ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

สาระน่ารู้....สุขภาพ.....

โพสต์แนะนำ

อันตรายจากสารเคมี เข้าตา... ก่อโรค

รศ.น.ต.พญ. วิภาวี บูรณพงศ์ (Assoc. Prof. Wipawee Booranapong)

 

8-7_7_clip_image002_0011.jpg

 

บ่อยครั้งเรามักได้ยินข่าวหวาดระแวงหึงหวงกันจนลงเอยด้วยการสาดน้ำกรดบนใบ หน้า และที่พบบ่อยร้ายที่สุดคือดวงตาซึ่งเจ้าตัวมักไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ว่าไปแล้วเรื่องเหล่านี้ถือเป็นอาชญากรรมทีเดียว เพื่อบรรเทาเหตุร้ายเช่น นี้เรามีความรู้เกี่ยวกับเจ้าสารพิษมาเล่า ไม่แน่สักวันคุณอาจได้ช่วยใครบาง คนที่ถูกทำร้ายก็ได้

อุบัติเหตุจากสารเคมีเข้าตา อาจเกิดจาก

 

1. อุบัติเหตุ จากการทำงาน เช่น

• โดนสารเคมีที่ใช้ในโรงงาน เช่น โซดาไฟ

• โดนน้ำจากแบตเตอรรี่รถยนต์

• โดนน้ำยาล้างหรือน้ำยาขัดห้องน้ำ ยาฆ่าแมลง ยาฉีดกันยุง

• ได้รับสารเคมีผงคาร์บอนไดออกไซด์เข้าตาขณะไปช่วยดับเพลิงแล้วถังเกิดระเบิด

 

2. การโดนทำร้ายร่างกาย

เช่น ใช้น้ำกรดสาดหน้า แล้วโดนตาทั้ง 2 ข้าง หรือโดนก๊าซน้ำตาซึ่งสารเคมีโดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ กรด และด่าง

โดย ทั่วไป ด่าง มีความรุนแรงมากกว่ากรด สามารถทำลายเปลือกตา เยื่อบุตา ผิวนอกของกระจกตา และยังสามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปทำลายดวงตา และส่วนต่างๆ ภายในดวงตาได้ เช่น ทำให้เกิดม่านตาอักเสบ ต้อกระจก และต้อหิน ส่วนกรด การทำลายมักจะจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณผิวชั้นนอกของลูกตา เปลือกตา เยื่อบุตา ผิวกระจกตา เนื่องจากคุณสมบัติของกรด เมื่อทำปฏิกิริยากับโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อแล้ว ทำให้โปรตีนแข็งตัวรวมกัน เป็นเหมือนผนังกั้นไม่ให้กรดนั้นซึมผ่านเข้าไปในลูกตาได้อีก เพราะฉะนั้น การทำลายที่เกิดขึ้นจากกรดมักจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณชั้นผิวตื้นๆ เท่านั้น

 

ทั้งนี้อันตรายของสารเคมีเข้าตายังขึ้นกับความเข้มข้นของสารเคมี ปริมาณสารเคมีที่เข้าตา และระยะเวลาที่สัมผัส แม้ด่างจะรุนแรงกว่ากรด แต่ถ้ากรดที่มีความเข้มข้นสูงจะมีความรุนแรงไม่แพ้ด่างทีเดียว อีกทั้งระยะเวลาที่สารเคมีสัมผัสดวงตา หรือส่วนต่างๆ ภายในดวงตา ถ้าสัมผัสอยู่นาน ก็จะมีความเสียหายของดวงตามาก ถ้าความเสียหายของตาไม่รุนแรง สามารถหายเป็นปกติได้ ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที แต่ถ้าความเสียหายของตารุนแรงมากจะรักษายาก แม้จะรักษาเต็มที่ ก็อาจสูญเสียดวงตา มีภาวะแทรกซ้อนในตามากจนถึงตาบอดในที่สุด

 

เมื่อสารเคมีเข้าตา จะเกิดอาการต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโดนส่วนใดของดวงตา

• หากโดนเปลือกตา เยื่อบุตา กระจกตาดำ ระยะแรกจะบวมแดง ปวดแสบปวดร้อน เคืองตา น้ำตาไหลมาก และสู้แสงไม่ได้

• ถ้าโดนกระจกตาดำ จะทำให้สายตาพร่ามัว เมื่อตรวจตา จะพบการมองเห็นลดลง ในรายที่ รุนแรง กระจกตาดำจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว และผิวกระจกตาดำหลุดลอก

• ในรายที่มีความเสียหายของตามาก จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นทำให้เปลือกตาผิดรูปไป เช่นขนตาม้วนเข้า หรือม้วนออก ตาแห้งชนิดรุนแรง เยื่อบุตาติดกับเปลือกตา ทำให้กรอกตาหรือเปิดเปลือกตาไม่ได้ กระจกตาเป็นฝ้าขาว มีเส้นเลือดเข้ามาในกระจกตา กระจกตาบางลงจนถึงทะลุได้ มีต้อหินและต้อกระจกแทรกซ้อนและตาบอดในที่สุด

 

รู้ถึงความรุนแรงของสารเคมีเข้าตาแล้ว สิ่ง ที่ต้องทำทันที คือ การล้างตาด้วยน้ำสะอาดที่อยู่ใกล้มือที่สุด ถ้าหาน้ำอะไรไม่ได้ให้ใช้น้ำประปาล้างมากๆ นาน 20–30 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและปริมาณของสารเคมีที่เข้าตา การใช้น้ำล้างมากๆ ก็เพื่อลดหรือละลายความเข้มข้นของสารเคมีที่เข้าตา ถือเป็นการรักษาที่สำคัญมากที่สุดและได้ผลดีที่สุด ทั้งช่วยลดความรุนแรงของสารเคมีที่จะทำลายส่วนต่างๆ ของตา และป้องกันไม่ให้สารแทรกซึมผ่านเข้าไปภายในลูกตา ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ เมื่อโดนสารเคมีเข้าตา หรือโดนก๊าซน้ำตา ต้องรีบถอดคอนแทคเลนส์ออก เนื่องจากคอนแทคเลนส์จะดูดซับสารเคมี หรือก๊าซน้ำตาไว้ในคอนแทคเลนส์ และใต้คอนแทคเลนส์ หลังจากนั้นจึงรีบล้างตา

 

สิ่งที่ไม่ควรทำคือ รอพบจักษุแพทย์โดยไม่ล้างตามาก่อน ซึ่งสารเคมีจะซึมผ่านเข้าตา เกิดการทำลายเยื่อบุตา กระจกตาและส่วนต่างๆ จนทำให้เกิดความเสียหาย ยากต่อการรักษาแก้ไข และเมื่อมาพบจักษุแพทย์ แพทย์จะรีบล้างตาให้อีกครั้ง ซึ่งผู้ป่วยมักจะปวดและเคืองตา จึงมักหยอดยาชาให้ก่อน แล้วใช้เครื่องมือเล็กๆ ถ่างเปลือกตาไว้ เพื่อให้ล้างได้สะอาด โดยใช้น้ำเกลือเป็นขวดต่อสายยางจากขวดมาเปิดที่ตา ในรายที่ไม่รุนแรง จะใช้เวลาล้างตาประมาณ 30 นาที หรือใช้น้ำประมาณ 2 ลิตร ถ้ารุนแรง อาจต้องล้างนาน 2–4 ช.ม. หรือใช้น้ำ 8-10 ลิตร ขณะที่ล้าง แพทย์จะใช้ไม้พันสำลีเช็ดเอาสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออกจากตาให้หมด และตรวจค่าความเป็นกรดด่าง โดยใช้แผ่นกระดาษทดสอบเป็นระยะๆ จนกระทั่งเป็นกลาง จึงหยุดล้าง และตรวจตาซ้ำอีกครั้ง โดยพลิกเปลือกตาดูให้ละเอียด ถ้ามีสิ่งแปลกปลอม หรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้วยังติดค้างอยู่ ก็ต้องเอาออกให้หมด ตลอดจนตรวจความเสียหายของส่วนต่าง ๆ ในตา และเริ่มให้การรักษาด้วยยาหยอดตาลดอาการอักเสบ และป้องกันการติดเชื้อ พร้อมให้ยาแก้ปวดรับประทาน

 

ฉะนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงจากการทำงานที่มีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรสวมแว่นตาหรือหน้ากากและสวมถุงมือไว้ป้องกันตัว และข้อสำคัญ ต้องทำงานด้วยความระมัดระวังไม่ประมาท

 

แต่ สำหรับหนุ่มสาวที่ตัดสินความรักด้วยน้ำกรดล่ะก็ ขอเถอะค่ะ คุณใช้ความแค้นเป็นตัวผลักดันการกระทำ แต่รู้มั้ยว่า ผู้สูญเสียตลอดกาลคือ ..คุณ.

 

 

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=712

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยา

:blush: :wub:

 

01_75.jpg

 

http://kanchanapisek.or.th/kp4/book344/druk.htm

 

มีผู้ป่วยหลายท่านที่มีพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม และมักมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องในการใช้ยา ทำให้เกิดผลเสียและอันตรายจากการใช้ยา ความเชื่อผิด ๆ ที่พบบ่อยมีดังนี้ คือ

 

ความเชื่อ : ฉีดยาดีกว่ากินยา

 

โดย หลักการแล้ว ยารับประทานเป็นยาที่แพทย์จะเลือกใช้เป็นลำดับแรก เพราะสามารถรักษาโรคหรือบำบัดอาการได้เกือบทั้งหมด ใช้ง่ายและสามารถติดตัวเพื่อรับประทานต่อเนื่อง

 

สำหรับยาฉีดนั้น เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยา หรือในผู้ป่วยหนัก หรือต้องการผลให้ระดับยาสูงขึ้นทันที หลังจากนั้นเมื่อคุมอาการได้ แพทย์ก็จะพิจารณาให้รับประทานยาต่อ

 

ข้อควรรู้ คือ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากยาฉีดนั้นจะแก้ไขได้ยาก หรือรุนแรงมากกว่ายารับประทานและมีบ้าง ที่อาจแก้ไขไม่ทัน

 

 

ความเชื่อ : ยาแพงดีกว่ายาถูก

 

ความ เชื่อนี้ไม่จริงเสมอไป โดยเฉพาะยาปัจจุบันที่มีอยู่ในท้องตลาดเป็นส่วนใหญ่ ยาที่แพงอาจเนื่องจากมีการบวกคำโฆษณา การค้นคว้าในอดีตและการบวกกำไรลงไปในราคายามากเป็นหลายเท่าตัว

 

ข้อ ควรปฏิบัติ คือควรสอบถามผู้ขาย หรือแพทย์ว่ายาดังกล่าวสามารถเชื่อถือคุณภาพได้มากน้อยเพียงใด ใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณาว่ายามีคุณภาพ

 

 

ความเชื่อ : ยาตัวใหม่ดีกว่ายาตัวเก่า

 

ความเชื่อนี้มี ส่วนจริงบ้างแต่ไม่เสมอไป ยาที่ออกใหม่หลายตัวก็มีผลการรักษาที่ไม่แตกต่าง จากยาเดิมแต่ก็มียาใหม่ที่คิดค้นขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่ยาเก่าใช้ไม่ได้ผล อันเป็นปัญหาที่ซับซ้อนสะสมมานาน ทั้งจากด้านผู้ใช้ยาที่ใช้ไม่ถูกต้อง และผู้สั่งใช้ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน หรือแนวทางที่ถูกต้องในการรักษา

 

นอกจากนี้ยาใหม่อาจมีการพัฒนา เพื่อให้ใช้ได้ง่ายขึ้น ลดอาการข้างเคียงบางอย่างลงหรือทันต่อโรคใหม่ ๆ

 

อย่าง ไรก็ตาม ข้อเสียของยาใหม่คือมีข้อมูลการใช้ไม่มากพอ ผู้ใช้จึงเป็นเสมือนหนูลองยาบ่อยครั้งที่ต้องมีการถอนยาตัวนั้นออกจากตลาด หลังจากใช้ไปได้ระยะหนึ่ง เพราะความเป็นพิษรุนแรง บางชนิดทำให้พิการ บางชนิดมีผลให้เสียชีวิต

