ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณคุณหมอเล็ก คุณ lekster ครับ

 

ไม่หวั่นไหวครับ ถึงไม่ใช่กระท้อน แต่ก็ยิ่งทุบยิ่งหวาน อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากๆๆครับ คุณ Next คุณ หมอ

เป็นบทความที่ยอดเยี่ยมมากๆครับ

ติดตามเเละให้กำลังตลอดครับ

 

:lol: :lol: :lol:

 

แหะๆ ผมขอแก้ตัวหน่อยครับ ว่าที่ผมเอามาลงไม่ใช่บทความของผม ก็อปเขามาทั้งนั้นครับ happy.gif

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไปก็อปที่คุณ Jimmy Siri หามาเอามาฝากครับ 555แล้วเมกามันจะรอดได้ไง

 

One In Seven Americans Is On Food Stamps

http://www.npr.org/b...-on-food-stamps

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นพี่ๆๆหน้าบอดคุยกันเอามาให้อ่านครับ

Carry Trade กับเสถียรภาพ ของระบบการเงินโลก

คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา โดย ณ พัฒน์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3874 (3074)

 

วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านนี้ การลงทุนข้ามประเทศแบบที่เรียกว่า carry trade ได้รับความสนใจและเป็นที่กล่าวถึงเป็นอย่างมาก ปริมาณเงินที่นำมาลงกับการลงทุนแบบนี้สูงขึ้นมากจนน่าตกใจ จนหลายๆ คนเริ่มเป็นห่วงว่า ถ้ามีเหตุที่ทำให้การลงทุนแบบนี้หยุดชะงัก หรือไหลย้อนกลับ จะทำให้เกิดเหตุวุ่นวายในตลาดการเงินโลก แบบที่เคยเกิดเมื่อปี 1998 จนทำให้กองทุนยักษ์ใหญ่แบบ LTCM ล้มครืนมาแล้ว

 

หากพูดแบบง่ายๆ carry trade ก็คือกลยุทธ์การลงทุนโดยการ "กู้ยืม" เงินสกุลที่มีดอกเบี้ยต่ำ แล้วนำไปลงทุนในเงินสกุลที่มีผลตอบแทนสูงกว่า

 

ตัวอย่างเช่น ขณะนี้ผลตอบแทนที่ได้จากเงินสกุลเยนญี่ปุ่นต่ำเกือบจะเป็นศูนย์ ในขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐ จ่ายผลตอบแทนประมาณร้อยละห้า ถ้านักลงทุนคนหนึ่งยืมเงินสกุลเยนเป็นจำนวนสิบเท่าของเงินทุนของตัวเอง ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 แล้วเอาไปลงทุนในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเพื่อกินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเยนกับดอลลาร์ไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย ระหว่างช่วงระยะเวลาการลงทุน นักลงทุนคนนี้จะได้รับกำไรจากการลงทุนร้อยละ 4.5 ของเงินที่นำไปลงทุนในสกุลดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่าลืมว่านักลงทุนคนนี้ ลงเงินตัวเองไปแค่หนึ่งในสิบของเงินก้อนนั้น เท่ากับว่าเขาได้รับผลตอบแทนถึงร้อยละ 45 จากเงินทุนของตัวเอง ! ไม่เลวทีเดียว

 

ยิ่งถ้าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน นักลงทุนคนนี้คงได้ฟันกำไรสองเด้ง ทั้งจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย และจากค่าเงินที่แข็งขึ้น

 

นักเรียนเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คงจะได้ร่ำเรียนกันมาว่า ถ้าการเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปได้อย่างเสรี และไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิต ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยของเงินสองสกุล จะเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ระหว่างเงินทั้งสองสกุลที่คาดไว้ก่อนที่การลงทุนจะเกิดขึ้น

 

เพราะฉะนั้น ระดับของอัตราดอกเบี้ยของเงินแต่ละสกุล ไม่น่าจะสำคัญ เพราะกลไกตลาดน่าจะปรับตัว จนกระทั่งส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย ได้รับการทดแทนจากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

 

เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยในประเทศ A สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศ B ตลาดน่าจะเชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ A ควรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับประเทศ B ไม่เช่นนั้นกลไกตลาดคงจะแสวงหากำไรโดยไปลงทุนในประเทศ B มากขึ้น และประเทศ A น้อยลง จนทำให้ส่วนต่างของระดับอัตราดอกเบี้ยเท่ากับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเอง

 

นักเศรษฐศาสตร์เรียกความเชื่อนี้ว่า uncovered interest parity (UIP) ครับ

 

แต่อย่าลืมนะครับว่า ความสัมพันธ์ที่ว่านี้มีอยู่แค่ใน expectation terms เท่านั้น ก็คือว่าเจ้าผลต่างของอัตราดอกเบี้ย จะเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่คาดการณ์ก่อนการลงทุนเท่านั้น และไม่ได้หมายความว่า ผลต่างของอัตราดอกเบี้ยจะเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อการลงทุนเกิดขึ้นจริงๆ

 

เป็นที่รู้กันดีครับว่า ถ้าเอาข้อมูลมาดูกันแล้ว เราพบว่าภายใต้ระยะเวลาการลงทุนต่ำกว่าหนึ่งปี ไม่มีความสัมพันธ์ที่ว่านี้หลังจากการลงทุน ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย นอกจากจะไม่ช่วยในการคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตแล้ว บางทียังชี้ไปในทางตรงกันข้ามกับที่ UIP อธิบายไว้อีกด้วย

 

ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่อันหนึ่งในวงการเศรษฐศาสตร์เลยครับ มีชื่อเรียกที่รู้จักกันดีว่า forward premium puzzle ครับ

 

กล่าวคือ ทฤษฎีทางการเงินบอกไว้ครับว่า ส่วนต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (forward rates) กับอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาปัจจุบัน (spot rates) จะเท่ากับส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย และทฤษฎีเศรษฐศาสตร์บอกต่อไปอีกว่า อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าน่าจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีในการทำนายอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต แต่พอมาดูข้อมูลเข้าจริงๆ แล้วพบว่ามันไม่ work เอาเสียเลย

 

ไม่ว่ามันจะไม่ work เพราะอะไร เราพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนที่รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และเลือกที่จะกู้เงินจากเงินสกุลที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า หรือเลือกที่จะลงทุนในเงินสกุลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการทำประกันความเสี่ยง หรือการเลือกลงทุนในเงินสกุลที่มีผลตอบแทนต่ำกว่า ทั้งๆ ที่ UIP บอกเราว่ามันไม่น่าจะได้กำไร เพราะอัตราแลกเปลี่ยนน่าจะปรับตัวไปเองจนทำให้ทั้งสองทางเลือกไม่ต่างกัน

 

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการทำอย่างนั้นจะได้กำไรตลอดไปนะครับ คงยังจำกันได้ ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในบ้านเราธนาคารและบริษัทหลายแห่งเลือกที่จะกู้เงินจากต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ เพียงเพราะว่าอัตราดอกเบี้ยนอกประเทศถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ซึ่งคนกู้เงินเหล่านั้นก็กำไรส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอยู่หลายปี...จนกระทั้งค่าเงินบาทล้มครืน ก็เจ็บกันไปอย่างที่รู้ครับ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนยังอยู่ครับ

 

แต่ตอนนี้ด้วยสภาพคล่องที่ล้นตลาด อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกต่ำลงเป็นอย่างมาก อัตราดอกเบี้ยเงินสกุลเยนญี่ปุ่น เหลือเกือบจะเท่ากับศูนย์ ขบวนการค้นหาขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า และสภาพตลาดการเงินโลก ที่ดีเกินจริงติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ทำให้ carry trade ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจาก hedge fund และกองทุนแบบอื่นๆ ที่ยอมรับความเสี่ยงจากการเก็งกำไรมากขึ้น

 

การเคลื่อนย้ายเงินทุนขนาดมหาศาลจากประเทศที่มีสภาพคล่องล้นระบบ อย่างญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ ไปสู่ประเทศที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าเงินของประเทศต้นทางอ่อนตัวลง และค่าเงินของประเทศปลายทางแข็งค่าขึ้น ยิ่งทำให้ carry trade ฟันกำไรได้มากขึ้น และทำให้เป็นที่นิยมมากขึ้นไปอีก

 

