ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

สาระน่ารู้....สุขภาพ.....

โพสต์แนะนำ

อาหารลดอาการตาแห้ง

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 239

 

47449ih9hcr3tmj.gif

 

 

คุณเคยรู้สึกตาแห้ง ตาพร่ามัว หรือฝืดเคืองตา ต้องกระพริบตาถี่ๆ คล้ายมีเศษผงเข้าตา จนทำให้มองภาพไม่ชัด หรือบางครั้ง มีขี้ตาออกมาเป็นเมือกเหนียวกันบ้างไหมคะ ถ้ามีแสดงว่าคุณกำลังมีอาการตาแห้งแล้วล่ะ

 

สำรวจสาเหตุของอาการตาแห้ง

ตาแห้ง เป็นอาการที่มีความผิดปกติของน้ำตา โดยปกติดวงตาของคนเรา จะมีปริมาณน้ำตาเพียงพอที่จะมาหล่อเลี้ยง หรือให้ความชุ่มชื้นกับดวงตา รวมถึงฉาบกระจกตา ทำให้การมองเห็นชัดเจน

ส่วนอาการตาแห้งเกิดจากการมีปริมาณน้ำตาน้อย หรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งน้ำตาที่ดีมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ไขมัน น้ำใส และเมือก หากส่วนประกอบ 1 ใน 3 ของน้ำตาขาดความสมดุลหรือไม่มีคุณภาพ จะทำให้ตาแห้งได้

 

อาการนี้เป็นได้ทุกเพศ แต่มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และจะพบมากขึ้นตามวัย โดยเฉพาะในผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน เป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนที่ลดลง ทำให้สารคัดหลั่งต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งน้ำตาก็ลดปริมาณลงไปด้วย นอกจากนี้ อาการดังกล่าวยังเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุ ดังนี้

 

ภาวะ ที่ทำให้เส้นประสาทรับความรู้สึกที่ตาลดลง เช่น การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่เหมาะสมหรือไม่มีคุณภาพ การผ่าตัดกระจกตาหรือเปลี่ยนกระจกตา การอักเสบของกระจกตาจากเชื้อเริม นอกจากนี้ ยังรวมถึงการเป็นอัมพฤกษ์ที่ใบหน้า

 

โรค ที่ผิดปกติทางภาวะภูมิคุ้มกัน (Autoimmune) เช่น โรค Sjogren's Syndrome ซึ่งมีอาการตาแห้ง ร่วมกับข้ออักเสบและปากแห้ง โรคข้อบางชนิด หรือโรคเอดส์

 

โรคบางชนิด ซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบกับเยื่อบุตา เช่น กลุ่มอาการแพ้ยา อย่างสตีเวนจอห์นสัน (Stevens-Johnson) ริดสีดวงตา และเบาหวาน

 

การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาคุมกำเนิด ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิตบางชนิด

 

การทำงานของเปลือกตาบกพร่อง เช่น หลับตาไม่สนิท กะพริบตาน้อย เปลือกตาผิดรูป

 

สภาพแวดล้อม เช่น อยู่ในห้องปรับอากาศที่มีอากาศแห้ง หรือมีฝุ่นควัน ลม และแดดจ้า

 

อาชีพที่ต้องใช้สายตาจ้องเป็นเวลานาน เช่น พนักงานคอมพิวเตอร์ ช่างอ๊อกเหล็ก หรือยามที่เฝ้ากล้องวงจรปิด

 

แต่ก็อย่าเพิ่งกังวลใจกันไปค่ะ เพราะผู้ที่มีอาการตาแห้งส่วนใหญ่มักเป็นในระดับไม่รุนแรง แค่ก่อความรำคาญใจ แต่ไม่ทำให้ตาบอดได้

 

เทคนิคเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา

กระ พริบตาถี่ๆ ในภาวะปกติคนเราจะกระพริบตานาทีละ 20 - 22 ครั้ง ทุกครั้งที่กระพริบตา เปลือกตาจะรีดน้ำตาให้มาฉาบผิวกระจกตา แต่ถ้าในขณะที่จ้อง หรือเพ่งตาค้างไว้นานกว่าปกติ เช่น เวลาที่เราอ่านหนังสือ ดูทีวีหรือจ้องคอมพิวเตอร์ จะทำให้เรากระพริบตาเพียง 8 - 10 ครั้ง น้ำตาก็จะระเหยออกไปมาก ทำให้ตาแห้งเพิ่มขึ้น จึงควรพักสายตาระยะสั้นๆ โดยการหลับตา หรือกระพริบตาอย่างช้าๆ หรือลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถประมาณ 2 - 3 นาที ในทุกครึ่งชั่วโมง

 

ประคบ ดวงตาด้วยน้ำเย็น แช่ผ้าขนหนูผืนเล็ก 2 ผืนในน้ำเย็น หยิบขึ้นมา 1 ผืน บิดพอหมาดและพับทบเป็นผืนยาว วางปิดดวงตาไว้ทั้งสองข้างนานประมาณ 20 นาที หรือจนกว่าผ้าจะหายเย็น แล้วจึงใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งประคบ สลับกันไปมา จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตาของคุณได้เช่นกัน

 

กินอาหารลดอาการตาแห้ง

กล้วย กินกล้วยทุกวัน เพราะกล้วยมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งจะทำงานร่วมกับโซเดียมเพื่อรักษาภาวะสมดุลน้ำในร่างกาย และช่วยให้ดวงตาของคุณชุ่มชื้นอยู่เสมอ

 

ถั่ว ประเภทนัท (Nut) ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะวอลนัต ควรรับประทานวันละประมาณ 1 กำมือ เพราะถั่วประเภทนี้มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว หรือกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำตา

 

ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่าหรือปลาแซลมอน เพราะมีกรดไขมันที่จำเป็นหรือโอเมก้า-3 ด้วย

 

น้ำมัน ปอ (Flexseed oil) หรือน้ำมันเมล็ดลินิน จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมกรดไขมันโอเมก้า-3 อย่างเพียงพอ โดยรับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ หรือผสมใน[/colorด้]ซีเรียลแล้วรับประทานก็ไ

 

ปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม

หลีก เลี่ยงการทำงานในบริเวณที่มีแสงจ้าและลมแรง เพราะจะทำให้ตาแห้งเร็ว ควรใส่แว่นกันแดดช่วย โดยเลือกแว่นขนาดใหญ่ที่มีขอบด้านข้าง เพื่อช่วยลดการระเหยของน้ำตา

 

หลีก เลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศแห้ง และเย็นจัด เช่น ห้องปรับอากาศ ตลอดจนหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นละอองและควันต่าง ๆ เช่น บุหรี่ ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองตา

 

อย่าเป่าลมร้อนจากเครื่องเป่าผมเข้าตาโดยตรง รวมทั้งปรับไม่ให้เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมเป่าโดนตาหรือใบหน้าโดยตรง

 

พัก ผ่อนให้เพียงพอ การนอนไม่พออาจทำให้ตาแห้งและตาแดงช้ำ เนื่องจากเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยงดวงตาบวม การพักผ่อนให้สมดุลจึงดีต่อดวงตาที่สุด

 

แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นวดแก้ปวดหัวและคลายเครียด 697141hnxhfcpmcm.gif

 

คุณคงเคยได้ยินคนพูดอย่างอารมณ์เสียว่า

 

“ผมกำลังอารมณ์ไม่ดีนะ”

 

“โอ๊ย...งานยุ่งไปหมด ไม่รู้จะทำอะไรแล้ว”

 

“ปวดหัวจริงๆ กับเรื่องพวกนี้”

 

“กลับมาถึงบ้านก็อารมณ์เสียเลยนะ”

 

“ให้ตายซิ...ปวดหัวทั้งปี”

 

“วันนี้รู้สึกมึนๆ หัวอย่างไรชอบกล”

 

 

อาการ ปวดศีรษะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่เราพบกันบ่อยๆ คือ ปวดศีรษะจากความเครียด ซึ่งเป็นผลจากอารมณ์เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ใช้สมองมาก ใช้สายตามาก ทำงานหนัก พักผ่อนน้อยทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย

 

สาเหตุดังกล่าวจะทำให้ กล้ามเนื้อคอเกร็งแข็ง และเลือดฉีดขึ้นไปเลี้ยงบริเวณศีรษะได้ไม่ดีพอ วิธีที่สามารถแก้อาการปวดศีรษะที่เรามักจะทำกัน ก็คือ การกินยา อันที่จริงวิธีกินยานั้น ควรเป็นวิธีการสุดท้ายหลังจากที่เราได้ใช้วิธีอื่นๆ รักษาอาการนั้นๆ แล้วไม่ได้ผล ปัจจุบันเราได้ทอดทิ้งวิธีการรักษาตนเองที่ถ่ายทอดมาจากปู่ย่าตายายและพ่อ แม่ของเรา จนทำให้ขาดความเชื่อมั่นแม้กับตนเองว่า เราสามารถที่จะรักษาตนเองได้

การนวดเป็นวิธีการหนึ่งที่บรรพบุรุษของ เราได้ใช้ในการรักษาตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพายาหรือหมอ ก่อนที่เราจะมาว่าต่อไปถึงวิธีการนวดตัวเองเพื่อคลายอาการปวดหัวหรือความ เครียดนั้น ก็ขอบอกกล่าวถึงอาการปวดหัวที่ไม่ควรนวดเสียก่อน เพื่อท่านทั้งหลายจะได้คลายความกังวลว่า อาการไหนควรหรือไม่ควรนวดอย่างไร หากมีอาการดังต่อไปนี้ก็ขอให้ไปพบแพทย์ คือ

- มีอาการปวดศีรษะร่วมกับมีอาการใดต่อไปนี้ คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง เห็นภาพซ้อน ตามัวลงเรื่อยๆ รูม่านตาทั้ง 2 ข้างโตไม่เท่ากัน เดินเซ แขนขาอ่อนแรง อาเจียนพุ่ง เคยเป็นความดันเลือดสูง เพราะอาจเป็นโรคทางสมอง เช่น เลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

 

- ปวดศีรษะตรงท้ายทอย และปวดร้าวเสียวชามาที่แขน เพราะรากประสาทคออาจถูกกดทับ เป็นต้น

ต่อ ไปนี้ก็ขอเชิญท่านผู้อ่านลองฝึกนวดตนเองเลยนะครับ ไม่ต้องรอให้ปวดหัวหรือเครียดก่อนแล้วค่อยนวดหรอกครับ เพราะถึงเวลานั้นมาฝึกกว่าจะนวดได้เข้าที่เข้าทางก็สายเสียแล้ว เริ่มฝึกตั้งแต่ยังสบายๆ

 

นี่แหละครับมีกำลังใจดี เอาเลยครับ...

