ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
PACRAA

รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีการรักษาจากโรงพยาบาลนครธน

โพสต์แนะนำ

 

 

          ในปัจจุบันพบว่าคนไทยป่วยเป็น โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มมากขึ้น พบว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย โรคหลอดเลือดสมองมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและไม่ทันตั้งตัว  โดยเมื่อหลอดเลือดในสมองตีบอุดตันและแตก จะเป็นสาเหตุอัมพฤกษ์อัมพาต และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด วันนี้เราจึงมีข้อมูลความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง พร้อมวิธีการรักษาจากโรงพยาบาลนครธน มาฝากกันค่ะ

 

cats.jpg.cc15c2ca0291c491388da01073c71d6a.jpg

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด โดยอาการผิดปกติจากโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ปากเบี้ยว พูดไม่ขัด กลืนลำบาก แขนขาชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีกของร่างกาย และมักมีอาการเฉียบพลัน

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke) พบได้ประมาณ 70% ของโรคหลอดเลือดสมอง การอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง

ในบางรายอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นสามารถหายได้เองใน 24 ชั่วโมง เรียกว่า ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient ischemic attack TIA)

  1. หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 30% ของโรคหลอดเลือดสมอง การแยกว่าคนไข้ที่มีอาการเหล่านี้เป็นจากโรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรือโรคหลอดเลือดสมองแตกนั้นจำเป็นต้องใช้การเอกซเรย์สมองมาช่วยแยก เนื่องจากอาการของทั้งสองกลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่มีปัจจัยเสี่ยงและการรักษาที่ต่างกัน

 โรคหลอดเลือดสมอง มีอาการอย่างไร?

·      มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า

·      มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีก

·      มีอาการแขนหรือขาชาอย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย

·      พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด

·      มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น

·      มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ

·      มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว

·      มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน

·      มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน

 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยต้องแยกเป็นปัจจัยเสี่ยงเป็น
2 กลุ่ม ดังนี้

 โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน (Ischemic stroke)

ปัจจัยเสี่ยง แบ่งเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ เช่น อายุ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ได้แก่

       ความดันโลหิตสูง

       เบาหวาน

       ไขมันในเลือดสูง

       สูบบุหรี่

       โรคหัวใจบางประเภท เช่น โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งสามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจแล้วหลุดไปอุดหลอดเลือดสมองได้

 การรักษา

1.     การรักษาจำเพาะเพื่อเปิดเส้นเลือดที่ตีบ มีสองวิธี

       การให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic treatment) : ยา recombinant tissue plasminogen activator (rtPA) เป็นยาละลายลิ่มเลือดที่ใช้เป็นยามาตรฐานในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ แต่มีข้อจำกัดคือต้องให้ภายใน 4.5 ชั่วโมง นับตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงเวลาเริ่มให้ยา และต้องไม่มีข้อห้ามการให้ยาซึ่งจะพิจารณาโดยแพทย์ โดยพบว่า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการดีขึ้นที่ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้นได้คือ ภาวะเลือดออกในสมองหรือส่วนอื่นของร่างกาย ซึ่งพบได้ประมาณ 6-7% ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงหรือเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ พบว่า ประมาณ 0.1% ของคนไข้มีอาการแพ้ยาได้ ซึ่งหากเป็นการแพ้อย่างรุนแรงจนทำให้ทางเดินหายใจตีบหรือความดันโลหิตต่ำ อาจเสียชีวิตได้

       การใส่สายสวนทางหลอดเลือดแดงเพื่อเปิดหลอดเลือด (Mechanical thrombectomy) : จะใส่สายสวนผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ แต่มีข้อจำกัดคือสามารถทำได้เฉพาะการอุดตันของหลอดเลือดสมองบางเส้นที่ใหญ่พอ และต้องมาภายใน 12-24 ชั่วโมง

