ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

สาระน่ารู้....สุขภาพ.....

โพสต์แนะนำ

คมชัดลึก : "มะเขือเทศ" มะเขือเทศลูกแดงๆ กินสัปดาห์ละ 10 ครั้ง ลดอัตราการเกิดมะเร็งที่ต่อมลูกหมากได้กว่าร้อยละ 45 มะเขือเทศป้องกันมะเร็งได้ เพราะติดอาวุธทางโภชนาการ คือ สารแอนติออกซิแดนท์

อย่างน้อย 2 ตัวมาในลูกสีแดงๆ นี้ เป็นตัวต้านการเกิดมะเร็ง มะเขือเทศเป็นผักสีแดงที่มีรสชาติอร่อย เพราะมีกรดอะมิโนเป็นตัวเพิ่มรสชาติอาหาร เป็นกรดเดียวกับที่อยู่ในผงชูรส มะเขือเทศราชินี มีสารเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอี ค่อนข้างสูง

เบ ต้าแคโรทีน วิตามินซีและอี เป็นกลุ่มของสารอาหารที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่ก่อให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ทำลายเนื้อเยื่อ เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด สารทั้ง 3 ตัว โดยเฉพาะ เบต้าแคโรทีนจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ป้องกันเนื้องอก ลดความเสี่ยงการเป็นต้อกระจก มะเร็งและหัวใจได้

"แตงโม" เป็นผลไม้ที่สมาคมโรคหัวใจ ในสหรัฐอเมริกา ยอมรับว่า มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีน้ำอยู่ถึงร้อยละ 92 อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ มีปริมาณกลูตาไธโอนมหาศาล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีไลโคปินมาก และสามารถป้องกันโรคมะเร็งที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้

นอก จากนี้ ยังมีสรรพคุณช่วยลดความร้อนภายในร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการของโรคไข้หวัด หรือเจ็บคอ ช่วยลดความดันโลหิต และยังช่วยในการซับน้ำปัสสาวะได้ดี เนื้อแตงโม นอกจากจะมีรสหวานแล้ว ยังมีสรรพคุณในการเป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยในการย่อย แถมยังทำให้เจริญอาหาร เพิ่มความสดชื่นให้แก่ชีวิต และขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างหมดจด สำหรับผู้ป่วยโรคไตอักเสบเรื้อรัง สามารถนำเปลือกแตงโมมาต้ม และเคี่ยวจนข้น เพื่อนำมาช่วยบรรเทาอาการโรคได้

 

ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีสารต้านมะเร็งสูงคือ

1. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก

2. มะเขือเทศราชินี

3. มะละกอสุก

4. กล้วยไข่

5. มะม่วงยายกล่ำ

6. มะปรางหวาน

7. แคนตาลูปเนื้อเหลือง

8. มะยงชิด

9. มะม่วงเขียวเสวยสุก

10. สับปะรดภูเก็ต

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 โอย! ปวดหลังจัง

 

ศ.เกียรติคุณ นพ.เจริญ โชติกวณิชย์

ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด

Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

 

    อาการ ปวดหลังเกิดได้บ่อยมากไม่น้อยกว่าปวดหัว พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ใช้แรงงานในประเทศอุตสาหกรรม จะต้องเคยปวดหลังอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหรือมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดกับกลุ่มคนวัยทำงานและผู้สูงวัยตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป ที่น่าเป็นห่วงคือนับวันแนวโน้มจะมีผู้ปวดหลังเพิ่มมากขึ้น และจากการรักษาผู้ป่วยมานาน พบว่าอาการปวดหลังมีสาเหตุมากมาย

    - อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับหลัง

    - สาเหตุจากการทำงาน การยกของหนัก

    - นั่งทำงานใช้คอมพิวเตอร์วันละหลายชั่วโมงทำให้ปวดหลัง และปวดคอได้ด้วย

    - จากการเล่นกีฬา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก หมอนรองกระดูกสันหลัง จนปวดหลัง

    - สาเหตุจากโรคต่าง ๆ เช่น การอักเสบของข้อต่อ กระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม

    - สาเหตุจากพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับอวัยวะข้างเคียงกับกระดูกสันหลัง เช่น ไต ตับ ตับอ่อน ลำไส้ อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง  

    - การติดเชื้อ อย่างเช่นวัณโรคกระดูกสันหลัง

    - ในผู้สูงวัย อาจมาจากกระดูกเปราะบาง กระดูกหักยุบ

    - หมอนรองกระดูกสันหลังเลื่อนเคลื่อนกดทับรากประสาทสันหลัง

    - และที่ร้ายสุด คือเนื้องอกหรือมะเร็งกระดูกสันหลัง

 

อาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

    มีตัวอย่างผู้ป่วยที่มาหาหมอด้วยอาการ ปวดหลัง หรือมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของคุณไม่น้อย ลองฟังดู  

 

• ผู้ชายอายุ 35 ปี ก้มยกของหนัก เกิดเสียงดังที่หลังแล้วมีอาการปวดหลังเสียวร้าวลงขา เดินไม่ถนัด ขาชาและอ่อนแรง เป็นอะไรได้บ้าง  

    ผู้ที่ทำงานก้มยกของ หนัก ไม่ระมัดระวังจะมีการเลื่อน หรือการแตกของหมอนรองกระดูกสันหลัง เนื้อหมอนรองกระดูกจะเคลื่อนเข้าไปในท่อไขสันหลัง แล้วกดทับรากประสาทสันหลัง ทำให้ปวดร้าวลงขา น่อง เท้าข้างนั้น พยาธิสภาพเช่นนี้มักเกิดที่กระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว ที่ข้อต่อกระดูกสันหลังระดับ L4-L5,L5-S1 ต้องวิเคราะห์แยกโรคว่าไม่ใช่เกิดจากภาวะการติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เนื้องอกกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังหักยุบ ซึ่งจะมีอาการคล้ายกันได้ การตรวจร่างกายอย่างละเอียด และเอ็กซเรย์ หรืออาจต้องทำการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก(MRI)จะวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง

 

• วัยรุ่นชายอายุ 17-20 ปี หรืออาจมากกว่านี้ มีอาการปวดหลังและหลังค่อย ๆ ค่อมลง เป็นโรคอะไร

    อาจเป็นโรครูมาติสซั่มชนิด หนึ่ง ทางการแพทย์เรียกว่า Ankylosing Spondylitis พบมากในวัยรุ่นเพศชาย เมื่อเกิดโรคนี้จะมีอาการอักเสบที่ข้อต่อกระดูกซี่โครงกับกระดูกสันหลังส่วน หน้า ข้อกระดูกเชิงกราน ข้อกระดูกสันหลังทั้งด้านหน้าและหลัง ระยะแรก ๆ ของโรคจะมีอาการปวดหลัง บางรายโรคลุกลามถึงข้อสะโพกจนทำให้ข้อสะโพกแข็งได้ และเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายคอจะงอเงยไม่ขึ้น หลังโก่งงอ ตัวแข็ง หายใจได้ไม่เต็มที่ และแทบไม่มีอาการปวดหลังให้ปรากฏเลย กระดูกสันหลังจะแข็งหมดตั้งแต่กระดูกคอถึงกระดูกบั้นเอว  

 

• หญิงวัย 65 ปี รูปร่างท้วม มีอาการปวดหลัง เมื่อลุกเดินไปได้ 50-100 เมตรจะมีอาการปวดหลังร้าวลงสะโพกไปจนถึงน่องจนต้องหยุดพัก เมื่ออาการดีขึ้นแล้วลุกเดินต่อก็จะเป็นอีก แต่เมื่อหยุดพักจะหาย เป็นอาการที่สลับกันเรื่อย ๆ เกิดจากอะไร  

    เกิดจากข้อต่อ กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อหลวม ไม่มั่นคง และเกิดการเลื่อนของกระดูกสันหลังปล่องหนึ่ง(โดยเฉพาะที่ระดับ L4-L5)ไปทางด้านหน้า ทำให้ช่องไขสันหลังตีบแคบ ประสาทสันหลังถูกบีบรัด จึงทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงไปทางด้านหลังสะโพก โคนขา น่อง หรืออาจปวดถึงปลายเท้า โรคที่พบบ่อยคือ degenerative spondylolisthesis อาการเช่นนี้อาจเกิดในผู้ที่มีอายุน้อยกว่านี้ได้ แต่พยาธิสภาพของโรคไม่เหมือนกัน กล่าวคือส่วนหลังของกระดูกสันหลังเกิดแยก ทำให้ส่วนหน้าของกระดูกเลื่อนไปทางด้านหน้า เป็นผลให้ท่อไขสันหลังตีบและเกิดการกดรัดประสาทสันหลังได้  

 

• วัณโรคกระดูกสันหลัง เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการเป็นอย่างไร    

    เกิด จากเชื้อวัณโรคชนิดเดียวกับที่ทำให้เป็นวัณโรคปอด หรือที่ต่อมน้ำเหลือง ต่อมาเชื้อแพร่กระจายไปที่กระดูก โดยเฉพาะกระดูกสันหลังทางระบบท่อน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดดำ เข้าสู่ส่วนหน้าของกระดูกสันหลังส่วนที่อยู่ติดกับหมอนรองกระดูกสันหลัง แล้วเข้าไปทำลายกระดูกและหมอนรองกระดูก เมื่อถูกทำลายมากเข้าจะทำให้กระดูกยุบตัว หลังโก่งงอ มีหนองหรือเศษกระดูก หมอนรองกระดูกเลื่อน และเมื่อเข้าสู่ช่องไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลัง จนทำให้เป็นอัมพาตที่ขา แต่ถ้าเป็นวัณโรคที่กระดูกและเกิดมีพยาธิสภาพเช่นเดียวกันก็จะทำให้เกิด อัมพาตที่แขนได้

    ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคกระดูก มักเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือความต้านทานของร่างกายต่ำ ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหารที่ร่างกายต้องการ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขอนามัย หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มาก ๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นวัณโรคกระดูก โดยเฉพาะกระดูกสันหลังได้มาก แม้ในปัจจุบันจะมียารักษาวัณโรคให้หายขาดได้ แต่ในกรณีที่เป็นจนถึงขั้นอัมพาตต้องผ่าตัดรักษา ซึ่งนอกจากจะช่วยชีวิตแล้วยังแก้ไขความพิการของหลังด้วย

 

• ผู้ป่วยบางคนปวดหลัง แพทย์แนะนำผ่าตัดและให้ใส่โลหะยึดดามกระดูกสันหลัง

     การ ผ่าตัดกระดูกสันหลัง และยึดตรึงด้วยโลหะที่ประกอบด้วยสกรูแกนโลหะ มีการทำค่อนข้างแพร่หลาย บางรายไม่มีความจำเป็นต้องยึดตรึงด้วยโลหะ รายที่ต้องยึดตรึงด้วยโลหะเพราะกระดูกสันหลังเลื่อน หรือเพราะกระดูกและหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับรากประสาท จึงมีความจำเป็นต้องผ่าตัดตัดกระดูกและข้อ รวมทั้งหมอนรองกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาทสันหลังออก แล้วดามกระดูกสันหลังด้วยโลหะพร้อมกับทำการตรึง(spinal fusion)กระดูกส่วนนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นคง ป้องกันการเลื่อนของกระดูก และไม่ให้รากประสาทถูกกดทับอีกต่อไป ซึ่งอัตราการผ่าตัดในโรคกระดูกสันหลังเสื่อม มีเพียงประมาณร้อยละ 10-15 เท่านั้น

 

• มีความจำเป็นต้องรักษาผู้ป่วยปวดหลังด้วยการผ่าตัดทุกรายหรือไม่    

     อาการ ปวดหลังที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด มีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับคนที่ปวดหลังทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของโรคว่าเป็นมากแค่ไหน ซึ่งหากรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัดไม่ได้ผล หรือโรคลุกลามมากขึ้นก็จะเป็นข้อบ่งชี้ว่าต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเลื่อนมากหรือแตกกดทับรากประสาทสันหลัง ปวดร้าวลงขา ขาชาไม่มีแรง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ วัณโรคกระดูกสันหลัง เนื้อกระดูกถูกทำลายมากจนเป็นอัมพาต เนื้องอกที่กระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเลื่อนทับกดประสาทสันหลังจนมีอาการขาชา ไม่มีแรง เป็นต้น

 

ปัจจัย เสี่ยงที่ทำให้ปวดหลัง

     มีหลายอย่าง เช่น ผู้ที่ทำงานหนัก ก้มยกของหนักโดยไม่ระวังตัว จะทำให้กล้ามเนื้อหลังปริขาดเคล็ดยอก หมอนรองกระดูกสันหลังเลื่อน หรือผู้ที่นั่งทำงานนาน ๆ ลักษณะท่าทางไม่ถูกต้อง เช่น ก้มตัวมากอยู่นาน ๆ ก็จะทำให้เกิดอาการนี้ได้ สมัยนี้จะเกิดกับผู้ที่ต้องนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์นาน ๆ ตลอดจนนักกีฬามีแนวโน้มทำให้เป็นโรคปวดหลัง เช่น กระโดดสูง ยกน้ำหนัก เทนนิส รวมทั้งกีฬาที่ต้องปะทะกันอย่างรักบี้ เป็นต้น การสูบบุหรี่ อ้วนน้ำหนักตัวมากเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการมีอาการปวดหลังได้

 

ดูแล ตัวเองเมื่อมีอาการปวดหลัง

     ถ้าปวดหลังจากการยกของหนัก หรือเอี้ยวบิดตัวแรง ๆ เพื่อหยิบของแนะนำให้พักผ่อน ไม่ควรก้มยกของหนักหรือหิ้วของหนักอีก รับประทานยาแก้ปวด คลายกล้ามเนื้อ อาการจะดีขึ้นใน 2-3 วัน แต่ถ้าไม่ได้ผล ปวดมากขึ้น ปวดเสียวร้าวลงขา ควรไปพบแพทย์ แพทย์จะซักถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด อาจต้องเอกซเรย์กระดูกสันหลัง แพทย์มักแนะให้ทำกายภาพบำบัดร่วมกับรับประทานยา แต่ถ้าอาการปวดรุนแรงมากจนมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย อาจต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าช่องไขสันหลัง และถ่ายภาพรังสีดูหรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก(MRI)ในกรณีที่หมอนรองกระดูก สันหลังเคลื่อนทับรากประสาทสันหลัง ถึงขั้นนี้อาจต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแทน

             

     มี วิธีการป้องกันการปวดหลังอื่น ๆ อีก เช่น ลดปัจจัยเสี่ยง หยุดสูบบุหรี่ ลดน้ำหนักตัว การก้ม ยกของหนัก การดึงหรือดันของหนักต้องทำด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และต้องดูแลตนเองให้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ก็จะป้องกันการปวดหลังได้อย่างดี.

 

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=817

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยาหรือ... ระวังนะ! (1)

     

     บทความโดย : ภญ.ชัยวรรณี เกาสายพันธ์ ฝ่ายเภสัชกรรม รพ.ศิริราช

     

     

      การใช้ยาที่ถูกต้องมีความจำเป็นอย่าง ไร เป็นที่รู้กันว่าจะทำให้หายจากความเจ็บป่วย แต่ถ้าเกิดใช้ยาไม่ถูกต้องล่ะ นอกจากจะไม่หายแล้ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด มาดูกันว่าจะใช้ยาอย่างไรถึงได้ผล

     

  #    ข้อแนะนำในการใช้ยาที่ถูกต้อง

      เมื่อผู้ป่วยได้รับยาไป สังเกตที่หน้าซองหรือขวดยาจะมีฉลากยาบอกวิธีใช้ยา ควรอ่านให้เข้าใจก่อนกลับบ้าน เช่น รับประทานอย่างไร เวลาใด จำนวนเท่าไร และควรรับประทานนานแค่ไหน หรือถ้าสงสัยให้ผู้ป่วยถามเภสัชกรที่ห้องยาให้เข้าใจเสียก่อน รอ่านฉลากยาไม่ถี่ถ้วน ไม่เข้าใจ แล้วกินยาผิดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

     

     

#อย่างข้อความที่ผู้ป่วย มักจะใช้สับสนเสมอๆ

      1 เม็ด ก่อนนอน บางคนใช้ทั้งก่อนนอน และกลางวันก็กินด้วยถ้าง่วงนอน ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับยามากเกินไปและอาจเป็นอันตรายได้ ต้องจำไว้ว่า 1 เม็ด ก่อนนอน หมายถึง 1 เม็ดก่อนนอนช่วงกลางคืนเท่านั้น หรือการกินยาแก้ปวด แก้ไข้ จะเขียนไว้หน้าซองว่า กินทุก 4 ชั่วโมง ครบ 4 ชั่วโมง ถึงจะกินซ้ำอีกหนึ่งครั้ง และกินเฉพาะเวลาปวด หรือมีไข้ เมื่อหายแล้วไม่ต้องกิน แต่ถ้าเป็นยาปฏิชีวนะ จะต้องกินยาติดต่อกันทุกวันให้หมด ให้ครบตามที่แพทย์สั่ง อย่ารู้สึกว่าค่อยยังชั่วแล้ว หรืออาการดีแล้วก็หยุดยา เพราะอาจทำให้เกิดการดื้อยาได้ในภายหลัง เช่น หน้าซองเขียนไว้ว่า 1 เม็ด 3 เวลา หลังอาหารและก่อนนอน มียาทั้งหมด 20 เม็ด ก็ต้องกินยาให้ครบ คือรับประทานครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ติดต่อกัน 5 วัน จนยาหมด

     

     

# กรณีที่เป็นหวัด เจ็บคอ คอแดง ได้กินยาปฏิชีวนะแล้วหาย พอเป็นหวัดอีก จะไปซื้อยาตัวเดิมมากินได้หรือไม่

      ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะเราไปซื้อยามา อาจซื้อยาได้ไม่เพียงพอ หรืออาจไม่ใช่โรคหวัดที่เคยเป็น แทนที่จะหาย กลับแย่ลงหรือดื้อยาในภายหลังได้

     

     

# มียาบางตัวเขียนไว้ว่า “ให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ” เพราะเหตุใด

      ยาที่ดื่มน้ำตามมากๆ คือ ยาประเภทซัลฟา โดยทั่วไปเป็นยาที่ตกตะกอนในไตได้ง่าย การที่ดื่มน้ำตาม มาก ๆ จะเป็นการช่วยให้การขับยาออกจากร่างกายได้มากขึ้น ทำให้ไม่เกิดการตกตะกอนในไต

     

     

# ยาที่เป็นผงมีวิธีการใช้ อย่างไร

      ยาผงมีอยู่หลายชนิด หลายรูปแบบ มีทั้งใช้ภายนอกอย่าง ผงโรยแผล หรืออาจเป็นยาที่บรรจุในขวดเล็ก ๆ มีผงอยู่ก้นขวดและมีน้ำคู่กันมา พวกนี้เป็นยาฉีด เวลาที่จะฉีดต้องเอาผงและน้ำผสมกัน ซึ่งพยาบาลจะเป็นคนผสมให้ ส่วนยาผงที่ใช้กิน โดยทั่วไปเป็นยาปฏิชีวนะในรูปผงแห้ง หากผู้ป่วยได้รับยาไป 2 ขวด เราจะผสมน้ำให้ขวดเดียว เพราะหากผสมทิ้งไว้นานเกิน 7 วัน ก็อาจทำให้ยานั้นเสื่อมสภาพได้ ขวดที่ 2 จึงมักให้ผู้ป่วยกลับไปผสมเอง หลังจากกินยาขวดแรกหมดแล้ว