ประเทศเป้าหมายที่เป็นที่นิยมในการทำ carry trade ก็เช่น New Zealand (นิยมถึงขนาดที่มีการออกพันธบัตร ที่เรียกว่า Uridashi ซึ่งเป็นพันธบัตรที่ออกในประเทศญี่ปุ่น แต่เป็นพันธบัตรสกุลดอลลาร์ New Zealand เรียกว่าไปบริการกันถึงที่เลย), ไอซ์แลนด์, บราซิล, สหรัฐอเมริกา, และตลาดประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย รวมถึงประเทศไทยด้วย

 

นักวิเคราะห์บางคนบอกว่า เจ้า carry trade มีส่วนช่วยสร้างความบิดเบี้ยวให้กับตลาด และพยุงให้ global imbalances ให้อยู่รอดต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง ประเทศปลายทางของการทำ carry trade ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยพื้นฐานแล้วค่าเงินของประเทศเหล่านี้ควรจะอ่อนลงเพื่อปรับดุลบัญชีเดินสะพัดให้สมดุล และประเทศต้นทางส่วนใหญ่ก็เป็นประเทศที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งไม่ต้องการให้ค่าเงินอ่อนเท่าไรนัก

 

แต่ความนิยมของ carry trade ทำให้ค่าเงินของประเทศต้นทางอ่อนลง ในขณะที่ค่าเงินของประเทศปลายทางแข็งค่าขึ้น จนเป็นที่ปวดหัวของผู้กำหนดนโยบายประเทศเหล่านี้อย่างยิ่ง

 

นอกจากนี้ ผู้ฝากเงินในญี่ปุ่นที่ทนรับสภาพดอกเบี้ยต่ำติดดินมานานหลายปี เริ่มเคลื่อนย้ายเงินทุนของตัวเองออกไปต่างประเทศ ผ่านทาง pension fund และ mutual fund ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้ค่าเงินญี่ปุ่นอ่อนปวกเปียก และการลงทุนแบบนี้มีกำไรมากขึ้น

 

แม้ว่าจะไม่มีใครรู้แน่ๆ ว่า carry trade มีปริมาณเยอะขนาดไหน เพราะ carry trade สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ แต่ก็เชื่อกันว่ามีมากพอที่จะทำให้ระบบตลาดการเงินโลกระส่ำระสายได้ หากมีเหตุการณ์ที่ทำให้สถานการณ์ส่งเสริมให้เกิด carry trade เปลี่ยนไป

 

คงยังจำกันได้ เมื่อปี 1998 หลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย รัฐบาลรัสเซียประกาศ default พันธบัตรของตัวเอง ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องในระบบการเงิน คนที่กู้เงินสกุลเยนญี่ปุ่นและนำไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ถูกบีบให้จ่ายคืนเงินกู้ จนทำให้เงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นกว่าร้อยละสิบในเวลาไม่กี่วัน ทำเอาคนที่ทำ yen carry trade เจ๊งกันระนาว ยิ่งทำให้สภาพคล่องในตลาดการเงินโลกเหือดแห้ง จนทำเอากองทุนยักษ์ใหญ่อย่าง LTCM ล้มครืน จน Federal Reserves ต้องเข้ามาช่วยระดมกำลังแก้ไขปัญหา ก่อนจะลุกลามใหญ่โตไปมากกว่านั้น

 

ส่วนรอบนี้ carry trade จะอยู่ไปได้นานแค่ไหนคงต้องรอดูกันครับ มีปัจจัยหลายอย่างที่หลายๆ คนพูดกันว่าอาจจะทำให้ carry trade หยุดชะงักได้ เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยในประเทศต้นทางสูงขึ้น (เช่น ถ้ามีแรงกดดันเงินเฟ้อ จนนักลงทุนเริ่มคาดกันว่า ธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ย แบบที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว) หรือถ้าค่าเงินญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นแบบรวดเร็ว จนทำให้นักลงทุนขาดทุนการทำ carry trade นอกจากหากเกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ ในประเทศเป้าหมายของ carry trade จนทำให้นักลงทุนเริ่มเปลี่ยนทัศนคติต่อความเสี่ยงในการลงทุนในประเทศเหล่านี้ ก็อาจจะทำให้การเคลื่อนย้ายทุนประเภทนี้หยุดชะงักหรือไหลย้อนกลับได้

 

ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ ก็น่าคิดครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะโลกการเงินปัจจุบัน ซึ่งกระแสโลกาภิวัตน์ ได้พานักลงทุนนานาชาติ เข้าไปตลาดการเงินภายในประเทศเกือบจะทุกประเทศทั่วโลก ถ้าทุนเหล่านี้ไหลย้อนกลับพร้อมๆ กัน คงมีคนเจ็บเยอะกว่าสมัยก่อน ที่การลงทุนกับประเทศกำลังพัฒนา ถูกจำกัดอยู่แค่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกในต่างประเทศแน่ๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเน็กซ์คะ... เมื่อคืนนอนหลับแล้วฝันร้าย !!!

