ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
moddang

คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม :

โพสต์แนะนำ

เปิด 10 เขตรอบ กทม.เสี่ยงน้ำท่วมสูงนาน 1-2 เดือน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 ตุลาคม 2554 00:20 น.

 

554000013815901.JPEG

 

ผู้เชี่ยวชาญบริหารจัดการน้ำ “ทีมกรุ๊ป” เผยพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม 3 ระดับ ชี้ อ.วังน้อย อ.หนองเสือ อ.ธัญบุรี เขตหนองจอก อ.บางน้ำเปรี้ยว อ.ลาดบัวหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว อ.สามโคก อ.เมืองปทุมธานี อ.บางใหญ่ เสี่ยงสูงสุดน้ำอาจท่วม 1-2 เมตร นาน 1-2 เดือน

 

ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมกลายเป็นปัญหาสำคัญและเร่งด่วนที่ทาให้ทุกฝ่ายวิตกกังวลถึงความรุนแรง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าจะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ด้วยประสบการณ์ความชำนาญในวิชาชีพด้านการบริหารจัดการน้ำมากว่า 30 ปี กลุ่มบริษัททีม พร้อมเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รวบรวม และวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ โดยได้จัดทาแผนที่แสดงพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในระดับต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัย ดังนี้ (ลิงก์แผนที่ http://thaipublica.org/2011/10/team-flood-warning/)

1. พื้นที่น้ำท่วมปี 2554 : พื้นที่น้ำท่วมถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2554

 

2. พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ซึ่งมีระดับความเสี่ยงและข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

 

2.1 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 3 (เสี่ยงสูงสุด)

 

(1) เป็นพื้นที่น้ำท่วมแน่นอน พื้นที่ที่อยู่นอกคันพระราชดำริ จะมีสภาพการท่วมเช่นเดียวกับปี 2538 แต่ระดับสูงกว่า ประมาณ 0.50 เมตร น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร จะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือนจำเป็นต้องอยู่กับน้ำให้ได้ หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น

 

(2) พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ทางตะวันออกของกรุงเทพฯ นี้ จะเป็นทางที่น้ำจะหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่ทะเลโดยน้ำจะใช้เวลาในการเดินทางมาก ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ ทางตะวันออกของอำเภอธัญญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต คันป้องกันน้ำท่วมต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ และหากมีน้ำรั่วเข้ามาในพื้นที่ใดก็จะมีระดับน้ำท่วมสูง 1.0 ถึง 2.0 เมตร แล้วแต่ความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่

 

(3) พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้แก่ อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอบางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน

 

(4) การเตรียมตัว ให้ขนย้ายทรัพย์ขึ้นที่สูง ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร จอดรถยนต์ไว้ในที่สูง และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด

 

2.2 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 2 (สนามบินสุวรรณภูมิน้ำไม่ท่วม)

(1) เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง (เป็นพื้นที่ที่น้ำเคยท่วมเมื่อปี 2538 ซึ่งเป็นปีน้ำท่วมสูงสุด) เป็นพื้นที่รัฐบาลพยายามป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วม (ต้องสู้กับน้ำ) หากป้องกันไม่ได้ คันจะพัง น้ำจะมาเร็วและแรง ดังนั้นให้ติดตามข่าว และติดตามระดับน้ำในคลองตลอดเวลา หากมีรั่วเข้ามาท่วมได้ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร และจะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน

 

(2) พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันออก ได้แก่พื้นที่ ฝั่งตะวันออกของอำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง พื้นที่ที่อยู่เหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พื้นที่ที่อยู่เหนือถนนสายไหม และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนบางบำหรุไปบางพลี

 

(3) พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันตกได้แก่ พื้นที่จังหวัดนนทบุรีที่อยู่ทางตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก มาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่อำเภอสามพรานที่อยู่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองสมุทรสาครที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน และพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตจอมทอง

 

