ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

สาระน่ารู้..โรคเบาหวาน..

โพสต์แนะนำ

ตั้งใจว่าจะรวบรวมเรื่องเบาหวานนานแล้ว ..อาหารที่ควรทาน/หลีกเลี่ยง แต่ก็ไม่ได้ทำซักที...วันนี้หาอ่านแล้ว ก็เริ่มแปะเลยละกัน

 

ทานผลไม้ลดน้ำตาลในเลือด...โรคเบาหวาน

 

 

เบาหวานคือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ สาเหตุจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อน ปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่า “อินซูลิน” ออกมาไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ดังนั้น โรคเบาหวานจึงเป็นโรคที่เรื้อรัง สามารถรักษาได้แต่ไม่หายขาด ทั้งนี้เกิดจากสาเหตุหลายๆอย่างทั้งจากกรรมพันธุ์ และอาหารการกิน

สาเหตุของโรคเบาหวาน คือ ตับอ่อนเสื่อม จึงสร้างอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย สารอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็น พลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำไปใช้ จนทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ และถูกไตขับออกมาทางปัสสาวะ ผักผลไม้ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

 

ชนิดของโรคเบาหวาน

 

:huh: เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน เป็นชนิดที่พบได้น้อยแต่มีความรุนแรงและอันตรายค่อนข้างสูง มักพบในเด็กและคนที่อายุต่ำกว่า 25ปี โดยตับอ่อนของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่สามารถผลิตสารอินซูลินได้เลย หรืออาจจะผลิตได้น้อยมาก จึงจำเป็นจะต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกาย

 

:lol: เบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน เป็นเบาหวานที่พบได้บ่อยในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี มักจะมีความรุนแรงน้อย โดยตับอ่อนของผู้ป่วยยังสามารถที่จะผลิตอินซูลินได้บ้าง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเผาผลาญน้ำตาล

 

เหตุผลที่เราจะต้องควบคุมเบาหวานก็เพราะถ้าไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ ในระดับปกติ เบาหวานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับอวัยวะสำคัญได้ เช่น การติดเชื้อที่ดวงตา หรือที่ไต หรือการส่งผลทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและความดันโลหิตตามมา หลักการควบคุมโรคเบาหวาน การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ โดยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดอาหารประเภทแป้ง-น้ำตาล-ไขมัน ควรรับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น ยกเว้นผลไม้ที่มีรสหวานควรหลีกเลี่ยง

ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรคเบาหวาน

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ระมัดระวังไม่ให้ร่างกายเกิดแผล เพราะจะทำให้แผลหายช้า

 

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

 

อาหารที่ควรงดได้แก่ อาหารน้ำตาลทุกชนิด เช่น ขนมหวาน ของหวาน ของเชื่อม ผลไม้กระป๋อง น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

ผลไม้กินได้ในปริมาณจำกัด เนื่องจากมีน้ำตาล แต่ให้หลีกเลี่ยงผลไม้ที่หวานจัด เช่นทุเรียน น้อยหน่า ละมุด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรงดผลไม้ เนื่องจากผลไม้มีวิตามิน และใยอาหารสูง

 

อาหารที่ควรกินให้มากคือผักใบเขียวทุกชนิด ซึ่งให้พลังงานต่ำ มีใยอาหารสูง แต่มีข้อควรระวังคือ อันตรายจากยาปราบศัตรูพืชที่อาจตกค้างอยู่ ควรล้างให้สะอาดก่อนทุกครั้ง อาหารช่วยลดคอเลสเตอรอล

 

สมุนไพรสำหรับลดน้ำตาลในเลือด

 

โดยปกติมักใช้สมุนไพรในการลดน้ำตาลในเลือดและการรักษาอาการเบาหวาน เช่น เตยหอมเอาทั้งใบและราก ล้างให้สะอาด ตัดส่วนของใบสักทองและใบเตยหอมอย่างละเท่าๆ กันเอามาคั่วให้เหลือง ส่วนรากเตยหอมไม่ต้องคั่ว แต่เอามาทุบให้แตก แล้วใส่ทั้ง 3 อย่างลงในหม้อต้ม ใช้น้ำยารับประทานแทนต่างน้ำทุกวัน ประมาณ ๑ เดือน อาการก็จะดีขึ้น (หรือจะทำเป็นชาดื่มก็ได้)

 

:huh: เห็ดหลินจือ ..เป็นสมุนไพรที่นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสารสำคัญทางยาที่ลดน้ำตาลในเลือดได้คือ สาร ที่อยู่ในกลุ่มของ โพลีแซ็กคาไรด์ ได้แก่ กาโนเดอแรน เอ บี และ ซี (Ganoderans A,B,C,) ช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือด ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของสารอินซูลินซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลไป ใช้เป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย ปัจจุบันได้มีการจดสิทธิบัตรสารสำคัญในเห็ดหลินจือ คือกาโนเดอแรน เอ บี และ ซี (Ganoderans A,B,C,) ทำเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีข้อบ่งชี้ใช้ลดน้ำตาลในเลือด

ต้นไมยราบกับต้นครอบจักรวาลหรือต้นฟันจักรสี อย่างละเท่ากัน นำมาหั่นตากแดดให้แห้ง คั่วไฟให้เหลือง ชงกับน้ำร้อนเป็นน้ำชาดื่ม

 

เจียวกู้หลาน Jiaogulan (Gynostemma pentaphylum) ได้รับการ ยกย่าอง ให้เป็นสุดยอดสมุนไพรแห่งชาติปี พ.ศ. 2548 โดยมีสรรพคุณให้ผลในการลดน้ำตาลในเลือด สรรพคุณที่มีอยู่ในเจียวกู้หลาน จะทำกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งสารอินซูลิน และยับยั้ง การดูดซึมกลูโคส ในทางเดินอาหาร จากรายงานการศึกษา ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เจียวกู้หลาน จะกระตุ้น การหลั่ง อินซูลิน และยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหาร อ้างอิงจาก สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ISBN 974-7549-68-3

 

ผลไม้ช่วยลดเบาหวาน

 

:D แอปเปิ้ล.. เป็นผลไม้ที่เมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปอาหารแต่ละชนิดจะถูกย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนัง กระเพาะลำไส้เข้าสูกกระแสเลือดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้น ๆ เช่น ถ้ารับประทานน้ำผึ้ง น้ำตาลในเลือดจะขึ้นอย่างรวดเร็วในทันที แต่สำหรับแอปเปิ้ลถึงแม้จะมีน้ำตาบธรรมขาติในเนื้อแอปเปิ้ลมาก แต่ก็ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เท่านั้น เช่นเดียวกับอาหารจำพวกถั่ว

คนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มาก ๆ จะมีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย และสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย แอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำสูงมาก จำเหมาะสำหรับคนที่เป็นเบาหวาน และมีรายงานระบุว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มาก จะเกิดอาการความดันโลหิตสูงได้ยากกว่าคนทีรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย

 

อย่างไรก็ตามแอปเปิ้ลไม่ใช่ยารักษาโรคแต่เป็นเพียงอาหารที่มากด้วยคุณค่าเท่านั้น

 

-_- ฟักทอง... ลดน้ำตาลในเลือด งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนพบว่า น้ำตาลโพลีแซ็กคาไรด์ที่ตรึงกับโปรตีนในเนื้อฟักทองมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด น้ำตาลดังกล่าวละลายได้ในน้ำคั้นผลฟักทอง เมื่อทดสอบกับหนูที่เป็นเบาหวานจากสารอัลล็อกซาน พบว่า น้ำตาล-โปรตีนดังกล่าวเพิ่มระดับอินซูลินในซีรั่ม ลดระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มการทนกลูโคส (glucose tolerance) สารสกัดน้ำตาลดังกล่าวในปริมาณ ๑,๐๐๐ มก./กก. น้ำหนัก ให้ผลดีกว่าการให้ปริมาณต่ำ ๆ และดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาเบาหวาน จึงสามารถนำผลการศึกษาไปใช้กับผู้ป่วยเบาหวานได้

