ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

ปวดหลัง

โพสต์แนะนำ

การป้องกันโรคปวดหลัง

 

1112994.jpg

 

 

การป้องกันโรคปวดหลังดีที่สุดคือการออกกำลังกายและป้องกันหลังมิให้ได้รับอุบัติเหตุ

 

1. บริหารร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง เพราะเราไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การออกกำลังจะต้องค่อยสร้างความแข็งแรงทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง และจะต้องให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีไม่มีข้อติด การออกกำลังอาจจะทำได้โดยการเดิน การขี่จักรยาน การว่ายน้ำจะทำให้หลังแข็งแรง

2. รักษาน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมไม่ให้อ้วนโดยการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ออกกำลังแบบ aerobic เช่นการวิ่ง ขี่จักรยาน

3. การนั่งหรือยืนให้ถูกท่า เพราะการนั่งหรือการยืนที่ผิดท่าจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง

 

* การยืนควรจะยืนตัวตรงหลังไม่โก่งหรือคด แนวติ่งหู ไหล่และข้อสะโพกควรเป็นแนวเส้นตรง ไม่ควรยืนนานเกินไปไม่ควรใส่รองเท้าที่มีส้นควรจะมีเบาะรองฝ่าเท้า หากต้องยืนนานควรมีที่พักเพื่อสลับเท้าพัก

* การนั่งจะเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อกระดูกหลังมากที่สุด ควรจะพนักพิงหลังบริเวณเอว ควรจะเป็นเก้าอี้ที่หมุนได้เพื่อป้องกันการบิดของเอว มีที่พักของแขนขณะที่นั่งพักหัวเข่าควรอยู่สูงกว่าระดับข้อสะโพกเล็กน้อย ควรมีเบาะรองเท้า ควรจะมีหมอนเล็กๆรองบริเวณเอว ควรเลือกเก้าอี้ที่ถูกต้อง

* การขับรถโดยเฉพาะการขับรถทางไกล ควรเลื่อนเบาะนั่งให้ใกล้เพื่อป้องกันการงอหลัง หลังส่วนล่างควรจะพิงกับเบาะ เบาะไม่ควรเอียงเกิน 30 องศา เบาะนั่งควรจะยกด้านหน้าให้สูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย หากขับรถทางไกลควรจะพักเดินทุกชั่วโมง และไม่ควรยกของหนักทันทีหลังหยุดขับ

* การนอน ที่นอนไม่ควรจะนุ่มหรือแข็งเกินไป ควรจะวางไม้หนา 1/4 นิ้วระหว่างสปริงและฟูกท่าที่ดีคือให้นอนตะแคงและก่ายหมอนข้าง หรือนอนหงายโดยมีหมอนรองที่ข้อเข่า ไม่ควรนอนหงายโดยที่ไม่มีหมอนหนุน หรือนอนตะแคงโดยไม่มีหมอนข้างหรือนอนคว่ำ

* การนั่งที่ถูกต้อง ต้องนั่งให้หลังตรงหลังพิงพนักเก้าอี้ เก้าอี้ต้องไม่สูงเกินไป ระดับเข่าควรจะอยู่สูงกว่าระดับสะโพก อาจจะหาเก้าอี้เล็กรองเท้าเวลานั่ง

* การยืนนานๆ ควรจะมีเก้าอี้หรือโต๊ะเล็กไว้วางเท้าข้างหนึ่ง

 

sitting.jpg

* นั่งหลังตรงและมีพนักพิงที่หลัง

* หาหมอนหรือผ้ารองบริเวณเอว

* ให้ยืนยืดเส้นทุก 20-30 นาที

 

standing.jpg

* อย่ายืนหลังค่อม

* ให้ยืนยืดไหล่อย่าห่อ ไหล่เพราะจะเมื่อยคอ

* อย่าใส่รองเท้าที่ส้นสูงมาก

 

 

lifting.jpg

 

