ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

สาระน่ารู้....สุขภาพ.....

โพสต์แนะนำ

ท่านั่งแบบสมดุล สำหรับคนปวดหลัง

 

 

 

 

 

ท่า บริหารยืดเหยียด แก้ปวด กล้ามเนื้อโคนขา และ สะโพกด้านหน้า

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุนนะคร๊าบบ..มีประโยชน์มากเรย

 

กระทู้โปรด..ของคนแก่ คิกๆๆ !_01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เพิ่งได้ความรู้ใหม่จากหมอตัวจริงมาครับ เรื่องรองช้ำที่คุณมดแดงเคยเอามาแปะไว้

หมอบอกว่าไม่ต้องกินยาก็ได้ ให้เอาขวดใส่น้ำร้อน แล้วเอาผ้ารองหน่อยเพื่อไม่ให้ร้อนมาก

จากนั้นเอาไว้เหยียบกลิ้งไปมาขณะนั่งทำงาน เอ๊อ ง่ายและสบายดีจัง :blush: ลองทำดูนะครับเผื่อใครเป็น (ผมคนนึงหละที่เป็น)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากๆ กำลังต้องการอยู่พอดี เจ็บหลัง ได้ความรู้ดี :D :o

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรื่องปวดหลัง มีหลายท่านะคะ.... ถ้าไม่เบื่อจะนำให้ดูอีกค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต้องเวียนมาอ่านเรื่อยๆ อิอิ !gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่าบริหารแบบแอ่นหลัง :rolleyes: :blush:

 

 

 

ท่าเพิ่มความมั่นคงกระดูก สันหลัง1 :o :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่าเพิ่มความมั่นคงกระดูก สันหลัง2

 

 

 

 

นวดเพื่อรักษาโรค part1//โดย หมอแดง ดิ อโรคยา

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ จะไปแนะนำเพื่อนต่อนิ้วล็อคยอดฮิต :D :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การอุดอมัลกัม( Ammalgum filling) คืออะไร?

 

 

การอุดฟัน คือ การบูรณะฟัน เพื่อให้ฟันอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ โดยมีรูปร่างลักษณะเหมือน หรือใกล้เคียงฟันเดิม บางครั้งอาจอุดฟันเพื่อแก้ไขฟันเดิมให้ดีขึ้น หรือสวยงามขึ้น ซึ่งหลังจากอุดไปแล้ว ต้องใช้บดเคี้ยวอาหารได้ด้วย

 

1905.jpg

 

ฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศและวัยที่มีฟัน ไม่ว่าจะเป็นฟันแท้หรือฟันน้ำนม (ยกเว้นกรณีฟันปลอมเท่านั้นที่ไม่สามารถผุได้) การอุดฟันจึงมีความจำเป็นในการแก้ปัญหานี้ การอุดฟันโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามชนิดของวัสดุที่ใช้ดังนี้

 

* การอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม (Traditional Amalgam Fillings)

* การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Composite Resin Tooth-Colored Fillings)

ฟันที่จะต้องอุดไม่เฉพาะแต่ฟันที่มีรอยผุ หรือ เป็นรูเพียงอย่างเดียว ฟันที่แตก บิ่น ฟันที่มีรอยสึก ทั้งเนื่องจากการแปรงฟัน หรือจากอาหารที่รับประทาน ถ้ามีอาการเสียวฟันขณะทานอาหาร หรือของหวาน ดื่มน้ำเย็นหรือบ้วนน้ำก็อาจต้องอุดก่อนอุดฟัน ทันตแพทย์จะต้องเตรียมฟัน หรือบริเวณที่จะอุดก่อน เพื่อให้เหมาะสมกับวัสดุที่ใช้อุด ถ้าเป็นฟันที่ผุต้องกรอรอยผุออกจนหมด เหลือแต่เนื้อฟันส่วนที่แข็งและดีไว้ ฟันที่แตก บิ่น หรือสึก ก็อาจต้องกรอแต่งฟันบ้าง เพื่อให้ได้ขนาดและรูปร่างเหมาะสม ที่วัสดุอุดจะยึดอยู่กับเนื้อฟัน และมีความแข็งแรงพอ ที่จะรับแรงบดเคี้ยวอาหารได้

 