 

สิ่งที่ควรรู้ คือ การรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นกับการวิเคราะห์อาการได้ถูกต้อง การเลือกใช้ยาที่เหมาะสม ความร่วมมือในการรักษา ความสามารถในการใช้ยาที่มีวิธีการใช้พิเศษ เช่น ยาพ่นและการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ

 

 

ความเชื่อ : เมื่ออาการหายก็ไม่ต้องรับประทานยาต่อ

ความ เชื่อนี้มีทั้งที่จริงและไม่จริง ยาที่รักษาอาการ เช่น ยาแก้ปวดหัว ยาลดไข้ ยาบรรเทาอาการหวัด ยาเหล่านี้เมื่อไม่มีอาการก็สามารถที่จะหยุดได้

 

แต่ ยาที่มีการระบุไว้ที่ฉลากว่า “ควรรับประทานติดต่อกันทุกวันจนหมด” หรือยารักษาโรคเรื้อรัง เช่น ความดันเลือดสูง เบาหวาน จะต้องรับประทานต่อเนื่องตามขนาดและเวลาที่ระบุ ถึงแม้จะควบคุมอาการได้แล้วก็ตาม เพราะเป็นยาที่รักษาที่ต้นเหตุของการเจ็บป่วยนั้น มิฉะนั้นอาจทำให้เรื้อรัง ดื้อยา หรือไม่สามารถควบคุมอาการได้

 

ข้อควรปฏิบัติ คือ สอบถามทุกครั้งที่ได้รับยาว่ามียาขนานใดที่ต้องรับประทานตามขนาดและเวลาที่ สั่งจนหมด ในทางปฏิบัติทั่วไปยาที่ให้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบำบัดเมื่อมีอาการเท่านั้น ที่ไม่ต้องรับประทานจนหมด นอกนั้นควรรับประทานจนหมดเพื่อลดปัญหาการเก็บและการนำกลับมาใช้ใหม่ที่อาจ เป็นอันตราย

 

 

ความเชื่อ : อาการเจ็บป่วยของตนนั้นต้องใช้ยาแรง ยาอ่อนไม่ได้ผล

หากไม่ ได้เป็นโรคเรื้อรัง การเจ็บป่วยแต่ละครั้งนั้นไม่ขึ้นต่อกัน การใช้ยาแต่ละครั้งจึงไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ป่วยมักได้รับการบอกจากผู้ให้บริการว่า สำหรับคุณจำเป็นที่ต้องได้รับยาแรง ยาอ่อนไปไม่ได้ผล หรือร้านนี้ไม่มียาอ่อน การพูดดังกล่าวเป็นเพียงการสร้างความเข้าใจที่ผิดและ ต้องการที่จะให้ผู้รับบริการเชื่อว่าได้รับยาที่ดีที่สุด และเป็นเสมือนการโฆษณาชวนเชื่อสามารถที่จะเรียกเก็บเงินในราคาสูง

 

ยา ที่ดีที่สุดนั้นเป็นยาที่ตรงกับอาการ หรือสาเหตุจริงของการเจ็บป่วย อาการจะหายหรือไม่หาย ขึ้นกับความสามารถในการวิเคราะห์โรคและการเลือกยาที่เหมาะสม

 

ข้อ ควรปฏิบัติ คือบอกเล่าอาการให้ละเอียด มีประวัติการใช้ยา อาหารเสริม สมุนไพร หรือการแพ้ยาอะไร มีโรคประจำตัวหรือไม่ และสอบถามวิธีปฏิบัติ ข้อควรระวังในระหว่างการใช้ยานั้น ๆ

 

 

ความเชื่อ : ยาชุดดีกว่ายาเดี่ยว

 

ยาชุดเป็นการจัดยา หลายขนานเข้าด้วยกันที่นับว่าเป็นเสมือนสิ่งที่ปฏิบัติต่อ เนื่องกันมาของสังคมไทย เพื่อความสะดวกในการรับประทานและง่ายต่อการจัดของผู้ป่วย

 

สำหรับยา เดี่ยวนั้นจะบรรจุยาแต่ละชนิดแยกจากกัน ข้อดีของยาเดี่ยวคือไม่ปนเปื้อนยาบางขนานอาจให้ในเวลาที่ต่างกัน แต่สำหรับชาวบ้านทั่วไปจะยากในการใช้ให้ถูกต้อง ยาชุดหรือยาเดี่ยวจึงไม่แตกต่างกัน ถ้าเป็นยาที่รับประทานเวลาเดียวกันและตรงกับอาการที่เป็นจริง

 

แต่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคือ ยาชุดที่มีการจัดมักจะมีการใส่ยาที่มีอันตรายมาก เช่น สเตียรอยด์ ลงไปในยาชุดโดยหวังให้กด หรือบดบังอาการชั่วคราว และจะเป็นอันตรายร้ายแรงเมื่อใช้ต่อเนื่อง

 

ข้อควรปฏิบัติ คือหากเลี่ยงได้ให้เลี่ยงยาชุดโดยเฉพาะยาชุดที่มีการจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า และให้บอกว่าไม่ต้องการยาสเตียรอยด์

 

ความเชื่อ : ยารับประทานจะรับประทานก่อน หรือหลังอาหารก็ได้ไม่แตกต่างกัน

 

ความเชื่อนี้ไม่จริงเสมอไป โดยมากแล้วยารับประทานมักจะให้รับประทานหลังอาหารเพื่อสะดวกในการรับประทาน และไม่ลืม เป็นการเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา

 

ยาหลังอาหารนั้นสามารถ ที่จะรับประทานหลังอาหารได้ทันทีหรือภายในครึ่งชั่วโมง

 

สำหรับยาก่อน อาหารจะต้องรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง

 

อย่าง ไรก็ตามหาระบุให้รับประทานก่อนอาหาร พร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที ก็ควรที่จะปฏิบัติตามเวลาที่รับประทานที่ถูกต้องของยา ดังกล่าว เนื่องจากยาบางตัวไม่ทนกรด ยาบางตัวมีผลกัดกระเพาะ ยาบางตัวจะดูดซึมได้ดีเมื่อรับประทานพร้อมอาหารหรืออาหารที่มีไขมันสูง

 

ข้อ ควรรู้ การ ได้รับยาที่มากกว่า 1 ขนานสามารถที่จะเกิดยาตีกันได้ (อันตรกิริยาของยา) ในบางครั้งการให้รับประทานก่อนหรือหลังอาหารแยกจากกัน ก็มีจุดมุ่งหมายที่ จะป้องกันไม่ให้ยาตีกันดังกล่าว จึงควรที่จะรับประทานให้ถูกต้องเพื่อผลการรักษาที่ดีและลดอาการอันไม่พึง ประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้

 

 

 

ข้อมูล : คณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์และข่าวสารสาขาเภสัชกรรม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรค “ปวดหัว” ของคนทำงาน :angry: :wub:

นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง

 

 

หากมีใครคนหนึ่งถามว่า “คุณเคยปวดศีรษะไหม” คงมีไม่กี่คนที่จะตอบได้อย่างมั่นใจว่า "ฉันไม่เคยปวดศีรษะเลยในชีวิต"

 

โรคปวดศีรษะเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป จากการศึกษาทางสถิติพบว่า โดยเฉลี่ยผู้ชายร้อยละ 93 และผู้หญิงร้อยละ 99 ต่างเคยมีอาการปวดศีรษะในช่วงชีวิต แม้ว่าอาการปวดศีรษะของคนโดยส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง แต่ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่อาการปวดศีรษะมีความรุนแรงและเรื้อรังทำให้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะถ้าอาการปวดศีรษะนั้นเกิดขึ้นในวัยทำงาน

 

สาเหตุของอาการปวดศีรษะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ โดยในคนสูงอายุจะมีโอกาสเกิดโรคที่มีสาเหตุร้ายแรง เช่น โรคเนื้องอกสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดอักเสบ มากกว่าวัยรุ่นและวัยทำงานซึ่งมักมีสาเหตุจากโรคไมเกรน โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว และโรคปวดศีรษะจากความเครียด อย่างไรก็ตามในวัยทำงานซึ่งถือว่าเป็นวัยที่มีภาระและความรับผิดชอบสูง หากมีโรคปวดศีรษะมารบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันก็เหมือนกับฝันร้ายในขณะตื่นเลยทีเดียว

 

1. โรคปวดศีรษะชนิดใดพบบ่อยที่สุดในวัยทำงาน?

เราอาจเคยได้ยินบางคนบ่นว่า มีอาการปวด มึนๆ ตึงๆ ที่ศีรษะหลังจากทำงานหนัก พักผ่อนน้อย หรือมีความเครียด โดยอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณว่า คุณกำลังมีอาการของ “โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว” ซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุด คำว่า “ตึงตัว” บ่งชี้ถึงลักษณะอาการของโรคปวดศีรษะชนิดนี้ คือ มีลักษณะปวดตึง บีบรัดศีรษะ ลักษณะคล้ายกับนำหมวกคับๆ มาสวม อาการปวดมักพบร่วมกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอและหัวไหล่ รวมถึงอาการปวดกระบอกตาและอาการมึนศีรษะ โดยอาการมักบรรเทาได้ด้วยการนวดบริเวณที่ปวดตึง อาการปวดมักมีระดับไม่รุนแรงและไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องพักหรือหยุดงาน อาการปวดมักบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป เช่น พาราเซตามอล อย่างไรก็ตามแม้ว่าอาการปวดจะไม่รุนแรง แต่ผู้ป่วยที่ปล่อยให้เกิดอาการปวดเรื้อรังจะทำให้ยากต่อการรักษาและมีผลต่อสุขภาพจิต นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่กินยาแก้ปวดเป็นประจำอาจนำไปสู่การติดยาแก้ปวดได้1

 

เนื่องจากอาการปวดมักมีความสัมพันธ์กับความเครียด ทำให้มีความเชื่อว่าสาเหตุของโรคเกิดจากความเครียด แต่จากการศึกษาพบว่า ความเครียดไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคโดยตรง แต่เป็นเพียงแค่ปัจจัยกระตุ้นเท่านั้น ในปัจจุบันแม้ว่าได้มีการศึกษาค้นคว้าหาสาเหตุของโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัวมาเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่สามารถบ่งชี้สาเหตุของอาการปวดศีรษะชนิดนี้ได้อย่างแน่ชัด

 

การรักษาและการป้องกันโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว ได้แก่ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น ความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดโปร่ง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้เนื่องจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอและหนังศีรษะมีความเกี่ยวพันกับการนั่งหรือนอนอยู่ในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นการนั่งหรือนอนให้อยู่ในท่าที่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อจึงบรรเทาอาการและป้องกันอาการปวดศีรษะได้ อาการตึงตัวของกล้ามเนื้อสามารถบรรเทาได้ด้วยการนวดหรือการประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน ซึ่งนอกจากจะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกแล้ว ยังลดผลข้างเคียงของยาแก้ปวดได้อีกด้วย

2.“โรคไมเกรน”

โรคปวดศีรษะที่พบบ่อยรองลงมา ได้แก่ ถึงแม้ว่าโรคไมเกรนจะเป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้น้อยกว่าโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว แต่ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะที่มีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อการทำงานมากกว่า เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ประสาทสัมผัสของผู้ป่วยไมเกรนจะเพิ่มความไวในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เสียง แสง กลิ่น ล้วนเป็นสิ่งกระตุ้นชั้นยอดต่ออาการปวดศีรษะ ร่างกายต้องพักจากการเคลื่อนไหว เนื่องจากการเคลื่อนไหวจะกระตุ้นให้อาการปวดศีรษะเลวร้ายมากขึ้น จึงถือได้ว่าไมเกรนเป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานอย่างแท้จริง นอกจากนี้โรคไมเกรนยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ การมองเห็นผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน หงุดหงิดง่าย การนอนผิดปกติ ซึ่งยิ่งซ้ำเติมทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงไปอีก

 

