ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

Index Futures: S&P 500 1,126.25 -26.00 -2.26% DOW 10,718 -231.00 -2.11% NASDAQ 2,120 -44.00 -2.03%

วันนี้ถ้าทองที่เมกาลงผมว่าแปลกนะครับ wub.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ ๆ จอร์นมาก นะครับ สำหรับคำตอบ ติดตามต่อไปครับ หวังว่า เราจะชนะมันได้นะครับในที่สุด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Index Futures: S&P 500 1,126.25 -26.00 -2.26% DOW 10,718 -231.00 -2.11% NASDAQ 2,120 -44.00 -2.03%

วันนี้ถ้าทองที่เมกาลงผมว่าแปลกนะครับ wub.gif

 

ถ้าขาย Cover Lost ก็มีสิทธิ์ที่จะทำให้ทองลงครับ

 

ยิ่งสุดสัปดาห์นี้วันปิด Option หุ้นด้วย

 

มองแบบเข้าข้างทองและตัวเองว่า คนที่กำไรตลาดเงิน-ทุน รอบนี้มาซื้อทองกันหมด อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

19.43 French FinMin Says G7 Central Banks Committed to provide as much as "Liquidity" as need to Banks

 

-------------------------------------------------

 

19.45 French FINMIN Says French Bank can cope with all crisis situation in Greece

 

 

--------------------------------------------------

 

สงสัยกรีซจะีรอดยาก เตรียม กรี๊ด กันดีกว่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงสัยกรีซจะีรอดยาก เตรียม กรี๊ด กันดีกว่า

 

 

มันจะรอดได้ยังไงครับดูดอกมันซะก่อน พันธบัตร 1 ปี ดอก 108.47%

 

sovereign%2Bdebt%2B%2BGreece%2B2011-09-12.png

 

 

 

ล่าสุด

Greek 1 Year Bond Yield: 111.7%

 

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กบข. เพิ่มสัดส่วนลงทุนทางเลือก 12% ลดความเสี่ยงเงินเฟ้อ เล็งตลาด Commodity โครงสร้างพื้นฐาน

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กันยายน 2554 12:17 น. Share

 

 

 

 

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

 

 

 

กบข.เผยสัดส่วนการลงทุนทางเลือกเกือบ 7% ของพอร์ตลงทุน เล็งเพิ่มเป็น 12% หรือคิดเป็น 4.5 หมื่นล้านบาท ภายใน 3 ปี เพื่อกระจายความเสี่ยง และสร้างผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ เตรียมลุยลงทุนใน ตปท. ทั้งกลุ่มอสังหาฯ และนิติบุคคล ส่วนการลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ และโครงสร้างพื้นฐาน ลั่นพร้อมลุยเข้าลงทุนทันที หากจังหวะเอื้ออำนวย

 

 

 

 

นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) กล่าวว่า ปัจจุบัน กบข.มีเงินลงทุนในการลงทุนทางเลือกประมาณ 25,000 ล้านบาท คิดเป็น 6.6% ของสินทรัพย์รวมของกองทุน แบ่งเป็นการลงทุนในนิติบุคคลเอกชนไทยมูลค่า 11,500 ล้านบาท การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไทยมูลค่า 13,500 ล้านบาท โดยผลตอบแทนตลอดระยะเวลาของการลงทุนทางเลือก (IRR) อยู่ที่ 9.2% ต่อปี

 

ทั้งนี้ ภายใน 3 ปี กบข.มีแผนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนทางเลือกเป็น 12% ของสินทรัพย์รวมของกองทุน หรือคิดเป็นเม็ดเงินลงทุนประมาณ 45,000 ล้านบาท

"กบข.เริ่มลงทุนทางเลือกตั้งแต่ปี 2543 โดยเป็นการลงทุนในประเทศไทยก่อน เป้าหมายเพื่อมุ่งหาผลตอบแทนการลงทุนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อภายใต้กรอบความเสี่ยงที่เหมาะสม อีกทั้งเป็นการกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่น นอกเหนือจากการฝากเงิน การลงทุนในหุ้น และการลงทุนในพันธบัตร"

 

นางสาวโสภาวดี กล่าวเสริมว่า การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มนักลงทุนสถาบัน (Institutional Investor) เพราะสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลาย แต่ละประเภทก็มีธรรมชาติของการสร้างผลตอบแทนที่ต่างกัน