 

:huh: เมล็ดฟักทอง คั่ว...และกินเป็นอาหารขบเคี้ยวได้ มีธาตุเหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม แมกนีเซียม และกรดไขมันจำเป็น

เมล็ดฟักทอง ๑ กรัมมีกรดอะมิโนทริปโทเฟน มากเท่ากับที่มีในนมสดหนึ่งแก้ว เมล็ด ฟักทองมีน้ำมันที่อุดมไปด้วยสารแกมม่า โทโคฟีรอล (รูปหนึ่งของวิตามินอี) สารนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุมูลอิสสระที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ จึงสามารถชะลอความแก่ได้เป็นอย่างดี เมล็ดฟักทอง ๑ กรัมมีกรดอะมิโนทริปโทเฟน มากเท่ากับที่มีในนมสดหนึ่งแก้วน้ำตาลโพลีแซ็กคาไรด์ ที่ตรึงกับโปรตีนในเนื้อฟักทอง (มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด) ผลไม้ลดเบาหวาน

 

หลักการที่ใช้ในการคุมน้ำตาลในเลือด

 

ไม่ต้องพูดถึงคนที่เป็นเบาหวาน กินยาลดน้ำตาล กินแป้ง ข้าว ชนิดที่หวาน ไม่คุมอาหาร ยิ่งแกว่งไม่รู้เรื่อง พอน้ำตาลสูงขึ้น อินซูลินออกมามาก ดึงน้ำตาลลงมาต่ำ แล้วไปกินยาอีก ยาดึงน้ำตาลลงมาต่ำมากขึ้น ถ้าต่ำมากๆ หิวจัด คุมอาหารไม่ไหว ปัญหาการรักษาแบบใช้ยาอย่างเดียวโดยไม่คุมอาหาร น้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น แพทย์จะเพิ่มปริมาณยา ยิ่งทำให้น้ำตาลแกว่งขึ้นมาก ตอนสูงก็สูงจัด ตอนต่ำก็ต่ำเกินไป หิวตอนน้ำตาลต่ำ ผู้ป่วยไม่รู้จะกินอะไร หมอไม่สอนไว้ ก็กินอาหารที่มี Glycemin Index ที่สูงๆ กินเหมือนเดิม คือของหวาน น้ำตาล ค่าเฉลี่ยสูงตลอด จากตรงนี้แก้ไม่ได้ซักที วิธีการแก้ทางธรรมชาติบำบัด ถ้าเราเลือกกินอาหารที่ให้ Glycemin Index ต่ำๆ ทำให้น้ำตาลไม่สูงขึ้น ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงแทนที่จะเพิ่มปริมาณยา แต่ลดปริมาณยาลด น้ำตาลจะแกว่งตัวน้อยลง จากการที่เราลดปริมาณยา หิวน้อยลง แต่ตอนหิวให้กินอาหารที่มี Glycemin Index ต่ำๆ น้ำตาลจะไม่แกว่งขึ้นสูง จะทำให้ค่าเฉลี่ยน้ำตาลลดลง วิธีการง่ายๆ แค่นี้เอง คือ เอาน้ำตาลเข้าให้ช้าและน้อยที่สุด ใช้พลังงานที่เหลือใช้เพิ่มเติมให้มากที่สุด

นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้น้ำตาลในเลือดแกว่งได้อีกอย่างก็คือ ภาวะความเครียด ซึ่งทำให้ร่างกายตอบสนองด้วยการหลั่งสารความเครียดออกมา เช่น คอซอล พวกนี้มีฤทธิ์ในการต่อต้านการทำงานของอินซูลิน ปกติอินซูลินก็ทำงานลำบากอยู่แล้ว ยังไปเจอสารต้านการทำงานของอินซูลินอีก น้ำตาลก็ยิ่งขึ้นสูง ที่สำคัญไม่ว่าการรักษาแบบไหน ก็คือการเปลี่ยนทํศนะคติในการกิน และการออกกำลังกายของผู้ป่วย

 

 

หลักการ 4 อย่างนี้ เป็นหลักในการรักษาผู้ป่วยแบบบัลวี คือ การคุมอาหารเพื่อให้น้ำตาลแกว่งน้อยด้วยการกินอาหารสูตรกินเนื้อกินผัก ซึ่งเป็นอาหารที่มี Glycemic Index ที่ต่ำ ใช้พลังงานให้มากในผู้ป่วยเบาหวาน ต้องเน้นการออกกำลังกาย ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการกิน วิธีการอยู่ และต้องควบคุมอาหารในระยะยาว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก็คือการสั่งจิตใต้สำนึก Subconscious training คือ สะกดจิต บอกให้เลิกกินน้ำตาล ส่วนวิธีการที่ใช้ลดความเครียด ก็จะใช้วิธีการฝึกจิต ฝึกสมาธิ

 

http://www.beautyfullallday.com/healthy/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99.html

 

 

 

คนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อน ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินสุลินนั้น ทำหน้าที่ได้ไม่ดีและผิดปกติ หรือเพราะมีจำนวนอินสุลินน้อย จึงเป็นเหตุให้น้ำตาลเหลืออยู่ในกระแสเลือดมาก น้ำตาลเหล่านี้จะถูกขับถ่ายออกมาในปัสสาวะ ทำให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะหรือปัสสาวะมีรสหวาน เราจึงเรียกโรคนี้ว่าเบาหวาน

 

ยาแผนปัจจุบันที่รักษาโรคเบาหวานมีราคาแพง ดังนั้นการใช้พืชผักสมุนไพรรักษาโรคจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ยิ่งพืชผักที่ได้ทานเป็นอาหารประจำวันและช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ด้วย เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

 

น้ำตาลในเลือด

 

สำหรับผู้ที่เป็นโรคซึ่งต้องควบคุมอาหาร อยู่ตลอดเวลา เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้ทานยาแผนปัจจุบันน้อยลง ผักผลไม้ที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เช่น มะระขี้นก กระเทียม ตำลึง ชะพลู รากเตยหอม รากบัว แห้ว มันแกว เมล็ดหว้า เห็ดหลินจือ ถั่วเหลือง และกะเพรา เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องทานในรูปแบบไม่เติมน้ำตาล ปรับปริมาณให้พอเหมาะกับตนเอง เมื่อได้ระดับที่พอเหมาะจะรู้สึกสบายขึ้น ไม่มีอาการปากคอแห้ง ปัสสาวะบ่อย

 

ระดับน้ำตาลในเลือดเท่าใดจึงจะปกติ

 

 

คนปกติจะมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดก่อน อาหารไม่เกิน 120 มก.% และระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหลังอาหาร 1-2 ชั่วโมงไม่เกิน 160 มก.%

 

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังต้องการดูแลอย่างต่อเนื่อง โรคนี้จึงเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ถ้ารักษาอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยสามารถอยู่ได้อย่างเป็นสุขและมีชีวิตยืนยาวได้เหมือนคนปกติ โดยผู้ป่วยจึงต้องรู้จักควบคุมและดูแล ตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในภาวะสมดุล

 

มะเขือเปราะลดน้ำตาลในเลือดได้

 

 

ทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม ผลมะเขือเปาะนั้น สามารถใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศประชากรในแคว้นโอริสสา ของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน งาน วิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่าผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด

 

ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่

 

ฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและ ฮอร์โมน เพศได้ ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ

 

การลดน้ำตาลในเลือดแบบไม่ต้องพึ่งยา

 

 

ชา สารเคมีที่มีชื่อว่า โพลีเฟนอลส์ ซึ่งมักจะพบในชาดำ, ชาเขียว และชาอู่หลง จะมีคุณสมบัติเพิ่มฤทธิ์ให้กับอินซูลิน

 