- ให้เลือกวิธีอื่นเช่น การผักหรือดัน

- ถ้าหนักไปอย่ายก ให้หาคนช่วย

- เวลาจะยกให้เดินเข้าใกล้สิ่งที่จะยก

- ย่อเขาลงแล้วจับแล้วยืนขึ้น

- ไม่ก้มหลังไปยก

ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคปวดหลัง

1. หลีกเลี่ยงจากการงอเอว ให้งอข้อสะโพกและเข่าร่วมด้วย

2. หลีกเลี่ยงจากการยกของหนักโดยเฉพาะที่อยู่เกินเอว

3. หันหน้าเข้าสิ่งของทุกครั้งที่จะยกของ

4. ถือของหนักชิดตัว

5. ไม่ยกหรือพลักของที่หนักเกินตัว

6. หลีกเลี่ยงการยกของที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน

7. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว

8. เปลี่ยนท่าบ่อยๆ

9. การถูพื้น ดูดฝุ่น การขุดดิน ควรจะถือเครื่องมือไว้ใกล้ตัว ไม่ก้าวยาวๆหรือเอื้อมมือหยิบของ

10. ให้นั่งสวมถุงเท้า รองเท้า ไม่ยืนเท้าข้างเดียวสวมรองเท้าหรือถุงเท้า

11. ใช้รองเท้าส้นเตี้ย

12. หลีกเลี่ยงการแอ่นหรืองอหลัง เช่นการแอ่นหลังไปข้างหลังหรือก้มเอานิ้วมือจรดพื้น

13. เมื่อจะไอหรือจามให้กระชับหลังและงอหัวเข่า

14. เวลาปูเตียงให้คุกเข่า

การรักษา

 

เป็นการยากสำหรับผู้ป่วยที่จะประเมินว่าอาการปวดหลังเกิดจากกล้ามเนื้อหรือ เกิดจากโรคอื่น แต่มีข้อแนะนำว่าควรจะพบกับแพทย์หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย

 

* ปัสสาวะลำบาก

* มีอาการชาบริเวณหลังหรือบริเวณอวัยวะเพศ

* มีอาการชาและอ่อนแรงขาข้างหนึ่ง

* มีอาการปวดแปล๊บที่ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

* เดินเซ

 

http://www.siamhealth.net/public_html/Health/good_health_living/LBP/index.htm

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่าบริหาร แก้อาการปวดหลัง

 

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=KA8LD5ek2i8&feature=related

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอ้ย ปวดหลังจัง

 

5288.jpg

 

อาการปวดหลังเกิดได้บ่อยมากไม่น้อยกว่าปวดหัว พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ใช้แรงงานในประเทศอุตสาหกรรม จะต้องเคยปวดหลังอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหรือมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดกับกลุ่มคนวัยทำงานและผู้สูงวัยตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป ที่น่าเป็นห่วงคือนับวันแนวโน้มจะมีผู้ปวดหลังเพิ่มมากขึ้น และจากการรักษาผู้ป่วยมานาน พบว่าอาการปวดหลังมีสาเหตุมากมาย

 

* อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับหลัง

* สาเหตุจากการทำงาน การยกของหนัก

* นั่งทำงานใช้คอมพิวเตอร์วันละหลายชั่วโมงทำให้ปวดหลัง และปวดคอได้ด้วย

* จากการเล่นกีฬา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก หมอนรองกระดูกสันหลัง จนปวดหลัง

* สาเหตุจากโรคต่าง ๆ เช่น การอักเสบของข้อต่อ กระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม

* สาเหตุจากพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับอวัยวะข้างเคียงกับกระดูกสันหลัง เช่น ไต ตับ ตับอ่อน ลำไส้ อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง

* การติดเชื้อ อย่างเช่นวัณโรคกระดูกสันหลัง

* ในผู้สูงวัย อาจมาจากกระดูกเปราะบาง กระดูกหักยุบ

* หมอนรองกระดูกสันหลังเลื่อนเคลื่อนกดทับรากประสาทสันหลัง

* และที่ร้ายสุด คือเนื้องอกหรือมะเร็งกระดูกสันหลัง

 

อาการปวดหลังที่พบบ่อย

 

มีตัวอย่างผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยอาการ ปวดหลัง หรือมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของคุณไม่น้อย ลองฟังดู

