ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

เด็กไทยเจ๋ง! ซิว 8 เหรียญทองแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 สิงหาคม 2555 12:12 น. blank.gif blank.gif

 

555000010121301.JPEG

 

 

 

 

 

blank.gif นักเรียนไทยเจ๋ง ! คว้า 8 เหรียญทองแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ ที่ประเทศจีน

 

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่งตัวแทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ Inter-City Robotic Olympiad 2012 ระหว่างวันที่ 1 - 4 สิงหาคม 2555 ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีประเทศที่ส่งนักเรียนเข้าแข่งขัน 3 ประเทศ รวมจำนวน 61 ทีม คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเลเซีย และไทย ซึ่งประเทศไทยนั้นส่งทีมเยาวชนเข้าแข่งขัน 33 ทีม และเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (5 ส.ค.) ได้รับรายงานด่วนผลการแข่งขัน ว่า ทีมนักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ 8 รางวัล ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ประเภทหุ่นยนต์ม้าวิ่งเร็ว 4 ขา ปั่นมือ และหุ่นยนต์ต่อสู้ จากโรงเรียนบ้านอินทร์แปลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สกลนคร เขต 3 ระดับมัธยมศึกษา ประเภทหุ่นยนต์ม้าวิ่งเร็ว 2 ขา ปั่นมือ และหุ่นยนต์ไตรกีฬา จากโรงเรียนบ้านอินทร์แปลง หุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์ จากโรงเรียนหินโงมพิทยาคม สพม. เขต 21 จังหวัดสกลนคร โครงงานหุ่นยนต์ใช้มอเตอร์หลายตัว ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สพม. เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงงานหุ่นยนต์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกหลบหลีกภัย และหุ่นยนต์ว่ายน้ำฟรีสไตล์ จาก โรงเรียนเบญจมะราชรังสฤษฏ์ 2 สพม. เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 - 3 จำนวน 19 รางวัล รวมทั้งสิ้น 27 รางวัล

 

“สพฐ. ได้เปิดโอกาสให้ นักเรียนที่มีความสามารถในด้านต่างๆ โดยการจัดการแข่งขัน คัดเลือก และส่งตัวแทนทีมนักเรียนไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่องทุกปี และปีนี้ นับว่าประเทศไทยประสบผลสำเร็จมากกว่าปีที่ผ่านมา ในการเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ และได้รางวัลใหญ่ คือ รางวัลชนะเลิศถึง 8 รางวัล ซึ่งน่าภาคภูมิใจที่เด็กไทยของเรามีการพัฒนาศักยภาพ จนสามารถชนะทีมนักเรียนจากนานาประเทศซึ่งมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมากกว่าเรา ขอแสดงความยินดีและขอเป็นกำลังใจให้กับนักเรียน ครู ผู้บริหาร และผู้ปกครองที่ได้รับรางวัลทุกคน” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

อัลบัมภาพ photo.jpg

 

 

C98524E4186F452C8C762BDE0D1FEE2C.jpg

อาสาฬหบูชา ฉลองพุทธชยันตี

พุทธศาสนิกชนในกรุงเทพมหานคร ต่างเดินหน้าเข้าวัด ปฏิบัติธรรม ไหว้พระ เวียนเทียน โดยเฉพาะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัดเก่าชื่อดังหลายวัดที่ประชาชนนิยมไปปฏิบัติธรรม /// ภาพ ทีมภาพโพสต์

 

 

วิดีโอ คลิปข่าว video.jpg

ดูคลิปข่าวทั้งหมด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ว.วชิรเมธี (W.Vajiramedhi)

เพลง WE ARE WORLD

กวีนิพนธ์โดย: ท่าน ว. วชิรเมธี

ทำนอง เรียบเรียง : ธเนส สุขวัฒน์

ขับร้อง : ผุสชา โทณะวณิก, สิรินพร รามสูต

 

สามารถ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ http://www.dhammatod...mid=118&lang=th

 

 

 

 

We Are World จากกวีนิพนธ์ท่าน ว.วชิรเมธีsoundcloud.com

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มั่นใจคนไทยเกินล้าน ขอบคุณทหารที่ช่วยเหลือประชาชนจากอุทกภัย ปี 54 shared Nuntdach Makswat's photo.