อบเชย รับประทานไม่เกินครึ่งช้อนชาทุกวัน สรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาล, ไขมัน และตรีกลีเซอไรด์ในเลือดลงได้ 20 เปอร์เซนต์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า อิทธิฤทธิ์ของอบเชย เกิดจากสารประกอบที่เรียกว่า เอมเอซซีพี ซึ่งออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน

 

เมล็ดข้าวจำพวก บัค-ฮวีต ที่นิยมใช้ทำเส้นก๋วยเตี๋ยวต่างๆ จะอุดมไปด้วยสารที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

 

เชอร์รี มีสารที่เรียกว่า แอนโตไซอินส์ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

 

ฝรั่ง-แอปเปิล หรือ คั้นน้ำดื่มก็ให้ประโยชน์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดเช่นเดียวกัน

 

โกโก้ จะช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดียิ่งขึ้น

 

 

 

ที่มา : ข้อมูลทั่วไปและประโยชน์ของผักผลไม้

 

http://www.beautyfullallday.com/?subject=89

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดี ดี ดี จ้า

 

การดูแลสุขภาพตา

 

 

post-2581-065719100 1311986773.jpg

 

 

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมากของมนุษย์ ในการเป็นประตูเปิดทางติดต่อสื่อสารกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม ทำให้เราได้เพลิดเพลินกับความบันเทิงต่างๆ การท่องเที่ยว รวมถึงการศึกษาหาความรู้ต่างๆ ดังนั้น บทความต่อไปนี้ จึงเป็นการรวบรวมความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ในการรักษาสุขภาพดวงตาของเราในกรณีต่างๆ

เด็ก

เด็กแม้ยังตัวเล็ก ก็อาจมีปัญหาทางตาเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ได้ เช่น โรคต้อกระจก ต้อหิน สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง เป็นต้น ดังนั้น กรณีต่อไปนี้อาจต้องสงสัยว่าเด็กจะมีปัญหาเรื่องการมองเห็น เช่น

- เด็กอายุ ๒-๓ เดือนขึ้นไป ยังไม่มองหน้าแม่ หรือไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คล้ายมองไม่เห็น

- เด็กในวัยเข้าเรียนที่ดูหนังสือหรือโทรทัศน์ใกล้มากผิดปกติ เอียงคอมอง หยีตามอง กะพริบตาบ่อย อาจมีปัญหาทางสายตาสั้น ยาว เอียง หรือสาเหตุอื่น ก็ควรพาไปพบจักษุแพทย์

 

ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ

 

 

จะมีปัญหาเรื่องปวดเมื่อยล้าตา หรือแสบเคืองตาจากอาการตาแห้งได้ ดังนั้น

๑. ควรพักสายตาโดยทำอะไรก็ได้ที่ไม่ต้องมองใกล้ (๑-๒ ฟุต) ประมาณ ๕-๑๐ นาทีต่อการทำงานคอมพิวเตอร์ ๑ ชั่วโมง เพื่อลดการเพ่งของสายตาบ้าง จะช่วยคลายการปวดเมื่อยล้าตาได้

๒. ด้านหลังจอคอมพิวเตอร์ไม่ควรมีแสงสว่างมาก เพราะจะรบกวนการมองจอคอมพิวเตอร์ เช่นไม่ควรตรงกับหน้าต่าง

๓. ศีรษะของเราควรอยู่สูงกว่าจอคอมพิวเตอร์เล็กน้อย จะได้ไม่ต้องเงยหน้ามองคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เมื่อยล้าง่าย

๔. ถ้ามีอาการตาแห้ง เช่น แสบเคืองตา ให้กะพริบบ่อยขึ้นเพื่อกวาดน้ำตามาเคลือบผิวตา หรือพักการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะ ถ้ายังมีอาการมาก การใช้น้ำตาเทียมหยอดตาจะช่วยบรรเทาอาการได้

๕. อาจมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของสายตาก็ได้ที่ทำให้ปวดเมื่อยล้าตาง่าย เช่น คนสายตาเอียง หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า ๔๐ ปีขึ้นไป ซึ่งจะมีปัญหาเวลามองใกล้ การใส่แว่นตาจะช่วยแก้ปัญหาได้

 

การตรวจสุขภาพตา

 

 

๑. ผู้มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดความดันลูกตาอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อตรวจหาต้อหิน โดยเฉพาะผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นต้อหิน เพราะบางคนอาจเป็นต้อหินได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษาเป็นเวลานานจะทำให้สายตาเสื่อมลงหรือบอดได้ และไม่สามารถรักษาให้สายตากลับมามองเห็นได้

๒. ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ควรตรวจจอประสาทตาเพื่อดูว่ามีเบาหวานขึ้นตาหรือไม่ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ตั้งแต่พบว่าเป็นเบาหวาน ยกเว้นในผู้ที่เป็นเบาหวานตั้งแต่อายุน้อยกว่า ๓๐ ปี ถ้าไม่มีตามัวลงผิดปกติ อาจรอ ๕ ปี ค่อยเริ่มตรวจเป็นประจำปีละครั้งก็ได้ ถ้าจักษุแพทย์พบมีเบาหวานขึ้นตา การยิงเลเซอร์ที่จอประสาทตาอาจจะช่วยให้ในระยะยาวมีสายตาที่ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ยิงเลเซอร์ แต่ไม่ได้ทำให้สายตาเห็นชัดขึ้น

ที่สำคัญคือควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานขึ้นตาได้ดี

 

อุบัติเหตุกับดวงตา

การป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับดวงตา เช่น

• การคาดเข็มขัดนิรภัยเวลาขับรถ ไม่ขับรถเวลาเมาหรือง่วงนอน เพราะในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ใบหน้าอาจกระแทกกับกระจกหน้ารถทำให้ตาบอดทั้งสองข้างได้

• การหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ลม ฝุ่น อาจโดยการใส่แว่นกันแดดกันลมบ้าง

• การใส่แว่นตาป้องกันเวลาทำงานที่อาจมีวัตถุแปลกปลอมกระเด็นเข้าตา เช่น การตอกตะปู การใช้รถตัดหญ้า การเจียรเหล็ก เป็นต้น

• การใช้แว่นตาป้องกันแสงรังสีขณะเชื่อมเหล็ก จะช่วยป้องกันกระจกตาอักเสบจากรังสีอัลตราไวโอเล็ตได้

• ในเด็กควรระวังการเล่นกับไก่หรือนกที่อาจจิกกระจกตาแตกได้ รวมทั้งการเล่นกับสุนัข อาจถูกสุนัขกัดบริเวณเปลือกตาและท่อน้ำตาขาดได้

• ถ้ามีน้ำยาหรือสารเคมีเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดใกล้ตัว (เช่น น้ำประปา) เพื่อลดปริมาณสารเคมีในตาลงบ้างจะช่วยลดความรุนแรงได้ดีขึ้น

อันตรายจากยาหยอดตา

• ถ้าซื้อยาหยอดตาเองตามร้านขายยา ต้องระวัง เพราะถ้าได้ยาบางประเภท เช่น ยาสเตียรอยด์ ถ้าใช้หยอดตาไม่ถูกวิธีหรือหยอดเป็นเวลานาน อาจทำให้มีการติดเชื้อแทรกซ้อนที่ตา หรือทำให้เป็นต้อกระจกเเละต้อหินได้

 

 

• ยาน้ำหยอดหูบางชนิดที่เขียนให้หยอดตาร่วมด้วย อาจนำมาใช้หยอดตาได้ แต่ถ้าระบุไว้เป็นเฉพาะยาหยอดหู ห้ามนำมาใช้หยอดตา เพราะอาจเป็นอันตรายต่อดวงตาได้

 

สอบถามปัญหาสุขภาพตากับราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

ที่เว็บไซต์ www.rcopt.org

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้เอาเรื่องหนักๆมาฝากค่ะ website นี้ทำไว้ดีมากทีเดียว

 

 

ความรู้ทั่วไปเรื่องเบาหวาน730609a5m8rb3ah6.gif

 

 

 

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

 

