ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

ข้อไหล่ยึดหรือข้อไหล่ติด

โพสต์แนะนำ

ข้อไหล่ยึดหรือข้อไหล่ติด

 

 

 

สำหรับผู้ที่อายุยังน้อยหรือไม่ได้ผ่านการทำงานหนักอาจจะไม่รู้จักโรคนี้ แต่สำหรับวัยกลางคนขึ้นไปและผ่านงานหนักจะประสบปัญหาเรื่องการยกไหล่ไม่ขึ้น หรือไม่สามารถถูหลังเราเรียกภาวะนี้ว่า Frozen shoulder ข้อไหล่ติด ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้คือ

 

* เป็นในหญิงมากกว่าชาย

* มักจะเริ่มเป็นอายุ 40-50 ปี

* ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอัตราการป่วยด้วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 20-30%

* ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเหล่านี้ได้แก่ การที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อ การได้รับอุบัติเหตุที่ไหล่ การใช้งานมากไป คอพอกเป็นพิษ

 

 

สาเหตุของการเกิดข้อติด

 

สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบแต่เชื่อว่าเกิดจากการ อักเสบของเยื่อหุ้มข้อและมีการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อ ทำให้ข้อเกิดการเคลื่อนไหวน้อยลง

 

การดำเนินของโรค

 

1. ในระยะแรกจะมีอาการปวดข้อไหล่โดยเฉพาะปวดเวลากลาง คืน อาการจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-9 เดือน

2. ระยะที่สองอาการปวดจะน้อยลง แต่จะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงระยะนี้ใช้เวลา 4-12 เดือน

3. ระยะที่สามจะเริ่มฟื้นตัว การขยับของข้อดีขึ้น ระยะนี้ใช้เวลา 12-42 เดือนหากไม่ดีอาจจะพิจารณาผ่าตัด

 

 

การวินิจฉัยและการรักษา

 

การตรวจไม่ยาก แพทย์จะให้ยกแขนขึ้นพบว่ายกแขนได้น้อยลง อาจจะต้องx-ray เพื่อตรวจว่ามีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นหรือไม่การรักษาประกอบไปด้วย

 

* ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID

* ยาคลายกล้ามเนื้อ

* การทำกายภาพ

* การใช้น้ำร้อนหรือน้ำแข็งประคบ

* การฉีดยา steroid เข้าข้อ

* การบริหารเพื่อทำให้ไหล่เคลื่อนไหวได้มากขึ้น

cons1_126_162.jpg

 

นอนราบใช้มือข้างหนึ่งจับที่ข้อศอกเพื่อยกแขนขึ้นจนติดพื้น

 

 

cons1_127_162.jpg

 

ยืน ใช้มือจับข้อศอกให้แขนข้ามร่างกาย ให้สุด

 

 

cons1_129_162.jpg

 

ยืน ใช้มือจับข้อศอกให้แขนข้ามร่างกาย ให้สุด

 

การบริหารเพื่อให้ไหล่แข็งแรงมากขึ้น

 

การบริหารตามรูปข้างล่างจะทำให้กล้ามเนื้อรอบไหล่แข็ง แรงขึ้น การบริหารดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หากมีอาการปวดให้หยุดทันที ก่อนที่จะบริหารร่างการให้ยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่ตามรูปข้างบน ยืนก้มเอามือจรดพ้น แกว่งแขนไปมา การเลือกน้ำหนักไม่ต้องหนักมาก ให้บกแต่ละครั้งได้ 20-30 ครั้งโดยไม่เหนื่อย เมื่อทำได้ดีจึงค่อยเพิ่มน้ำหนักอาทิตย์ละครั้ง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์เมื่อสิ้นสุดการบริหารให้ใช้น้ำแข็งประคบ 10-20 นาที

 

 

pic1.gif

 