การอุดฟันด้วยอมัลกัม ส่วนใหญ่ใช้อุดฟันกราม และฟันกรามน้อย ซึ่งเมื่ออ้าปากดูจะเห็นวัสดุที่ใช้อุด เป็นสีเทามัน แบบโลหะ เป็นวัสดุอุดที่แข็งแรงถ้าอุดบนด้านบดเคี้ยว จะสามารถรับแรงบดเคี้ยวได้ เกือบพอๆ กับฟันเดิม เพราะอมัลกัมที่ใช้วัสดุอุด เป็นโลหะผสมหลายชนิด ที่คำนวณมาแล้วว่าเมื่อแข็งตัวสมบูรณ์แล้ว จะแข็งพอที่จะรับน้ำหนัก ของการบดเคี้ยวได้

 

ทำไม เมื่ออุดอมัลกัมมาใหม่ๆ จึงห้ามใช้เคี้ยว

 

ที่ต้องห้ามใช้ฟัน ซึ่งอุดด้วยอมัลกัมเคี้ยว ในช่วงที่อุดมาใหม่ ๆ เนื่องจากอมัลกัม ซึ่งเป็นโลหะผสม เมื่อจะใช้อุด จะต้องนำไปปั่นผสมกับปรอทจะอยู่ในสภาพที่อ่อนนิ่มปั้นได้ ต่อมาจะแข็งตัวขึ้นเรื่อย ๆ แต่การแข็งตัวที่สมบูรณ์จริงๆ จนสามารถทนแรงบดเคี้ยวได้นั้นจะต้องใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง หลังการแข็งตัว ภายหลังการอุด

 

ปรอทที่ปนอยู่กับการอุดอมัลกัม มีอันตรายหรือไม่

ปรอทเมื่อทำปฏิกิริยากับโลหะผสมแล้ว จะกลายเป็นสารเฉื่อย ไม่มีอันตรายปรอทเปล่า ๆ ที่ยังไม่ผสมจึงจะเป็นอันตราย วัสดุที่ใช้อุดฟันก่อนที่จะผลิตออกมาจำหน่าย จะมีการทดสอบ จนแน่ใจว่า ไม่เป็นสารที่มีอันตรายต่อการใช้ในช่องปาก และในช่วงเวลาตั้งแต่เริ่ม มีประวัติศาสตร์ของการอุดฟันไม่เคยมีรายงานในเรื่อง ของอันตรายที่เกิดจาก วัสดุอุดฟันเลย

ฟันหน้า จะอุดฟันให้ดูเหมือนฟันธรรมดา ได้หรือไม่

 

สมัยก่อน คนนิยมอุดฟันหน้าด้วยทอง แต่ปัจจุบัน นิยมอุดฟันให้เหมือนธรรมชาติ (Composite Filling) ในทางทันตกรรมได้ตอบสนองความนิยมนี้ด้วยการพัฒนาวัสดุอุดฟัน และเทคนิคต่าง ๆ ให้สามารถอุดฟันหน้าได้สวยงามเหมือนธรรมชาติมากที่สุด วัสดุอุดฟัน มีหลายแบบ และหลายสี โดยมีตั้งแต่ สีขาว สีเหลือง จนกระทั่งออกสีน้ำตาล หมอฟันสามารถเลือกสี ให้เหมือนกัยสีของฟันแต่ละคนได้ ในต่างประเทศ จะนิยมเรียกว่า วัสดุอุดฟันมีสีธรรมชาติ มากกว่าจะเรียกว่า วัสดุอุดสีขาว

 

เรื่อง : ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

http://www.meedee.net/magazine/med/dental-care/2905

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทำอย่างไรดี..เมื่ออาการ "ปวดฟัน" ถามหา

 

3237.jpg

 

 

โอ๊ยยย...ปวดฟัน อาการแบบนี้ร้อยทั้งร้อยไม่มีใครอยากเป็น ไม่ว่าจะปวดเล็กน้อย ปวดจี๊ดขึ้นสมองล้วนแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการดูแลรักษาสุขภาพฟันที่ไม่ดี หรือ ไม่ดีพอแต่เมื่ออาการปวดฟันที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยง (ก็ต้องรับมือกับมันให้ได้) หลาย ๆ คำถามที่มักเกิดขึ้นเมื่ออาการปวดฟันถามหา...เวลาปวดฟัน ต้องไปพบทันตแพทย์ หรือควรใช้ยาอะไร?....