โรคเบาหวานคืออะไร !_Rd

 

อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท

 

 

ฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร !38

 

Diabetes Mellitus

 

 

 

อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรือการออกฤทธิ์ไม่ดี ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วย

 

อาการของโรคเบาหวาน :huh: :wub:

 

คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก.% หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก.% ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงไม่มากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาการที่พบได้บ่อย

 

คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึกหรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม

ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ

อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา

ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลงเนื่องจากร่างกายน้ำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อ

อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน

คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง

เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูง

ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก

อาเจียน

น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเมื่อเป็นโรคนี้ระยะหนึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กเรียก microvacular หากมีโรคแทรกซ้อนนี้จะทำให้เกิดโรคไต เบาหวานเข้าตา หากเกิดหลอดเลือดเลือดแดงใหญ่แข็งเรียก macrovascular โดยจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพาต หลอดเลือดแดงที่ขาตีบนอกจากนั้นยังอาจจะเกิดปลายประสาทอักเสบ neuropathic ทำให้เกิดอาการชาขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ประสาทอัตโนมัติเสื่อม

 

ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน !19

 

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้แสดงข้างล่างนี้

 

ใครที่ควรจะต้องเจาเลือดหาโรคเบาหวาน !_01

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองพบมากและมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานานๆทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆเช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ

 

ผู้ที่สมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวาน คือ !034

 

ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวานควรจะตรวจเลือดแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ

อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า27% หรือน้ำหนักเกิน20%ของน้ำหนักที่ควรเป็นสำหรับประเทศในเอเซียเราพบว่าเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะพบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากดังนั้นแนะนำว่าควรจะเจาะเลือดตรวจเบาหวานเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อยากทราบว่าดัชนีมวลกายเท่าไรคลิกที่นี่

อายุมากกว่า45ปี

ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT

ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg

ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%

ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม

บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรที่จะได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุก3ปี หากคุณเป็นคนที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวการป้องกันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การคุมน้ำหนัก

 

 

 

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/intro.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคเบาหวาน กับ ภาวะไตวาย

 

:lol: :wub: :blush:

 

 

โรคเบาหวาน เป็นที่รู้จักกันในหมู่คนทั่วไป โรคนี้เกิดจากความผิดปกติ ในการควบคุมน้ำตาลของร่างกาย ซึ่งเกิดได้จากกลไกหลายอย่าง ขึ้นกับสาเหตุและชนิดของโรค เป็นที่ทราบกันว่าโรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ทางตา หัวใจ และไต เป็นต้น สำหรับโรคไตในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้น เกิดได้ทั้งจากโรคเบาหวานเองโดยตรง และจากภาวะอื่นที่พบในโรคเบาหวาน เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

 

บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ที่เกิดจากโรคเบาหวานโดยตรง โดยมุ่งเน้นการป้องกัน และการรักษาเป็นสำคัญ เพื่อประโยชน์สำหรับ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและญาติ เพราะความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคและวิธีการปฏิบัติ จะช่วยให้การรักษาได้ผล และอาจป้องกัน หรือชลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้

 

ปัจจุบันพบว่า โรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของภาวะไตวาย ในประเทศสหรัฐ อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น พบผู้ป่วยไตวาย ที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ความชุกของโรคไตชนิดอื่นลดลง ประกอบกับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีชีวิตยืนยาวขึ้น สำหรับในประเทศไทยนั้น แพทย์ด้านโรคไต ก็พบผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวาย จากโรคเบาหวาน ในอัตราที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

ภาวะแทรกซ้อนทาง ไตจะเกิดขึ้นเมื่อใด

 

ภาวะแทรกซ้อนทางไต ที่เกิดจากโรคเบาหวานโดยตรง มักเกิดขึ้นหลังเป็นโรคอย่างน้อย 5 ปี แต่ส่วนใหญ่มักเกิดหลัง 15-25 ปี โดยในระยะแรก จะไม่มีอาการใดปรากฏให้ทราบ แม้จากการตรวจเลือด แต่จะทราบได้จากการตรวจปัสสาวะ พบโปรตีนซึ่งมีปริมาณไม่มากในระยะต้น ต่อมาปริมาณโปรตีนจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนอาจมีการสูญเสียโปรตีนในปัสสาวะมาก ทำให้โปรตีนในเลือดลดต่ำลง และผู้ป่วยมีอาการบวมเกิดขึ้น ในช่วงเวลานี้การทำงานของไต อาจยังดีอยู่หรือลดลงเพียงเล็กน้อย ต่อจากนั้นจากทำงานของไต จะลดลงเป็นลำดับจนเกิดภาวะไตวาย ระยะเวลาตั้งแต่ พบโปรตีนในปัสสาวะ จนเกิดภาวะไตวายไม่แน่นอน เฉลี่ย 4-5 ปี ข้อที่น่าสังเกต คือ เมื่อโรคดำเนินมาถึงขั้นที่มีโปรตีนในปัสสาวะมากแล้ว ไม่ว่าจะให้การรักษาด้วยวิธีใด ก็ไม่สามารถยับยั้งการเกิดภาวะไตวายได้ ดังนั้น การป้องกันจึงต้องทำตั้งแต่ระยะต้น ก่อนจะมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ

จะรู้ได้อย่างไร ว่าเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตขึ้นแล้ว

 

ดังได้ กล่าวแล้ว่า ในระยะแรกที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต มักไม่มีอาการ ฉะนั้น จึงรู้ได้จากการตรวจปัสสาวะพบโปรตีนเท่านั้น

ในระยะหลังของโรค จะมีอาการบวม ซึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียโปรตีนทางปัสสาวะ โดยที่ไตยังทำงานได้ หรือ มีการคั่งของเกลือจากภาวะไตวายก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการบวม จึงมิได้แสดงว่าไตวายเสมอไป อาการบวมมักเริ่มที่เท้าก่อน โดยอาจบวมไม่มากในตอนแรกแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนบวมทั่วตัวได้

 

สำหรับอาการที่พบ เมื่อเกิดภาวะไตวายแล้วมีดังนี้คือ คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ขาดสมาธิในการทำงาน ซีด อ่อนเพลีย หายใจหอบลึก ชาตามปลายมือปลายเท้า ตะคริว คันตามตัว ซึม ชัก และหมดสติในที่สุด นอกจากนั้น ในระยะหลังของภาวะไตวาย ปริมาณปัสสาวะจะลดลง และอาจลดลงจนไม่มีปัสสาวะในระยะท้ายสุด

 

ทำไมจึงเกิดภาวะแทรกซ้อน ทางไต

 

ภาวะแทรกซ้อนทางไตในโรคเบาหวาน เป็นผลจากการที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดที่ไต และยังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่เนื้อไตโดยตรงด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งสองอย่างนี้ ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ใด ซึ่งนำไปสู่การมีโปรตีนในปัสสาวะ และภาวะไตวายที่สุด นอกจากนั้น ปัจจัยด้านพันธุกรรม ก็มีบทบาทเสริมให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตด้วย

 

ภาวะแทรกซ้อนทางไตมีแนว โน้มจะเกิดในผู้ใดบ้าง

 

ภาวะแทรกซ้อนทางไต มิได้เกิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทุกคน พบประมาณร้อยละ 10-20 เท่านั้น ผู้ที่มีแนวโน้มจะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ได้แก่

 

1. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 10 ปี และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี

 

2. มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัว

 

3. มีพี่น้องเป็นโรคไตจากโรคเบาหวาน

 

4. มีความดันโลหิตสูงขึ้น กว่าเดิม หรือมีภาวะความดันโลหิตสูง

 

ศ.พญ. สุมาลี นิมมานิตย์

 

แหล่งข้อมูล : Siriraj E-Public Library - www.si.mahidol.ac.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต่อ .....จากหน้า 7 ความรู้ทั่วไปเรื่องเบาหวาน

