ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม :

โพสต์แนะนำ

ขอเก็บไว้ที่นี่บ้าง

 

วันนี้ (14 พ.ย.) เมื่อเวลา 15.57 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินจากที่ประทับชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช โดยรถเข็นพระที่นั่ง พระหัตถ์ทรงจูงคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง

 

การนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ รศ.นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีนิน หัวหน้าสำนักงานศูนย์โรคหัวใจในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นผู้ถวายการเข็นรถพระที่นั่ง พร้อม ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะแพทย์พยาบาล โดยเสด็จพระราชดำเนินผ่านตึกอานันทราช ไปยังท่าน้ำบริเวณลานสระว่ายน้ำสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

ในขณะเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระพักตร์ที่สดใส แย้มพระสรวลให้แก่พสกนิกร ซึ่งต่างกู่ร้อง ทรงพระเจริญดังกึกก้องทั่วทั้งโรงพยาบาลศิริราช ประชาชนที่ต่างพร้อมใจกันเพื่อมารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับเสด็จฯ อยู่ตามสองฟากฝั่งถนนทั้งในและนอกของโรงพยาบาลศิริราช อย่างเนืองแน่น

 

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ในฉลองพระองค์เชิ้ตแขนสั้นสีส้มลายกราฟฟิกดอกกุหลาบ พระสนับเพลาสีกากีเข้ม ฉลองพระบาทสีดำ เสด็จทอดพระเนตรระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และทอดพระเนตรทัศนียภาพริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งโดยการเสด็จฯครั้งนี้เป็นการเสด็จฯส่วนพระองค์

 

ในเวลาต่อมา เมื่อเวลา 17.27 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเพื่อร่วมทอดพระเนตรระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

 

จากนั้นเวลา 18.40 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯขึ้นชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติที่ประทับ โดยมีพสกนิกรเฝ้าส่งเสด็จอย่างเนืองแน่น

 

gyjk3.jpeg

ทรงพระเจริญ

 

 

 

ขออนุญาตินำมาเพิ่มให้ค่ะ

 

 

gvtk2.jpeg

 

 

554000015382303.JPEG

 

 

554000015382302.JPEG

 

 

554000015382307.JPEG

 

 

 

image.aspx.jpeg

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ.รัตนาธิเบศร์เลนกลางเริ่มแห้ง! รถเล็กวิ่้งได้แล้ว แต่ไปไม่ถึงบางใหญ่

 

 

 

 

554000015382804.JPEG

 

 

ข่่าวและรูป

 

 

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000145362

 

 

 

 

 

ประมวลภาพ : บริเวณแยกเดอะมอลล์บางแคน้ำลด แต่ยังคงวิกฤต

 

 

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000145666

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฮอนด้า ซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ถูกน้ำท่วม ฟรี 6 จังหวัด 15-29 พ.ย.นี้

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 19:55 น.

 

ฮอนด้า ร่วมกับ ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้า, กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดขบวนคาราวาน Free Service “ฮอนด้าห่วงใย เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม” ให้บริการซ่อมบำรุงรถจักรยานยนต์ฮอนด้าที่เสียหายจากภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ประสบภัยหลังระดับน้ำลด ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเฟืองท้าย หัวเทียน พร้อมไปกับการเปลี่ยนไส้กรองอากาศให้ฟรี! กับรถที่มีปัญหาในจุดดังกล่าว รวมถึงการตรวจสภาพ และซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ ให้รถกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม โดยจะลงพื้นที่ใน 6 จังหวัดภาคกลาง เริ่มต้น 15 พ.ย.นี้ ที่ นครสวรรค์, อุทัยธานี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, ลพบุรี และอยุธยา ดังนี้

 

วันที่ 15-17 พ.ย. ที่อุทยานนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์

วันที่ 19-21 พ.ย. ที่หอนาฬิกา จ.อุทัยธานี

วันที่ 23-25 พ.ย. ที่ฝาครอบคลอง จ.สิงห์บุรี

วันที่ 27-29 พ.ย. บริเวณหน้าศาลากลาง จ.อ่างทอง

วันที่ 15-17 พ.ย. ที่ตลาดศรีนคร จ.นครสวรรค์

วันที่ 19-21 พ.ย. วงเวียนสระแก้ว จ.ลพบุรี

วันที่ 23-26 พ.ย. สะพานปรีดีฯ อ.เมือง จ.อยุธยา

วันที่ 28-29 พ.ย. หน้าร้านผู้จำหน่ายสมชายมอเตอร์เซลล์ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา

สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการซ่อมบำรุงรถจักรยานยนต์ฮอนด้าที่เสียหายจากอุทกภัย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมของบริการ Free Service ในพื้นที่ของท่านผ่านทางร้านผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าใกล้บ้านท่านได้ทันที

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ซัมซุง ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกน้ำท่วมฟรี ลดค่าอะไหล่ 50% วันนี้ถึง 31 ธ.ค.นี้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 20:26 น.

 

ซัมซุงได้กิจกรรมภายใต้ แคมเปญ “ซัมซุงห่วงใย ช่วยภัยน้ำท่วม” ด้วยการช่วยเหลือประชาชนที่เครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับความเสียหายจากอุทกภัย โดยสามารถติดต่อศูนย์บริการลูกค้าซัมซุง 0-2689-3232 หรือโทรฟรีจากโทรศัพท์บ้าน 1800-29-3232 เพื่อนำสินค้าซัมซุงทุกชนิดมารับบริการซ่อมแซม โดยไม่เสียค่าบริการ พร้อมรับส่วนลดสำหรับค่าอะไหล่ 50% โดยลูกค้าซัมซุงสามารถไปใช้บริการดังกล่าวได้ ณ ศูนย์บริการซัมซุงใกล้บ้าน หรือบริการซ่อมถึงที่พักเฉพาะกรณี ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคมนี้

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกาะกระแส

โดย...ก้อนกรวด

 

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000145993

 

00 ข่าวการให้สัมภาษณ์ของ “บิณฑ์ บันลือฤทธิ์” นักแสดงและเป็นเจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัย ซึ่งได้เข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม โดยมีคนนำมาโพสต์เป็นวิดีโอคลิปลงใน “ยูทิวป์” เปิดโปงให้เห็นถึงความเน่าเฟะของ ศปภ.ที่ “หน้าด้าน” อมของบริจาคแล้วนำไปแปะชื่อของนักการเมืองแบบไม่ลงทุน มีทั้งเรื่องสุขาลอยน้ำ ข้าวสารอาหารแห้ง ทั้งที่ที่ผ่านมาเขาบอกว่าเคยขอไปแจกจ่ายให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน แต่ก็ถูกปฏิเสธ เพราะได้กันเอาไว้สำหรับนักการเมืองพวกเดียวกันเพื่อเอาหน้า

 