เนื่องจากโรคไมเกรนมีผลต่อการหดและขยายตัวของหลอดเลือดสมอง ผลของโรคไมเกรนจึงไม่ได้ทำให้เกิดแค่อาการปวดศีรษะเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดสมองตีบหรืออัมพาตอีกด้วย จากการศึกษาโดยนายแพทย์ Markus Schurks จาก Brigham and Women’s Hospital ในเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา พบว่า ในผู้ป่วยโรคไมเกรนชนิดออร่าเรื้อรัง (ผู้ป่วยจะมีอาการมองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นแสงก่อนหรือขณะปวดศีรษะ) จะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ผลจากการศึกษาทำให้ผู้ป่วยโรคไมเกรนต้องตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาโรคไมเกรนและการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้

 

หลักการรักษาโรคไมเกรนที่สำคัญที่สุด คือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอาการปวดศีรษะซึ่งได้แก่ กลิ่นฉุน แสงจ้า เสียงดัง อากาศหนาวหรือร้อนจนเกินไป นอนผิดเวลา นอนมากหรือน้อยเกินไป ความเครียด อาหารบางชนิด เช่น เนื้อที่ผ่านการถนอมอาหาร เนย เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากอาการปวดศีรษะมีความรุนแรงหรือความถี่มากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการแนะนำและการรักษาในขั้นต่อไปความเครียดกับอาการปวดศีรษะ

ในสภาวะปัจจุบันท่ามกลางสังคมแห่งการแข่งขัน ปัญหาทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การงาน ปัญหาครอบครัว รวมไปถึงเรื่องการเมือง เป็นบ่อเกิดของความเครียดที่เพิ่มขึ้นในสังคม มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการปวดศีรษะร่วมกับความเครียด โดยเราได้ยินกันเป็นประจำกับคำว่า “เครียดจนปวดหัว” แต่ในความเป็นจริงแล้ว คงมีหลายคนสงสัยว่าความเครียดสามารถเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้จริงหรือ และถ้าเรากำจัดความเครียดออกไปได้แล้วอาการปวดศีรษะจะหายหรือไม่

ความเครียดมีความเกี่ยวพันกับอาการปวดศีรษะได้หลายแง่มุม หากความเครียดเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะโดยตรง เรียกโรคปวดศีรษะชนิดนี้ว่า

 

3. “โรคปวดศีรษะจากความเครียด”

 

อีกกรณีหนึ่งคือความเครียดไม่ได้ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะโดยตรง แต่เป็นเพียง “ปัจจัยกระตุ้น” ให้อาการปวดจากโรคปวดศีรษะชนิดอื่นๆ กำเริบรุนแรงมากยิ่งขึ้น โรคปวดศีรษะที่ความเครียดเป็นตัวกระตุ้น ได้แก่ โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัวและโรคปวดศีรษะไมเกรน ในทางการแพทย์การวินิจฉัยแยกโรคปวดศีรษะที่มีความเกี่ยวพันกับความเครียดทั้งสองกรณีออกจากกันมีความสำคัญในแง่การรักษาและการพยากรณ์โรคในระยะยาว

 

โรคปวดศีรษะจากความเครียดมีลักษณะการปวดได้หลายชนิด แต่อาการปวดมักไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดตึง มึนศีรษะ หรือบางรายมีอาการปวดตุบๆ เหมือนอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยไมเกรน หลักเกณฑ์ในการให้การวินิจฉัยคือ ผู้ป่วยต้องมีความเครียดในระดับสูงมากพอที่จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาการที่แสดงถึงความเครียดในระดับสูง ได้แก่ กระวนกระวาย อ่อนเพลียง่าย สมาธิสั้น กล้ามเนื้อตึงตัว มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน และมีความเครียดที่ยากต่อการควบคุม การรักษา ได้แก่ ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด หรืออาจพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการผ่อนคลายความเครียด ซึ่งโรคปวดศีรษะชนิดนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้

 

ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดเป็นตัวกระตุ้น การรักษานอกจากจะลดความเครียดแล้ว ยังต้องรักษาโรคปวดศีรษะที่เป็นอยู่ด้วย เช่น หากเป็นโรคไมเกรนอาจต้องใช้ยารักษาโรคไมเกรนควบคู่ไปกับการลดความเครียด เป็นต้น

4. โรคปวดศีรษะกับการใช้งานคอมพิวเตอร์

 

ในยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานจนเราจินตนาการได้ยากว่าการทำงานโดยปราศจากคอมพิวเตอร์เป็นอย่างไร ในแต่ละวันเราต่างใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์กันคนละหลายชั่วโมง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทเนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์

 

เมื่อเราจดจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แสงสว่างของจอมีผลทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดการเกร็งตัว นอกจากนี้จอภาพยังมีผลทำให้สมองส่วนการรับภาพต้องทำงานหนักและทำให้เกิดภาวะเครียดและอาการมึนศีรษะตามมา อาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ได้แก่ อาการปวดศีรษะ มึนเวียนศีรษะ ระคายเคืองตา ปวดหรือหนักกระบอกตา การมองพร่ามัว นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ในระยะเวลานานมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคต้อหินอีกด้วย

 

วิธีการหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ ได้แก่ ปรับความสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม โดยทั่วไปความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรเท่ากับความสว่างของสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน การใช้ฟิล์มกรองแสงที่หน้าจอหรือการใส่แว่นตาที่มีการเคลือบกันแสงสะท้อนจากหน้าจอ (anti-reflective [AR] coating) การเช็กสายตาอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากปัญหาทางสายตา เช่น สายตาสั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น การบริหารดวงตาโดยการละสายตาจากคอมพิวเตอร์และกลอกตาไปมาเป็นเวลา 10-20 วินาที ทุกๆ 20 นาทีของการใช้คอมพิวเตอร์ การกะพริบตาบ่อยๆ เพื่อป้องกันอาการตาแห้งและระคายเคืองสายตา เพียงเท่านี้ก็ทำให้การทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ไม่สร้างความเครียดให้สมองและสายตามากนัก

5.โรคปวดศีรษะจากผลของคาเฟอีน

 

เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เป็นที่นิยมอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในสังคมมนุษย์ไปแล้ว จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่า ประชากรทั่วไปดื่มกาแฟโดยเฉลี่ยมากถึง 2.5 แก้วต่อวัน ซึ่งคาเฟอีนที่เป็นส่วนผสมอยู่ในเครื่องดื่มจะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้ร่างกายและสมองเกิดความตื่นตัว ไม่ง่วงนอน กระตุ้นระบบหัวใจและหลอดเลือด มีผลให้ร่างกายทนต่อการทำงานได้มากขึ้น

 

ผลของคาเฟอีนต่อสมองและหลอดเลือดมีความเกี่ยวพันกับโรคปวดศีรษะหลายชนิดทั้งในด้านบวกและด้านลบ ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดของคาเฟอีนได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดศีรษะฉับพลันของโรคไมเกรน แพทย์บางท่านแนะนำว่า เมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรนฉับพลัน การดื่มกาแฟสักหนึ่งแก้วสามารถทำให้อาการทุเลาได้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าคาเฟอีนสามารถระงับอาการปวดศีรษะไมเกรนฉับพลัน แต่การบริโภคคาเฟอีนติดต่อกันเป็นระยะยาว ไม่ว่าจากการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือใช้ยาที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนเป็นประจำ จะทำให้สมองเกิดการดื้อต่อคาเฟอีนและเกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยาต้านไมเกรน ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคไมเกรนหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ หากบริโภคคาเฟอีนในปริมาณมากยังมีผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย สมาธิสั้น ซึ่งทำให้กระตุ้นโรคปวดไมเกรนและโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัวทางอ้อมอีกด้วย

 

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเป็นระยะเวลานาน ร่างกายและสมองจะเกิดการปรับตัวให้เกิดภาวะติดคาเฟอีน ซึ่งทำให้เมื่อหยุดดื่มคาเฟอีนจะมีอาการปวดศีรษะ เรียกโรคปวดศีรษะชนิดนี้ว่า “โรคปวดศีรษะจากการขาดคาเฟอีน” (caffeine withdrawal headache) โดยโรคปวดศีรษะจากการขาดคาเฟอีนจะเกิดขึ้นในคนที่บริโภคคาเฟอีนอย่างน้อย 200 มิลลิกรัมต่อวัน (ปริมาณเท่ากับกาแฟ 2 แก้ว หรือชา 4 แก้ว) ซึ่งอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ทุเลาเมื่อระยะเวลาผ่านไปหลังหยุดบริโภคคาเฟอีนเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์

 

เนื่องจากอาการปวดศีรษะที่พบได้ในวัยทำงานมีความหลากหลาย สิ่งที่สำคัญคือการสังเกตและเอาใจใส่ต่ออาการและสภาพแวดล้อมที่อาจมีส่วนกระตุ้นอาการปวดศีรษะ การละเลยที่จะค้นหาถึงสาเหตุของอาการปวดศีรษะที่แท้จริงและทำให้การรักษาล่าช้าตั้งแต่ระยะแรก อาจทำให้โรคปวดศีรษะมีความยากต่อการรักษา และหลายคนอาจต้องบ่นออกมาว่า “รู้อย่างนี้ รักษาตั้งแต่แรกก็ดี” ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในวัยทำงานและกำลังมีอาการปวดศีรษะ คุณได้สำรวจอาการปวดศีรษะของคุณแล้วหรือยัง

 

http://www.healthtoday.net/thailand/feature/feautre_110.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รู้ได้อย่างไร! ลูกน้อยในท้องปัญญาอ่อน (1)

 

บทความโดย : รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ สูตินรีแพทย์

 

 

 

553000008430801.JPEG

 

ซ้ายคือโครโมโซมที่เซลไม่แบ่งตัว ส่วนขวาคือโครโมโซมที่เซลแบ่งตัว

 

ในอดีต การที่ใครคลอดลูกออกมาแล้วปัญญาอ่อน ก็ต้องถือว่าเป็นเวรเป็นกรรม เพราะเรายังไม่มีวิธีการใดๆ เลยที่จะตรวจลูกที่อยู่ในท้องว่าจะปัญญาอ่อนหรือไม่ แต่ในปัจจุบันเราสามารถทำได้แล้วและที่ทำได้ก็มีหลายวิธีครับ

 

 

รู้จักเด็กปัญญาอ่อนหรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์

 

เด็กปัญญาอ่อน หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่พบบ่อยที่สุด

การที่เรียกเด็กที่มีปัญญาอ่อนในอีกชื่อหนึ่งว่า เด็กกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) ก็เพราะว่าเด็กพวกนี้จะมีรูปร่างลักษณะและพัฒนาการบางอย่างของร่างกายที่แตกต่างไปจากเด็กปกติ ผู้ที่บรรยายลักษณะที่ว่านี้เป็นคนแรก คือ นายแพทย์ชาวอังกฤษชื่อว่า จอห์น แลงดอน ดาวน์ (John Langdon Down) ซึ่งได้บันทึกลักษณะที่พบในเด็กกลุ่มนี้ไว้ในปี ค.ศ.1866

 

ลักษณะเด็กกลุ่มอาการดาวน์

เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีใบหน้าและรูปร่างลักษณะที่จำเพาะ ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยโดยแพทย์และพยาบาลได้ตั้งแต่แรกเกิด ลักษณะโดยทั่วไปของเด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมาและมีลักษณะคับปาก มือสั้น ขาสั้น ตัวเตี้ย มักมีโรคหัวใจพิการ หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด มีลักษณะตัวที่ค่อนข้างนิ่ม หรืออ่อนปวกเปียก มีพัฒนาการที่ล่าช้าของการนั่ง ยืน เดิน และการพูด ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะมีใบหน้าที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเกิดมาจากแม่คนไหนก็ตาม และจะแตกต่างจากพี่น้องท้องเดียวกันที่ปกติ

 

 