 

 

 

576086_370372213036472_2016215149_n.jpg

 

 

368698_100001910903561_814280114_q.jpg

 

Nuntdach Makswat"แม่ของพวกเรา"

 

 

 

ผมเกิดในตระกูลคนจีนที่ร่ำรวย พ่อจากไปตั้งแต่อายุได้7-8ขวบ แม่จึงย้ายมาอยู่กับยายโดยเอาผมตามมาด้วย ที่ประทับใจ

 

คือ ช่วงที่มาอยู่บ้านแถวซอยสุโขทัย มีเพื่อนมาก แม่กลัวผมจะเป็นโจรไปเสียก่อน

จึงย้ายบ้านมาอยู่ตลาดพลู จากโรงเรียนดัง ย่านสามเสน มาอยู่โรงเรียน

วัดนวลนรดิส ตลาดพลู ผมสอบได้ที่1มาตลอด วันหนึ่ง ปุ๊ ระเบิดขวด เพื่อนสมัยอยู่ซอยสุโขทัยมาเยียม พร้อมกับนำอุปกรณ์ทำ

 

ระเบิดมาสอนด้วย ชีวิตก็เปลี่ยนไปอีก

เป็น นักเรียน-นักเลง แม่พาผมหนีมาอยู่

ที่เมืองนนท์ เข้ามหาลัยพอดี แม่ซื้อรถคันเล็กๆให้ขับ ผมเรียนปี1ด้วยคะแนนเหรียญทอง แม่เริ่มไว้ใจแต่ เหล้า ผู้หญิง การพนัน

ทำให้ผมสอบตก18วิชารวด

 

ผมแอบหนีแม่มาเช่าบ้านอยู่กับเพื่อนแถววัดไทร แม่ก็ไม่ว่าอะไร ขึ้นรถไฟ ลงเรือ

เอาของจำเป็นมาให้ ผมทนเห็นแม่ลำบากไม่ไหว(รวมทั้งตัวเองด้วย)เลยกลับบ้าน

 

พอเข้าเป็นทหารเงินเดือนนิดเดียว ก็รีดไถแม่ตลอดมา จนยศพันโท แม่ป่วยด้วยโรคเส้นโลหิตแตกในสมอง ใช้เวลารักษาอยู่2ปีที่ รพ.ประสาท ช่วงนั้นจึงเริ่มรู้สึกว่า"ขาดแม่แล้วเป็นอย่างไร"

 

ในคืนสุดท้ายที่ตัดสินใจให้แม่จากไปตามคำขอครั้งที่10ของหมอนั้น ผมจับมือแม่แน่นร้องให้เป็นวรรค เป็นเวร แม่ดูแลผมมาตลอดชีวิต

แต่ผมไม่เคยดูแลอะไรกับแม่ให้เป็นเรื่องเป็นราวเลย มันเป็นความรู้สึกที่เจ็บปวดที่สุดครับ

 

ไกล้วันแม่แล้ว ใครไม่ค่อยได้ไปหาแม่ ไม่เคยดูแลท่าน

อย่างจริงจัง ไปทำเถอะครับ อย่าทิ่งให้ท่านนอนตายคาตึกเลย น้ำใจของลูกจะต่อชีวิตท่านให้ยืนยาวต่อไปอีก"ท่านคือพระอีกองค์หนึ่งในบ้าน"ครับ

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประวัติช้างไทย

 

 

ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์

 

 

ในสมัยโบราณมีการใช้ช้างในการทำสงคราม ซึ่งถือว่าช้างนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสู้ศึกเพื่อเอกราชของไทยเลยก็ว่าได้ การใช้ช้างในการทำสงครามนั้นได้มีการกล่าววิธีการต่อสู้เอาไว้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือแม่ทัพก็จะใช้อาวุธของ้าวต่อสู้กันบนหลังช้าง ส่วนช้างที่ใช้ต่อสู้นั้นก็จะต่อสู้กับช้างของศัตรูช้างผู้ใดที่มีกำลังมากและสามารถสู้งัดช้างของศัตรู ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะจะทำให้แม่ทัพนั้นสามารถใช้ของ้าวฟันคู่ต่อสู้ได้อย่างสะดวกและได้ชัยชนะ ซึ่งการรับชัยชนะนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของช้างและแม่ทัพด้วย ช้างศึกในสมัยโบราณนั้นมีมากมายหลายรัชสมัยโดยเริ่มจากสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยนี้พระองค์ได้รับช้างเผือกมาตัวหนึ่งซึ่งถือเป็นช้างเผือกแรกของกรุงศรีอยุธยา เลยก็ว่าได้จนพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือกและในสมัยพระมหาจักรพรรดิทรงใช้ช้างต่อสู้กับกองทัพของพม่าและได้เกิดตำนานพระศรีสุริโยทัยขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรบบนหลังช้างที่สำคัญกับคนไทยมากที่สุดซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชให้กับประเทศไทยเลยก็ว่าได้นั่นคือในสมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีโดยช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการทำศึกครั้งนี้คือเจ้าพระยาไชยานุภาพและเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้สมญานามว่า เจ้าพระยาปราบหงสา ส่วนช้างที่พระสมเด็จพระเอกาทศรถผู้น้องทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อครั้งที่ประชาชนเกิดความแตกแยกข้าศึกเข้าโจมตี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นกำลังรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นโดยทรงใช้ช้างในการรบด้วยเช่นกัน