(4) การเตรียมตัว ให้เตรียมย้ายของมีค่าขึ้นที่สูง เตรียมวางแผนหาที่จอดรถยนต์ในที่สูงและติดตามข่าวและเฝ้าระวังใกล้ชิด

 

2.3 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 1

 

(1) เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงปานกลาง เป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมในปี 2538 แต่มีความเสี่ยงที่จะท่วมได้ในปี 2554 นี้ได้แก่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัดนนทบุรี และพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับ 2 และ 3 ดังกล่าวข้างต้น

 

(2) พื้นที่นี้หากมีการท่วม น้ำจะท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร

 

(3) ในการเตรียมตัวนั้นขอให้ติดตามข่าว และเฝ้าระวัง

 

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขับอย่างไรเมื่อน้ำท่วม

 

ขณะนี้ประเทศไทยของเรากำลังประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการขนย้ายข้าวของและการส่งสิ่งของไปบรรเทาความเดือนร้อน ใครที่ต้องขับรถขณะสถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัว แต่หากหลายท่านไม่รู้จะทำอย่างไร การเตรียมตัวรับมือกับสายฝนและน้ำท่วมนั้นเพียงแต่ผู้ขับขี่ เพิ่มความรอบคอบ และวินัยในการขับมากขึ้น รวมทั้งเทคนิคที่เรานำมาฝากกัน

 

**การขับรถเมื่อฝนตกหรือถนนลื่น**

 

จำเป็นต้องระวังเป็นอย่างมากขณะฝนตกใหม่ๆ ถนนจะลื่นมาก เพราะน้ำฝนฝุ่นโคลน จะรวมกันกลายเป็นฟิล์มรองรับระหว่างยางกับพื้นถนนรถจะเกิดการลื่นเสียหลัก เมื่อวิ่งผ่านหากขับรถฝ่าสายฝนต้องลดความเร็วลงให้มากกว่าปกติ ควรใช้เกียร์ต่ำกว่าปกติ1 เกียร์จะทำให้รถเกาะจับถนนไดดีขึ้นขณะขับรถให้เปิดไฟหรี่หรือไฟใหม่ตามแต่ สถานการณ์ การเปิดไฟจะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเราควรหลีกเลี่ยงการเบรกอย่างรุนแรงและ กะทันหักจะทำให้รถลื่นไถลหรือหมุนกลางถนนได้ถ้ารถเริ่มเสียหลักให้ผู้ขับขี่ ถอนคันเร่งจะทำให้รถเกาะขับถนนได้ดีรถวิ่งผ่านแอ่งน้ำ ให้ยกเท้าออกจากคันเร่งโดยทันที อย่าเบรกอย่าหักพวงมาลัย จับพวงมาลัยให้แน่นเมื่อรถลดความเร็วลงหรือผ่านแอ่งน้ำไปแล้ว รถก็จะเริ่มจับเกาะถนนได้และก็สามารถควบคุมได้

 

*การขับระดับน้ำท่วมผิวถนน**

 

คือระดับความลึกของน้ำประมาณไม่เกิน 6 นิ้ว ไม่มีผลต่อรถของเราส่วนที่จมน้ำจึงมีเพียงลูกหมากและบูชยางของระบบรองรับและ ระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้นชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคราวได้ โดยไม่เกิดความเสียหายสิ่งสำคัญที่สุด คือ การรักษาระดับความเร็วของรถโดยขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้น้ำที่ถูกล้อรถ รีดด้วยความเร็วจะทะลักพุ่งออกมาทางด้านข้างอย่างแรงฉีดไปที่ห้องเครื่อง ยนต์ อาจทำให้กระแสไฟจุดระดับลัดวงจร และเครื่องดับหรือไม่ก็ฉีดไปบนห้องเกียร์และเล็ดลอดเข้าไปภายในทำให้น้ำมัน เกียร์เสื่อมสภาพได้

 

**การขับระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถ**

ระดับนี้อาจจะมีน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวขณะขับรถจะได้ยินเสียงน้ำกระทบท้องรถค่อนข้างดังควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่มองไม่เห็นโดยสังเกตจากรถคันหน้าและพยายามจำแนวไว้ ความลึกระดับนี้จานเบรกจะจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา รถที่ใช้ดรัมเบรกประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงอย่างมาก หากพ้นช่วงน้ำท่วมจะต้องทดสอบเบรกทันทีโดยการเบรกและเร่งความเร็วสลับกันไป เพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำจากจานเบรกและเพื่อให้จากเบรก หรือดุมเบรกร้อนจนน้ำระเหยเป็นไอหมด

 

**การขับระดับน้ำท่วมเลยท้องรถ**

 

ไม่ว่าจะขับช้าเพียงใดน้ำก็อาจจะทะลักท่วมห้องเกียร์และเฟืองท้าย (รถขับเคลื่อนล้อหลัง)ผสมกับน้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองท้าย ทำให้เสื่อมสภาพฟันเฟืองต่างๆภายในจะสึกหรออย่างรวดเร็วเนื่องจากน้ำใต้ท้อง รถจะแทรกซึมเข้ามาทางจุกยางหลายจุดจากพื้นรถพรมและฉนวนกันเสียงจะชุ่ม หากเจ้าของรถไม่รีบรื้อเก้าอี้และถอดออกมาผึ่งแดดรถบางรุ่นจะมีศูนย์ควบคุม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E C U)อยู่ใต้เก้าอี้ซึ่งชิ้นส่วนนี้มีราคาสูงมาก หากความชื้นเล็ดลอยเข้าไปจะชำรุดภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนด้านหน้ารถก็เกิดความเสียหายไม่น้อยเช่น ใบพัดของพัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ ซึ่งอยู่ด้านหลังของหม้อน้ำจะดูดน้ำจากด้านหน้าใบพัดซึ่งทำจากพลาสติก จึงงอไปทางด้านหน้าครูดกับรังผึ้งหม้อน้ำจนหัก น้ำซึ่งถูกกันชนหน้ารถดันจน สูงอาจทะลักเข้าทางขั้วของโคมไฟหน้ากลายเป็นไอน้ำสะสมอยู่ภายในและจะทำลาย ผนังโคมที่ฉาบปรอทไว้ซึ่งจะทำให้หลุดล่อนในเวลาไม่นาน

 

**ระดับน้ำท่วมจนถึงไฟหน้า**

 

ถือว่าระดับน้ำที่อันตรายที่สุดหากขับหรือจอดอยู่นานน้ำ ท่วมภายในห้องโดยสารจนถึงเบาะนั่งห้องเกียร์และเฟืองท้ายจะถูกท่วมมิด หากเครื่องยนต์ไม่ดับไปเสียก่อนเนื่องจากระบบจุดระเบิดขัดข้องและผู้ขับยัง ฝืนขับด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (โดยเฉพาะรถเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่ต้องอาศัยกระแสไฟจุดระเบิด)น้ำจะทะลักเข้า ทางท่อดูดอากาศ ผ่านไส้กรองอากาศ ท่อไอดีและเข้าไปในกระบอกสูบลูกสูบที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นอย่างรวดเร็วจะ กระแทกกับปริมาตรน้ำอย่างรุนแรง(ไฮดรอลิกลอค) จนลูกสูบและก้านสูบชำรุดทันที

 

สรุปว่าระดับน้ำที่เรายังใช้งานได้โดยไม่เกิดความเสียหาย คือ ระดับน้ำท่วมผิวถนนและระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวเท่านั้น วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญกับถนนที่มีน้ำท่วมลึกจำเป็นต้องหลีก เลี่ยง โดยกลับรถเพื่อเปลี่ยนเส้นทางหรือหาที่จอดรถซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงไว้ก่อนแทนเป็นการประหยัดค่าซ่อมรถได้มากทีเดียว

 

หากมีปัญหาความนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟือง ท้ายหลังจากลุยน้ำลึกมาทุกครั้งและให้เจ้าหน้าที่บริการถอดเก้าอี้และตรวจด้านล่างของพรมปูพื้นว่ามีน้ำรั่วเข้าถึงหรือไม่ รถที่ลุยน้ำลึกมาแล้วหากถึงที่หมายหรือรถพ้นน้ำห้ามดึงเบรกมือทิ้งไว้เด็ดขาดเพราะเมื่อน้ำแห้ง ผ้าเบรกจะยึดกับจานเบรกจะทำให้เกิดสนิมจนไม่สามารถเคลื่อนรถออกไปได้

 

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด

 

 

http://www.manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9540000129409

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บรรเจิด! “ผ้าอนามัยฉุกเฉิน” ยามน้ำท่วม

 

554000013845901.JPEG

 

 

554000013845902.JPEG

 

 

554000013845903.JPEG

 

 

554000013845904.JPEG

 

ช่างเป็นความลำบากของคุณผู้หญิงที่ต้องเจอภาวะ “น้ำหลาก” หลายทางท่ามกลางอุทกภัย บางคนมัวแต่เตรียมข้าวของจำเป็นและเสบียงจนลืมวันนั้นของเดือน ในภาวะฉุกเฉินที่ไม่อาจลุยน้ำไปหา “ผ้า

 

อนามัย” มาผลัดเปลี่ยน ลองหยิบของใกล้ตัวมากู้วิกฤตกันก่อน

 

 

อีกหนึ่งแนวคิด “ต้องรอด” กู้วิกฤตยามฉุกเฉินจาก แฟนเพจ Design for Disasters ที่นำแนวคิดชาวญี่ปุ่นมาประดิษฐ์เป็น “ผ้าอนามัยยามฉุกเฉิน” ซึ่งมี

 

สิ่งที่ต้องเตรียม ได้แก่ เสื้อแขนยาว, กระดาษชำระหรือเศษผ้า, กรรไกร และเทปกาว

 

วิธีทำ

 

1.สละเสื้อแขนยาว 1 ตัว นำมาตัดแขนให้ยาว 15-20 เซนติเมตร (ความยาวปรับได้ตามความเหมาะสม)

 

2.ใช้กระดาษชำระหรือเศษผ้า ซ้อนให้หนาพอประมาณ แล้วสอดเข้าไปในแขนเสื้อที่ตัดออกมา

 

3.ใช้เทปสอดเข้าไปใต้เศษผ้า โดยให้ยื่นเทปยาวส่วนหนึ่งออกมาเพื่อแปะกับกางเกงชั้นใน

 

 

เมื่อใช้งานแล้วสามารถนำแขนเสื้อไปซักทำความสะอาด และเปลี่ยนกระดาษชำระหรือเศษผ้าได้

 

ขอบคุณแนวคิดดีๆ เพื่อผู้ประสบภัยจากแฟนเพจ Design for Disasters

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เก็บอาหารปลอดภัยในช่วงน้ำท่วม

 

554000013874301.JPEG

 

ตอนนี้หลายบ้านที่ไม่มั่นใจในคำมั่นของรัฐบาลเกี่ยวกับภาวะน้ำท่วมคงกำลังเตรียมทางหนีทีไล่ให้กับครอบครัวของตนเองอยู่อย่างแน่นอน เพราะน้ำที่ว่าจัดการได้ ๆ สุดท้ายก็เกินกำลัง และกำลังไหลบ่าทะลักเข้ามาในหลายพื้นที่ แน่นอนว่ามีหลายครอบครัวที่รีบเร่งออกไปจับจ่ายซื้อหาอาหาร ของใช้จำเป็นตามดิสเคาน์สโตร์เพื่อสำรองเอาไว้ในยามฉุกเฉิน แต่ก็มีอีกหลายสิ่งที่บางครอบครัวอาจลืมไป และเราขอเก็บมาฝากกัน เช่น

 

