ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

สาระน่ารู้....สุขภาพ.....

โพสต์แนะนำ

ของฝาก...สำหรับคุณผู้หญิงค่ะ

"Things You Need to Know about Botulinum Toxin Type A Injection"

 

Assistant Professor Paraya Assanasen, M.D.

Faculty of Medicine Siriraj Hospital

 

 

The Botulinum Toxin Type A (BTA) injection is a treatment that uses BTA which has been approved for safety to revitalize and regenerate skin cells and cure wrinkles.

644_1.jpg

before

 

644_2.jpg

after

 

644_3.jpg

BTA

 

These are things you need to know before undergoing BTA injection:

1. Bruises might occur around the treatment areas which usually happen after normal injection. Bruises normally disappear within 2-3 days.

 

2. This treatment is prohibited for pregnant women, women during lactation or anyone who has muscle weakness.

 

3. Treatment for big molar and wrinkles around mouth might weaken the ability to chew food, ability to suck water by straw, and ability to pronounce certain words due to temporary muscle weakness. All of these symptoms will get better spontaneously within 1-2 weeks.

 

4. Uneven distribution of BTA may occur and lead to the following temporary side effects 1) patients can not fully open their eyes or slackening of eyelids 2) uneven of two angles of their mouth 3) uneven of each side of the face when laughing or smiling. All of these symptoms will also get better spontaneously within 1-2 weeks.

 

5. For the deep wrinkles that appear for many years, the treatment with only BTA may not be fully effective. Patients are recommended to choose additional treatments such as Filler injection for a better result.

 

6. Treatments for firming or changing structure of the face may need 2-3 times of treatments to be effective. In addition, additional treatments such as Mesotherapy, Alpha Hydroxy Acid (AHA) treatment, Iontophoresis, Microdermabrasion, and Chemical Peeling may be needed for a better result.

 

7. The treatment with BTA will last approximately 4-8 months depending on type of treatments and individual’s skin conditions. The treatments can be repeated upon request from patients. After the first treatment, the repeat injection before expiring of efficiency of the BTA will help the BTA to last longer for the next treatment.

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=644

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“กำจัดขนด้วยเลเซอร์” อันตรายหรือไม่

 

รศ.นพ. วรพงษ์ มนัสเกียรติ (Assoc. Prof. WORAPHONG MANUSKIATTI)

รศ.นพ.วรพงษ์ มนัสเกียรติ

ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช

 

ผิวหนังของคนเราเกือบทุกส่วนจะปกคลุมด้วยเส้นขน ยกเว้นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า เส้นขน มีประโยชน์หลายอย่างแตกต่างกันตามตำแหน่ง เช่น ขนบริเวณลำตัวและแขนขา ช่วยควบคุมระดับอุณหภูมิในร่างกาย ขนบริเวณหนังศีรษะมีไว้ปกป้องแสงแดดและเพื่อความสวยงาม ขนบริเวณรักแร้ ลดแรงเสียดสี เป็นต้น

แต่ในบางครั้งเส้นขนที่ดกดำมากเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านความสวยงามหรือบุคลิกภาพของคุณได้เช่นกัน เช่น เส้นขนบริเวณหน้าแข้งหรือริมฝีปากของคุณสุภาพสตรี ภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนหรือผลข้างเคียงของยาบางประเภทก็สามารถก่อให้เกิด ขนขึ้นมากผิดปกติ หรือเกิดขนงอกในบริเวณที่ไม่ควรงอก เช่น โรค Polycystic ovarian syndrome การรับประทานยาประเภทสตีรอยด์ หรือยากดภูมิคุ้มกันบางประเภท เป็นต้น การกำจัดขนจึงอาจเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับบางท่าน

 

วิธีกำจัดขนมี 2 วิธี คือ

 

1. กำจัดขนแบบชั่วคราว ได้แก่ การโกน ถอน ใช้ด้ายกระตุกซึ่งวิธีการเหล่านี้ นอกจากต้องทำบ่อย ๆ เพราะความที่เป็นวิธีที่ไม่ถาวรแล้ว ยังมักก่อให้เกิดปัญหาของรูขุมขนอักเสบ และขนคุดตามมา

 

2. กำจัดขนแบบถาวร ในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ

 