00 แม้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และสังคมรับรู้กันไปแล้ว เพียงแต่ว่าการการันตีของ นักแสดงคนดังกล่าวที่สัมผัสกับความจริงเหล่านี้ มันก็ยิ่งทำให้ ศปภ.และรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่พยายามปกปิดและปฏิเสธคอเป็นเอ็นอยู่ตลอดเวลานั้นก็ยิ่งทำให้เละเป็นโจ๊ก และที่ผ่านมาข่าวเรื่องการทุจริตถุงยังชีพก็มีการมุบมิบรวบรัด สอบเองเออเองว่าไม่มีใครผิด ซึ่งมันก็แหงอยู่แล้ว แต่ใครจะเชื่อละว่าไม่มีการโกงเกิดขึ้น หรือไม่มีการอม เอาไว้แจกเฉพาะมวลชนของตัวเอง

 

00 แม้กระทั่งมีการอ้างว่า “เสี่ยเหลี่ยม” ทักษิณ ชินวัตร ลงทุนควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อของบริจาค รวมไปถึงมีชื่อของ จตุพร พรหมพันธุ์ การุณ โหสกุล แปะอยู่ข้างถุงยังชีพ ใช้เงินของตัวเองซื้อหามาทั้งหมด ไม่ได้เบียดบังเอาไปจากของที่ชาวบ้านช่วยกันบริจาค ใครมีปากก็แจงไป แต่เมื่อพิจารณาจากแบ็กกราวด์และองค์ประกอบด้านนิสัยของแต่ละคนย้อนหลังมาประกอบแล้วจะมีใครเชื่อถือสักกี่คนก็แล้วแต่ดุลยพินิจส่วนบุคคล

 

00 เริ่มเคลื่อนไหวกันชัดเจนแล้วสำหรับกลุ่มบุคคลหรือบุคคลใดก็ตามที่ได้รับความเสียหายจากกรณีน้ำท่วมอันเนื่องมาจากการบริหารจัดการน้ำที่ห่วยแตกของรัฐบาล โดยเริ่มดีเดย์ลงชื่อฟ้องเอาผิดกับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาตั้งแต่เมื่อวานนี้( 15 พ.ย.) ที่สภาทนายความในกรุงเทพฯและสำนักงานสขาในต่างจังหวัดทั่วประเทศ และที่ จุฬาฯ ซึ่งก็ต้องขอบคุณ อาจารย์ณรงค์ เพชรประเสริฐ ที่เป็นคนริเริ่มรวมไปถึง สัก กอแสงเรือง นายกฯสภาทนายที่ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย ส่วนจะมีการฟ้องในประเด็นใดบ้าง เรียกค่าเสียหายแบบไหน อีกไม่นานคงมีรายละเอียดตามมาแน่นอน

 

00 ในที่สุดก็มาถึงวันนี้ที่รอคอยของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ในวันที่ได้นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุมครม.ในทำเนียบรัฐบาล เมื่อวานนี้( 15 พ.ย.) ปฏิบัติหน้าที่แทนขณะที่ นายกฯยิ่งลักษณ์ ไม่กล้าขึ้น ฮ.กลับกรุงเทพฯในตอนกลางคืน แม้ว่าจะได้เป็นนายกฯแม้จะทำหน้าที่ชั่วคราวเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงก็ชื่นใจแล้ว ใครจะไปนึกฝันว่าคนที่ไต่เต้าเติบโตมาจาก “นายสิบทหารบก” จะมาได้ไกลถึงเพียงนี้ !!

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผอ.ศูนย์วิจัยสารสนเทศฯค้านย้ายเมืองหลวง ชี้เงื่อนไขน้อยเกิน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤศจิกายน 2554 23:33 น.

 

 

ผอ.ศูนย์วิจัยสารสนเทศฯค้านข้อเสนอ 20 ส.ส. เพื่อไทย ที่จะให้ย้ายเมืองหลวง แจงไม่ใช่เรื่องง่าย สถานที่สำคัญหลายแห่งอยู่ที่นี่ อีกทั้งข้อมูลกทม.ทรุดปีละ 20 ซม.ไม่จริง ขนาดเมื่อก่อนทรุดแค่ 1-3 ซม.ต่อปี ยิ่งทุกวันนี้แทบไม่ทรุดเลยเพราะเลิกใช้น้ำบาดาลแล้ว ซัดถ้ามีเงื่อนไขแค่นี้อย่าพูด มั่นใจใช้แนวคิด "ในหลวง" จัดการน้ำอย่างยั่งยืน และทุกคนช่วยกันทำงานตั้งแต่วันนี้ สู้น้ำได้แน่นอน

 

 

 

วันนี้ (15 พ.ย.) ผศ.ดร.สมบัติ อยู่เมือง ผอ.ศูนย์วิจัยสารสนเทศแห่งประเทศไทย ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) กล่าวในรายการ "คนเคาะข่าว" ว่า ที่พูดกันว่ากทม.จะจมบาดาลใน 50 ปีข้างหน้า อันนั้นไม่น่ากังวลนักหนา แผ่นดินเราไม่ได้ทรุดถึง 20 ซม. ต่อปี อันนั้นข้อมูลคลาดเคลื่อน เมื่อก่อนทรุดประมาณ 1-3 ซม.ต่อปี ซึ่งปัจจุบันก็แทบไม่ทรุดแล้วเพราะเราเลิกใช้น้ำบาดาลมานาน

 

แม้แต่การศึกษาระดับโลกก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าน้ำจะขึ้นทุกที่เหมือนกัน บางประเทศต่ำกว่าน้ำก็ยังอยู่ได้ การที่กังวลว่ากทม.จะจมน้ำใน 25 - 50 ปี มันไม่ได้เกิดขึ้นฉับพลันแน่นอน มันมีจะเงื่อนไขระหว่างทาง ตนไม่กลัวกรุงเทพฯจมน้ำ เพราะเราอยู่กับน้ำมานานแล้ว เราต่างหากที่รู้สึกว่าต้องไม่มีน้ำ

 

ผศ.ดร.สมบัติ กล่าวอีกว่า มีบางคน (ส.ส.เพื่อไทย) เสนอให้ย้ายเมืองหลวง ถ้ามันง่ายอย่างนั้นก็ดี การเสนออะไรโดยมีเงื่อนไขแค่นี้ไม่ควรพูด เราต้องจำกัดการเติบโตของเมือง ไม่ไปปลูกสร้างในที่ที่ไม่ควร อะไรที่กีดขวางคลองก็ต้องไปจัดการ ที่ผ่านมาเราปล่อยปละละเลย ให้รุกรานทางน้ำผ่าน

 

แล้วที่บอกว่านครนายก พื้นที่ลาดชันน้ำมาจะระบายออกได้สะดวก ซึ่งพื้นที่ลาดชันในประเทศมีเต็มไปหมด เลือกเอาได้ทั้งอีสาน มีเงื่อนไขแค่นี้มันไม่ควรพูดเรื่องนี้ในตอนนี้

จัดโซนนิ่ง ทำผังเมืองใหม่ หาเมืองรองรับการขยายตัวของเมือง ได้ทำหรือยัง สิ่งนั้นคือสิ่งที่ต้องทำ แล้วมาออกแบบวิศวกรรมในการป้องกันดูแล ไม่ว่าจะเป็นฟลัดเวย์ คันกั้นน้ำ หรืออะไรก็แล้วแต่ ถอยไม่ได้ เมืองเราอยู่นี่ สถานที่สำคัญอยู่ที่นี่ทั้งหมด แล้วจะย้ายไปไหน มันสู้ได้ ไม่อยากให้โดดข้ามช็อตแล้วพูดอะไรออกมาไม่สมเหตุสมผล อยากให้อยู่กับความเป็นจริงแล้วแก้ปัญหา