 

นางสาวโสภาวดี ยกตัวอย่าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่แม้จะไม่สามารถทำกำไรได้สูงๆ เหมือนหุ้นในช่วงขาขึ้น แต่ก็สร้างรายได้สม่ำเสมอ ส่วนสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นประเภท Hard Commodity เช่น น้ำมัน โลหะมีค่า หรือ Soft Commodity อาทิ สินค้าเกษตร ก็มีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนในทิศทางเดียวกัน (Natural Hedge) กับเงินเฟ้อ จึงเหมาะกับการลงทุนเพื่อเป้าหมายเอาชนะเงินเฟ้ออย่าง กบข.

ปัจจุบัน กองทุนเพื่อการเกษียณในกลุ่มประเทศ G7 มีการเพิ่มปริมาณการลงทุนทางเลือกสูงมากอย่างเห็นได้ชัด จากประมาณ 5% ของพอร์ตเมื่อปี 2538 ปัจจุบันเพิ่มเป็น 19% ประเทศที่มีการลงทุนทางเลือกสูงๆ ในปัจจุบันได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ 29%, ออสเตรเลีย 25%, สหรัฐอเมริกา 24% เป็นต้น

สำหรับ กบข. มีแผนจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนทางเลือกให้มากกว่าปัจจุบันโดยกำหนดเป้าหมายว่า กลางปี 2555 จะเริ่มลงทุนในนิติบุคคลเอกชนและอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ โดยจะเป็นการลงทุนผ่านกองทุน สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ที่คณะกรรมการ กบขง อนุมัติให้ กบข. สามารถลงทุนได้นั้น กบข. คาดว่าจะเริ่มลงทุนได้ประมาณต้นปี 2555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ก่อนจะพูดกันถึง Gold Revaluation (ในบทความต่อไป)เรามาดูหลักการ และ แนวคิดของ Ben Bernanke ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ผู้ที่นับได้ว่า เป็นผู้ทรงอิทธิพลอันดับ 1 ต่อตลาดการเงินของโลก กันก่อนครับ เพราะแนวคิด แนวความเชื่อของ Bernanke นี้เอง ได้สะท้อนออกมาในแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา และ ต่อเนื่องไปในอนาคต ตราบเท่าที่เขายังครองตำแหน่งประธาน FED ต่อไป

 

2010-12-20-16-46-35-8-ben-bernanke-the-chairman-of-the-federal-reserv.jpeg

 

ในปี 1999 Ben Bernanke ได้แสดงแนวคิดต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของญี่ปุ่นในช่วงปี 1990-1999 โดยธนาคารกลางของญี่ปุ่นดังนี้

 

(ปี 1999 Bernanke ยังไม่ได้เป็นประธาน FED แต่ยังเป็นนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Princetion มหาวิทยาลัยเดียวกับ Martin Armstrong)

 

- เป็นความผิดพลาดของธนาคารกลางญี่ปุ่น ที่ไม่กล้าลงมือทดลองปฏิบัติทางเลือกต่างๆ ในการฉุดเศรษฐกิจของประเทศออกจากภาวะชะลอตัว (ระหว่างปี 1990-1999 GDP ของญี่ปุ่นเติบโตเฉลี่ยน้อยกว่า 0.9% ต่อปี)

 

- ตามความเห็นของ Bernanke ความผิดพลาดของธนาคารกลางญี่ปุ่นในอดีตได้แก่


  1.  
  2. ความผิดพลาดในช่วงปี 1987-1989 ที่ไม่ดำเนินนโยบายเข้มงวดเมื่อมีสัญญาณว่าเงินเฟ้อจะรุนแรงขึ้น
  3. ความผิดพลาดในช่วงปี 1989-1991 จากนโยบายที่ไปเร่งให้ฟองสบู่ที่เกิดขึ้นไปแล้ว แตกเร็วยิ่งขึ้น
  4. ความผิดพลาดในช่วงปี 1991-1994 ที่ไม่ดำเนินนโยบายเชิงผ่อนคลายอย่างเพียงพอ ในขณะที่ราคาสินทรัพย์ ระบบธนาคาร และ เศรษฐกิจถดถอยลงอย่างมาก

 