     

     

# ยาผงที่ผสมน้ำแล้ว ควรเก็บรักษาอย่างไร

      ควรเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานไม่เกิน 7 วัน วิธีการผสมยาก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะในบางครั้ง ยาที่เป็นผงบรรจุมาจากโรงงานทิ้งไว้นาน อาจเกาะกันอยู่ก้นขวด ก่อนที่จะผสมยา ควรเขย่าขวดให้ผงยากระจายตัวเสียก่อน แล้วจึงเติมน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ระวังอย่าเติมทีเดียวหมด ให้เติมเศษสามส่วนสี่ก่อนแล้วเขย่า สังเกตดูว่าฟองที่เกิดยุบตัวหมด ค่อยเติมน้ำอีกครั้งให้ถึงขีดที่กำหนด เขย่าอีกครั้งให้ผงยาละลายให้หมด

     

     

# ยาที่เกิดตกตะกอน แยกตัวเป็นชั้น ยังใช้ได้หรือไม่

      ยาที่ตกตะกอน ชนิดกิน ถ้าเราเขย่าแล้วยากระจายตัวได้ดี ไม่แข็งนอนอยู่ที่ก้นขวด สี กลิ่น และรสชาติไม่เปลี่ยน ยังใช้ได้อยู่ แต่ต้องดูวันหมดอายุของยาบนฉลากด้วย แต่จะมียาบางชนิดซึ่งตกตะกอนเร็วมาก ฉะนั้นก่อนใช้ยาจะต้องเขย่าขวดก่อน สังเกตฉลากยาข้างขวด จะมีคำว่า “เขย่าขวดก่อนใช้” ส่วนยาที่ใช้ภายนอกก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน

 

#        แนะนำการกินยาแขวนตะกอน

      เขย่าขวดก่อนกินเสมอ ถ้าเป็นยาที่มีตะกอนหรือแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรดที่ระบุไว้ว่าให้กินก่อนอาหาร หมายถึง ให้กินยาก่อนกินอาหาร 1 ชั่วโมง ถ้าลืมกินก่อนอาหารให้กินหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ยาจะมีประสิทธิภาพมาก เพราะเป็นช่วงที่ท้องว่างและจะช่วยในกรณีผู้ป่วยกินยามากกว่า 1 ชนิด ซึ่งยาอาจทำปฏิกิริยาต่อกันและลดการดูดซึมยาอื่นที่กินร่วมกันได้

     

     

# ทำไมยาบางชนิด ต้องเคี้ยวก่อนกลืน

      มียาบางชนิดที่ให้เคี้ยวก่อนแล้วกลืนพร้อมน้ำ เช่น ยาลดกรด ยาขับลม เพื่อให้ยาที่ถูกเคี้ยวละลายน้ำได้ดี และยากระจายตัวได้ทั่วถึง ทำให้ผลการรักษาดีที่สุด

     

     

# ยาแก้ปวดต่างๆ ยาปวดข้อ กินขณะท้องว่างได้หรือไม่

      ยาแก้ปวดต่าง ๆ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ห้ามกินในขณะท้องว่าง เพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือกระเพาะอาหารเป็นแผล ต้องกินหลังอาหารทันที แต่บางครั้งผู้ป่วยกินอาหารไม่ได้ ขอให้ดื่มน้ำตามยาไปมาก ๆ หรืออาจดื่มนม น้ำข้าวต้มก่อนกินยาพวกนี้ จะช่วยลดอาการระคายเคืองของกระเพาะอาหารได้

     

     

# ยาแก้หวัด แก้แพ้ มีข้อควรระวังในการกินอย่างไร

      ยาแก้หวัด แก้แพ้ มีฤทธิ์ข้างเคียง คือ ทำให้ง่วง ไม่ควรขับรถ หรือทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรจะทำให้เกิดอันตรายได้ รวมทั้งยาป้องกันเมารถ เมาเรือด้วย

     

     

# นอกจากยาแก้หวัด แก้แพ้ มียาใดที่ต้องระวังในการกินอีกหรือไม่

      มียาจำพวกระงับประสาทหรือยานอนหลับ ซึ่งมีข้อควรระวังเช่นเดียวกัน เพราะในบางครั้งผู้ป่วยกินยานี้ดึกมากเกินไป บางทีตื่นขึ้นมาฤทธิ์ยายังไม่หมด ทำให้เกิดอาการมึนงง อาจมีความง่วงเหลืออยู่ จึงต้องระวังเวลาที่ขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร แต่ไม่ว่าจะกินยาประเภทใด ไม่ควรกินพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาดองต่างๆ เพราะแอลกอฮอล์จะไปเสริมฤทธิ์ของยาทำให้เป็นอันตรายได้

     

     

# การใช้ยาภายนอกมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร

      ยาผิวหนัง อาจเป็นน้ำ ครีม ผง หรือขี้ผึ้ง ก่อนใช้ยาประเภทนี้ ต้องให้บริเวณผิวหนังที่จะทายาสะอาดเสียก่อน จึงทาหรือโรยยาลงไป ส่วนยาครีม ขี้ผึ้งให้ทาบาง ๆ การที่ทาหนา ๆ ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ หรือแผลหายเร็วขึ้น ซ้ำเป็นการสิ้นเปลืองเสียอีก

     

     

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคเบาหวาน กับ ภาวะไตวาย

 

  :lol: :wub: :blush:

 

 

โรคเบาหวาน เป็นที่รู้จักกันในหมู่คนทั่วไป โรคนี้เกิดจากความผิดปกติ ในการควบคุมน้ำตาลของร่างกาย ซึ่งเกิดได้จากกลไกหลายอย่าง ขึ้นกับสาเหตุและชนิดของโรค เป็นที่ทราบกันว่าโรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ทางตา หัวใจ และไต เป็นต้น สำหรับโรคไตในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้น เกิดได้ทั้งจากโรคเบาหวานเองโดยตรง และจากภาวะอื่นที่พบในโรคเบาหวาน เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

 

บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ที่เกิดจากโรคเบาหวานโดยตรง โดยมุ่งเน้นการป้องกัน และการรักษาเป็นสำคัญ เพื่อประโยชน์สำหรับ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและญาติ เพราะความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคและวิธีการปฏิบัติ จะช่วยให้การรักษาได้ผล และอาจป้องกัน หรือชลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้

 

ปัจจุบันพบว่า โรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของภาวะไตวาย ในประเทศสหรัฐ อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น พบผู้ป่วยไตวาย ที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ความชุกของโรคไตชนิดอื่นลดลง ประกอบกับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีชีวิตยืนยาวขึ้น สำหรับในประเทศไทยนั้น แพทย์ด้านโรคไต ก็พบผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวาย จากโรคเบาหวาน ในอัตราที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

ภาวะแทรกซ้อนทาง ไตจะเกิดขึ้นเมื่อใด

 

ภาวะแทรกซ้อนทางไต ที่เกิดจากโรคเบาหวานโดยตรง มักเกิดขึ้นหลังเป็นโรคอย่างน้อย 5 ปี แต่ส่วนใหญ่มักเกิดหลัง 15-25 ปี โดยในระยะแรก จะไม่มีอาการใดปรากฏให้ทราบ แม้จากการตรวจเลือด แต่จะทราบได้จากการตรวจปัสสาวะ พบโปรตีนซึ่งมีปริมาณไม่มากในระยะต้น ต่อมาปริมาณโปรตีนจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนอาจมีการสูญเสียโปรตีนในปัสสาวะมาก ทำให้โปรตีนในเลือดลดต่ำลง และผู้ป่วยมีอาการบวมเกิดขึ้น ในช่วงเวลานี้การทำงานของไต อาจยังดีอยู่หรือลดลงเพียงเล็กน้อย ต่อจากนั้นจากทำงานของไต จะลดลงเป็นลำดับจนเกิดภาวะไตวาย ระยะเวลาตั้งแต่ พบโปรตีนในปัสสาวะ จนเกิดภาวะไตวายไม่แน่นอน เฉลี่ย 4-5 ปี ข้อที่น่าสังเกต คือ เมื่อโรคดำเนินมาถึงขั้นที่มีโปรตีนในปัสสาวะมากแล้ว ไม่ว่าจะให้การรักษาด้วยวิธีใด ก็ไม่สามารถยับยั้งการเกิดภาวะไตวายได้ ดังนั้น การป้องกันจึงต้องทำตั้งแต่ระยะต้น ก่อนจะมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ

จะรู้ได้อย่างไร ว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตขึ้นแล้ว

 

ดังได้ กล่าวแล้ว่า ในระยะแรกที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต มักไม่มีอาการ ฉะนั้น จึงรู้ได้จากการตรวจปัสสาวะพบโปรตีนเท่านั้น

ในระยะหลังของโรค จะมีอาการบวม ซึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียโปรตีนทางปัสสาวะ โดยที่ไตยังทำงานได้ หรือ มีการคั่งของเกลือจากภาวะไตวายก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการบวม จึงมิได้แสดงว่าไตวายเสมอไป อาการบวมมักเริ่มที่เท้าก่อน โดยอาจบวมไม่มากในตอนแรกแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนบวมทั่วตัวได้

 

สำหรับอาการที่พบ เมื่อเกิดภาวะไตวายแล้วมีดังนี้คือ คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ขาดสมาธิในการทำงาน ซีด อ่อนเพลีย หายใจหอบลึก ชาตามปลายมือปลายเท้า ตะคริว คันตามตัว ซึม ชัก และหมดสติในที่สุด นอกจากนั้น ในระยะหลังของภาวะไตวาย ปริมาณปัสสาวะจะลดลง และอาจลดลงจนไม่มีปัสสาวะในระยะท้ายสุด

 

ทำไมจึงเกิดภาวะแทรกซ้อน ทางไต

 