 

เมื่อถามว่าการจัดลำดับวางแผนการจัดการทรัพยากรน้ำที่จะนำเสนอต่อรัฐบาลในฐานะคณะกรรมการกยน.มีอย่างไรบ้าง ผศ.ดร.สมบัติ กล่าวว่า ตนก็ยังใช้แนวคิดของพระองค์ท่าน ที่ดร.สุเมธ ได้ให้สัมภาษณ์หลายๆครั้ง เราต้องดูลุ่มน้ำย่อยทุกระบบ ลุ่มน้ำใหญ่ ให้ยั่งยืน ความหมายคือ ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร จัดการทรัพยากรในพื้นที่ ทุกอย่างต้องมีข้อมูลการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม นั่นคือความยั่งยืนอย่างแน่นอน จะใช้เวลา 20 ปี ก็ต้องทำ เราจะมาแก้ไขปัญหาระยะกลาง ระยะปลายอย่างเดียวไม่ได้

หลายคนกังวลว่าเราจัดการพิบัติภัยอย่างเดียวหรือจัดการน้ำทั้งระบบ มันแยกไม่ออก เพราะหากเราจะจัดการพิบัติภัยเราก็ต้องดูแลน้ำต้นทุน ทั้งใช้ในการเกษตร ทั้งใช้ลดพิบัติภัย ใช้ในหน้าแล้ง การจัดการชายฝั่ง อุตสาหกรรม ใช้ในการอุปโภค บริโภค ซึ่งเราก็ต้องใช้ เราหนีไม่พ้น

 

ต้องใช้ที่ดินให้เหมาะสม ต้องโซนนิ่งมันให้ดี แล้วใส่วิศวกรรมในพื้นที่ที่เราตั้องสู้ นั่นคือมาตรฐานสากล แค่มาดูแลส่วนล่างแล้วผลักน้ำไปให้ดีที่สุด โดยหน้าแล้งไม่มีน้ำใช้ อันนั้นไม่ยั่งยืน ต้องเป็นธรรมกับทุกลุ่มน้ำ

 

คนมักถามปีหน้าจะน้ำท่วมหนักแบบนี้หรือไม่ ตนคิดว่าทุกคนต้องช่วยกัน ทำงานอย่างเป็นระบบ ทำงานหนักอย่างตลอด ตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่น้ำท่วมแล้วค่อยมาพูดกัน มันไม่ได้

 

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Focus: สื่อนอกเตือนน้ำจืดมหาศาลไหลลงอ่าวไทยอาจก่อ “หายนะทางทะเล”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤศจิกายน 2554 14:14 น.

 

 

 

เอเอฟพี - สรรพชีวิตในท้องทะเลอาจเป็นเหยื่อรายต่อไปที่ต้องผจญหายนะจากอุทกภัยครั้งใหญ่ในไทย เมื่อมวลน้ำจืดหลายพันล้านลูกบาศก์เมตรที่ท่วมขังพื้นที่ภาคกลางกำลังทยอยไหลออกสู่ทะเล ผู้เชี่ยวชาญและนักอนุรักษ์ ระบุ

 

ทางการไทยประกาศเตือนชาวประมงผู้เพาะเลี้ยงปลาและหอยทะเล ตามแนวชายฝั่งให้หาวิธีป้องกันสัตว์น้ำในฟาร์มของตน เนื่องจากคาดว่าจะมีมวลน้ำจืดราว 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตรไหลทะลักออกสู่อ่าวไทย ซึ่งจะส่งผลให้ความเค็มของน้ำลดลงอย่างมาก

 

นักอนุรักษ์เตือนว่า สารพิษจากพื้นที่เกษตรกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปะปนมากับน้ำ อาจส่งผลกระทบยาวนานต่อระบบนิเวศในทะเล และอาจเข้าถึงห่วงโซ่อาหารในที่สุด

 

ผศ.ดร.ปราโมทย์ โศจิศุภร จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตือนว่า น้ำจืดปริมาณมหาศาลที่จะไหลลงสู่อ่าวไทยตลอดเดือนหน้า จะส่งผลให้ความเค็มของน้ำลดลงจนเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเล

 

“ปัญหาคือ ระดับความเค็มของน้ำทางตอนบนของอ่าวไทยที่จะลดลงมาก เมื่อได้รับมวลน้ำจืดมหาศาล” อ.ปราโมทย์ เผย

 

“น้ำจืดจะไม่ส่งผลกระทบต่อฝูงปลามากนัก แต่สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อาศัยอยู่ในโคลนเลน เช่น หอยแมลงภู่ หอยกาบ พวกนี้จะตายหมด”

 

อ.ปราโมทย์ อธิบายว่า น้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรจะส่งผลให้ปริมาณเกลือในทะเล ซึ่งปกติจะอยู่ที่ราวๆ 32 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน ลดลงเหลือเพียง 2 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน และน้ำทางตอนในของอ่าวก็จะกลายเป็นน้ำจืด

 

“หากน้ำจืดคงอยู่นานกว่า 2 เดือน สัตว์ทะเลพวกนี้จะตายกันหมด”

 

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลาทะเล, หอยแครง, หอยแมลงภู่, กุ้ง, หอยนางรม และหอยกาบ เป็นรายได้หลักของระบบเศรษฐกิจริมทะเลอ่าวไทย ซึ่งจะได้รับผลกระทบรุนแรงหากความเค็มของน้ำลดลง

 

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (14) กรมประมงเตือนให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใน จ.สมุทรสาคร เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือหาวิธีป้องกันไม่ให้น้ำจืดไหลเข้าไปยังบ่อเลี้ยง

 

พลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษจากกลุ่มกรีนพีซ กล่าวว่า น้ำท่วมที่ไหลออกสู่ทะเลจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตนับล้าน รวมไปถึงเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และอาจส่งผลกระทบถึงห่วงโซ่อาหารด้วย

 

“ในระยะสั้น เราอาจเห็นปลาตายเกลื่อนชายฝั่งอ่าวไทยเพราะความเค็มของน้ำลดลง” เขากล่าว

 

“สัตว์เล็กๆ บางชนิดจะอ่อนไหวง่ายต่อคุณภาพน้ำและความเค็มของน้ำที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นพวกมันจะตาย และกลายเป็นอาหารของปลาใหญ่”

 

พลาย อธิบายว่า แม้ในที่สุดท้องทะเลจะสามารถฟื้นระดับความเค็มให้กลับมาดังเดิมได้ แต่สิ่งที่ต้องกังวลต่อไปคือสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่การเกษตรที่ไหลปนมากับน้ำท่วม

 

“กระแสน้ำจะชะล้างเอาสารเคมีลงไปในอ่าวไทย ซึ่งเป็นระบบนิเวศแบบปิด” ด้วยเหตุนี้จึงมีโอกาสที่สารเคมีจะหลุดรอดเข้าไปถึงห่วงโซ่อาหาร พลาย กล่าว

 

“ระบบนิเวศในอ่าวไทยค่อนข้างปิด กระแสน้ำไม่ไหลต่อเนื่องเพราะมีพื้นดินล้อมรอบ อัตราการไหลของน้ำจึงช้ามาก”