 

ช้างไทยในพระราชพิธี

ภาพ ช้างเผือก http://www.thailandelephant.org/elephant1.php3

 

ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลซึ่งในประเพณีเหล่านี้ก็เกิดจากความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยในประเพณี หรือ พระราชพิธีต่างๆนี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล ในประเพณีของไทยแต่เดิมช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี ซึ่งพระราชพิธีเหล่านี้ได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และงานพระราชพิธีฉัตรมงคล การนำช้างเผือกขึ้นยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ในรัชกาลที่ 3 ได้มีการปรากฏถึงการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้ในพระราชพงศาวดารดาวกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ในรัชกาลที่ 4 ที่กล่าวถึงในพระราชพิธีบวรราชาภิเษก พระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงช้างพระที่นั่งชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพพร้อมกันนี้ยังมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 กล่าวถึงการนำพระวิมลรัตนกิริณีช้างเผือกในรัชกาลที่ 4 แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ออกยืนแท่นพร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการขอความสมบูรณ์ให้กับต้นข้าวพืชพันธุ์ของประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีเช่นนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อนซึ่งพระราชพิธีนี้แบ่งออกเป็น 2 ภร คือพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามช้าง งานสมโภชช้างนั้นจะจัดเป็นเวลาเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละสมัยซึ่งในรัชกาลที่ 9 มีงาน 2 วัน

 

 

 

ช้างไทยในจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา

จิตรกรรมภาพวาดของไทยที่ปรากฏในทุกสถานที่ที่สำคัญของเมืองไทยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนาความเชื่อที่ผู้คนในแต่ละพื้นที่มี งานจิตรกรรมส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เริ่มจากเรื่องราวของพระนางสิริมหามายาสุบินนิมิตเห็นพระเศวตกุญชร ซึ่งเป็นช้างเผือกขาวในเรื่องนี้ก็ได้มีการทำจิตรกรรมฝาผนังเกิดขึ้นและในประเทศไทยได้ปรากฏอยู่ตามโบราณสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอาทิเช่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ที่หอสมุดแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเหตุการณ์ของช้างชื่อนาฬาคิรี ช้างคิรีเมขล์ ช้างปาลิไลยะ

 

ช้างนาฬาคิรีเป็นช้างที่มีรูปสูงใหญ่ วิ่งเร็ว ดุร้าย เป็นช้างที่พระเทวทัตใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายพระพุทธเจ้าแต่เมื่อนาฬาคิรีมาเข้าใกล้พระพุทธเจ้าเพื่อทำร้ายแต่กลับกลายเป็นว่าพระพุทธเจ้าทรงแผ่เมตตาจนนาฬาคิรีสงบจิตรกรรมในเรื่องนี้ได้มีที่จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์

จิตรกรรมฝาผนังในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์ แสดงภาพพระพุทธเจ้าทรมานช้างนาฬาคีรี

 

 

 

ภาพ ช้างนาฬาคิรี จากหนังสือ ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรมหน้า 75

 

 

ช้างคิรีเมขล์เป็นช้างสูงใหญ่มีกำลังมากเป็นช้างพาหนะของพญามารที่แปลงกายเพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ในอุโบสถวัดดุสิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในอุโบสถวัดหนองสูง จังหวัดสระบุรี ในอุโบสถวัดเทพอุปการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดหนองยาวสูง สระบุรี แสดงภาพมารผจญ

 

 

 

ภาพ ช้างคิรีเมขล์ จากหนังสือ ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม

 

ช้างปาลิไลยกะเป็นช้างที่รับใช้พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่หมู่บ้านปาลิไลยกะ จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ในอุโบสถวัดจรรย์และในอุโบสถวัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี

 

 

 

จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดจรรย์ จังหวัดสพรรณบุรี แสดงภาพพระพุทธเจ้าประทับ ณ ป่ารักขิตวัน มีช้างปาเลไลย์และลิงเฝ้าปรนนิบัติ

 

 

ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

• ช้างเอราวัณ

เป็นช้างที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดีบาลีกล่าวกันว่าเป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ เรื่องราวของช้างเอราวัณที่ได้ พูดถึงกันนั้นจะเกี่ยวข้องกับประวัติของท้าวสักกะหรือพระอินทร์ผู้เป็นราชาแห่งเทพชั้นดาวดึงส์

• ช้างไอราวัณ

เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา ผิวกายผ่องดูสดใส เป็นช้างที่มีพลังอำนาจมาก ช้างไอราวัณมีหน้าที่ เป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ โดยมีหน้าที่หลายอย่างอาทิเช่น การนำพระอินทร์ออกรบ การทำฝน ช้างเอราวัณหรือไอราวัณนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง

• ช้างพลายมงคล

เป็นช้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช้างที่พระเจ้าเชียงใหม่ถวายเป็นบรรณาการแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีโสกันต์ แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในเวลานั้นยังทรงพระเยาว์ พร้อมกับประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังซึ่งจะทรงเลี้ยงช้างก็ไม่สะดวกนัก จึงประทานให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ซึ่งเป็นพระอภิบาลเลี้ยงช้างและคอยกราบทูลถวายรายงานที่เกี่ยวกับพลาย มงคล ช้างพลายมงคลมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาเทเวศรฯ หรือที่เรียกกันว่าวังบ้านหม้อซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมีทางเดินขนาดใหญ่ พร้อมกันนี้ก็เป็นบ้านที่มีคนอยู่มากมาย พลายมงคลเมื่อมาอยู่บ้านนี้ก็รู้สึกครึกครื้นเป็นช้างชอบเล่นและเป็นที่ชื่นชอบแก่เด็กๆ รวมทั้งลูกๆ หลานๆ ของเจ้าพระยาเทเวศรฯ ด้วย พลายมงคลเป็นช้างที่ฉลาดจึงทำให้เจ้าพระยาเทเวศรฯ รักประดุจลูกพลายมงคลมีคนดูแลชื่อว่า ตาภู่ ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้จึงเปรียบเหมือนเป็นพ่อของพลายมงคลเลยก็ว่าได้

 

 

 

ช้างไทยในแต่ละรัชกาล

ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ปกครองมานานหลายรัชสมัย ซึ่งในการปกครองแต่ละรัชสมัยนั้นก็ได้มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการปกครองตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบันช้างถือว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยเสริมบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเสวยราชย์เป็นพระยาช้างที่มีบุญบารมีมากว่า 500 ชาติ จึงถือได้ว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยเลยก็ว่าได้

กรุงสุโขทัย

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่าพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และยังมีอีกตอนที่กล่าวถึงช้างเผือกตัวโปรดของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชที่ชื่อรุจาครี ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุงสุโขทัย

กรุงศรีอยุธยา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีช้างเผือกที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล

• ในสมัย สมเด็จพระอินทราชาที่ 2 ได้ช้างเผือกมา 1 เชือก

• ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ปรากฏช้างเผือกที่ชื่อพระฉัททันต์ขึ้น

• ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัชสมัยเริ่มต้นที่ให้ความสำคัญกับช้างเผือกมากที่สุด พร้อมทั้งยังมีช้างเผือกประจำรัชกาลนี้ถึง 7 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ช้างเผือกพังแม่และพังลูก พระบรมไกรสร พระสุริยกุญชร

• ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทร์ไอยราวรรณ และ เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์

• ในสมัยสมเด็จพระมหาบุรุษ( พระเพทราชา) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทรไอราพต และ พระบรมรัตนากาศ

• ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) ได้ช้างเผือกชื่อ พระบรมไตรจักร

• ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ( พระบรมโกศ )ได้ช้างเผือกมา 6 เชือก คือ พระวิเชียรหัสดิน พระบรมราชนาเคนทร พระบรมวิไชยคเชนทร พระบรมกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมคชลักษณ์

 

กรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ช้างพังเผือก ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าฝางหนีพาช้างไปด้วย กองทัพติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย

 

กรุงรัตนโกสินทร์

• รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ช้าง 10 เชือก คือ พระบรมไกรสร ( บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร ( บวรบุษปทันต์ ) พระอินทรไอยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคคเชนทร์ ) พระบรมนาเคนทร์ พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคชาติดามพหัตถี ) พระบรมเมฆเอกทนต์

• รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีช้าง 6 เชือก คือ พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์ ( คเชนทรธราธาร ) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์

• รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก คือ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์ พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์ พระบรมคชลักษณ์ ( ศักดิสารจุมประสาท ) พระบรมนขาคเชนทร์ พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ

• รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 15 เชือก คือ พระบรมนัขสมบัติ พระวิมลรัตนกิริณี พระบรมคชรัตน พระวิสูตรรัตนกิริณี พระพิไชยนิลนัข พระพิไชยกฤษณาวรรณ พระศรีสกลกฤษณ์ พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพัง เผือกเอก พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร ช้างสีประหลาด เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระยาไชยานุภาพ

 

• รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 19 เชือก คือ พระเศวตวรวรรณ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเทพคชรัตนกิริณี พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ พระบรมทันตวรลักษณ์ พระเศวตวรลักษณ์ พระเศวตวรสรรพางค์ พระเศวตวิสุทธิเทพา พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระเศวตสกลวโรภาศ พระเศวตรุจิราภาพรรณ พระเศวตวรนาเคนทร์ ช้างพลายเผือกเอก พระศรีเศวตวรรณิภา พระเศวตอุดมวารณ์ ช้างพลายสีประหลาด 2 เชือก เจ้าพระยาไชยานุภาพ

• รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตวชิรพาหะ

• รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก

 

• รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีช้างเผือก 10 เชือก คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน พระเศวตวรรัตนกรี

ประวัติช้างไทย

 

 

ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์

 

 

ในสมัยโบราณมีการใช้ช้างในการทำสงคราม ซึ่งถือว่าช้างนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสู้ศึกเพื่อเอกราชของไทยเลยก็ว่าได้ การใช้ช้างในการทำสงครามนั้นได้มีการกล่าววิธีการต่อสู้เอาไว้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือแม่ทัพก็จะใช้อาวุธของ้าวต่อสู้กันบนหลังช้าง ส่วนช้างที่ใช้ต่อสู้นั้นก็จะต่อสู้กับช้างของศัตรูช้างผู้ใดที่มีกำลังมากและสามารถสู้งัดช้างของศัตรู ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะจะทำให้แม่ทัพนั้นสามารถใช้ของ้าวฟันคู่ต่อสู้ได้อย่างสะดวกและได้ชัยชนะ ซึ่งการรับชัยชนะนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของช้างและแม่ทัพด้วย ช้างศึกในสมัยโบราณนั้นมีมากมายหลายรัชสมัยโดยเริ่มจากสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยนี้พระองค์ได้รับช้างเผือกมาตัวหนึ่งซึ่งถือเป็นช้างเผือกแรกของกรุงศรีอยุธยา เลยก็ว่าได้จนพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือกและในสมัยพระมหาจักรพรรดิทรงใช้ช้างต่อสู้กับกองทัพของพม่าและได้เกิดตำนานพระศรีสุริโยทัยขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรบบนหลังช้างที่สำคัญกับคนไทยมากที่สุดซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชให้กับประเทศไทยเลยก็ว่าได้นั่นคือในสมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีโดยช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการทำศึกครั้งนี้คือเจ้าพระยาไชยานุภาพและเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้สมญานามว่า เจ้าพระยาปราบหงสา ส่วนช้างที่พระสมเด็จพระเอกาทศรถผู้น้องทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อครั้งที่ประชาชนเกิดความแตกแยกข้าศึกเข้าโจมตี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นกำลังรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นโดยทรงใช้ช้างในการรบด้วยเช่นกัน

 

ช้างไทยในพระราชพิธี

ภาพ ช้างเผือก http://www.thailandelephant.org/elephant1.php3

 

ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลซึ่งในประเพณีเหล่านี้ก็เกิดจากความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยในประเพณี หรือ พระราชพิธีต่างๆนี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล ในประเพณีของไทยแต่เดิมช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี ซึ่งพระราชพิธีเหล่านี้ได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และงานพระราชพิธีฉัตรมงคล การนำช้างเผือกขึ้นยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ในรัชกาลที่ 3 ได้มีการปรากฏถึงการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้ในพระราชพงศาวดารดาวกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ในรัชกาลที่ 4 ที่กล่าวถึงในพระราชพิธีบวรราชาภิเษก พระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงช้างพระที่นั่งชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพพร้อมกันนี้ยังมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 กล่าวถึงการนำพระวิมลรัตนกิริณีช้างเผือกในรัชกาลที่ 4 แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ออกยืนแท่นพร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการขอความสมบูรณ์ให้กับต้นข้าวพืชพันธุ์ของประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีเช่นนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อนซึ่งพระราชพิธีนี้แบ่งออกเป็น 2 ภร คือพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามช้าง งานสมโภชช้างนั้นจะจัดเป็นเวลาเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละสมัยซึ่งในรัชกาลที่ 9 มีงาน 2 วัน

 

 

 

ช้างไทยในจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา

จิตรกรรมภาพวาดของไทยที่ปรากฏในทุกสถานที่ที่สำคัญของเมืองไทยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนาความเชื่อที่ผู้คนในแต่ละพื้นที่มี งานจิตรกรรมส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เริ่มจากเรื่องราวของพระนางสิริมหามายาสุบินนิมิตเห็นพระเศวตกุญชร ซึ่งเป็นช้างเผือกขาวในเรื่องนี้ก็ได้มีการทำจิตรกรรมฝาผนังเกิดขึ้นและในประเทศไทยได้ปรากฏอยู่ตามโบราณสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอาทิเช่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ที่หอสมุดแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเหตุการณ์ของช้างชื่อนาฬาคิรี ช้างคิรีเมขล์ ช้างปาลิไลยะ

 

