ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
joonggo

การชาร์จแบตเตอรีมือถือและการต่อสายไฟโน๊ตบุ๊ค

โพสต์แนะนำ

ไม่นานมานี้ มือถือที่ใช้อยู่ (LG) เสีย เราเสียดายมาก ไปให้ศูนย์บริการที่สำนักงานใหญ่ตรวจเช็คให้ ทางศูนย์บอกว่าเมนบอร์ดเสีย เลยทำให้เปิดไม่ติด ทางศูนย์บอกว่าค่าเมนบอร์ด 3พันกว่าบาท เราก็เลยบอกว่าซื้อใหม่ดีกว่่า ก่อนหน้านี้เราก็แปลกใจว่าเป็นที่แบตหรือเปล่า เพราะถ้าวันไหนชาร์จไฟเข้า ก็จะเปิดติด และเราเอะใจว่า เรามีแบตตั้ง 3ก้อน ทำไมเปิดไม่ติดสักก้อน ก็ค้นหาข้อมูลพบว่าแบตแบบ LI-ON ห้ามใช้จนหมด ถ้ามันเตือนว่าแบตอ่อน ให้รีบปิดเครื่อง นิสัยของเราชอบใช้จนหมดแล้วดับไปเอง ก็เลยคิดว่าอาจเป็นจากสาเหตุนี้หรือเปล่า

 

มาวันนี้่ได้คุยกับช่างเดลล์(ช่างดีมากให้ความรู้เยอะ) เราถามว่าวืธีเสียบสายไฟเข้าเครื่องน่ะ อย่างไรจึงถูกต้อง ช่างบอกว่าให้เสียบสายไฟที่มีกับปลั๊กไฟให้เรียบร้อยและเปิดไฟจนไฟติดเรียบร้อย

แล้วค่อยเอามาเสียบกับตัวเครื่อง เพื่อป้องกันไฟกระชาก เราก็เลยได้ความคิดอีกอย่างว่า อ๋อ คือพอดีแฟนเราเวลาชาร์จมือถือจะเสียบไฟที่ผนังก่อน แล้วค่อยมาเสียบที่มือถือและอีกอย่าง เขาไม่เคยปล่อยให้แบตหมด พอแบตน้อยแล้วกลับบ้านก็จะชาร์จ เขาทำตรงข้ามกับเราทุกอย่างเลย มือถือของเขาไม่มีอาการเสียเลยสักนิด ไม่ต้องมีถ่านสำรองเยอะมากอย่างเราด้วย ทั้งที่มือถือ ก็ซื้อไล่เลี่ยกัน

 

ส่วนเรื่องโน้ตบุ๊ค ตอนแรกพนง.ประจำบริษัทคอมพิวเตอร์แห่งนึง บอกเราว่าถ้าเราใช้หลายๆชม. ให้ถอดถ่านออกและเสียบไฟอย่างเดียว เพื่อป้องกันไม่ให้แบตร้อน แต่ช่างคนนี้บอกว่า ถ้าทำแบบนี้ืเวลาไฟกระชากหรือไฟดับจะทำให้เมนบอร์ดเสีย ให้ใส่ถ่านไว้่ด้วย ถ้าเสียจะไม่ถึงเมนบอร์ดและอุปกรณ์อื่น ถ้าถอดถ่านออก มันเซฟถ่านแต่เมนบอร์ดและชิ้นส่วนอื่นจะพังแทน เราก็เออ จริงแฮะ ถ่านเสียยังซื้อใหม่ได้ เครื่องเสียล่ะแย่เลย

 

เพือ่นๆ คนไหน ที่มีความรู่้เข้ามาแจมด้วยนะคะ

ตอนนี้ยังไม่ได้ซื้อมือถือใหม่เลย :lol: :lol: :lol: ใครมีที่ไม่ใช้ มาบริจาคทางนี้ได้นะคะ :lol: :lol: :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ คุณ joonggo สำหรับวิธีชาร์จแบต เราก็ใช้ LG อยู่ ชอบด้วย เพิ่งรู้ว่ามีวิธีชาร์จแบตที่ถูกต้องด้วย ว่าควรจะเสียบที่ปลั๊กก่อน แล้วค่อยมาเสียบตัวเครื่อง ส่วนมากจะเสียบที่ตัวเครื่องก่อน แล้วค่อยเสียบปลั๊ก (กลัวไฟดูดน่ะ)laugh.gif

 