รู้จักโครโมโซม สาเหตุของกลุ่มอาการดาวน์

ดังที่กล่าวแล้วว่า เด็กกลุ่มอาการดาวน์เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม แต่พูดเท่านี้ เชื่อว่า คุณแม่ที่ไม่มีพื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คงงงอยู่เหมือนกันว่าโครโมโซมที่ว่าคืออะไรกัน ผมเข้าใจครับ จึงได้อธิบายคำว่า “โครโมโซม” อย่างง่ายๆ เพื่อให้เข้าใจกันก่อนจะลงลึกในรายละเอียด ลองนึกภาพตามไปนะครับ

 

โดยทั่วไปร่างกายของคนเรา ประกอบด้วย อวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มือ แขน ขา และอีกสารพัด ซึ่งทุกอวัยวะจะประกอบด้วย หน่วยที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า เซลล์ (Cell) โดยเซลล์ของแต่ละอวัยวะจะมีลักษณะรูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกันไป เซลล์ของกล้ามเนื้ออาจมีรูปร่างเหมือนกระสวย ในขณะที่เซลล์ของสมองมีรูปร่างเหมือนรูปดาว 5 แฉก

553000008430802.JPEG

โครโมโซมของทารกเพศหญิงที่มีกลุ่มอาการดาวน์ (ปัญญาอ่อน)

 

แต่ไม่ว่าเซลล์นั้นจะเป็นเซลล์ของอวัยวะใดก็ตาม จะมีส่วนประกอบข้างในคล้ายคลึงกัน คือ ภายในแต่ละเซลล์ จะมีก้อนเล็กๆ ซึ่งมีสีทึบอยู่ภายในเรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus) และภายในนิวเคลียสนั้นจะมีเส้นลายเล็กๆ เต็มไปหมดซึ่งเรียกว่า “โครโมโซม” (Chromosome)

 

โดยปกติ เซลล์จะมีการแบ่งตัวเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาตลอดเวลา ทั้งนี้ เพื่อสร้างอวัยวะขึ้นมาใหม่ หรือให้เติบโตมากขึ้น หรืออาจจะสร้างขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสลายไป ในขณะที่เซลล์กำลังมีการแบ่งตัว เส้นโครโมโซมที่เคยเห็นเป็นเส้นลายเล็กๆ จะหดตัวจนเห็นเป็นแท่งๆ ชัดเจน ซึ่งโดยปกติคนเราจะมีแท่งโครโมโซมของแต่ละเซลล์ในจำนวนที่แน่นอนคือ 46 แท่ง หรือ 23 คู่ โดยที่โครโมโซมครึ่งหนึ่งมาจากแม่ (23 แท่ง) และครึ่งหนึ่งมาจากพ่อ (23 แท่ง) โดยผ่านการผสมของเชื้ออสุจิของพ่อและไข่ของแม่

 

ในจำนวนโครโมโซมทั้ง 23 คู่นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

 

1.โครโมโซมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเพศ (autosome) มีจำนวน 22 คู่

2.โครโมโซมที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเพศ (sex chromosome) มีจำนวน 1 คู่ โดยที่ในเพศหญิง

โครโมโซมคู่นั้นจะมีลักษณะเหมือนกัน เรียกว่า โครโมโซม XX ในขณะที่โครโมโซมในเพศชายจะมีลักษณะและขนาดที่ต่างกัน เรียกว่า โครโมโซม XY

 

ความผิดปกติของโครโมโซมกับกลุ่มอาการดาวน์

 

แทนที่จะมีเซลล์ละ 46 แท่ง กลับมี 47 แท่ง โดยเฉพาะถ้าแท่งที่เกินมาเป็นของโครโมโซมคู่ที่ 21 ทำให้โครโมโซมคู่ที่ 21 แทนที่จะอยู่กันเป็นคู่เพียง 2 แท่ง ก็กลับมี 3 แท่ง ทางการแพทย์เรียกความผิดปกตินี้ว่า Trisomy 21 ซึ่งเป็นสาเหตุของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ถึงร้อยละ 95

 

นอกจากนี้ ยังมีความผิดปกติของโครโมโซมแบบอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคกลุ่มอาการดาวน์ เพียงแต่มีบทบาทไม่มากนัก ที่พบคือ การที่โครโมโซมคู่ที่ 14 ยึดติดกับคู่ที่ 21 หรือบางคนมีเซลล์ของร่างกาย โดยที่บางเซลล์มีโครโมโซม 46 แท่ง แต่บางเซลล์มี 47 แท่ง เป็นต้น

 

คำถามคือ ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ไม่รู้เหมือนกัน แต่น่าจะเกิดจากความบังเอิญ หรือโชคไม่ดี อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ มักพบปัญหานี้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก มากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อย เป็นไปได้ไหมว่า การแบ่งเซลล์และโครโมโซมของผู้ที่อายุมากอาจมีประสิทธิภาพไม่ดี ทำให้ผิดพลาดเกิดเรื่องได้ง่าย

 

เนื้อที่สำหรับสัปดาห์คงหมดแต่เพียงเท่านี้ แต่สัปดาห์หน้าเราก็จะยังคงอยู่กับกรณีกลุ่มอาการดาวน์ ทั้งการตรวจด้วยการเจาะน้ำคร่ำและรวมถึงข้อเท็จจริงที่หลายคนสงสัยในประเด็น “ดาวน์ซินโดรมกับพันธุกรรม” ด้วย

 

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000079477

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แวะมาบวกคะแนนให้คนขยัน :wub: :wub:

 

อืม เขาขยันจริงๆเน๊าะ เอาการเอางานจริงๆ ไม่ค่อยจะเล่นหัวเลย สงสัยจะแก่จัด อิอิ ล้อเล่นน้า33c4b951.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มันยังไม่ค่อยสบายดีนักค่ะ ก็ไปหาวิธีให้สบายตัวเร็วๆค่ะ เช่น ฝังเข็ม อ๊ะ พูด ซีเรียสไปอะเปล่า ก็เลยยังไม่มีเวลาเล่น และต้องพาพ่อ ไปหาหมอด้วย

ไหน ไหนก็พูดถึงการฝังเข็ม เลยเก็บเอามาฝา

 

--------------------------------------------------------------------------------

 

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

:unsure: :o :D

 

 

แนวคิดที่ถือเป็นแก่นกลางของการแพทย์แผนโบราณจีนนั้นได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับ "สมดุลแห่งชีวิต" นั่นคือว่า

 

การที่ชีวิตของคน ๆ หนึ่งจะดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขนั้น จะต้องดำรงอยู่ในสภาวะที่สมดุลระหว่างร่างกายของคนผู้นั้นกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และระหว่างระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่งกายของผู้นั้นได้วย หากมีปัจจัยเหตุใดเหตุหนึ่งมาทำลายความสำดุลในการดำรงชีวิตของร่างกายนั้นกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มันจะนำไปสู่การเสียสมดุลของระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย และก็จะทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาได้

 

ในขณะเดียวกัน การเสียสมดุลของระบบอวัยวะภายในร่างกายเองก็จะยิ่งทำให้ร่างกาย ไม่สามารถปรับตัวให้สมดุลกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และหากไม่ได้รับการแก้ไข ชีวิตก็จะถึงจุดดับสิ้นไปในที่สุด

ตามทฤษฎีการแพทย์จีนนั้น เชื่อว่า

 

"............ภายในร่างกายของคนเรา จะมีเลือดและลมปราณซึ่งได้รับมาจากพ่อแม่โดยกำเนิด ไหลหมุนเวียนไปตามเส้นลมปราณต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งร่างกาย เป็นพลังงานผลักดันใหอวัยวะต่าง ๆ สามารถเคลื่อนไหวทำงานได้ และมีการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันเป็นอย่างดี ร่างกายจึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ

 

เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดลมปราณติดขัด อวัยวะต่าง ๆ ก็จะทำงานผิดปกติไป หากความผิดปกตินั้นไม่สามารถปรับแก้ไขกลับคืนมาได้ ร่างกายก็จะเกิดการเสียสมดุลกับธรรมชาติ แล้วมีอาการของโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น ......."

 

บรรพบุรุษชาวจีนในยุคโบราณได้ค้นพบว่า การใช้เข็มปักลงไปยังจุดบางตำแหน่งในร่างกาย สามารถกระตุ้นลมปราณให้ไหลเวียนต่อไปได้ โดยไม่ติดขัด จึงทำให้อวัยวะที่ทำงานผิดปกติไปนั้นกลับคืนสู่สภาพปกติ สามารถขจัดปัจจัยที่ก่ออันตรายแก่ร่างกายออกไป จากนั้นความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นก็จะหายไปได้

 

 

ตามแนวคิดของการแพทย์แผนโบราณจีนนั้น การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 3 ประการ คือ

 

1. แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด

2. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุล

3. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย

 

 

ในช่วง 200 กว่าปีที่ผ่านมานั้น อันเป็นยุคที่อารยธรรมการแพทย์แผนตะวันตกได้แก้วหนาและแพร่หลายไปทั่วโลก แนวคิดการแพทย์แผนโบตราณดังกล่าวข้างต้นถือว่าเป็นเรื่องที่ "ไม่เป็นวิทยาศาสตร์และไร้เหตุผล" ทำให้วิชาการฝังเข็มได้รับความนิยมลดน้อยลงมาโดยตลอด

 

อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งศตวรรณที่ผ่านมานี้ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ระบบประสาท (neuroscience) และการค้นคว้าเกี่ยวกับการฝังเข็มในเชิงวิทยาศาสตร์ก็ได้ค่อย ๆ พิจสูจน์ให้เห็นแล้วว่า แนวคิดที่ชาวจีนได้เสนอเอาไว้ตั้งแต่โบราณนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยพื้นฐาน

 

จากการศึกษาพบว่า เมื่อปักเข็มลงบนร่างกาย มันสามารถกระตุ้นทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้สะดวกขึ้น ภาวะเลือดคั่งของบริเวณนั้นึงลดลง ช่วยทำให้มีสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ทำให้สารของเสียที่คั่งค้างบริเวณนั้นลดน้อยลง ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีการบาดเจ็บ ได้รับการซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้

 

ในกรณีที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อปักเข็มลงไปลึกจนถึงชั้นกล้ามเนื้อแล้วกระตุ้นด้วยวิธีที่เหมาะสมกล้ามเนื้อที่หดเกร็งก็จะมีการคลายตัวออกมาได้ ฤทธิ์ของการฝังเข็มในข้อนี้มีประโยชน์มาก ในการรักษาอาการเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่เสมอ ดังเช่น ในกรณีของการปวดแขนขา ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดบั้นเอว เป็นต้น

 

วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด (Physiotherapy) หลาย ๆ อย่าง เช่น การนวด การประคบด้วยความร้อน การใช้คลื่นความถี่สูงอุลตราซาวนด์ ก็มีฤทธิ์ช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น หรือมีการคลายตัวของกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณนั้นคลายกับการฝังเข็มเหมือนกัน

 

แต่ว่าการฝังเข็มมีข้อที่เดินกว่าตรงที่ มันสามารถคลายกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ลักได้ดีกว่า และสามารถปักเข็มเลือกคลายกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามที่ต้องการก็ได้

 

การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดีกว่า

 

http://www.thaiacupuncture.net/public/index.php?option=com_content&task=view&id=22&Itemid=1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคไม่มีตังเนี่ยฝังเข็มแล้วหายไหมฮึ

บวกให้ 1คะแนนนะจร้า เดี๋ยวจะบวกให้จนล้นเลย จะได้รู้สึกลำบากกะการเป็นคนดีที่ต้องรักษาความดีเอาไว้(ภาษาบาลีเรียกว่า อุปาทาน แปลว่าการยึดติด)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคภูมิแพ้....