อ.ปราโมทย์ กล่าวว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดพาน้ำจืดไปทางตะวันตกของอ่าว เข้าสู่ภาคใต้บางจังหวัด รวมถึงเมืองตากอากาศชื่อดังอย่าง หัวหิน

 

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพน้ำในอ่าวไทยสัปดาห์หน้า เพื่อประเมินว่ามวลน้ำจืดจะแผ่ขยายออกไปไกลมากน้อยเพียงใด ขณะที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็จะตั้งจุดทดสอบสภาพน้ำ 50 จุด รอบอ่าวไทย รวมถึงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา

 

“เราจำเป็นต้องตรวจสภาพน้ำหลายๆจุด เพื่อประเมินว่า น้ำจืดจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างไร ยาวนานแค่ไหน และต้องใช้เวลาเท่าไหร่จึงจะฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับสู่ภาวะปกติ” เจ้าหน้าที่กระทรวงซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อ กล่าว

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นข่าวที่ดีใจสำหรับตัวเอง

 

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถใช้การได้แล้ว 11 แห่ง

 

 

กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร) ตรวจสอบสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ที่ใช้การได้ มี 11 สะพาน ได้แก่

สะพานพุทธฯ สะพานพระปกเกล้าฯ สะพานตากสิน (สาธร) สะพานกรุงเทพ สะพานพระราม 3 สะพานภูมิพลฯ (วงแหวนอุตสาหกรรม) สะพานกรุงธน สะพานพระราม 7 สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด่วนพิเศษ สะพานพระราม 9 (สะพานแขวน) สะพานทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์

 

 

หลายพื้นที่ใน กทม.น้ำลด เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ

 

 

สถานการณ์น้ำเช้าวันนี้ ที่ ถ.วิภาวดีรังสิต พหลโยธิน บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ได้ลดลงจนแห้ง แต่การจราจรยังสับสน เนื่องจากยังมีน้ำท่วมขังหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งห้างยูเนี่ยนมอลล์ และเซ็นทรัล ลาดพร้าว จะเปิดให้บริการในวันพรุ่งนี้ (18 พ.ย.) ส่วนหน้าห้างเมเจอร์ รัชโยธิน เริ่มแห้ง แต่เลยไปบริเวณ ซ.เสนา น้ำยังท่วมสูงจนถึงสี่แยกเกษตร รถผ่านได้ลำบาก ขณะที่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ น้ำยังท่วมสูง 40-50 เซนติเมตร

 

ส่วน ถ.รัชดาฯ เลยไปถึงต่างระดับรัชวิภา ยังมีน้ำท่วมขัง

 

สำหรับพื้นที่เขตบางกะปิ บริเวณ ถ.เกษตร-นวมินทร์ คันนายาว และคู้บอน ระดับน้ำเริ่มลดลงเล็กน้อย ส่วนในฝั่งตะวันตก พื้นที่บางขุนเทียน ระดับน้ำเริ่มลดลงเล็กน้อย แต่น้ำในคลองสี่บาท ยังสูงขึ้น ซึ่งวันนี้ทางสำนักงานเขตเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้ครบ 4 เครื่อง หลังติดตั้งไปแล้ว 1 เครื่องวานนี้ เพื่อสูบน้ำลงคลองราชมนตรี ทำให้น้ำในพื้นที่เริ่มลดลง

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านแล้วเหนื่อยจังที่ยังไปไหนไม่ได้

 

ถ.วิภาวดีฯ น้ำท่วมขังสูงยาวถึงรังสิต รถเล็กผ่านไม่ได้

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 15:36 น.

 

สถานการณ์บนถนนวิภาวดีรังสิต มองจากทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์พบว่า ถนนวิภาวดีรังสิตยังคงท่วมขังสูงยาวไปถึงรังสิต โดยแยกงามวงศ์วานมุ่งหน้าสี่แยกพงษ์เพชรพบว่า น้ำยังคงท่วมขัง

 

สูง มีเพียงรถยนต์ขนาดใหญ่ และเรือในการสัญจร

 

เช่นเดียวกับแยกหลักสี่บริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ น้ำยังคงท่วมขังสูงเช่นกัน

 

ขณะที่บริเวณด้านหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองระดับน้ำยังคงท่วมขังสูง รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ แม้ว่าระดับน้ำจะลดลง

 

ส่วนด้านในท่าอากาศยานดอนเมืองระดับน้ำลดลง 50 เซนติเมตรถึง 1 เมตร แต่ถือว่าระดับน้ำยังคงท่วมขังสูงอยู่ระดับ 80 เซนติเมตรถึง 1 เมตร

 

ส่วนบริเวณเซียร์รังสิตยังพบว่า ระดับน้ำยังคงท่วมขังสูงเช่นกัน

 

และจากการสังเกตพบว่า เส้นทางบนทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์มีปริมาณขยะจำนวนมากบนผิวการจราจร และพบว่ามีประชาชน 1 ราย นำขยะใส่ถุงดำขนใส่รถขยะจอดบนโทลล์เวย์ช่วงดอนเมือง แล้ว

 

นำขยะทิ้งลงบนผิวการจราจรข้างล่างที่มีน้ำท่วมขังด้วย ถือเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ม็อบปิดโทลล์เวย์ปะทะผู้ใช้เส้นทาง การจราจรติดขัดหนัก

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤศจิกายน 2554 15:35 น

 

 

blank.gif

ช่วงบ่ายที่ผ่านมา กลุ่มชาวบ้าน อ.ลำลูกกานับร้อยคน เดินทางมาปิดทางขึ้นโทลล์เวย์ขาเข้ากรุงเทพฯ หน้าห้างสรรพสินค้าเซียร์รังสิต ส่งผลให้การจราจรติดขัดอย่างหนัก

 

โดยเรียกร้องขอพบผู้ว่าราชการ จ.ปทุมธานี และตัวแทนศูนยปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ.ขอให้เร่งระบายน้ำที่ท่วมขังมาเป็นเดือน และน้ำเน่าเสียสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่อยู่อาศัย ในชุมชนริเวอร์ปาร์ควัดประยูร และชุมชนริมคลองคูคต การชุมนุมดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ใช้เส้นทาง

 

โดยมีรถยนต์ขับหนึ่งขับเคลื่อนเพื่อต้องการเปิดทางขับออกจากถนน ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจ จึงปีนขึ้นหลังคารถและทุบกระจกรถคันดังกล่าวแตกเสียหาย ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามเจรจา และขอให้เปิดเส้นทาง เพื่อบรรเทาการจราจรที่ติดขัดหนักในช่วงแรก ชาวบ้านยินยอมเปิดให้ 1 ช่องทาง จากนั้นชาวบ้านยินยอมเปิดให้อีก 1 ช่องทาง โดยมีเงื่อนไขว่า อีก 2 ชั่วโมงหากทางการไม่แก้ปัญหาน้ำท่วมขังดังกล่าว ทางกลุ่มชาวบ้านจะปิดเส้นทางโทลล์เวย์ทั้งขาเข้าและขาออก

 

ในเวลาถัดมาตัวแทน ศปภ.โดยมีนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขานุการคณะทำงานบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่สาธารณภัยร้ายแรง และ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าย เป็นตัวแทนเจรจากับชาวบ้าน ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจา

 

blank.gif

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หลายพื้นที่น้ำยังไม่แห้ง

 

สู้ต่อไปนะครับ

 

http://www.youtube.com/watch?v=A-rqoyy_V8M

ถูกแก้ไข โดย chinchilla

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“หมอณิโคล" สัตวแพทย์อาสาฯ กู้วิกฤตสัตว์เลี้ยง

 

 

 

 

แอบสะดุดตากับความน่ารักของคุณ หมอสัตว์เลี้ยงคนหนึ่งที่ศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงชั่วคราวแม้นศรี ซึ่งเปิดเป็นสถานที่พักพิงสำหรับสัตว์เลี้ยงในช่วงวิกฤตน้ำท่วมมาได้เกือบ 1 เดือนแล้ว บรรดาคนรักสัตว์ที่มาที่นี่บ่อยๆ อาจจะคุ้นตา และชินกับภาพคุณหมอลูกครึ่งไทย-อเมริกันหน้าตาน่ารัก "สพ.ญ. ณิโคล ศิริโศภิษฐ์ เมห์ล" หรือ “หมอณิโคล” สัตวแพทย์ อาสาฯ ใจดี มักจะเห็นเธอหยิบนู่น จับนี่ ง่วนอยู่กับการทำงานทุกอย่างที่เธอสามารถทำได้ ทั้งคอยต้อนรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง คอยรับโทรศัพท์ของผู้ที่โทรมาขอความช่วยเหลือ และเป็นทั้งคุณหมอ ทั้งทำหน้าที่บริหารงานจัดการระบบงานต่างๆ ของศูนย์ฯ แห่งนี้

 

เมื่อไปถึงการประปาเก่าตรงแยกแม้นศรี สภาพภายในเปลี่ยนจากตึกร้างกลายเป็นเหมือนโรงพยาบาล และสถานที่พักพิงสำหรับสัตว์เลี้ยงซึ่งเจ้าของไม่สามารถดูแลเองได้ และนำมาฝากไว้ที่ศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงชั่วคราวแห่งนี้ คุณหมอณิโคลเดินเข้ามาต้อนรับด้วยรอยยิ้มน่ารักๆ และพาเดินดูรอบๆ สถานที่ ซึ่งแบ่งเป็นสัดส่วน แบ่งเป็นห้องหมา และห้องแมว เพื่อลดความเครียดของสัตว์เลี้ยงที่เจ้าของนำมาฝากเอาไว้ ซึ่งรวมแล้วมีจำนวนกว่า 300 ตัว ส่วนตัวคุณหมอก็ประจำอยู่ห้องรักษาสัตว์เลี้ยงชั้นล่างทุกวันจันทร์ ตั้งเช้าถึงเย็น ส่วนวันอื่นถ้าทางเครือข่ายสัตวแพทย์อาสาฯ ออกหน่วยไปช่วยเหลือสัตว์ที่ไหน เธอก็จะตามไปลงพื้นที่ด้วยตลอด

 

โลกใหม่ของน้องหมา-แมว

เหตุการณ์วิกฤตน้ำท่วมช่วงที่ผ่านมา นี้ก็ส่งผลต่อทั้งคน และสัตว์เองก็มีความลำบากไม่แพ้กัน ต้องจากบ้าน จากเจ้าของที่รัก จากที่ที่คุ้นเคยมาอยู่ในกรงเล็กๆ ร่วมกับเพื่อนแปลกหน้า และยิ่งบางตัวเจ้าของไม่ค่อยได้มาเยี่ยมก็เริ่มเกิดความเครียด ปรับตัวไม่ค่อยได้ ส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วย การรักษาและเยียวยาสัตว์เหล่านี้ก็ตกเป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์อาสาสมัครที่ ร่วมมือกันมาช่วยเหลือ และดูแลทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และการรักษาโรค

"เริ่มจากมีข่าวน้ำท่วมออกมามาก ทางเครือข่ายสัตวแพทย์ก็เห็นสำคัญของตรงนี้ ประกอบกับคุณเจ(วรกร จาติกวณิช) ซึ่ง เป็นคนรักสัตว์เป็นผู้ช่วยติดต่อสถานที่ให้ ก็เลยได้สถานที่เป็นการประปาเก่า สาขาแม้นศรี ซึ่งเป็นที่ที่เหมาะสม มีพื้นที่สำหรับคนที่อพยพเข้ามาที่กรุงเทพฯ แต่ไม่สามารถนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปได้ ก็นำสัตว์เลี้ยงมาอยู่ที่นี่ได้

หมอมาช่วยอยู่ที่นี่ได้ประมาณเกือบ 1 เดือนแล้วค่ะ หน้าที่หลักๆ ก็จะทำทุกอย่าง เรียกว่าเป็น Manager ที่นี่ก็จะมีสัตวแพทย์ประจำแต่ละวัน ของหมอก็จะเป็นวันจันทร์ค่ะ เริ่มตั้งแต่เข้ามาทำความสะอาดสถานที่ ประชุมว่าศูนย์จะเปิดวันแรกวันไหน มีหมอจากโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อเข้ามาช่วยเซ็ตระบบด้วย ก็ทำให้ทุกอย่างเป็นระบบมากขึ้น แล้วก็มีน้องๆ คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ มาเป็นอาสาสมัคร ช่วยรับลงทะเบียนหมา-แมว ช่วง 2-3 วันแรกจะยุ่งมาก เรื่องลงทะเบียนสัตว์เข้าห้องแต่ละห้อง

วันแรกๆ ก็ค่อนข้างเหนื่อยค่ะ เพราะทุกอย่างยังไม่เป็นระบบดี พอตอนหลังมีสมาคมผู้บำบัดโรคสัตว์ VPAT ก็เข้ามาช่วยเซ็ตระบบ มีอาจารย์ที่คณะฯ มาช่วยจัดการ ทุกอย่างก็เริ่มดีขึ้น พอทุกอย่างลงตัวก็ เริ่มหายเหนื่อย สิ่งที่เราได้คือความสุขใจ พอเห็นหมาเริ่มมีอาการดีขึ้น เป็นอยู่ดีขึ้น มันหายเครียด เราก็ยิ่งหายเหนื่อย บางทีเห็นน้องๆ ที่มาช่วย เขาเหนื่อยกว่าเราอีก ก็เหมือนมีกำลังใจในการทำงานเยอะ

 

ที่นี่จะเป็นระบบอาสาสมัครที่เข้ามา ทำ จะแบ่งเป็นอาสาสมัครที่เป็นคนทั่วไป ก็จะช่วยล้างกรง ให้อาหารหมา-แมว พาจูงเดิน กับอาสาสมัครที่เป็นนิสิตสัตวแพทย์ ก็จะช่วยได้มากขึ้นมานิดหนึ่ง เขาจะสังเกตได้ว่าตัวไหนเริ่มป่วยแล้ว ตัวไหนเริ่มมีอาการผิดปกติ ก็จะมาบอกกับพวกพี่หมอได้ อาจจะมีช่วยทำแผล ช่วยป้อนยาภายใต้ความดูแลของสัตวแพทย์ได้ แล้วก็มีอาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นสัตวแพทย์ที่จบแล้ว ก็จะแบ่งการรักษาเป็นห้องหมา และห้องแมว คอยดูแลสัตว์ที่ป่วยในแต่ละวัน”