ขอเสริมเรื่องการชาร์จแบต เมื่อซื้อมาใหม่ ควรจะชาร์จให้มันเต็มกำลัง 8 ชั่วโมง ก่อนการใช้ทุกครั้ง บางอย่างหรือยี่ห้อ ก็บอกให้ชาร์จให้ได้ 8 ชั่วโมง 3 ครั้งแรก (ชักลืม ๆ)ดูคู่มือที่แนบมาอีกทีละกัน แบตไม่ควรให้มันหมด เมื่อเหลือขีดเดียว ก็ควรจะชาร์จได้แล้ว แต่ในการชาร์จแต่ละแบต(ก้อน) จะมีวงรอบของมัน 250 รอบ (โดยประมาณอีก จำมานานมากแล้ว) ควรจะให้เหลือขีดน้อย ๆ ค่อยชาร์จไม่งั้นมันจะคิดรอบการชาร์จแต่ละครั้ง และนาน ๆ ที ก็ควรชาร์จโดยปิดเครื่องบ้าง ถ้าทำได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มีเพิ่มเติมค่ะ จาก http://www.asakithai.com/Know/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1.html

 

 

บทความ

แบตเตอรี่ลิเธียม รู้จักกันให้ดี

เริ่มต้นกับการแนะนำตัว กับแบตเตอรี่ลิเธียม

 

จุดเริ่มต้นของแบตเตอรี่ชนิดลิเธียม มาจากการวิจัยในปี 1912 แต่กว่าจะออกมาเป็นแบตเตอรี่ให้ได้ใช้กันจริงๆ ก็เป็นปี 1970 ซึ่งตอนนั้นก็เป็นชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือที่เรียกว่า ไพรมารีเซลล์ (Primary Cell) ลิเธียม เป็นโลหะที่เบาที่สุด ให้แรงดันไฟฟ้าสูงที่สุด และยังมีความหนาแน่นพลังงานสูงที่สุดในน้ำหนักที่เท่ากัน

การนำโลหะลิเธียมมาใช้ในแบตเตอรี่ ในระยะแรกของการวิจัย พบปัญหาในเรื่องของความปลอดภัย มันไวต่อปฏิกิริยาเคมีมากๆ (ระเบิด!) โดยเฉพาะในขณะชาร์จไฟ ต่อมา จึงได้เปลี่ยนจากการใช้ลิเธียมในรูปของโลหะ มาเป็นรูปของไอออน แทน ซึ่งมีความปลอดภัยกว่า ในปี 1991 บริษัทโซนีเป็นผู้นำแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนออกสู่ตลาดเป็นรายแรก

ความหนาแน่นพลังงานของเซลลิเธียมไอออน มีค่าสูงกว่าเซลชนิดนิกเกิลแคดเมียม 2 เท่า เนื่องด้วยมีแรงดันที่มากกว่า และข้อดีตรงแรงดันที่สูงนี้เอง ปัจจุบันนี้ เซลในแพคแบตเตอรี่จึงใช้เพียงแค่เซลเดียวก็สามารถให้พลังงานกับโทรศัพท์มือถือได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาเรื่องความจำของแบตเตอรี่ จึงไม่ต้องมีการ ล้างแบตเตอรี่ หรือการใช้แบตเตอรี่ให้หมดเกลี้ยงประมาณเดือนละครั้ง อย่างที่ต้องทำในแบตเตอรี่ชนิดนิกเกิลเมตทัลไฮไดรด์ และนิกเกิลแคดเมียม

แต่อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ลิเธียมก็มีข้อจำกัด คือ เสียหายได้ง่าย ถ้าใช้งานไม่ถูกวิธี จึงจำเป็นต้องมีวงจรป้องกันประกอบอยู่ในแพคแบตเตอรี่ เพื่อให้แบตเตอรี่ทำงานอยู่ในช่วงที่ปลอดภัย วงจรป้องกันจะจำกัดแรงดันสูงสุดของเซลขณะชาร์จ รวมทั้งป้องกันไม่ให้มีการใช้งานจนแรงดันต่ำลงจนเกินไป และป้องกันการลัดวงจร แรงดันที่ต่ำเกินไป สูงเกินไป และกระแสไหลที่สูงผิดปกติ เช่นการลัดวงจร ทำให้เซลลิเธียมสูญเสียความจุ หรือเสียหายเป็นการถาวร นอกจากนี้ ยังมีการวัดอุณหภูมิ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้งานที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำผิดปกติ

ผู้ผลิตเซลแบตเตอรี่ มักไม่พูดถึงเรื่องอายุการใช้งานเลย แต่ตามปกติแล้วแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจะสูญเสียความจุบางส่วนให้เป็นที่สังเกตได้เมื่อผ่านระยะเวลาไปประมาณ 1 ปี ไม่ว่าจะใช้งานมันหรือไม่ก็ตาม และก็จะใช้ไม่ได้หลังจากผ่านไป 2 หรือ 3 ปี

ถ้าต้องเก็บแบตเตอรี่เป็นเวลานาน การเก็บในที่เย็นจะชะลอการเสื่อมของแบตเตอรี่ทุกชนิดลงได้ ผู้ผลิตแบตเตอรี่แนะนำว่า อุณหภูมิการเก็บรักษาแบตเตอรี่ลิเธียมที่ดีอยู่ที่ 15 องศาเซลเซียส และต้องมีไฟประจุอยู่ 40 % (ประมาณ 3.7-3.8 โวลต์)

ข้อดีของลิเธียมไอออน

� ความหนาแน่นพลังงานสูง

� ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นก่อนใช้ หลังจากเก็บเป็นเวลานาน

� มีอัตราการคายประจุตัวเองต่ำ

� ไม่ต้องดูแลรักษามาก

ขีดจำกัดของลิเธียมไอออน

� จำต้องใช้วงจรป้องกันแรงดันและกระแสให้อยู่ในเขตปลอดภัย

� มีการเสื่อมอายุตามเวลาแม้ว่าจะไม่มีการใช้งาน

� อัตราการจ่ายกระแสไม่สูงมาก ไม่เหมาะกับงานที่ใช้โหลดหนักๆ

 

แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมโพลีเมอร์

ลิเธียมโพลีเมอร์ ต่างจากลิเธียมไอออนธรรมดาตรงที่ชนิดของสารอิเลกโตรไลท์ ลิเธียมโพลีเมอร์ ใช้ฟิล์มคล้ายพลาสติกร่วมกับอิเลกโตรไลท์ชนิดเจล แทนที่จะใช้แผ่นเมมเบรนที่มีรูพรุน เป็นตัวส่งผ่านไอออน ลิเธียมโพลีเมอร์ง่ายต่อการผลิต มีความแข็งแรง ปลอดภัย และบาง สามารถทำให้บางได้ถึง 1 มิลลิเมตร สามารถผลิตให้เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ตามความต้องการของการใช้งาน

ข้อดีของลิเธียมโพลีเมอร์

� สามารถทำให้บางมากๆ ได้ เช่น แบตเตอรี่ขนาดบางเท่าบัตรเครดิต

� ไม่จำกัดรูปแบบ ผู้ผลิตไม่จำต้องจำกัดอยู่แค่ขนาดเซลมาตรฐาน ขนาดที่ต้องการสามารถสั่งผลิตได้

� น้ำหนักเบา ใช้เพียงห่อแล้วซีลแบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้ตัวถังโลหะ

� ปลอดภัย รับการชาร์จไฟเกินได้มากกว่า โอกาสของการรั่วของอิเลกโตรไลท์ลดลง

ขีดจำกัดของลิเธียมโพลีเมอร์

� ความหนาแน่นพลังงานต่ำกว่า และจำนวนรอบการใช้งานที่ต่ำกว่าลิเธียมไอออนธรรมดา

� ราคาแพงกว่า

� ไม่มีขนาดมาตรฐานให้เลือก จึงจำต้องสั่งจำนวนมากๆ

� อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อพลังงานที่เก็บได้ มีค่าสูงกว่าลิเธียมไอออน

 

วงจรการใช้พลังงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วงจรป้องกันในแบตเตอรี่รุ่นใหม่ๆ

แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์เก็บพลังงานที่ต้องการการปกป้องเพื่อหลีกเลี่ยงจากอันตรายที่จะเกิดขึ้น การป้องกันแบบง่ายสุดๆ คือ ฟิวส์ ซึ่งจะเปิดวงจรเมื่อมีกระแสไหลสูงเกินพิกัด และก็มีฟิวส์ซึ่งนอกจากจะขาดเมื่อกระแสกินแล้ว ยังสามารถขาดเมื่ออุณหภูมิสูงเกินอีกด้วย ฟิวส์ปกติจะขาดโดยถาวร ทำให้แบตเตอรี่ใช้การไม่ได้อีกต่อไป แต่ก็มีฟิวส์ชนิดพิเศษที่มีชื่อทางการค้าว่า โพลีสวิตช์ ซึ่งเป็นฟิวส์ที่ต่อกลับเองได้ หลังจากที่ตัดวงจรไปแล้ว

แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน ต้องมีระดับการป้องกันที่สูง เพื่อแน่ใจว่าจะมีความปลอดภัยในทุกสภาวะการใช้งานและกับผู้ใช้ทุกคน โดยจะใช้ Field Effect Transistor หรือ FET เพื่อตัดวงจรออกเมื่อแรงดันไฟฟ้าในเซลสูงถึง 4.3 โวลต์ และมีฟิวส์อีกตัวที่ตัดวงจรเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 90 องศาเซลเซียส และยังมีสวิตช์ความดันที่อยู่ในเซลเอง ซึ่งจะตัดวงจรตัวเองเมื่อความดันในตัวเซลสูงเกิน 10 บาร์ (10 เท่าของความดันอากาศ หรือ 150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการจ่ายไฟออกจนแรงดันต่ำเกินไป วงจรควบคุมจะตัดวงจรออกเมื่อแรงดันไฟฟ้าในเซลต่ำกว่า 2.5 โวลต์ การเก็บเซลไว้เฉยๆ เป็นเวลานานโดยที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 1.5 โวลต์ จะทำให้เซลลิเธียมเสียหายถาวร และอาจจะมีอันตรายจากการระเบิดถ้าพยายามชาร์จไฟกลับเข้าไปด้วย

ถ้าหากแบตเตอรี่ไม่มีวงจรป้องกัน หรือวงจรป้องกันอิเลกทรอนิกส์เกิดเสียหาย ต่อวงจรค้างไว้ตลอดเวลา แบตเตอรี่จะยังทำงานได้ตามปกติ แต่ไม่มีการป้องกันใดๆ เลย ถ้าผู้ใช้ ใช้ชาร์จเจอร์ราคาถูกๆ ซึ่งโยนความรับผิดชอบการตัดชาร์จด้วยวงจรป้องกันในแบตเตอรี่ หรือชาร์จเจอร์มีปัญหาไม่ตัดชาร์จ การชาร์จจะเกินระดับปลอดภัย เซลจะบวมด้วยกาซที่เกิดภายใน เซลอาจจะแตกระเบิดออกพร้อมกับเปลวไฟลุกท่วม ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็จะเกิดเหมือนกันในกรณีที่เซลถูกลัดวงจรด้วย

อันตรายจะใกล้ตัวผู้ใช้มาก ถ้าหากผู้ใช้ไปซื้อแบตเตอรี่ลิเธียมราคาถูกๆ ที่อาจจะไม่มีวงจรป้องกันภายใน และการประกอบอย่างไม่มีมาตรฐานมาใช้งาน ซึ่งเมื่อทำตก ถูกกระแทก หรือแม้แต่เมื่อระบบสั่นของโทรศัพท์มือถือทำงาน ขั้วต่อไฟฟ้าภายในอาจจะลัดวงจรกันเองโดยไม่ผ่านวงจรป้องกัน และระเบิดขึ้นเมื่อไรก็ได้

 

การชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน การชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียม มีวิธีเดียว คือ ชาร์จตามข้อแนะนำของผู้ผลิตเซล ไม่มีชาร์จเจอร์ไหนสามารถดึงเอาความจุไฟฟ้าที่เสียไปแล้วคืนมาได้เลย

เซลชนิดลิเธียมไม่จำเป็นต้องกระตุ้นก่อนใช้ เหมือนอย่างที่ต้องกระตุ้นเซลตระกูลนิกเกิล (นิกเกิลแคดเมียม , นิกเกิลเมตทัลไฮไดรด์) แบตเตอรี่ลิเธียมไม่มีข้อแตกต่างของความจุที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการชาร์จครั้งที่ 1 หรือครั้งที่ 5 แม้แต่ครั้งที่ 50 ก็ไม่แตกต่าง ข้อแนะนำการใช้งานที่ระบุให้ชาร์จครั้งแรกนาน 8 ชั่วโมงหรือมากกว่าควรจะถูกลบออกไปจากความทรงจำได้แล้ว นั่นมันของแบตเตอรี่ตระกูลนิเกิลสมัยโบราณโน่น...