 

ปวดฟันเนื่องจากฟันผุ อาการปวดฟันเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยๆ เกิดจากฟันผุ หรือการสึกกร่อนของฟัน หรือที่เรียกกันว่า แมงกินฟัน ซึ่งเกิดรวมกับการติดเชื้อแบคทีเรีย ถ้าเป็นติดต่อกันนานๆ ก็ลุกลามกินลึกลงไปในถึงรากฟัน ทำให้เกิดอาการอักเสบและปวดฟันอย่างรุนแรง ในบางรายอาจมีอาการเหงือกบวม เป็นหนอง หรือแก้มโย้บวมได้

ขณะปวดฟัน ควรรักษาอาการปวดฟันให้ทุเลาเสียก่อน เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดฟันมาพบเภสัชกรที่ร้านยา โดยเฉพาะในรายที่มีอาการปวดรุนแรง เภสัชกรบางรายอาจแนะนำให้ไปพบทันตแพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องฟันได้ ดูแลและแก้ปัญหาปวดฟันให้กับผู้ป่วยทันที แต่เมื่อผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์แล้ว ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยได้เข้าใจว่า ในขณะที่มีอาการปวดฟันอย่างรุนแรงนั้น ไม่ควรทำการอุดหรือถอนฟันทันที จะต้องให้ยาบรรเทาอาการเหล่านี้ให้ทุเลาลงก่อน แล้วจึงทำการรักษาดูแลทางทันตกรรมได้

 

ดังนั้นในขณะที่มีอาการปวดฟัน จึงควรได้รับการรักษาบรรเทาอาการปวดฟันให้เบาบางลงก่อนจึงไปพบทันตแพทย์ เพื่อให้การรักษาทางทันตกรรมต่อไป โดยจะใช้ยาอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ คือ

 

1. ยาแก้ปวด

2. ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย

 

ยาแก้ปวด ในการใช้แก้ปวดฟัน มีระดับการปวดตั้งแต่ปวดเล็กๆ น้อยๆ จนถึงปวดมากขึ้นๆ จนถึงขั้นปวดรุนแรง รบกวนการดำเนินชีวิตและการทำงานตามปกติได้ ซึ่งการเลือกชนิดของยาแก้ปวดฟันขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ

 

ในกรณีที่เริ่มต้นปวดเล็กน้อยและไม่รุนแรง อาจเริ่มต้นด้วยการใช้ยาพาราเซตามอล ในขนาด ๕๐๐ มิลลิกรัม/เม็ด ในผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ ๒ เม็ด ทุก ๔-๖ ชั่วโมง เฉพาะเวลาที่มีอาการปวดฟัน ถ้าอาการดีขึ้นหรือหายเป็นปกติแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้

 

ในบางครั้งอาการปวดอาจเป็นรุนแรงมากขึ้น การใช้ยาพาราเซตามอลอาจได้ผลเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้ผลเลย ซึ่งแสดงว่าระดับการปวดฟันมีระดับรุนแรงมากขึ้น ซึ่งควรเปลี่ยนตัวยาจากพาราเซตามอลไปเป็นชนิดอื่นที่ระงับอาการปวดได้ดีกว่า เช่น แอสไพริน กรดมีเฟนนามิก ไอบูโพรเฟน เป็นต้น

 

นอกจากยาแก้ปวดที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมียาแก้ปวดอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่นซึ่งออกฤทธิ์แก้ปวดฟัน ชนิดรุนแรงหรือปวดมากๆ ยิ่งขึ้น แต่ยากลุ่มนี้ไม่มีฤทธิ์ลดไข้แก้ตัวร้อนเหมือนยากลุ่มแรก แต่เนื่อง จากยากลุ่มนี้เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น จึงมีฤทธิ์เสพติดถ้า มีการใช้ติดต่อกันนาน ในทางปฏิบัติจึงควรอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์หรือทันตแพทย์ในการสั่งจ่าย ยากลุ่มนี้

 

ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย (หรือแก้อักเสบในความ หมายของประชาชน) ยานี้เป็นยาที่อาจพิจารณาเลือกใช้ในกรณีที่คาดว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ ฟัน หรือในรายที่มีอาการเหงือกบวม เป็นหนองร่วมด้วย ยาที่นิยมใช้ต้านแบคทีเรียทางทันตกรรม คือ อะม็อกซีซิลลิน ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับยารักษาการ ติดเชื้อในลำคอ (แก้เจ็บคอ) ซึ่งในผู้ใหญ่ ควรใช้ในขนาด 500 มิลลิกรัม/แคปซูล ครั้งละ 1 เม็ด (หรือชนิดแคปซูล ขนาด 250 มิลลิกรัม จำนวน2 เม็ด) วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น และควรใช้ติดต่อกัน 5-7 วัน หรือเหงือกหายบวมแล้ว 3 วันเนื่องจากยานี้เป็นยาในกลุ่มเพนิซิลลินที่มีอุบัติ-การณ์ของการแพ้ยาได้ บ่อยเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ในการใช้ยานี้จึงควรแน่ใจว่า ผู้ใช้ยาไม่เคยแพ้ยาหรือยาอื่นๆ ในกลุ่มเพนิซิลลินมาก่อน ถ้าผู้ป่วยมีประวัติการแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน เราจะเลือกใช้ยากลุ่มอื่นที่ได้ผลดีทัดเทียมกัน เช่น อีริโทรไมซิน (erythromycin) หรือ ร็อกซีโทรไมซิน (roxythromycin) เป็นต้น

 

อีกอย่างหนึ่ง คือ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ปวดฟันมากขึ้น อย่าง น้ำแข็ง ไอศกรีม ของร้อน ๆ น้ำร้อน ชาร้อน กาแฟร้อน อาหารร้อน อาหารที่มีรสหวานจัด รสเปรี้ยว และลดการกระทบกระแทกกับฟันซี่ที่ปวด

 

ที่สำคัญ เมื่อหายปวดฟันแล้วอย่านิ่งนอนใจ ควรไปพบทันตแพทย์ทันที เพื่อสำรวจจุดบกพร่องและแก้ไขไม่ให้รุกรามใหญ่โต ห่างหายจากอาการปวดฟัน และสุขภาพฟันที่ดีก็จะไม่ไกลเกินเอื้อม

 

ที่แน่ ๆควรตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน ฟันแข็งแรง..ยิ้มอย่างมั่นใจ ก็จะคงอยู่กับเราตลอดไป

 

 

นิตยสาร Medical Upgrade ฉบับ 020

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทันตกรรมรักษาราก Root Canal Treatment

 

รักษารากฟัน

 

เมื่อฟันเริ่มผุ แต่ปล่อยทิ้งไว้ ไม่ไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานๆ การผุลุกลามเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน จำเป็นต้องรักษารากฟัน หากทิ้งไว้นานๆรักษารากฟันไม่ได้อาจต้องถอนฟันทิ้ง

 

: : อาการ : :

 

มีอาการปวดฟันไม่ใช่เสียวฟัน อยู่เฉยๆแล้วปวด เพราะฟันที่ผุ จะผุที่บริเวณเคลือบฟันและเนื้อฟันซึ่งไม่มีเส้นประสาท เพราะฉะนั้นจะไม่ปวดแต่จะเสียวแทน แต่เมื่อใดก็ตามเมื่อการผุลุกลามไปจนถึงโพรงประสาทฟัน จะเกิดการอักเสบในโพรงประสาทฟันและทำให้ปวดฟันนั้นเอง

. : : โดยปกติฟันจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ส่วน คือ

 

endo2.gif

 

 

1. เคลือบฟัน (Enamel) ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่อยู่ภายนอกสุดและมีความแข็งแรงที่สุดของฟัน ทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องเนื้อฟันและส่วนที่อยู่ข้างใน

 

2. เนื้อฟัน (Dentin) อยู่ระหว่างเคลือบฟันกับโพรงประสาทฟัน ส่วนนี้จะไวต่อการสัมผัสและอุณหภูมิมากกว่าเคลือบฟันมาก ดังนั้นเมื่อเคลือบฟันถูกทำลายออกไปไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามจนทำให้เห็นเนื้อฟันแล้ว มักจะมีอาการเสียวฟันตามมาเมื่อถูกกระตุ้นด้วยการสัมผัสหรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนไปในช่องปาก

 

3. โพรงประสาทฟัน (Dental pulp) ส่วนนี้จะประกอบไปด้วยเส้นเลือดและเส้นประสาทต่างๆที่มาหล่อเลี้ยงฟัน ทำให้ฟันมีชีวิตอยู่ได้ โพรงประสาทฟันนี้จะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นทุกชนิดสูงมากเนื่องจากประกอบไปด้วยเส้นประสาทรับความรู้สึกจำนวนมาก ดังนั้นหากเคลือบฟันกับเนื้อฟันถูกทำลายออกไปจนถึงชั้นโพรงประสาทฟันแล้ว มักจะมีอาการปวดฟันแสดงออกมา

 

เมื่อใดก็ตามที่การผุลุกลามจนทะลุถึงโพรงประสาทฟัน สารพิษจากจุลินทรีย์ก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นภายในโพรงประสาท แต่เนื่องจากโพรงประสาทถูกเนื้อฟันซึ่งเป็นส่วนแข็งล้อมอยู่ ทำให้หนองและของเสียต่างๆไม่สามารถระบายออกได้ เมื่อมีอาการอักเสบจึงปวดมาก

 

. . : การรักษา : . .