- วิธี electrolysis คือ การใช้เข็มสอดลงไปที่รากขนทีละเส้นแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าทำลายรากขน วิธีนี้ค่อนข้างเจ็บและเสียเวลานานมาก เพราะต้องสอดเข็มลงไปที่รากขนทีละเส้น และมีโอกาสเสี่ยงกับการเกิดแผลเป็นค่อนข้างสูง เพราะว่าการสอดเข็มลงไปที่รากขนเป็นวิธีการสอดแบบสุ่ม โดยที่ผู้ทำการรักษาไม่ทราบว่ารากขนอยู่ที่ใด

 

- วิธีใช้แสงความเข้มสูงและเลเซอร์ เป็นวิธีการกำจัดขนโดยอาศัยพลังงานความร้อนจากแสงไปทำลายรากขน แสงสามารถทำลายรากขนโดยเฉพาะเจาะจง เพราะว่าบริเวณรากขนจะมีเซลล์สร้างสีที่เรียกว่าเมลาโนซัยท์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวนำแสงหรือตัวดูดพลังงานแสงให้มาอยู่เฉพาะบริเวณรากขน

 

แสงความเข้มสูงและเลเซอร์กำจัดขนได้อย่างไร?

 

เครื่องกำจัดขนสามารถส่งพลังงานแสงไปที่รากขน เซลล์สร้างสีบริเวณรากขนจะทำหน้าที่ดูดรับพลังงานแสง แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนเพื่อทำลายรากขน

ความรู้สึกระหว่างกำจัด ขนด้วยแสงคล้ายกับหนังยางดีดบนผิวหนัง เป็นความรู้สึกซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ทนความรู้สึกได้ บริเวณผิวหนังอ่อน ๆ เช่น ริมฝีปาก ขาหนีบจะรู้สึกมากกว่าบริเวณอื่น การทายาชาชนิดครีมก่อนการทำเลเซอร์จะช่วยลดความรู้สึกระหว่างการรักษาได้ นอกจากนี้เลเซอร์หลายชนิดมีระบบให้ความเย็นแก่ผิวหนัง ซึ่งสามารถลดอาการเจ็บระหว่างการรักษาได้

การกำจัดขนด้วยเลเซอร์ใช้เวลานานเท่าใด ?

ระยะเวลาที่ใช้ขึ้นกับตำแหน่ง เช่น บริเวณรักแร้ใช้เวลาเพียง 2-3 นาที ส่วนบริเวณแผ่นหลังหรือหน้าแข้งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

การรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านใดบ้าง ?

 

ผลของการรักษาขึ้นอยู่กับสีของขนและสีผิว โดยทั่วไปเส้นขนสีดำเข้มจะได้ผลดีกว่าเส้นขนสีอ่อน คนผิวขาวมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าคนผิวคล้ำ

 

การกำจัดขนด้วยแสงต้องทำกี่ครั้ง ?

 

การกำจัดขนด้วยแสงจะทำลายเส้นขนประมาณ 15%-30% ภายหลังการรักษา 1 ครั้ง โดยทั่วไปต้องรักษาประมาณ 5-8 ครั้ง การรักษามักทำทุก 4-6 สัปดาห์

ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรภายหลังการทำ?

 

ผิวหนังบริเวณรอบรูขุมขนจะแดงและบวมเล็กน้อยภายในระยะเวลา 30 นาทีภายหลังการรักษา ซึ่งอาการนี้จะหายไปเองภายในเวลา 1 วัน การประคบด้วยความเย็นจะช่วยลดอาการแสบร้อนได้ ผิวหนังภายหลังการรักษาจะไม่เกิดแผล ไม่มีเลือดออก และไม่จำเป็นต้องปิดแผล

ควรดูแลรักษาอย่างไรภายหลังการกำจัดขน ?

ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประวันได้ปกติ ควรยกเว้นการใช้สบู่หรือครีมที่ระคายเคืองที่ผิวหนัง เช่น Retin-A, AHA ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ปกติ ควรหลีกเลี่ยงการออกแดด และควรใช้ครีมทากันแดดในบริเวณที่ได้รับการรักษา

เส้นขนภายหลังการรักษาเป็นอย่างไร ?

 

เส้นขนจะค่อยๆ ถูกดันให้หลุดออกจากผิวหนังภายใน 2 สัปดาห์ หลังการรักษา

ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนทำเลเซอร์ ?