ภาวะแทรกซ้อนทางไตในโรคเบาหวาน เป็นผลจากการที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดที่ไต และยังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่เนื้อไตโดยตรงด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งสองอย่างนี้ ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ใด ซึ่งนำไปสู่การมีโปรตีนในปัสสาวะ และภาวะไตวายที่สุด นอกจากนั้น ปัจจัยด้านพันธุกรรม ก็มีบทบาทเสริมให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตด้วย

 

ภาวะแทรกซ้อนทางไตมีแนว โน้มจะเกิดในผู้ใดบ้าง

 

ภาวะแทรกซ้อนทางไต มิได้เกิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทุกคน พบประมาณร้อยละ 10-20 เท่านั้น ผู้ที่มีแนวโน้มจะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ได้แก่

 

1. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 10 ปี และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี

 

2. มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัว

 

3. มีพี่น้องเป็นโรคไตจากโรคเบาหวาน

 

4. มีความดันโลหิตสูงขึ้น กว่าเดิม หรือมีภาวะความดันโลหิตสูง

 

ศ.พญ. สุมาลี  นิมมานิตย์

     

แหล่งข้อมูล : Siriraj E-Public Library - www.si.mahidol.ac.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สระว่ายน้ำอันตราย แหล่งเชื้ออะมีบา เหตุเยื่อหุ้มสมองอักเสบคร่าชีวิตเด็ก 10 ขวบ

 

Medical Upgrade - บทความพิเศษ

 

 

5119.jpg

 

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบาสุดอันตราย สำลักน้ำเพียงครั้งเดียว เชื้ออะมีบาเข้าสู่สมองคร่าชีวิตเด็กน้อยภายในไม่กี่วัน เตือนเชื้ออะมีบานี้มีมากในสระว่ายน้ำ สวนน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน แหล่งน้ำธรรมชาติที่น้ำนิ่งไม่มีการไหลเวียน เตือนคุณพ่อคุณแม่ระมัดระวังหากพาลูกหลานไปเล่นน้ำตามสถานที่ต่างๆ

อุทาหรณ์ เยื่อหุ้มสมองอักเสบคร่าชีวิตเด็กน้อย

 

เหตุการณ์เศร้าสลดที่เกิดขึ้นกับเด็กน้อย วัยเพียง 10 ขวบ ที่มีสมาชิกมาโพสต์เรื่องราวไว้ในเว็บไซต์ pantip ทำให้คุณพ่อคุณแม่จำนวนมากวิตกกังวลเกี่ยวกับการพาลูกไปเล่นน้ำในสวนน้ำ สวนสนุก หรือสระว่ายน้ำ

 

เรื่องราวอันน่าเศร้านี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ เด็กน้อยคนนี้ไปเที่ยวสวนสนุกที่มีสวนน้ำแห่งหนึ่ง เด็กน้อยเล่นน้ำอย่างสนุกสนานและสำลักน้ำเพียงครั้งเดียว เมื่อกลับมาบ้านเกิดอาการเป็นไข้ ตัวร้อน คุณพ่อคุณแม่พาไปพบแพทย์ คุณหมอตรวจรักษาและบอกว่าน้องเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คาดว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากการสำลักน้ำแล้วมีเชื้อโรคเข้าไปทำลายเยื่อหุ้ม สมอง เด็กน้อยรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพียง 4-5 วัน ก็เสียชีวิตลง

รู้จักโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

 

โรคเยื่อหุ้ม สมองอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่หากเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดการติดเชื้อจากน้ำนั้น นพ.สมจิต ศรีอุดมขจร กุมารแพทย์ด้านประสาทวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้ออะมีบา เมื่อเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจแล้ว จะเข้าไปทำให้เยื่อหุ้มสมองและเนื้อสมองอักเสบ

 

“เชื้ออะมีบานี้พบได้ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วย หนอง คลอง บึง ที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง หรือในสระว่ายน้ำที่ไม่มีการทำความสะอาดบำบัดน้ำอย่างได้มาตรฐาน ไม่มีการเปลี่ยนน้ำเติมคลอรีน หรือมีสิ่งสกปรก เศษใบไม้หล่นลงไปหมักหมม แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลกับโรคนี้มากเกินไป เพราะโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบานี้พบได้น้อยมาก เพราะโอกาสที่เชื้ออะมีบาจะเข้าสู่ร่างกายนั้นมีโอกาสน้อยจริงๆ และหากสระว่ายน้ำเป็นสระที่ได้มาตรฐานก็ไม่ต้องกังวลมากเกินไป”

ทั้งนี้ นพ.นพ สมจิต แนะนำว่า โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้ออะมีบานี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค การป้องกันทำได้โดยระมัดระวังการสัมผัสกับสิ่งที่สงสัยว่ามีเชื้ออะมีบา เช่น การว่ายน้ำหรือสัมผัสน้ำที่อาจมีเชื้อ และหากพบว่าบุตรหลานป่วยเป็นไข้หลังจากไปว่ายน้ำ ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และรีบพาไปพบแพทย์

ตรวจสอบมาตรฐานสระว่ายน้ำ

 

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าสระว่ายน้ำนั้นได้มาตรฐาน ทั้งนี้สระ ว่ายน้ำ สวนน้ำ หรือสวนสนุกที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสระว่ายน้ำเป็นกิจการถูกควบคุมตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ซึ่งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสาธารณสุขตาม “คำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ฉบับที่ 1 ปี 2550” อาทิ ควบคุมการใส่คลอรีนในสระว่ายน้ำต่างๆ ให้ได้มาตรฐาน ให้มีระดับคลอรีนตกค้างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนดคือ 1 ส่วน ต่อน้ำ 1 ล้านส่วน (1พีพีเอ็ม) และทำความสะอาดห้องอาบน้ำ ห้องผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องแต่งตัว ที่เก็บของ อ่างล้างมือ ที่ล้างเท้า เครื่องเล่นและอุปกรณ์ประจำสระว่ายน้ำทุกวัน ฯลฯ

อย่างไรก็ตามหากคุณ พ่อคุณแม่ผู้ปกครองมีความสงสัยในมาตรฐานของสระว่ายน้ำที่ใช้อยู่เป็นประจำ สามารถร้องขอให้เจ้าของสระว่ายน้ำเก็บตัวอย่างน้ำส่งให้ศูนย์ห้องปฏิบัติการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขทดสอบหาค่าความปลอดภัยของคุณภาพน้ำเพื่อสร้างความมั่นใจให้ ผู้ใช้บริการ

 

หากผู้ใช้บริการสระว่ายน้ำมีส่วนช่วยในการตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพน้ำในสระด้วยการสอบถามหรือตรวจดูข้อมูลของสระว่ายน้ำที่ไปใช้ บริการเป็นประจำก็จะช่วยให้สระว่ายน้ำมีความปลอดภัยไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ โรคต่างๆ ไม่เฉพาะโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่ยังป้องกันอีกหลายโรค เช่น โรคมือ เท้า ปาก โรคเยื่อตาอักเสบ หูอักเสบ โรคผิวหนัง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร เป็นต้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.pantip.com/cafe/family/topic/N9175835/N9175835.html

 

http://www.momypedia.com

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทุกข์บำบัดได้ ด้วยสัตว์เลี้ยง

  dog.jpg

 

 

มีประโยชน์ต่อร่างกาย และจิตใจ

 

 

 

ในปัจจุบันคง ปฏิเสธไม่ได้ว่าสัตว์เลี้ยงได้เขามามีส่วนสำคัญกับชีวิตของคนเรามากขึ้น เนื่องจากว่าสภาพสังคมของเรานั้นได้เปลี่ยนแปลงไป จากครอบครัวใหญ่ที่มีสมาชิกหลายคนมาเป็นครอบครัวเดี่ยว จากสังคมชนบทมาเป็นสังคมเมือง เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไปจากเดิมจึงทำให้มีผลต่อสภาพจิตใจของคน เกิดความเหงา ความเครียดขึ้นมาได้ สิ่งหนึ่งที่จะเข้ามาทดแทนและดูแลจิตใจได้ดีที่สุดก็น่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว ปลา

 

 

         มนุษย์รู้จักนำสุนัขมาเป็นสัตว์เลี้ยงในครอบครัวเมื่อประมาณ 12,000 ปีมาแล้ว ส่วนแมวได้เริ่มเข้ามามีชีวิตในบ้าน เมื่อ 5,000 ปีมานี้เอง นักจิตวิทยามักจะถามว่า เหตุใดคนเราจึงนิยมมีสัตว์เลี้ยง

 

 

         คำตอบหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับคือว่า การมีสัตว์เลี้ยงเป็นการตอกย้ำความรู้สึกตามธรรมชาติของคนว่ามีความรัก และหวังดีต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

 

         ในรัชสมัยของพระนางวิกตอเรีย รัฐบาลอังกฤษ ได้เคยออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ให้รอดพ้นจากการถูกเฆี่ยนตี ก่อนที่จะมีกฎหมายคุ้มครองเด็กเสียอีก

 

 

         ทั้งนี้ สถิติการสำรวจในอเมริกาพบว่า คนอเมริกันเลี้ยงสุนัข 60 ล้านตัว แมว 55 ล้านตัว ประธานาธิบดี Bushเลี้ยงสุนัข Clinton เลี้ยงแมว และถึงแม้สัตว์เหล่านี้จะสร้างความรำคาญ และนำโทษมาให้เป็นครั้งคราว เช่น พยาธิ psittacosis ซึ่ง ทำให้เกิดอาการไข้หวัดก็มักจะมาจากนก พยาธิตัวกลมมักจะมาจากอจุจาระแมว แต่คนที่มีเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ก็ต้องยอมทน เพราะเขาได้รับมิตรภาพอันอบอุ่นจากสัตว์เป็นสิ่งตอบแทน

 

 