ข้อแนะนำในการนวด

 

1. แต่ละจุดให้ค่อยๆ เพิ่มแรงกดจนรู้สึกว่าจุดที่ตนกดนั้นปวด แล้วให้กดทิ้งไว้ประมาณ 10 วินาที จากนั้นจึงค่อยๆ ผ่อนแรงหรือคลายออก

 

2. เมื่อนวดครบทุกจุดแล้ว ให้กลับมานวดซ้ำอีกประมาณ 3-5 รอบ

 

3. หลังจากนวดเสร็จแล้ว อาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตามบริเวณท้ายทอย จะช่วยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

 

 

ดูรูปและอธิบายภาพประกอบเพิ่มเติมได้ที่

 

http://www.doctor.or.th/node/4631

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

3 นาที กับการออกกำลังกายหน้าจอ สำหรับคนใช้คอมพิวเตอร์

 

 

http://www.doctor.or.th/node/9293

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คำถามที่เจอบ่อยกับ ... เรื่องน้ำตาเทียม

 

:o :P

 

 

ทำไมต้องหยอด น้ำตาเทียม

 

น้ำตาเทียม (artificial tears) ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีมากมายหลายตำรับ และหลายยี่ห้อ โดยทั่วไปจะใช้ในการหล่อลื่นดวงตา เพื่อบรรเทาอาการระคายเคือง ตาแห้ง แสบตา ที่เกิดขึ้นชั่วคราว อันเนื่องมาจากการสัมผัสกับแสงแดด ลม หรือสิ่งระคายเคืองต่างๆ เช่น ฝุ่นละอองเขม่า ควัน เครื่องปรับอากาศ การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และการใช้คอนแทคเลนส์

 

อาการแบบไหนที่เรียกว่า ตาแห้ง

 

อาการตาแห้ง(dry eye) เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยมักจะมีอาการแสบตา ตาแดง เคืองตา รู้สึกแห้งฝืด บางครั้งมีขี้ตาเป็นเส้นๆ เมือกๆ ลืมตายาก คล้ายมีผงอยู่ในตา บางคนมองไม่ชัดด้วย ต้องกระพริบตาจึงเห็นดีขึ้น อาการมักเป็นมากในช่วงบ่ายๆ เย็นๆ มากกว่าตอนเช้า และจะเป็นมากขึ้นเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้น้ำตาระเหยง่าย เช่น แสงจัด ความร้อน อยู่ในที่มีความชื้นต่ำ (ห้องปรับอากาศ) ควัน ลมแรง หรือแม้แต่การใช้สายตาเป็นเวลานาน เช่น อ่านหนังสือ ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ดูโทรทัศน์นานๆ (เพราะต้องลืมตานาน ทำให้กะพริบตาลดลง) อาการเหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไป หากเป็นนานจนเรื้อรัง อาจมีอาการรู้สึกตาฝืดๆ ขี้ตาเป็นเมือกติดแน่นที่กระจกตา ทำให้เคืองตามากโดยเฉพาะเวลากระพริบตา และปล่อยให้ตาแห้งนานมาก จะทำให้ผิวตาดำไม่เรียบ ติดเชื้อในตาง่าย การติดเชื้อที่ตาดำจะทำให้เกิดแผล ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดี จะทำให้แผลอักเสบทำให้ตาบอดได้

 

อาการตาแห้ง เกิด จากการมีน้ำตาหล่อเลี้ยงดวงตาน้อยกว่าปกติ ทั้งปริมาณและคุณภาพ หรือเกิดจากการกระจายของน้ำตา ไม่สม่ำเสมอทั่วทั้งดวงตา ซึ่งอาจมีสาเหตุหลายประการ ได้แก่

 

-การไม่มีต่อมน้ำตาโดยกำเนิด (พบได้น้อยมาก)

 

 

-การผลิตน้ำตาของต่อมสร้างน้ำตาลดลง บางคนจะพบร่วมกับการผลิตน้ำลายลดลง ทำให้ปากแห้ง หรือร่วมกับโรคกลุ่ม autoimmune เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเอสแอลอี

 

 

-ความบกพร่อง หรือโรคที่เกิดกับเยื่อบุตา เช่น กลุ่มอาการแพ้ยา (Stevens-Johnson) ริดสีดวงตา การขาดวิตามินเอ

 

 

-ผู้สูงอายุ ประสิทธิภาพในการทำงานของต่อมน้ำตาจะลดลง พบมากในหญิงวัยหมดประจำเดือน แต่พบได้น้อยในผู้ชายสูงอายุ

 

 

-การได้รับการฉายรังสี เพื่อรักษาเนื้องอกบริเวณใบหน้า ทำให้ต่อมน้ำตาถูกทำลาย

 

 

-การใช้คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน

 

 

-การใช้สายตาเป็นเวลานาน เช่น การอ่านหนังสือ การทำงานกับคอมพิวเตอร์

 

 

-สารเคมีเข้าตา จนเกิดการทำลายต่อมต่างๆ ในเยื่อบุตา

 

 

-ความ บกพร่องในการทำงานของเปลือกตา เช่น การอักเสบของเส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อรอบตา หรือขอบตา ไม่เรียบสม่ำเสมอ ทำให้ปิดตาไม่สนิท มีผลให้การเกลี่ยของน้ำตาไม่ทั่วถึง และเป็นจุดแห้งเฉพาะบริเวณ

 

 

-เกิดจากยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยาคุมกำเนิด

 

น้ำตาเทียม ต่างจาก น้ำตาธรรมชาติ หรือไม่

น้ำตาธรรมชาติ

 

ในภาวะปกติน้ำตาสร้างมาจากต่อมน้ำตา ต่อมภายในเยื่อบุตา ต่อมบริเวณโคนขนตา ตลอดจนต่อม ภายในหนังตา แต่ละต่อมสร้างน้ำตาต่างชนิดกัน โดยเรียงเป็น 3 ชั้น

 

 

ชั้นนอกเป็นชั้นไขมัน มีหน้าที่ป้องกันการระเหยของน้ำ

 

 

ชั้นกลางเป็นน้ำ เป็นชั้นที่หนาที่สุด เป็นตัวที่ให้อาหารและออกซิเจนหล่อเลี้ยงแก้วตา

 

 

ชั้นที่ชิดผิวตาเป็นชั้นเมือก มีหน้าที่ปรับสภาพของกระจกตา ทำให้น้ำตากระจายตัวได้อย่างรวดเร็วเวลากระพริบตา

 

น้ำตามีหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นแก่กระจกตา และเยื่อบุตาขาว ช่วยปรับสภาพของกระจกตาให้เรียบ ทำให้เกิดการหักเหของแสงที่สม่ำเสมอ ทำให้มองเห็นชัดเจน ป้องกันการติดเชื้อของกระจกตา ชะล้างสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ฝุ่นผง สารเคมี เชื้อโรค เป็นแหล่งอาหารให้กับผิวดวงตา เนื่องจากกระจกตาเป็นอวัยวะที่ไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนจากอากาศและน้ำตา น้ำตายังเต็มไปด้วยเกลือแร่ วิตามินเอ วิตามินอี สารต้านจุลชีพ และสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยให้ผิวดวงตาอยู่ในสภาพปกติ หากขาดสารเหล่านี้พื้นผิวดวงตาจะแห้ง และหลุดลอกได้ง่าย

 

น้ำตาเทียม

น้ำตาเทียมเป็นสารสังเคราะห์ที่ถูกผลิตขึ้น ให้คุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำตาธรรมชาติมากที่สุด โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้

 

1.hydrogel หรือ polymer ซึ่งช่วยเพิ่มความหนืด (viscosity agents)ให้น้ำตาเทียม เพื่อให้ฉาบอยู่ที่กระจกตานานขึ้น เพิ่มความสบาย และความชุ่มชื่นให้กระจกตา แต่ถ้าน้ำตาเทียมยี่ห้อใดมีความหนืดมาก ก็จะทำให้ระยะเวลาที่น้ำตาเทียม ฉาบอยู่บนกระจกตานานขึ้น อาจทำให้มีอาการตามัว มองไม่ชัดหลังหยอดตาระยะแรก

 

 

2.สาร กันเสีย ช่วยให้น้ำตาเทียมคงสภาพได้นาน และป้องกันการเติบโตของจุลชีพ ที่อาจปนเปื้อนเข้าไปขณะหยอด ทำให้สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 เดือนหลังจากเปิดขวด

 

 

3.บัฟเฟอร์ (buffer) เป็นส่วนผสมที่ช่วยปรับสมดุล ขององค์ประกอบอื่นในน้ำตาเทียม ปรับความเป็นกรดด่างให้พอเหมาะ ไม่แสบตาเวลาหยอด ช่วยคงสภาพของน้ำตาเทียม

 

 

4.ส่วน ประกอบอื่นๆ เช่น glycine, magnesium chloride, sodium chloride, zinc, calcium chloride, sodium borate เพื่อให้น้ำตาเทียมมีคุณสมบัติ ใกล้เคียงกับน้ำตาธรรมชาติมากที่สุด

หยอดน้ำตาเทียมนานๆ จะมีข้างเคียงต่อดวงตาหรือไม่

การใช้น้ำตาเทียม เพื่อช่วยหล่อลื่น และให้ความชุ่มชื้นแก่กระจกตา และเยื่อบุตาขาว ไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือผลข้างเคียงต่อดวงตาแต่อย่างไร สามารถใช้ได้ตามต้องการ ในรายที่ไวหรือแพ้สารกันเสีย ซึ่งมีอยู่ในยาหยอดตาทุกชนิดที่เป็นขวดใหญ่ ก็สามารถเลือกใช้น้ำตาเทียมที่ปราศจากสารกันเสีย ซึ่งบรรจุอยู่ในหลอดขนาดเล็กที่ใช้ได้วันต่อวัน

 

น้ำตาเทียมมีกี่ประเภท

ปัจจุบันมีน้ำตาเทียมหลายยี่ห้อ แต่เราสามารถจำแนกน้ำตาเทียมง่ายๆ ได้เป็น 2 ประเภท ตามการใส่สารกันเสีย คือ น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย และที่ไม่มีสารกันเสีย น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสียจะมีขวดใหญ่ ขนาดบรรจุประมาณ 3 ถึง 15 ซีซี สามารถใช้ได้นานประมาณ 1 เดือนหลังเปิดขวด แต่น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย จะเป็นหลอดเล็กๆ หลอดละ 0.3 ถึง 0.9 ซีซี บรรจุตั้งแต่ 20 ถึง 60 หลอด ต่อ 1 กล่อง แต่ละหลอดเมื่อเปิดแล้ว ต้องใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง

 

หาซื้อน้ำตาเทียมมาใช้เองได้หรือไม่

 

คุณสามารถหาซื้อน้ำตาเทียมมาใช้เองได้ โดยการเลือกใช้น้ำตาเทียมนั้น ขึ้นกับความรุนแรงของอาการที่เป็น คนที่มีอาการตาแห้งธรรมดา ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรง เช่น การใส่คอนแทคเลนส์ สัมผัสกับแสงแดด ลม หรือใช้สายตานานๆ ก็สามารถเลือกใช้น้ำตาเทียมชนิดขวดใหญ่ ที่มีสารกันเสียก่อนได้ หากมีอาการตาแห้งรุนแรง ต้องหยอดน้ำตาเทียมมากกว่า 4 ครั้งต่อวันเป็นเวลานานๆ ผู้ที่มีโรคของผิวกระจกตา เซลล์ของผิวกระจกตาไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือมีประวัติแพ้สารกันเสียในน้ำตาเทียม ก็ควรพิจารณาใช้ยาหยอดตาชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย อย่างไรก็ตาม ในรายที่มีอาการรุนแรง และเรื้อรัง ก็ควรไปตรวจสุขภาพดวงตากับจักษุแพทย์อย่างละเอียด ไม่ควรซื้อน้ำตาเทียมมาใช้เองเป็นเวลานานๆ โดยไม่หาสาเหตุที่แท้จริงของอาการตาแห้งนะคะ

