ออกกำลังกายซะมากกว่า07baa27a.gif

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แหม คุณหมอ !32 ผมชิวๆ เฉยๆ ครับ ชอบไปเที่ยวธรรมชาติครับ

 

ช่วงนี้ เย็นแล้วเน้ออ !_cd ว่างๆ มาเที่ยวดอยกันครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แหม คุณหมอ em309.gif ผมชิวๆ เฉยๆ ครับ ชอบไปเที่ยวธรรมชาติครับ

 

ช่วงนี้ เย็นแล้วเน้ออ afd371da.gif ว่างๆ มาเที่ยวดอยกันครับ

 

 

ดอยอะไรครับ อิอิ K-AGRI ของผมรอวันขายอยู่ ไม่ดอยแล้ว ควรขายเมื่อไรบอกด้วยนา ไม่รู้จะดูตรงใหน มีแต่ช้ากว่าความเป็นจริง 2 วัน เฮ้อmad.gif

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดูเหมือนมันจะขึ้นไป 29.5 นิครับ น่าจะสดใสน้าา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝึกวิทยายุทธ์แบบจีนแก้สารพัดโรควงการแพทย์ยันรักษาได้จริง!

 

 

ชวนฝึก “ชี่กง-วูซู-ไท้เก็ก”3 ศาสตร์ออกกำลังกายจีน ลดความเครียด บำบัดโรค เปิดประสบการณ์ผู้ฝึกสายต่างๆ พบ ชี่กงรักษาวัยทองชะงัก-นำของเสียออกจากร่างกายได้เร็วกว่าปกติ 15 เท่า ส่วน‘วูซู-ไท้เก็ก’ รักษาสารพัดโรค ทั้ง คลายเครียด นอนไม่หลับ หัวใจ ความดัน โรคกระดูก ฯลฯ เปิดแหล่งสอนไท้เก็ก ทั่วกทม.

 

สถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังตึงเครียดอยู่เวลานี้ อาจทำให้หลายคนประสบภาวะเครียด ซึ่งภาวะความเครียดนั้นคือภัยร้ายของการก่อเกิดโรคทางกายนานาชนิด แม้กระทั่งโรคซึมเศร้า แต่ความเครียดจะอยู่กับเราไม่นาน ถ้ารู้จักการออกกำลังกาย

 

“ผู้จัดการรายสัปดาห์” ขอแนะนำการออกกำลังกายแบบจีน ที่นอกจากจะกำจัดความเครียดได้แล้ว ยังสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้อีกด้วย ทั้ง ‘ชี่กง’ ‘วูซู’ และ ‘ไท้เก็ก’

 

 

 

:rolleyes: “ชี่กง” ฝึกจิตให้สงบ-รักษาวัยทอง

ภัทราภรณ์ พรประยูรชัย เลขานุการชมรมกายบริหารลมปราณชี่กง ลุมพินี(หอนาฬิกา) กล่าวว่า การออกกำลังกายแบบ “ชี่กง” นั้น โดยหลักการแล้วจะเป็นการฝึก 3 อย่าง ได้แก่

 

1.ฝึกจิต ให้สงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน วิธีการฝึก คือให้เพ่งไปที่จุดตันเถียนส่วนล่าง ซึ่งจะอยู่ต่ำกว่าสะดือ 1 นิ้วครึ่ง เป็นจุดรวมพลังที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย

 

2.ฝึกการหายใจ โดยเริ่มจากการฝึกการหายใจเข้า หายใจออกแบบช้าๆ

 

3.ฝึกกาย โดยเริ่มจากการยืนที่ถูกต้อง โดยก้าวเท้าซ้ายออกมาจากเท้าขวา ความกว้างเท่าระดับไหล่ จากนั้น มือกางออกจากนิ้วโป้งให้เป็นรูปตัวแอล 4 นิ้วโค้งงอ เหมือนท่าอุ้มฟุตบอล และเริ่มทำการเคลื่อนไหวช้าๆ โดยการหายใจเข้า จะมีการเคลื่อนไหวขึ้น หายใจออกจะเคลื่อนไหวลง ซึ่งทุกท่าจะประสานกับการหายใจ

 

“ตรงนี้สำคัญที่ต้องทำให้ถูก คนที่ทำถูกต้องจะเดินลมปราณได้ตลอดเวลา ลมปราณจะไปทะลุทะลวงตามเส้นเลือดฝอยต่างๆ แต่หากเคลื่อนไหวในทางตรงกันข้าม จะทำให้ลมปราณเดินสับสน ซึ่งแม้ไม่มีอันตราย แต่จะไม่ทำให้ได้ประโยชน์”

 

โดยหากทำการฝึกที่ถูกวิธี ปกติควรจะทำการฝึกวันละ 1 ชั่วโมง สำหรับที่สวนลุมพินี ทางชมรมจะมีการฝึกในบริเวณใกล้ๆ หอนาฬิกา ซึ่งจะฝึกทุกวันในช่วงเวลา 6.50-7.50 น.ทุกวัน โดยจันทร์-เสาร์จะเป็นการฝึกทำท่าตามครูฝึกต่างๆ ส่วนวันอาทิตย์จะเป็นการทบทวนท่าต่างๆ ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าร่วมการฝึกได้

 