         ปัจจุบันนี้มีงานวิจัยหลายชิ้น ที่กำลังแสดงให้เห็นว่า สัตว์เลี้ยงนอกจากให้ความเป็นเพื่อนแก่คนเลี้ยงแล้ว มันยังอำนวยประโยชน์ด้านอื่น ๆ อีก เช่น E. Fried mann แห่ง City University of New York พบว่า คนไข้โรคหัวใจที่มีสัตว์เลี้ยงมีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่า คนที่ไม่เลี้ยงอะไรเลยถึง 3% เขาพบว่า สัตว์เลี้ยงช่วยลดความดันโลหิตให้กับเจ้าของ

 

 

         และเมื่อไม่นานมานี้เอง นักจิตวิทยาชาวอังกฤษผู้หนึ่งพบว่า คนที่เลี้ยงแมวหรือสุนัข มักจะไม่เป็นโรค ปวดหัวหรือปวดหลัง และคนที่มีสัตว์เลี้ยงจะมีโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่าคนที่ไม่มี นั่นก็หมายความว่าหมา และแมวทำให้เจ้าของมีโอกาสเป็นโรคหัวใจน้อย เหตุที่เป็นเช่นนี้ นักจิตวิทยา J.Serpell อธิบายว่า คงเป็น เพราะคนที่เลี้ยงสัตว์จะต้องพามันออกกำลังกาย เขาจึงต้องเดินออกกำลังกายไปด้วย สุขภาพร่างกายโดยทั่วไป ของเจ้าของจึงดี

 

 

         นอกจากนี้ นักจิตวิทยาเชื่อว่า สัตว์เลี้ยงมีบทบาทช่วยในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับผู้เลี้ยง เพราะถึงแม้มันจะพูดไม่ได้ มันก็ไม่เคยโกหก ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์เจ้าของ มันนั่งฟัง มันเข้าใจ มันไม่ถาม ไม่สงสัย มันซื่อสัตย์ มันจึงเป็น "เพื่อน" ที่จำเป็นมากสำหรับคนบางคน นักจิตวิทยาหลายคนกำลังใช้วิธีหาหมาหรือแมวให้กับคนไข้ที่ป่วยทางจิตใจ เพราะหมาหรือแมวเหล่านี้แสดงความเป็นเพื่อนกับคนได้มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น มันรู้จักเคล้าแข้ง เคล้าขา มันนั่งเฝ้าระวังขโมยและมันเชื่อฟังมากเสียจนทำให้คนเลี้ยงรู้สึกว่า ตัวเองเป็นที่น่ายกย่อง เป็นที่ชื่นชม และเป็นที่ต้องการ ในแง่นี้สัตว์เลี้ยงจึงทำ หน้าที่เติมความมั่นใจในตนเองให้กับผู้เลี้ยง ทำให้เขามีความรู้สึกที่ดี รู้สึกสู้กับความกดดันภายนอก

 

 

         ในเมื่อสัตว์เลี้ยงดีถึงปานนี้แล้ว เหตุไฉนบ้านทุกบ้านจึงไม่มีสัตว์เลี้ยงด้วยเล่า สำหรับเรื่องนี้นักจิตวิทยาพบว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กมักจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของชีวิตในวัยผู้ใหญ่ เด็กใดที่ได้รับการเลี้ยงดูมากับสัตว์เลี้ยง เวลาโตขึ้นเขาก็มักจะนิยมนำสัตว์มาเลี้ยง เด็กใดที่พ่อแม่ไม่เคยเลี้ยงอะไรเลย เวลาเติบใหญ่ก็มักจะไม่เลี้ยงอะไรเลยเหมือนกัน นักจิตวิทยายังตั้งข้อสังเกตอีกว่า คนใดที่มีสัตว์เลี้ยงตามปกติแล้วก็มักจะมีจิตใจที่สงสารและเอื้ออาทรต่อสิ่ง แวดล้อมต่อสัตว์ และเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากกว่าคนที่ไม่มีสัตว์เลี้ยง

 

 

ใครที่ยังห่าง ไกลจากสัตว์เลี้ยงก็ลองหาโอกาสได้ใกล้ชิดซะแล้วจะได้รู้ว่า ของเค้าดีจริง

 

ที่มา:โลกสัตว์เลี้ยง

http://www.thaihealth.or.th/node/15504

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

" ส้นสูง " สวยแต่อันตราย

 

 

5206.jpg

 

คุณผู้หญิงที่ชื่นชอบการใส่ส้นสูง เพื่อความสวยสง่านั้น ทราบกันหรือไม่ว่าอาจมีอันตรายต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของเท้าซ่อนเร้นอยู่ การใส่รองเท้าส้นสูงไม่เพียงทำให้เกิดอันตรายต่อบริเวณข้อเท้า เช่น การลื่นหกล้ม ทำให้เกิดข้อพลิก อย่างที่คุณผู้หญิงทราบกันดีอยู่แล้วเท่านั้นนะครับ แต่เนื่องจากลักษณะของรองเท้าที่เป็นที่นิยมของคุณผู้หญิงทั้งหลายมักจะเป็น รองเท้าส้นสูงที่มีบริเวณปลายรองเท้าแคบ ผลที่ตามมาก็คือทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่อบริเวณโคนหัวแม่เท้า จนทำให้นิ้วหัวแม่เท้ามีลักษณะผิดรูปและทำให้เกิดอาการเจ็บปวด

 

โรคนิ้วหัวแม่เท้าเกออกด้านนอก หรือที่เรียกกันว่า bunion เป็นความผิดปกติของโคนนิ้วหัวแม่เท้ามีลักษณะของนิ้วหัวแม่เท้าชี้เกออกไป ด้านข้าง ร่วมกับการเกิดก้อนนูนที่บริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้าด้านใน ซึ่ง bunion เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดอาการปวดและทำให้สวมใส่รองเท้าลำบาก โดยส่วนมากจะพบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

"รองเท้า" ต้นเหตุหลักของปัญหา

 

โดยปกติเท้าของเราจะประกอบไปด้วยกระดูก กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออ่อนที่ห่อหุ้มกระดูกอยู่ เมื่อสวมใส่รองเท้าที่มีการบีบรัดกันมากๆ เป็นระยะเวลานานๆ ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติที่บริเวณนิ้วเท้าได้ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่มีแรงกดผิดปกติร่วมกับการเสียดสีที่กระทำกับ นิ้วเท้า ซึ่งส่วนของกระดูกที่นูนขึ้นมามากกว่าส่วนอื่นจะมีโอกาสได้รับอันตรายมากที่ สุด เช่น บริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า ทั้งนี้อาการส่วนใหญ่มักจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปใช้ระยะเวลานาน

 

นอกจากนี้ บริเวณผิวหนังที่มีการตอบสนองต่อการเสียดสีเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดส่วนของผิวหนังที่ด้านหนา (callus) ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดมากยิ่งขึ้น เมื่อสวมใส่รองเท้าที่บีบรัดมากขึ้นก็จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น

 

จะเห็นได้ว่า ตัวการที่ทำให้เกิดปัญหาคือ "รองเท้า" โดยเฉพาะแบบที่บีบรัดตรงบริเวณปลายเท้ามากๆ หรือในรองเท้าส้นสูงที่ทำให้น้ำหนักของร่างกายทิ้งไปตรงบริเวณส่วนปลายเท้า มากขึ้น จึงทำให้เกิดการผิดรูปของโคนนิ้วหัวแม่เท้ามากยิ่งขึ้น

“ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” วิธีหลักของการรักษา

 

การรักษาส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสวมใส่รองเท้า โดยเลือกรองเท้าที่ไม่มีการบีบรัดมากเกินไปและไม่ใช่รองเท้าส้นสูง เลือกรองเท้าที่มีส่วนของบริเวณปลายนิ้วเท้ากว้างมากขึ้นปรับให้เหมาะสมกับ สภาพของเท้า ซึ่งอาจช่วยไม่ให้เกิดการผิดรูปของบริเวณนิ้วเท้ามากขึ้น และช่วยลดอาการปวดอันเกิดจากการที่มีแรงกดกระทำต่อบริเวณโคนนิ้วเท้าอัน เนื่องมาจากรองเท้าที่สวมแน่นเกินไป เนื่องจากรองเท้าที่มีหน้ากว้างจะช่วยลดแรงกดที่กระทำต่อบริเวณโคนนิ้วเท้า ที่มีการอักเสบได้

 

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดมากอาจใช้วิธีการทำกายภาพบำบัด เช่น การประคบด้วยความเย็นหรือความร้อน รวมทั้งการให้ยาแก้ปวดลดอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ถ้าการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล และผู้ป่วยยังมีอาการปวดอยู่ ก็อาจทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อตัดส่วนที่เป็นก้อนนูนออก จัดแนวกระดูกให้ตรง และทำให้กล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ข้อนิ้วหัวแม่เท้ามีความสมดุลกัน

 

อย่าง ไรก็ตามวิธีการที่ดีที่สุดก็คือการป้องกัน โดยการหลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าส้นสูงที่มีส่วนของปลายเท้าแคบ ควรสวมใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดีไม่คับ ปลายรองเท้ากว้าง ไม่บีบรัดนิ้วเท้า เพียงเท่านี้คุณก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ้วเกออกทางด้านข้างได้

 

เรื่อง : นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์

 

ข้อมูล : http://www.healthtoday.net/thailand/women/women_110.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กินโยเกิร์ตระงับกลิ่นปาก

 

แถม ยังช่วยให้หน้าสวยเด้ง

 

 

            กลิ่น ปาก ใช่ว่าเรื่องเล็ก ต่อให้รูปสวย รวยทรัพย์ แต่ปากเหม็น ก็หมดกัน คุณ เคนอิชิ โฮโจ และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสึรูมิ ในเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการวิจัยและพบว่า แบคทีเรียที่อยู่ในโยเกิร์ต โดยเฉพาะแบคทีเรียชนิด Streptococcus thermophilus และ Lactobacillus bulgaricus อาจ มีผลต่อแบคทีเรียที่ เป็นเหตุให้เกิดกลิ่นเหม็นในปาก ของคนเราได้