เริ่มต้นให้นอนคว่ำบนโต๊ะ ให้แขนซ้ายพร้อมทั้งหัวไหล่ยื่นออกนอกโต๊ะ ยกน้ำหนักขึ้นโดยการงอที่ข้อศอกดังรูปจนระดับแขนและไหล่อยู่ระนาบเดียวกัน เวลายกแขนขึ้นลงให้ทำอย่างช้าๆ

 

 

pic2.gif

 

นอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่ง โดยมีหมอนใบเล็กหนุนบริเวณรักแร้ ยกน้ำหนักดังรูปโดยเริ่มจากพื้นจนขนานกับพื้น เวลายกขึ้นลงให้ทำช้าๆ

 

 

pic3.gif

 

นอนตะแคง แขนข้างบนวางแนบลำตัว แขนข้างล่างยกน้ำหนักดังรูปจนติดลำตัว ยกขึ้นลงอย่างช้าๆ

 

 

pic4.gif

 

ยืนกำน้ำหนักดังรูป ยกนำหนักขึ้นโดยประมาณว่ากางแขน 45 องศาหลังจากนั้นบิดข้อมือโดยให้หลังมือมาอยู่ด้านหน้า นิ้วหัวแม่มืออยู่ล่าง

 

 

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/frozenshoulder/froz.htm

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เจ็บไหล่...ไหล่ติด...ข้อไหล่ติดแข็ง

 

 

อาการข้อ ไหล่ติด หรือข้อไหล่ติดแข็ง มักพบหลังจากมีการเจ็บของข้อไหล่ ซึ่งอาจเจ็บอยู่เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน เมื่ออาการเจ็บทุเลาลง จะตามมาด้วยการยกแขนได้ไม่ดีเหมือนเดิม ซึ่งจะรบกวนการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่นหยิบของจากหิ้งสูง รูดซิปเสื้อหรือกระโปรงซึ่งอยู่ด้านหลัง หรือดึงกระเป๋าใส่เงินจากกระเป๋าหลังของกางเกง แต่ถ้าท่านได้รู้จักปฏิบัติตนตั้งแต่เริ่มมีอาการเจ็บหัวไหล่ในช่วงแรก โดยไม่ปล่อยปละละเลยจะทำให้อาการไม่ลุกลามจนเป็นมาก และเสียเวลาเพื่อรักษาอาการข้อไหล่ติดแข็ง

 

ขั้นตอนของการเกิดข้อไหล่ติดแข็ง

 

ระยะที่หนึ่ง : ระยะเจ็บไหล่มีอาการดังนี้

 

๑. เจ็บเมื่อมีการเคลื่อนไหวของ แขน

๒. เจ็บทั่วไปบริเวณหัวไหล่ แต่ ไม่มีจุดกดเจ็บที่แน่นอน

๓. มีกล้ามเนื้อเกร็งตัว (muscle spasm)

๔. เจ็บมากขึ้นในเวลากลางคืน หรือเมื่ออยู่นิ่งๆ

 

ระยะที่สอง : ระยะข้อไหล่ติด มีอาการดังนี้

 

๑. อาการเจ็บไหล่ เจ็บแขนลดลง

๒. เพิ่มอาการติดขัด และจำกัด การเคลื่อนไหวของหัวไหล่

๓. อาการเจ็บตอนกลางคืนและ ตอนอยู่นิ่งๆ ลดลง

๔. รู้สึกเจ็บเมื่อมีการเคลื่อนไหว ช่วงสุดท้ายของแขนข้างนั้น

 

ระยะที่สาม : ระยะฟื้นตัวมีอาการดังนี้

๑. อาการเจ็บลดลงเรื่อยๆ

๒. แขนข้างที่เจ็บจะเคลื่อนไหวได้มากขึ้นอย่างช้าๆ

๓. การฟื้นตัวจะหายเองได้แต่มักจะเคลื่อนไหวแขนได้ไม่สุดเหมือนที่เคยทำได้

 

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอาการข้อไหล่ติด

 