 

น้ำตาเทียมเปิดใช้แล้วเก็บได้นานแค่ไหน

น้ำตาเทียมชนิดที่มีสารกันเสีย สามารถเก็บไว้ได้นาน 30 วัน หลังจากเปิดใช้ แต่ชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย ต้องใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง

 

เก็บรักษาน้ำตาเทียมอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพ

 

น้ำตาเทียมควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2 - 25 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิปกติเมืองไทยก็เกิน 25 องศาเซลเซียสอยู่แล้ว หากอยู่นอกห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ดังนั้น หากเก็บยานอกห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ก็ควรเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา จะเป็นการดีที่สุด เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำตาเทียม และไม่ควรใช้หลังจากสิ้นอายุที่ระบุไว้บนกล่อง

 

วิธีการใช้น้ำตาที่ถูกต้อง

 

ล้างมือให้สะอาด

 

• แหงนหน้าขึ้น ใช้มือข้างหนึ่งดึงหนังตาล่างเบาๆ ลงมาเป็นกระเปาะหรือกระพุ้ง

 

• เหลือบตามองขึ้นข้างบน

 

• หยอด ยา หรือน้ำตาเทียม 1-2 หยด ด้วยมืออีกข้าง ลงในเบ้าตาอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ปลายหลอดหยดสัมผัสกับส่วนใดส่วนหนึ่งของดวงตา เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ เข้าไปเจริญเติบโตในยา

 

• หลับตา กรอกตาไปมา ห้ามกระพริบตาชั่วครู่

 

• เช็ดยาส่วนเกินที่หยดออกมานอกดวงตา ด้วยกระดาษชำระหรือผ้าที่สะอาด

 

• ล้าง มือหลังหยอดตาให้สะอาด เพราะอย่าลืมว่าการติดเชื้อ สามารถเป็นที่ตาอีกข้างหนึ่งได้ ถ้าเอามือสกปรกที่แตะหนังตา หรือขี้ตา มาถูกตาอีกข้างหนึ่ง หรือแพร่ไปให้คนอื่นๆ ในครอบครัว หรือในที่ทำงานได้ด้วย

 

• ห้ามใช้ยาหยอดตา หรือน้ำตาเทียมร่วมกับผู้อื่น เพราะหากเจ้าของยามีการติดเชื้อ คุณอาจได้รับเชื้อนั้นด้วย

 

ดวงตาเป็นอวัยวะที่บอบบางละเอียดอ่อน ประสิทธิภาพการทำงานของดวงตา ส่วนหนึ่งขึ้นกับความชุ่มชื้นของผิวกระจกตา และการที่ดวงตาจะชุ่มชื้นตลอดเวลานั้น จะต้องมีน้ำตาที่พอเพียงหล่อเลี้ยง และสามารถเคลือบผิวดวงตาได้เป็นอย่างดี หมั่นดูแลและเอาใจใส่สุขภาพของดวงตา เพื่อให้ได้ดวงตาที่สวย จะได้อยู่คู่กับท่านไปนานๆ นะคะ

 

ภญ. อัมพร อยู่บาง

แหล่งข้อมูล : นิตยสาร - HealthToday

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิธีบริหารข้อเข่า

 

นำมาให้ดูเพิ่มเติมค่ะ มีรูปประกอบเข้าใจง่าย

 

1216988428.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิจัยพบ "เถาวัลย์เปรียงแคปซูล" รักษาปวดหลัง-ข้อเข่าเสื่อม

 

ปลอดภัย-ประสิทธิภาพ เทียบเท่ายาแผนปัจจุบัน

 

เถาวัลย์เปรียง

 

552000016378601.JPEG

 

 

 

นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่าก รมวิทยาศาสตร์การแพทย์และโรงพยาบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ได้ร่วมกันดำเนินการวิจัยทางคลินิกเพื่อศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง จำนวน 70 ราย

 

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม : คือผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูล ขนาด 200 มิลลิกรัม วันละ3 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน

: และผู้ป่วยที่ได้รับยาแผนปัจจุบันไดโคลฟีแนค(Diclofenac)ขนาด 25 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน

 

ผลการศึกษาพบว่า : ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมี อาการปวดลดลงอย่างชัดเจนในวันที่ 3 และวันที่ 7 โดยกลุ่มผู้ป่วย ที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีเม็ดเลือดขาวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 7 ของการรักษาแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีรวมทั้งผลข้างเคียงใดๆ

 

ส่วนการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในการรักษาอาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อมนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมดำเนินการวิจัยทางคลินิกกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมเข้าร่วมโครงการจำนวน 125คนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

 

: คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาแผนปัจจุบันนาโปรเซน(Naproxen) ขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 4สัปดาห์

: และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาสารสกัดเถาวัลย์เปรียงขนาด 400 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์

 

ผลการศึกษาพบว่า : ยาแผนปัจจุบันนาโปรเซนและสารสกัดเถาวัลย์เปรียง มีประสิทธิผลและความปลอดภัยไม่แตกต่างกันและผู้ป่วยที่ได้รับยาทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการรักษาร้อยละ 80

 

ด้าน นางมาลี บรรจบ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 59 ราย

 

โดยให้อาสาสมัครรับประทานแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ครั้งละ 1 แคปซูล (200มิลลิกรัม/แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าอาสาสมัครทั้งหมด ไม่มีอาการข้างเคียงใดๆระหว่างรับประทานสารสกัดเถาวัลย์เปรียง

ส่วนค่าทางโลหิตวิทยาและค่าทางชีวเคมีบางค่ามีการเปลี่ยนแปลงแต่อยู่ในช่วงของค่าปกติและยังพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณของ IL-2 และ γ-IFN ในซีรั่มเพิ่มขึ้น

 

 

ดังนั้นการรับประทานสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ขนาด 400มิลลิกรัม/วัน นาน 2เดือนมีความปลอดภัยและมีส่วนช่วยควบคุมหรือเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

 

"กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัดสาระสำคัญและควบคุมคุณภาพให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมทำให้มีการใช้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะเพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆได้นำไปใช้กับผู้ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร. 02951- 0000 ต่อ 99386 และ 99486"นางมาลีกล่าว

 

 

http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9520000151675

 

http://www.db.hitap.net/articles/381

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดซึ่งผู้ป่วยควรทราบ

ในโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทส่วนเอว Spinal Stenosis

:huh: :wub:

 

โดย นพ.ทายาท บูรณกาล

 

Decision03.gif

• โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เป็นโรคที่เกิดกับประชากร ได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่หนุ่มสาว

ถึงวัยชรา แต่ที่พบบ่อยคือวัยสูงอายุ

• โรคใช้เวลาในการดำเนินค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาหลายเดือน หรือหลายปีก็ได้

โดยมักมิทำให้ผู้ป่วยเกิดทุพลภาพในเวลาอันรวดเร็ว

• อาการของโรคกระดูกส่วนเอวทับเส้นนี้ ที่เป็นเอกลักษณ์ ก็คือ ปวดจากสะโพกร้าวลงขา

มีอาการขา-ชา-อ่อนแรงโดยเฉพาะเวลายืนหรือเดิน

• อาจมีอาการชาปลายเท้า ซึ่งเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ แต่ไม่ต้องกังวลมากนักเพราะ

อาการชานี้ไม่ได้เป็นอาการนำของการเป็นอัมพาตที่น่ากลัว

 

Decision06.gif

 

• อาการอาจจะกำเริบเป็นระยะๆ เหมือนคลื่นน้ำที่มาเป็นระรอกๆ ถ้าอาการเป็นถี่ขึ้นหรือ

รุนแรงมากขึ้นแสดงว่ากระบวนการของโรคนี้ในร่างกายกำลังเป็นมากขึ้นเช่นกัน

• การตรวจวินิจฉัยสำคัญที่สุด ที่จะบอกว่าควรผ่าตัดหรือไม่ คือ การซักถามรายละเอียดความ

รุนแรงของอาการปวดและชา ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยมากกว่าการตรวจอื่นๆทั้งหมด

• ส่วนการถ่ายภาพเอกซ์เรย ์และ การตรวจด้วยแม่เหล็กแบบ MRI นั้น ช่วยย้ำการวินิจฉัยและ

เพื่อช่วยเหลือแพทย์ในการวางแผนรายละเอียดผ่าตัด

• ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาเสมอๆว่า เวลาใดจะเป็นเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัด หรือจะรอต่อไป

 

• การรักษาอาการผิดปกติที่เกิดจากกระดูกสันหลังนั้น ส่วนใหญ่ต้องเริ่มจากการรักษาเป็นขั้นตอน

เริ่มด้วยการรักษาแบบอนุรักษ์นิยม(Conservative treatment) แบบต่างๆซึ่งไม่ใช่วิธีผ่าตัด

ก่อนเสมอ ซึ่งก็มักจะได้ผลดีในระดับที่น่าพอใจ

 

• การรักษามีขั้นตอนใหญ่ๆอยู่ 3 ลำดับขั้น คือ

 

1. การรักษาขั้นต้นด้วย การรับประทานยาการออกกำลังกายบริหารและ การทำกายภาพบำบัด

2. การรักษาด้วย intervention อาทิเช่น การฉีดยาระงับอาการปวดที่เส้นประสาท SNRB

การทำNeucleoplasty การทำ Facet block ฯลฯ เป็นต้น

3. การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งควรเลือกเป็นอันดับสุดท้าย เนื่องจากเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง

มากกว่าการรักษาสองประการแรก และไม่ใช่ว่าการผ่าตัดจะหายได้100%เหมือนกัน

 

• ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกินครื่ง หากได้รับยาได้เต็มที่ สามารถหายได้ด้วยการรักษาขั้นตอนแรก

อาทิเช่นการรักษาด้วย ยาแก้ปวด การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายบริหาร

 

• แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำวิธีการรักษาแบบต่างๆซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ว่าหนทางใด

ที่น่าจะเหมาะสมสำหรับกรณีการเจ็บป่วยแบบที่เป็นอยู่ครับ

 

• ระยะเวลาในการรักษาแบบไม่ผ่าตัดที่นิยมยึดถือกันอยู่นั้น อยู่ระหว่าง 1-3 เดือน

 

• ในกรณีที่มีอาการปวดมากอย่างรุนแรง เดินได้ระยะน้อยลงเรื่อยๆ หรือขาอ่อนไม่มีกำลัง

แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดรักษาเร็วขึ้น

 