 

 

 

โรคภูมิแพ้คืออะไร

 

ภูมิแพ้ คืออาการที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิไวเกินต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ซึ่งในคนปกติไม่เกิดปฏิกิริยานี้ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกินเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ ซึ่งเป็นไปได้มากมายเช่น ฝุ่น รา ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ แม้กระทั่งอาหาร

 

อาการของภูมิแพ้เกิดขึ้นได้ในหลายๆ อวัยวะ เช่น ผิวหนัง จมูก ตา ฯลฯ

 

ภูมิแพ้พบในคนทั่วไปมากถึง 15-45 % ของประชากรทั้งหมด และพบอาการจากไซนัสอักเสบมากที่สุดในบรรดาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้

 

อาการของโรคภูมิแพ้

 

โรคภูมิแพ้มีได้หลาย อาการ ตามอวัยวะที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น อาการจาม น้ำมูกไหล คัดจมูก คันจมูก คันตา คันบริเวณเพดานปากและลำคอ โรคหอบหืด เยื่อบุตาอักเสบ หน้าแดง บวม ผื่นคันทางผิวหนัง ฯลฯ

 

กลไกการเกิด ปฏิกิริยาภูมิแพ้

 

ภูมิแพ้ทั่วๆ ไป มักเกิดจากปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันที่ชื่อ IgE เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ เข้าไปในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะทำการจดจำและสร้างภูมิคุ้มกัน IgE ต่อสารนั้น และเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปอีก สารก่อภูมิแพ้ จะไปจับกับ IgE ซึ่งอยู่บนเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดขาวนี้จะแตกออกและปล่อยสารปฏิกิริยาภูมิแพ้ ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นคือ ฮิสตามีน (histamine) ฮิ สตามีน ทำให้เยื่อบุจมูก เยื่อบุตา ลำคอ เกิดการอักเสบ เกิดการบวม และสร้างเมือกออกมามากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล และคันจมูกตามมา

 

ปฏิกิริยาที่กล่าวถึง ดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นในทุกคน แต่ผู้ที่มีอาการโรคภูมิแพ้ จะเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวมากกว่าคนปกติ จึงเรียกกันว่าเป็นปฏิกิริยาภูมิไวเกิน

 

ทำไมจึงเป็นโรคภูมิ แพ้

 

โรคภูมิแพ้ มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้น เมื่อได้รับสารแปลกปลอม ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ เข้ามาในร่างกายต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ จนกระทั่งร่างกายเกิดปฏิกิริยา มีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารชนิดนั้น เมื่อเราได้รับสารก่อภูมิแพ้นั้นเข้าไปอีก ก็จะเกิดปฎิกิริยาภูมิแพ้ วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ชนิดนี้ ต้องสร้างภูมิคุ้มกันอีกประเภทหนึ่งขึ้นมา เพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ นายแพทย์ Theurer ชาวเยอรมัน ได้ค้นพบวิธี Autohaemotherapy ประยุกต์ เรียกว่า Counter-sensitisation สามารถรักษาภูมิแพ้ให้หายได้ในบางราย ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

 

ในระยะหลังมานี้ เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้าน Immunology มี การพูดถึงสาเหตุใหม่ๆ ในการเกิดโรคภูมิแพ้ เช่น การติดเชื้อซ้ำซากยาวนาน ทั้งที่เกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส ยีสต์ หรือพยาธิ หรือปัจจัยภายนอกใดๆ ที่คงอยู่ในตัวเรา หรือสัมผัสกับร่างกายเรา โดยที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดออกได้หมด เป็นเวลาต่อเนื่องกันนาน ๆ ในที่สุดก็จะกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน ให้ผลิตภูมิคุ้มกันชนิดกว้างและมีความเจาะจงน้อย ซึ่งจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อสารต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นคนแพ้สิ่งต่างๆ ได้ง่าย และบางครั้งมีภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านเนื้อเยื่อของตนเองเกิดขึ้น กลายเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง การรักษาภูมิแพ้ชนิดนี้ ต้องกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุให้หมดไป และเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ดีมากยิ่งขึ้น

 

มีอาการภูมิแพ้อีก ประเภทหนึ่ง ที่เป็นเฉพาะเวลาร่างกายประสบกับภาวะเครียด ทั้งทางร่างกายหรือทางจิตใจก็ตาม เนื่องจากความเครียดจะเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ด้วยการกระตุ้นต่อมไร้ท่อต่างๆ เช่น ต่อมหมวกไต ต่อมไทรอยด์ การสร้างกรดในกระเพาะอาหาร ฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไป ระบบป้องกันตนเองของร่างกายจะค่อยๆ อ่อนแอลงไป ร่างกายเกิดการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น ด้วยการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อฝุ่นละออง และสารต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย มีเสมหะแห้งๆ ในคอตลอดเวลา น้ำมูก มึนงง ไม่สดชื่น ฯลฯ

 

โรคภูมิแพ้ที่เกิด จากอาหาร

 

มีคนจำนวนมาก ที่เชื่อว่าตนเองแพ้อาหาร อย่างใดอย่างหนึ่ง อาหารที่ทำให้แพ้ได้บ่อยได้แก่ ไข่ ถั่วชนิดต่างๆ อาหารทะเล สตรอเบอรรี่ เป็นต้น บางคนแพ้สารที่ปนเปื้อนมากับอาหาร หรือ สารที่ใช้ในการถนอมอาหาร การแพ้อาหารเกิดอาการได้แตกต่างกัน เช่น ท้องเดิน มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ปวดศรีษะ หน้าบวม ปวดข้อ เวียนศรีษะ

 

การแพ้อาหารอาจแบ่งออก ได้เป็น ๒ ประเภท คือ การแพ้ที่ปรากฎชัดเจน กับการแพ้ที่ไม่ปรากฎชัดเจน การแพ้อาหารที่ปรากฏชัดเจนนั้น แพทย์จะสามารถตรวจพบปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน เช่น การขีดลงบนผิวหนังให้ผลบวก แต่การแพ้อาหารอีกประเภทหนึ่ง ที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ การแพ้ที่ไม่ปรากฏชัดเจน ผู้ป่วยจะมีอาการแพ้ต่ออาหารปกติที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น นม ข้าวโพด แป้งข้าวสาลี น้ำตาล ชอคโกแลต สีผสมอาหาร กลิ่น สารถนอมอาหาร โดยจะเกิดการแพ้แบบค่อยเป็นค่อยไปและสะสมใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการที่พบได้คือ อ่อนเพลีย คัดจมูก ปวดท้อง ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการทางประสาท ผู้ป่วยมักจะไม่รู้ว่าตนเองแพ้อาหาร และอาการจะเป็นแบบเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยต้องแสวงหาหมอ แสวงหายามารักษาตนเอง โดยไม่มีทีท่าว่าจะหาย การแพ้อาหารประเภทหลังนี้ อาจเกิดจากร่างกายได้รับสารเคมีตกค้างที่มาในอาหาร พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพ การมีอนุมูลอิสระมากเกินไป หรือการมียีสต์เจริญงอกงามมากเกินไปในลำไส้ โดยยีสต์จะแบ่งตัวและแตกหน่อ ฝังตัวเองลงไปในเยื่อบุลำไส้ ส่งผลให้อาหารโมเลกุลใหญ่ที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์ จะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เข้าไปในกระแสเลือดได้ อาหารโมเลกุลใหญ่เช่นนั้น ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน ทำให้แพ้อาหาร

 

การรักษาโรค ภูมิแพ้

 

แพทย์มักแนะนำให้ผู้ ป่วยหลีกเลี่ยงจากสารที่ทำให้แพ้ คำแนะนำนี้ดูเหมือนจะเป็นไปได้เฉพาะกรณีเท่านั้น เพราะบางครั้งผู้ป่วยไม่อาจทราบได้ว่าตนเองแพ้อะไรบ้าง และบางครั้งสิ่งที่แพ้ก็เป็นสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน

 

การออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอ รักษาความสมดุลย์ของร่างกายทั้งทางร่างกายและจิตใจ การลหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิษ การเพิ่มความสามารถของร่างกายในการต้านอนุมูลอิสระ เหล่านี้มีความสำคัญในการสู้กับโรคภูมิแพ้

 

การใช้ยาในการรักษาโรค ภูมิแพ้ เป็นการรักษาตามอาการ มากกว่าที่จะกำจัดสาเหตุที่แท้จริง แพทย์จะใช้ยาต้านปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น ยาต้านฮีสตามีน ในรายที่รุนแรงมากๆ อาจต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Cyclosporin หรือต้องให้สเตียรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบรุนแรง แต่มีผลข้างเคียงมาก เช่น กดภูมิคุ้มกัน, ทำให้กระดูกผุ, ฯลฯ

 

การทดสอบทางผิวหนัง (Skin Test) และ ฉีดกระตุ้นการสร้างภูมิ เพื่อรักษาอาการแพ้ ทำโดยทดสอบว่าผู้ป่วยแพ้อะไรบ้าง แล้วฉีดสารก่อภูมิแพ้ในปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันการเกิดภูมิแพ้ได้ การรักษาชนิดนี้ต้องใช้ระยะเวลานาน คือฉีดติดต่อกัน 9-12 เดือน หลังจากนั้นต้องฉีดกระตุ้นไปอีกเป็นระยะ เช่น เดือนละครั้ง อาจนาน 3-5 ปี อย่างไรก็ตาม ผลการรักษาไม่สู้จะดีนัก เมื่อเทียบกับเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษา เพราะไม่อาจรับประกันได้ว่าจะสามารถหายจากโรคภูมิแพ้แน่นอน และผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักจะแพ้สารหลายตัว วิธีการนี้จึงเรียกได้ว่าค่อนข้างยุ่งยาก สิ้นเปลือง เสียเวลานาน และไม่ค่อยได้ผล

 

Biomolecular Therapy ในแง่ของการรักษาภูมิแพ้ มีหลักการดังต่อไปนี้

 

เสริมสร้างระบบป้องกันตนเองของร่างกาย (Body defense mechanism) คือ การปกป้องทุกหนทางที่ร่างกายมีโอกาสสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ด้วยการให้ biomolecule สำหรับ เยื่อบุลำไส้ เยื่อบุจมูก เยื่อบุทางเดินหายใจ ผิวหนัง เยื่อบุช่องปากและคอ

 

เสริมสร้างและปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ตลอดจนระบบน้ำเหลือง ด้วยการให้ biomolecule ของ ต่อม Thymus, Lymphatic system, Spleen, bone marrow

 

เสริมสร้างและปรับสมดุลของระบบต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน ตลอดจนระบบเมตาโบลิซึ่ม ซึ่งมีความสำคัญในการรักษาแบบองค์รวม ด้วยการให้ biomiolecule ของ corpus luteum, testis, mammary gland, parathyroid, liver, spleen, pancreas, adrenal gland

 

เสริมสร้างและปรับสมดุลให้ร่างกายทนทานต่อภาวะเครียด และช่วยเหลือกลไกการควบคุมร่างกายจากระบบประสาทส่วนกลาง โดยการให้ biomolecule ของ Cerebrum, diencephalons, pituitary gland, epiphysis.

 

Biomolecular Therapy จะช่วยยืนยันความสำเร็จในการรักษาภูมิแพ้ ผู้ป่วยมีโอกาสหาย หรือปลอดอาการในอัตราที่สูง การรักษาไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ปลอดภัยกว่าการใช้ยา ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ เพราะเป็นการให้สารจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี หรือสารสังเคราะห์ ผู้ป่วยหายจากโรคเพราะร่างกายแข็งแรงขึ้น และต่อสู้กับโรคภูมิแพ้ด้วยกลไกภายในตัวของผู้ป่วยเอง

 

 

http://www.biotherapycenter.com/xe/th_allergy

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การแพทย์ชีวโมเลกุล.....