 

http://www.thaigold2.info/Board/index.php?/topic/6-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/page__st__90

 

 

วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้อย่างไร

 

443081fwtx95sy3b.gif

 

วิธีที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมีเพียงวิธีเดียวคือการเจาะหาน้ำตาลในเลือด สำหรับคนปกติแนะนำให้คนที่มีอายุมากกว่า 45 ปีควรจะเจาะเลือดทุกปีถ้าหากปกติก็ให้เจาะทุก 3 ปี หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงก็ควรที่เจาะเร็วขึ้นและบ่อยขึ้น คนปกติจะมีค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่า 80-100 มิลิกรัม% การวินิจฉัยโรคเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลิกรัม% สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระ 100-125 มิลิกรัม%เราเรียก Impaired fasing glucose [iFG] คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องคุมอาการ รักษาน้ำหนัก ออกกำลังกาย สำหรับการตรวจปัสสาวะไม่แนะนำเพราะเราจะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 มิลิกรัม%ซึ่งเป็นเบาหวานไปเรียบร้อยแล้ว การตรวจเลือดเราสามารถตรวจได้หลายวิธีดังนี้

 

 

1 การวัดระดับกลูโคสในพลาสม่าหลังการอดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] แนะนำให้ใช้วิธีซึ่งสะดวกและแม่นยำ ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือด [FPG] สูงกว่า 126มก.%[7.0 mmol/L] สองครั้ง

 

2 การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส [ oral glucose tolerance test:OGTT] กรณีสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน แต่ระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารไมถึง 126 มก.% ให้ตรวจโดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่ม และ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสที่ 2 ชั่วโมงตั้ง 200 มก.%ขึ้นไป หากอยู่ระหว่า 140-199มก.%ถือว่าความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง ( impaired glucose tolerance test) หากต่ำกว่า 140 มก%ถือว่าปกติ

 

3 การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 200 มก.%และมีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยมหาก หากพบว่าค่ามากกว่า 200 มิลิกรัม%จะต้องนัดมาเจาะน้ำตาลก่อนอาหาร หรือทำการตรวจ การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส OGTT อาจจะตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานมากจำเป็นต้องรีบให้การรักษา

 

4 การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคซัยเลต ได้แก่ glycosylate hemoglobin:HbA1c และ glycosylate albumin[fructosamine] ไม่นิยมในการวินิจฉัยโรคเบาหวานแต่นิยมใช้เพื่อประเมินผลการรักษาเนื่องจากมีความไวและความแม่นยำต่ำ

 

5 การตรวจหากลูโคสในปัสสาวะไม่นิยมเพราะผิดพลาดได้ง่าย

 

ในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือดควรคำนึงถึงยาที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้นเช่น steroid,thiazide,nicotinic acid,beta-block,ยาคุมกำเนิด

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

!031

 

หากท่านผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานไม่อยากให้มีแผล หรือถูกตัด นิ้ว รวมทั้งเท้า ท่านผู้ป่วยควรจะต้องดูแลเท้าตลอดชีวิต การดูแลเท้าจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการดังต่อไปนี้

-มีอาการชาเท้า

-รูปร่าง สี ของเท้าผิดไป

-มีแผลที่เท้าซึ่งหายยาก

-ปวดเท้าเวลาเดิน

-เคยเป็นแผลที่เท้า

 

1. ควบคุมเบาหวานให้ใกล้เคียงปกติซึ่งจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน

-ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

-ร่วมมือกับแพทย์ในการวางแผนการรักษา

-กำหนดเวลาเจาะเลือด

-รับประทานยาตามแพทย์สั่ง

-ควบคุมอาหารตามแพทย์สั่ง

-ออกกำลังกาย

-ดูแลเท้า และออกกำลังบริหารเท้าโดยเคร่งคัด

-ไปตรวจตามนัด

 

 

2 ตรวจและดูแลผิวหนังทุกวัน เวลาที่ดีคือเวลาเย็น

 

-ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดาและซับให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว ไม่ควรใช้แปรงหรือขนแข็งขัดเท้า

-ใช้แป้งโรย

-ตรวจผิวหนังที่เท้า ดูว่ามีแผล การอักเสบ รอยแดง หากแผลไม่หายในสองวันควรปรึกษาแพทย์ มีหนังหนาหรือตาปลาหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าใส่รองเท้าไม่เหมาะสม

-สภาพผิวว่าแห้งไปหรือไม่ มีรอยแตกย่นหรือไม่ เล็บหนาหรือมีเชื้อราหรือไม่ มีแผลอักเสบซอกเล็บหรือไม่ ผิวซอกนิ้วมีอับชื้นหรือไม่ อาจจะใช้กระจกส่อง หรือให้ญาติช่วยดู ถ้าผิวมีเหงื่อออกให้โรยแป้ง

 

3. ระบบประสาท เริ่มมีอาการชาหรือปวดแสบบริเวณเท้าหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวแสดงว่าเริ่มมีปลายประสาทอักเสบ peripheral neuropathy

 

4. ดูว่ามีกระดูกงอกผิดปกติหรือไม่ ข้อมีรูปร่างผิดปกติหรือไม่ สภาพการเดินการแกว่งเท้าผิดปกติหรือไม่

 

5. ตรวจดูว่าเส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณขาตีบตันหรือไม่ หากผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดตีบตันที่ขาจะมีอาการดังนี้คือ จะปวดขาเวลาเดินต่อเนื่องพักจะหายปวด คลำชีพขจรบริเวณหลังเท้าได้เบาหรือไม่ได้ ผิวหนังจะเย็นและสีของผิวหนังจะคล้ำกว่าผิวส่วนอื่น

 

6. ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่น อาจจะใช้ปรอทวัดอุณหภูมิไม่เกิน

ให้ผิวหนังนุ่มอยู่เสมอ

 

7. ทาครีมหรือโลชั่นที่หลังเท้า และผ่าเท้า ถ้าผิวแห้งห้ามทาบริเวณซอกนิ้ว

 

8. การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนได้

 

-เลือกรองเท้าขนาดพอดี

-เลือกรองเท้าที่มีเบาะรองเท้าที่นุ่มนิ่ม ไม่ควรทำจากพลาสติก

-ไม่ใส่ส้นสูง เพราะจะทำให้เกิดโรคข้อและเกิดแผลกดทับ

-ใส่ถุงเท้าทุกครั้ง ถุงเท้าควรทำด้วย cotton or wool เพื่อให้ผิวแห้งไม่ควรใช้ไนล่อน

-ควรตรวจดูสิ่งแปลกปลอมก่อนใส่ทุกครั้ง

-ควรใส่รองเท้าทั้งใน และนอกบ้าน

-รองเท้าควรจะระบายอากาศได้ดี

-ห้ามใส่รองเท้าที่เปิดปลายนิ้วเท้าหรือรองเท้าแตะเพราะจะทำให้เกิดแผล

-หากซื้อรองเท้าใหม่ ต้องวัดให้มีขนาดพอดีทั้งความลึก ความกว้าง และความลึก

-เมื่อสวมรองเท้าใหม่ให้หยุดเดินหรือหยุดพักบ่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพองที่เท้า

-หากเท้าท่านผิดปกติเช่นกระดูกงอก ควรจะใส่รองเท้าชนิดพิเศษ

-ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ

 

9. ป้องกันไม่ให้เท้าเย็น หรือร้อนไป ห้ามใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบหรือแช่ในน้ำร้อน เพราะอาจทำให้ผิวหนังไหม้

 

-สวมรองเท้าเมื่อเดินที่ร้อน

-ทาครีมกันแสงที่หลังเท้าเมื่อไปเที่ยวทะเล

-หากเท้าเย็นห้ามใช้กระเป๋าน้ำร้อนให้สวมถุงเท้า

 

10. ตัดเล็บให้สั้น

 