ช้างนาฬาคิรีเป็นช้างที่มีรูปสูงใหญ่ วิ่งเร็ว ดุร้าย เป็นช้างที่พระเทวทัตใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายพระพุทธเจ้าแต่เมื่อนาฬาคิรีมาเข้าใกล้พระพุทธเจ้าเพื่อทำร้ายแต่กลับกลายเป็นว่าพระพุทธเจ้าทรงแผ่เมตตาจนนาฬาคิรีสงบจิตรกรรมในเรื่องนี้ได้มีที่จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์

จิตรกรรมฝาผนังในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์ แสดงภาพพระพุทธเจ้าทรมานช้างนาฬาคีรี

 

 

 

ภาพ ช้างนาฬาคิรี จากหนังสือ ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรมหน้า 75

 

 

ช้างคิรีเมขล์เป็นช้างสูงใหญ่มีกำลังมากเป็นช้างพาหนะของพญามารที่แปลงกายเพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ในอุโบสถวัดดุสิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในอุโบสถวัดหนองสูง จังหวัดสระบุรี ในอุโบสถวัดเทพอุปการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดหนองยาวสูง สระบุรี แสดงภาพมารผจญ

 

 

 

ภาพ ช้างคิรีเมขล์ จากหนังสือ ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม

 

ช้างปาลิไลยกะเป็นช้างที่รับใช้พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่หมู่บ้านปาลิไลยกะ จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ในอุโบสถวัดจรรย์และในอุโบสถวัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี

 

 

 

จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดจรรย์ จังหวัดสพรรณบุรี แสดงภาพพระพุทธเจ้าประทับ ณ ป่ารักขิตวัน มีช้างปาเลไลย์และลิงเฝ้าปรนนิบัติ

 

 

ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย

• ช้างเอราวัณ

เป็นช้างที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดีบาลีกล่าวกันว่าเป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ เรื่องราวของช้างเอราวัณที่ได้ พูดถึงกันนั้นจะเกี่ยวข้องกับประวัติของท้าวสักกะหรือพระอินทร์ผู้เป็นราชาแห่งเทพชั้นดาวดึงส์

• ช้างไอราวัณ

เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา ผิวกายผ่องดูสดใส เป็นช้างที่มีพลังอำนาจมาก ช้างไอราวัณมีหน้าที่ เป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ โดยมีหน้าที่หลายอย่างอาทิเช่น การนำพระอินทร์ออกรบ การทำฝน ช้างเอราวัณหรือไอราวัณนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง

• ช้างพลายมงคล

เป็นช้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช้างที่พระเจ้าเชียงใหม่ถวายเป็นบรรณาการแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีโสกันต์ แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในเวลานั้นยังทรงพระเยาว์ พร้อมกับประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังซึ่งจะทรงเลี้ยงช้างก็ไม่สะดวกนัก จึงประทานให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ซึ่งเป็นพระอภิบาลเลี้ยงช้างและคอยกราบทูลถวายรายงานที่เกี่ยวกับพลาย มงคล ช้างพลายมงคลมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาเทเวศรฯ หรือที่เรียกกันว่าวังบ้านหม้อซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมีทางเดินขนาดใหญ่ พร้อมกันนี้ก็เป็นบ้านที่มีคนอยู่มากมาย พลายมงคลเมื่อมาอยู่บ้านนี้ก็รู้สึกครึกครื้นเป็นช้างชอบเล่นและเป็นที่ชื่นชอบแก่เด็กๆ รวมทั้งลูกๆ หลานๆ ของเจ้าพระยาเทเวศรฯ ด้วย พลายมงคลเป็นช้างที่ฉลาดจึงทำให้เจ้าพระยาเทเวศรฯ รักประดุจลูกพลายมงคลมีคนดูแลชื่อว่า ตาภู่ ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้จึงเปรียบเหมือนเป็นพ่อของพลายมงคลเลยก็ว่าได้

 

 

 

ช้างไทยในแต่ละรัชกาล

ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ปกครองมานานหลายรัชสมัย ซึ่งในการปกครองแต่ละรัชสมัยนั้นก็ได้มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการปกครองตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบันช้างถือว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยเสริมบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเสวยราชย์เป็นพระยาช้างที่มีบุญบารมีมากว่า 500 ชาติ จึงถือได้ว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยเลยก็ว่าได้

กรุงสุโขทัย

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่าพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และยังมีอีกตอนที่กล่าวถึงช้างเผือกตัวโปรดของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชที่ชื่อรุจาครี ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุงสุโขทัย

กรุงศรีอยุธยา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีช้างเผือกที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล

• ในสมัย สมเด็จพระอินทราชาที่ 2 ได้ช้างเผือกมา 1 เชือก

• ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ปรากฏช้างเผือกที่ชื่อพระฉัททันต์ขึ้น

• ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัชสมัยเริ่มต้นที่ให้ความสำคัญกับช้างเผือกมากที่สุด พร้อมทั้งยังมีช้างเผือกประจำรัชกาลนี้ถึง 7 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ช้างเผือกพังแม่และพังลูก พระบรมไกรสร พระสุริยกุญชร

• ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทร์ไอยราวรรณ และ เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์

• ในสมัยสมเด็จพระมหาบุรุษ( พระเพทราชา) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทรไอราพต และ พระบรมรัตนากาศ

• ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) ได้ช้างเผือกชื่อ พระบรมไตรจักร

• ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ( พระบรมโกศ )ได้ช้างเผือกมา 6 เชือก คือ พระวิเชียรหัสดิน พระบรมราชนาเคนทร พระบรมวิไชยคเชนทร พระบรมกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมคชลักษณ์

 

กรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ช้างพังเผือก ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าฝางหนีพาช้างไปด้วย กองทัพติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย

 

กรุงรัตนโกสินทร์

• รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ช้าง 10 เชือก คือ พระบรมไกรสร ( บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร ( บวรบุษปทันต์ ) พระอินทรไอยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคคเชนทร์ ) พระบรมนาเคนทร์ พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคชาติดามพหัตถี ) พระบรมเมฆเอกทนต์

• รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีช้าง 6 เชือก คือ พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์ ( คเชนทรธราธาร ) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์

• รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก คือ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์ พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์ พระบรมคชลักษณ์ ( ศักดิสารจุมประสาท ) พระบรมนขาคเชนทร์ พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ

• รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 15 เชือก คือ พระบรมนัขสมบัติ พระวิมลรัตนกิริณี พระบรมคชรัตน พระวิสูตรรัตนกิริณี พระพิไชยนิลนัข พระพิไชยกฤษณาวรรณ พระศรีสกลกฤษณ์ พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพัง เผือกเอก พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร ช้างสีประหลาด เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระยาไชยานุภาพ

 

• รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 19 เชือก คือ พระเศวตวรวรรณ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเทพคชรัตนกิริณี พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ พระบรมทันตวรลักษณ์ พระเศวตวรลักษณ์ พระเศวตวรสรรพางค์ พระเศวตวิสุทธิเทพา พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระเศวตสกลวโรภาศ พระเศวตรุจิราภาพรรณ พระเศวตวรนาเคนทร์ ช้างพลายเผือกเอก พระศรีเศวตวรรณิภา พระเศวตอุดมวารณ์ ช้างพลายสีประหลาด 2 เชือก เจ้าพระยาไชยานุภาพ

• รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตวชิรพาหะ

• รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก

 

• รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีช้างเผือก 10 เชือก คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน พระเศวตวรรัตนกรี พระเศวตสุรคชาธาร พระศรีเศวตศุภลักษณ์ พระเศวตศุทธวิลาศ พระวิมลรัตนกิริณี พระศรีนรารัฐราชกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระบรมนขทัศ

 

บรรณานุกรม

สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. 2530. ช้างไทย. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ

อมรา ศรีสุชาติ. 2550. ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเล่ม 17. 2537. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ภาพ

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเล่ม 17. 2537. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

อมรา ศรีสุชาติ. 2550. ช้างในพุทธวรรณกรรมและพุทธศิลปกรรม. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์

"เจ้าพระยาไชยานุภาพ" . 2551.http://www.thungyai.org/thai/activities/48/kingnaresuan/king07.htm

"ช้างเผือก". 2551. http://www.thailandelephant.org/elephant1.php3

"ช้างต้น". 2551. http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK17/chapter1/t17-1-s.htm

"ช้างเอราวัณ". 2551. http://www.businesscenterbkk.com/arawan.jpg

"ช้างเผือก". 2551. http://www.dnp.go.th/multi_prov_forest/pic/66.jpg

"ช้างต้น".2551. http://www.csd.go.th/news/31012007/

 

 

 

 

พระเศวตสุรคชาธาร พระศรีเศวตศุภลักษณ์ พระเศวตศุทธวิลาศ พระวิมลรัตนกิริณี พระศรีนรารัฐราชกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระบรมนขทัศ

 

 

 

480308_447939775228934_768299505_n.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐีขี้เหนียว

 

เศรษฐีขี้เหนียวซื้อของขวัญปีใหม่ฝากเพื่อนจนครบเกือบทุกคน ขาดแต่ของของเพื่อนเก่าที่ย้ายไปอยู่ต่างเมือง งบประมาณก็เหลือแค่นิดเดียว เขาเดินหาอยู่นานก็ไม่ได้ของที่ราคาถูกเงินและถูกใจซะที จนกระทั่งเหลือบไปเห็นเศษแก้วแตกกองนึงอยู่บนโต๊ะ ไอเดียอุบาทว์เกิดขึ้นทันที

 

"แก้วนี่จะทิ้งหรือ"