 

ภายใน 1 สัปดาห์ก่อนทำเลเซอร์ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งที่ไม่จำเป็น ไม่ควรถอนหรือแว็กซ์ขน หากจำเป็นอาจใช้วิธีโกน แต่ควรหยุดโกนขนภายในระยะเวลา 2-3 วัน ก่อนการทำการรักษา

สำหรับที่ศิริราช กำลังจะเปิด “ศูนย์เลเซอร์ผิวหนัง” ที่ให้บริการรักษากำจัดขน โดยใช้แสงความเข้มสูง (Intense Pulsed Light; ไอพีแอล)..ที่มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดขนและมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยตรวจโรคผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โทร. 0 2419 7380-7381

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง

 

ศ.เกียรติคุณ นพ.ธงชัย พรรณลาภ

สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภ.ศัลยศาสตร์

 

 

     กระเพาะ ปัสสาวะเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบของปัสสาวะ รูปร่างคล้ายบัลลูน อยู่หลังกระดูกหัวหน่าวภายในอุ้งเชิงกราน และอยู่หน้ามดลูกของผู้หญิง ส่วนผู้ชาย อยู่หน้าต่อทวารหนัก ผนังของกระเพาะปัสสาวะประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบส่วนใหญ่ มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 300-350 ซี.ซี. ทำให้รู้สึกอยากปวดปัสสาวะมาก ผนังกล้ามเนื้อของปัสสาวะจะบีบตัวให้มีการปัสสาวะผ่านทางหลอดปัสสาวะออกสู่ ภายนอกจนหมดในเวลาไม่เกิน 30 วินาที โดยไม่มีอาการปวดหรือแสบบริเวณหลอดปัสสาวะเลย ในคนปรกติถ้าดื่มน้ำวันละ 1500-2000 ซี.ซี. (ประมาณ 8-10 แก้ว) จะปัสสาวะประมาณวันละ 3-5 ครั้ง หลังเข้านอนจะไม่ตื่นมาปัสสาวะเลย

อาการปัสสาวะบ่อย (มากกว่า 5 ครั้งใน 24 ชั่วโมง) อย่าเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพราะอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้

1. ไตขับปัสสาวะมากกว่าปรกติ จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ดื่มน้ำมาก รับยาขับปัสสาวะเนื่องจากเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ส่งผลให้ปัสสาวะที่มากักเก็บในกระเพาะปัสสาวะเต็มเร็ว จึงปัสสาวะบ่อยกว่าปรกติ (มากกว่า 5 ครั้ง ต่อวัน) และอาจต้องตื่นมาปัสสาวะหลังเข้านอนแล้วประมาณไม่เกิน 2 ครั้ง ที่สำคัญผู้ป่วยจะมีปริมาณปัสสาวะแต่ละครั้งเท่าคนปกติ (ประมาณ 350-500 ซี.ซี.) เมื่อตรวจปัสสาวะจะไม่พบการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุข้างต้น

 

2. มีความผิดปรกติที่กระเพาะปัสสาวะ ไม่สามารถกักเก็บปัสสาวะได้นาน ปวดปัสสาวะเร็ว บางคนอาจปัสสาวะทุก 1 หรือ 2 ชั่วโมง ที่สำคัญคือปวดปัสสาวะหลังนอนหลับแล้วตอนดึกก่อนถึงเช้าทุกคืน ๆ มากกว่า 2 ครั้ง ครั้งละน้อยกว่าปกติ (ไม่ถึง 300 ซี.ซี.) เกิดจาก

    2.1   กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบมากในผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว (อายุ 30-40 ปี) เนื่องจากมีการอักเสบในช่องคลอดบ่อย ๆ มีตกขาวมากกว่าปกติ ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้ากระเพาะปัสสาวะง่ายเพราะหลอดปัสสาวะผู้หญิงสั้นกว่า ผู้ชาย อาจพบมีรูเปิดหลอดปัสสาวะตีบแคบด้วยในบางคน ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งมีอาการปัสสาวะบ่อย ครั้งวลพน้อย ๆ อาจเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ/บริเวณท้องน้อย หรือมีอาการปัสสาวะไม่สุด ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะพร้อมรักษาอาการตกขาวในช่องคลอด หรือขยายรูเปิดหลอดปัสสาวะด้วยจึงจะหายขาด

    2.2   กระเพาะปัสสาวะเล็ก ขยายตัวไม่ได้ เนื่องจากถูกฉายแสงรักษามะเร็งของปากมดลูก เป็นวัณโรคกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะชั้นกล้ามเนื้อขยายเพื่อเก็บปัสสาวะมากไม่ได้ หรือมีเนื้องอกขนาดใหญ่ในมดลูก หรือหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 6 เดือน มดลูกจะกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เก็บปัสสาวะได้ไม่มาก จึงทำให้ปัสสาวะบ่อย