ผู้ชายอายุ 35 ปี ก้มยกของหนัก เกิดเสียงดังที่หลังแล้วมีอาการปวดหลังเสียวร้าวลงขา เดินไม่ถนัด ขาชาและอ่อนแรง เป็นอะไรได้บ้าง

 

* ผู้ที่ทำงานก้มยกของ หนัก ไม่ระมัดระวังจะมีการเลื่อน หรือการแตกของหมอนรองกระดูกสันหลัง เนื้อหมอนรองกระดูกจะเคลื่อนเข้าไปในท่อไขสันหลัง แล้วกดทับรากประสาทสันหลัง ทำให้ปวดร้าวลงขา น่อง เท้าข้างนั้น พยาธิสภาพเช่นนี้มักเกิดที่กระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว ที่ข้อต่อกระดูกสันหลังระดับ L4-L5,L5-S1 ต้องวิเคราะห์แยกโรคว่าไม่ใช่เกิดจากภาวะการติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เนื้องอกกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังหักยุบ ซึ่งจะมีอาการคล้ายกันได้ การตรวจร่างกายอย่างละเอียด และเอ็กซเรย์ หรืออาจต้องทำการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก(MRI)จะวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง

 

วัยรุ่นชายอายุ 17-20 ปี หรืออาจมากกว่านี้ มีอาการปวดหลังและหลังค่อย ๆ ค่อมลง เป็นโรคอะไร

* อาจเป็นโรครูมาติสซั่มชนิด หนึ่ง ทางการแพทย์เรียกว่า Ankylosing Spondylitis พบมากในวัยรุ่นเพศชาย เมื่อเกิดโรคนี้จะมีอาการอักเสบที่ข้อต่อกระดูกซี่โครงกับกระดูกสันหลังส่วน หน้า ข้อกระดูกเชิงกราน ข้อกระดูกสันหลังทั้งด้านหน้าและหลัง ระยะแรก ๆ ของโรคจะมีอาการปวดหลัง บางรายโรคลุกลามถึงข้อสะโพกจนทำให้ข้อสะโพกแข็งได้ และเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายคอจะงอเงยไม่ขึ้น หลังโก่งงอ ตัวแข็ง หายใจได้ไม่เต็มที่ และแทบไม่มีอาการปวดหลังให้ปรากฏเลย กระดูกสันหลังจะแข็งหมดตั้งแต่กระดูกคอถึงกระดูกบั้นเอว

 

หญิงวัย 65 ปี รูปร่างท้วม มีอาการปวดหลัง เมื่อลุกเดินไปได้ 50-100 เมตรจะมีอาการปวดหลังร้าวลงสะโพกไปจนถึงน่องจนต้องหยุดพัก เมื่ออาการดีขึ้นแล้วลุกเดินต่อก็จะเป็นอีก แต่เมื่อหยุดพักจะหาย เป็นอาการที่สลับกันเรื่อย ๆ เกิดจากอะไร

* เกิดจากข้อต่อ กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อหลวม ไม่มั่นคง และเกิดการเลื่อนของกระดูกสันหลังปล่องหนึ่ง(โดยเฉพาะที่ระดับ L4-L5)ไปทางด้านหน้า ทำให้ช่องไขสันหลังตีบแคบ ประสาทสันหลังถูกบีบรัด จึงทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงไปทางด้านหลังสะโพก โคนขา น่อง หรืออาจปวดถึงปลายเท้า โรคที่พบบ่อยคือ degenerative spondylolisthesis อาการเช่นนี้อาจเกิดในผู้ที่มีอายุน้อยกว่านี้ได้ แต่พยาธิสภาพของโรคไม่เหมือนกัน กล่าวคือส่วนหลังของกระดูกสันหลังเกิดแยก ทำให้ส่วนหน้าของกระดูกเลื่อนไปทางด้านหน้า เป็นผลให้ท่อไขสันหลังตีบและเกิดการกดรัดประสาทสันหลังได้

 

วัณโรคกระดูกสันหลัง เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการเป็นอย่างไร

 