เขาถามพนักงานในร้าน

 

"ใช่ครับ มีพนักงานคนนึงทำแตก เรากำลังจะเก็บไปทิ้งครับ" พนักงานบอก

 

"ถ้าผมขอได้มั้ย" เขาถามต่อ

 

"ได้สิครับ" พนักงานงงเล็กน้อย

 

"แล้วถ้าจะช่วยห่อของขวัญให้ผมด้วยจะได้ไหม" เขารุกไล่

 

"ไม่มีปัญหาครับ ท่านซื้อของกับเราตั้งหลายชิ้น เดี๋ยวจะห่อให้เรียบร้อยเลยครับ" พนักงานใจดี

 

"ดี งั้นช่วยส่งให้ผมด้วยนะ ตามที่อยู่นี่แหละ" เศรษฐีขี้เหนียวยังไม่วาย

แต่พนักงานในร้านก็ยอมโดยดี

 

เศรษฐีขี้เหนียวเดินออกจากร้านอย่างภาคภูมิใจในไอเดียสุดประหยัดของตน และมั่นใจว่าเพื่อนจะต้องคิดว่าแก้วนั้นแตกระหว่างการขนส่ง

 

หนึ่งเดือนผ่านไป เพื่อนเขียนจดหมายมาบอก

"ขอบใจมากสำหรับแก้วแตกที่ส่งมา แต่คราวหลังไม่ต้องห่อแยกชิ้นอย่างนี้ก็ดีว่ะ ขี้เกียจแกะทีละชิ้น" ขอบคุณ ขำกลิ้งดอทเนต

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

276605_162450523782273_6470096_q.jpg

 

พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo

 

" หน่ายโลก เพราะเห็นโทษของมัน แล้วยังไงต่อ...? "

 

Alinnan Akratumrongsin - ฝึกปฏิบัติธรรมมาหลายปี จนปัจจุบันรู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ บนโลกนี้ไม่ใช่สุขถาวร มองเห็นแต่มายา และจอมปลอม ที่มีเปลือกคอยหลอกให้หลงว่าคือความสุข หาความสุขที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ แบบเมื่อก่อนไม่เจอ แม้แต่อาหารรสชาดก็ไม่อร่อยมากกก เหมือนเมื่อก่อน เพียงแต่อาจยังพอมีความอยากอาหารอยู่ แต่พอทานก็แค่รู้ว่ามีรสชาดดี หากแต่มันไม่อร่

อยสดชื่นเหมือนเดิมอีก มีเพียงความสุขตามหน้าที่ที่เราเป็นอยู่

 

ผลคือไม่มีความตื่นเต้นเร้าใจใดใด จนบางทีเกิดความเบื่อหน่ายในโลกใบนี้ บางช่วงก็เบื่อ ๆ กับกิเลสทั้งในตัวเอง ที่ยังคงมีโกรธ เศร้า กลัว และกิเลสของคนบนโลก แต่ไม่ได้มีจิตคิดฆ่าตัวตาย ทุกวันก็ยังคงทำหน้าที่อย่างดีที่สุด สุดความสามารถ ยังคงมีจิตเมตตากับคนอื่นเสมอ หากแต่อยากทราบว่า เราจะวางใจอย่างไรให้ยังคงสามารถ มองเห็นประโยชน์ของโลกใบนี้ ว่าเราควรจะอยู่เพื่อทำสิ่งใด ไม่เบื่อหน่ายโลกมากไปกว่านี้ ด้วยไม่เห็นความบันเทิงเริงใจอื่นใด

 

พระไพศาล วิสาโล - การเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ดังนั้นเมื่อเกิดมาแล้วควรใช้โอกาสที่หายากนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ นั่นคือ ฝึกฝนพัฒนาตนจนเข้าถึงความสุขอันประเสริฐ ได้แก่ความสงบเย็นเป็นอิสระจากทุกข์ ขณะเดียวกันก็มุ่งทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ หากปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้

อง ย่อมพบความสงบเย็นอันเป็นสุขที่ประณีต และประเสริฐกว่าความสุขแบบโลก ๆ

 

ที่คุณเบื่อความสุขแบบโลก ๆ นั้นเป็นเพราะคุณเห็นโทษของมันแล้ว แต่สิ่งที่ขาดไปก็คือ การพบความสุขจากจิตที่เป็นอิสระจากทุกข์ ดังนั้นจึงควรใช้เวลาที่มีอยู่เพื่อการเข้าถึงภาวะดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลผู้อื่นได้มากขึ้นและมีความสุขทุกขณะที่ได้ทำสิ่งนั้น

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาพที่ทำให้คุณยิ้มออก 1205.jpg ภาพที่ทำให้คุณยิ้มออก 1207.jpg ภาพที่ทำให้คุณยิ้มออก ภาพที่ทำให้คุณยิ้มออก

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...