- Bernanke ได้วิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในขณะนั้นว่าเกิดขึ้นเพราะ Aggregate Demand Deficiency สภาวะอุปสงค์ไม่เพียงพอ (กำลังซื้อสินค้าไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ) ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นในตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ระดับต่ำมาก, ตัวเลขการเติบโตของ GDP ก็ต่ำมากเช่นกัน

 

- หลายฝ่ายเชื่อว่าญี่ปุ่นติดกับดักสภาพคล่อง (liquidity trap) ดังจะเห็นได้จาก 1) อัตราดอกเบี้ยขณะนั้นอยู่ที่ 0% 2) แม้ตัวเลขฐานเงินในระบบจะขยายขึ้นแต่ดูเหมือนว่าธนาคารต่างๆยินดีที่จะถือเงินส่วนเกินไว้กับตัวเอง แทนที่จะปล่อยกู้ออกไป ทำให้การขยายตัวของเงินที่หมุนเวียนในระบบต่ำ

 

- Bernanke เชื่อว่า ธนาคารกลาง ร่วมกับ องค์กรรัฐองค์กรอื่นๆ เช่นกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ในการ ร่วมกันนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักสภาพคล่องได้

 

- เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักสภาพคล่อง Bernanke เสนอแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลกลาง 2 ขั้นตอน

1. รัฐบาลกลางสามารถเพิ่มระดับความต้องการซื้อของตลาด (aggregate demand) และเพิ่มระดับราคาสินค้าในตลาดได้

2. การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่าย(ที่เป็นตัวเงิน) และการเพิ่มราคาของสินค้า จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นสู่การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

 

- Bernanke บอกว่า นอกจากจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0% แล้ว ธนาคารกลางยังสามารถใช้เครื่องมืออีกอันหนึ่งได้ ก็คือการพิมพ์เงิน เครื่องมือนี้ดีกว่าการออกพันธบัตรที่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ไม่มีวันหมดอายุ ธนาคารกลางสามารถพิมพ์เงินออกมา มากเท่าไหร่ก็ได้ตามต้องการ หลังจากนั้นธนาคารกลางก็ใช้เงินที่พิมพ์ออกมานั่นเองไปซื้อสินทรัพย์ในท้องตลาด ซึ่งสุดท้ายจะผลักดันให้ราคาสินทรัพย์/สินค้าในตลาด เพิ่มสูงขึ้น (ผลักดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น) แม้ดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ที่ 0% ก็ตาม

 

ต่อไปนี้คือข้อเสนอของ Bernanke ต่อธนาคารกลางญี่ปุ่น ต่อการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในขณะนั้น

(เป็นวิธีการเดียวกับที่ Bernanke และคณะ กำลังพยายามแก้ไขปัญหาสหรัฐในปัจจุบันนี้ไม่มีผิดครับ- ผู้แปล)

 

 

1. Commitment to Zero rates – with an inflation target การประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยให้คงที่อยู่ที่ 0% พร้อมกับตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อ

ผลของการประกาศนี้ จะทำให้ความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นหมดไป และกดดันอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวให้ต่ำลงด้วย การประกาศเป้าเงินเฟ้อ ก็จะช่วยให้ภาคธุรกิจมีข้อมูลว่านโยบายจะมีผลไปนานแค่ไหนก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลง

 

2. Depreciation of the Yen การลดค่าเงินเยน

Bernanke ได้แนะนำว่า ญี่ปุ่นควรแทรงแซงค่าเงินของตนเพื่อลดค่าเงินเยนลงอย่างมาก การลดค่าเงินลงจะทำให้สินค้านำเช้ามีราคาสูงขึ้น ราคาสินค้าที่สูงขึ้นก็จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัว แม้มีข้อโต้แย้งว่าการลดค่าเงินอาจนำมาซึ่งความตึงเครียดระหว่างประเทศ และเป็นการเอาเปรียบคู่ค้า แต่ Bernanke มองว่าเมื่อเศรษฐกิจของประเทศ(ที่ลดค่าเงิน) ดีขึ้น สุดท้าย ก็จะไปกระตุ้นให้มีธุรกิจทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้ามากขึ้น ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย

มีข้อโต้แย้งว่า เมื่อดอกเบี้ยอยู่ที่ 0% (ลดลงอีกไม่ได้แล้ว) จะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าได้อย่างไร Bernanke บอกว่า ก็ทำโดยการที่ธนาคารกลางประกาศว่าจะทำการแทรกแซง พร้อมทั้งพิมพ์เงินเยนออกไปซื้อเงินสกุลต่างประเทศมากๆ (แบบสวิสทำตอนนี้) ก็จะกดดันค่าเงินให้อ่อนลงได้มาก