:) :huh: :wub:

 

 

มนุษย์เราเมื่อเกิดมา แล้ว ย่อมจะต้องแก่ เจ็บไข้ได้ป่วย และตายเป็นธรรมดา แต่กว่าจะตายหรือหมดอายุขัย บางทีเราต้องทนทุกข์ทรมาน กับการเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะ นานนับเดือนนับปี เพราะอวัยวะต่างๆ เสื่อมไปอย่างไม่ย้อนคืน

 

เป็นเวลานานมาแล้ว ที่เราพยายามต่อสู้กับความแก่และความเจ็บป่วยแม้จะรู้ว่าในที่สุดต้องพ่าย แพ้ แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ขอให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานมากจนเกินไปนัก

 

ร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากมาย เซลล์ต่างๆ มาประกอบกันเป็นอวัยวะ แล้วทำหน้าที่ต่างๆ กัน เมื่อคนอายุมากขึ้น เซลล์ก็จะค่อยๆ เสื่อมลงไป เซลล์เหล่านี้บางส่วนก็ตายไปบ้าง ในขณะที่ส่วนใหญ่ยังไม่ตาย แต่ไม่สามารถทำงานได้ เปรียบกับแบตเตอรี่รถยนต์ที่น้ำกรดแห้ง ก็จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อมีเซลล์ที่เสื่อมและหยุดทำงานมากขึ้น ก็ก่อให้เกิดอาการของโรคต่างๆ

 

นอกจากความเสื่อม ของเซลล์ตามปกติแล้ว สิ่งแวดล้อมในโลกปัจจุบัน เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ก็ล้วนเต็มไปด้วยสารพิษมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อเซลล์อย่างมาก ทำให้เซลล์ของร่างกายเสียหายเพิ่มขึ้น การใช้ยารักษาโรคที่มีอยู่ เป็นการแก้ไขปลายเหตุเป็นส่วนใหญ่ เช่น โรคเบาหวาน ใช้ยาไปลดน้ำตาลในเลือด แต่ยังไม่มียาหรือสารใดที่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่า สามารถซ่อมแซมการทำงานของตับอ่อนและฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น

paul_niehans.jpg

 

 

ประวัติศาสตร์ ของการแพทย์ชีวโมเลกุลวิทยาการใหม่ในการซ่อมแซมเซลล์

 

ความหวังของมนุษย์ในการฟื้นฟูเซลล์ มีหลักฐานความเป็นไปได้ ตั้งแต่เมื่อประมาณ 70 ปีมาแล้ว เมื่อปี ค.ศ. 1931 ศ.นพ. พอล นีฮาน ศัลยแพทย์ชาวสวิส ได้เอาน้ำที่ได้จากการบดเซลล์ต่อมพาราไทรอยด์จากสัตว์ ฉีดเข้าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง เนื่องจากถูกตัดต่อมพาราไทรอยด์โดยบังเอิญ ซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ครั้งก่อน ปรากฏว่าผู้ป่วยหายจากโรคชักเกร็งได้ และไม่มีการแพ้ใดๆ จากการติดตามผู้ป่วยไปอีก 25 ปีหลังจากนั้น เขาเรียกการรักษาชนิดนี้ว่า "Live Cell Therapy"

 

หลังจากนั้น แพทย์ในยุโรปโดยเฉพาะเยอรมันก็ได้พัฒนา Live Cell Therapy หรือ การปลูกถ่ายเซลล์สด จนแพร่หลาย มีการค้นพบว่า น้ำที่ได้จากการบดเซลล์หนึ่ง จะไปซ่อมแซมเซลล์ชนิดเดียวกัน เช่นเซลล์ตับก็จะไปซ่อมแซมที่ตับ ทฤษฎีนี้เรียกว่า Cell Heal Cell กลายเป็นที่ฮือฮากันอย่างมากในหมู่บุคคลชั้นสูง (เนื่องจากค่าใช้จ่ายการรักษาค่อนข้างแพง) แพทย์ประสบผลสำเร็จในการรักษาโรคที่สิ้นหวังแล้ว

 

ชื่อเสียงของ Live Cell Therapy โด่งดังมากในยุโรป เมื่อนายแพทย์พอลล์ นีฮาน ตัดสินใจรับรักษาสันตะปาปา Pius ที่ 12 ซึ่งป่วยหนัก หมดหนทางรักษา แพทย์หลวงทั้งหลายลงความเห็นว่า ท่านจะมีพระชนม์ชีพอยู่ต่อไปอีกไม่นาน การตัดสินใจรับรักษาท่านสันตะปาปาครั้งนั้น นับว่ามีความเสี่ยงมาก และสร้างความหนักใจให้กับนายแพทย์พอลล์ นีฮานไม่น้อย ทั้งจากพระอาการที่เพียบหนัก และจากคณะแพทย์หลวงที่จ้องซ้ำท่านทันทีหากพระอาการไม่ดีขึ้น แน่นอนหากว่าไม่เป็นไปตามคาด ก็คงจะถึงจุดจบของ Live Cell Therapy ที่ท่านทุ่มเทศึกษาค้นคว้ามาตลอดชีวิต ครั้งนั้นหลังจากนายแพทย์นีฮาน เดินทางไปรักษาท่านที่กรุงโรม ประมาณ 1 เดือน สันตะปาปาปิอัสที่12 ก็กลับฟื้นขึ้นมาและมีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างปาฏิหาริย์

 

ในยุคนั้นคนดังอย่าง ชาลี แชปปลิ้น, ประธานาธิบดี คอนราด อาดีนาว แห่งเยอรมัน, ประธานาธิบดีวินสตัน เชอร์ชิลแห่งอเมริกา, นายพลชาลล์ เดอ โกล แห่งฝรั่งเศส, ดไวท์ ไอเซนฮาว, สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น, กษัตริย์โมรอคโค, กษัตริย์ซาอุดิอาราเบีย, กษัตริย์เยเมน ฯลฯ ล้วนเป็นบุคคลที่มีทะเบียน เป็นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วย Live Cell Therapy ในเยอรมันมาแล้วทั้งสิ้น

 

จนกระทั่งแพทย์ชาวเยอรมัน คือ นายแพทย์คาลล์ ทอยเรอร์ ตั้งสมมุติฐานว่าความสำเร็จของ Live Cell Therapy ไม่ได้เกิดจากการฉีดเซลล์ที่ยังมีชีวิตทั้งเซลล์ แต่น่าจะเกิดจากโปรตีนที่อยู่ภายในเซลล์ที่ยังคงลักษณะทางชีวภาพไว้ได้ (Bioavailability) นายแพทย์คาลล์ประสบความสำเร็จในการแยกสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ออกด้วย วิธีการที่สามารถคงลักษณะชีวภาพได้สมบูรณ์ โดยใช้กรดย่อยผนังเซลล์ภายใต้ความเย็นสูง แล้วแยกนิวเคลียสของเซลล์ออก สกัดเฉพาะไซโตพลาสซื่มเก็บภายใต้ภาวะสุญญากาศ วิธีการดังกล่าวได้รับการจดสิทธิบัตรในเวลาต่อมา

 

ชีวโมเลกุลที่สกัดได้จะมีคุณสมบัติซ่อมแซมเซลล์แบบ จำเพาะเจาะจง เช่น ชีวโมเลกุลจากเซลล์ตับของสัตว์ ก็ซ่อมแซมเซลล์ตับในร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ ขบวนการดังกล่าวยังทำให้เอกลักษณ์ของเซลล์ที่เรียกว่า HLA ซึ่งอยู่บนผนังเซลล์ถูกลบไป จึงไม่มีการต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกัน ปราศจากการแพ้โดยสิ้นเชิง

 

ความสำเร็จของนายแพทย์คาลล์ กลายมาเป็นความหวังสำหรับคนธรรมดาที่แม้ไม่ได้เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเงินทองมากมาย ก็สามารถเข้าถึงการรักษาที่ได้ผลอัศจรรย์นี้ได้ และรัฐบาลเยอรมันก็ได้ขึ้นทะเบียนยาที่ทำจากชีวโมเลกุลจำนวน 100 ตำรับเมื่อประมาณปีค.ศ. 1950 และใช้รักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ทุกชนิดอย่างได้ผลมาจนกระทั่ง ถึงทุกวันนี้

 

 

ความจริงเกี่ยว กับการแพทย์ชีวโมเลกุล

 

ในห้วงอายุของมนุษย์ โดยทั่วไปเซลล์ต่างๆ จะแบ่งตัวชดเชยการสึกหรอประมาณ 50-60 ครั้ง จากการศึกษาพบว่า ชีวโมเลกุล ช่วยให้เซลล์แบ่งตัวได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4-6 ครั้ง ซึ่งเท่ากับว่าทำให้ช่วงอายุของคนยืนยาวขึ้นนั่นเอง

 

การทำงานของเซลล์ต่างๆ มีหัวใจหลักคือการสร้างโปรตีน แล้วโปรตีนที่ได้ก็ไปทำหน้าที่ต่างๆ เช่น เป็นน้ำย่อย เป็นฮอร์โมน เป็นเนื้อเยื้อต่างๆ ฯลฯ การสร้างโปรตีนในเซลล์จะคล้ายกับการ ปั้มตรายาง เมื่อใช้ไปนานๆ เข้า น้ำหมึกเริ่มแห้ง ตรายางเริ่มสึก คุณภาพของการปั้มก็จะเสียไป ชีวโมเลกุล จะไปซ่อมแซมเซลล์ดุจการซ่อมตรายาง และเติมน้ำหมึก ทำให้คุณภาพการปั้มดีขึ้น

 

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ว่า การแพทย์ชีวโมเลกุล สามารถช่วยกำจัดเซลล์ผิดปกติ ตลอดจนคำสั่งที่ผิดพลาดต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็ง จึงใช้เป็นทั้งการป้องกัน และรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด

 

ปัจจุบันมีแพทย์ประมาณ 20,000 คนในยุโรปโดยเฉพาะเยอรมัน ใช้ การแพทย์ชีวโมเลกุล ในการรักษาผู้ป่วย และมีประเทศที่ให้การรับรองการรักษาด้วยวิธีนี้แล้วทั่วโลก จำนวน 48 ประเทศ มีผู้ป่วยที่รับการรักษาแล้วประมาณ 150 ล้านคน

 

 

ทำไมการแพทย์ชีวโมเลกุลจึงไม่แพร่หลาย

 

ความจริงการแพทย์ชีวโมเลกุลแพร่หลายในยุโรปมานาน แต่ความรู้นี้จำกัดเฉพาะในยุโรปที่พูดภาษาเยอรมัน ต้องยอมรับกันว่าประเทศที่มีบทบาทและทรงอิทธิพลในวงการแพทย์ทั่วโลกคือ อเมริกา ตราบใดที่อเมริกายังไม่รู้จักวิธีการรักษาอย่างนี้ ตราบนั้นก็เป็นการยากที่วงการแพทย์ทั่วๆ ไปจะเข้าใจและยอมรับ

 

อย่างไรก็ตาม เริ่มมีหลักฐานมากขึ้นในประเทศอเมริกาและประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษอื่นๆ ในความพยายามที่ใกล้เคียงกัน และเป็นการสนับสนุนทฤษฎีเซลล์ซ่อมเซลล์

 

เมื่อปีค.ศ. 1999 กุน เธอร์ โบเบล ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ในการที่เขาพิสูจน์ว่า โปรตีนของเซลล์ มีรหัสที่ใช้ระบุว่า จะเดินทางไปยังจุดหมายที่ไหน เพื่อทำงานที่จำเพาะเจาะจง

 

และล่าสุดนี้ นิตยสาร Nature ฉบับวันที่ 5 เดือนเมษายน 2001 ตีพิมพ์ผลงานวิจัยของแพทย์จาก New York Medical College สหรัฐอเมริกา แพทย์ทำการทดลองในหนู โดยการผูกเส้นเลือดหัวใจของหนู กระตุ้นให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย จากนั้นนำเซลล์ต้นตอ (Stem cell) จากไขสันหลังของหนูอีกตัวหนึ่ง ฉีดเข้าไปตรงกล้ามเนื้อหัวใจที่ตายไปแล้ว ผลปรากฎว่า เกิดการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจใหม่ ทดแทนเซลล์ส่วนที่ตายไปแล้ว ได้ถึง 68% ภายใน 9 วัน นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังสัญญาว่า การพัฒนาความรู้นี้เพื่อเป็นยารักษาโรค จะเป็นไปได้ อีกภายในเพียง 3 ปีข้างหน้านี้เท่านั้น

 

อย่างไรก็ตาม อยากจะกล่าวในที่นี้ว่า ดีแล้วที่อเมริกากำลังพัฒนาความรู้ด้านนี้ขึ้น เพราะในที่สุดจะมีผลให้เกิดการยอมรับในวงกว้าง แม้ว่าความจริงแล้วแพทย์เยอรมันได้พัฒนาความรู้นี้มาก่อนหน้าถึงเกือบ 50 ปี จนผลิตยารักษาโรคที่ใช้ทฤษฎีนี้ ช่วยเหลือผู้ป่วยที่สิ้นหวังมาแล้วนับล้านๆ คน

 

ในเมืองไทยเอง ทราบว่ามีผู้หนึ่งที่ได้ไปศึกษาการแพทย์ชีวโมเลกุลที่ประเทศเยอรมันจน สำเร็จ ได้รับ Diploma of Organotherapy and Immunotherapy คือ อ.พรรณทิพา วัชโรบล หลังสำเร็จวิชาแล้ว ได้ร่วมก่อตั้งศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุลที่ประเทศบาห์เรน ให้คำปรึกษากับแพทย์ในตะวันออกกลาง ที่ต้องการใช้การรักษาด้วยชีวโมเลกุล ล่าสุดได้รับรางวัล Medal Award ในสาขา Organotherapy and Autohaemotherapy จากสถาบันการแพทย์ชีวโมเลกุลในเยอรมัน และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาแพทย์ (Medical Consultant) ด้าน Organotherapy และ Autohaemotherapy ในเอเชียและตะวันออกกลาง

 

 

คำถามคำตอบที่ น่าสนใจ

 

Biomolecular Therapy คืออะไร ?