เซลส่วนใหญ่ชาร์จเต็มที่ 4.2 โวลต์ โดยมีค่าคลาดเคลื่อน +/- 0.05 โวลต์ต่อเซล การชาร์จด้วยแรงดัน 4.1 โวลต์ จะได้ความจุต่ำกว่าปกติ 10 % แต่ได้อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า

 

ถ้าชาร์จไฟเกินจะเกิดอะไรขึ้น ?� แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนถูกออกแบบให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยในช่วงแรงดันทำงานปกติ แต่จะเกิดความไม่มีเสถียรภาพถ้าชาร์จให้แรงดันสูงกว่านั้น เมื่อชาร์จจนแรงดันสูงถึง 4.3 โวลต์ ภายในเซลจะเกิดการก่อตัวของโลหะลิเธียมบนขั้วลบ ส่วนที่ขั้วบวกจะเกิดสารออกซิไดส์ สูญเสียความจุ และเกิดก๊าซออกซิเจนขึ้น การชาร์จเกินทำให้เซลร้อนขึ้น ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้ดู เซลจะแตกและเกิดไฟลุก (โลหะลิเธียมไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก โดยเฉพาะเมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจน)

นอกจากแรงดันชาร์จเกินแล้ว ยังต้องระวังการใช้งานจนแรงดันตกต่ำลงกว่าค่าต่ำสุดที่ยอมรับได้ วงจรป้องกันถูกออกแบบให้ตัดวงจรออกเมื่อแบตเตอรี่ถูกใช้งานจนแรงดันต่ำกว่า 2.5 โวลต์ต่อเซล เมื่อวงจรตัดไปแล้ว แบตเตอรี่ไม่สามารถใช้งานได้อีก การนำไปชาร์จโดยชาร์จเจอร์ตามปกติไม่สามารถทำได้ แต่มีวิธีแก้ไขอยู่ ซึ่งจะกล่าวต่อไป

ถ้าเซลถูกปล่อยให้แรงดันตกลงมาจนเหลือ 1.5 โวลต์ต่อเซลหรือต่ำกว่าเป็นเวลาเพียงสองสามวัน ควรหลีกเลี่ยงการชาร์จเข้าไปอีก เพราะภายในเซลจะเกิดการก่อตัวของโลหะทองแดง ซึ่งอาจทำให้เกิดลัดวงจรภายในเซล แบตเตอรี่นั้นจะไม่มีเสถียรภาพ อาจจะเกิดการลัดวงจรในก้อนเซลเมื่อไรก็ได้ ซึ่งทำให้มีความร้อนสูงขึ้นได้เองและไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน

การชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เหมือนกับการชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียมโพลีเมอร์ ซึ่งปกติแล้วก็สามารถใช้ชาร์จเจอร์ร่วมกันได้

การดูแลรักษาอย่างถูกวิธีโดยสมบูรณ์อาจจะไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริง ซึ่งการขาดการดูแลหรือใช้งานผิดไปบ้างก็จะทำให้อายุการใช้งานลดลงบางส่วน โดยเฉพาะการปล่อยให้แบตเตอรี่ถูกความร้อนสูงๆ เช่น ทิ้งไว้ในรถตากแดด จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วขึ้นมาก

 

รูปที่ 1 คุณลักษณะการชาร์จของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน การใช้กระแสที่สูงเพื่อชาร์จไม่ได้ช่วยเร่งความเร็วให้ชาร์จเต็มเร็วขึ้นมากนัก แม้ว่าแรงดันจะขึ้นถึง 4.2 โวลต์เร็วขึ้นก็ตาม แต่ระยะเวลาส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่ที่ช่วงที่สองมากกว่า

ระยะเวลาที่ใช้ชาร์จจะประมาณ 3 ชั่วโมง แบตเตอรี่เล็กๆ อย่างที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ สามารถชาร์จโดยแหล่งจ่ายแรงดันคงที่ 4.2 โวลต์ จำกัดกระแส 1C* (1 เท่าของความจุเซล) ได้ ส่วนแบตเตอรี่ใหญ่ๆ อย่างในแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ ควรจะชาร์จที่ 0.8 C ค่าพลังงานสูญเสียระหว่างการชาร์จอยู่ที่ 0.1 % ดังนั้นแบตเตอรี่ลิเธียมจะไม่เกิดความร้อนเลยขณะชาร์จ การดูว่าเต็มหรือยัง จะดูที่แรงดันคร่อมแบตเตอรี่สูงขึ้นจนถึงแรงดันที่จ่ายให้ คือ 4.2 โวลต์ และกระแสที่ไหลลดลงเหลือ 3 % ของกระแสที่ตั้งไว้

* ค่า xC คือ จำนวนเท่าของความจุ (Capacity*) ถ้าแบตเตอรี่มีความจุ 650 mAh กระแสชาร์จ 1C คือ กระแส 650 mA กระแสชาร์จ 0.8 C คือ กระแส 0.8 x 650 = 520 mA