หลังได้การรักษาจำเพาะเพื่อเปิดเส้นเลือดตีบ ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องเข้ารับการดูแลในหอผู้ป่วยอภิบาลหนัก (CCU) เพื่อติดตามอาการทางระบบประสาท ความดันโลหิต ขีพจร อย่างน้อย 24-72 ชั่วโมง และต้องมีการเอกซเรย์สมองซ้ำ 24 ชั่วโมงหลังได้รับการรักษาเพื่อดูว่ามีเลือดออกในสมองซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของการรักษาหรือไม่

 2.     การรักษาอื่น

       การให้ยาต้านเกร็ดเลือด (Antiplatelet) เช่น แอสไพริน

       การให้น้ำเกลือ

       การกายภาพบำบัด

       ควบคุมปัจจัยเสี่ยงเพื่อลดโอกาสการเกิดหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ เช่น งดบุหรี่ ควบคุมน้ำตาล ความดันโลหิตและไขมันในเลือด

       การผ่าตัด : จะทำเฉพาะผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะสมองบวมมาก

ภาวะแทรกซ้อน

1.     ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท ได้แก่

       มีการตีบตันของหลอดเลือดมากขึ้นแม้จะได้รับการรักษาแล้ว

       มีเลือดออกของสมองในส่วนที่ขาดเลือด

       สมองบวม

       ชัก

2.     การติดเชื้อ : การติดเชื้อที่พบบ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ การติดเชื้อทางเดินหายใจ และ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

3.     หลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน ซึ่งมักเกิดในขาข้างที่อ่อนแรง ซึ่งลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นสามารถ หลุดไปอุดที่ปอด จนทำให้เกิดการขาดออกซิเจนได้

โรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)

ปัจจัยเสี่ยง

       ความดันโลหิตสูง

       ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง เช่น เส้นเลือดโป่งพอง (Aneurysm) หรือ ความผิดปกติตรงรอยต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ (Arteriovenous malformation AVM)

การรักษา

1.     ในส่วนของเลือดที่กดเบียดเนื้อสมอง : หากเลือดที่ออกมีปริมาณไม่มาก แพทย์อาจใช้วิธีการรักษาแบบประคับประคองแล้วรอให้เลือดสลายไปเอง แต่หากเลือดที่ออกมีปริมาณมากจนกดเบียดสมองส่วนอื่นที่สำคัญ แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัด

2.     ในส่วนของการป้องกัน

       ความดันโลหิตสูง : ควบคุมความดันโลหิต

       ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง : สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นกับตำแหน่งและขนาด เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การใส่สายสวนไปอุดหลอดเลือดที่ผิดปกติ (Embolization) ใช้คลิปหนีบหรือใส่ขดลวดอุดตำแหน่งนั้นไว้

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient ischemic attack TIA)

คนไข้กลุ่มนี้ทั้งอาการและปัจจัยเสี่ยงจะเหมือนกลุ่มคนไข้หลอดเลือดสมองตีบ แต่ อาการจะหายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากมีการหลุดของลิ่มเลือดที่อุดตันเส้นเลือดออกไปเอง ดังนั้นคนไข้กลุ่มนี้ไม่มีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือดเหมือนคนไข้หลอดเลือดสมองตีบ แต่มีความจำเป็นต้องหาปัจจัยเสี่ยงและควบคุมปัจจัยเสี่ยงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ

          รู้ทันสาเหตุ โรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุอัมพฤกษ์ อัมพาต ต้นเหตุของความพิการ และอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที หรือหากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงข้างต้น ที่อาจจะส่งผลให้เป็น โรคหลอดเลือดสมอง แนะนำมาปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญที่ โรงพยาบาลนครธน เรายินดีให้บริการดุจคนในครอบครัว สามารถให้คำแนะนำคุณอย่างเป็นกันเอง รู้ตัวก่อน ระวังได้ก่อน

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/Article/Detail/โรคหลอดเลือดสมอง-Stroke-ตีบแตกตันอันตราย

 

 

 

 

cats.jpg

ถูกแก้ไข โดย PACRAA

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...