 

ฝันว่าน้องทองขึ้น 1650 $ ... แต่เงินบาทแข็ง (แบบแข็งปั๋งงง...)

 

แล้วจะเป็นยังงัยต่อคะ... !_09 คือกลัวโอกาสมันจะไปได้ไม่ไกล... !034

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ ก็น่าคิดครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะโลกการเงินปัจจุบัน ซึ่งกระแสโลกาภิวัตน์ ได้พานักลงทุนนานาชาติ เข้าไปตลาดการเงินภายในประเทศเกือบจะทุกประเทศทั่วโลก ถ้าทุนเหล่านี้ไหลย้อนกลับพร้อมๆ กัน คงมีคนเจ็บเยอะกว่าสมัยก่อน ที่การลงทุนกับประเทศกำลังพัฒนา ถูกจำกัดอยู่แค่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกในต่างประเทศแน่ๆ

 

เห็นด้วยๆครับ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ+1

ถูกแก้ไข โดย AunTonio

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มูดี้ส์ ลดเครดิตหนี้ของไอร์แลนด์ ลง 5 ระดับ จาก Aa2 ลงเหลือ Baa1

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 ธันวาคม 2553 00:12 น.

 

 

 

 

 

มูดี้ส์ ลดอันดับเครดิตพันธบัตรรัฐบาลของไอร์แลนด์ ลง 5 ระดับ จาก Aa2 ลงเหลือ Baa1หลังจากที่รัฐสภาของไอร์แลนด์ยอมรับแผนกู้วิกฤติหนี้หลายพันล้านยูโร มูดี้ส์ระบุว่ามีมุมมองเชิงลบ จากการที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับความแข็งแกร่งทางฐานะการเงินของรัฐบาลจะลดลงมาก ถ้าการเติบโตทางเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้

การลดเครดิตส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นจาก 8.279% เป็น 8.334%

ไอร์แลนด์ได้ยอมรับแผนกอบกู้วิกฤติ 8.5 หมื่นล้านยูโร หรือ 1.13 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากสหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟ เพื่อแก้ปัญหาหนี้และการขาดดุลบัญชีของรัฐ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นพี่ๆๆหน้าบอดคุยกันเอามาให้อ่านครับ

Carry Trade กับเสถียรภาพ ของระบบการเงินโลก

คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา โดย ณ พัฒน์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3874 (3074)

 

วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านนี้ การลงทุนข้ามประเทศแบบที่เรียกว่า carry trade ได้รับความสนใจและเป็นที่กล่าวถึงเป็นอย่างมาก ปริมาณเงินที่นำมาลงกับการลงทุนแบบนี้สูงขึ้นมากจนน่าตกใจ จนหลายๆ คนเริ่มเป็นห่วงว่า ถ้ามีเหตุที่ทำให้การลงทุนแบบนี้หยุดชะงัก หรือไหลย้อนกลับ จะทำให้เกิดเหตุวุ่นวายในตลาดการเงินโลก แบบที่เคยเกิดเมื่อปี 1998 จนทำให้กองทุนยักษ์ใหญ่แบบ LTCM ล้มครืนมาแล้ว

 

หากพูดแบบง่ายๆ carry trade ก็คือกลยุทธ์การลงทุนโดยการ "กู้ยืม" เงินสกุลที่มีดอกเบี้ยต่ำ แล้วนำไปลงทุนในเงินสกุลที่มีผลตอบแทนสูงกว่า

 