    2.3   มีสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะปัสสาวะ เช่น ก้อนนิ่ว เนื้องอกขนาดใหญ่ อาจทำให้ปัสสาวะบ่อย แต่พบน้อยมากในผู้หญิง

 

3 มีความผิดปรกติทางจิตใจ เช่น ภาวะเครียดจากงาน กลัวโรคภัยไข้เจ็บ มีปัญหาครอบครัว ผู้ป่วยส่วนมากมักจะปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางวันหรือหัวค่ำ เมื่อหลับแล้วจะไม่ตื่นมาปัสสาวะอีก เนื่องจากไม่มีความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ

 

4 ประสาทควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะมีความผิดปรกติ ทำให้ผนังกล้ามเนื้อทำงาน บีบตัวบ่อย จำเป็นต้องตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะด้วยเครื่องตรวจพิเศษ เพื่อตรวจการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ

ดูแลสุขภาพอย่างไรห่างไกลโรคนี้

 

1. พยายามอย่ากลั้นปัสสาวะนานเกิน 6 ชั่วโมงโดยไม่จำเป็น

2. ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 6 - 8 แก้ว (ตั้งแต่เช้าถึงเข้านอน)

3. ควรรักษาอาการตกขาวให้หายขาด

4. ภ้าหากมีอาการปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อย ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ต้องไปพบศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะทันที

 

   หากพบว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีอาการผิดปกติดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ในรายที่เป็น ๆ หาย ๆ และเรื้อรัง ควรไปพบศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาด้วยวิธีที่ เหมาะสม โดยเฉพาะคุณผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โอกาสที่จะเป็นโรคชนิดนี้ค่อนข้างสูง และหากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

-โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ(Cystitis)นอกจากมีสาเหตุจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมักเป็นบ่อยจากอีกสาเหตุนึงจนมีชื่อเรียกอาการจากสาเหตุนี่ว่าHoneymoon cystitis  เดาเอาเองแล้วกันนะครับว่ามีสาเหตุมาจากอะไร

-เกี่ยวกับยาพาราเซตามอลขอแถมจากที่คุณมดแดงหามาอีกหน่อยนะครับ สำหรับคนที่เลี้ยงแมวถ้าแมวมีไข้ ห้ามนะครับเพราะแมวแพ้ยานี้

-ฤทธิ์ข้างเคียงของยาคลอเฟนิรามีนที่ไม่พึงประสงค์อีกอย่างคือทำให้ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ปั่นป่วน(Gastrointestinal upset)

-แหะๆเพิ่งมีเวลามาโพสกวนกระทู้ของคุณมดแดง มัวแต่ย้ายบ้าน(อ๊ะอ๊ะ ไม่ใช่เอากำไรจากทองไปสร้างบ้านใหม่นะครับ)

-คิดดีขอให้ได้ คิดไม่ดีขอให้ได้แค่คิดตลอดไปไม่ใช่เฉพาะปีใหม่นะครับคุณมดแดง

 

 

-โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ(Cystitis)นอกจากมีสาเหตุจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมักเป็นบ่อยจากอีกสาเหตุนึงจนมีชื่อเรียกอาการจากสาเหตุนี่ว่าHoneymoon cystitis  เดาเอาเองแล้วกันนะครับว่ามีสาเหตุมาจากอะไร

-เกี่ยวกับยาพาราเซตามอลขอแถมจากที่คุณมดแดงหามาอีกหน่อยนะครับ สำหรับคนที่เลี้ยงแมวถ้าแมวมีไข้ ห้ามนะครับเพราะแมวแพ้ยานี้

-ฤทธิ์ข้างเคียงของยาคลอเฟนิรามีนที่ไม่พึงประสงค์อีกอย่างคือทำให้ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ปั่นป่วน(Gastrointestinal upset)

-แหะๆเพิ่งมีเวลามาโพสกวนกระทู้ของคุณมดแดง มัวแต่ย้ายบ้าน(อ๊ะอ๊ะ ไม่ใช่เอากำไรจากทองไปสร้างบ้านใหม่นะครับ)

-คิดดีขอให้ได้ คิดไม่ดีขอให้ได้แค่คิดตลอดไปไม่ใช่เฉพาะปีใหม่นะครับคุณมดแดง

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคหลอดเลือดสมองแตก....

   

     

   

          Stroke_001.jpg    

 

   

    โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดสมอง โดยทั่วไปมักเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต โรคนี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน อาจเกิดจากการตีบตันที่หลอดเลือดสมองเอง หรือเกิดจากการมีลิ่มเลือดหลุดจากที่อื่น เช่น จากหัวใจ และจากหลอดเลือดที่บริเวณคอมาอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้สมองบางส่วนขาดเลือด ส่วนโรคหลอดเลือดสมองแตกเกิดจากการแตกของหลอดเลือดสมอง ทำให้มีเลือดออกมาคั่ง และทำลายเนื้อสมองในบริเวณนั้น นอกจากนี้อาจกดเบียดสมองส่วนที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้สมองส่วนนั้นทำหน้าทั่ไม่ได้ตามปกติ เกิดอาการอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต

 

    โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาที่พบ บ่อย และสำคัญของประเทศซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 การป้องกันในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง การวินิจฉัย และรักษาที่ทันเวลา ช่วยลดความพิการ และอัตราตาย รวมทั้งลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นภาวะเร่งด่วนทางอายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์ เวลาเป็นสิ่งสำคัญ การขาดเลือดของสมองทำให้เซลล์สมองตายมากขึ้นเมื่อเวลานานขึ้นจึงควรรีบให้ การรักษาอย่างรวดเร็ว

 

สาเหตุ

  1. สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน ได้แก่ ภาวะหลอดเลือดแข็ง ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของผนังหลอดเลือด มีไขมัน และหินปูนมาจับ พบได้ทั้งในหลอดเลือดสมองเอง และหลอดเลือดใหญ่ที่คอ มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือผู้ที่สูบบุหรี่

  2. บางคนเกิดจากโรคหัวใจที่มีลิ่ม เลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  3. ส่วนน้อยเกิดจากหลอดเลือดสมองอักเสบ และโรคเลือดบางชนิด

  4. ส่วนสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตกที่สำคัญที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง บางรายอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองผิดปกติแต่กำเนิด

 

                Stroke_003.jpg

 

อาการ

 

  1. เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกายทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานทุกระบบ เช่น การเคลื่อนไหว ระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เป็นต้น สมองในตำแหน่งต่างๆ ทำหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นอาการของโรคหลอดเลือดสมองจึงเกิดขึ้นได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรคหากสมองส่วนใดสูญเสียการทำงานไป ก็จะเกิดอาการผิดปกติของร่างกายในระบบที่สมองบริเวณนั้นควบคุมอยู่ อาการมักเกิดอย่างรวดเร็ว หรือทันทีทันใด เนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงทันที แต่ในบางครังอาจมีอาการแบบเป็นๆ หายๆ หรือค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาอันสั้น

  2. อาการที่พบบ่อยมีหลายอย่าง ได้แก่ อ่อน แรงของร่างกายครึ่งซีก ชาครึ่งซีก เวียนศรีษะ ร่วมกับเดินเซ ตามัว หรือมองเห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ปวดศรีษะ อาเจียน ซึม ไม่รู้สึกตัว ที่สำคัญคืออาการดังกล่าวข้างต้น หากเกิดขึ้น และหายไปในเวลาอันรวดเร็ว ถือเป็นอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง ท่านควรไปพบแพทย์ด่วน พึงระลึกไว้เสมอว่าเมื่อมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีอย่ามัวรอดูอาการ

  3. หลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงได้หลายลักษณะ คือ บางคนจะดีขึ้นเองภายใน 24 ชั่วโมง บางคนอาการแย่ลงภายใน 1-3 วันแรกจากหลอดเลือดสมองมีการอุดตันมากขึ้น บางคนอาการมากที่สุดในตอนแรกเกิดอาการและคงที่ และบางคนเกิดปัญหาสมองบวมตามมาซึ่งอาจทำให้อาการทรุดหนักซึ่งโดยทั่วไปมัก เกิดภายใน 3-4 วันแรก หลังจากพ้นระยะนี้ไปจะเป็นช่วงการฟื้นตัว ซึ่งแต่ละคนจะมีการฟื้นตัวได้ไม่เท่ากัน บางรายสามารถฟื้นได้เป็นปกติ บางรายอาจยังมีความพิการหลงเหลืออยู่