 

เรียนสัตวแพทย์ 11 ปี

ด้วยความที่เป็นคนเรียนเก่ง และมีความสนใจเกี่ยวกับการแพทย์มาตั้งแต่เด็ก บวกกับเป็นคนรักสัตว์เป็นทุนเดิม เธอจึงรู้ตัวว่าอยากเรียนสัตวแพทย์ตั้งแต่ ม. 4 หลังจากนั้นเธอก็ตั้งใจเรียน ค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจเพิ่มเติมอยู่ตลอด

 

“เพิ่งเรียนจบสัตวแพทย์ จุฬาฯ ปีที่แล้ว เรียนปริญญาตรี 6 ปี เรียนสัตวแพทย์ต้องรู้เรื่องของสัตว์หลายชนิดมากค่ะ ต้องเรียนเยอะมากขึ้น การรักษาของสัตว์แต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันออกไป ตอนเรียนก็จะแบ่งออกเป็นสัตว์เล็กที่เลี้ยงในบ้าน แล้วก็สัตว์เศรษฐกิจพวก หมู ไก่ วัว สองอย่างนี้การจัดการก็จะแตกต่างกันไป ถ้า ถามว่าอนาคตอยากทำอะไร ตอนนี้จะสนใจเรื่องงานวิจัย ก็ต้องดูอีกทีว่าเรียนจบแล้วจะมีตรงไหนให้ทำบ้าง จริงๆ ถ้าจบออกไปเป็นอาจารย์ได้ก็อยากจะเป็นค่ะ" หมอสาวกล่าวยิ้มๆ

 

"ตอนนี้กำลังเรียนต่อปริญญาเอกที่คณะ เดิม เลือกเรียนต่อภาควิชาสูติศาสตร์ใช้หน่วยกิตสอบข้ามมาก็เรียนต่อปริญญาเอกอีก ประมาณ 5 ปี รวมๆ แล้วประมาณ 10 กว่าปีค่ะ (หัวเราะ) ตอนนี้ก็เพิ่งเริ่มเรียนไปได้เทอมเดียว แล้วก็ฝึกงานที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่เรียนต่อด้วย”

 

ปัจจุบันคุณหมอคนเก่งเธอกำลังศึกษา ต่อระดับปริญญาเอกโดยใช้เกรดเฉลี่ยสอบเข้ามา ซึ่งรวมๆ แล้วเธอต้องใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนนานถึง 11 ปี และสิ่งที่เธอสนใจเพิ่มขึ้นมาคือเรื่องเกี่ยวสูติศาสตร์ เพราะเห็นความสำคัญในรื่องของระบบสืบพันธุ์

 

“ส่วนตัวหมอจะสนใจด้านสัตว์เลี้ยง หมา-แมวเป็นหลัก ตอนนี้ก็สนใจไปด้านสูติศาสตร์เวชวิทยา เรามองว่าวิชาชีพนี้ วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์มันได้ใช้มาก ยิ่ง ตอนนี้สัตว์เลี้ยงมีความผูกพันกับคนมากขึ้น เขาก็ต้องการให้สัตว์เลี้ยงที่เขารักเนี่ยมีลูกมีหลานสืบต่อไป มันเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในสังคมเราค่ะ ส่วนด้านสัตว์ใหญ่ก็จะมีผลในด้านเศรษฐกิจของแต่ละฟาร์ม ก็มองว่าเรื่องสูติ มันค่อนข้างมีบทบาทสำคัญในวงการฯ ถ้ามีการ จัดการที่ดี มันก็ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ไม่ใช่แค่การจัดการเรื่องการสืบพันธุ์อย่างเดียว มันจะมีโรคต่างๆ มากมายเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ที่เห็นบ่อยๆ ก็จะเป็นมดลูกอักเสบ มะเร็งเต้านม คนไม่รู้ก็จะชอบฉีดยาคุมให้สัตว์ ก็ทำให้เป็นปัญหาได้ คลอดไม่ออก ลูกตายในท้อง”

 

หมอณิโคลเล่าย้อนว่าวัยเด็กว่าเธอ เป็นเด็กที่รักสัตว์ และสนใจเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่สนุก มีอะไรให้ค้นคว้าหาความรู้อยู่ตลอด

 

“พอขึ้น ม.ปลายก็เลือกเรียนสายวิทย์ฯ ตอนนั้นก็รู้สึกว่าชอบเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็ตัดสินใจว่าอยากเรียนไปด้านนี้ ก็เลือกดูว่าอะไรที่น่าสนใจ แล้วก็มาลงที่คณะสัตวแพทย์ เพราะคิดว่าน่าสนุก เรียนแล้วมีอะไรให้ค้นคว้า ให้ศึกษาเยอะ ก็เลยอยากเรียนด้านสัตวแพทย์มาตั้งแต่ ม. 4ค่ะ

 

การที่เราเป็นคนรักสัตว์อยู่แล้ว ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัดสินใจเข้าเรียนสัตวแพทย์ ยิ่งได้มาทำงานกับสัตว์ อย่างทำงานที่ศูนย์ฯ นี้ ได้เจอสัตว์ทุกวัน ก็ผูกพันน่ะค่ะ ก็รัก ที่บ้านก็เลี้ยงสุนัขตัวหนึ่ง เป็นสุนัขที่เราใช้เขาตอนเรียนคณะสัตวแพทย์ รักมากตัวนั้น เป็นสุนัขพันธุ์ทาง ที่เราใช้เรียน ใช้ผ่าตัด พอ เรียนจบก็มีการถามคนในกลุ่มว่าใครอยากเอากลับไปเลี้ยง เราก็เลยเอากลับมาเลี้ยง ก็รักมาก เหมือนมันเป็นครูที่สอนเราด้วย เป็นสัตว์เลี้ยงของเราด้วย ตอนนั้นมันก็โดนเราผ่า โดนหมดทุกอย่าง ตอนนี้ก็อยากเลี้ยงให้มันมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นหมาหน้ายาวๆ มีเพื่อนในกลุ่มบอกว่าหน้ามันเหมือนเป็ด ก็เลยตั้งชื่อว่าเป็ด เลี้ยงมาประมาณ 4 ปีค่ะ รักเหมือนลูกเลย แต่พยายามเลี้ยงให้มันเป็นสุนขปกติ ไม่ได้ไปตามใจมากจนไม่เหมือนสุนัข ตอนนี้ก็แข็งแรงดี”

 

เห็นเธอเป็นคนรักสัตว์ขนาดนี้ เวลาที่เห็นสัตว์เจ็บป่วยมากๆ หรือเสียชีวิต เธอน่าจะเป็นคนที่รับความรู้สึกนั้นได้มากกว่าปกติ ซึ่งเธอก็บอกว่าเป็นธรรมดาที่ต้องเจอเรื่องเสียใจอยู่บ่อยๆ แต่ตอนเรียนก็มีการสอนในเรื่องของการทำใจรับสำหรับเรื่องอย่างนี้อยู่แล้ว เธอจึงไม่เคยแสดงความอ่อนแอให้คนอื่นเห็น

 