 

หลักการของ Biomolecular Therapy คือ การซ่อมแซมเซลล์ด้วย Xenogenic Peptide ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ภายใน Cytoplasm ของเซลล์ กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นการรักษาโรคที่ต้นเหตุคือ โดยการซ่อมแซม Cell ที่เสื่อมสภาพด้วยการใช้สาร Biomolecule ที่สกัดจาก Cellนั้นๆ

 

ใครเป็นคนริ เริ่มการรักษาวิธีนี้?

 

ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณ 70 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์นายแพทย์ Paul Niehans (ค.ศ. 1931) ศัลยแพทย์ชาวสวิส ได้เป็นผู้ค้นพบวิธีการรักษาด้วยเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ Dr. Niehans เป็นศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางระบบต่อมไร้ท่อ และได้ศึกษาวิธีปลูกถ่ายต่อมไร้ท่อ มาเป็นเวลาหลายปี ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1931 Dr. Niehans ได้รับคนไข้ฉุกเฉินคนหนึ่ง ซึ่งมีอาการ กล้ามเนื้อชักเกร็ง เนื่องจากเธอถูกทำลายต่อม parathyroid จากการผ่าตัด

 

เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉินและไม่สามารถทำ Endocrine transplant ได้ทันที Dr. Niehan จึงตัดสินใจ นำ parathyroid gland จากสัตว์ มาบดในน้ำเกลือ แล้วนำน้ำที่ได้ฉีดเข้ากล้าม โดยทำภายในเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมงนับจากนำต่อมพาราไทรอยด์ออกจากสัตว์ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นการใช้เซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ในที่สุดผู้ป่วยหายจากการชักเกร็ง ตั้งแต่วันนั้น และต่อมาอีก 25 ปีหลังจากนั้น

 

ตั้งแต่นั้นมา การรักษาด้วย Living Cell จึงได้มีการศึกษากันอย่างแพร่หลายทั่วยุโรป โดยเฉพาะที่ประเทศเยอรมัน และเมื่อองค์การอาหารและยาของประเทศเยอรมัน ให้การรับรองการรักษานี้แล้ว ก็ได้มีผู้ป่วยคนสำคัญๆ ได้รับอานิสงส์จากความสำเร็จของ Living Cell Therapy มากมายทั้งจากในยุโรปเอง และจากสหรัฐอเมริกาก็ได้เดินทางมารับการรักษาที่ Sanatorium ในเยอรมันหลายท่าน เช่น ประธานาธิบดี Konrad ADENAUER, Theodor HEUSS, POPE PIUS XXII, Winston CHURCHILL, Chale DE GAULLE, Dwight D. EISENHOWER, Charles CHAPLIN, สมเด็จพระจักรพรรด์ญี่ปุ่น กษัตริย์ Morocco, กษัตริย์ ซาอุดิอาราเบีย กษัตริย์เยเมน และบุคคลสำคัญอื่นๆอีกหลายคน

 

ส่วนการรักษาที่เรียกว่า Biomolecular Therapy นั้น ก็ได้พัฒนามาจาก Living Cell Therapy ของ Dr. Niehan นั่นเอง เนื่องจากการรักษาด้วยวิธี Living Cell Therapy นับว่ายุ่งยากมากและต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากจนคนธรรมดาแทบจะไม่มีโอกาสได้ รับการรักษา เพราะ Cell ทุก Cell ต้องผ่านการควบคุมคุณภาพจากรัฐบาลว่าปกติและปลอดภัยจากเชื้อ ตาม Standardของ Transplantationทุกประการ

 

เป็นที่น่ายินดีว่า ปัจจุบันนี้แม้คนธรรมดาที่ไม่ได้มีชื่อเสียงและไม่ได้มีเงินทองมากมาย ก็ไม่ต้องท้อแท้ใจว่าจะไม่มีโอกาสได้รับการรักษาด้วยวิธีซึ่งเป็นที่ยอมรับ ว่าได้ผลดีมากกับแม้กระทั่งโรคที่สิ้นหวังแล้ว ทั้งนี้เพราะ ศาสตราจารย์นายแพทย์ Karl THEURER ได้พัฒนา Biomolecular Therapyขึ้น

 

THEURER เชื่อว่าความสำเร็จของ Fresh Cell Transplantation มิได้เกิดจาก Cell โดยตรง แต่เกิดจาก activity ของ molecule ต่างๆ ที่อยู่ภายในเซลล์ และเพื่อที่จะขจัดความกลัวของแพทย์ทั่วๆ ไปที่เกรงว่า Fresh Cell Transplant อาจก่อให้เกิด severe allergic reaction หรือ immune sensitization ที่รุนแรง (ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การแพ้ไม่เคยเกิดกับ Cell Therapy) ดังนั้น ภายหลังจากการการศึกษาและทดลองอย่างหนัก THEURER จึงพัฒนาวิธีการรักษาสภาพของ molecular cell component ได้สำเร็จโดยวิธี Acid-vapour-lysis ต่อ Lyopphylized organ powderในสุญญากาศซึ่งวิธีการนี้ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ ไม่สามารถทำเลียนแบบได้

 

การนำเซลล์มาทำ Lyophylized นอกจากจะทำลายเชื้อทุกชนิดแล้ว จะทำให้เซลล์สูญเสียลักษณะเฉพาะทาง สปีชี่ส์ของเซลล์ กล่าวคือระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม แต่ยังคงสภาพทางด้านความจำเพาะเจาะจงต่ออวัยวะไว้อยู่อย่างครบถ้วน กล่าวคือ Lyophylized ที่ได้จาก cell ของอวัยวะหนึ่ง ก็จะไปรักษาอวัยวะนั้นๆ อย่างจำเพาะเจาะจง ทำให้นอกจากได้ผลในการรักษาแล้วยังปลอดภัยมากๆอีกด้วย

 

Biomolecular therapy ยังเป็นการทดลองอยู่ใช่หรือไม่?

 

พัฒนาการของ Biomolecular Therapy ได้ผ่านทั้ง 3 Phase มาเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ การวิจัยและรวบ รวมหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้จากห้องทดลอง, การทดลองกับสัตว์ และการทดลองทางคลีนิคเพื่อสรุปผลทั้งหมด จนนำมาสู่การใช้ในทางการแพทย์ในปัจจุบัน โดยได้รับการรับรองจากรัฐบาลเยอรมันให้ใช้เป็นยารักษาโรคได้ มาเป็นเวลากว่า 40 ปีมาแล้ว ดังนั้นจึงไม่ได้อยู่ในระยะทดลองแต่อย่างใด ปัจจุบันได้มีการผลิตยารักษาโรคทั้งที่เป็นเม็ด เป็นแคปซูล และยาฉีด ซึ่งสกัดจาก Biomolecule ใน Cell ต่างๆ เพื่อรักษาโรคต่างๆ จำนวนมากกว่า 100 ประเภท มีการจัดประชุมทางวิชาการว่าด้วย Biomolecular Therapy ทุกๆ สัปดาห์เพื่อพัฒนาวิธีการบริหารยาให้ได้ผลสูงสุดและรักษาโรคได้ดีที่สุด

 

Cell ของร่างกายสามารถซ่อมแซมได้จริงหรือ?

Cell ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์มีการแบ่งตัวเพื่อสร้าง Cell ใหม่ทดแทนอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัย Cell เก่าเป็นต้นแบบ โครงสร้างโมเลกุลที่อยู่ภายในเซลล์มีความสำคัญอย่างมากต่อการซ่อมแซมเซลล์ ที่สึกหรอ หากจะเปรียบเทียบการซ่อมแซมเซลล์กับการปั้มตรายาง คุณภาพของงานพิมพ์ตรายางจะขึ้นอยู่กับ 2 ส่วนคือ ตรายาง กับแป้นหมึก หากตรายางเสียหายไปจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือจากความชรา ก็ย่อมทำให้งานพิมพ์ออกมามีความบกพร่อง หรือแม้ตรายางปกติดีแต่แป้นหมึกแห้งก็ย่อมจะทำให้งานพิมพ์ตรายางนั้นด้อย คุณภาพ

 

Biomolecular Therapy ได้รับการพิสูจน์จากห้องปฏิบัติการมาแล้วนับไม่ถ้วน ว่าช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอและเสียหายให้ดีขึ้น เปรียบเหมือนกับทำให้ตรายางและแป้นหมึกมีคุณภาพดีขึ้นใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่า ตามปกติวงจรชีวิตของ เซลล์มนุษย์ทั่วไปมีการแบ่งตัวราว 50-60 ครั้ง Biomolecular therapy ช่วยเพิ่มการแบ่งตัวของ Human Cell มากเพิ่มขึ้นไปกว่าเดิมอีก 4-6 ครั้ง ซึ่งก็หมายความว่าทำให้อายุมนุษย์ยืนยาวขึ้นและแข็งแรงขึ้น

 

Biomolecular Therapy มีการแพ้หรือไม่

 

ความสำเร็จของ Biomolecular therapy ประการหนึ่งคือ ปราศจากการแพ้โดยสิ้นเชิง เนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย สามารถจดจำเนื้อเยื่อแปลกปลอมได้ก็เฉพาะเมื่อเป็น Cell ทั้ง Cell ร่วมกับเนื้อเยื้อองค์ประกอบ แต่ Biomolecular Therapy มิได้มีเซลล์หลงเหลืออยู่อีกต่อไป นำเอาเพียงสารภายในเซลล์มาใช้ ซึ่งยังคงมีผลในการรักษา Cell อย่างจำเพาะเจาะจงต่ออวัยวะแต่ภูมิคุ้มกันไม่สามารถจดจำได้ว่าเป็นสิ่งแปลก ปลอมจึงไม่มีการต่อต้านเกิดขึ้น

 

 

Biomolecular Therapy ควรใช้เมื่อไร?

 

ปัจจุบันการรักษาด้วย Biomolecular Therapy ครอบคลุมถึงโรคต่างๆมากขึ้นเช่น

 

1.เพื่อการฟื้นฟูและซ่อมแซมเซลล์ของร่างกายซึ่งเสื่อม สภาพจากอายุหรือจากอุบัติเหตุ

 

2.โรคภัยไข้เจ็บที่มีผลทำลายอวัยวะ ต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ม้าม ลำไส้ กระเพาะอาหาร สมอง ดวงตา กล้ามเนื้อ กระดูก ฯลฯ หรืออาจกล่าวได้ว่า ทุกๆอวัยวะยังมีทางที่จะฟื้นฟูและซ่อมแซมอยู่

 

3.โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันภูมิแพ้

 

4.โรคพัฒนาการทางสมองผิดปกติในเด็ก

 

5.ใช้เป็นวิธีรักษาร่วม ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งจะทำให้มะเร็งเล็กลง และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นอวัยวะภายในต่างๆทำงานได้ดีขึ้น

 

วิทยาการการ แพทย์ชีวโมเลกุลได้นำมาใช้กับกลุ่มผู้ป่วยดังต่อไปนี้:

 

โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ ภูมิแพ้ รูมาตอยด์ กระดูกเสื่อม ข้อเสื่อม โรคไต ความพิการทางสมอง ระบบประสาทถูกทำลาย โรคเครียด โรคตับ โรคสมองเติบโตช้าในเด็ก Mental Retardation Autism โรค เลือด โรคฟัน โรคของตับอ่อน ต้อหิน ต้อกระจก ภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิคุ้มกันไวเกิน โรคหู โรคตา โรคความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ภาวะมีบุตรยาก โรคผิวหนัง สิวหัวช้าง Peripheral Vascular Disease (Raynaud's syndrome) โรค Parkinsonโรคแผลกระเพาะอาหาร เป็นต้น

 

มีการกำหนดอายุ ของผู้ที่จะเข้ารับการรักษาหรือไม่?