             

              Stroke_004.jpg

 

ปัจจัยเสี่ยง

 

  1. โรคความดันโลหิตสูง

  2. โรคเบาหวาน

  3. การสูบบุหรี่

  4. โรคหัวใจ

  5. ผู้สูงอายุ

  6. แอลกอฮอล์

  7. ไขมันในเลือดสูง

  8. ขาดการออกกำลังกาย

                   Stroke_005.jpg

 

อาการเตือน

 

  1. อาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หรือไม่มีแรงครึ่งซีกที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรืออาการชาของแขน หรือขาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเป็นครั้งคราว

  2. ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง

  3. อาการสับสน ระดับการรับรู้เปลี่ยนแปลงไปในทางเลวลง ภาวะที่พูดลำบาก กระตุกกระตักหรือพูดไม่ชัด โดยอาการเป็นชั่วคราว หรืออาจจะนึกพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว

  4. ภาวะที่ตามืดหรือมองไม่เห็นไปชั่วครู่ หรืออาจจะเห็นแสงที่ผิดปรกติ หรือเห็นภาพซ้อน จัดเป็นอาการผิดปกติของการมองเห็น

  5. อาการวิงเวียนบ้านหมุน หรือเป็นลม เดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้

  6. อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยปวดมาก่อน มักเกิดขึ้นขณะปฏิบัติกิจกรรมที่เคร่งเครียด หรือกำลังอยู่ในภาวะอารมณ์ที่รุนแรง

  7. กลืนอาหารสำลักบ่อยๆ

 

การวินิจฉัย

  1. อาศัยการซักถามประวัติอาการของ ผู้ป่วยโดยละเอียดการตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจร่างกายทางระบบประสาท รวมทั้งการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์

  2. การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจค้น สามารถให้การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง ลักษณะเฉพาะของโรคหลอดเลือดสมองคือ มีปัจจัยเสี่ยง อาการเกิดขึ้นทันทีทันใด มีความผิดปกติทางระบบประสาทจากการสูญเสียหน้าที่ของสมองอธิบายได้ตามรอยโรค ของพื้นที่ที่สมองขาดเลือดจากเส้นเลือดจำเพาะ

  3. การตรวจภาพถ่ายทางรังสีของสมอง และหลอดเลือดสมอง CT, MRI ของสมอง ตรวจหาสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง เลือดออกในสมอง หรือสมองขาดเลือด ในภาวะสมองขาดเลือด MR Diffusion weight image (DWI) ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อสมองขาดเลือดเร็วขึ้นใน 3 ชม.

  4. MR Spectroscopy, PET, SPECT ตรวจการทำงานสมอง

  5. Cerebral angiography การฉีดสีเข้าเส้นเลือด และถ่ายภาพเอ็กซเรย์เส้นเลือดสมองเป็นวิธีมาตราฐานในการวินิจฉัยโรคหลอด เลือดสมอง ปัจจุบันมีการพัฒนา CT และ MRI เพื่อให้เห็นภาพเส้นเลือดสมองทดแทน ได้แก่ CT.Angiography (CTA), MR Angiography (MRA) เส้นเลือดแดง, MRVenography (MRV) เส้นเลือดดำ

  6. การตรวจด้วยคลื่นเสียง อุลตราโซนิค DUPLEX ultrasound เพื่อตรวจวัดขนาดภายในหลอดเลือดที่คอ ภาวะการตีบ และอุดตันของเส้นเลือดนอกกะโหลกศีรษะ Transcranial Doppler ultrasound (TCD) ตรวจวัดความเร็วในหลอดเลือดของเส้นเลือดสมอง เพื่อหาความผิดปกติจากการตีบตัวหรือการอุดตัน

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

  โรคหลอดเลือดสมองแตก...(ต่อ)

   

           Stroke_007.jpg

 

การรักษา

 

  1. การรักษาในระยะแรกทำได้ยาก เรื่องสำคัญ คือต้องพยายามทำให้เลือดหยุด ลดความดันในสมอง ช่วยให้สัญญาณชีพอยู่ในภาวะปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความดันโลหิต

  2. พิจารณาใช้ยาลดความดันโลหิต ยาลดสมองบวม โดยปรับขนาดของยาตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

  3. พิจารณาใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และยาระงับชัก เมื่อมีข้อบ่งชี้