การฝึกชี่กงนั้นสามารถฝึกได้ทุกเพศทุกวัย เพราะไม่มีอันตราย และหากฝึกอย่างสม่ำเสมอยังจะช่วยป้องกันโรคได้หลายโรค ทั้ง หัวใจ เบาหวาน ความดัน ระบบลำไส้ จึงทำให้คนที่ฝึกประจำมีสุขภาพดี ทั้งนี้ นพ.นิกร ดุสิตศิลป์ ประธานชมรมฯ ก็ได้มาฝึกกับชมรมกว่า 10 ปี และได้ทำวิจัยในนามสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าการฝึกชี่กงจะทำให้ได้รับผลประโยชน์อย่างมาก

 

ผลงานวิจัยที่เห็นได้ชัดคือน้ำเหลืองของคนเรา ในเวลา 1 ชั่วโมง เดินได้ 1-5 เซนติเมตร แต่ผู้ที่ทำการฝึกชี่กงสม่ำเสมอจะทำให้น้ำเหลืองเดินได้ 15 เท่า คือ 15 เซนติเมตร ผลดีคือร่างกายสามารถนำของเสียไปทิ้งได้เร็วขึ้น การเจ็บป่วยน้อยลงด้วย

 

นอกจากนี้ผลดีสำหรับการฝึกชี่กง ที่พบจากคนที่มีโรคประจำตัวต่างๆ และได้ผลดีขึ้นได้แก่ ช่วยสร้างภูมิต้านทาน สำหรับคนเป็นโภคภูมิแพ้ ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น คลายความตึงเครียด ภาวะนอนไม่หลับ ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด อาการที่เกิดจากความเจ็บปวดจากกระดูด และข้อต่างๆ รวมทั้งสามารถรักษาโรควัยทองได้ดี

 

“มีหมอสูติซึ่งตัวเองเป็นโรควัยทองมาฝึกชี่กง เพราะตัวเองเป็นหมอด้านนี้แต่รักษาตัวเองไม่ได้ พอมาฝึกได้สักระยะก็หาย เลือดลมดีขึ้น เมื่อกลับไปรักษาคนไข้ อันดับแรกคุณหมอจะให้คนไข้ทุกคนมาทำการฝึกชี่กงเพื่อรักษาในเบื้องต้น และไม่ต้องใช้ยา”

 

:huh: วูซู’ ศิลปะการต่อสู้แบบจีน

 

การออกกำลังกายแบบจีนที่ได้รับความนิยมในเมืองไทยอีกประเภทหนึ่ง คือ วูซู

 

อาจารย์ เฉิน เซ้าอิ่น ชมรมวูซูจีนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วูซู นั้นเดิมเป็นศิลปะการต่อสู้แบบจีน แต่ระยะหลังๆ การฝึกวูซูทำเพื่อออกกำลังกาย รำเพื่อความสวยงาม และรักษาโรคด้วย

 

วูซู นั้นจะแบ่งเป็นมวยเหนือ และมวยใต้ มวยเหนือมี 2 แบบคือ มวยภายใน และมวยภายนอก มวยภายในได้แก่ไท้เก็ก โดยมวยภายในจะมีการเรียนที่ยากมาก เพราะต้องนั่งทำสมาธิ มีท่ามากกว่า 365 ท่า ทั้งยืน นั่ง นอน เดิม หากทำผิดท่า โดยเฉพาะท่าระดับสูงๆ จะทำให้เลือดเดินผิดทาง และอาจเกิดการสลบ อันตรายมาก ส่วนมวยภายนอก จะเน้นไปที่ท่าทางการต่อสู้ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง ที่มีชื่อเสียงมากคือ มวยเส้าหลิน ส่วนมวยใต้เป็นมวยแข็ง

 

ปัจจุบันการสอนวูซู เน้นไปที่การรำสวยงาม มีท่าทางที่ถูกต้อง ซึ่งจะมีการสอนการนั่งสมาธิประกอบด้วย แต่ไม่ได้สอนให้ฝึกท่าที่ยากเกินไป เพราะเคยสอนแล้ว ปรากฏว่ามีลูกศิษย์นำไปฝึกต่อที่บ้านแล้วเกิดการสลบ และเลือดออก อันตรายมาก จึงฝึกวูซูให้ลูกศิษย์เฉพาะภายในตื้นๆ เท่านั้น

 

สำหรับผู้เริ่มฝึกจะต้องมีการฝึกที่เรียกว่า “จิ้งกง” หรือ ความนิ่งก่อน โดยตั้งตัวตรง หายใจเบาๆ สบายๆ สายตามองไปไกลๆ 50-100 เมตร ไม่ดูรถที่วิ่งผ่าน ไม่ดูคนที่เดินไปเดินมา จิตก็จะเกิดสมาธิ ทำให้เหมือนตัวเองไม่รู้สึกว่าหายใจอยู่ ท่านี้ถือเป็นท่าพื้นฐานที่จะทำให้คลายเครียดได้ดี รวมทั้งช่วยคนที่นอนไม่หลับได้ด้วย เมื่อฝึกต่อไปจนชำนาญจะมีการฝึกท่าสมาธิภายในลึก ได้แก่ หูฟังหัวใจเต็น ตาดูไปที่จมูกมองตรงไปที่หัวใจ หากฝึกถึงขั้นนี้จะทำให้รักษาโรคได้หลายโรค ส่วนท่าทางต่างๆ จะเริ่มฝึกตามพื้นฐาน มือ กับ ขา โดยมือมี 3 ท่าพื้นฐาน ขามี 5 ท่าพื้นฐาน จากนั้นจึงเริ่มมีการฝึกแบบผสมท่าพื้นฐานต่างๆ