ในทางปฏิบัติคือ ไม่มี แม้กระทั่งเด็กอายุ 4 เดือนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Mongolism หรือ สมองได้รับความกระทบกระเทือนในระหว่างการคลอด และการพัฒนาการ ไปจนกระทั่งผู้สูงอายุที่เกิน 90 ปีขึ้นไป ก็สามารถรักษาได้ด้วย Biomocular Therapy หากมีโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเซลล์ความเสียหายของเซลล์จากสาเหตุ ต่างๆ

Biomolecular Therapy สามารถรักษาได้ทุกโรคหรือไม่

ไม่แน่นอน การรักษาทุกประเภทย่อมมีข้อบ่งชี้ จากประสบการณ์ของการรักษาด้วย Biomolecular Therapy มานานกว่า 40 ปีทำให้เราสามารถกำหนดข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วย Biomolecular Therapyได้อย่างเป็นระบบและมีหลักการ

 

การตรวจร่างกายทั้งระบบ รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนโลหิตอย่างละเอียด จะใช้ในการตัดสินใจว่าผู้ป่วยสมควรเข้ารับการรักษาด้วย Biomolecular Therapyอย่างไรบ้าง

 

หลักการของ Biomolecular Therapy คือ การซ่อมแซมเซลล์ด้วย Xenogenic Peptide ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ภายใน Cytoplasm ของเซลล์ กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นการรักษาโรคที่ต้นเหตุคือ โดยการซ่อมแซม Cell ที่เสื่อมสภาพด้วยการใช้สาร Biomolecule ที่สกัดจาก Cellนั้นๆ

 

สถิติที่น่าสนใจ

 

** ผู้ป่วยทั่วโลก มากกว่า 150ล้านคน ได้รับการรักษา ด้วยวิธี Biomolecular Therapyในรูปแบบต่างๆ

 

** แพทย์กว่า 20,000 คนทั่วโลกโดยเฉพาะยุโรปและเยอรมัน ใช้วิธีการรักษาด้วย Biomolecular Therapyอยู่ในปัจจุบัน

 

**ประเทศต่างๆทั่วโลก 48ประเทศ ให้การรับรองวิธีการรักษาด้วย Biomolecular Therapyและมีแพทย์ที่ศึกษาและรักษาโรคด้านนี้อยู่

 

** รายงานและการวิจัยทางคลีนิคมากกว่า 3,000ชิ้น จัดทำขึ้นโดยแพทย์ทั้งในโรงพยาบาลและคลีนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Biomolecular Therapy

 

** รายงานทางการแพทย์ยืนยันว่า 68% ของโรคที่สิ้นหวังแล้ว (Hopeless Case)สามารถรักษาให้ฟื้นคืนมาได้ด้วยวิธีการ Biomolecular Therapy

สรุปจุดเด่นของ การรักษาด้วยชีวโมเลกุล คือ

 

** ใช้รักษาโรคที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว ดังที่นายแพทย์คาลล์กล่าวไว้ว่า เป็นการ “ให้ความหวัง สำหรับผู้ที่สิ้นหวังแล้ว” (offer new hope for the hopeless)

 

** ไม่มีการแพ้ ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ใช้ได้แม้กระทั่งในเด็กทารก

 

** เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่รักษาที่อาการ ยกตัวอย่างในโรคเบาหวานชนิดที่ต้องใช้อินซูลิน ความผิดปกติอยู่ที่ Islet of Langerhans แพทย์ปัจจุบันใช้อินซูลินจากภายนอกเข้าไปชดเชย ซึ่งต้องใช้ไปตลอดชีวิต ส่วนการแพทย์ชีวโมเลกุล ใช้สารชีวโมเลกุลจากตับอ่อนเข้าไปซ่อมเซลล์ตับอ่อน

 

** เป็นการรักษาโดยการฟื้นฟูร่างกายทั้งระบบ การเจ็บป่วยของมนุษย์ไม่ได้เกิดเป็นอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง แต่มักจะเชื่อมโยงกันทั้งระบบ การรักษาที่ได้ผลจึงเน้นการรักษาทั้งร่างกายแบบองค์รวม

 

 

http://www.biotherapycenter.com/xe/th_biomolecular_therapy

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“ปวดหลัง” แต่ทำไมร้าวลงขา

 

ทีมผ่าตัดกระดูกสันหลัง

ภาควิชาศัลยศาสตร์ ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด

Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

 

คำถามนี้คุณหมอมักจะได้ยินบ่อย ๆ จากคนไข้ที่เคยมีอาการปวดหลังเป็น ๆ หาย ๆ มาเป็นเวลานาน แต่วันดีคืนดีก็มีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาแถมมาด้วย และเมื่อมาพบแพทย์ ก็มักจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้น ประสาท ซึ่งบางรายมีอาการปวดมาก จนแพทย์ต้องแนะนำให้ผ่าตัดที่กระดูกสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเครียด และสงสัยว่า “คุณหมอวินิจฉัยผิดหรือ เปล่านะ” เพราะว่าอาการปวดที่ขา แต่ทำไมต้องโดนผ่าตัดกระดูกสันหลัง วันนี้เรามีคำตอบครับแต่ถ้าจะให้ดี เราไปทำความรู้จักกับลักษณะทางกายภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง กัน ก่อนนะครับ

 

ที่บริเวณกระเบนเหน็บเหนือกระดูก ก้นกบ มีกระดูกสันหลังอยู่หลายปล้อง แต่ละปล้องจะเชื่อม ติดต่อกันด้วยหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งประกอบด้วย ส่วนเปลือกนอก (Annulus Fibrosus) และส่วนเนื้อใน (Nucleus Pulposus) ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตัวหรือน้ำหนักที่เรายก หิ้ว แบก หรืออุ้ม รวมถึงเมื่อเราเดิน วิ่ง กระโดด จะมีแรงกระแทกลงมาที่กระดูกสันหลังส่วนเอว บางครั้งการกระแทกหรือบิดตัวมีความรุนแรง ก่อให้เกิดการฉีกขาดของ เปลือกหมอนรองกระดูก ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง และถ้ามีการฉีกขาดบ่อย ๆ หรือมากขึ้น ส่วนที่เป็นเนื้อในก็จะทะลักออกมากดทับเส้นประสาท ซึ่งอยู่ด้านหลังของหมอนรองกระดูก ซึ่งเส้นประสาทนี้จะทอดยาวจาก โพรงกระดูกสันหลังไปที่สะโพก ขา จนถึงปลายเท้า

 

เส้น ประสาทดังกล่าวทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อให้มีกำลังและรับความรู้สึก ดังนั้นเมื่อหมอนรองกระดูกแตกและมีเนื้อในออกมาทับเส้นประสาท จึงทำให้เกิดอาการปวดขา อ่อนแรง ร่วมกับมีอาการชาที่บริเวณน่องหรือหลังเท้า

 

*ภาวะ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณเอว โดยมากมักจะเกิดในวัยทำงาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติเคยยกของหนัก

การรักษา

 

โดยส่วนใหญ่ แพทย์จะรักษาโดยการให้ยาและทำกายภาพบำบัด ซึ่งผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นภายใน 4-6 สัปดาห์ และสามารถกลับไปดำรง ชีวิตตามปกติ เพียงแต่จะต้องระมัดระวังรักษาตัวเกี่ยวกับท่าทางการทำงาน การยกของ ประกอบกับการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เหมาะสม

 

จะมีก็เพียงส่วนน้อยที่อาการไม่ดีขึ้น ซึ่งในกรณีนี้แพทย์อาจแนะนำ ให้เข้ารับการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก ด้วยวิธี Discectomy ซึ่งได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์ทั่วโลกว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ

 

เทคนิคในการทำผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกส่วนเอวออกนี้มีหลายวิธี และเป็นที่น่ายินดีที่ปัจจุบัน ทีมศัลยแพทย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออโธปิดิคส์และกายภาพบำบัด สามารถทำการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกที่ทับเส้นประสาทที่ระดับเอวออกโดย

 

- “ใช้กล้องส่องเข้าไปในโพรงแผลที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 1.8 ซม.” (Microendoscopic discectomy: MED)

- “การ ผ่าตัดโดยใช้กล้องขยายจากภายนอกแผล” (Microdiscectomy) ซึ่งแผลจะมีขนาดเล็กประมาณ 2 ซม.

 

การผ่าตัดทั้งสองวิธี จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถให้บริการแก่ผู้ป่วย ในกรณีที่เหมาะสม ทำให้มีความเจ็บปวดหลัดผ่าตัดน้อยลง และกลับไปดำรงชีวิตตามปกติได้รวดเร็วขึ้น

 

* มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ว่าการผ่าตัดแบบแผลเล็กจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าวิธีดั้งเดิมเสมอ ซึ่งจริง ๆ แล้วการเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสมกับการผ่าตัดแบบนี้ มีความสำคัญมาก เพราะว่าพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกันเลย ดังนั้นจึงควรที่จะให้แพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นผู้เลือกว่าผู้ป่วยรายใดมีความ เหมาะสมที่จะผ่าตัดโดยใช้เทคนิคใหม่นี้

 

เมื่อ ผ่าตัดแล้ว จะหายขาดหรือไม่?

 

 

อาการจะดีขึ้น แต่จะต้องปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ เนื่องจากหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนัก เมื่อมีการเสื่อมสภาพไป ผู้ป่วยบางรายก็จะมีอาการปวดหลังอยู่บ้าง

อาการ ปวดหลังและร้าวลงขา ยังอาจเกิดจากภาวะอื่น ๆ ได้ เช่น โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ การติดเชื้อ หรือมีเนื้องอกบริเวณกระดูกสันหลัง ที่มีการกดทับเส้นประสาท

ดังนั้น ทางที่ดีท่านควรให้ความสำคัญกับการตรวจรักษาโดยแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการปวดหลังและร้าวลงที่ขา ควรระมัดระวังในการดูแลสุขภาพให้มากเป็นพิเศษ

 

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=751

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่าบริหารกล้ามเนื้อ และเอ็นชั้นในของข้อไหล่

 

 

 

:wub: :huh:

 

ท่าดัดแก้ไขไหล่ติดแบบที่1

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาดูแลตนเอง----- ด้วยการบริหารกันนะคะ

:rolleyes: :blush: :o

 

ท่ายืดกล้ามเนื้อบ่าและต้นคอ......

 

 

:ph34r: :huh:

 

ท่าบริหารกล้ามเนื้อเอ็นนิ้วมือยึดติดกัน....

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นิ้วล็อค.....

:angry: :mad: ^_^

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=J2a5dZc2zZQ&feature=related

 

 

 

ท่าบริหารข้อนิ้ว สามารถรักษาอาการนิ้วล็อคได้ดี โดยบริหารเป็นประจำควบคู่กับการระมัดระวังพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ถือของโดยใช้นิ้วเกี่ยว นอกจากนี้ การบริหารเป็นประจำช่วยให้ข้อนิ้วมีความยืดหยุ่นที่ดี สามารถป้องกันอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปวดหลัง.......ท่าสิงห์โต

 

 

:huh: :wub:

 

โยคะบำบัดโรค ปวดหลัง ปวดคอ บริเวณไหล่

http://www.youtube.com/watch?v=_vzWUtt7vs8&NR=1

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...