• อย่างไรก็ตาม มีโรคบางอย่างที่มีอาการเหมือนกันกับอาการของกระดูกทับเส้นประสาทมาก

อาทิเช่น โรคกล้ามเนื้อเกร็งอักเสบแบบเฉียบพลันที่สะโพก (Piriformis syndrome),

โรคปลายประสาทอักเสบ(Peripheral Neuropathy), โรคหลอดเลือดเลี้ยงปลายขาไม่เพียงพอ

(Vascular Insufficiency) เป็นต้น

 

• ซึ่งโรคที่กล่าวมานั้น เป็นโรคที่ไม่หายปวด ด้วยการผ่าตัด ต้องรักษาด้วยวิธีการอื่นๆแทน

 

• ข้อสังเกตต่อไปนี้ สนับสนุนว่าการผ่าตัดทางกระดูกสันหลัง น่าจะได้ผลดี

ี (ปัญหาน่าจะเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่กระดูกสันหลังจริง)

ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนผ่าตัดได้ครับ

 

สิ่งที่สนับสนุนให้ตัดใจรักษาโดยการผ่าตัดได้

 

• มีอาการปวดชาขาและน่องเป็นส่วนใหญ่ ปวดหลังน้อย

• มีอาการปวดและชาขาเพิ่มขึ้น เวลาเดินติดต่อกัน จนต้องหยุด

• ระยะที่เดินได้โดยไม่ต้องหยุดพักเพราะปวด < 200 เมตร

• มีปัญหากับชีวิตประจำวันมาก เช่น ยืนอาบน้ำก็ปวดมาก

เดินอยู่ในบ้านก็ปวดขา ทำกับข้าวก็ปวด คุณภาพเสื่อมถอย

• ไม่สามารถหยุดยาแก้ปวดได้เลย ต้องรับประทานทุกวันมานาน

• เมื่อมองภาพรวม อาการมีแนวโน้มเป็นบ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้น

• มีปัญหาเรื่องกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ ไม่อยู่ หูรูดไม่ทำงาน

• ปวดสะโพกตอนนอนกลางคืน ปวดตอนนั่งหรือยืนเดินนานๆ

• มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาร่วมด้วย จนเดินเป๋

• ผ่านการรับประทานยา กายภาพบำบัดมาระยะหนึ่งแล้วไม่ดีขึ้น

• ผ่านการบริหารยืดกล้ามเนื้อสะโพกมาระยะหนึ่งแล้วไม่ดีขึ้น

• ผล MRI อธิบายอาการปวดที่มีอยู่ ได้ชัดเจน และตรงระดับ

• ได้ศึกษาข้อดี-ข้อเสียของการผ่าตัดแล้ว ก่อนตัดสินใจ

สิ่งที่สนับสนุนให้รักษาแบบไม่ผ่าตัดไปก่อน

 

• มีอาการปวดหลังเป็นส่วนใหญ่ ปวดขาน่องสะโพกน้อย

• เดินได้ไกลๆโดยไม่ปวดเลย ถ้าปวดก็เฉพาะตอนเริ่มเดินแรกๆ

• ระยะที่เดินได้โดยไม่ต้องหยุดพัก ยังไกลมากเป็นร้อยๆเมตร

• ยังไม่มีปัญหากับชีวิตประจำวัน เช่น ยังทำงานได้ปกติ

อาบน้ำ เดินในบ้านได้ไม่ปวด ยืนทำกับข้าวก็ไม่ปวดขา

• สามารถหยุดยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ได้ ไม่ต้องทานทุกวัน

• เมื่อมองภาพรวม อาการก็เท่าๆเดิม หรือ ดีขึ้นเรื่อยๆ

• ไม่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย กลั้นอุจจาระปัสสาวะได้

• ปวดสะโพกอย่างเดียวมักเป็นตอนกลางคืน จนนอนไม่ได้

• ปวดอย่างเดียวแต่ไม่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ขาไม่อ่อน

• ยังไม่ได้ผ่านการรับประทานยาหรือกายภาพมาเลยซัก1-2 เดือน

• ยังไม่ได้ผ่านการบริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อเลยซัก1-2 เดือน

• ผล MRI อธิบายอาการปวดได้ไม่ชัดเจน หรือไม่ตรงระดับ

• ยังไม่ได้ศึกษาข้อดี-ข้อเสียของการผ่าตัดเลย

 

http://www.thaispine.com/Decision_point.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

" น้ำวุ้นลูกตาเสื่อม "

 

คำถามหนึ่งที่หมอตาและหมอทั่วไปได้รับบ่อยๆ คือ

'ผมเห็นใยแมงมุม จุดๆ ใยๆ ลอยไปมา ผมเป็นอะไรครับ'

'ดิฉันมีแสงแว๊บๆ ที่หางตามาสามสี่วัน เป็นอะไรคะ และตาดิฉันจะบอดไหมคะ'

'ผมเห็นเหมือนมีหมอกลงในตาขวาครับ'

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ผมขออธิบายสักนิดครับ

ตาของคนเรามีหลักการง่ายๆ เหมือนกล้องถ่ายรูป เวลาเรามองอะไรแสงจะวิ่งผ่านกระจกตาดำ (cornea) และเลนส์ตา (lens) ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ เปรียบเหมือนระบบเลนส์กล้อง ภาพที่ได้จากการหักเหแสงของกระจกตาดำ และเลนส์ตา จะไปตกที่จอประสาทตา (retina) ซึ่งทำงานเหมือนฟิล์มกล้องถ่ายรูป

ระหว่างเลนส์ตา และจอประสาทตา จะมีส่วนของน้ำใสๆ ลักษณะคล้ายวุ้น เรียกว่า น้ำวุ้นตา หรือวุ้นตา (vitreous)

vitreous1.jpg

ตอนเราอายุน้อยๆ วุ้นตาจะใส ไม่มีตะกอน และแนบติดกับด้านหน้าของจอประสาทตา แนบติดกับด้านหลังของเลนส์

สาเหตุ

 

* อายุเกิน 40

* มีอุบัติเหตุกระแทกที่ตา หรือเคยผ่าตัดในตามาก่อน

* สายตาสั้น โดยเฉพาะสั้นกว่า 600

* เคยมีตาอักเสบรุนแรง (uveitis)

* โรคของวุ้นตาบางโรค เช่น Jansen disease, Wagner disease, Stickler syndrome มีแต่ชื่อประหลาดๆครับ

วุ้นตาก็จะเสื่อม

 

การเสื่อมก็จะมีสองขั้นตอนใหญ่

 

1. วุ้นตาเริ่มขุ่นเป็นตะกอน (vitreous syneresis, vitreous degeneration, vitreous liquefaction)

อันที่จริงวุ้นตา ไม่ใช่วุ้นใสๆ หรือเยลลี่ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นโครงข่ายของเส้นใยคอลลาเจน ซึ่งมีน้ำอยู่มากถึง 90% โครงข่ายเส้นใจคอลลาเจนเหล่านี้ ตอนปกติมันก็เป็นเส้นเล็กละเอียดๆ เรียงเป็นระเบียบ ทำให้เราไม่สามารถมองเห็น เงาของเส้นใยเหล่านี้ พอวุ้นตาเสื่อมเส้นใยคอลลาเจนเหล่านี้ บางเส้นจะขาดเป็นท่อนๆ บ้างเส้นใยก็หนาขึ้น จับตัว กันเป็นก้อนๆ และเสียความใสไป ทำให้คนที่มีวุ้นตาขุ่น เริ่มเห็นตะกอน ซึ่งอาจบรรยายเป็นใยแมงมุม จุดๆ เส้นๆ หรือ หมอกๆ ลอยไปมาตามการกลอกตา (เพราะเมื่อเรากลอกตา วุ้นตาก็จะเลื่อนลอยไปตามด้วย) โดยมากมักจะไม่ถึงกับ เห็นตะกอนเหล่านี้ตลอดเวลา จะเห็นได้เฉพาะช่วงที่ภาวะของแสงเหมาะสม เช่น มองออกไปที่ท้องฟ้าในวันฟ้าสว่างๆ การอ่านหนังสือกลอกตาซ้ายขวาทำให้วุ้นตาเลื่อนไปมามากเห็นมันง่ายขึ้นเป็น ต้น

vitreous2.jpg

2. วุ้นตาหลุดออกจากจอประสาทตา (posterior vitreous detachment)

 

วุ้น ตาของเราจะเกาะกับจอประสาทตาแต่ละส่วนด้วยความแข็งแรงไม่เท่ากัน จุดที่มันเกาะแน่นที่สุด อยู่ที่ด้านหน้าๆ ของจอประสาทตา ใกล้ๆ กับบริเวณด้านหลังของเลนส์ เราเรียกบริเวณนี้ว่า ฐานของวุ้นตา (vitreous base) ส่วนที่เกาะแน่นรองๆ ลงมาคือ รอบๆ ขอบขั้วประสาทตา (optic disc) บริเวณจุดรับภาพ (macula) และตามแนวเส้นเลือดบนจอประสาทตา (retinal vessels)

ดังนั้น เมื่อวุ้นตาหดตัว มันจึงมักจะค่อยๆ แยกจากจอประสาทตาด้านหลัง แถวๆ ขั้วประสาทตา กับจุดรับภาพก่อน แล้วเลื่อนตัวเข้ามาหาฐานของมันที่อยู่ด้านหน้า ในระยะนี้ คนไข้บางคนอาจ สังเกตเห็นตะกอนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะ บ่อยครั้งที่ วุ้นตาที่อยู่บริเวณขอบของขั้วประสาทตา จะหนาตัวขึ้นเป็นเส้นแนววงกลม เมื่อวุ้นตาแยกตัวออกมา เจ้าวงนี่ก็จะทำให้คนไข้เห็นเงาเป็นวงเบี้ยวๆ (ซึ่งเมื่อวุ้นตาหลุดออกมาจากขั้วประสาทตา วงนี้จะเบี้ยวๆ หรือโย้ๆ ไป) คนไข้หลายๆ รายจะบอก ได้ชัดเลยว่า เห็นเป็นเงาโค้งๆ หรือเป็นวงกลม วงรี ลอยไปมาทางหางตา - floaters

ในบางครั้ง บางคน เมื่อกลอกตาเร็วๆ ในที่มืด ตัววุ้นตาจะแกว่งไปกระทบจอประสาทตา หรือเกิดแรงดึงรั้งที่จอประสาทตา ตรงรอยต่อระหว่างส่วนที่วุ้นตาแยกจากจอประสาทตาแล้ว กับส่วนที่วุ้นตายังติดกับจอประสาทตาอยู่ นี่จะเป็นการกระตุ้นจอประสาทตาด้วยแรงกล และมันจะแปลผิดเป็นแสงแวบ แสงแฟลช - flashing – คงคล้ายๆ กับที่บางท่าน 'เห็นดาว' ตอนโดนชก

ส่วนช่องว่างที่อยู่ระหว่างวุ้นตา กับจอประสาทตา ตาของเราก็จะสร้างน้ำใสๆเข้ามาเติมเต็ม