 

 

:D ฝึกหัวใจ ‘ไท้เก็ก’แก้สารพัดโรค

 

ขณะที่การออกกำลังกายที่เรียกว่าไท้เก็ก สามารถช่วยรักษาโรคหลายชนิดได้เช่นกัน

 

วรวุฒิ ร่มไทร อาจารย์สอนไท้เก็กประจำชมรมเพื่อสุขภาพซีจั้ง สวนลุมพีนี กล่าวว่าตนเองฝึกไท้เก็กตั้งแต่อายุ 12 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องหอบหืด และได้ฝึกต่อเนื่องมาเรื่อยๆ เพราะเห็นว่าการฝึกทำให้สุขภาพดีขึ้น โดยหัวใจของไท้เก็กจะมี 3 หลักการคือ

 

1.ต้องฝึกสมาธิทำให้จิตใจสงบตั้งมั่นอยู่กับการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีสติรู้และมีความพร้อมตลอดเวลา

 

2.การผ่อนคลาย โดยกล้ามเนื้อทุกส่วนควรผ่อนคลายอย่างถึงที่สุด ข้อต่อทุกข้อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระและต่อเนื่อง ไม่มีอาการติดขัดหรือหดเกร็ง

 

3.การจมโดยในขณะยืน ปล่อยให้น้ำหนักทุกส่วนจมลงสู่ฝ่าเท้า ร่างกายช่วงบนให้เบาว่าง ร่างกายช่วงล่างให้หนักแน่น ดุจการหยั่งรากของต้นไม้ใหญ่

 

หลังจากนั้นจะเริ่มฝึกจากท่ายืน เป็นท่าพื้นฐาน เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ผู้ฝึกจะค่อยๆ สัมผัสได้ถึงพลังลมปราณที่เกิดขึ้นจากการประสาน กาย จิต และลมหายใจที่เป็นธรรมชาติแม้จะเป็นท่าพื้นฐาน แต่ประโยชน์มีมากมาย

 

โดยทางการแพทย์จีนชี้ว่าการฝึกไท้เก็ก และวูซู จะช่วยปรับสมดุล หยิน หยางในร่างกาย และมีประโยชน์ในการบำบัดโรคต่างๆ เช่นโรคปอด,โรคกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อย,โรคประสาท วิตกกังวลสูง ปวดหัว นอนไม่หลับ,โรคโลหิตจาง,โรคความดันโลหิตสูง-ต่ำ โรคหัวใจ,โรคทางกระดูกกล้ามเนื้อ เอ็น เช่น รูมาติค เหน็บชา กล้ามเนื้ออัมพาต กล้ามเนื้อลีบ,ใช้รักษาการช้ำภายใน ฯลฯ

 

นอกจากนี้ นักวิจัยในออสเตลียและไต้หวัน ได้ทำการวิจัยผู้ป่วยเบาหวานที่รำมวยไท้เก็กสัปดาห์ละ 2-3 ชั่วโมง เป็นเวลานานกว่า 3 เดือน มีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ฝึกไท้เก็ก โดยทำให้ระดับน้ำตาลส่วนเกินในเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลง รวมทั้ง กระตุ้นให้ระดับกลูโคสในเลือดลดลง

 

ส่วนการทดลองที่ออสเตรเลียนั้น ปรากฏว่า การฝึกไท้เก็กและชี่กง ซึ่งเน้นเทคนิคการหายใจ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ได้กระตุ้นให้เกิดการปรับระดับกลูโคสในเลือด และ“กลุ่มอาการของการเผาผลาญอาหาร” มีผลในการช่วยลดความอ้วนด้วย

 

แหล่งสอนไท้เก็ก-ชี่กง

 

อย่างไรก็ดี ไท้เก็ก ถือเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์การต่อสู้ วูซู ปัจจุบันมีการสอนอย่างแพร่หลาย ได้แก่ สำนักฉางชุนถัง หมู่บ้านชวนชื่น ซ.ประชาชื่น 30,มวยไท้เก็กตระกูลอู่ บริเวณลานตะวันยิ้ม สวนลุมพินี,คณะไท้เก็กลิ้มซิวหงอ สาขาสวนลุมพินี (ลานตะวันยิ้ม),มวยไท้เก็ก ของอาจารย์เฉิน เซ่าอิ่น ที่สวนลุมพินีบริเวณสนามหญ้าตรงข้ามอาคารผู้สูงอายุ เวลา 7.00-8.30 น. ทุกวัน และสนามศุภชลาสัย วันพฤหัส กับวันศุกร์ เวลา 17.00 – 18.30 น., มวยไท้เก็กตระกูลเฉิน ชั้น 4 อาคารปิยวรรณ ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอสซอยอารีย์,

 

ศูนย์บูรณาการศาสตร์และภูมิปัญญาโบราณ ของอาจารย์สุวินัย ภรณ์วลัย (มวยจีน ชี่กง โยคะ) ชั้น 4 ฝั่งโลตัส ซีคอนสแควร์,อาจารย์เซ่งฮุย ไท้เก็ก สอนเน้นพลังจากข้างใน เป็นมวยตระกูลเฉิน ที่สวนสมเด็จย่าเฉลิมพระเกียรติใกล้สะพานพุทธ,และ OCA หรือวิทยสถานแห่งวัฒนธรรมตะวันออก (ชี่กง โดยภัทราภรณ์ พรประยูรชัย เลขานุการชมรมกายบริหารลมปราณชี่กง ลุมพินี(หอนาฬิกา) และไท้เก็ก โดย สันต์ ริ้วรุจา เลขาสมาคมไท้เก็กแห่งประเทศไทย)