“ช่วงที่เรียน ทำงาน ก็เจอมาหมดทุกอย่าง ตอนนี้ก็ชินแล้ว แต่เวลาที่เรารักษา แล้วมันอาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง บางตัวตาย ก็ต้องเสียใจอยู่แล้ว คือ ตอนที่เราเรียนอาจารย์ก็จะสอนว่าเราเป็นสัตวแพทย์เราก็ต้องทำใจให้ได้ ไม่ใช่ไปฟูมฟายต่อหน้าเจ้าของ แต่ในใจเราก็มีบ้างที่รู้สึก เคยผ่าตัดตัวหนึ่งแล้วมันไม่รอด เราก็รู้สึกแย่มาก รีบไปทำบุญเย็นนั้นเลย”

 

สัตว์เลี้ยงก็มีหัวใจ

โรคเครียดในช่วงสภาวะน้ำท่วม ไม่ได้เกิดขึ้นคนเท่านั้น บรรดาสัตว์ก็เครียดเหมือนกัน เพียงแต่พูดไม่ได้ แต่อาจจะมีการแสดงออกแตกต่างกันไป สังเกตได้จากอาการเจ็บป่วย ท้องเสีย ฉี่ไม่ออก ไม่ยอมกินอาหาร ดุร้ายขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ต้องพลัดพรากที่ถิ่นที่อยู่ คิดถึงเจ้าของ สำหรับที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ ก็มีคนทั่วไปเป็นอาสาฯ พาสุนัขไปเดินเล่น เพื่อเป็นการผ่อนคลาย แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยเยียวยาสัตว์เลี้ยงได้ดีที่สุด ก็คือเจ้าของต้องหมั่นมาดูแลด้วยตนเอง

 

"สุนัขที่นี่มีประมาณ 250 ตัว แมว 100 กว่าตัว จะมีการแบ่งสัดส่วน เป็นสุนัขขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และแม่ลูกอ่อน เพื่อความไม่เครียดของสัตว์ เพราะจะให้หมาตัวเล็กไปอยู่กับหมาตัวใหญ่มันก็เครียด แล้วก็แยกห้องแมวให้เป็นสัดเป็นส่วน เพราะแมวได้ยินเสียงหมาก็เครียด แมวได้ยินเสียงหมา 2-3 วันก็เริ่มฉี่ไม่ออกแล้ว

 

ปัญหาหลักๆ ก็คือ สัตว์พวกนี้จะคิดถึงเจ้าของ บางตัวไม่เคยถูกขังในกรง บางตัวเจ้าของไม่ค่อยมาหา มันก็เครียด ไม่กินอาหาร ท้องเสีย ตัว ที่เครียดที่เห็นชัดๆ จะมีตัวหนึ่งเป็นสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ ชื่อแจ็กกี้ เป็นสุนัขที่หน้าตาหล่อมาก คนก็จะชอบเข้าไปเล่นด้วย วันแรกๆ มันก็น่ารัก ขี้เล่น แต่อยู่ไปสัก2สัปดาห์เริ่มเครียด เริ่มกัดคนที่ไปจับแล้ว เพราะว่ามันคิดถึงเจ้าของ บวกกับอากาศร้อนด้วย เราก็ให้คนช่วยเดินจูง พาไปเล่นน้ำ ก็มีอาการดีขึ้นมาหน่อย ส่วนเรื่องอาหารของที่นี่ก็มีให้เลือกไม่มาก ก็ต้องให้อาหารเหมือนๆ กันหมด บางตัวก็มีอาการท้องเสีย

 

รักงานอาสาฯ

ช่วงที่ประเทศเกิดภาวะวิกฤตเช่นนี้ ก็จะเห็นคนดีมีน้ำใจ มีจิตอาสาออกมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์กันมากมาย หมอณิโคลก็เป็นคนหนึ่งซึ่งชอบการทำงานอาสาฯ มาตั้งแต่สมัยเรียน เธอจะเข้าร่วมออกค่ายอาสาสมัครทุกปิดเทอม เรียกว่ามีใจรัก และอยากทำเพื่อเพื่อนร่วมโลกอย่างจริงใจ

 

“โดยส่วนตัวเป็นคนชอบทำงานอาสาฯ อยู่แล้ว จะไปค่ายสัตวแพทย์อาสาฯ ตั้งแต่ตอนเรียน ไปทุกเทอมเลย ก็เลยเหมือนเป็นการปลูกฝังมาให้เราชอบทำงานอาสาฯ นอกจากจะได้ช่วยเหลือคนอื่น ช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงแล้ว เรายังได้ประสบการณ์ด้วย เราได้ฝึกทักษะของเรา และยังได้รู้จักเพื่อนๆ อาสาสมัครเหมือนกัน คือคนเหล่านี้ก็จะเป็นคนที่จิตใจดี ก็ได้รู้จักกับคนดีๆ เพิ่มมากขึ้น

 

พอน้ำท่วม เหมือนทุกอย่างหยุดหมด ไม่รู้จะทำอะไรกัน อยู่บ้านดูข่าวก็เครียดอย่างเดียว ก็เลยคิดว่าออกมาช่วยเขาดีกว่าอยู่เฉยๆ ถ้าทางเครือข่ายวิชาชีพของทางคณะสัตวแพทย์ ออกไปที่ไหน เราก็จะไปกับเขาด้วย ก็จะไปทุกที่เลย มีไปลพบุรี สระบุรี อยุธยา การ ไปออกหน่วยก็ค่อนข้างแตกต่างจากที่ศูนย์ คือที่ศูนย์นี้จะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เจ้าของพามา ก็ค่อนข้างอยู่ดีกินดี มีเจ้าของเข้ามาดูแลเป็นระยะ แต่ตอนที่เราออกหน่วยก็จะเจอสัตว์ที่โดนทิ้งบ้าง ติดเกาะอยู่บ้าง ไม่มีอะไรกิน พอเราเอาอาหารเม็ดไปให้มันกรูกันเข้ามากินเลย ระยะนี้ จะเป็นเฟสแรกของเครือข่าย ก็จะเป็นการนำอาหารเข้าไปให้สัตว์ก่อน ทำให้มันสามารถอยู่ได้ในช่วงที่น้ำท่วมก่อน พอน้ำลดแล้วเราก็มีการวางแผนเป็นเฟสที่สองคือเข้าไปรักษา พัฒนาคุณภาพชีวิตสัตว์ให้ดีขึ้น ในที่ที่มันอยู่”

 

สุดท้ายนี้คุณหมอณิโคลอยากฝากถึงเจ้า ของสัตว์เลี้ยงว่าถึงจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ก็อยากให้คิดถึงจิตใจของสัตว์เลี้ยงที่มันรักและอยากอยู่กับเจ้าของ อย่าไปทิ้งขว้าง เพราะสัตว์เลี้ยงก็มีหัวใจเหมือนกัน

 