 

อย่างไรก็ตามหากการพยายามลดค่าเงินไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ อาจเพราะจะทำให้เกิดการขัดแย้งกับประเทศคู่ค้า (เช่นตอนที่สหรัฐปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลงมาเหลือ 29.5 บาท หลายประเทศส่งเสียงก่นด่าสหรัฐ จนเกือบเกิด currency war ในช่วง 4-5 เดือนทีผ่านมา)

ทางเลือกหนึ่งที่จะทำได้โดยไม่กระทบต่อการค้าระหว่างประเทศเลยก็ คือ “Helicopter Drop” (การโปรยเงิน) คือการพิมพ์เงินแจก ลงไปยังครัวเรือนของประชาชน ซึ่งน่าจะมีผลกระตุ้นให้ระดับราคา(เงินเฟ้อ) ขยับขึ้นได้ แต่ถ้าหากราคาสินค้าไม่ขยับสูงขึ้น อย่างน้อยก็ทำให้ประชาชนมีความมั่งคั่งสูงขึ้น

 

helicopter-ben_bernanke-481x640.jpg

 

การพิมพ์เงินขึ้นมาทำให้เม็ดเงินที่พิมพ์ขึ้นมาไม่เป็นภาระในอนาคต ที่รัฐบาลจะต้องเก็บภาษีจากประชาชนมาชดเชย ทำให้ประชาชนมั่นใจในการใช้จ่ายอย่างเต็มที่ และจะทำให้ในอนาคตรัฐบาลเก็บภาษีได้มากขึ้นด้วย จากการใช้จ่ายของประชาชนที่เพิ่มขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม หาก “การโปรยเงิน” อาศัยเม็ดเงินจากการออกพันธบัตร (กู้) ผลที่ได้จะไม่ได้ผลดังที่ได้กล่าวไว้ข้างบน

 

หากรัฐบาลไม่มีกฎหมายหรือไม่มีกลไก ในการโปรยเงินลงไปยังประชาชน เครื่องมือในการโปรยเงินชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ได้ (โดยถูกกฎหมาย) ก็คือ กาลดภาษี โดยทั้งนี้ธนาคารกลางต้องไปซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลจากท้องตลาด โดย ซื้อคืนพันธบัตรในปริมาณเท่ากับ ปริมาณเงินภาษีที่หายไปจากการลดภาษีนั้น (เท่ากับว่าไม่มีดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นจากการใช้นโยบายภาษี)

3. Nonstandard Open-market Operations การเข้าไปแทรกแซงในตลาดเงิน ในรูปแบบอื่นๆ

เช่นการที่ธนาคารกลางเข้าไปซื้อหนี้เน่าจากสถาบันการเงิน ในราคาเต็ม (full face-value) ซึงก็เท่ากับเป็นการช่วยเหลือสถาบันการเงินที่มีปัญหา หรือการให้เปล่าเงินแก่ภาคเอกชน ซึ่งก็น่าจะได้ผลต่อเศรษฐกิจเช่นเดียวกับการโปรยเงินแก่ภาคครัวเรือนนั่นเอง

หรือการที่ธนาคารเข้าไปซื้อสินทรัพย์ในราคาตลาดที่เหมาะสม (fair market value) เป้าหมายของการทำเช่นนี้ก็เพื่อ กระตุ้นการใช้จ่าย ยกระดับราคาของหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ช่วยธนาคารทางอ้อม)

 

Bernanke เชื่อว่า กลไกที่ 3 นี้อาจไม่จำเป็น หาก BOJ ได้ดำเนินการ 2 วิธีข้างต้นแล้ว

(US ทำมาหมดแล้วทุกวิธี แต่ยังไม่มีอะไรดีขึ้น – ผู้แปล)

 

 

ปล. แปลผิดพลาดประการใด รบกวนชี้แนะ แก้ไขด้วยครับ

ถูกแก้ไข โดย JohnCM

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ห้าทุ่ม ถึง ตีหนึ่ง คืนนี้ จะรอดูสิว่า มีอะไรหวือหวาหรือไม่ ถ้าลงก็ดีครับ จะได้เก็บของถูก และน่าจะเป็นสัญญาณหรือเปล่า แต่ถ้าขึ้นก็จะไปถึงไหนนะอยากรู้จัง เพราะไม่ว่าขึ้นหรือลงเห็นแค่กระดึ๊บๆๆ เท่านั้นเองครับ ยังงงกับทิศทางอยู่เลย น้องทองจ๋า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณสำหรับบทความครับคุณ John

 

QE มี ยังไงก็ดีกว่าไม่มี

 

แต่มากเกินไป = เละ

 

ไม่มีอะไรที่ดีที่สุด และ แย่ที่สุด ขึ้นอยู่ักับสถานการณ์ ณ ตอนนั้นๆ

 

ซึ่งตอนนี้ QE คือ ทางเลือกที่แย่ที่สุด แต่ สหรัฐก็มองว่า มันจำเป็นต้องทำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณสำหรับบทความครับคุณ John

 

QE มี ยังไงก็ดีกว่าไม่มี

 

แต่มากเกินไป = เละ

 

ไม่มีอะไรที่ดีที่สุด และ แย่ที่สุด ขึ้นอยู่ักับสถานการณ์ ณ ตอนนั้นๆ

 

ซึ่งตอนนี้ QE คือ ทางเลือกที่แย่ที่สุด แต่ สหรัฐก็มองว่า มันจำเป็นต้องทำ

 

ครับ เห็นด้วยเช่นกันครับ

 

มีประเด็นหนึ่งน่าสนใจ รู้สึกว่าลูกหม้อ Princeton จะมีวิธีการคิด แนวคิดเช่นเดียวกันครับ

Martin Armstrong เองก็เป็นแฟนพันธ์แท้ของการพิมพ์เงินเช่นกัน

 

ในขณะที่ MA ดูจะไปไกลกว่านั้น แกเล่นไม่เห็นด้วยกับการกู้เงิน การเก็บภาษี ฯลฯ บอกว่าเป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจ

 

สุดท้ายกลายเป็นทุกประเทศพิมพ์เงินหมด เพราะไม่พิมพ์ไม่ได้ ค่าเงินตัวเองจะกลายเป็นแข็งไปเสียฉิบ

ปลายทางจะอยู่ตรงไหน ในเมื่อทุกคน(ประเทศ) เอาความโลภ ความเห็นแก่ตัว Greed เป็นที่ตั้ง

 

 

ผมมองดูของไทยตอนนี้เหมือนๆ จะได้รู้แผนการวงในอะไรหรือเปล่า จึงรีบสร้างหนี้ภาครัฐแบบไม่กังวลเรื่องเสถียรภาพ

ดูๆ ไปคล้ายๆ กับว่าปลายทางสุดท้าย(ที่อาจมีการวางแผนกันไว้แล้ว) จะมีการล้าง Sovereign Debt ทั้งโลก ด้วยกระบวนการอะไรซักอย่าง (อาจเป็น Gold Revaluation)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มารออ่าน บทความ Gold Revaluation ด้วยคนครับ

ถูกแก้ไข โดย chung6

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แก้ไขแบบญี่ปุ่นผลลัพท์ที่ได้ก็คือ The lost decade

โป๊งเหน่งเห็นเขาแก้ไม่สำเร็จก็คิดหาวิธีที่แตกต่างออกไปพร้อมกับคิดว่า ของกูนี่สิเจ๋ง

3ปีผ่านมาแล้ว( suck & crab) ที่ได้อาจจะเป็น The crash decade ซะมากกว่า

อิอิ ว่าคนอื่นมันง่ายนะลุงเหน่ง tongue.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

In The Meantime, ECB QE Is On In Full Force With About $100 Billion In Open Market Bond Repruchases In Past Month

เดือนที่แล้ว ECB ได้ทำ QE เพื่อซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลจากตลาดรอง เป็นเงินกว่า แสนล้าน ดอลลาร์ครับ

 

แปลกที่ ผลของ QE ภาคยุโรปกลับยังไม่ผลักดันให้ราคาทองแพงขึ้นเท่าไหร่เลยนะครับ

 

 

ปล. บทความ Gold Revaluation ขอติดไว้เป็นวันพรุ่งนี้นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ คุณ JohnCM คุณ MOR LEK และคุณส้มโอมือ ที่นำข้อมูลมาแบ่งปันพร้อมแปลให้เสร็จ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...