 

ทั้งนี้การฝึกตามสวนสาธารณะต่างๆ นั้นมักจะคิดราคาเป็นค่าสมาชิกประมาณ 500-1,000 บาทต่อเดือน หากอบรมเป็นคอร์สจะอยู่ประมาณ 2,000 บาทต่อคอร์ส

 

 

http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9510000107903

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไทชีเพื่อทีเซล

 

 

ไทชีเพื่อทีเซล นักวิจัยให้คำตอบว่า มันคือผลการวิจัยจากการรำมวยจีนที่รำแล้วจะเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ การรำมวยจีนที่เราทราบกันมาว่า คนจีนเป็นล้านๆคนรู้คุณค่าและนิยมรำกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ แต่ชาวโลกสมัยใหม่เพิ่งจะมาค้นคว้าทำวิจัยกัน ก็คงต้องรู้ก่อนว่ารำมวยจีนที่เราส่วนใหญ่เรียกว่าไทเก๊กนั้น ถ้าเรียกให้ถูกต้องต้องเรียกว่า ไทชีชวน (เรียกแบบฝรั่งนะครับ ถ้าเรียกแบบจีนคือไท่จี๋เฉวียน หรือไท่เก๊กคุ้ง ถูกต้องแล้วครับ – admin@fajing.net) แต่ นักวิจัยตัดให้เหลือเพียง ไทชี แล้วคำว่าทีเซลล่ะ ทีเซล ก็คือทีลิมโฟไซท์ของร่างกายที่ทำหน้าที่เป็นเซลล์คุ้มกันร่างกายจากโรคภัย ไข้เจ็บ คอยทำลายแบคทีเรียและอาจทำลาย เซลล์เนื้องอกได้ด้วย

 

เมื่อเร็วๆนี้เอง นักวิจัยก็ได้พิสูจน์ให้เห็นจริงว่าทำไมไทชีแล้วเพิ่ม ทีเซลได้ด้วยการวัดจำนวนทีเซล ของผู้ที่จะออกกำลังกายด้วยการเล่นไทชี วัดทั้งก่อนเล่นและเล่น 20 นาทีแล้ว ตรวจเลือดทั้ง 2 ครั้งแสดงให้เห็นว่าหลังการเล่นไทชีแล้วทีเซล เพิ่มขึ้นถึง 13% ผลที่ได้นี้มันไม่ได้หมายความว่าการออกกำลังจะป้องกันโรคได้จริง แต่การที่ภูมิคุ้มกันพุ่งขึ้นสูงอย่างเด่นชัดเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์สาบานว่าจะต้องหาคำตอบให้ได้

 

แต่ถึงจะยังไม่ได้คำตอบและท่านก็ไม่ชอบรำมวยจีน ท่านก็สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายด้วยการเดินธรรมดาก็ได้

 

(ที่มา: จากหนังสือ 3 นาทีมีสาระ เล่มที่ 2 ของ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย)

 

 

http://www.fajing.net/thai/2007/09/taichi-tcell/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การบริหารข้อต่อ

 

:rolleyes: :wub: :lol:

 

 

ไม่ว่าเราจะไปเรียนมวยไท่เก๊กที่ไหน หรือแม้แต่อ่านจากตำราเล่มไหน มีบทหนึ่ง ซึ่งเขาจะต้องบอกต้องสอนกันแน่ๆ เพียงแต่อาจจะมากน้อยต่างกัน หรืออาจจะให้ความสำคัญต่างกัน ก็คือ การบริหารร่างกายก่อนการฝึก

 

โดยปกติแล้ว การบริหารนี้จะเน้นไปที่การผ่อนคลายข้อต่อร่างกายแต่ละส่วน ตั้งแต่ข้อมือ ศอก ไหล่ อก เอว กระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อเข้า ข้อเท้า ว่ากันทั้งตัว ซึ่งล้วนมีประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้ฝึกมวยหรือไม่ได้ฝึกมวย หากได้บริหารข้อต่อต่างๆ เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยลดอาการบาดเจ็บต่างๆ และส่งผลให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น เส้นเอ็นข้อต่อในร่างกายก็แข็งแรงมากขึ้น

 

และแม้ท่าบริหารเหล่านี้อาจเปรียบเหมือนการอบอุ่นร่างกายก่อนการฝึกจริง แต่จริงๆ แล้ว ชุดฝึกเบื้องต้นเหล่านี้ก็มีคุณค่ามหาศาลอยู่ในตัวเอง เรียกว่าหากไม่ได้ฝึกมวยกันเป็นเรื่องเป็นราว หรือไม่ได้ฝึกต่อเนื่อง จำท่ามวยไม่ได้ แต่หากได้ฝึกบริหารข้อต่ออยู่เป็นประจำ ก็ยังได้ประโยชน์ไม่น้อย อีกทั้งท่าทางเหล่านี้ ส่วนมากแล้วก็มักจะเป็นท่าทางง่ายๆ ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา แม้ในชีวิตประจำวัน

 