“สิ่ง ที่จำเป็นมากๆ เลยตอนนี้คือการให้ความรู้กับคนเลี้ยงสัตว์ ให้รู้ว่าควรเลี้ยงสัตว์อย่างให้ ให้มันสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ เรามองว่าน่าจะเป็นบทบาทของสัตวแพทย์ที่ควรให้ความรู้เวลาเจ้าของสัตว์ เลี้ยงมาหา หรือจะสามารถหาความรู้ในอินเทอร์เน็ตก็ได้ แต่ก็ต้องดูว่าข้อมูลที่ได้มันมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ก็ค่อนข้างสำคัญ เพราะในอินเทอร์เน็ตมันสามารถนำข้อมูลมาใส่ได้โดยไม่มีการตรวจว่าถูกต้อง หรือเปล่า ถ้าบางคนเอาข้อมูลที่ผิดๆ มาใส่ แล้วคนที่เลี้ยงสัตว์ทั่วไปไม่ทราบ แล้วเอาไปทำตาม ก็อาจจะผิดได้ อย่างเรื่องทำคลอดเอง ถ้าคนที่เลี้ยงสัตว์มานาน แล้วเคยเห็น เคยช่วยดึง ก็สามารถทำเองได้

 

สัตว์บางตัวที่อยู่ในถิ่นเดิม มีคนเข้าไปให้อาหารได้ตลอด ถ้ามันอยู่นั่นก็จะดีที่สุด ดีกว่าย้ายออกมา พอน้ำลดแล้วก็ไม่รู้จะเอาไปไว้ที่ไหน ในสภาวะน้ำท่วม โดย ทั่วไปสัตว์พวกนี้จะสามารถเอาตัวรอดได้อยู่แล้ว ว่ายน้ำไปหาที่เกาะได้ แต่ในบางที่ที่หนักหนาสาหัสมากจริงๆ มันก็ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ถ้ามีคนเข้าไปช่วยเหลือได้ก็จะดีมาก สิ่งที่น่าห่วงก็คือเรื่องขาด อาหาร อีกอย่างก็คือสัตว์ที่คนเลี้ยง อยากให้เจ้าของรับผิดชอบต่อชีวิตมันด้วย ถึงจะมีอะไรเกิดขึ้นแต่สัตว์เลี้ยงมันก็รักเจ้าของมาก บางตัวถูกทิ้ง ก็รู้สึกสงสารน่ะค่ะ

 

อยากฝากเจ้าของสัตว์เลี้ยงว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นก็อย่าไปทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงเลย นำไปฝากที่ศูนย์พักพิงสัตว์ก็ได้ เจ้าของที่นำสุนัขมาฝาก ก็อยากให้เข้ามาเยี่ยมสัตว์เลี้ยงบ่อยๆ มันคิดถึงเจ้าของ ส่วนคนทั่วไปที่อยากช่วยเหลือสัตว์ ถ้ามีกำลังพอที่จะออกไปข้างนอกได้ ก็สามารถติดต่อขอรับอาหารจากทางเครือข่ายสัตวแพทย์ จุฬาฯ ได้ หรือต้องการความช่วยเหลืออะไรก็ติดต่อเข้ามาได้”

 

 

 

 

ศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงชั่วคราวแม้น ศรี เกิดขึ้นจากการประชุมสัตวแพทย์ทุกสถาบันการศึกษา กรมปศุสัตว์ สภาและสมาคมวิชาชีพต่างๆ ที่มองเห็นปัญหาสัตว์เลี้ยงที่ต้องอพยพตามเจ้าของเพื่อหนีภัยน้ำท่วม

 

 

สำหรับผู้ที่อยากบริจาคสิ่งของช่วย เหลือสัตว์ติดต่อได้ที่ ศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงชั่วคราว สี่แยกแม้นศรี อาคารการประปานครหลวง เวลา 8.30-16.30 น. เบอร์ติดต่อ 08-7031-0583 หรือบริจาคที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ถ. อังรีดูนังต์ ส่วนเงินบริจาคสามารถโอนเข้าบัญชี เครือข่ายวิชาชีพสัตวแพทย์ช่วยน้ำท่วม หมายเลขบัญชี 152-4-72740-9 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ และธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ หมายเลขบัญชี 026-2-25004-2โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการ"เครือ ข่ายวิชาชีพสัตวแพทย์ช่วยน้ำท่วม" ได้ ทาง http://www.facebook....พทย์ช่วยน้ำท่วม

 

นอกจากนี้ยังมี"ศูนย์ช่วย เหลือ-ติดตามสัตว์เลี้ยงที่ประสบภัยน้ำท่วม" ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ กลางสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยงและผู้ที่พบเจอสัตว์พลัดหลงกับเจ้าของจากภัย พิบัติน้ำท่วม เพื่อตามหาเจ้าของ และเป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ในครั้งนี้ โดยเจ้าของสามารถลงข้อมูลสัตว์เลี้ยงทั้งหมดใน http://www.facebook.com /PetInFlood ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะนำไปสร้างเป็นเว็บไซต์ถาวร เพื่อความสะดวกและเป็นฐานข้อมูลในการตามหาสัตว์เลี้ยงที่พลัดหลงกับเจ้าของ อีกทางหนึ่ง

 

 

 

 

ชื่อ-สกุล : สพ.ญ. ณิโคล ศิริโศภิษฐ์ เมห์ล

ชื่อเล่น : ลิลลี่

วัน/เดือน/ปี : 25 ธันวาคม 2529

ประวัติการศึกษา : ปริญญาตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

 

 

 

อ้าวยูทูบหายไปไหน เมื่อกี้มีพอย้อนไปทำ ใหม่ ก็อปปี้ติดมามากมาย กลัวต้องแก้ ไข

 

 

ชอบจังเลยค่ะอาจารย์กัมพล ถ้าเป็นแบบนี้ตลอด ไม่ต้องใส่สีฟ้อนท์ มันมาเองคือเว็บsupport .ให้ ขอบคุณมากๆค่ะ

 

แต่รูปแปะแล้วมันแปลกๆนะคะ ถ้าไป paste แทรก มันจะคลุมทืบหมดทั้งหน้าเลย เดี๋ยวลองอีกกระทู้ดีก่า ม่ายงั้นหาย

 

 

 

554000015570301.JPEG

 

 

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กสิกรไทยแจกฟรี “คู่มือฟื้นฟูบ้านหลังน้ำท่วม ที่ทุกคนต้องมี”

 

 

 

ได้มาแล้วค่ะ เลยเข้ามาดู

 

 

เกียรติ ศิริชาติไชย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวหนังสือ “คู่มือฟื้นฟูบ้านหลังน้ำท่วม ที่ทุกคนต้องมี” เรียบเรียงโดยคุณยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยได้จัดพิมพ์จำนวน 400,000 เล่ม แจกฟรีให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย เนื้อหาประกอบด้วยบัญญัติ 21 ประการ เรื่องการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังน้ำลด เพื่อเป็นคู่มือสำหรับประชาชนในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและปลอดภัย

ติดต่อรับได้ที่สาขาของธนาคารกสิกรไทยในพื้นที่ที่เคยประสบอุทกภัยที่ เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ K-Contact Center 0 2888 8888 หรือดูรายชื่อสาขาที่รับหนังสือได้ที่เว็บไซต์ www.kasikornbank.com

 

 

 

http://www.prasong.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

2 คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำลดจาก............

 

 

 

 

1. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ

 

2. จาก ธ ทหารไทย{แตกประเด็นจาก NE11419708}

 

 

 

 

สามารถ download ได้ค่ะดีจังเลย........

 

 

http://www3.pantip.c...NE11463126.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...