* เกิดจากเชื้อวัณโรคชนิดเดียวกับที่ทำให้เป็นวัณโรคปอด หรือที่ต่อมน้ำเหลือง ต่อมาเชื้อแพร่กระจายไปที่กระดูก โดยเฉพาะกระดูกสันหลังทางระบบท่อน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดดำ เข้าสู่ส่วนหน้าของกระดูกสันหลังส่วนที่อยู่ติดกับหมอนรองกระดูกสันหลัง แล้วเข้าไปทำลายกระดูกและหมอนรองกระดูก เมื่อถูกทำลายมากเข้าจะทำให้กระดูกยุบตัว หลังโก่งงอ มีหนองหรือเศษกระดูก หมอนรองกระดูกเลื่อน และเมื่อเข้าสู่ช่องไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลัง จนทำให้เป็นอัมพาตที่ขา แต่ถ้าเป็นวัณโรคที่กระดูกและเกิดมีพยาธิสภาพเช่นเดียวกันก็จะทำให้เกิด อัมพาตที่แขนได้

 

ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคกระดูก มักเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือความต้านทานของร่างกายต่ำ ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหารที่ร่างกายต้องการ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขอนามัย หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มาก ๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นวัณโรคกระดูก โดยเฉพาะกระดูกสันหลังได้มาก แม้ในปัจจุบันจะมียารักษาวัณโรคให้หายขาดได้ แต่ในกรณีที่เป็นจนถึงขั้นอัมพาตต้องผ่าตัดรักษา ซึ่งนอกจากจะช่วยชีวิตแล้วยังแก้ไขความพิการของหลังด้วย

 

ผู้ป่วยบางคนปวดหลัง แพทย์แนะนำผ่าตัดและให้ใส่โลหะยึดดามกระดูกสันหลัง

 

การผ่าตัดกระดูกสันหลัง และยึดตรึงด้วยโลหะที่ประกอบด้วยสกรูแกนโลหะ มีการทำค่อนข้างแพร่หลาย บางรายไม่มีความจำเป็นต้องยึดตรึงด้วยโลหะ รายที่ต้องยึดตรึงด้วยโลหะเพราะกระดูกสันหลังเลื่อน หรือเพราะกระดูกและหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับรากประสาท จึงมีความจำเป็นต้องผ่าตัดตัดกระดูกและข้อ รวมทั้งหมอนรองกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาทสันหลังออก แล้วดามกระดูกสันหลังด้วยโลหะพร้อมกับทำการตรึง(spinal fusion)กระดูกส่วนนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นคง ป้องกันการเลื่อนของกระดูก และไม่ให้รากประสาทถูกกดทับอีกต่อไป ซึ่งอัตราการผ่าตัดในโรคกระดูกสันหลังเสื่อม มีเพียงประมาณร้อยละ 10-15 เท่านั้น

 

มีความจำเป็นต้องรักษาผู้ป่วยปวดหลังด้วยการผ่าตัดทุกรายหรือไม่

 

* อาการ ปวดหลังที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด มีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับคนที่ปวดหลังทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของโรคว่าเป็นมากแค่ไหน ซึ่งหากรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัดไม่ได้ผล หรือโรคลุกลามมากขึ้นก็จะเป็นข้อบ่งชี้ว่าต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเลื่อนมากหรือแตกกดทับรากประสาทสันหลัง ปวดร้าวลงขา ขาชาไม่มีแรง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ วัณโรคกระดูกสันหลัง เนื้อกระดูกถูกทำลายมากจนเป็นอัมพาต เนื้องอกที่กระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเลื่อนทับกดประสาทสันหลังจนมีอาการขาชา ไม่มีแรง เป็นต้น

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ปวดหลัง

 

* มีหลายอย่าง เช่น ผู้ที่ทำงานหนัก ก้มยกของหนักโดยไม่ระวังตัว จะทำให้กล้ามเนื้อหลังปริขาดเคล็ดยอก หมอนรองกระดูกสันหลังเลื่อน หรือผู้ที่นั่งทำงานนาน ๆ ลักษณะท่าทางไม่ถูกต้อง เช่น ก้มตัวมากอยู่นาน ๆ ก็จะทำให้เกิดอาการนี้ได้ สมัยนี้จะเกิดกับผู้ที่ต้องนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์นาน ๆ ตลอดจนนักกีฬามีแนวโน้มทำให้เป็นโรคปวดหลัง เช่น กระโดดสูง ยกน้ำหนัก เทนนิส รวมทั้งกีฬาที่ต้องปะทะกันอย่างรักบี้ เป็นต้น การสูบบุหรี่ อ้วนน้ำหนักตัวมากเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการมีอาการปวดหลังได้

 

ดูแลตัวเองเมื่อมีอาการปวดหลัง

 

ถ้าปวดหลังจากการยกของหนัก หรือเอี้ยวบิดตัวแรง ๆ เพื่อหยิบของแนะนำให้พักผ่อน ไม่ควรก้มยกของหนักหรือหิ้วของหนักอีก รับประทานยาแก้ปวด คลายกล้ามเนื้อ อาการจะดีขึ้นใน 2-3 วัน แต่ถ้าไม่ได้ผล ปวดมากขึ้น ปวดเสียวร้าวลงขา ควรไปพบแพทย์ แพทย์จะซักถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด อาจต้องเอกซเรย์กระดูกสันหลัง แพทย์มักแนะให้ทำกายภาพบำบัดร่วมกับรับประทานยา แต่ถ้าอาการปวดรุนแรงมากจนมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย อาจต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าช่องไขสันหลัง และถ่ายภาพรังสีดูหรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก(MRI)ในกรณีที่หมอนรองกระดูก สันหลังเคลื่อนทับรากประสาทสันหลัง ถึงขั้นนี้อาจต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแทน

 

มีวิธีการป้องกันการปวดหลังอื่น ๆ อีก เช่น ลดปัจจัยเสี่ยง หยุดสูบบุหรี่ ลดน้ำหนักตัว การก้ม ยกของหนัก การดึงหรือดันของหนักต้องทำด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และต้องดูแลตนเองให้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ก็จะป้องกันการปวดหลังได้อย่างดี.

 

 

 

เรื่อง : ศ.เกียรติคุณ นพ.เจริญ โชติกวณิชย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

ข้อมูล : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=817

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ…ภัยเงียบของคนทำงาน!!!

 

 

หนุ่มสาววัยทำงานเกือบทุกคนคงต้องเคยเผชิญ กับการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่นปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือหลัง ถ้าอาการดังกล่าวสามารถหายได้ภายใน 2-3 วัน เมื่อพักผ่อน ทายา หรือทานยา อาการปวดดังกล่าว ก็ไม่เป็นปัญหา

 

แต่ถ้าอาการปวดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการเพิ่มความรุนแรงและความถี่ขึ้นเรื่อยๆ ให้สงสัยได้เลยว่าคุณได้มีอาการ ของ ”โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ Myofascial Pain Syndrome” แล้ว ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา ให้ถูกวิธี จะทำให้มีอาการมากขึ้น จนเกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน โรคความดัน โลหิตสูง อาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โครงสร้างร่างกายผิดปกติ เป็นต้น

 

 

แพทย์อายุรเวท แวร์สมิง แวหมะ แพทย์อายุรเวทประจำศูนย์รักษาไมเกรน และโรคปวดเรื้อรัง Doctor Care ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังว่า ปัจจุบันมี ประชากรกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน ที่ต้องนั่งทำงานและใช้ คอมพิวเตอร์นานๆ โดยสาเหตุที่ทำให้มีการปวดมีอาการเรื้อรัง เกิดจากการหดเกร็ง สะสมของกล้ามเนื้อ จนเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม. ที่เรียกว่า Trigger Point หรือจุดกดเจ็บ จำนวนมาก ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อ พังผืด การเกิด Trigger Point ทำให้กล้ามเนื้อนั้นขาดเลือดและออกซิเจน เข้าไปเลี้ยง จนทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณที่มี Trigger Point โดยการอักเสบ ของ Trigger Point จะส่งอาการปวดไปที่กล้ามเนื้อบริเวณจุดรวมของ Trigger Point และบริเวณใกล้เคียง

 