ตัวอย่างเช่น ขณะนี้ผลตอบแทนที่ได้จากเงินสกุลเยนญี่ปุ่นต่ำเกือบจะเป็นศูนย์ ในขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐ จ่ายผลตอบแทนประมาณร้อยละห้า ถ้านักลงทุนคนหนึ่งยืมเงินสกุลเยนเป็นจำนวนสิบเท่าของเงินทุนของตัวเอง ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 แล้วเอาไปลงทุนในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเพื่อกินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเยนกับดอลลาร์ไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย ระหว่างช่วงระยะเวลาการลงทุน นักลงทุนคนนี้จะได้รับกำไรจากการลงทุนร้อยละ 4.5 ของเงินที่นำไปลงทุนในสกุลดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่าลืมว่านักลงทุนคนนี้ ลงเงินตัวเองไปแค่หนึ่งในสิบของเงินก้อนนั้น เท่ากับว่าเขาได้รับผลตอบแทนถึงร้อยละ 45 จากเงินทุนของตัวเอง ! ไม่เลวทีเดียว

 

ยิ่งถ้าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน นักลงทุนคนนี้คงได้ฟันกำไรสองเด้ง ทั้งจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย และจากค่าเงินที่แข็งขึ้น

 

นักเรียนเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คงจะได้ร่ำเรียนกันมาว่า ถ้าการเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปได้อย่างเสรี และไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิต ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยของเงินสองสกุล จะเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ระหว่างเงินทั้งสองสกุลที่คาดไว้ก่อนที่การลงทุนจะเกิดขึ้น

 

เพราะฉะนั้น ระดับของอัตราดอกเบี้ยของเงินแต่ละสกุล ไม่น่าจะสำคัญ เพราะกลไกตลาดน่าจะปรับตัว จนกระทั่งส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย ได้รับการทดแทนจากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

 

เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยในประเทศ A สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศ B ตลาดน่าจะเชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ A ควรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับประเทศ B ไม่เช่นนั้นกลไกตลาดคงจะแสวงหากำไรโดยไปลงทุนในประเทศ B มากขึ้น และประเทศ A น้อยลง จนทำให้ส่วนต่างของระดับอัตราดอกเบี้ยเท่ากับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเอง

 

นักเศรษฐศาสตร์เรียกความเชื่อนี้ว่า uncovered interest parity (UIP) ครับ

 

แต่อย่าลืมนะครับว่า ความสัมพันธ์ที่ว่านี้มีอยู่แค่ใน expectation terms เท่านั้น ก็คือว่าเจ้าผลต่างของอัตราดอกเบี้ย จะเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่คาดการณ์ก่อนการลงทุนเท่านั้น และไม่ได้หมายความว่า ผลต่างของอัตราดอกเบี้ยจะเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อการลงทุนเกิดขึ้นจริงๆ

 

เป็นที่รู้กันดีครับว่า ถ้าเอาข้อมูลมาดูกันแล้ว เราพบว่าภายใต้ระยะเวลาการลงทุนต่ำกว่าหนึ่งปี ไม่มีความสัมพันธ์ที่ว่านี้หลังจากการลงทุน ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย นอกจากจะไม่ช่วยในการคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตแล้ว บางทียังชี้ไปในทางตรงกันข้ามกับที่ UIP อธิบายไว้อีกด้วย

 

ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่อันหนึ่งในวงการเศรษฐศาสตร์เลยครับ มีชื่อเรียกที่รู้จักกันดีว่า forward premium puzzle ครับ

 

กล่าวคือ ทฤษฎีทางการเงินบอกไว้ครับว่า ส่วนต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (forward rates) กับอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาปัจจุบัน (spot rates) จะเท่ากับส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย และทฤษฎีเศรษฐศาสตร์บอกต่อไปอีกว่า อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าน่าจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีในการทำนายอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต แต่พอมาดูข้อมูลเข้าจริงๆ แล้วพบว่ามันไม่ work เอาเสียเลย

 

ไม่ว่ามันจะไม่ work เพราะอะไร เราพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนที่รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และเลือกที่จะกู้เงินจากเงินสกุลที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า หรือเลือกที่จะลงทุนในเงินสกุลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการทำประกันความเสี่ยง หรือการเลือกลงทุนในเงินสกุลที่มีผลตอบแทนต่ำกว่า ทั้งๆ ที่ UIP บอกเราว่ามันไม่น่าจะได้กำไร เพราะอัตราแลกเปลี่ยนน่าจะปรับตัวไปเองจนทำให้ทั้งสองทางเลือกไม่ต่างกัน

 