* Capacity คือ ความจุของแบตเตอรี่ (คนละตัวกับความหนาแน่นพลังงาน ซึ่งคิดเป็นกำลังต่อน้ำหนัก หรือ วัตต์ต่อกิโลกรัม) ความจุคือ ความสามารถการจ่ายกระแสในเวลา 1 ชั่วโมง ถ้ามีแบตเตอรี่ 1000 mAh จะสามารถจ่ายโหลดที่ดึงกระแส 1000 mA ได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือ สามารถจ่ายโหลด 500 mA ได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หรือ จ่ายโหลดที่ดึงกระแส 2000 mA ได้เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง

ถ้าชาร์จไฟเกินจะเกิดอะไรขึ้น ? แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนถูกออกแบบให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยในช่วงแรงดันทำงานปกติ แต่จะเกิดความไม่มีเสถียรภาพถ้าชาร์จให้แรงดันสูงกว่านั้น เมื่อชาร์จจนแรงดันสูงถึง 4.3 โวลต์ ภายในเซลจะเกิดการก่อตัวของโลหะลิเธียมบนขั้วลบ ส่วนที่ขั้วบวกจะเกิดสารออกซิไดซ์ สูญเสียความจุ และเกิดกาซออกซิเจนขึ้น การชาร์จเกินทำให้เซลร้อนขึ้น ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้ดู เซลจะแตกและเกิดไฟลุก (โลหะลิเธียมไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก โดยเฉพาะเมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจน)

นอกจากแรงดันชาร์จเกินแล้ว ยังต้องระวังการใช้งานจนแรงดันตกต่ำลงกว่าค่าต่ำสุดที่ยอมรับได้ วงจรป้องกันถูกออกแบบให้ตัดวงจรออกเมื่อแบตเตอรี่ถูกใช้งานจนแรงดันต่ำกว่า 2.5 โวลต์ต่อเซล เมื่อวงจรตัดไปแล้ว แบตเตอรี่ไม่สามารถใช้งานได้อีก การนำไปชาร์จโดยชาร์จเจอร์ตามปกติไม่สามารถทำได้ แต่มีวิธีแก้ไขอยู่ ซึ่งจะกล่าวต่อไป

ถ้าเซลถูกปล่อยให้แรงดันตกลงมาจนเหลือ 1.5 โวลต์ต่อเซลหรือต่ำกว่าเป็นเวลาเพียงสองสามวัน ควรหลีกเลี่ยงการชาร์จเข้าไปอีก เพราะภายในเซลจะเกิดการก่อตัวของโลหะทองแดง ซึ่งอาจทำให้เกิดลัดวงจรภายในเซล แบตเตอรี่นั้นจะไม่มีเสถียรภาพ อาจจะเกิดการลัดวงจรในก้อนเซลเมื่อไรก็ได้ ซึ่งทำให้มีความร้อนสูงขึ้นได้เองและไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน

การชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เหมือนกับการชาร์จแบตเตอรี่ลิเธียมโพลีเมอร์ ซึ่งปกติแล้วก็สามารถใช้ชาร์จเจอร์ร่วมกันได้

 

 

ตารางเปรียบเทียบสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำของแบตเตอรี่แต่ละชนิด

แบตเตอรี่แต่ละชนิดมีความต้องการการดูแลที่ต่างกัน เพื่อที่จะให้อายุการใช้งานยาวนานที่สุด ตารางนี้จะสรุปเปรียบเทียบข้อแนะนำของแบตเตอรี่ชนิดต่างๆ ที่ถูกต้อง

การดูแลรักษาอย่างถูกวิธีโดยสมบูรณ์อาจจะไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริง ซึ่งการขาดการดูแลหรือใช้งานผิดไปบ้างก็จะทำให้อายุการใช้งานลดลงบางส่วน โดยเฉพาะการปล่อยให้แบตเตอรี่ถูกความร้อนสูงๆ เช่น ทิ้งไว้ในรถตากแดด จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วขึ้นมาก

 

การใช้งาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทำอย่างไรจึงใช้งานแบตเตอรี่ลิเธียมได้นานๆ

อายุการเก็บรักษาของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นสิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้าม มันขึ้นกับระดับไฟที่มีและอุณหภูมิการเก็บ แบตเตอรี่ลิเธียมมีอายุการเก็บประมาณ 2-3 ปี (นานกว่านี้ถ้าชาร์จไว้บางส่วนและเก็บในที่เย็น) นาฬิกานับวันเสียของมันเดินตั้งแต่ออกจากโรงงานผลิต การสูญเสียสภาพเกิดจากการเพิ่มของความต้านทานภายใน ที่เพิ่มขึ้นเองจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งถ้าความต้านทานภายในเพิ่มถึงจุดหนึ่ง เซลนั้นก็จะไม่สามารถจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ของเราได้ แม้ว่าการวัดความจุจะยังวัดได้สูงอยู่ก็ตาม