๑. พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในสัดส่วน ๖๐ : ๔๐

๒. มักเป็นกับแขนที่ไม่ถนัดใช้ มากกว่าข้างที่ถนัด

๓. อาการไหล่ติด เกิดจากมีแผลเป็น มีการหนาตัว และการหดตัวของเยื่อหุ้มหัวไหล่

๔. ข้อไหล่ที่บาดเจ็บ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการไหล่ติดได้

๕. มัก จะทราบว่าเป็นข้อไหล่ติดเมื่อแพทย์ตรวจอาการและแจ้งให้ทราบ (ถ้าผู้ป่วยสังเกตตนเองจะทราบก่อนว่า ยกแขนได้ไม่สุด และมีอาการเจ็บ)

๖. จะต้องมีการเจ็บพอสมควรในการรักษา จึงจะทำให้ข้อไหล่หายติด

๗. มี มากมายหลายโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการข้อไหล่ติด เช่น โรค เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ ไทรอยด์ และอัมพาตครึ่งซีก แต่สาเหตุ ที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอาการไหล่ติดยังไม่ทราบแน่นอน

 

การเคลื่อนไหวที่ทำแล้วเจ็บในคนไหล่ติด

 

๑. กางแขนออกด้านข้างแล้วหงายฝ่ามือขึ้น

๒. เหยียดแขนขึ้นไปหยิบของเหนือศีรษะ

๓. เอื้อมมือไปหยิบของซึ่งวางบนเบาะหลังของรถ

๔. ดันประตูหนักๆให้เปิดออก

๕. การขับรถในคนไหล่ติดจะมีความลำบากในการหมุนพวง มาลัยรถ

๖. เมื่อสระผมตัวเอง

๗. เมื่อถูหลังตัวเอง

๘. เมื่อสวมหรือถอดเสื้อยืดเข้าออกทางศีรษะ

๙. เมื่อติดกระดุมเม็ดล่างด้านหน้าของเสื้อเชิ้ต

๑๐. เมื่อล้วงของออกจากกระเป๋าหลังของกางเกง

 

บทสรุป

สาเหตุ ที่แท้จริงของการเกิดข้อไหล่ติดยังไม่ทราบแน่ชัด การเกิด ข้อไหล่ติดมักจะเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ หลายโรค ที่พบบ่อยคือ ในคน ที่มีอาการอัมพาตครึ่งซีก

อาการเจ็บข้อไหล่ (ขัดยอกหัวไหล่) ถ้ารีบแก้ไขตั้งแต่แรกเป็นจะไม่ลุกลาม แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว ในทิศทางที่เจ็บ อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการไหล่ติด ไปจนถึงข้อไหล่ ติดแข็งได้ในที่สุด

การ ฟื้นตัวจากอาการไหล่ติด ถ้าปฏิบัติตนเองจะต้องทราบและเข้าใจหลักการ คือพยายามยืดเยื่อหุ้มข้อไหล่ และเพิ่มการเคลื่อนไหว ของข้อไหล่ ซึ่งท่าบริหารเหล่านี้จะสามารถยืดได้ด้วยตัวท่านเอง โดยใช้สภาพแวดล้อม เช่น บันได ฝาห้อง คานโหน ช่วยในการทำกายบริหาร จะต้องยืดทีละน้อยและมีอาการเจ็บบ้างเล็กน้อย และควรทำทุกวันในช่วงแรก ถ้าท่านกลัวเจ็บและไม่เข้าใจหลักการในท่าบริหารหัวไหล่ จะใช้เวลานานหลายเดือนที่จะทุเลาจากอาการไหล่ติด แต่ถ้าทำแล้วเจ็บมากติดต่อกันหลายวัน ควรได้รับการตรวจ และวินิจฉัยอย่างละเอียด จากแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์ ทางกระดูก)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณมดแดง

วันนี้ได้ใช้ข้อมูลบริหารไหล่ติด ที่คุณมดแดงโพส เป็นวิทยาทานให้กับผู้ที่เจ็บป่วยด้วยอาการไหล่ติดแล้วค่ะ

ให้เขาอ่านแล้วสอนให้บริหารตามเอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณมดแดง

วันนี้ได้ใช้ข้อมูลบริหารไหล่ติด ที่คุณมดแดงโพส เป็นวิทยาทานให้กับผู้ที่เจ็บป่วยด้วยอาการไหล่ติดแล้วค่ะ

ให้เขาอ่านแล้วสอนให้บริหารตามเอง

 

ยินดีค่ะ.. ที่คุณปุณณ์ได้นำไปใช้ต่อ ได้บุญร่วมกันค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ :wub: :wub: แม่ไหล่ติดอยู่ จะได้สอนแม่บริหาร

ถูกแก้ไข โดย goldgold

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปวดไหล่

 

 

 

อาการ เจ็บ ปวด บริเวณข้อไหล่ ยกแขนข้างนั้นขึ้นไม่สุด ถ้าเป็นมากจะใช้มือข้างนั้นหวีผมโอบไปรักแร้ด้านตรงข้าม เกาหลังไม่ได้ หลังจากเกิดอุบัติเหตุล้มกระแทกพื้น โหนรถเมล์ หรือต่อเนื่องจากโรคคอที่เป็นนานๆ อาการปวดไหล่ มักจะทำให้ข้อไหล่ติดหรือขยับข้อไหล่ได้ไม่ถนัด จึงจำเป็นต้องหาสาเหตุของการปวดไหล่ เพื่อป้องกันภาวะข้อไหล่ติด ยึด ดังกล่าว

 

ข้อควรปฏิบัติ

 

1. ถ้าปวดมากและทันที ควรพักการใช้ข้อไหล่ และใช้ผ้าพยุงแขนและไหล่ไว้ชั่วคราว 1-2 วัน เวลาลุกนั่งหรือเดิน

2. ประคบไหล่ด้วยถุงน้ำแข็ง วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที

3. อย่าบีบ นวด หรือดัดข้อไหล่ที่กำลังปวด ควรใช้ยาแก้ปวดทาบริเวณนั้นเบาๆ 2-3 ครั้ง และกินยาแก้ปวด

4. พอทุเลา อย่าใช้แขนข้างที่ปวดยกหรือหิ้วของหนักๆ

5. อย่ากางแขน โหนหรือเหนี่ยวนานเกินควร

6. ถ้าปวดทันที และไม่ทุเลาใน 24 ชั่วโมง ควรพบแพทย์ ถ้าทุเลาพอทน ก็เริ่มบริหารและสามารถใช้ยาแก้ปวดรับประทานได้

7. อาการปวดไหล่ที่สำคัญ และต้องพบแพทย์เฉพาะทาง คือ อาการปวดโดยเฉพาะเวลากลางคืนหรือนอนตะแคงทับไหล่ด้านที่ปวดไม่ได้

 

การบริหารข้อไหล่

 

การบริหารข้อไหล่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันภาวะข้อไหล่ติด

 

1. แกว่งแขน เอา แขนข้างที่ไม่เจ็บจับพนักเก้าอี้ ก้มตัวให้ตัวขนานกับพื้น ก้มตัวลงให้แขนข้างเจ็บห้อยลงค่อยๆ แกว่งแขนไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างในออกข้างนอก แกว่งเป็นวงกลม ตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา ทำครั้งละ 1-2 นาที วันละ 2-3 ครั้ง

 

shoulder01.jpg

 

 

2. นิ้วไต่ฝาผนัง

 