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการทำอย่างนั้นจะได้กำไรตลอดไปนะครับ คงยังจำกันได้ ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในบ้านเราธนาคารและบริษัทหลายแห่งเลือกที่จะกู้เงินจากต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ เพียงเพราะว่าอัตราดอกเบี้ยนอกประเทศถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ซึ่งคนกู้เงินเหล่านั้นก็กำไรส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอยู่หลายปี...จนกระทั้งค่าเงินบาทล้มครืน ก็เจ็บกันไปอย่างที่รู้ครับ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนยังอยู่ครับ

 

แต่ตอนนี้ด้วยสภาพคล่องที่ล้นตลาด อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกต่ำลงเป็นอย่างมาก อัตราดอกเบี้ยเงินสกุลเยนญี่ปุ่น เหลือเกือบจะเท่ากับศูนย์ ขบวนการค้นหาขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า และสภาพตลาดการเงินโลก ที่ดีเกินจริงติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ทำให้ carry trade ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจาก hedge fund และกองทุนแบบอื่นๆ ที่ยอมรับความเสี่ยงจากการเก็งกำไรมากขึ้น

 

การเคลื่อนย้ายเงินทุนขนาดมหาศาลจากประเทศที่มีสภาพคล่องล้นระบบ อย่างญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ ไปสู่ประเทศที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าเงินของประเทศต้นทางอ่อนตัวลง และค่าเงินของประเทศปลายทางแข็งค่าขึ้น ยิ่งทำให้ carry trade ฟันกำไรได้มากขึ้น และทำให้เป็นที่นิยมมากขึ้นไปอีก

 

ประเทศเป้าหมายที่เป็นที่นิยมในการทำ carry trade ก็เช่น New Zealand (นิยมถึงขนาดที่มีการออกพันธบัตร ที่เรียกว่า Uridashi ซึ่งเป็นพันธบัตรที่ออกในประเทศญี่ปุ่น แต่เป็นพันธบัตรสกุลดอลลาร์ New Zealand เรียกว่าไปบริการกันถึงที่เลย), ไอซ์แลนด์, บราซิล, สหรัฐอเมริกา, และตลาดประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย รวมถึงประเทศไทยด้วย

 

นักวิเคราะห์บางคนบอกว่า เจ้า carry trade มีส่วนช่วยสร้างความบิดเบี้ยวให้กับตลาด และพยุงให้ global imbalances ให้อยู่รอดต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง ประเทศปลายทางของการทำ carry trade ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยพื้นฐานแล้วค่าเงินของประเทศเหล่านี้ควรจะอ่อนลงเพื่อปรับดุลบัญชีเดินสะพัดให้สมดุล และประเทศต้นทางส่วนใหญ่ก็เป็นประเทศที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งไม่ต้องการให้ค่าเงินอ่อนเท่าไรนัก

 

แต่ความนิยมของ carry trade ทำให้ค่าเงินของประเทศต้นทางอ่อนลง ในขณะที่ค่าเงินของประเทศปลายทางแข็งค่าขึ้น จนเป็นที่ปวดหัวของผู้กำหนดนโยบายประเทศเหล่านี้อย่างยิ่ง

 

นอกจากนี้ ผู้ฝากเงินในญี่ปุ่นที่ทนรับสภาพดอกเบี้ยต่ำติดดินมานานหลายปี เริ่มเคลื่อนย้ายเงินทุนของตัวเองออกไปต่างประเทศ ผ่านทาง pension fund และ mutual fund ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้ค่าเงินญี่ปุ่นอ่อนปวกเปียก และการลงทุนแบบนี้มีกำไรมากขึ้น

 

แม้ว่าจะไม่มีใครรู้แน่ๆ ว่า carry trade มีปริมาณเยอะขนาดไหน เพราะ carry trade สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ แต่ก็เชื่อกันว่ามีมากพอที่จะทำให้ระบบตลาดการเงินโลกระส่ำระสายได้ หากมีเหตุการณ์ที่ทำให้สถานการณ์ส่งเสริมให้เกิด carry trade เปลี่ยนไป

 