 

ตารางนี้แสดงการสูญเสียความจุตามเวลาโดยมีตัวแปรคืออุณหภูมิ และพลังงานที่เก็บอยู่ในเซลแบตเตอรี่

 

ตารางแสดงการคายปะจุ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 2 แสดงการสูญเสียความจุถาวรของเซลลิเธียมตามฟังก์ชั่นของอุณหภูมิและระดับการชาร์จ

 

ไม่มีวิธีการใดที่จะดึงเอาความจุที่เสียไปแล้วของแบตลิเธียมคืนมาได้ จะมีก็แต่การลดความต้านทานภายในเป็นการชั่วคราวโดยอุ่นให้แบตเตอรี่ร้อนขึ้น แบตเตอรี่อาจใช้ได้ปกติ แต่เมื่อมันเย็นลง ความต้านทานภายในก็กลับสูงขึ้นเหมือนเดิม ใช้ไม่ได้อย่างเก่า

ถ้าเป็นไปได้ ควรเก็บแบตเตอรี่ในที่เย็น โดยประจุไฟไว้ประมาณ 40 % วัดแรงดันตัวเปล่าได้ 3.75 - 3.8 โวลต์ ระหว่างการเก็บอาจจะต้องนำมาชาร์จซ้ำ เพราะวงจรป้องกันจะดึงกระแสไปใช้เล็กน้อยระหว่างการเก็บทำให้แรงดันลดต่ำลงจนอาจจะถึงจุดที่วงจรป้องกันตัดวงจรออก สิ่งที่ทำอันตรายได้มากที่สุดคือการชาร์จไฟจนเต็มที่อุณหภูมิสูง ซึ่งเกิดขึ้นในการชาร์จไฟและเก็บแบตเตอรี่ไว้ในรถร้อนๆ

 

ข้อแนะนำ

� หลีกเลี่ยงการใช้แบตเตอรี่จนหมดก้อน เพราะจะทำให้เกิดคราบสะสมบนอิเล็กโทรดในก้อนเซล การใช้งานไปเพียงบางส่วนและชาร์จบ่อยๆ � � �ดีกว่าการใช้ให้หมดและชาร์จครั้งเดียว การชาร์จขณะไฟยังไม่หมดไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ไม่มีปัญหาเรื่องความจำในแบตเตอรี่ ส่วน � � �เรื่องอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ของคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปที่สั้นกว่าปกติ ไม่ได้เกิดจากรูปแบบการใช้งาน หากแต่เกิดปัญหาเพราะความ � � � �ร้อนจากตัวเครื่องมากกว่า

� แบตเตอรี่ที่มีระบบวัดพลังงาน (แล็ปท็อป) ควรปรับตั้งให้สเกลตรงโดยการใช้ให้หมดก้อนโดยอุปกรณ์นั้นสัก 1 ครั้ง ทุกๆ การชาร์จ 30 ครั้ง � � �ถ้าไม่ได้ทำ สเกลแบตอาจจะไม่ตรง ในบางกรณีอาจทำให้เตือนแบตหมดก่อนเวลาที่ควรจะเป็น

� เก็บแบตเตอรี่ในที่เย็น หลีกเลี่ยงการทิ้งไว้ในรถ ถ้าจำเป็นต้องเก็บไว้นานๆ ควรชาร์จไว้ 40 % ก่อนเก็บ

� ควรถอดแบตเตอรี่ออกจากเครื่องแล็ปท็อปถ้าใช้พลังงานจากไฟบ้าน

� อย่าซื้อแบตเตอรี่เก็บสำรองไว้ใช้ ก่อนซื้อให้ดูวันที่ผลิต อย่าซื้อของเลหลังโละสต็อก แม้ว่าจะราคาถูกก็ตาม

� ถ้าคุณมีแบตเตอรี่ลิเธียมสำรอง ให้ใช้ก้อนหนึ่งให้เต็มที่ และเก็บอีกก้อนห่อใส่ถุงเก็บไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง และเพื่อผลที่ดีที่สุด ให้ชาร์จไว้ � � 40 % (3.75 - 3.8 โวลต์)

 

 