ท่ากาง ยืน ตรง แขนขาเหยียด เอานิ้วแตะข้างฝาไต่ฝาผนังขึ้น-ลง ยืนหันข้าง นิ้วไต่ฝาจากมุมน้อยๆพอตึงก็ใช้สันมือลากแขนลง แล้วทำใหม่ได้สูง ตัวก็กระเถิบเข้าชิดฝาไปเรื่อยๆ พอมือขนานพื้นได้ก็หงายฝ่ามือใช้นิ้วไต่ขึ้นไป ใช้ไหล่ดันตัวเข้าไป

 

shoulder02.jpg

shoulder03.jpg

ท่าหันข้างเข้าฝาผนัง

 

 

shoulder04.jpgท่าที่ผิด (ยกไหล่แทนยกมือ)

 

shoulder05.jpg

ท่ายก ท่าหันหน้าเข้าฝาผนัง

 

 

3. มือไต่ฝาสูงขึ้น ตัวกระเถิบเข้าหาฝา ใช้ไหล่ยันตัวเข้าไปเป็นการดัดไหล่

 

ท่าเกาหลัง ยืน ตรงใช้ผ้าเช็ดตัวพาดบ่า มือจับปลายผ้าทั้งสองข้างใกล้ๆ กัน แขนดีอยู่ข้างบนแขนปวดอยู่ข้างหลัง ศอกยันฝาค่อยๆ ใช้แขนดีดึงผ้าขึ้นลงตรงๆ เจ็บปล่อยลง สลับใช้แขนดีอยู่ข้างหลัง แขนปวดอยู่ข้างหน้า พอทำได้มากขึ้นมือเจ็บมาอยู่ใกล้สีข้างด้านตรงข้าม ก็ใช้แขนเจ็บยันเข้าฝา ทำท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 หน

 

shoulder06.jpg

 

 

4. ยกไม้ตะพด ใช้มือทั้งสองข้าง ถือไม้ตะพดหรือท่อน้ำพลาสติก

 

shoulder07.jpg

ท่าที่ 1 ยกขึ้น-ลงเหนือศีรษะด้านหน้า

 

shoulder08.jpg

ท่าที่ 2 ยกขึ้นเหนือศีรษะด้านหน้า วางลงบนบ่าด้านหลัง

 

shoulder09.jpg

ท่าที่ 3 ยกไม้เอียงไปทางซ้าย-ขวา

 

shoulder10.jpg

 

ท่าที่ 4 ใช้มือไขว้หลังยกไม้ขึ้น-ลง สลับมือกัน ทำท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 หน

 

 

ยังมีต่อค่ะ......

 

 

http://www.bangkokhealth.com/index.php/Pain/616-2009-01-21-01-41-34.html

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

5. ชักลูกรอก ใช้ เชือกคล้องลูกรอก หรือราวโลหะที่แขวนเหนือศีรษะปลายเชือกมีห่วง มือจับห่วงทั้งสองข้างโดยหงายฝ่ามือขึ้น ใช้แขนดีดึงเชือกลงช้าๆ เพื่อกางแขน ยกแขนปวดให้สูงขึ้น จนเริ่มรู้สึกปวดก็หย่อนเชือกลงพัก ทำ 10 ครั้ง วันละ 2-3 หน

 

 

shoulder11.jpg

 

6. โหนราว เพื่อ ช่วยท่ายกแขนให้ได้เต็มที่ ทำราวติดกับวงกบประตู เมื่อยืนตรงเหยียดแขนพอควร ให้นิ้วกำราวได้พอดี ย่อตัว ส้นเท้าแตะพื้น เข่างอพอควรน้ำหนักตัวจะช่วยดัดไหล่ ในท่ายกให้ยกได้สูงขึ้นพอเจ็บทนไม่ได้ ก็ยืนขึ้นเพื่อลดแขนลง

 

shoulder12.jpg

7. ออกกำลังข้อไหล่ พยายามเคลื่อนไหวข้อไหล่ ทุกทิศทาง ทำท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 หน

 

shoulder13.jpg

 