- อย่าลืมผักผลไม้ ในช่วงน้ำท่วม บางบ้านอาจต้องหนีขึ้นชั้น 2 - 3 ของบ้าน และรับประทานแต่อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง บะหมี่สำเร็จรูป แต่ร่างกายก็ไม่ควรขาดวิตามิน และกากใยที่มีในผักผลไม้ อีกทั้งอาหารแห้งเหล่านั้นก็ไม่ดีต่อสุขภาพของคนสักเท่าใด หรือในบางครอบครัวมีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรับประทานอาหารสำเร็จรูปติดกันนาน ๆ ได้ การมีผักผลไม้สด หรือผลไม้อบแห้งติดเอาไว้บ้างก็จะดีต่อสุขภาพมากกว่า

 

- หากล่องหรือถังที่ปิดฝาได้ :( สนิทสำหรับบรรจุอาหารแห้ง แต่ไม่ควรบรรจุจนเต็ม หรือหนักจนเกินไป ควรเหลือที่ว่างเอาไว้ด้วย เผื่อเวลาน้ำมามันจะได้ลอยตุ๊บป่อง ไม่ต้องเสียเวลาแบกหนีน้ำ หากเป็นถังที่มีหูด้วยก็จะยิ่งดี เพราะสามารถใช้เชือกร้อยเข้าด้วยกัน ลอยหนีน้ำได้ง่าย ๆ คุณจะได้มีเวลาไปยกของส่วนอื่นที่สำคัญกว่า

 

- หากมีของสดในตู้เย็น เป็นไปได้ควรล้างให้สะอาด เพราะหลังจากนี้คุณอาจไม่มีน้ำสะอาดให้ล้างมากนัก แล้วก็จัดการปรุงให้อร่อย (เท่าที่เวลายังพอมี) คุณอาจยังพอเก็บไว้รับประทานได้ 1 - 2 วัน ก่อนที่จะต้องหม่ำแต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือปลากระป๋อง

 

- ผักสดบางชนิดเก็บไว้รับประทานได้แม้ไม่อยู่ในตู้เย็น แต่ก็ควรล้างให้สะอาด และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 สัปดาห์

 

- หากมีเครื่องกรองน้ำ ควรกรองน้ำเก็บไว้ให้มาก ๆ เพราะมันคือสิ่งจำเป็นสำหรับการเอาชีวิตรอดในช่วงน้ำท่วม

 

- อย่าลืมซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือติดบ้านเอาไว้ด้วย สำหรับไว้ทำความสะอาดมือก่อนรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่มากับกระแสน้ำ แต่ไม่ควรเลือกชนิดที่มีฤทธิ์รุนแรง เพราะผิวหนังของเรานั้นไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนอิฐปูน ชั้นของผิวหนังอาจถูกทำลายได้ง่าย ๆ ยิ่งบ้านที่น้ำท่วม ผิวหนังจะเปื่อยง่ายอยู่เป็นทุนเดิม การซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรงอาจทำลายผิวหนังได้รวดเร็ว และสร้างความเจ็บปวดเพิ่มในช่วงน้ำท่วมได้

 

- หากมีถัง หรือคูลเลอร์ที่สามารถเก็บกักความเย็นได้ การซื้อน้ำแข็งมาใส่ แล้วแช่อาหารบางส่วนที่ปรุงไม่ทันก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เพราะมันจะช่วยยืดอายุผักผลไม้สำหรับเก็บไว้บริโภคในยามน้ำท่วมได้นานขึ้นอีกนิด (โดยเฉพาะในบ้านที่ตู้เย็นมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถขนย้ายหนีน้ำได้ไหว หรือไม่มีกระแสไฟ ทำให้ทำความเย็นไม่ได้)

 

ทีมงานหวังว่าเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้จะพอมีประโยชน์ และช่วยให้ครอบครัวของท่านผู้อ่านปลอดภัยในยามคับขันนี้นะคะ หรือท่านผู้อ่านท่านใดมีไอเดียดี ๆ จะร่วมแบ่งปันกันเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ทีมงานก็ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เก็บอาหารปลอดภัยในช่วงน้ำท่วม

 

ใจเดียวกันเลยนะมดแดง :D

post-2581-078718100 1318558141.jpeg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรมวิทย์ฯ เตือน!น้ำท่วมระวังมดตะนอยต่อยเสี่ยงตายได้