 

vitreous3.jpg

หลัง จากนั้นหลายๆ เดือน เมื่อการแยกชั้นสมบูรณ์ขึ้น แสงแวบก็จะน้อยลง และค่อยๆหายไป ตะกอนในวุ้นตาจะค่อยๆ คงที่อยู่นานหลายเดือนหรือหลายปี ทำให้คนที่เป็นเห็นจุดๆ เส้นๆ พวกนี้อยู่พักหนึ่ง แล้วค่อยๆ ลดลง ที่คนที่เป็นสังเกตเห็นเงาของมันลดลง เพราะวุ้นตาหดตัวมากขึ้น ตะกอนพวกนี้จะลอยมาอยู่ด้านหน้า ห่างจากจอประสาทตามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนไข้สังเกตเห็นเงาของมันน้อยลง (กฏง่ายๆ ที่ว่า วัตถุอยู่ใกล้ฉาก เห็นเงาได้ง่ายและชัดกว่าวัตถุอยู่ไกลฉาก)

 

ในคนทั่วไป เรื่องก็มีแค่นี้ครับ ซึ่งเราก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะส่วนมาก มันก็แค่สร้างความรำคาญเท่านั้น

 

นี่คือภาพเจ้าวงของวุ้นตาที่ขุ่นเป็นวงมาก (เคยอยู่รอบขอบเส้นขั้วประสาทตามาก่อน)

vitreous4.png

1. ตะกอนบางก้อนในวุ้นตา ขนาดใหญ่มากจนบังการมองเห็น ก็อาจใช้เลเซอร์ยิงให้ตะกอนขนาดโตๆ เหล่านี้ แตกเล็กลง - วิธีนี้ยังไม่ใช่มาตรฐาน ถือเป็นการทดลอง เพราะว่ามีความเสี่ยงสูง ถ้าเกิดโชคร้ายเลเซอร์ ไปโดนจอประสาทตาตรงจุดรับภาพแทนก็ยุ่งได้ อาจถึงขั้นมัวกันชั่วชีวิต

 

2. ตะกอนมีจำนวนมากๆ จนวุ้นตาขุ่นไปซะหมด ทำให้มัว อันนี้ก็ผ่าตัดล้างเอาตะกอนออกได้ (pars plana vitrectomy)

 

 

ยังมีต่ออีก ขอเก็บมาแค่นี้ก่อน เดี๋ยวมึนสสสค่ะ

 

http://thaihealthyeye.com/healthyeye12.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับวุ้นตา

 

:huh: :ph34r:

 

1. เลือดออกในวุ้นตา (vitreous hemorrhage) ดัง ที่ได้กล่าวมาแล้วว่า วุ้นตาเกาะกับจอประสาทตาค่อนข้างแข็งแรงตามแนวเส้นเลือด บางครั้ง ถ้ามีบางจุดที่มันเกาะแน่นมากๆ เมื่อวุ้นตาหดตัว วุ้นตาอาจไม่แยกออกมา แต่กลับทำให้ผนังเส้นเลือดฉีกขาดแทน เลือดก็ไหลฟุ้ง เข้าไปในวุ้นตากับช่องระหว่างวุ้นตากับจอรับภาพ ทำให้คนไข้มัวมากๆทันที (เห็นเหมือนหมอกลงจัด) ถ้าในที่แสงน้อยๆ คนไข้จะเห็นเป็นเงาดำๆ ถ้าในที่แสงจ้าๆ กลางแดด หรือเอาไฟฉายส่อง บางคนจะเห็นเป็นสีแดงสดของเลือดได้ครับ

 

การรักษา

 

- ถ้าเลือดออกไม่มาก เราก็รอให้มันดูดซึมไปเอง

- ถ้าเลือดออกมาก (บางครั้งมากจนหมอตายังส่องหาจอประสาทตาไม่เจอ) ก็อาจจะพิจารณาผ่าตัดล้างเลือดออก

 

vitreous4.jpg

นี่รูปการผ่าตัดล้างออก

 

มีหมอที่รักษาแบบนี้ได้ราว 50-60 คนในเมืองไทย

 

2. จอประสาทตาฉีกขาด (retinal break, retinal tear) เหตุผล เหมือนข้อ 1 คือ ในระหว่างที่วุ้นตาหดตัว บางจุดที่วุ้นตาเกาะกับจอรับภาพแน่นกว่าปกติ จะดึงจอรับภาพให้ฉีกขาด ถ้าจอรับภาพฉีกขาด (อาจมีเลือดออกเหมือนข้อ 1 ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้) คนไข้จะเห็นแสงแวบบ่อยมากๆ เพราะเมื่อกลอกตาจอรับภาพบริเวณที่ฉีกขาดออกมาจะเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ (เพราะยังมีวุ้นตาซึ่งเลื่อนตัวง่ายเกาะติดอยู่) บางคนบอกว่าเห็นแสงแวบเหล่านี้ วันหนึ่งห้าหกสิบครั้ง

 

ในกรณีนี้ ถ้าไม่ทำอะไร อาจเป็นไปได้สองอย่าง

- วุ้นตาแยกชั้นออกจากจอประสาทตาส่วนที่ฉีกขาดได้เอง อันนี้ก็จบไม่ต้องทำอะไร

- วุ้นตาดึงจอประสาทตามากขึ้นเรื่อยๆ จนจอประสาทตาทั้งหมดหลุดลอกออก (เข้าสู่กรณีข้อ 3)

 

vitreous5.jpg

 

ในรูป แสดงจุดที่วุ้นตาเกาะกับจอรับภาพแน่นกว่าบริเวณอื่น อยู่ด้านบนของภาพ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

...น้ำวุ้นลูกตาเสื่อม ...(ต่อ)

 

:lol: :wub:

 

โดยทั่วไปแล้ว การมีจอประสาทตาหลุดลอกเป็นเรื่องใหญ่ ถ้ารักษาช้าก็มัวมาก รักษาไม่ได้ก็บอดกัน เราจึงมักให้การรักษาจอประสาทตาที่ฉีกขาด ด้วยการฉายเลเซอร์ หรือจี้ความเย็นที่จอประสาทตาบริเวณรอบๆ รอยฉีกขาดนั้น (laser/ cryoretinopexy) - เลเซอร์ หรือการจี้ความเย็น ไม่ได้ปิดรอยฉีกของจอประสาทตา แต่เป็นการสร้างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างจอประสาทตากับลูกตารอบบริเวณรอยฉีก (เหมือนปะกาวรอบๆ รอยฉีก ประมาณนั้น) ถ้าไม่ได้รักษา หรือรักษาแล้วคนไข้ยังโชคร้าย เช่น เกิดรอยฉีกขาดใหม่บริเวณอื่นของจอประสาทตา แรงดึงรั้งของวุ้นตา เอาชนะแรงยึดเหนี่ยวที่เราเติมเข้าไป ก็จะเข้าสู่กรณีที่ 3

 

vitreous6.jpg

 

3. จอประสาทตาหลุดลอก (retinal detachment) รายการ นี้แย่ที่สุด จอประสาทตาหลุดลอกออกมาจากลูกตาด้านใน (ลองจินตนาการตอนคุณพยายามเอาช้อนขูดเนื้อมะพร้าวเผาออกจากลูกมะพร้าวให้ เป็นชิ้นเดียวโตๆ ให้อารมณ์เดียวกันครับ) จอประสาทตาเราเป็นเนื้อเยื่อบางๆ แต่ก็ยังประกอบด้วยชั้นที่บางย่อยลงไปอีก 10 ชั้น ชั้นย่อยที่อยู่ด้านใน ชิดกับวุ้นตา อาศัยเลือดมาเลี้ยงจากเส้นเลือดที่จอประสาทตาเอง ชั้นย่อยที่อยู่ด้านนอก อาศัยเลือดจากเส้นเลือดของชั้น choroid ซึ่งอยู่นอกกว่าจอประสาทตา ดังนั้น ถ้ามันหลุดออกมา ชั้นย่อยนอกๆ ก็ขาดเลือดมาเลี้ยง เซลล์รับแสงของเรา ทั้งรูปแท่ง รูปกรวย อยู่ชั้นย่อยนอกสุดนี้ครับ มันก็จะค่อยๆ ตายไปเรื่อยๆ

การซ่อมแซม ทำได้ด้วยการเอาจอประสาทตาที่หลุดกลับเข้าไปติดใหม่ ซึ่งยุ่งยาก ทรมานคนไข้ และในบางราย สร้างความเหน็ดเหนื่อยให้ทั้งหมอ ทั้งคนไข้ และญาติ

 

vitreous7.jpg

 

ขั้นตอน : โดยทั่วไปที่เราทำเวลาคนไข้มาหาด้วย เรื่องตะกอน/หมอก/จุดลอย คือ เรามักจะขยายม่านตา ตรวจดูว่ามีวุ้นตาเสื่อม/จอประสาทตาฉีกขาด/จอประสาทตาหลุดลอกหรือไม่

1. ถ้ามีจอประสาทตาหลุดลอก ก็ส่งให้หมอจอประสาทตา (retina specialist) ผ่ากัน

 

2. ถ้ามีจอประสาทตาฉีก ก็เลเซอร์หรือจี้ความเย็นกัน แล้วนัดตรวจซ้ำ

 

* ถ้าตรวจแล้วเกิดแรงยึดเหนี่ยวไม่พอ ก็รักษาซ้ำ

 

* ถ้าตรวจแล้วมีรอยฉีกขาดใหม่เพิ่มเติม ก็เพิ่มการรักษาเข้าไปอีก

 

* ถ้าตรวจแล้วมีจอประสาทตาหลุดลอก ก็ส่งไปผ่ากัน (ในช่วง 1-2 วันแรกยิ่งผ่าเร็ว การมองเห็นก็ยิ่งฟื้นมาก ถ้าปล่อยให้จอประสาทตาหลุดหลายๆ เดือนหรือเป็นปี

 

แม้เราจะทำให้มันกลับเข้าไปติดได้ การมองเห็นก็ไม่กลับมา เพราะเซลล์รับแสงจะตายหมดแล้ว)

 

3. ถ้าไม่มีจอประสาทตาฉีกขาดหรือหลุดลอก ก็นัดตรวจซ้ำ และแนะนำคนไข้ว่า

 

- มาหาตามนัดนะครับ

 

- ถ้ามีอาการผิดปกติ อันได้แก่ ตามัวลง หมอก ตะกอน ฝุ่นมากขึ้น เหมือนมีม่านบังด้านใดด้านหนึ่ง ให้มาก่อนนัดทันที

 

- ไม่ควรเสี่ยงกับกิจกรรมที่จะมีการกระแทกตาโดยตรง เช่น มวยสากลสมัครเล่น อเมริกันฟุตบอล รักบี้ กีฬาปะทะทั้งหลาย

 

- การออกกำลังกายแบบธรรมดา ไม่เพิ่มความเสี่ยงอะไร กระโดดโลดเต้นได้ แกว่งแขนขาไปมา วิ่งได้

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ออกกำลังกาย ต้านข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย

 

รศ.พญ.วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

รคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาที่พบบ่อยโดยเฉพาะในวัยสูงอายุและเป็นโรคที่รบกวนกิจวัตรประจำวัน ทำให้ลุกยืน เดิน ขึ้นบันไดได้ลำบาก บางครั้งกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ไปไหนมาไหนไม่ได้สะดวก บางรายต้องอยู่บ้าน ไม่อยากไปไหนมาไหน แต่เชื่อไหมว่า ยังไม่ทันแก่...ข้อก็เสื่อมได้

 