  4. เฝ้าติดตามอาการของผู้ป่วยอย่าง ใกล้ชิด ตรวจบันทึกอาการแสดงของภาวะความดันในสมองเพิ่มสูงขึ้น ระดับความรู้สึกตัว ติดตามความรุนแรงของอาการปวดหัว

การผ่าตัด

 

  1. ในรายที่มีเลือดออกจำนวนมาก ผู้ป่วยมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว บางรายอาจต้องผ่าตัดเพื่อเย็บซ่อมหลอดเลือดที่ฉีกขาด

  2. เวลาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแตก ตีบ และตัน โดยเฉพาะ 3 ชั่วโมงแรกที่มีอาการ ดังนั้น ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทางสมองภายในระยะดังกล่าว แพทย์อาจจะใช้ยาฉีดเพื่อละลายลิ่มเลือดให้เลือดไหลเวียนได้ปกติ แต่ยานี้จะใช้ได้ในบางรายเท่านั้น หลังจากนั้นแพทย์อาจจะรับตัวไว้รักษาในห้องรักษาผู้ป่วยหนัก เพื่อให้ยา และสังเกตอาการรวมทั้งการหลับ ตื่น การตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ การเคลื่อนไหว การกลืนอาหาร เมื่อพ้นระยะเฉียบพลันไปแล้ว 4 - 5 วัน หรือประมาณ 1 อาทิตย์ ผู้ป่วยจะถูกย้ายไปรักษาในหอผู้ป่วยหลอดเลือด

  3. สำหรับการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด อาจจะเริ่มภายใน 1 - 2 วันแรก แล้วทำกายภาพอย่างต่อเนื่องหลังจากอาการต่างๆ คงที่

          Stroke_008.jpg

 

การผ่าตัดในกรณีภาวะเส้นเลือดแตกในสมอง (hemorrhagic stroke)

 

  1. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเอาก้อนเลือดออก craniotomy remove blood clot

  2. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะหนีบเส้นเลือดสมองโป่งพอง craniotomy aneurysm clipping

  3. การตัดต่อเส้นเลือดสมองเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองในกรณีที่มีการทำลายเส้นเลือด vascular bypass and revascularization

  4. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะตัดเส้นเลือดผิดปกติออก craniotomy resection of AVM, AVF

  5. การผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำหล่อ โพรงสมองเมื่อเกิดภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ผ่าตัดระบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย หรือระบายลงช่องท้อง CSF diversion

  6. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะลดความดันในกะโหลกศีรษะ decompressive craniectomy

การป้องกัน

 

  1. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี วัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด เป็นระยะตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ถ้าผิดปกติต้องควบคุม และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  2. เลิกสูบบุหรี่ พบว่าการเลิกสูบบุหรี่สามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ครึ่งหนึ่ง

  3. ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน งดอาหารรสเค็ม และไขมันสูง

  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  5. ผ่อนคลายความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ

  6. ในรายที่มีความเสี่ยงอาจเกิดโรค หลอดเลือดสมองตีบได้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยากันเลือดแข็งตัวเพื่อป้องกันอัมพาต ควรปฏิบัติตัว และติดตามการรักษาตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด

  7. ในรายที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่งดยาเอง

  8. ถ้ามีอาการที่สงสัยว่าอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ

ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

 

http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-15-03/1250-2010-01-04-04-35-05

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอต่อ"เรื่องหลอดเลือดสมอง" ค่ะ  วันนี้ไปได้ข้อมูลที่ดีมากค่ะ  เลยเก็บเอามาฝาก และเอาไว้ดูเองเวลาว่างๆ

 

          What happens to the brain during a Stroke.  

     

http://www.youtube.com/watch?v=M_fo6ytlmD0&feature=player_embedded

 

 

 

 How strokes damage the brain.

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=6h7Frkj96yM&feature=player_embedded

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขออนุ็ญาติเก็บข้อมูล:เรื่องโรคหลอดเลือดสมองไปเรื่อยๆนะคะ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับบางท่าน รวมทั้งตนเองด้วย

 

ชมวีดีโอ

 

บุคลากรทางการแพทย์สอนวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้กับาติผู้ดูแล

This video discusses the implementation of the RNAO's Best Practice Guideline on the prevention of falls in the older adult.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Transfer to and from bed independently help prevent bed falls before they happen.

Using a proper elbow prop to reduce strain.

 

 

Prevent Bed Falls and Reduce Caregiver Stress

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การให้ความรู้กับญาติผู้ป่วย (caregiver training step by step)

 

Hand washing is important to prevent the spread of pathogens.