 

 

 

 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนน้ำท่วมระวังมดตะนอยต่อย หลังพบชาวบ้านที่จังหวัดตรังถูกมดตะนอยต่อยแล้วเกิดอาการแพ้จนเสียชีวิต แนะอย่าเข้าใกล้รังมดตะนอย โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ หากถูกมดต่อยแล้วรู้สึกว่ามีอาการแพ้ หายใจไม่ค่อยออก ให้รีบไปพบแพทย์ ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการแพ้ ให้รักษาแผลบริเวณที่ถูกต่อยให้สะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำ

 

นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ในช่วงน้ำท่วมนี้ต้องระมัดระวังสัตว์ แมลงมีพิษต่างๆ ที่หนีน้ำขึ้นไปตามบ้านเรือนประชาชน รวมถึงต้องระมัดระวังมดตะนอยด้วย เพราะเมื่อไม่นานมานี้มีชาวบ้านอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ได้ปีนขึ้นไปบนต้นไม้แล้วถูกมดตะนอยกัดที่ริมฝีปาก จากนั้นมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เจ็บปวดตรงแผลที่โดนมดตะนอยกัด และมีอาการรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นอาเจียน และเสียชีวิตในที่สุด ต่อมามีชาวบ้านที่จังหวัดนครปฐมถูกมดต่อยมีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล และได้มีการส่งตัวอย่างมดมาที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากการตรวจจำแนกชนิดตัวอย่างมดที่ได้รับดังกล่าว พบว่าเป็นมดตะนอยเช่นเดียวกัน

 

554000013914401.JPEG

 

สำหรับอันตรายของมดตะนอย เกิดจากการที่มดตะนอยต่อยด้วยเหล็กใน ซึ่งการต่อยของมดจะแตกต่างจากผึ้ง คือมดเมื่อต่อยแล้วจะสามารถดึงเหล็กในกลับ ทำให้สามารถต่อยได้หลายครั้ง ผู้ถูกต่อยจะถูกต่อยซ้ำๆ ด้วยมดตัวเดิม ในขณะที่ผึ้งจะต่อยเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเหล็กในไว้ที่แผลของผู้ถูกต่อย เหล็กในที่ยื่นออกมาจากปลายท้องมดจะเชื่อมต่อกับต่อมพิษที่อยู่ภายในท้อง ซึ่งต่อมพิษจะผลิตสารประกอบโปรตีนและสารอัลคาลอยด์ และสารที่ทำให้ผู้ถูกต่อยเกิดอาการแพ้คือสารประกอบพวกโปรตีน โดยสารโปรตีนเหล่านี้จะทำให้ผู้ถูกต่อยมีอาการต่างๆ เช่น เจ็บปวดบริเวณแผล แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อาเจียน ซึ่งหากบางรายที่แพ้รุนแรงถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้ และไม่เฉพาะแต่มดตะนอยเท่านั้นที่มีเหล็กในและมีต่อมพิษ มดชนิดอื่นๆ เช่นมดคันไฟก็มีสารพิษที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน

 

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า มดตะนอยมีลักษณะลำตัวยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนหัวและส่วนท้องเป็นสีเข้มเกือบดำ ส่วนอกเป็นสีน้ำตาลเหลืองจนถึงสีส้ม รอยต่อระหว่างอกและท้องมีลักษณะเป็นปุ่มนูน 2 ปุ่มมีสีน้ำตาลเหลืองจนถึงสีส้มเช่นกัน หนวดมี 12 ปล้อง กรามมีขนาดใหญ่ ท้องมีลักษณะเป็นรูปไข่ โดยที่ปลายท้องจะมีเหล็กในยื่นออกมาให้เห็นได้เด่นชัด ชอบทำรังอยู่บริเวณบนต้นไม้ใหญ่และต้นไม้ที่ตายแล้ว โดยจะเห็นเป็นโพรงอยู่ภายในต้นไม้ มดตะนอยจะกินซากแมลงเล็กๆ เป็นอาหารและจะออกหากินอยู่บริเวณต้นไม้และพื้นดินใกล้เคียงที่อาศัย ดังนั้น ประชาชนจึงควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีมดตะนอยทำรังอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามต้นไม้ใหญ่ หรือต้นไม้ที่ตายแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้มดต่อย แต่ถ้าถูกมดต่อยแล้วรู้สึกว่ามีอาการแพ้ หายใจไม่ค่อยออก อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการแพ้ ให้รักษาแผลบริเวณที่ถูกกัดและต่อยให้สะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เผย 71 ทางหลวงน้ำท่วม รถผ่านไม่ได้ แนะใช้ทางเลี่ยง