ที่มาข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม มักเกิดจากการใช้งานข้อที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นตามวัยคือใช้งานมานาน ย่อมมีความสึกหรอไปตามเวลา แต่บางรายใช้งานไม่ถูกต้อง จะเป็นการเร่งให้โรคข้อเสื่อมเป็นไปเร็วขึ้น(โรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ) มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดในช่วงอายุมากกว่า 60 ปี นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคบางอย่างเป็นสาเหตุให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้เร็ว กว่าวัยอันควร เช่น โรคเอ็นภายในข้อเข่าฉีกขาด หมอนรองข้อเข่าแตก กระดูกสะบ้าหลุด หรือมีการติดเชื้อภายในข้อเข่า เป็นต้น โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์ประกอบของข้อเข่าเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุนำให้เกิดโรคข้อเสื่อมก่อนวัย(โรคข้อเข่าเสื่อมทุติยภูมิ)

 

พฤติกรรมทำร้ายข้อเข่า

1.คนที่ชอบนั่งงอเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ หรือนั่งยอง ๆ เป็นประจำ จะเพิ่มแรงอัดภายในข้อเข่า ซึ่งจะรบกวนการนำอาหารไปสู่เซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ โรคข้อเข่าเสื่อมนี้ เริ่มจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อโดยตรง และเมื่อเป็นมากขึ้นการสึกหรอจะลามไปยังองค์ประกอบอื่นของข้อเข่า เช่น ชั้นใต้กระดูกอ่อนซึ่งเป็นกระดูกแข็ง จะเกิดถุงน้ำข้างใต้กระดูก หมอนรองเข่าสึก เอ็นหุ้มข้อเข่าหนาตัวขึ้น มีกระดูกงอกบริเวณปลายกระดูก เป็นต้น

2.กรณีน้ำหนักตัวมากเกินก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่เร่งให้เกิดอาการข้อเสื่อมเร็วขึ้น เพราะข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวตลอดเวลาที่ใช้งานข้อ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน หรือขึ้นลงบันไดก็ตาม

3.การใส่รองเท้าส้นสูง จะทำให้ข้อเข่ามีแรงกดทับมากกว่าปกติ ทั้งยังทำร้ายข้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า เพราะเป็นอวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักก่อนจุดอื่น ๆ ซึ่งเป็นจุดที่รับน้ำหนักได้ง่าย และหากคนที่ข้อเข่าไม่แข็งแรง หรือมีโครงสร้างร่างกายผิดปกติ จะมีผลกระทบมากกว่าคนปกติ

อาการข้อเสื่อม

ในระยะแรก จะสังเกตว่ามีเสียงดังขณะขยับข้อไปมา บางรายมีอาการข้อฝืดโดยเฉพาะเวลานั่งนาน ๆ หรือขณะเปลี่ยนอิริยาบถ จะเสมือนข้อถูกล็อกไว้ ต้องขยับไปมาสัก 2-3 ครั้ง จึงเหยียดเข่าออกได้ บางรายมีข้อบวมโต หรือมีบวมแดง มีน้ำภายในข้อ ซึ่งบ่งถึงการอักเสบที่เป็นมากขึ้นนั่นเอง ในรายที่เป็นมากอาจพบข้อติด ขยับไม่ได้เต็มที่ หรืออาจพบกล้ามเนื้อขาลีบเล็กลงกว่าข้างปกติ เป็นต้น

 

บริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

การออกกำลังกายหรือกายบริหารนั้น ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเน้นกล้ามเนื้อหน้าขาหรือกล้าม เนื้อเหยียดเข่าเป็นหลัก ท่าบริหารข้างล่างนี้เริ่มจากง่ายไปยาก ดังนี้

ท่าที่ 1

- นอนหงาย เอาหมอนเล็ก ๆ วางใต้เข่า

- เหยียดเข่าตรง นับ 1-10

- ทำได้ในช่วงแรกที่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรงมากนัก

ท่าที่ 2

- นั่งยกขาข้างหนึ่งวางพาดม้าเตี้ย

- เหยียดเข่าตรง เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา

- พร้อมกระดกข้อเท้าขึ้น

- นับ 1-10 หรือเท่าที่ทำได้

- ท่านี้เหมาะสำหรับผู้ที่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรงพอที่จะยกขาตนเองได้

- ถ้ามีปัญหาข้อเหยียดไม่สุด ให้ใช้ถุงทรายถ่วงที่ข้อเข่าร่วมด้วย

ท่าที่ 3

- นั่งชิดพนักเก้าอี้

- เหยียดเข่าตรงพร้อมกระดกข้อเท้าขึ้น

- เกร็งค้างนับ 1-10 ทำสลับข้าง

ท่าที่ 4

- นั่งไขว้ขา

- ขาที่อยู่ด้านล่างเกร็งเหยียดเข่าตรงเท่าที่ทำได้

- เกร็งนับ 1-10 และทำสลับข้างเช่นกัน

- ช่วยฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขาได้ดี

ท่าที่ 5

- นั่งไขว้ขาเหมือนท่าที่ 4 แต่ให้ขาที่อยู่ด้านบนออกแรงกดลงด้วย ในขณะที่ขาล่างเหยียดขึ้นตรงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้เช่นกัน

- กล้ามเนื้อหน้าขาของขาล่างต้องรับน้ำหนักมากขึ้นอีก คือทั้งน้ำหนักของขาล่างรวมกับน้ำหนักของขา ข้างบน และแรงกดจากขาที่อยู่ข้างบน ทำสลับข้างในทำนองเดียวกัน

- ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหน้าขาและท้องขาได้ดีมาก เป็นท่าที่ยากที่สุด เนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าขาต้องออกแรงมากที่สุด

การ บริหารทุกท่าให้เริ่มทำจากน้อยไปมาก โดยทำชุดละประมาณ 20-30 ครั้ง วันละ 2-3 ชุด เป็นอย่างน้อย ค่อย ๆ เพิ่มตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่าของแต่ละคน จนได้ประมาณ 100 ครั้งต่อวัน

ใช้ข้อเข่าอย่างถูกวิธี

การ ใช้ข้ออย่างถูกวิธี จะช่วยถนอมข้อเข่าให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น ชะลอความเสื่อม ซึ่งวิธีการนั้นตรงข้ามกับพฤติกรรมซึ่งทำร้ายข้อนั่นเอง กล่าวคือ

• ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกิน

• เลี่ยงกิจกรรมที่ต้องงอเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ

• ขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น หากอยู่บ้านชั้นล่างได้จะเป็นการดีมาก ไม่ต้องขึ้นลงบ่อย ๆ

• เลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ไม่มีผลร้ายต่อข้อเข่า เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น

• หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อได้

• ใช้สนับเข่าเท่าที่จำเป็น มักเลือกใช้ในรายที่ข้อเสียความมั่นคง แต่หากข้อยังมีความมั่นคงอยู่ การใช้สนับเข่า อาจทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบเข่าอ่อนแรงได้

• หากมีอาการเจ็บข้อเข่ามากอย่างเฉียบพลัน อาจถือร่มหรือไม้เท้าในด้านตรงข้ามกับขาที่เจ็บ จะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อ และลดอาการปวดได้

อย่าลืม หมั่นสำรวจกิจวัตรประจำวันของท่านว่า ในแต่ละวันท่านทำร้ายข้อเข่ามากน้อยเพียงไร หากท่านมีอาการข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย ขอย้ำว่า “ไม่มีคำว่าสาย ในการแก้ไขพฤติกรรมต่าง ๆ ให้ถูกต้อง” สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่มิควรละเลย คือความสม่ำเสมอของการออกกำลังกาย เพื่อเสริมความแข็งแรงของข้อเข่า

 

เริ่มเสียแต่วันนี้ เพื่อป้องกันการเกิดข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรค่ะ

 

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=783

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาการผิดปกติที่อาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจ

:rolleyes: :blink:

 

อาการผิดปกติที่อาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจ : ซึ่งพบบ่อยจะประกอบไปด้วยอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือมีอาการอึดอัดหายใจไม่สะดวกโดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย แต่อาจจะเกิดเวลาที่นั่งพักอยู่ปกติก็ได้ อาการหายใจลำบาก อาการนอนราบแล้วอึดอัดถ้านั่งแล้วจะสบายขึ้น อาการลุกขึ้นมากลางดึกหายใจแรงๆ แล้วจึงนอนต่อไปได้ อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ อาการเป็นลมหมดสติ

 

อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก อาการนี้จะพบบ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เนื่องจากมีไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกหายใจอึดอัด เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบ จะมีลักษณะเฉพาะคือ จะมีอาการเจ็บหรือแน่นบริเวณกลางหน้าอกเหมือนมีอะไรหนักๆ มาทับไว้ไม่ให้หน้าอกขยายตัว อาการนี้มักจะเป็นเวลาออกกำลังกาย อาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบมีความรุนแรงต่างๆ กัน บางรายอาการเจ็บมีการร้าวขึ้นไปที่คอ ขึ้นไปที่กรามทั้ง 2 ข้าง ที่ไหล่ทั้ง 2 ข้าง หรืออาจจะเป็นเฉพาะข้างซ้ายข้างเดียวก็ได้ และอาจจะร้าวลงไปที่แขนจนถึงปลายแขนได้ อาการเหล่านี้บางครั้งทำให้แพทย์วินิจฉัยผิดหรือผู้ป่วยอาจเข้าใจว่าเป็นโรค ฟันผุจึงไปหาหมอฟัน บางครั้งอาจพบว่าฟันผุจริงบริเวณซี่ใดซี่หนึ่งแล้วทำการถอน แต่อาการเหล่านี้ก็ไม่หายไป ทั้งนี้เพราะอาการเกิดจากโรคหัวใจมิใช่เกิดจากฟันผุแต่พบร่วมกันโดยบังเอิญ

 

อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จะ มีอาการเจ็บที่มีลักษณะเหมือนถูกมีดแทงหรือเป็นอาการเจ็บแปลบๆ อาการของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจะดีขึ้นในท่านั่งและเมื่อเอนตัวไปข้างหน้า แต่อาการเจ็บหน้าอกจะมากขึ้นถ้านอนหรือเมื่อหายใจเข้าแรงๆ ส่วนอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากการปริของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออต้า มักจะมีอาการเจ็บที่รุนแรงมากกว่า ลักษณะเหมือนมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายในและอาจจะเจ็บทะลุไปจนถึงด้านหลัง ก็ได้

 

อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว เกิด จากการที่หัวใจทำงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของออกซิเจนและอาหารพยาธิสภาพ อื่นๆ เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบหรือโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันระยะสุดท้าย หรืออาจเกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรืออาจเกิดจากการให้น้ำทางหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็วในผู้ป่วยสูงอายุ หรือพบในผู้ป่วยที่มีไตวายเนื่องจากมีภาวะน้ำเกินในร่างกาย และร่างกายไม่สามารถขับน้ำออกมาได้ อาการจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน โดยเริ่มจากอาการเหนื่อยซึ่งอาจจะเป็นอาการเหนื่อยขณะออกกำลังกายนิดหน่อย หรือเหนื่อยในขณะนั่งพักเฉยๆ ก็ได้แล้วแต่ความรุนแรง ถ้าเป็นมากก็อาจมีอาการนอนราบไม่ลง นอกจากนั้น อาจมีการตื่นขึ้นมาหอบตอนกลางคืน ซึ่งส่วนมากจะพบว่าเมื่อนอนหลับไปแล้ว 3 – 4 ชั่วโมง ต้องตื่นขึ้นมาเนื่องจากมีอาการแน่นอึดอัดในหน้าอก ต้องลุกขึ้นมานั่งแล้วหายใจแรงๆ หลายๆ ครั้ง จากนั้นจึงนอนหลับต่อไปได้ อาการนี้อาจเป็นอาการที่เกิดจากน้ำท่วมปอดซึ่งเกิดจากสาเหตุที่ภาวะหัวใจล้ม เหลวนั่นเอง

 

อาการใจสั่น หัวใจเต้นรัว หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ : ปกติหัวใจคนเราจะเต้นในจังหวะ 60 – 100 ครั้งต่อนาที

 

อาการเป็นลมหมดสติ : อาการเป็นลมหมดสติชั่วคราวแล้วฟื้นขึ้นมาได้เอง เป็นอาการหนึ่งที่อาจจะเป็นอาการของโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะในกรณีที่จังหวะการเต้นของหัวใจช้าเกินไป หรือมีจังหวะหยุดนานเกินกว่า 3 วินาที อาจจะทำให้คุณมีอาการเป็นลมหมดสติชั่วคราวแล้วฟื้นกลับขึ้นมาใหม่ได้เอง เมื่อหัวใจเริ่มเต้นกลับมาปกติเหมือนเดิม อาการเป็นลมหมดสติดังกล่าวนี้เกิดจากหัวใจหยุดเต้นชั่วคราวหรือเต้นช้าไม่ เพียงพอที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงสมองนั่นเอง

 

อาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน หากไม่ได้รับการช่วยชีวิตอย่างทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้

 

อาการแสดง :

เท้าบวม : กด บุ๋ม ถ้าสังเกตว่าเท้าบวมขึ้น คุณอาจจะมีภาวะหัวใจล้มเหลวด้านขวา วิธีสังเกตอาการขาบวมกดบุ๋มนั้น ให้กดบริเวณหน้าแข็งไว้ 1 นาที จากนั้นปล่อยมือออก หากพบว่าเป็นรอยบุ๋มตามนิ้วมือที่กดลงไปไม่คืนตัวอย่างรวดเร็วให้รีบไปพบ แพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายต่อไป

 

เมื่อไปตรวจร่างกายแล้วพบ Chest X-ray ว่ามีขนาดหัวใจโต คุณก็ควรที่จะไปพบแพทย์หัวใจ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"โรคหายด้วยปลายนิ้วค่ะ"

 

ปวดเมื่อยขาึ

 

อาการ ปวดเมื่อยท่อนขาเกิดขึ้นจากการใช้งานอย่างหนัก เช่นอาจจะเดินมากหรือภายหลังจาการขับรถที่ติดตลอดเวลาการกดจุดจะทำให้กล้าม เนื้อคลายตัวและหายปวดเมื่อยได้

 

จุดหลัก

ปวดเมื่อยต้นขาใช้จุด

 

• ผีกวน ( Biguan ) อยู่ที่ต้นขาด้านหน้าใกล้กับข้อพับ กดนวดจุดหรือกดแรงแล้วปล่อย

 

• ฟุทู่ ( Fumer – Futu ) อยู่ต้นขาด้านหน้าเหนือกระดูกสะบ้า 6 ข้อนิ้วมือ กดนวดจุดหรือกดแรงแล้วปล่อย

 

fingerTip01.jpg

• เฉิงฝู ( Chengfu ) อยู่กึ่งกลางขาด้านหลัง ตรงระดับก้นย้อย กดนวดจุดหรือกดแรงแล้วปล่อย

 

• อันเหมิน ( Yinmen ) อยู่ที่ต้นขาด้านหลัง อยู่เหนือข้อพับ 8 ข้อนิ้วมือ กดนวดจุดหรือกดแรงแล้วปล่อย

 

 

ปวดเมื่อยขาท่อนล่างใช้จุด

 

• หยางหลิงฉวน ( Yanglingquan ) อยู่ที่ขาด้านนอก ต่ำจากปุ่มกระดูกน่อง 1 ข้อนิ้วมือ กดนวดจุดหรือกดแรงแล้วปล่อย

 

fingerTip02.jpg

• อินหลิงฉวน ( YinlingQuan ) อยู่ที่ขาด้านใน อยู่ใต้หัวกระดูกหน้าแข้ง กดนวดจุดหรือกดแรงแล้วปล่อย

 

• ซานอินเจียว ( Sanyinjiao ) อยู่เหนือตาตุ่มด้านใน 3 ข้อนิ้วมือ กดนวดจุด

 

• เสียนจง ( XuanZhong ) อยู่เหนือตาตุ่มด้านนอก 3 ข้อนิ้วมือ กดนวดจุด

 

• เฉิงซาน ( Chengshan ) อยู่ที่กลางน่องต่ำจากข้อพับ 8 ข้อนิ้วมือ กดนวดจุดหรือกดแรง แล้วปล่อย

 

fingerTip03.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ต้อลม" (pinguecula)

 

pinguecula01.jpg

 

ต้อลม หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า pinguecula มีลักษณะเป็นแผ่นหรือตุ่มนูนอยู่บริเวณเยื่อตาขาว มักพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา ต้อลมมิใช่เนื้องอก แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อปกติที่มีการสะสมของโปรตีนและไขมันอยู่ ต้อลมต่างจากต้อเนื้อตรงที่ไม่มีการลุกลามเข้าไปบนตาดำ เกิดจากการระคายเคืองตาหรือได้รับแสงแดดมาเป็นเวลานาน ๆ กลไกการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก แต่พบว่าผู้ที่ทำงานนอกบ้าน ได้รับแสงแดดปริมาณมากจะเป็นต้อเนื้อ-ต้อลมได้มากขึ้น นอกจากนี้การใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศแห้งและมีฝุ่นละอองมาก ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน

อาการที่สำคัญคือ เคืองตา แสบตาน้ำตาไหล ตาแดง และคันตา สำหรับการรักษาใช้ยาหยอดตา แว่นกันแดด และการผ่าตัด หลักโดยทั่วไป หากต้อลมไม่อักเสบ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา เนื่องจากต้อลมจะไม่ลามเข้าตาดำหรือทำให้ตามัวลง น้อยรายมากที่จะทำให้เกิดความรำคาญมาก อาจพิจารณาผ่าตัดลอกออกได้ แต่ก็อาจเกิดรอยแผลเป็นซึ่งอาจทำให้ไม่น่าดูพอ ๆ กับลักษณะต้อลมที่เป็นแต่แรก

 

ลักษณะทางกายวิภาคของเยื่อตาขาว เรียกว่า conjunctiva เป็นเนื้อเยื่อบางๆ ที่มีลักษณะโปร่งใส คลุมพื้นผิวส่วนนอกของลูกตา เริ่มต้นตั้งแต่ส่วนนอกของกระจกตา คลอบคลุมส่วนที่มองเห็นได้ของตาขาว และบุลึกเข้าไปถึงด้านในของหนังตา เยื่อตาขาวจะมีเส้นเลือดขนาดเล็กปกคลุมอยู่ซึ่งมักมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เซลล์ของเยื่อตุตาขาวทำหน้าที่ผลิตน้ำมันและเมือกหล่อลื่นให้กับลูกตา

 

pinguecula03.jpg

 

ต้อลมหรือชิ้นเนื้อที่หนาตัวขึ้นบริเวณตาขาว โดยทั่วไปจะตัดออกในสองสามกรณี ได้แก่ ผู้ป่วยมีอาการเคืองและคันตาบ่อยมาก หยอดยาแล้วอาการคันเคืองก็ไม่ดีขึ้น หรือในกรณีที่ก้อนเนื้อยื่นลามเข้ามาที่ตาดำ หรือก้อนเนื้อมีชิ้นโตและเห็นเด่นชัดจนทำให้เกิดความไม่สวยงามบนใบหน้า นอกนั้น ถ้าชิ้นไม่โตนัก เคืองคันนานๆครั้ง จักษุแพทย์มักจะแนะนำให้รักษาแบบประคับประคอง คือหยอดยาเมื่อมีอาการคัน สาเหตุที่ไม่ตัดออกตั้งแต่ยังเป็นน้อยๆ เพราะต้อลมนั้นมีโอกาสเกิดเป็นใหม่ ภายหลังตัดไปแล้วได้ค่อนข้างมาก โดยทั่วไปวิธีตัดออกนั้นมีหลายวิธี แพทย์จะเลือกทำวิธีที่มีโอกาสกลับเป็นใหม่น้อยที่สุด ภายหลังทำการตัดออก ต้องหลีกเลี่ยงฝุ่น แดด ลมแรงๆ แพทย์มักจะให้ปิดตาไว้หลังผ่าหนึ่งวัน เปิดได้ในวันรุ่งขึ้น หลังทำจะมีน้ำตา และมีอาการเคืองคันมากกว่าเดิมเป็นสัปดาห์ได้

 

pinguecula04.jpg

 

การตรวจสมรรถภาพทางการมองเห็นด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ auto-refractometer เป็นการค้นหาอาการสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง โดยใช้ระบบถ่ายภาพเข้าไปในกระบอกตา และดูระยะการตกของแสงในกระบอกตาว่าแสงตกลงบนส่วนใดของจอรับภาพ ซึ่งผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการใช้สายตามาก เช่น การทำบัญชี นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ พิมพ์ดีด ขับรถ และการทำงานอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากการใช้สายตา ควรรับการตรวจสมรรถภาพทางการมองเห็นอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ปัญหาเกี่ยวกับสายตาเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการปฏิบัติงาน อันอาจเชื่อมโยงไปถึงอาการอื่น ๆ อีกหลายประการ หากไม่ได้รับการแก้ไขโดยวิธีที่ถูกต้องก็จะเกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางการมอง เห็นก่อนถึงวัยอันสมควร การตรวจสมรรถภาพทางการมองเห็นสามารถตรวจหาสายตาสั้น สายตายาว สายตา เอียง ต้อลม ต้อเนื้อ ตาบอดสี และอาการเริ่มแรกของต้อหิน ต้อกระจก

 

โรคตาหลายโรคที่พบได้บ่อยอาจนำมาด้วยอาการตาแดง อาการและอาการแสดงที่เป็นอันตรายต่อสายตาได้แก่ อาการตามัวกะทันหัน อาการกลัวแสง และอาการปวดตา อาจกล่าวได้ว่า ตาแดงเป็นอาการแสดงที่รู้จักกันดีและสังเกตได้ง่าย ทั้งผู้ป่วยและผู้พบเห็น บางครั้งมีเหมือนกันที่คนข้างเคียงเห็นอาการนี้ก่อนเจ้าของตาเสียอีก

 