การรักษาด้วย การทานยา ทายา การนวด หรือการใช้ความร้อน เพียงทำให้กล้ามเนื้อส่วนบนมีการ คลายตัว แต่ไม่สามารถสลายจุด Trigger Point ได้ ดังนั้นอาการปวดเพียงดีขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้น 2-3 วัน ก็จะกลับมาปวดอีก เนื่องจากยังมีการอักเสบของจุด Trigger Point ภายในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืดยังมีอยู่

 

อาการที่แสดงออกเด่นชัดของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง คือ

1. มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยอาจปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน

2. ความรุนแรงของการปวด มีได้ตั้งแต่แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ จนไปถึงปวดทรมานจนไม่ สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้

3. บางกรณีมีอาการชา มือและขาร่วมด้วย

4. บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ

5. มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่นไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ คอตก ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง คือ

 

1. ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม

2. ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆ เช่นการใช้คอมพิวเตอร์

3. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ

4. การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง

5. การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ

6. การขาดดูแลและการบริหารกล้ามเนื้อ

 

ในปัจจุบัน การรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ MPS สามารถรักษาได ้ โดยวิธีการรักษา ที่เรียกว่า “Trigger Point Therapy” ซึ่งใช้การรักษาเพียงอาทิตย์ละครั้ง ประมาณ 4-6 ครั้ง ก็สามารถทำให้อาการปวดเรื้อรังที่รบกวนอยู่ทุกวันหายได้

 

หลักในการรักษาแบบ Trigger Point Therapy คือ

1. ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

2. รักษาที่สาเหตุของการปวดแบบเรื้อรัง โดยการสลาย Trigger Point

3. ป้องกันการกลับมาของ Trigger Point โดยการให้ความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง และการดูแลกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี

 

การรักษาแบบ Trigger Point Therapy แบ่งการรักษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

1. การสอบถามประวัติการปวด และตรวจหาจุด Trigger Point ที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืด

2. การทำให้กล้ามเนื้อส่วนบนเหนือ Trigger Point ที่มีการหดเกร็ง คลายตัวลงเพื่อลดอาการปวด

3. เมื่อการเกร็งคลายลง แพทย์จะใช้การกดจุด กดไปที่จุด Trigger Point ที่อยู่ในบริเวณที่ปวด เพื่อทำให้เกิดการคลายตัว และเพื่อนำเลือดและออกซิเจน ไปที่จุด Trigger Point เพื่อลดการอักเสบ

 

หลังการรักษา 4-6 ครั้ง จุด Trigger Point จะคลายตัวลง เป็นกล้ามเนื้อปกติ จนไม่สามารถใช้มือตรวจเจอได้ จะทำให้วัฐจักรการปวดสิ้นสุดลง

 

อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง กลับมาเป็นอีก ผู้ป่วยต้องดูแลและบริหาร กล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และมาพบแพทย์อายุรเวทเพื่อตรวจสภาพกล้ามเนื้อ ปีละครั้ง ก็จะทำให้ห่างไกลจากโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

 

 

สนใจสอบถามข้อมูลการรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง และโรคไมเกรน ได้ที่ คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ DOCTOR CARE โทร 02-677 7552-3 หรือ 02 320 0013- 4 www.drcareclinic.com

 

ที่มา: http://it.siamhost4u.com

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แก้อาการปวดหลัง และ Office Syndrome 22Feb11

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=rOUMvJclLt8&feature=related

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่ากายบริหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหลัง

 

 

http://www.med.cmu.ac.th/dept/ortho/index.php?option=com_content&view=article&id=67%3A2010-11-03-13-10-34&catid=44%3A2010-09-01-14-54-28&Itemid=200040&lang=th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณพี่มดแดงมากสำหรับความรู้ทุกๆ เรื่อง ที่นำมาแบ่งปันตลอดมาค่ะ

เพื่อนๆ ท่านไหนมีอาการปวดหลังแม้เพียงเล็กน้อยต้องรีบรักษานะคะ

ปล่อยไว้นานเสี่ยงกับการเป็นโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่าบริหารทำง่าย และหายปวดหลังได่้ในระดับหนึ่งค่ะ

รับทำเว็บไซต์ ลำปาง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...