 

border-08_0.jpg

 

            โดยจากการทดลองพบว่า การกินโยเกิร์ตเป็นประจำทุกวัน วันละ 6 ออนซ์ (ประมาณ 1 ถ้วย) จะช่วยลดปริมาณสารที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในปาก อย่างเช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์

 

            นอกจากนี้ ในบรรดาผู้ที่ชอบกินโยเกิร์ตนั้น มักจะมีปริมาณคราบแบคทีเรียบนผิวฟัน (plaque) และอาการของโรคเหงืออักเสบ น้อยกว่าคนทั่วไป

 

            แม้ว่าจำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยมากกว่านี้เพื่อยืนยันผลที่ได้ แต่นักวิจัยก็อ้างว่า การกินโยเกิร์ตน่าจะเป็นวิธีที่ดีและปลอดภัยในการป้องกันปากเหม็น

 

            ข้อมูลเพิ่มเติมสุขภาพดีด้วย โยเกิร์ตแหล่งพลังงานจากนม

 

 

            นม ๆ ปัจจุบันนี้นมถูกปรับเปลี่ยนไปใช้ในรูปแบบที่ต้องการ ทั้งในด้านการบริโภค อุปโภค จนกระทั้งปัจจุบันนี้ถูกปรับมาเป็นเครื่องสำอาง เพราะในตัวของน้ำนมอุดมไปด้วยต่างๆ มากมายในตัวของนม

 

 

            โดยถ้าพูดไปแล้ว โยเกิร์ตก็คือนมสดที่นำมาหมักกับเชื้อจุลินทรีย์ จนน้ำตาลแลกโตสในนมเปลี่ยนเป็นกรดแลคติก ทำให้นมมีรสเปรี้ยวและมีความข้นขึ้นจนเป็นลิ่ม การกินโยเกิร์ตเป็นประจำจะช่วยให้ลำไส้มีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ช่วยแก้อาการท้องเสียเรื้อรังได้

 

 

            ซึ่งในการกินโยเกิร์ตนั้นให้สารอาหารครบถ้วนเหมือนการดื่มนม แต่ไม่ทำให้ท้องเสียเหมือนที่บางคนมักเป็นเวลาดื่มนม นอกจากนั้นโยเกิร์ตยังมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สูงขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างสารแอนติบอดี้ และเพิ่มปริมาณสารอินเฟอร์รอน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค

 

 

            โดยในตัวของโยเกิร์ตยังมีสารไขมันธรรมชาติมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ที่เรียกว่าพรอสตาแกลนดิน อี 2 (Prostaglandin E2) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องผนังกระเพาะจากสารกระตุ้นต่างๆ

 

เช่น แอลกอฮอล์และบุหรี่ เพราะฉะนั้น แทนที่จะปล่อยให้ท้องว่าง ก็กินโยเกิร์ตรองท้องสักถ้วยก็คงดี และการกินโยเกิร์ตยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็งบริเวณเนื้อเยื่อ กระดูก และช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ นอกจากนั้นยังช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งได้อีกด้วย

 

 

            ปิดท้ายด้วยการแถมสูตรพอกหน้าด้วยโยเกิร์ตให้กับสาวๆ ขั้นแรกล้างหน้าให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง แล้วนำโยเกิร์ตชนิดที่ไม่ผสมเนื้อผลไม้มาพอกให้ทั่วผิวหน้า เว้นรอบปากและดวงตา นวดและคลึงเบาๆ พอกไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออก ทำเช่นนี้สัปดาห์ละ 3 ครั้ง รับรองผิวหน้าจะเปล่งปลั่งสดใสแน่นอน

 

            โยเกริ์ตถึงจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากนมแต่ยังเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทาง สารอาหารเพียบที่ช่วยบำรุงผิวพรรณและสมอง

 

ที่ มา: เฮลล์คร์อนเนอร์

 

http://www.thaihealth.or.th/node/14331

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิจัยพบสารต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ในบัว บก-ตะไคร้

 

300.jpg

 

คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เผยผลวิจัยพบสารต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ในบัว บกและตะไคร้ โดยมีฤทธิ์ป้องกันและยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง...

 

วัน ที่ 29 พ.ค. 2553 ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยถึงการวิจัยศึกษา และ พัฒนาผลิตภัณฑ์ จากบัวบกตะไคร้ที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ว่า จากการทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากบัวบก และ ตะไคร้ต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูขาว พบว่า สารสกัดจากบัวบกและตะไคร้มีฤทธิ์ป้องกัน และยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างดี โดยกลุ่มหนูขาวที่ถูกกระตุ้นให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลังจากการได้รับสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในอาหารประเภทปิ้ง-ย่าง ตรวจพบจำนวนเซลล์ก่อมะเร็งขนาดใหญ่ และ มีเซลล์มะเร็ง ที่มีลักษณะเป็นเซลล์ร้าย และ ลุกลาม ขณะที่กลุ่มหนูขาว ซึ่งได้รับสารสกัดจากใบบัวบกหรือตะไคร้ไม่ว่าก่อนหรือหลัง ถูกกระตุ้นให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบจำนวนเซลล์ก่อมะเร็งลดลงถึง 60% โดยเซลล์มีขนาดเล็กกว่า และ ยังไม่เกิดการลุกลาม นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า ในสารสกัดบัวบก มีสารสำคัญอย่างน้อยหนึ่งตัว คือ กรดอะเซียติก (Asiatic acid) ที่อาจเป็นสารออกฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งเกิดการทำลายตัวเอง ส่วนสารสกัด จากตะไคร้นั้น พบสารสำคัญ คือ ซิทรอล (citral) ที่มีฤทธิ์หยุดวงจรการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งแรกสำหรับคุณสมบัติข้อนี้ของตะไคร้

 

ศ.ดร.อุษณี ย์ กล่าวว่า เพื่อให้สามารถกำหนดปริมาณในการบริโภคสารสกัดจากบัวบกหรือตะไคร้ สำหรับป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิผล ทีมวิจัยยังได้เจาะเลือดหนูขาวมาทำการศึกษาวัดอัตรา และ ขอบเขตการออกฤทธิ์ของสารออกฤทธิ์ภายหลังการป้อนสารสกัดมาตรฐานจากบัวบกหรือ ตะไคร้ โดยพบว่า หนูขาวสามารถดูดซึมสารสำคัญได้ในเวลา 10 นาทีและ เพิ่มปริมาณสูงสุด ที่เวลา 1 ชั่วโมง จากนั้น สารสกัดจะค่อยๆ ลดลงจนระทั่งหายไปจากซีรั่มภายใน 6 ชั่วโมง ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้คำนวณสำหรับวางแผนวิจัยเชิงคลินิกในอาสาสมัคร สำหรับหาปริมาณการบริโภคที่เหมาะสมในมนุษย์ต่อไป โดยหลังจากนี้จะอยู่ในขั้นตอนของการเผยแพร่เทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนเพื่อนำไป ต่อยอดผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพทางเลือกใหม่ที่จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ต่อไปในอนาคต

 

http://www.thairath.co.th/content/edu/86055

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกร็ดควรรู้เมื่อไปตรวจสุขภาพ/ เอมอร คชเสนี

 

โดย เอมอร คชเสนี 1 กุมภาพันธ์ 2553 10:35 น.

   

      เมื่อจะไปตรวจสุขภาพประจำปี เราควรเตรียมตัวและปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งจะมีผลต่อการตรวจ โดยมีข้อปฏิบัติต่างๆ ดังนี้

     

      - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดนอนก่อนวันตรวจสุขภาพ

     

      - หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มกาเฟอีนโดยเฉพาะในวันก่อนตรวจ

 

- งดอาหารและน้ำ 8-12 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด หากต้องการตรวจเฉพาะระดับน้ำตาลในเลือด ควรงดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่หากต้องการตรวจระดับไขมันในเลือดด้วย อาจต้องงดถึง 12 ชั่วโมง

     

      - การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน บางกรณีแพทย์จะระบุว่าไม่จำเป็นต้องงดอาหาร

     

      - ควรไปถึงโรงพยาบาลในช่วงเช้า เพื่อไม่ให้ร่างกายอิดโรยเกินไป เพราะงดน้ำและอาหารมาหลายชั่วโมงแล้ว

     

      - สวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน

     

      - หากต้องตรวจภายในควรสวมกระโปรง และควรตรวจก่อนหรือหลังมีประจำเดือน 7 วัน

     

      - หากทดสอบสมรรถภาพของหัวใจด้วยการวิ่งบนสายพาน (Exercise Stress Test) ควรสวมเสื้อผ้าและรองเท้าที่เคลื่อนไหวสะดวก

     

      - นั่งพักให้หายเหนื่อยก่อนตรวจวัดความดันโลหิต

     

      - เมื่อเจาะเลือดแล้ว ควรใช้นิ้วมือกดเบาๆ ลงบนพลาสเตอร์ที่ปิดไว้ตรงตำแหน่งที่เจาะ ประมาณ 5 นาที จนกว่าเลือดจะหยุดไหล ไม่จำเป็นต้องพับแขน และไม่ควรนวดคลึงบริเวณที่เจาะเลือด เพราะอาจทำให้เป็นรอยช้ำได้

     

      - ผู้ที่มีประวัติเขียวช้ำง่าย หรือเจาะเลือดแล้วเกิดรอยช้ำเสมอ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเลือดหรือโรคที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้ไม่ดี เมื่อเจาะเลือดแล้วให้กดนิ่งๆ ไว้นานกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อให้แน่ใจว่าเลือดหยุดแล้วจึงไปทำกิจกรรมอื่น

     