และเนื่องจากความที่ท่าบริหารเหล่านี้ดูเป็นท่าทางที่ง่ายๆ นี่เอง ทำให้หลายๆ คนละเลยชุดบริหารนี้ไปอย่างน่าเสียดาย มัวแต่มุ่งอยู่ที่ชุดมวย ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกฝนค่อนข้างยาวนานต่อเนื่อง มีรายละเอียดมากมาย มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์เยอะแยะ หรือบางท่านก็มุ่งสะสมชุดมวย พยายามเรียนให้ได้มากชุด เรียนชุดหนึ่งแล้วก็ต้องต่ออีกชุด เรียนจบสองชุดสามชุดแล้วก็ขวนขวายจะเรียนดาบกระบี่ทวนพลอง อาวุธสั้นอาวุธยาวกันอีก

 

แต่ไม่ได้ย้อนกลับมาใส่ใจชุดบริหารเบื้องต้นนี้

 

หลายคนสักแต่ว่าทำๆ ไป ใจไปจดจ่ออยู่แต่กับบทเรียนข้างหน้า คิดว่านี่แค่เป็นการเตรียมตัว เดี๋ยวถึงจะได้เรียนของจริง จนทำให้พลาดประโยชน์ พลาดจากของจริงที่อยู่ต่อหน้าไป

 

สำหรับผู้ที่กำลังฝึกฝนมวยไท่เก๊กอยู่ ลองสังเกตท่าบริหารก่อนฝึกที่อาจารย์มักให้ทำทุกครั้งก่อนเข้าบทเรียน สังเกตถึงรายละเอียดท่วงท่า หรือลองสอบถามเคล็ดความให้ชัดเจน รวมทั้งให้ใส่ใจกับวัตถุประสงค์หรือรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ จุดเน้นเล็กๆ น้อยๆ ที่แฝงเร้นอยู่ในชุดออกกำลังกาย ที่บางคนคิดว่าดูเหมือนของเด็กเล่นนี้

 

แล้วจะได้รับประโยชน์อย่างที่คาดไม่ถึง

 

สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีอาจารย์ หรือว่าสำนักฝึกฝนเป็นเรื่องเป็นราว หรืออาศัยการอ่านหนังสือ ดูซีดี หรือลักจำเอาจากที่ใดก็ตาม ลองให้ความสนใจกับสิ่งที่อาจจะหลุดลอดสายตาไป เช่นชุดบริหารข้อต่อนี้ ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีขั้นตอนหรือกระบวนการฝึกที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ดูแล้วเหมือนไม่มีอะไร

 

หรือแม้แต่คนเป็นครูพละ หรือหัวหน้าหมู่ลูกเสือ หรือผู้นำกลุ่มกิจกรรม ที่นิยมใช้ท่าออกกำลังกายมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ลองใส่ใจในรายละเอียด วัตถุประสงค์ และกระบวนการฝึกอีกสักนิด สิบนาทีหรือสิบห้านาทีของการฝึก จะได้สามารถตักตวงประโยชน์จากการฝึกหรือกิจกรรมนี้ได้อย่างเต็มที่

 

ใส่ใจกับสิ่งที่อยู่ต่อหน้า ไม่ใช่ว่าทำเรื่องหนึ่งอยู่ แต่ใจไปอยู่กับอีกเรื่อง ใจไปอยู่ข้างหน้าเสียแล้ว จนพลาดปัจจุบันขณะไป

 

 

http://www.fajing.net/thai/2007/09/taiji-joint-exercise/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในการฝึกมวยไท่เก๊ก แม้จะบอกว่าสามารถฝึกได้แบบสบายๆ แต่ก็มีบางเรื่องที่ควรใส่ใจ ดังนี้

 

 

1. สถานที่

ควรเลือกสถานที่ที่โปร่ง โล่ง ที่กลางแจ้งที่อากาศถ่ายเทดี เช่นในสวนสาธารณะ จะดีกว่าในโรงฝึกมิดชิด ควรเลือกบริเวณที่พื้นราบเรียบ ไม่ขรุขระหรือลาดชัน หากสามารถหาได้ พื้นดินหรือพื้นหญ้าเป็นทางเลือกที่ดี แต่ไม่ควรฝึกในสถานที่ที่ลมแรงหรือแดดร้อนเกินไป เวลาที่ฝนตกหนักไม่ควรฝึกกลางฝน เวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าตรู่ หรือตอนหัวค่ำ ซึ่งก็ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว เพียงแต่กลางวันหากฝึกกลางแจ้งท่ามกลางแดดร้อนจัดนั้นยากที่จะผ่อนคลายได้ดี เพราะคงมัวแต่หยีตาสู้แดด ควรฝึกฝนในสถานที่เดิม และหันหน้าในทิศทางเดิมเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยไม่ให้หลงทิศสำหรับผู้ที่ฝึกมาใหม่ๆ การฝึกสามารถทำท่ามกลางอากาศหนาวเย็นได้ จะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นเพียงแต่ต้องแต่งกายให้มิดชิดอย่าให้ร่าง กายกระทบความเย็นโดยตรง

 

2. การแต่งกาย

 