คงยังจำกันได้ เมื่อปี 1998 หลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย รัฐบาลรัสเซียประกาศ default พันธบัตรของตัวเอง ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องในระบบการเงิน คนที่กู้เงินสกุลเยนญี่ปุ่นและนำไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ถูกบีบให้จ่ายคืนเงินกู้ จนทำให้เงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นกว่าร้อยละสิบในเวลาไม่กี่วัน ทำเอาคนที่ทำ yen carry trade เจ๊งกันระนาว ยิ่งทำให้สภาพคล่องในตลาดการเงินโลกเหือดแห้ง จนทำเอากองทุนยักษ์ใหญ่อย่าง LTCM ล้มครืน จน Federal Reserves ต้องเข้ามาช่วยระดมกำลังแก้ไขปัญหา ก่อนจะลุกลามใหญ่โตไปมากกว่านั้น

 

ส่วนรอบนี้ carry trade จะอยู่ไปได้นานแค่ไหนคงต้องรอดูกันครับ มีปัจจัยหลายอย่างที่หลายๆ คนพูดกันว่าอาจจะทำให้ carry trade หยุดชะงักได้ เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยในประเทศต้นทางสูงขึ้น (เช่น ถ้ามีแรงกดดันเงินเฟ้อ จนนักลงทุนเริ่มคาดกันว่า ธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ย แบบที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว) หรือถ้าค่าเงินญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นแบบรวดเร็ว จนทำให้นักลงทุนขาดทุนการทำ carry trade นอกจากหากเกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ ในประเทศเป้าหมายของ carry trade จนทำให้นักลงทุนเริ่มเปลี่ยนทัศนคติต่อความเสี่ยงในการลงทุนในประเทศเหล่านี้ ก็อาจจะทำให้การเคลื่อนย้ายทุนประเภทนี้หยุดชะงักหรือไหลย้อนกลับได้

 

ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ ก็น่าคิดครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะโลกการเงินปัจจุบัน ซึ่งกระแสโลกาภิวัตน์ ได้พานักลงทุนนานาชาติ เข้าไปตลาดการเงินภายในประเทศเกือบจะทุกประเทศทั่วโลก ถ้าทุนเหล่านี้ไหลย้อนกลับพร้อมๆ กัน คงมีคนเจ็บเยอะกว่าสมัยก่อน ที่การลงทุนกับประเทศกำลังพัฒนา ถูกจำกัดอยู่แค่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกในต่างประเทศแน่ๆ

ขอบคุณสำหรับข่าวคะ ติดตามต่อปาย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:wub: :wub: วันนี้แท่งที่ราคา 19690 สอยมาอีกแท่งแล้วนะคุณ NEXT. !La !La คิดถูกไหมคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของธนาคารพาณิชย์สหรัฐที่กำลังเข้าสู่สภาวะล้มละลาย ขยับขึ้นมาเป็น 920 แห่ง

 

Calculated Risk: Unofficial Problem Bank list increases to 920 Institutions

 

www.calculatedriskblog.com

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของธนาคารพาณิชย์สหรัฐที่กำลังเข้าสู่สภาวะล้มละลาย ขยับขึ้นมาเป็น 920 แห่ง

 

ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นดูแล้วน่าจะมีความเร่งเพิ่มขึ้นเยอะครับ อัตราเร่งมากขนาดนี้มหาวิกฤตครั้งนี้คงอีกไม่นานแล้ว ข่าววันที่22 สิงหาคม ที่ผมเคยเอามาลงปิดอย่างเป็นทางการ126แห่ง ปี2552ปิดไปแล้ว230แห่ง มีการคาดการณ์ว่าปี2553จะเป็นปีที่ธนาคารล้มละลายมากที่สุด

 

สหรัฐฯ สั่งปิดอีก 8 แบงก์ กองทุนประกันเงินฝากรับภาระ 474 ล้านเหรียญ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2553 18:09 น.

 

 

 

 

 

 

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

 

 

 

ปีนี้ สหรัฐฯสั่งปิดธนาคารไปแล้วรวม 118 แห่ง เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศปิดอีก 8 แบงก์ โดยสั่งปิด "ชอร์แบงก์" ชิคาโก เป็นแบงก์ใหญ่สุดตั้งแต่เคยสั่งปิดมาด้วยทรัพย์สินกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ฯกับอีก 7 แบงก์ รวมภาระประกันเงินฝาก 474 ล้านดอลลาร์ฯเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สถาบันประกันเงินฝากของสหรัฐ หรือเอฟดีไอซี ได้สั่งปิดและเข้าเทคโอเวอร์ ชอร์แบงก์ ในชิคาโก ที่มีทรัพย์สิน 2.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีเงินฝาก 1.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เอฟดีไอซีมีภาระเข้ารับประกันเงินฝาก ในธนาคารแห่งนี้ จำนวน 367.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยชอร์แบงก์ มีผลประกอบการไตรมาส 2 ที่ผ่านมาขาดทุน 39.5 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ สาเหตุหลักจากสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกสั่งปิด จากก่อนหน้านี้ธนาคารใหญ่ที่สุดที่ถูกสั่งปิดคือ โฮมเนชันแนล แบงก์ ออฟ แบล็กเวลล์ โอกลาโฮมา มีสินทรัพย์ 644.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นภาระต่อกองทุนประกันเงินฝาก 159.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