      - ทำความสะอาดบริเวณภายนอกอวัยวะขับถ่ายด้วยน้ำสะอาดก่อนเก็บปัสสาวะ

     

      - การใช้ทิชชูเช็ดทำความสะอาด อาจทำให้ปนเปื้อนเชื้อโรคจากทิชชูได้

     

      - เก็บปัสสาวะช่วงกลาง คือปล่อยปัสสาวะช่วงต้นทิ้งไปเล็กน้อย และทิ้งปัสสาวะช่วงสุดท้ายไป

     

      - กรณีที่ต้องการถ่ายอุจจาระ หรือต้องเก็บอุจจาระด้วย ควรเก็บปัสสาวะก่อน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน

     

      - หากมีประจำเดือนควรเลื่อนการตรวจร่างกายไปก่อนจนกว่าจะหมด การตรวจปัสสาวะขณะมีประจำเดือน จะมีเม็ดเลือดแดงปน ซึ่งมีผลต่อการอ่านค่า

     

      - กรณีเก็บอุจจาระ ควรถ่ายลงบนโถที่แห้งก่อนใช้ไม้หรือช้อนพลาสติกป้ายตัวอย่างอุจจาระขนาด ประมาณหัวแม่มือใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้ หากถ่ายลงน้ำอาจทำให้อุจจาระถูกเจือจางด้วยน้ำ ซึ่งมีผลต่อการตรวจ

     

      - หากสังเกตเห็นอุจจาระที่ผิดปกติ เช่นมีมูกสีขาว หรือมีสีแดงหรือดำคล้ายเลือด ควรป้ายบริเวณนั้นมาตรวจด้วย

     

      - ตรวจสอบชื่อ นามสกุล บนภาชนะที่เก็บเลือด ปัสสาวะ และอุจจาระให้ดีว่าถูกต้องแล้ว

     

      - หากสงสัยว่าตั้งครรภ์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจร่างกาย หากตั้งครรภ์ไม่ควรเอกซเรย์

     

      - ถอดเสื้อ เสื้อชั้นใน และเครื่องประดับที่เป็นโลหะก่อนเอกซเรย์

     

      - บางโรงพยาบาลได้ยกเลิกการเก็บฟิล์มเอกซเรย์ โดยแพทย์สามารถเรียกดูภาพจากห้องตรวจผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หากต้องการฟิล์มเอกซเรย์กลับบ้าน อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

     

      - การตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) ควรตรวจก่อนหรือหลังมีประจำเดือน 7 วัน งดทาแป้ง โลชั่น ครีม และโรลออน บริเวณเต้านมและรักแร้ในวันตรวจ และควรงดอาหารไขมันสูงก่อนตรวจ 3 วัน

     

      - การตรวจมะเร็งปากมดลูก ห้ามสอดยา เหน็บยา หรือสวนล้างภายในช่องคลอด และงดมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันตรวจ

     

      - ก่อนตรวจลำไส้ใหญ่ 2 วัน ควรรับประทานอาหารอ่อนและมีกากน้อย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ไข่ ปลา น้ำเต้าหู้ และควรงดผัก ผลไม้ และต้องรับประทานยาระบายหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอนเป็นเวลา 2 วัน

     

      - การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน ควรงดน้ำและอาหารก่อนทำ 6 ชั่วโมง หากกระหายน้ำ ให้จิบน้ำได้เล็กน้อย

     

      - การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนล่างหรือมดลูก ควรดื่มน้ำมากๆ และอย่าเพิ่งปัสสาวะก่อนตรวจ

     

      - การตรวจบางอย่างอาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะทราบผล เช่น ตรวจโรคธาลัสซีเมีย ตรวจมะเร็งปากมดลูก

     

      - หากผลการตรวจไม่ปกติและต้องมีการตรวจรักษาเพิ่มเติมไปจากโปรแกรมการตรวจ สุขภาพ ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

     

      - นอกจากการตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปีแล้ว ยังมีการตรวจพิเศษก่อนแต่งงาน เพื่อตรวจหาโรคเลือดทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส ตับอักเสบจากไวรัสบี และเอชไอวี และตรวจว่ามีภูมิต้านทานต่อหัดเยอรมันหรือไม่ หากยังไม่มี ควรฉีดวัคซีนป้องกัน เนื่องจากหากติดโรคระหว่างตั้งครรภ์ อาจจะทำให้ทารกพิการได้

     

      - สำหรับผู้ที่ต้องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ไม่ทราบประวัติการติดเชื้อหรือการได้รับวัคซีนที่ชัดเจน อาจจะตรวจหาเชื้อและ/หรือภูมิต้านทานต่อโรคตามความเหมาะสม ส่วนผู้ที่จะไปศึกษาต่อหรือทำงานต่างประเทศ อาจต้องฉีดวัคซีนหรือตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโรคบางโรค

     

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฟันสึก

 

 

 

ฟันเป็นอวัยวะที่ทำ งานหนัก ต้องใช้เคี้ยวอาหารทุกวันไม่มีวันหยุด เรารับประทานอาหารทุกวันวันละ 3 มื้อ ฟันย่อมต้องมีการสึกหรอไปตามกาลเวลา ในความเป็นจริงแล้ว ฟันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นฟันเสียหายจากการเป็นโรค เช่น ฟันผุ โรคเหงือก ฟันเสียหายจากสารเคมีที่แฝงมาในอาหาร เช่น สภาพกรดในอาหารที่มีรสเปรี้ยว กรดที่มาจากเครื่องดื่มน้ำอัดลม ฟันเสียหายจากการเสียดสี เช่น การกัดฟันนอน การแปรงฟันผิดวิธี หรือแม้แต่ฟันเสียหายจากอุบัติเหตุ

 

ฟันสึกเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สร้างความเสียหายกับตัวฟัน โครงสร้างฟัน และอาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันหรือปวดฟันได้

ลักษณะฟันสึกที่พบบ่อย ได้แก่

   * สึกที่คอฟัน

   * สึกที่ยอดฟันหรือด้านบดเคี้ยว

 

ฟันสึกที่คอฟัน มักเกิดจากการเสียดสี เช่น การแปรงฟันที่ผิดวิธี โดยปกติเราจะปัดขนแปรงไปในทิศทางของซี่ฟันและหนีเหงือก เช่น ฟันล่างจะปัดขึ้นบน ฟันบนจะปัดลงล่าง แต่หากปัดสวนทางดังกล่าว ผลคือเหงือกจะถูกกระแทกและบ่อยครั้งก็จะเกิดเหงือกร่น รากฟันจะโผล่ ทำให้ฟันสึกง่ายขึ้น และอีกประเด็นที่เรามองข้ามคือ การแปรงฟันในทิศทางแนวนอนเหมือนเลื่อยต้นไม้ ซึ่งเรารู้สึกว่าสะอาด แปรงได้ถนัดกว่า แต่จริงๆ แล้วจะทำให้คอฟันสึกมากขึ้น เห็นฟันเป็นรอยแหว่งได้

นอกจากนี้ อาหารบางอย่างหรือเครื่องดื่มบางชนิดก็ทำให้คอฟันสึกได้ หากมีการสัมผัสเป็นระยะเวลานานๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีสภาพเป็นกรดสูง เช่น ของเปรี้ยว น้ำมะนาว กรดที่อยู่ในน้ำอัดลม เป็นต้น

 

ฟันสึกที่ยอดฟันหรือด้านบดเคี้ยว อาจเกิดจากการบดเคี้ยว การนอนกัดฟัน หรือมีการสบฟันที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งการสึกในลักษณะนี้จะทำให้ยอดฟันหรือด้านบดเคี้ยวของฟันมีลักษณะแบนราบ ถ้าเป็นมากและไม่ได้รับการแก้ไข ฟันจะค่อยๆ สั้นและเตี้ยลง

อาการของผู้ที่มีฟันสึก

 

ผู้ที่มีฟันสึกอาจมีอาการเสียวฟัน โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับอาหารหรือเครื่องดื่มที่เย็นจัด เช่น น้ำแข็ง ไอศกรีม ซึ่งหากปล่อยให้ฟันสึกไปเรื่อยๆ โดยไม่รักษา ฟันจะสึกมากขึ้นเข้าไปใกล้โพรงประสาทฟัน ทำให้เปลี่ยนจากเสียวฟันเป็นปวดฟัน ซึ่งการรักษาด้วยวิธีอุดฟันแบบธรรมดาอาจไม่เป็นผล ต้องขยับไปรักษารากฟันและครอบฟันร่วมด้วย

 

อาการสึกของฟันเป็นเรื่องที่ป้องกันและแก้ไขได้ หากเป็นไม่มากก็สามารถอุดปิดได้ อาการเสียวฟันก็จะลดลงและเสียค่าใช้จ่ายไม่มาก หากมีอาการให้รีบพบทันตแพทย์ตรวจรักษา เพื่อฟันของคุณจะได้ไม่เสียหายและเก็บไว้ใช้เคี้ยวได้อีกนาน

 

เรื่อง : พ.ต.ท.ทพ.พจนารถ พุ่มประกอบศรี ทันตแพทย์

 

ข้อมูล : http://www.healthtoday.net/thailand/oralcare/oralcare_110.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากค่ะ อ่านจนตาลาย !45 มีประโยชน์มากเลยค่ะ !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต่อ .....จากหน้า 7 ความรู้ทั่วไปเรื่องเบาหวาน

 

http://www.thaigold2.info/Board/index.php?/topic/6-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/page__st__90

 

 

วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้อย่างไร

 

443081fwtx95sy3b.gif

 