ไม่มีข้อกำหนดตายตัวในเรื่องการแต่งกาย แต่ก็ควรแต่งกายด้วยชุดที่หลวม โปร่งสบาย และซับเหงื่อได้ดี ไม่ควรใช้ชุดที่อบจนเกินไปเช่นชุดวอร์มสำหรับนักมวยหรือชุดแนบเนื้อ หรือชุดที่รัดแน่นเกินไป ปกติเสื้อผ้าที่เหมาะสมสำหรับการฝึกคือชุดผ้าฝ้ายแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อไม่ให้ร่างกายถูกลม แต่หากอากาศไม่เย็น หรือลมไม่พัดโกรกจนเกินไปอาจใช้เสื้อแขนสั้นได้ รองเท้าควรเป็นรองเท้าพื้นบางไม่มีส้น พื้นรองเท้าควรเรียบ ไม่ลาดเท หรือตะปุ่มตะป่ำหรือมีส่วนโค้งนูนผิดปกติขึ้นมา ไม่ควรถอดเสื้อ หรือถอดรองเท้าฝึก โดยทั่วไปแล้วผู้ฝึกมักนิยมชุดจีนแขนยาวที่ตัดจากผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม และรองเท้าผ้าพื้นบางแบบจีน

 

3. สภาพร่างกาย

 

ไม่ควรอิ่มเกินไปหรือหิวเกินไปก่อนการฝึก ควรรับประทานอาหารก่อนฝึกไม่น้อยกว่า 30 นาที และทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนการฝึก หากมีอาการป่วยเช่นปวดหัวตัวร้อน หรือเคล็ดขัดยอกที่ไม่หนักหนาเกินไป สามารถฝึกได้ จะช่วยให้อาการป่วยทุเลาลงได้ แต่หากป่วยหนักก็ไม่ควรฝืนฝึก สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัว ควรฝึกด้วยความระมัดระวัง ควรปรึกษาแพทย์และแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนทราบถึงอาการของโรคก่อนรับการฝึก ในการฝึกอาจจะมีบางอย่างที่ไม่สามารถฝึกร่วมกับผู้อื่น หรือฝึกตามระบบปกติได้ อาจต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป แต่โดยปกติแล้วผู้ป่วยเกือบทุกประเภทสามารถฝึกฝนได้ แต่ควรจะต้องบอกให้อาจารย์ผู้สอนทราบเกี่ยวกับสภาพร่างกายและอาการป่วยก่อน รับการฝึก

 

4. ก่อนการฝึก

 

ควรมาถึงสถานที่ฝึกก่อนเวลาสักเล็กน้อย หรือเมื่อมาถึงใหม่ๆ ไม่ควรเริ่มการฝึกในทันที ควรพักให้หายเหนื่อยทั้งกายและใจ ให้ร่างกายตนเองรู้สึกผ่อนคลายจากความเหนื่อยหรือความเครียดที่ได้จากการงาน เสียก่อน ช่วงก่อนการฝึกยังเป็นช่วงสนทนาปราศรัย บางสำนักอาจมีการคุยหยอกล้อกันเพื่อช่วยให้เกิดบรรยากาศผ่อนคลาย ระหว่างนั้นอาจใช้เวลาในการเตรียมสถานที่ เตรียมน้ำชา หรือคุยกันด้วยเรื่องทั่วๆ ไป จนพร้อมกันทุกคนทั้งร่างกายและจิตใจแล้วจึงเริ่มการฝึก

 

5. ระหว่างการฝึก

 

ระหว่างการฝึก ไม่ควรดื่มน้ำเย็น โดยปกติจะใช้น้ำชาร้อนหรือน้ำเก๊กฮวยร้อนจิบระหว่างฝึก หรืออย่างน้อยก็ใช้น้ำดื่มที่อุณหภูมิปกติ เมื่อฝึกฝนเสร็จช่วงหนึ่งๆ ไม่ควรนั่งพักทันที ควรเดินไปเดินมาประมาณ 1-2 นาที จนร่างกายกลับสู่สภาวะปกติก่อนจึงค่อยนั่งลง ความจริงข้อนี้ไม่เฉพาะกับการฝึกมวยไท่เก๊ก แต่เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติสำหรับการฝึกฝนออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาทุกประเภท ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บภายในได้ การที่ไม่นั่งลงทันทีหลักฝึกเสร็จในแต่ละช่วงยังมีผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้ไม่เกิดอารมณ์ท้อถอยหรือหมดแรงเอาดื้อๆ ระหว่างฝึก การรักษากฎนี้อย่างเคร่งครัด เมื่อผ่านการฝึกฝนจนเป็นนิสัย สามารถช่วยให้ผู้ฝึกสามารถรักษาสติและสมาธิได้ แม้ในเวลาที่คิดว่าร่างกายหรือจิตใจมาถึงขีดสุดแล้ว

 

ในระหว่างการฝึก บางสำนักอาจจะมีขนมขบเคี้ยวเล็กๆ น้อยๆ สำหรับรับประทานร่วมกับน้ำชา รวมทั้งในระหว่างพักช่วงการฝึก สามารถดื่มชาสนทนาปราศรัยกัน ช่วยให้บรรยากาศการฝึกไม่เคร่งเครียดจนเกินไป และช่วยกระชับสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมฝึกด้วยกันได้เป็นอย่างดี

 

6. หลังการฝึก

 

ไม่ควรอาบน้ำทันที หรือเข้าไปอยู่ในห้องปรับอากาศทันที ควรรอให้เหงื่อแห้งและอุณหภูมิในร่างลดลงก่อน อย่างน้อย 15-30 นาที หากเสื้อที่สวมใส่ในการฝึกเปียกเหงื่อมาก ควรผลัดเปลี่ยนเป็นเสื้อแห้งเสียก่อน ไม่ควรจัดตารางเวลาให้แน่นเกินไปเช่น ฝึกเสร็จต้องทำอย่างอื่นต่อ หรือต้องไปนั่นไปนี่ต่อทันที ถ้าเช่นนั้นควรจัดสรรเวลาเผื่อหลังฝึกประมาณ 15-30 นาที เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้มีความรู้สึกผ่อนคลายกับตารางงานหรือตารางเวลา ด้วย