-ตัดเล็บให้ตรงไม่ต้องเล็มจมูกเล็บ

-ไม่ต้องตัดเล็บที่ซอกเล็บ

-ใช้ตะไบลบรอยคมของเล็บ

-ไม่ควรใช้วัสดุแข็งแคะซอกเล็บ

 

11. ให้เลือดไปเลี้ยงขาให้พอ

 

-ยกเท้าเวลานั่งพัก

-การบริหารเท้า

-ห้ามนั่งไขว่ห้าง

-ห้ามใส่ถุงเท้าที่แคบ

-งดบุหรี่

-รักษาความดัน และไขมันในเลือด

 

12. ออกกำลังกายอยู่เสมอ

 

ออกกำลังกายอยู่เสมอ ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

 

-เดิน ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำเป็นการออกกำลังที่ดี

-หลีกเลี่ยงการวิ่งหรือกระโดดเชือก

-ก่อนออกกำลังกายให้มีการอบอุ่นร่างกาย

-สวมร้องเท้าที่เหมาะสม

-ให้แพทย์ตรวจเท้า

 

13. ให้แพทย์ตรวจเท้าอย่างน้อยปีละครั้ง

-ตรวจชีพขจรที่เท้า และอาการปวดเท้าเวลาเดินซึ่งเป็นอาการของการขาดเลือด

-ตรวจความรู้สึกโดยใช้ monofilament หรือ vibratory sensation test

-ตรวจความผิดปกติของเท้าเช่น เท้าผิดรูป กระดูกงอก ตาปลา การเดิน ลักษณะเท้า

-ตรวจสภาพผิวหนังทั้งเท้าโดยเฉพาะซอกนิ้ว

-ตรวจเท้าเพื่อหาตำแหน่งของเท้าที่รับแรงกดมาก รอยแดง

-แจ้งแพทย์ทันทีที่มีปัญหา

-ให้แพทย์แสดงวิธีดูแลเท้า

-สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงให้ตรวจเท้าทุก 3-6 เดือน

 

14. อย่าตัดตาปลา

 

-ห้ามตัดตาปลาด้วยสารเคมี เช่นน้ำยากัดตาปลา หรือใช้มีด ให้ใช้หินขัดไปทางเดียว ระวังถูกเนื้อดี

 

ข้อห้ามปฏิบัติ

-ห้ามแช่เท้าในน้ำร้อนโดยเด็ดขาด

-ห้ามเอากระเป๋าน้ำร้อนมาวางไว้บนหลังเท้าหรือขา

-ไม่ควรเดินเท้าเปล่า แม้จะอยู่ในบ้าน

-ห้ามตัดตาปลา

-ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

 

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/foot_guid.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลในผู้ป่วยเบาหวานมีอะไรบ้าง

:excl: :o :wub:

ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมามากกว่า 10 ปี พบว่าหากเป็นเบาหวานนาน 25 ปีขึ้นไป มีโอกาสต้องถูกตัดขาสูงถึงร้อยละ 11

เป็นชาย เสี่ยงกว่าเพศหญิง

คุมเบาหวานไม่ดี น้ำตาลสูงทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ดี

การสูบบุหรี่

มีโรคแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ

พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าสูงเนื่องจากมีการเสื่อมของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบเลือดไปเลี้ยงบริเวณเท้าน้อยลง รวมทั้งมีการเสื่อมของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงยังเท้า

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดขาในผู้ป่วยเบาหวาน

 

1..มีปลายประสาทอักเสบ peripheral neuropathy เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบวัตถุมีคม หรือถูกไฟ ทำให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัวทำให้การรักษาช้า

 

2..มีหลอดเลือดแดงที่ขาแข็ง peripheral vascular disease โรคเบาหวานทำให้หลอดเลือดที่ขาตีบ การสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดที่ขาตีบมากขึ้นเมื่อมีการอุดตันของเส้นเลือดทำให้เลือดไปเนื้อเยื่อลดลง ลักษณะเท้าของผู้ป่วยจะมีสีคล้ำ เท้าเย็น บางท่านเดินแล้วปวดเท้าคลำชีพขจรหลังเท้าไม่ได้ แผลหายช้ามีเนื้อตายเกิดแผลที่เท้า(Diabetic foot ulcer) และติดเชื้อ การออกกำลังจะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงขามากขึ้น

 

3..การติดเชื้อ(Infection) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลสามารถเกิดได้แม้ว่าจะมีแผลเล็กๆที่เท้า

 

4..มีประวัติแผลหรือถูกตัดขา พบว่าผู้ที่มีแผลจะเกิดแผลซ้ำที่เดิมภายใน 2-5 ปี

 

5..มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเท้า altered biomechanical

รูปแสดงการติดเชื้อรูปแรกเล็บขบจนเกิดการติดเชื้อ รูปกลางเป็นเชื้อราที่ซอกนิ้ว รูปขวาเป็นเชื้อราที่เล็บ

 

a6.jpgtinea.jpgtoenails.jpg

 

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/diabetes_foot.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคเบาหวานและการรับประทานอาหาร

:huh: :blink: :blush:

 

แนวทางการรับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

 

การเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องเพื่อสุขภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีโรคแทรกซ้อนก็จะลดลงด้วย

 

หลักการควบคุมง่ายๆในการคุมอาหาร

* รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

* รับประทานข้าวเป็นหลัก สลับกับอาหารพวกแป้งเป็นบางมื้อ

* รับประทานพืชผักให้มาก และรับประทานผลไม้เป็นประจำ

* รับประทานเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดเป็นประจำ

* ดื่มนมให้พอเหมาะกับวัย

* หลีกเลี่ยงอาหาร หวาน มัน และเค็ม

* รับประทานอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างหนึ่งมื้อ และรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ห้ามงดอาหาร

* รับประทานอาหารให้หลากหลายเพื่อที่รางกายจะได้รับสาร อาหารอย่างเพียงพอ โดยพิจารณาจากภาพให้รับประทานอาหารได้มากบริเวณฐาน และรับประทานน้อยบริเวณยอดสามเหลี่ยม

* รับประทานไขมันให้น้อย เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงการทอดใช้การย่าง อบ ต้ม หรือเผาแทนการทอด

* รับประทานน้ำตาลให้น้อยลง ก่อนรับประทานอาหารให้อ่านสลากอาหาร และหลีกเลี่ยง sucrose,dextrose,fructose,corn syrup หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมที่ใส่น้ำตาล หลีกเลี่ยงคุกกี้ เค้ก ลูกอม

* หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม โดยการเติมเกลือให้น้อย หลีกเลี่ยงอาหารกระป่อง ให้ชิมรสอาหารก่อนปรุง

* หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

 

pyramid.gif

 

การควบคุมอาหาร Medical nutrition therapy(MNT) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยต้องสามารถที่จะวางแผนในการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อได้อย่างเหมาะ สม เป็นที่ทราบกันดีว่าการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเป็นการรักษาที่สำคัญใน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง จุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหารคือ

1. รักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดโดยการ ปรับให้เกิดความสมดุลระหว่างกับยาที่ใช้คุมเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นยาฉีดหรือยารับประทาน

2. เพื่อป้องกันโรคที่พบร่วมกับเบาหวานได้แก่

 

* ไขมันในเลือดสูง

* ความดันโลหิตสูง

 

เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนได้แก่ หลอดเลือดแดงแข็ง ภาวะหมดสติจากน้ำตาลต่ำหรือสูง

 

ต้องได้รับพลังงานเพียงพอที่จะรักษา ระดับน้ำหนักให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตในเด็ก เพียงพอสำหรับที่จะตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพียงพอที่จะใช้ต่อสู้กับภาวะเครียดต่างๆ

 

ส่งเสริมสุขภาพให้ดีที่สุด

 

เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควร เป็น ถ้าเป็นเด็กต้องให้ได้พลังงานที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต

 

เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำงานได้ตามปกติ

 