วิธีที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมีเพียงวิธีเดียวคือการเจาะหาน้ำตาลในเลือด สำหรับคนปกติแนะนำให้คนที่มีอายุมากกว่า 45 ปีควรจะเจาะเลือดทุกปีถ้าหากปกติก็ให้เจาะทุก 3 ปี หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงก็ควรที่เจาะเร็วขึ้นและบ่อยขึ้น คนปกติจะมีค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่า 80-100 มิลิกรัม% การวินิจฉัยโรคเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลิกรัม% สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระ 100-125 มิลิกรัม%เราเรียก Impaired fasing glucose [iFG] คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องคุมอาการ รักษาน้ำหนัก ออกกำลังกาย สำหรับการตรวจปัสสาวะไม่แนะนำเพราะเราจะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 มิลิกรัม%ซึ่งเป็นเบาหวานไปเรียบร้อยแล้ว การตรวจเลือดเราสามารถตรวจได้หลายวิธีดังนี้

 

 

1 การวัดระดับกลูโคสในพลาสม่าหลังการอดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] แนะนำให้ใช้วิธีซึ่งสะดวกและแม่นยำ ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือด [FPG] สูงกว่า 126มก.%[7.0 mmol/L] สองครั้ง

 

2 การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส [ oral glucose tolerance test:OGTT] กรณีสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน แต่ระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารไมถึง 126 มก.% ให้ตรวจโดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่ม และ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสที่ 2 ชั่วโมงตั้ง 200 มก.%ขึ้นไป หากอยู่ระหว่า 140-199มก.%ถือว่าความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง ( impaired glucose tolerance test) หากต่ำกว่า 140 มก%ถือว่าปกติ

 

3 การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 200 มก.%และมีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยมหาก หากพบว่าค่ามากกว่า 200 มิลิกรัม%จะต้องนัดมาเจาะน้ำตาลก่อนอาหาร หรือทำการตรวจ การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส OGTT อาจจะตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานมากจำเป็นต้องรีบให้การรักษา

 

4 การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคซัยเลต ได้แก่ glycosylate hemoglobin:HbA1c และ glycosylate albumin[fructosamine] ไม่นิยมในการวินิจฉัยโรคเบาหวานแต่นิยมใช้เพื่อประเมินผลการรักษาเนื่องจากมีความไวและความแม่นยำต่ำ

 

5 การตรวจหากลูโคสในปัสสาวะไม่นิยมเพราะผิดพลาดได้ง่าย

 

ในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือดควรคำนึงถึงยาที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้นเช่น steroid,thiazide,nicotinic acid,beta-block,ยาคุมกำเนิด

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

!031

 

หากท่านผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานไม่อยากให้มีแผล หรือถูกตัด นิ้ว รวมทั้งเท้า ท่านผู้ป่วยควรจะต้องดูแลเท้าตลอดชีวิต การดูแลเท้าจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการดังต่อไปนี้

-มีอาการชาเท้า

-รูปร่าง สี ของเท้าผิดไป

-มีแผลที่เท้าซึ่งหายยาก

-ปวดเท้าเวลาเดิน

-เคยเป็นแผลที่เท้า

 

1. ควบคุมเบาหวานให้ใกล้เคียงปกติซึ่งจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน

-ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

-ร่วมมือกับแพทย์ในการวางแผนการรักษา

-กำหนดเวลาเจาะเลือด

-รับประทานยาตามแพทย์สั่ง

-ควบคุมอาหารตามแพทย์สั่ง

-ออกกำลังกาย

-ดูแลเท้า และออกกำลังบริหารเท้าโดยเคร่งคัด

-ไปตรวจตามนัด

 

 

2 ตรวจและดูแลผิวหนังทุกวัน เวลาที่ดีคือเวลาเย็น

 

-ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดาและซับให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว ไม่ควรใช้แปรงหรือขนแข็งขัดเท้า

-ใช้แป้งโรย

-ตรวจผิวหนังที่เท้า ดูว่ามีแผล การอักเสบ รอยแดง หากแผลไม่หายในสองวันควรปรึกษาแพทย์ มีหนังหนาหรือตาปลาหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าใส่รองเท้าไม่เหมาะสม

-สภาพผิวว่าแห้งไปหรือไม่ มีรอยแตกย่นหรือไม่ เล็บหนาหรือมีเชื้อราหรือไม่ มีแผลอักเสบซอกเล็บหรือไม่ ผิวซอกนิ้วมีอับชื้นหรือไม่ อาจจะใช้กระจกส่อง หรือให้ญาติช่วยดู ถ้าผิวมีเหงื่อออกให้โรยแป้ง

 

3. ระบบประสาท เริ่มมีอาการชาหรือปวดแสบบริเวณเท้าหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวแสดงว่าเริ่มมีปลายประสาทอักเสบ peripheral neuropathy

 

4. ดูว่ามีกระดูกงอกผิดปกติหรือไม่ ข้อมีรูปร่างผิดปกติหรือไม่ สภาพการเดินการแกว่งเท้าผิดปกติหรือไม่

 

5. ตรวจดูว่าเส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณขาตีบตันหรือไม่ หากผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดตีบตันที่ขาจะมีอาการดังนี้คือ จะปวดขาเวลาเดินต่อเนื่องพักจะหายปวด คลำชีพขจรบริเวณหลังเท้าได้เบาหรือไม่ได้ ผิวหนังจะเย็นและสีของผิวหนังจะคล้ำกว่าผิวส่วนอื่น

 

6. ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่น อาจจะใช้ปรอทวัดอุณหภูมิไม่เกิน

ให้ผิวหนังนุ่มอยู่เสมอ

 

7. ทาครีมหรือโลชั่นที่หลังเท้า และผ่าเท้า ถ้าผิวแห้งห้ามทาบริเวณซอกนิ้ว

 

8. การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนได้

 

-เลือกรองเท้าขนาดพอดี

-เลือกรองเท้าที่มีเบาะรองเท้าที่นุ่มนิ่ม ไม่ควรทำจากพลาสติก

-ไม่ใส่ส้นสูง เพราะจะทำให้เกิดโรคข้อและเกิดแผลกดทับ

-ใส่ถุงเท้าทุกครั้ง ถุงเท้าควรทำด้วย cotton or wool เพื่อให้ผิวแห้งไม่ควรใช้ไนล่อน

-ควรตรวจดูสิ่งแปลกปลอมก่อนใส่ทุกครั้ง

-ควรใส่รองเท้าทั้งใน และนอกบ้าน

-รองเท้าควรจะระบายอากาศได้ดี

-ห้ามใส่รองเท้าที่เปิดปลายนิ้วเท้าหรือรองเท้าแตะเพราะจะทำให้เกิดแผล

-หากซื้อรองเท้าใหม่ ต้องวัดให้มีขนาดพอดีทั้งความลึก ความกว้าง และความลึก

-เมื่อสวมรองเท้าใหม่ให้หยุดเดินหรือหยุดพักบ่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพองที่เท้า

-หากเท้าท่านผิดปกติเช่นกระดูกงอก ควรจะใส่รองเท้าชนิดพิเศษ

-ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ

 

9. ป้องกันไม่ให้เท้าเย็น หรือร้อนไป ห้ามใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบหรือแช่ในน้ำร้อน เพราะอาจทำให้ผิวหนังไหม้

 

-สวมรองเท้าเมื่อเดินที่ร้อน

-ทาครีมกันแสงที่หลังเท้าเมื่อไปเที่ยวทะเล

-หากเท้าเย็นห้ามใช้กระเป๋าน้ำร้อนให้สวมถุงเท้า

 

10. ตัดเล็บให้สั้น

 

-ตัดเล็บให้ตรงไม่ต้องเล็มจมูกเล็บ

-ไม่ต้องตัดเล็บที่ซอกเล็บ

-ใช้ตะไบลบรอยคมของเล็บ

-ไม่ควรใช้วัสดุแข็งแคะซอกเล็บ

 

11. ให้เลือดไปเลี้ยงขาให้พอ

 

-ยกเท้าเวลานั่งพัก

-การบริหารเท้า

-ห้ามนั่งไขว่ห้าง

-ห้ามใส่ถุงเท้าที่แคบ

-งดบุหรี่

-รักษาความดัน และไขมันในเลือด

 

12. ออกกำลังกายอยู่เสมอ

 

ออกกำลังกายอยู่เสมอ ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

 

-เดิน ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำเป็นการออกกำลังที่ดี

-หลีกเลี่ยงการวิ่งหรือกระโดดเชือก

-ก่อนออกกำลังกายให้มีการอบอุ่นร่างกาย

-สวมร้องเท้าที่เหมาะสม

-ให้แพทย์ตรวจเท้า

 

13. ให้แพทย์ตรวจเท้าอย่างน้อยปีละครั้ง

-ตรวจชีพขจรที่เท้า และอาการปวดเท้าเวลาเดินซึ่งเป็นอาการของการขาดเลือด

-ตรวจความรู้สึกโดยใช้ monofilament หรือ vibratory sensation test

-ตรวจความผิดปกติของเท้าเช่น เท้าผิดรูป กระดูกงอก ตาปลา การเดิน ลักษณะเท้า

-ตรวจสภาพผิวหนังทั้งเท้าโดยเฉพาะซอกนิ้ว

-ตรวจเท้าเพื่อหาตำแหน่งของเท้าที่รับแรงกดมาก รอยแดง

-แจ้งแพทย์ทันทีที่มีปัญหา

-ให้แพทย์แสดงวิธีดูแลเท้า

-สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงให้ตรวจเท้าทุก 3-6 เดือน

 

14. อย่าตัดตาปลา

 

-ห้ามตัดตาปลาด้วยสารเคมี เช่นน้ำยากัดตาปลา หรือใช้มีด ให้ใช้หินขัดไปทางเดียว ระวังถูกเนื้อดี

 

ข้อห้ามปฏิบัติ

-ห้ามแช่เท้าในน้ำร้อนโดยเด็ดขาด

-ห้ามเอากระเป๋าน้ำร้อนมาวางไว้บนหลังเท้าหรือขา

-ไม่ควรเดินเท้าเปล่า แม้จะอยู่ในบ้าน

-ห้ามตัดตาปลา

-ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

 

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/foot_guid.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...