 

7. ดนตรีประกอบ

 

บางสำนักมีการใช้ดนตรีประกอบในการฝึก หรือใช้การเปิดเสียงเพื่อขานชื่อท่าและให้จังหวะในการฝึก ซึ่งทำให้การฝึกฝนเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงกันและรำจบชุดในเวลาที่กำหนดได้ ง่าย ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร แต่หากเป็นไปได้ควรฝึกภายใต้สภาพแวดล้อมเสียงแบบธรรมชาติ หรือค่อนข้างเงียบสงบเพื่อให้จิตสงบมีสมาธิ สามารถฝึกการใช้จิตนำชี่ได้อย่างเต็มที่ โดยจิตใจไม่ได้ไปผูกพันหรือจดจ่ออยู่กับเสียงดนตรีหรือเสียงขานจังหวะ สามารถฝึกฝนการรับรู้จังหวะจากร่างกายของตนเอง โดยไม่ได้พึ่งการให้จังหวะจากภายนอก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

.. ไทเก็ก : ทางเลือกของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพชั้นเยี่ยม ...

 

03.gif 01.gif

 

ว่ากันไปแล้ว เดี๋ยวนี้ใครๆ ต่างก็หันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น และก็เป็นโชคดีของคนไทยที่เดี๋ยวนี้มีสถานที่ให้เลือกออกกำลังกายมากมาย แถมยังมีรูปแบบอีกหลากหลายให้เลือกอีกด้วย ถ้าผ่านไปมาไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ เราจะพบเห็นรูปแบบการออกกำลังกายที่น่าสนใจและดูจะมีคนนิยมกันมากคือ “ไทเก็ก” ซึ่งปัจจุบันจะจัดเป็นชมรมตามสวนสาธารณะ อาทิ สวนลุมพินี วังสราญรมย์ สวนรมย์มณีนาถ สวนจตุจักร สวนหลวง ร.9 เป็นต้น เราจะเห็นผู้คนคึกคักกับการออกกำลังกายในรูปแบบไทเก็ก ดูจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และไม่เพียงแต่เป็นที่นิยมสำหรับผู้สูงวัยเท่านั้น หนุ่มสาว ก็ทยอยกันหันมาสนใจการออกกำลังกายประเภทนี้

 

tikeg.gif

 

 

ไทเก็กเป็นศาสตร์การออกกำลังกายซึ่งมาจากประเทศจีนมีผลดีไม่เฉพาะแต่ร่างกายเท่านั้นยังมีผลดี

ต่อสุขภาพจิตทำให้จิตใจสงบด้วยถือเป็นสุดยอดของการออกกำลังกายอีกประเภทหนึ่งถ้าเปรียบ

เทียบกับการวิ่งจ๊อกกิ้งซึ่งเป็นการออกกำลังกายในลักษณะที่ต้องออกแรงกระทำให้ร่างกายเหนื่อย

จนถึงระดับที่ต้องสูดลมหายใจแรงๆเร็วๆเพื่อปั๊มออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายแต่ศาสตร์ของไทเก็กไม่ใช่

อย่างนั้นเป็นการใช้สติปัญญาขั้นลึกซึ้งฝึกตัวเองในการหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธีโดยที่ขณะสูดลม

หายใจเข้าทำให้พุงโป่งออกมาและหายใจออกพุงจะยุบลงเป็นจังหวะเป็นผลให้ออกซิเจนปั๊มเข้าสู่ร่าง

กายมากใกล้เคียงกับการวิ่งจ๊อกกิ้งหรือการเดินเร็วโดยไม่ต้องทำให้ร่างกายเหนื่อยหอบจึงเป็นทาง

เลือกที่ดีของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุทีเดียว

 

:lol: การ ฝึกไทเก็กในเบื้องต้นใช้พื้นฐานการฝึกง่ายๆ ผู้ฝึกต้องเริ่มจากการผ่อนคลายร่างกาย กล้ามเนื้อทุกส่วน โดยใช้ความสมดุลและลีลาของมวยไทเก็ก มองดูเหมือนศิลปะอย่างหนึ่งทีเดียวของการออกกำลังกาย มีการเคลื่อนไหวร่างกายตั้งแต่ขา ลำตัว และมือ ผู้ฝึกจะเรียนรู้วิธีการจัดวางตำแหน่ง ทิศทางองศาที่ร่างกายเคลื่อนไหว และการฝึกกำหนดสมาธิ มีพลังจากภายใน คือสมาธิจิต และพลังของความรู้สึกมาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายภายนอก

การออกกำลังกายแบบไทเก็ก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวตะวันออก ที่มีศิลปะการรำเฉพาะแบบ เป็นวิธีทางการปรับสมดุลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจให้ผสมผสานกลมกลืน เพื่อความสมดุลของระบบการใช้พลังงานในร่างกาย เป็นการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวด้วยวิธีการหดและคลายกล้ามเนื้อส่วน ต่างๆ ของร่างกายให้เข้าจังหวะ การใช้ท่าต่างๆ และเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดอีกวิธี กล่าวคือ

 

- ท่าทางการเคลื่อนไหว เป็นท่าที่มีการยืดและหดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ มีจังหวะที่ผสมผสานกลมกลืน สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกาย ปอด หัวใจแข็งแรง และช่วยทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน ส่วนเกินในร่างกาย