 

endo1.gif

ขั้นแรก :

 

ทันตแพทย์จะทำการเปิดโพรงประสาทฟันโดยการกรอเจาะตัวฟัน เพื่อทำการระบายหนองออก

 

ขั้นที่สอง :

 

ทันตแพทย์จะใช้เข็มเล็กๆสอดเข้าไปในคลองรากฟัน เพื่อกำจัดเนื้อเยื้อที่อักเสบในโพรงประสาทฟันและเนื้อฟันที่มีการผุออก และทำความสะอาด ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาหลายครั้ง ระยะรักษารากฟันขึ้นอยู่กับซี่ฟัน โดยฟันหน้าจะมีคลองรากเดียวส่วนฟันกรามอาจมี 3-4 คลองรากฟัน โดยเฉลี่ยแล้วจะใช้ระยะเวลาการรักษาประมาณ 2-3 ครั้ง

ขั้นที่สาม :

 

หลังจากทันตแพทย์ทำความสะอาดคลองรากฟันจนปราศจากเชื้อจุลินทรีย์แล้ว ทันตแพทย์จะอุดคลองรากฟัน และทำการบูรณะตัวฟันต่อไป

ฟันที่รักษารากฟันแล้ว ส่วนใหญ่เนื้อฟันที่ดีจะเหลือน้อย และฟันจะเปราะกว่าปกติ ทำให้แตกหักง่าย จึงควรทำครอบฟันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน ฟันที่มีขนาดเล็ก เช่น ฟันหน้าและฟันกรามน้อย หลังรักษารากฟันแล้วมักทำเดือยฟันร่วมกับการทำครอบฟัน ส่วนฟันกรามใหญ่ที่มีเนื้อฟันดีเหลืออยู่มากอาจเพียงอุดโพรงฟันก่อนค่อยทำครอบฟัน

 

บางท่านอาจคิดว่า ตอนแรกที่มารักษารากฟันเพราะอาการปวดฟัน เมื่อทันตแพทย์รักษาในครั้งแรกอาการปวดหายไปก็คิดว่าหายดีแล้ว เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะฟันที่รักษารากฟันค้างไว้อยู่ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันไว้โดยใช้วัสดุอุด ฟันชั่วคราวซึ่งจะไม่คงทนและอาจมีการรั่วซึมทำให้กลับไปติดเชื้ออีกครั้งได้ ทางที่ดีจึงควรรักษาให้ครบทุกขั้นตอน

 

ในบางกรณีเมื่อทันตแพทย์ทำการรักษาและครอบฟันเรียบร้อยแล้ว อาจเกิดเหตุคาดไม่ถึงในเวลาต่อมา เช่นอาจมีการติดเชื้อเพิ่ม, กำจัดเชื้อโรคไม่หมดในการรักษาครั้งแรก, การติดเชื้อที่ปลายรากฟันอื่นในซี่เดียวกัน, การอุดเกินปลายราก หรือมีเครื่องมือหักค้างอยู่ที่คลองรากฟัน ซึ่งจำเป็นต้องรื้อวัสดุอุดปลายรากออก และจำเป็นต้องมารักษารากฟันอีกครั้ง Retreatment หรือในบางครั้งไม่สามารถรื้อฟันเพื่อรักษารากฟันด้วยวิธีปกติได้อาจต้องทำศัลยกรรมปลายรากด้วยวิธี Retrograde โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรักษาฟันไว้ในกรณีที่อุดคลองรากฟันด้วยวิธีปกติล้มเหลว

http://www.silomdental.com/dental_thai/root_canal_treatment1.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รักษารากฟัน (ต่อ) RETREATMENT : .