ท่าที่ 1 ยกแขนทั้ง 2 ข้างไปข้างหน้า พยายามยกให้สูง เพื่อให้ต้นแขนชิดใบหู แล้วกลับลงท่าเดิม ค่อยเพิ่มมุมขึ้น

 

shoulder14.jpg

 

ท่าที่ 2 กาง แขนทั้ง 2 ข้างจนสูงระดับไหล่ จึงหงายมือแล้วยกแขนขึ้นต่อไป พยายามให้สูงขึ้นจนต้นแขนชิดใบหู แล้วกลับลงท่าเดิม พอขนานพื้นก็คว่ำมือลง ลดลงต่อไป

 

shoulder15.jpg

 

ท่าที่ 3 เอามือทั้ง 2 ข้าง ประสานท้ายทอย กางศอกทั้ง 2 ข้างไปด้านหลังให้สุด แล้วหุบศอกมาชิดด้านหน้าให้มากที่สุด

 

shoulder16.jpg

 

ท่าที่ 4 เอา มือข้างไหล่เจ็บไขว้หลัง ให้ปลายมือไปอยู่ด้านตรงข้าม และให้สูงขึ้นฝ่ามือหงายออก เอามือข้างไหล่เจ็บอ้อมมาเตะบ่า ค่อยๆ ขยับให้ต่ำลงใช้มือ อีกข้างช่วยดันศอก ผลักขึ้นสูง

 

 

8. ออกกำลังกายทั่วไป เล่น กีฬาชนิดที่มีการเคลื่อนไหวข้อไหล่ เช่น ว่ายน้ำ แบดมินตัน เทนนิส กระโดดเชือก ซึ่งควรเล่นเมื่อไม่มีอาการปวดไหล่แล้ว และไม่มีโรคต้องห้ามอื่น

 

 

http://www.bangkokhealth.com/index.php/Pain/616-2009-01-21-01-41-34.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กายบำบัดองค์รวม/ท่าหวีผม

 

 

ท่าหวีผม ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อหัวไหล่ สามารถบำบัดอาการไหล่ติดได้ โดยบริหารเป็นประจำ

 

 

 

กายบำบัดองค์รวม/ยกแขน1

 

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่าดัดแก้ไขไหล่ติดแบบที่ 1

 

 

 

 

ท่าป้องกันข้อไหล่ติด

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่าบริหารกล้ามเนื้อ และ เอ็นชั้นในของข้อไหล่

 

 

 

 

ท่ายืดกล้ามเนื้อบ่าและต้นคอ

 

 

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบบการบริหารข้อไหล่ในผู้ป่วยข้อไหล่ติด

 

 

http://www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94_662/th'>http://www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94_662/th

 

 

ex1.jpg ex2.jpg

 

คว่ำมือจับไม้เท้าทั้งสองข้าง

* ใช้แขนข้างที่ปกติเป็นหลักในการยกไม้เท้าขึ้นทางด้านหน้า เหนือศีรษะ จับไม้เท้าด้วยมือทั้งสองข้าง สมมุติว่าไหล่ซ้ายติด

* ใช้อุ้งมือซ้ายจับปลายไม้เท้า

* ใช้แขนข้างที่ปกติเป็นหลักในการดันไม้เท้าขึ้นทางด้านข้าง ให้มือซ้ายสูง เหนือศีรษะ มากเท่าที่ทำได้

 

 

ex3.jpg ex4.jpg

 

 

 

ex5.jpg ex6.jpg

 

 

ex7.jpg ex8.jpg

 

 

ex8.jpg ex9.jpg

 

 

 

 

* คว่ำมือจับไม้เท้าทั้งสองข้าง

* ใช้แขนข้างที่ปกติเป็นหลักในการยกไม้เท้าขึ้นทางด้านหน้า เหนือศีรษะ

 

 