 

- ท่ารำ เป็นท่าที่ดูแล้วมีความนุ่มนวล ท่วงทีอ่อนช้อยเชื่องช้า จะช่วยผ่อนคลายและสามารถจัดเป็นสมาธิบำบัดที่ช่วยลดความเครียดได้อย่างดี ยิ่ง ทำให้กล้ามเนื้อร่างกายและจิตใจลดความตึงเครียดได้

- ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ออกซิเจนของเซลส์ทั่วร่างกาย มีระบบการหายใจที่มีประสิทธิภาพขึ้น ระบบการใช้พลังงานดีขึ้น ทำให้เหนื่อยช้าลงและทำให้เซลส์ต่างๆ ทั่วร่างกายมีปริมาณออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อร่างกาย

 

- การเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ในร่างกายอย่างช้าๆ เป็นการลดอัตราการเสื่อมของข้อได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เกิดการยืดหยุ่นในการหมุนตัวได้ดีขึ้น ช่วยลดอัตราการเสื่อมของข้อและอาการปวดตามข้อ

 

- เป็นการออกกำลังกายที่จัดเป็น (Resistance Training) การออกกำลังกายโดยมีแรงต้านกล้ามเนื้อพอเหมาะ ส่งผลในการสร้างมวลกระดูกได้เพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อแข็งแรงและกระชับ

 

:rolleyes: บางคนไม่เข้าใจ มักจะมีคำถามเสมอว่า ไทเก็กจะได้อะไร ดูผ่านๆ เหมือนการยืดเส้นยืดสาย ไม่ใช่การออกกำลังกาย จะได้เหงื่อหรือ?

ได้ ครับ การเคลื่อนไหวช้าๆ แบบนี้ มีการเคลื่อนย้ายน้ำหนัก นอกจากแนวเท้าคือศูนย์กลาง ศูนย์ถ่วง ยังได้ใช้กำลังกล้ามเนื้อสูงมาก การที่เกร็งและเคลื่อนย้ายให้พ้นแนวน้ำหนักตัวเอง ถ้าไม่เกร็งดีๆ จะล้ม มีผลทำให้กล้ามเนื้อทำงานมากขึ้น ข้อดีอีกข้อหนึ่งคือไม่ทำให้คนแก่ หรือผู้สูงอายุล้มง่าย ถ้าไม่ล้มง่าย กระดูกจะไม่หักง่าย และอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่ทำท่าทางต่างๆ เปลี่ยนท่าไป 36 ท่าในตระกูลหยาง แต่ละตระกูลแตกต่างกันไป จะมีสมาธิแต่ละท่าที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนท่าที่ 1 เป็น 2 เป็น 3 จิตใจจะไม่คิดฟุ้งซ่านเรื่องอื่น แน่วแน่อยู่กับท่าของการฝึก ทำให้จิตใจมีสมาธิร่วมด้วย เห็นไหมครับได้ทั้งออกซิเจนเข้าร่างกาย ได้ทั้งการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทำให้การทรงตัวดีขึ้น ได้ทั้งจิตสมาธิดีด้วย ไทเก็กเป็นศาสตร์การออกกำลังกายที่มีอุดมคติมาก เพราะใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่หนุ่มจนถึงวัยชรา

 

:D แล้วก็เป็นศาสตร์ที่บอกเน้นเรื่องการทรงตัว ปัจจุบันบางคนพอสูงวัยขึ้น ต้องใช้ไม้เท้าในการพยุงตัว ถ้าได้ฝึกไทเก็กตั้งแต่เยาว์วัย การทรงตัวจะมั่นคงดีมาก เป็นการดีต่อร่างกาย ทำให้ยืนได้มั่นคง ไม่ล้มง่าย การที่เราหัดการเคลื่อนไหวร่างกายให้พ้นจุดศูนย์ถ่วง Center of Gravity ในระบบการทรงตัว จนกระทั่งสามารถควบคุมไม่ให้ล้มได้ง่าย คนธรรมดายืนขาเดียวผิดท่าก็ล้มแล้ว แต่คนที่ฝึกไทเก็กจะรู้จักการปกป้องที่ข้อ เกร็งกล้ามเนื้อบางมัดเพื่อพยุงตัวไว้ได้ เหมือนกับการสร้างสมดุลย์ให้ร่างกาย ซึ่งเป็นการฝึกสมองกับฝึกระบบประสาทการทรงตัวที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะหู ทำให้การทรงตัวเป็นเยี่ยม

ตรุษจีนปีนี้........เอาฤกษ์เอาชัย เพื่อสุขภาพกันดีกว่านะครับ โดยเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ชอบเสียเลย เพื่อนำมาใช้เป็นกิจวัตรประจำวันในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับตัวท่าน เอง การมีสุขภาพแข็งแรงปลอดจากโรคภัยไม่เป็นภาระผู้อื่นถือเป็นลาภอันประเสริฐ “ไทเก็ก” ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดูน่าสนใจอย่างยิ่งครับ

02.gif 05.gif

 

แหล่งข้อมูล : รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก

นำเสนอโดย : พรพิมล สุรินทร์วงศ์และทีมงานประชาสัมพันธ์,

สุชาติ อาจทรัพย์ งานสารสนเทศ

 

 

http://www.ss.mahidol.ac.th/thai/KnowHealthpage14-15.html

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...