ขอโทษค่ะ เราเอามาได้แค่นี้ ใครช่วยเอามาลงเพิ่มให้ทีนะคะ เพราะกลัวว่าจะลงไม่ครบแล้วทำให้เข้าใจผิดหรือไปอ่านในเวปที่อ้างถึงก็ได้ค่ะ :P :P :P

ถูกแก้ไข โดย joonggo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เท่าที่ศึกษาเรื่องแบตลิเธียมมาหลายปี สรุปว่าแบตมือถือ และแบตโน้ตบุ๊กปัจจุบันนี้ใช้แบตลิเธียมทั้งหมด ไม่มีแบตนิแคดรุ่นเก่าเหลืออยู่

แบตลิเธียมจะมีอายุการใช้งานตามรอบการชาร์จ คือทุกครั้งที่ชาร์จ อายุจะสั้นลง ยิ่งชาร์จบ่อย ก็ยิ่งเสียเร็ว ปกติแบตก้อนหนึ่งจะมีรอบการชาร์จประมาณ 500-600 ครั้ง ดังนั้น ถ้าชาร์จทุกวัน ไม่ว่าแบตจะหมดหรือไม่ ก็จะใช้งานได้ประมาณ 1-2 ปี แต่หากชาร์จวันเว้นวัน จะมีอายุการใช้งานเพิ่มเป็น 2-4 ปีทีเดียว

 

แบตลิเธียมไม่ต้องรอให้ใช้หมดจึงจะชาร์จ แต่ควรใช้ไปจนไฟสัญญาณชาร์จเตือนขึ้นมา ค่อยชาร์จ เพราะในโทรศัพท์หรือโน้ตบุค มีโปรแกรมป้องกันไว้อยู่แล้วครับ การที่มีไฟเตือนการชาร์จขึ้นมาก่อน แล้วค่อยชาร์จ ถือว่ามีความปลอดภัย หรือแม้จะเผลอใช้ไปจนเครื่องดับไปเอง ก็ไม่เกิดความเสียหายต่อแบตเตอรี่ เพราะวงจรได้ทำการตัดก่อนที่แบตจะหมดเกลี้ยง แต่ก็ควรรีบชาร์จทันทีที่ทำได้

 

หากทำดังนี้ ปกติแล้วชาร์จครั้งหนึ่งก็จะใช้ได้ประมาณ 2-3 วัน ค่อยชาร์จครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้นไปอีก โดยที่ไม่เกิดความเสียหายต่อแบตเตอรี่ และทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย ๆ เป็นการประหยัดเงินไปได้มาก แบตมือถือบางก้อนผมใช้ได้ถึง 5 ปีทีเดียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คนเขียนก็มีหน้าที่เขียนตามตำรา

ของจริงที่อยู่ในตลาด ก้าวไปไกลมากแล้ว

 

***แต่ก่อน โทรศัทพ์ เครื่องหนึ่งราคา เป็นหมื่น (จอขาวดำ) ผลิต เยอรมัน ใช้มาเป็นสิบปี หรือมากกว่านั้น แบตเตอรรียังดี ยังชาร์จเข้า

 

ถ่านSANYO ก้อนสีเหลือง ผมก็ใช้มาสิบกว่าปี ก็ยังใช้ได้ดี

 

แต่ถ่านมือถือรุ่นใหม่ ก่อนละ50บาท(ต้นทุน) ขาย450บาท ใช้ได้ไม่ถึงปี ก็กลับบ้านเก่าหมด

ถามว่าของแท้ใช้ดีไหม ก็ดีกว่าแน่นอน แต่จะไปหาซื้อที่ไหน และดูยังไงว่าแท้ เท่าที่อยู่ในตลาด 99%ปลอม

และถามว่าของแท้ที่ติดเครื่องมาแท้ไหม ก็บอกว่าแท้ตามสมัย ก็เครื่องละพันกว่าบาท จอสี ถ่ายรูปได้ ทำอะไรต่ออะไรได้มากมาย

แล้วถ่ายจะแท้แค่ไหนก็คิดเอา

***ที่บอกว่าเครื่องขาวดำ เครื่องเป็นหมื่น ตอนนั้นทอง8000บาทโดยประมาณ

ตอนนี้ทองสองหมื่นกว่า แต่โทรศัทพ์ เครื่องละพันกว่าบาท แล้วเอาถ่ายแท้ ที่ใช้ได้ดีๆ ใช้ได้นานๆ ชาร์จได้เป็นร้อยๆครั้ง ต้องถามว่าคุณหวังมากไปเปล่า?

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...