 

 

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ในบางกรณีเมื่อทันตแพทย์ทำการรักษาและครอบฟันเรียบร้อยแล้ว อาจเกิดเหตุคาดไม่ถึงในเวลาต่อมา เช่นอาจมีการติดเชื้อเพิ่ม, การกำจัดเชื้อไม่หมดในการรักษาครั้งแรก, การติดเชื้อที่ปลายรากฟันอื่นในซี่เดียวกัน, การอุดเกินปลายราก หรือมีเครื่องมือหักค้างอยู่ที่คลองรากฟัน ซึ่งจำเป็นต้องรื้อวัสดุอุดปลายรากออก และจำเป็นต้องมารักษารากฟันอีกครั้ง

 

โดยทันตแพทย์จะทำการรื้อครอบฟันและวัสดุอุดรากเก่าออกด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิก ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำงานด้วยแรงสั่นสะเทือนระดับอัลตร้าโซนิก โดยใช้ร่วมกับเครื่องมือชุดปลายรากสำหรับการทำ retreatment ในลักษณะต่างกัน ดังนี้

 

calcification.gif

 

กรณีกำจัด Calcification ที่อยู่ในโพรงประสาทฟันและคลองรากฟัน

 

access-cavity.gif

 

การขยายและเปิดคลองรากฟันที่เรียกว่า Pre-flaring (รื้อวัสดุอุดรากฟันเก่าออก)

 

broken-file.gif

 

การรื้อกำจัดเครื่องมือที่หักค้างอยู่ในคลองรากฟัน

 

 

หลังจากนั้นจะทำการรักษาคลองรากฟันโดยใช้เครื่องอัลตร้าโซนิกร่วมกับการรักษาคลองรากฟัน ไม่ว่าจะเป็นการขยาย กำจัดเชื้อ และการอุดคลองรากฟัน ซึ่งการใช้เครื่องอัลตร้าโซนิกยังสามารถช่วยกำจัดความเสี่ยง ของการขยายคลองรากฟันผิดรูปหรือขยายและอุดเกินปลายรากฟันได้อีกด้วย

 

ความสามรถของเครื่องอัลต้าโซนิกในการกระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับน้ำยา ทำให้ Bacteria Debris และ Biofilm ที่ฝังตัวอยู่ตามผนังคลองรากฟันหลุด และถูกล้างออกไปอย่างง่ายดาย นอกจากนี้ เครื่องอัลตร้าโซนิกยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกดอัดกัตตาเปอร์ชาเข้าไปชิดผนังในคลองรากฟัน รวมถึงคลองรากฟันเล็กๆที่แยกตัวออกมาซึ่งอุดได้ยากด้วยเครื่องมือปกติ

 

. . : RETROGRADE : . .

 

retrograde.jpg

 

ส่วนการทำศัลยกรรมปลายรากด้วยวิธี Retrograde นั้น เป็นการอุดย้อนปลายรากฟันภายหลังจากการตัดปลายรากฟันแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรักษาฟันไว้ในกรณีที่อุดคลองรากฟันด้วยวิธีปกติล้มเหลว และไม่สามารถใช้วิธีการรักษาแบบ Retreatment ได้ ซึ่งมักจะเป็นทางเลือกสุดท้ายก่อนการตัดสินใจถอนฟัน

 

การรักรากฟันโดยปกติ จะทำการกรอฟันเพื่อเปิดทางจากด้านบนฟัน ลงไปสู่ด้านรากฟัน แต่วิธี Retrograde จะทำการกรอเปิดทาง ผ่านกระดูกเข้าไปบริเวณปลายรากฟัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ กับเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียง จากนั้นจะควักเนื้อเยื้อที่มีปัญหา (Lesion) ออกและขูดทำความสะอาดให้เรียบร้อย ปลายรากฟันที่มีปัญหาจะถูกตัด โดยพยายามให้เสียเนื้อรากฟันน้อยที่สุด จากนั้น ทันตแพทย์จะทำการรื้อวัสดุเก่าที่อุดคลองรากฟันออกด้วยครื่องอัลต้าโซนิก และปลายเครื่องมือเฉพาะสำหรับงานศัลยกรรมปลายราก เครื่องมือจะสามารถขยายปลายรากฟัน ล้างและทำความสะอาดอย่างทั่วถึงด้วยครื่องอัลต้าโซนิก ซึ่งมีผลในการกำจัดเชื้อและขูดทำความสะอาดผนังคลองรากฟันได้ในขณะเดียวกัน หลังจากนั้นจะทำการอุดย้อนทางปลายรากฟัน โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมประกอบการอุดปลายรากฟัน ซึ่งจะช่วยให้การเตรียมปลายรากฟันทำได้อย่างง่ายได้ในรากฟันเกือบทุกรูปแบบ

http://www.silomdental.com/dental_thai/root_canal_treatment2.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...