แผนการควบคุมอาหารให้ปรับเป็นรายๆขึ้น อยู่กับสภาพของโรค มี insulin resistant หรือไม่ อายุ น้ำหนัก ยาที่รับประทาน พฤติกรรมการบริโภค ตารางข้างล่างเป็นเป้าหมายในการคุมเบาหวานโดยคุมอาหาร

 

หลักการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

การควบคุมอาหารในปัจจุบันไม่ได้เข้มงวดเหมือนในอดีต ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารต่างๆได้เหมือนปกติ แต่อาจจะต้องดัดแปลงหรือจำกัดปริมาณเพื่อให้เหมาะสมกับโรคปัจจัยที่เราจะ ต้องนำมาพิจารณาได้แก่

 

1. ปริมาณพลังงานที่ได้รับ

 

คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าการกินน้ำตาลมากจะทำให้น้ำตาลใน เลือดสูง ผเมื่อเจาะเลือดตรวจพบน้ำตาลว่าสูงผู้ป่วยส่วนหนึ่งมักจะบอกว่าช่วงนี้ไม่ ได้รับประทานหวานเลยทำไมน้ำตาลยังสูงอยู่ ความจริงระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นมากน้อยแค่ไหนมิได้ขึ้นกับปริมาณน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต์ แต่ขึ้นกับปริมาณพลังงานที่ได้รับ หากรับมากเกินความต้องการของร่างกายระดับน้ำตาลในเลือดจะสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยระวังอาหารมันซึ่งเป็นสาเหตุของน้ำตาลในเลือดและ ไขมันในเลือดสูง

 

* พลังงานที่ได้ควรเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและ เพียงพอในการคงสภาพน้ำหนัก คนที่อ้วนควรจะจำกัดพลังงานร่วมกับการออกกำลังกาย คนผอมควรจะได้รับพลังงานเพิ่มเพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ คนที่ทำงานใช้แรงมากก็ควรจะได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ

* พลังงานที่ได้ขึ้นกับสภาพน้ำหนัก และกิจกรรมในแต่ละวัน

* โดยทั่วไปประมาณ20-45 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กก.

 

1. ปริมาณคาร์โบไฮเดรต์ที่ได้รับ

 

คาร์โบ"ฮเดรต์หมายถึง อาหารพวกแป้งซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น น้ำตาล ( sugar) อาหารพวกแป้ง(starch ) ใยอาหาร (fiber)น้ำตาลชนิดอื่น (sucrose,fructose,lactose) จากการศึกษาพบว่าไม่ว่าจะรับประทานอาหารพวกแป้งชนิดไหนก็สามารถทำให้น้ำตาล ขึ้นได้ใกล้เคียงกัน ขึ้นกับปริมาณของแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต์ที่ได้รับ ลบ ล้างความเชื่อที่ว่ารับประทานผลไม้แล้วน้ำตาลไม่ขึ้น หรือรับประทานอาหารที่มีใยมากแล้วน้ำตาลไม่เพิ่ม

 

Glycemic index.

เป็นการวัดการดูดซึมของอาหารเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐาน ถ้าอินเด็กเท่ากับร้อยหมายความว่าดูดซึมได้เท่ากับอาหารมาตรฐาน ถ้าต่ำกว่า 100ก็แสดงว่าดูดซึมได้น้อยกว่าอาหารมาตรฐาน ถ้าสูงกว่า 100 แสดงว่าอาหารนั้นดูดซึมได้ดีกว่าอาหารมาตรฐาน อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรจะมีค่าอินเด็กต่ำ

ชนิดอาหาร ค่าอินเดกซ์

ขนมปังขาว 110

ข้าวเหนียว 106

ข้าวจ้าว 100

ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 76

ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่ บะหมี่ 75

มะกะโรนี สะปาเก็ตตี 64-67

วุ้นเส้น 63

ทุเรียน 62.4

สัปปะรด 62.4

ลำไย 57.2

ส้ม 55.6

องุ่น 53.1

มะม่วง 47.5

มะละกอ 40.6

กล้วย 38.6

 

ดังนั้นผลไม้ที่ควรจะรับประทานได้แก่กล้วยและมะละกอ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โรคเบาหวานและการออกกำลังกาย

 

 

หลักการออกกำลังกายอย่างง่าย

 

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลให้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจนเกิดภาวะแทรกซ้อน การรักษาที่สำคัญของโรคเบาหวานประกอบไปด้วย การควบคุมอาหารอย่างเหมาะสม การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การใช้ยาลดน้ำตาล การดูแลตัวเอง

 

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย02.gif

 

 

* การออกกำลังกายจะทำให้การควบคุมเบาหวานง่ายขึ้น และทำให้น้ำหนักลด

* คนที่ไม่เคยออกกำลังกายให้เริ่มทีละน้อย โดยเริ่มจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินไปทำงาน การใช้บันไดแทนบันไดเลื่อน หรือการทำสวน เมื่อท่านแข็งแรงขึ้น ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง

* เลือกกิจกรรมที่ท่านมีความสุข เช่นเต้นรำ และควรออกกำลังร่วมกับครอบครัว

 

คนปกติเวลาออกกำลังกาย ร่างกายจะใช้ glycogen,triglyceride,free fatty acid และ glucose เป็นพลังงานร่างกายจะปรับตัวมิให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำโดยการลดการหลั่ง insulin เพิ่มการหลั่ง glucagon ในระยะเริ่มต้น เพิ่มการหลั่ง adrenalin ในระยะต่อมา ผลทำให้ร่างกายใช้น้ำตาลอย่างเหมาะสมไม่เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ

 

 

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งกลไกการหลั่งฮอร์โมนเสียไปกล่าวคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งถ้ารักษาไม่ดีได้รับ insulin ไม่พอ เวลาออกกำลังกายมีการหลั่ง adrenalin มาก ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเกิดภาวะ ketoacidosis ได้ง่าย และในทางตรงกันข้ามหากได้ insulin มากเกินไปจะเกิดภาวะน้ำตาลค่ำ [hypoglycemia] ได้ง่าย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองภาวะดังกล่าวพบได้น้อย

 

ประโยชน์จากการออกกำลังกาย04.gif

 

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะได้ประโยชน์ดังนี้คือ

 

1. ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

2. ทำให้น้ำหนักลดลง

3. ทำให้การคุมเบาหวานดีขึ้นเนื่องจากการเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน [insulin sensitivity] หลังออกกำลังกาย 48 ชั่วโมงร่างกายยังไวต่อ insulin หากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อ insulin ดีขึ้นโดยที่น้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลง

4. สามารถลดยาฉีด insulin หรือ ยากิน

5. เพิ่มคุณภาพชีวิต

 

ข้อแนะนำการออกกำลังกายกับเบาหวานชนิดที่หนึ่ง05.gif

 

* ไม่ควรออกกำลังกายถ้าน้ำตาลตอนเช้ามากกว่า 250มก.%

* ให้กินน้ำตาลถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า100มก.%

* ตรวจน้ำตาลก่อนและหลังออกกำลังกาย

* เตรียมน้ำตาลไว้ขณะออกกำลังกาย

* ปรับการฉีด insulin และอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ

 

แนวทางออกกำลังกายอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยเบาหวาน06.gif

 

* ปรึกษาแพทย์และได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์อย่างละเอียด

* ผู้ป่วยต้องมีป้ายแสดงตัวว่าเป็นเบาหวานติดตัวไว้เสมอ

* ควบคุมน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไป คือไม่เกิน 250 มก.%ในเบาหวานชนิดที่1 ไม่เกิน 300 มก.%ในเบาหวานชนิดที่2

* เรียนรู้อาการ และวิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

* ตรวจดูเท้าว่ามีแผล ตาปลา หรือการอักเสบใดๆ

* ใส่รองเท้าอย่างเหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย และต้องสวมถุงเท้าทุกครั้ง

* ผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีด insulin แนะนำให้เลี่ยงการออกกำลังกายช่วงขณะที่ยาออกฤทธิ์สูงสุด และไม่ฉีด insulin บริเวณที่ออกกำลังกายให้ฉีดบริเวณหน้าท้องแทน

* ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin ชนิดออกฤทธิ์ระยะกลาง intermediate-acting ให้ลดขนาดยาลง 30-35%

* ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin ชนิดออกฤทธิ์ระยะกลาง intermediate-acting ร่วมกับออกฤทธิ์ระยะสั้น short-acting ให้ลดหรืองด short-acting insulin และลด intermediate-acting intermediate-acting ลง1/3

* ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin ชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น short-acting insulin ให้ลดยาฉีดก่อนออกกำลังกาย

* ต้องสามารถทราบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีน้ำตาลติดตัว

* ดื่มน้ำให้พอทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย

 

สรุปแนวทางออกกำลังกาย01.gif

1. จะต้องออกกำลังกายจนรู้สึกหัวใจเต้นหรือเหงื่อออก หรือจับชีพขจรได้ 60-80%ของอัตราเต้นสูงสุด

2. จะต้อง warm up cool down อย่างละ 5 นาทีโดยต้องออกกำลังวันละ 20-40 นาที

3. วิธีการออกกำลังอาจทำได้โดย การวิ่งอยู่กับที วิ่งเหยาะๆ เดินเร็วๆ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ

4. ออกกำลังกายวันละครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์

5. แนะนำให้ออกช่วงเย็น

6. เริ่มต้นออกกำลังแบบเบาๆก่อน และเพิ่มขึ้นเมื่อท่านแข็งแรงขึ้น

7. พยายามออกกำลังเวลาเดียวกัน สำหรับผู้ที่ฉีดอินซูลินควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังเวลาที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด

8. อินซูลินควรจะฉีดที่หน้าท้อง

9. ไม่ควรออกกำลังกายหลังอาหารมื้อหนักโดยทันที

10. งดออกกำลังกายเมื่อรู้สึกไม่สบาย

11. จับชีพขจรขณะออกกำลังกาย และควบคุมมิให้การเต้นของหัวใจเกินเป้าหมาย

12. ควรออกกำลังกายเป็นกลุ่ม

13. พกบัตรประจำตัวว่าเป็นเบาหวาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การป้องกันโรคเบาหวาน

 

:blush: :lol: :ph34r:

 

 

โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้ทั่ว โลก และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี เมื่อเป็นเบาหวานระยะหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่นทางระบบประสาท โรคหัวใจ โรคไตเป็นต้นซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ดังนั้นการป้องกันโรคเบาหวานจะเป็นหนทางที่จะลดการเกิดโรคเบาหวานและโรคแทรก ซ้อน

 

มียาหลายชนิดออกสู่ท้องตลาดแต่โรคแทรกซ้อนก็ยังไม่ได้ลดเท่าที่ควรจะเป็น แม้ว่าจะควบคุมโรคเบาหวานอย่างเคร่งครัด ก็ยังเกิดโรคแทรกซ้อน จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ให้ความสนใจว่าการรักษาโรคเบาหวานนั้น สายเกิดไปหรือไม่ หากจะให้ได้ผลดีก็น่าจะป้องกันโรคเบาหวาน สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาล 110-125 ม.%จัดเป็นภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน ในกลุ่มนี้ก็มีหลักฐานว่าเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง

 

มีรายงานการป้องกันโรคเบาหวานออกมา 4 รายงานโดย 2 รายงานจะใช้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยให้ลดน้ำหนักลง 5-8% ลดปริมาณไขมันที่รับประทานลงเหลือไม่เกิน 30% ลดไขมันอิ่มต่ำน้อยกว่า 10% เพิ่มอาหารที่มีใยอาหารมากกว่า 15 กรัม/วัน ออกกำลังกายมากกว่า 150 นาที/สัปดาห์ ซึ่งสามารถลดอัตราการเกิดเบาหวานลงได้ร้อยละ 58 ส่วนอีก 2 รายงานใช้ยาในการป้องกันโรคเบาหวานผลสามารถลดอัตราการเกิดได้ร้อยละ 36-56 % จากรายงานดังกล่าวซึ่งได้ผลดีจึงได้กำหนดแนวทางในการป้องกันโรคเบาหวาน

 

เหตุผลในการป้องกันโรคเบาหวาน

 

1. การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกโรครวมทั้งโรคเบาหวาน หากไม่เป็นโรคเบาหวานจะลดภาระทั้งตัวเอง ครอบครัวและประเทศ

2. พบว่าผู้ที่มีน้ำตาลอยู่ระหว่าง 100-125 มก.%จะมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงมาก

3. มีการตรวจหาภาวะ prediabetic ซ่ึ่งสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่มากและสามารถบ่งชี้การเป็นโรคเบาหวานในอนาคต ได้แก่การตรวจน้ำตาลในเลือดและการตรวจความทนทานต่อน้ำตาล oral glucose tolerance test

4. มีแนวทางในการดูแลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพหากดูแลตัวเองได้ดี จะมีอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 58

5. ค่าใช้จ่ายในการคัดกรองไม่แพง

 

ใครเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน(ประเทศอเมริกาเรียก prediabetes หมายถึงภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน)

 

จากหลักฐานของการศึกษาที่ผ่านมาสรุปว่ากลุ่มที่มีลักษณะดังนี้ต้องเข้ารับการตรวจเพื่อจะได้ทราบว่าเป็นกลุ่ม prediabetes หรือไม่

1. ผู้ป่วยอายุ 45 ปีและดัชนีมวลกายมากกว่า 25 การคำนวนดัชนีมวลกายคลิกที่นี่

2. ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 45 ปีและมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25และพบภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย

 

* ญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน

* ความดันโลหิตสูง

* ไขมันในเลือดสูง

* เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

สำหรับชาวเอเชียแนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกาย 23

 

วิธีการตรวจ

 

1. เจาะเลือดตรวจน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงหากมีระดับน้ำตาล 10-125มก.%ถือเป็น prediabetes

2. ให้รับประทานน้ำตาล 75 กรัมหากระดับน้ำตาลที่ 2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานน้ำตาลอยู่ระหว่าง 140-200 มก%ถือเป็น prediabetes

 

หากว่าท่านได้รับการตรวจแล้วจัดเป็น prediabetes ท่าน ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานดังนี้

วิธีการป้องกันโรคเบาหวาน

 

วิธีการป้องกันโรคเบาหวานสามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ

1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้

 

* ลดน้ำหนักลงให้ได้ 5-7 %จากน้ำหนักเบื้องต้นโดยเฉพาะผู้ที่อ้วน(ดัชนีมวลกายมากกว่า 23 สำหรับชาวเอเชีย)

* ออกกำลังกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์โดยการเดินเร็วๆและแกว่งแขนแรง

 

2. การใช้ยาเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน มีการใช้ยาเพื่อป้องกันเบาหวาน 3 ชนิดคือโดยการใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่ง

 

* Metformin สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 31ใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยอายุน้อย 20-44 ปีและอ้วนดัชนีมวลกายสูง

* Acarbose สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 32

* Troglitazone สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 56

 

การป้องกันโรคเบาหวานจะใช้ยาหรือการเปลี่ยนพฤติกรรม

แนะนำให้ใช้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก่อนเนื่องสามารถการเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 58%ขณะที่ใช้ยาลดได้เพียง 36% และการเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดในขณะที่การใช้ยายังไม่มีรายงานดังกล่าว นอกจากนั้นการใช้ยาต้องใช้ต่อเนื่องอาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาในอนาคต

 

สรุป

 

1. หากท่านเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานท่านต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจว่าท่านเป็นภาวะ prediabetes หรือไม่

2. หากท่านเป็น prediabetes ท่านจะต้องออกกำลังกายวันละ 30 นาที 5วันต่อสัปดาห์

3. ท่านต้องคุมอาหารเพื่อให้น้ำหนักลดลง 5-7%

 

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/prediabetes.htm

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...