อาการที่เกิดร่วมกับตาแดงและอาจช่วยบอกถึงสาเหตุของตาแดงได้ มีดังนี้คือ อาการคัน อาการคันในลูกตาอาจเกี่ยวข้องกับเยื่อตาอักเสบจากการแพ้ รู้สึกเคืองตาบ่งบอกถึงภาวะตาแห้ง, มีสิ่งแปลกปลอมในตา, เปลือกตาอักเสบ แสบตา แสดงถึงอาการของโรคที่เปลือกตา, เยื่อบุตาหรือแก้วตา เป็นเม็ดหรือเจ็บบางจุด อาจเกิดจากฝีที่เปลือกตา หรือกุ้งยิง ปวดลูกตา อาจเป็นอาการของม่านตาอักเสบ, แผลที่แก้วตา, ต้อหิน, เยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ, หรือการติดเชื้อรอบลูกตา กลัวแสง หมายถึง ตาสู้แสงไม่ได้จะเคืองตามาก เป็นอาการของม่านตาอักเสบ, แผลที่แก้วตา, และต้อหิน น้ำตาไหล ลักษณะเป็นน้ำตาใส เกิดจาก เยื่อตาอักเสบเพราะเชื้อไวรัสหรือสารเคมี ขี้ตาเป็นเมือก มักเกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ เพราะการแพ้ หรือการติดเชื้อคลามีเดีย ขี้ตาเป็นหนอง เกิดจากเยื่อตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, แผลที่แก้วตา, หรือการอักเสบรอบตา

 

อาการตาแดงร่วมกับตาแห้งหรือระคายเคือง มีโรคตาหลายโรคที่มีอาการตาแห้ง การมีน้ำตาน้อยอาจเกิดจากอายุมาก, มีโรคประจำตัว, ควัน, สารเคมี หรือยาบางชนิด ต้อลมมีลักษณะเป็นเนื้อนูนๆ ออกสีเหลืองตรงตาขาวด้านใกล้จมูก เนื้อเยื่อนี้เป็นพังผืดปนกับไขมัน ส่วนต้อเนื้อเป็นเนื้อเยื่อที่มีเส้นเลือดฝอยเกิดใหม่ เริ่มจากตาขาวแล้วยื่นเป็นแผ่นเข้าไปตาดำส่วนที่เป็นแก้วตา ทั้งต้อลมและต้อเนื้อนี้เป็นภาวะที่เกิดช้า ๆ และเรื้อรังเมื่อถูกลม ฝุ่นละออง หรือสิ่งระคายเคือง จะทำให้อาการมากขึ้น ต้อเนื้อหากเป็นมากจะปิดบังรูม่านตาขัดขวางการมองเห็น จำเป็นต้องตัดออก

 

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ

ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปลูกผม ไร้แผลเป็น/นพ.รัฐพล ตวงทอง แพทย์ด้านผิวหนัง

โดย ผู้จัดการออนไลน์

 

250121x9f4ez5xgq.gif

 

“คุณคะ ผมเริ่มบางมากขึ้นทุกทีแล้วนะคะ”

มีใครหลายคนที่ประสบปัญหาเรื่องนี้ บ้างก็เพิกเฉย บ้างก็ดิ้นรนหาทางรักษา จนแทบอ่อนใจกับความล้มเหลว ลองมาฟังวิธีใหม่... “ปลูกผม ไร้แผลเป็น” เผื่อเป็นทางเลือกที่คุณรอคอยซิคะ

**รู้จักศีรษะล้าน

ผมบาง ศีรษะล้าน เป็นอาการที่พบได้ทั้งชายและหญิง สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากพันธุกรรมและฮอร์โมน โดยพันธุกรรมนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติพ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติ มีผมบางและศีรษะล้าน ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะถูกถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกหลาน นอกจากนี้ฮอร์โมน (Androgenetic alopecia ) ก็เป็นตัวกระตุ้นร่วมกับพันธุกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เส้นผมคือ จะมีขนาดเส้นเล็กลงเรื่อยๆ พร้อมๆ กับความหนาแน่นของเส้นผมที่ลดลง จนเกิดอาการผมบางตามมา และถ้าเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจถึงขั้นศีรษะล้านในที่สุด

 

**สังเกตอาการ

สำหรับอาการศีรษะล้านที่เกิดขึ้นในหญิงและชายจะต่างกัน

เพศชายนั้น มักเริ่มด้วยอาการหัวเถิก และจะเป็นมากขึ้น ต่อมามีผมบางตรงกลางศีรษะ จนขยายวงมากขึ้น แบ่งได้เป็น 7 ระยะ ตามแบบ Hamilton-Norwood (ภาพจาก www.belaray.com)

 

 

552000016984001.JPEG

ภาพที่ 1

 

จะเห็นได้ว่ายังมีการแบ่งย่อยในแต่ละระยะ ซึ่งบางคนอาจมีอาการย่อยเด่นชัดแทน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหนังศีรษะของแต่ละบุคคล ส่วนเพศหญิง มักจะเริ่มจากการมีผมบางบริเวณด้านหน้า ( Frontal ) และกลางศีรษะ ( Vertex )โดยอาการแสดงนั้นแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตามแบบ Ludwig ( ภาพจาก www.hairloss.com)

 

552000016984002.JPEG

ภาพที่ 2

จากภาพที่เห็น หากผู้ป่วยชายมีอาการผมบางและศีรษะล้าน ในระยะ 2 – 4 หรือเพศหญิงในระยะ 1 – 2 ควรเริ่มรักษาด้วยการกินและทายาก่อน ถ้าไม่เห็นผล แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดปลูกผมต่อไป แต่ถ้าผู้ป่วยชายมีอาการผมบางอยู่ในระยะ 5 – 7 หรือเพศหญิงในระยะ 3 การผ่าตัดปลูกผมจะเป็นการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

 

**ปลูกผม ไร้แผลเป็น

ทำไมไม่ใช้การผ่าตัดแบบมาตรฐาน เพราะต้องตัดหนังศีรษะบริเวณท้ายทอยออกมา เพื่อให้ได้เส้นผมมาปลูกบริเวณที่มีศีรษะล้าน ซึ่งอาจมีปัญหาเรื่องความสวยงามจากการที่มีแผลเป็นบาง ๆ ที่หนังศีรษะบริเวณท้ายทอยได้

ปัจจุบันมีวิธีใหม่ เรียกว่า “การปลูกผมไร้แผลเป็น” ( Single Follicular Extraction and Transfer : (SFET) ) ซึ่งเป็นวิธีที่คิดค้นเพื่อลดแผลเป็นจากการผ่าตัดบริเวณท้ายทอย โดยใช้เครื่องมือพิเศษที่มีหัวเจาะทำจากโลหะไททาเนียม ( Titanium Punch) เพื่อทำการย้ายเซลล์รากผมจากบริเวณท้ายทอยมาปลูกบริเวณที่มีศีรษะล้าน ซึ่งหลังการผ่าตัด จะมีแผลขนาดเล็กมากจนแทบมองไม่เห็น ประมาณจุดละ 1 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งแผลจะหายเองโดยไม่ต้องเย็บแต่อย่างใด

552000016984003.JPEG

ขั้นตอนการรักษา

 

1. รับคำปรึกษาจากแพทย์ ให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียของการผ่าตัด นอกจากนี้แพทย์จะทำการประเมินวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยและนัดวันผ่าตัด

 

2. ก่อนวันผ่าตัด จะต้องเซ็นต์ใบยินยอมเพื่อรับการผ่าตัด และรับการถ่ายรูปเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษา

 

3. เพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเลือดประเมินความเสี่ยงของการผ่าตัดว่า มีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือไวรัสตับอักเสบชนิดบี และซีหรือไม่

 

4. ในวันผ่าตัด จะได้รับการโกนผมบริเวณท้ายทอยและด้านข้างของศีรษะ จากนั้นแพทย์จะทำการฉีดยาชาที่หนังศีรษะบริเวณท้ายทอยและด้านข้างของศีรษะ เมื่อผู้ป่วยรู้สึกชา ก็จะใช้เครื่องมือซึ่งมีหัวเจาะทำจากโลหะไททาเนียม ทำการเจาะเพื่อนำเส้นผมจากบริเวณดังกล่าวออกมา

 

5. เส้นผมที่นำออกจากหนังศีรษะ จะถูกเก็บไว้ในสารละลายที่มีความใกล้เคียงกับของเหลวในร่างกายประมาณ 2 -3 ชั่วโมง

 

6. ระหว่างนั้นจะใช้เครื่องมือพิเศษในการสร้างรูขนาดเล็กบริเวณที่มีผมร่วงหรือศีรษะล้าน

 

7. นำเส้นผมที่จัดเก็บไว้ มาปลูกถ่ายในบริเวณที่มีผมร่วงหรือหนังศีรษะล้าน โดยแพทย์จะเลือกบริเวณความหนาแน่น ทิศทางที่เหมาะสมของเส้นผมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งถ้าปลูกถ่าย 500 กอ (โดยหนึ่งกออาจมีถึง 4 เส้น) จะสามารถปลูกบริเวณศีรษะล้านได้ 25 – 50 ตารางเซนติเมตร โดยใช้เวลา 4 – 6 ชั่วโมง แต่ถ้าปลูกถ่าย 1,000 กอ จะสามารถปลูกได้ถึง 50 – 100 ตารางเซนติเมตร ในระยะเวลา 8 – 10 ชั่วโมง ซึ่งวิธีการผ่าตัดนั้นจะใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเทคนิคปลอดเชื้อ จึงรับรองได้ว่าปลอดภัย

 

552000016984004.JPEG

 

8. หลังผ่าตัดแล้ว แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อกันการติดเชื้อและลดอาการบวมกลับไปกินที่บ้าน

 

9. มาพบแพทย์ตามนัดในวันรุ่งขึ้น เพื่อตรวจติดตามผลการรักษาและปรับแต่งทิศทางของเส้นผมที่ปลูกไว้ จากนั้นแพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะๆ เพื่อติดตามผลจนเป็นที่น่าพอใจ

 

สำหรับผมที่ได้รับการปลูกถ่าย สามารถสระผม ตัดผม ดัดผม ย้อมผมได้ตามปกติเหมือนผมทั่วไปในบริเวณอื่นหลังการปลูกถ่ายอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ที่สำคัญ จะอยู่ถาวรในบริเวณนั้น แต่ผมบริเวณอื่นอาจบางและมีศีรษะล้าน ซึ่งอาจต้องมารับการผ่าตัดปลูกถ่ายเส้นผมเพิ่มเติมในอนาคต แต่จะสามารถชะลออาการได้ด้วยการกินและทายาควบคู่กันไป

 

เคล็ดลับกันผมบาง ศีรษะล้าน

 

แม้วิทยาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าจนรักษาอาการผมบาง ศีรษะล้านได้ แต่คงไม่มีใครอยากสูญเสียผมก่อนวัยอันควรแน่ การป้องกันจึงยังเป็นหัวใจที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญไม่ควรเครียด และทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ และเมื่อเริ่มมีอาการผมบาง ศีรษะล้าน ควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกโรคเส้นผม โรงพยาบาลศิริราช โทร. 0 2419 7380 -1

 

***หมายเหตุ ท่านผู้ใดสนใจสอบถามที่ PM ได้ค่ะ***

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...