The "456 EMS Show for the Awake, Alert and Disoriented" is produced by Studio-A in the National EMS Academy.

Studio-A is presented in ...

 

Hand Washing Procedur

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=mzmYGifo5To&feature=player_embedded

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านในกระทู้ของคุณทองใหม่เห็นมีพูดถึงเรื่องโคเลสเตอรอล คิดว่าจะโพสในนั้นก็กลัวผิดที่ผิดทางจึงมาโพสต์ในนี้ดีกว่า

โคเลสเตอรอล ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดถ้ารู้จักตัวลดมันลงได้ ผมโคเลสเตอรอลสูงมาก่อน ปัจจุบันกินตามใจอยากก็ไม่สูงอะไร

ตัวลดโคเลสเตอรอลที่ดีที่สุดที่พวกเรามักเขี่ยทิ้งไม่กินคือหอมแดงครับ เพื่อนผมทำตามผมแต่มันกินมากกว่าผม ลดจาก300เหลือ180ใน1เดือนส่วนผม260เหลือ200

วิธีกินทำง่ายครับ

1 พยายามกินหอมที่มีอยู่ในอาหาร

2 ถ้าต้องการเพิ่มพิเศษให้ซื้อหอมมาปอกแล้วซอยใส่พริก น้ำปลา มะนาวลงไป ใส่ทับเพอร์แวร์เก็บไว้ในตู้เย็นเวลากินข้าวก็ตักออกมาซัก1ถ้วยน้ำปลากินกับข้าวอร่อยจริงๆ พูดแล้วเปรี้ยวปาก

ปริมาณที่ต้องการคือวันละอย่างน้อย5หัวกินยิ่งมากยิ่งลด  ลดตัวเลว (LDL)เพิ่มตัวดี(HDL)ซะด้วย อ้อ หอมใหญ่ก็ใช้ได้นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

occupational therapist Karen Gniadek and physical therapist Jennifer Woodruff demonstrate helping a CJD patient walk.

http://memory.ucsf.edu UCSF Memory and Aging Center .

http://www.youtube.com/watch?v=3w_2tSNeFtw&feature=player_embedded

 

 

 

North Carolina State Skill for Transfer to a wheelchair

 

http://www.youtube.com/watch?v=386tpXsaXI4&feature=player_embedded

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

NC Competency Skill for dressing a client with a weak right side

 

http://www.youtube.com/watch?v=gYoSbCHeUjs&feature=player_embedded

 

 

Demonstrates foot care for one foot

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=DtZVgxnWivY&feature=player_embedded

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านในกระทู้ของคุณทองใหม่เห็นมีพูดถึงเรื่องโคเลสเตอรอล คิดว่าจะโพสในนั้นก็กลัวผิดที่ผิดทางจึงมาโพสต์ในนี้ดีกว่า

โคเลสเตอรอล ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดถ้ารู้จักตัวลดมันลงได้ ผมโคเลสเตอรอลสูงมาก่อน ปัจจุบันกินตามใจอยากก็ไม่สูงอะไร

ตัวลดโคเลสเตอรอลที่ดีที่สุดที่พวกเรามักเขี่ยทิ้งไม่กินคือหอมแดงครับ เพื่อนผมทำตามผมแต่มันกินมากกว่าผม ลดจาก300เหลือ180ใน1เดือนส่วนผม260เหลือ200

วิธีกินทำง่ายครับ

1 พยายามกินหอมที่มีอยู่ในอาหาร

2 ถ้าต้องการเพิ่มพิเศษให้ซื้อหอมมาปอกแล้วซอยใส่พริก น้ำปลา มะนาวลงไป ใส่ทับเพอร์แวร์เก็บไว้ในตู้เย็นเวลากินข้าวก็ตักออกมาซัก1ถ้วยน้ำปลากินกับข้าวอร่อยจริงๆ พูดแล้วเปรี้ยวปาก

ปริมาณที่ต้องการคือวันละอย่างน้อย5หัวกินยิ่งมากยิ่งลด  ลดตัวเลว (LDL)เพิ่มตัวดี(HDL)ซะด้วย อ้อ หอมใหญ่ก็ใช้ได้นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

NC Nursing Aide Competency Procedure for feeding a dependent patient

Feeding

 

 

 

 

Positioning technique from old notes

 

Side Lying Positioning

 

dded

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...