นอกจากนี้ เอฟดีไอซี ยังได้สั่งปิดอีก 7 ธนาคาร ส่งผลให้ยอดรวมธนาคารในสหรัฐที่ถูกสั่งปิดเพราะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้อยู่ที่ 118 แห่งแล้ว โดยอีก 7 ธนาคารประกอบด้วย

 

ลอสปาเดรสแบงก์ ทรัพย์สิน 870.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 8.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

บัตต์คอมมูนิตี้แบงก์ ทรัพย์สิน 498.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 17.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

โซโนมาวัลเล่ย์แบงก์ ทรัพย์สิน 337.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 10.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

แปซิฟิคสเตทแบงก์ ทรัพย์สิน 312.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 32.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อินดีเพนเดนท์ แนชั่นแนลแบงก์ ออฟ โอคาล่า ทรัพย์สิน 156.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 23.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คอมมูนิตี้แนชั่นแนลแบงก์ แอท บาร์โทว์ ทรัพย์สิน 67.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 10.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อิมพีเรียลเซฟวิ่งแอนด์โลน ออฟ มาร์ตินสวิลล์ ทรัพย์สิน 9.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

รวมภาระกองทุนประกันเงินฝากในการสั่งปิดธนาคารทั้ง 8 แห่งครั้งนี้ เท่ากับ 473.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ได้สั่งปิดธนาคารราเวนสวู้ดในชิคาโก ที่มียอดเงินฝาก 269.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินเชื่อรวม 211 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และทำให้ เอฟดีไอซีมีภาระเข้ารับประกันเงินฝากในธนาคารแห่งนี้จำนวน 68.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เอฟดีไอซีประมาณการณ์ว่าในปี 2553 จะเป็นปีที่ธนาคารล้มละลายมากที่สุด หลังจากถูกปิดไปแล้ว 230 แห่งนับตั้งแต่ปี 2552 ผลักดันให้กองทุนประกันเงินฝากขาดดุลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 ทั้งนี้ รัฐจอร์เจีย, อิลลินอยส์, และฟลอริดาเป็นรัฐที่รับ ผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตธนาคารที่เกิดขึ้น

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

25 อาการที่ส่อว่าเศรษฐกิจเมกาจะล้มเร็วกว่าที่คิด

1 คนเมกาตกงานมากกว่า 9 % ตั้งแต่ เมย. 2009

2 จำนวนบ้านว่างรอขายและเช่ามีถึง 6.3 ล้านหลัง

3 ปี 2010 เมกาจะขาดดุลย์จีนถึง 270 billion dollars

4 ปี2000 ผู้ใช้แรงงานตกงาน 7.2% ปัจจุบัน 19.5

5 จีนสะสมเงินจากการได้ดุลย์การค้าทั่วโลก 2.65 trillion โดยไม่ได้ลงทุนกลับคืน ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ทางการเงินของโลก

6 งานสำหรับคนชั้นกลางเหลือ 65 ล้านตำแหน่ง จาก 72ล้านในปี2000

7 ปริมาณการจ้างงานมีเท่ากับปี 1940 (ประชากร132ล้านคน)ปัจจุบัน 300 ล้านคน

8 ราคาบ้านลดลงติดต่อกัน 3 เดือน

9 ไปอ่านต่อเอาเองนะครับ ขี้เกียจแปลแล้ว(อิอิ ผมแปลไม่ออก 555)

 

http://www.pakalertp...oser-then-ever/

ถูกแก้ไข โดย MOR LEK

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:) :) ขอบพระคุณ ^_^ คุณเน็กซ์ คุณหมอเล็ก คุณส้มโอมือ

และทุกท่านมาร่วมกันที่แบ่งปันข้อมูลค่ะ :wub: :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...