* จับไม้เท้าด้วยมือทั้งสองข้าง สมมุติว่าไหล่ซ้ายติด

* ใช้อุ้งมือซ้ายจับปลายไม้เท้า

* ใช้แขนข้างที่ปกติเป็นหลักในการดันไม้เท้าขึ้นทางด้านข้าง ให้มือซ้ายสูง เหนือศีรษะ มากเท่าที่ทำได้

 

 

* วางมือข้างที่มีปัญหา ไว้ระดับอก บนขอบประตู ดังรูป

* ก้าวขาเคลื่อนตัวไปข้างหน้า

* พยายามให้หลังตรงไว้

 

* เหยียดแขน ใช้หลังมือแตะกำแพง

* ก้าวขาเคลื่อนตัวไปข้างหน้า

* พยายามให้แขนเหยียดตรง ไหล่หมุนขึ้นจนด้านหน้าชิดกำแพง

 

 

 

* คว่ำมือจับไม้เท้าทั้งสองข้าง สมมุติว่าไหล่ซ้ายติด

* พยายามหมุนแขนข้างซ้ายออกจากลำตัว ใช้แขนข้างที่

ปกติเป็นหลักในการดันไม้เท้า ให้แขนซ้ายหมุนออกจาก

ลำตัวมากที่สุด

 

 

* วางแขนทั้งสองข้าง ไว้บนโต๊ะ เหยียดข้อศอกคว่ำผ่า

มือลง

* พยายามก้มศีรษะลง

* ให้มีความรู้สึก ตึงบริเวณข้อไหล่

 

 

* วางแขนข้างที่มีปัญหา ไว้บนโต๊ะ หงายผ่ามือขึ้นดังรูป

* เหยียดแขน ไถลไปด้านข้าง

* ขณะเดียวกันดันตะโพกออกมา

 

 

 

* นั่งด้านข้าง วางแขนข้างที่มีปัญหา ไว้บนโต๊ะ

* ก้มตัวไปทางด้านหน้า

 

 

 

* นั่งด้านข้าง วางแขนข้างที่มีปัญหา ไว้บนโต๊ะ

* ก้มตัวไปทางด้านหน้า

* เหยียดแขนออกไปทางด้านหน้า

 

 

 

* ยืน ใช้แขนข้างที่ปกติ จับผ้าเช็ดตัวห้อยลงมากลาง

หลังดังรูป

* จับชายผ้าอีกข้างด้วยไหล่ข้างที่ติด

* ใช้แขนข้างปกติ ดึงผ้าขึ้นช้าๆ จนรู้สึกตึงไหล่ข้างที่ติด

 

 

แปล และ เรียบเรียง โดย นพ. ชาติชาย ภูกาญจนมรกต

 

 

ไม่สามารถนำคำอธิบายมาไว้ใต้ภาพได้ จึงไปทำแบบนี้ เพื่อให้เซฟไปพิมพ์ออกมาได้ ชัดเจนดี

 

 

:wacko: แบบการบริหารข้อไหล่ในผู้ป่วยข้อไหล่ติด :(

 

 

post-21-000868000 1321855897.jpg

 

 

post-21-092392200 1321855912.jpg

 

 

 

หมายเหตุ ผู้โพส โพสรูปและข้อความไม่ตรงกันนะคะ

 

 

http://www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94_662/th

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บางคนยังไม่ถึงกับไหล่ติดเพราะมีพังผืดนะครับแค่เริ่มอักเสบ

ผมเจ็บในสะบักซ้ายคิดเองว่าเครียดใช้คอมมาก กินยา+ออกกำลังกายยังไม่หายหลายๆเดือนเข้าเครียดครับเวลานอนยังไม่สงบสุขนี่นะ

แต่พอลองเปลี่ยนหมอนเป้นแบบบางๆแบนๆ หายสนิท..อ้อที่นอนอย่าแข็งอย่านิ่มครับพอดีๆ

ลองคืนเดียวถ้าใช่ก็หาย...ลืมไปเลยครับว่าเคยเจ็บสะบัก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...