ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
PACRAA

ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่ผู้หญิงต้องรู้จัก ปวดประจำเดือนบ่อย ๆ อย่าชะล่าใจ

โพสต์แนะนำ

          ผู้หญิงหลาย ๆ คนคงรู้จัก ซีสต์เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นอีกความผิดปกติที่พบได้บ่อยในเพศหญิง ซีสต์ หรือ ถุงน้ำมีหลายประเภท มีทั้งชนิดที่เป็นอันตราย และไม่เป็นอันตราย บางชนิดสามารถปล่อยเอาไว้ได้ และจะฝ่อหายไปเอง แต่บางชนิดก็มีโอกาสพัฒนาไปเป็นก้อนมะเร็งได้ ซีสต์สามารถเกิดได้ทั่วบริเวณของร่างกาย แต่จะเกิดได้มากที่สุดที่บริเวณรังไข่ของผู้หญิง ซึ่งส่วนมากจะทำให้เกิดอันตราย และอาการเจ็บปวดมากมายตามมา ดังนั้นผู้หญิงทุกคนจึงควรรู้จักโรคช็อกโกแลตซีสต์

 

oYNPRt.jpg

 

ถ้าพูดถึงโรค "ช็อกโกแลตซีสต์" (Chocolate Cyst) เชื่อว่าผู้หญิงหลายคนคงคุ้นกับชื่อนี้ แต่มีใครทราบหรือไม่ว่า ความจริงแล้วโรคนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่” ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ คือ อยู่ในช่วงอายุ 30-50 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น

สัญญาณเตือนที่เริ่มบ่งบอกว่าคุณอาจมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คือการมีอาการปวดท้องประจำเดือนที่ผิดปกติไปจากเดิม แล้วอาการปวดท้องประจำเดือนแบบไหน ที่อาจจะเป็นสัญญานเตือนของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันค่ะ

 

โรคช็อกโกแลตซีสต์เกิดจากอะไร

โดยปกติ ภายในโพรงมดลูกจะมีเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งจะหนาตัว มีเลือดคั่ง จากนั้นก็จะสลายตัวออกมาเป็นประจำเดือนเป็นวงจรแบบนี้ทุกเดือน แต่ในบางราย เยื่อบุโพรงมดลูกอาจไปเจริญเติบโตนอกโพรงมดลูก เช่น ที่บริเวณรังไข่ ท่อนำไข่ กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ จึงทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อโดยรอบจนเกิดเป็นฟังผืดอยู่ภายในช่องท้อง ทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือน หรือปวดท้องเรื้อรัง หากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อยู่บริเวณรังไข่ก็จะกลายเป็นถุงน้ำ หรือซีสต์ มีขนาดเท่าไข่ไก่ หรือผลส้ม มีเลือดคั่งอยู่ข้างใน ลักษณะเป็นของเหลวสีคล้ายกับช็อกโกแลต จึงเรียกว่า ‘ถุงน้ำช็อกโกแลต’ หรือ ‘ช็อกโกแลตซีสต์’ นั่นเอง

 

โรคช็อกโกแลตซีสต์นี้มีอาการอย่างไร?

ในบางราย อาจโชคดีตรวจพบโรคช็อกโกแลตซีสต์จากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยยังไม่มีอาการเจ็บป่วยแสดง แต่ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการ

·      อาจมีอาการปวดประจำเดือน ซึ่งจะปวดรุนแรงในช่วงวันท้าย ๆ ของการมีประจำเดือน

·      อาจมีอาการปวดประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 25 ปี

·      ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติแทรกเข้าไปยังกล้ามเนื้อมดลูก

·      ปวดท้องน้อยหลังมีเพศสัมพันธ์

·      คลำพบก้อนบริเวณท้องน้อย ซึ่งเกิดจากขนาดของถุงน้ำที่รังไข่โตขึ้น

·      ปวดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ

·      ในกรณีที่ถุงน้ำช็อกโกแลตแตก จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงเฉียบพลัน

·      ร้อยละ 60-70 ของผู้ที่มีประวัติว่ายังไม่เคยมีบุตรมาก่อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีบุตรยาก

 

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์นี้หรือไม่?

หากมีอาการข้างต้นหรือสงสัยว่าตนเองเป็นโรคช็อกโกแลกซีสต์ ควรเข้ารับการซักประวัติและตรวจวินิจฉัยโดยสูติ-นรีแพทย์ ด้วยวิธีการตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจภายใน หรือการอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในมดลูก เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

 

ช็อกโกแลตซีสต์ จำเป็นต้องรักษาหรือไม่ และรักษาอย่างไร?

ในรายที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรงมากและขนาดเล็ก แพทย์อาจให้สังเกตอาการร่วมกับการใช้ยากลุ่มฮอร์โมนในการรักษาและตรวจติดตามอาการเป็นระยะ แต่ในกรณีที่ให้ยาแล้วยังไม่ได้ผลหรือก้อนมีขนาดใหญ่ แพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งวิธีนี้แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หลังผ่าตัด และยังให้ผลการรักษาได้ดีเทียบเท่ากับการรักษาแบบมาตรฐานอีกด้วย

ผู้หญิงที่มีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเองตัวเองอยู่เสมอ หากรู้ตัวว่ามีโอกาสสูงที่จะเป็น ช็อกโกแลตซีสต์ควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่โรคจะลุกลามกว่าเดิม สำหรับคนที่อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูงเช่นครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้แพทย์อาจพิจารณาให้กินยาคุมกำเนิดตั้งแต่วัยเริ่มมีประจำเดือน และหยุดยาเมื่อมีบุตร เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว และอาจแนะนำให้แต่งงาน เพื่อให้ตั้งครรภ์เร็ว ๆ แม้โรคนี้อาจไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่การป้องกันไว้ก่อนก็ดีกว่าปล่อยให้เป็นแล้วต้องรักษาทีหลัง

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/Article/Detail/ปวดท้องประจำเดือนสัญญาณเตือนช็อกโกแลตซีสต์

#ซีสต์รังไข่ ,ช็อกโกแลตซีสต์ , ปวดท้องประจำเดือน 

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...