 

กรมทางหลวงแจ้งเส้นทางน้ำท่วมและทางเลี่ยง เผยทางหลวงถูกน้ำท่วมจนรถไม่สามารถผ่านได้ 71 สายทาง เผยเส้นทางเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมถนนหลายเส้นทาง

 

นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยปัจจุบันยังส่งผลให้เส้นทางการจราจรทางบกบางส่วนถูกน้ำทะลักเข้าท่วม จนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาตามปกติ ซึ่งจากสรุปรายงานการเกิดอุทกภัย กรมทางหลวง ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2554 เวลา 07.30 น. มีสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ 18 จังหวัด 102 สายทาง (รวมจำนวน 111 แห่ง ผ่านได้ 40 แห่ง ผ่านไม่ได้ 71 แห่ง)

 

ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทาง 71 สายทางที่ผ่านไม่ได้ ในพื้นที่ 16 จังหวัด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง

 

จังหวัดพิจิตร

 

1. ทางหลวงหมายเลข 111 ตอน สากเหล็ก-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม.9-16

2. ทางหลวงหมายเลข 113 ตอน บางมูลนาก-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 14-25

3. ทางหลวงหมายเลข 1067 ตอน บางมูลนาก-โพทะเล ท้องที่อำเภอบางมูลนาก และอำเภอโพทะเล ที่ กม. 0-19

4. ทางหลวงหมายเลข 1068 ตอน วังจิก-ไผ่ท่าโท ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่ กม. 7-10

5. ทางหลวงหมายเลข 1068 ตอน โพธิ์ประทับช้าง-วังจิก ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่ กม.14-15

6. ทางหลวงหมายเลข 1118 ตอน ตะพานหิน-บางมูลนาก ท้องที่อำเภอตะพานหิน ที่ กม. 4-11

7. ทางหลวงหมายเลข 1221 ตอน พิจิตร-พิษณุโลก ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-8

8. ทางหลวงหมายเลข 1289 ตอน วังสำโรง-บางลาย ท้องที่อำเภอบึงนาราง ที่ กม. 9-10

9. ทางหลวงหมายเลข 1304 ตอน หัวดง-ยางสามต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 2-7

10. ทางหลวงหมายเลข 1313 ตอน บางมูลนาก-ตะพานหิน ท้องที่อำเภอบางมูลนาก ที่ กม. 11-14

 

จังหวัดพิษณุโลก

 

1. ทางหลวงหมายเลข 1275 ตอน ท่าช้าง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่ กม.4-9

2. ทางหลวงหมายเลข 1293 ตอน สุโขทัย-บางระกำ ท้องที่อำเภอบางระกำ ที่ กม. 31-55

3. ทางหลวงหมายเลข 1310 ตอน ทับยายเชียง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่ กม. 8-14

จังหวัดกำแพงเพชร ทางหลวงหมายเลข 1280 ตอน ทุ่งมหาชัย-ละหาน ท้องที่อำเภอคลองขลุง ที่ กม. 28-29

 

จังหวัดนครสวรรค์

 

1. ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน สะพานเดชาติวงศ์ – นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 340 – 343

2. ทางหลวงหมายเลข 117 ตอน นครสวรรค์-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 4-16

3. ทางหลวงหมายเลข 122 ตอน ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันตก ท้องที่อำเภอเมืองที่ กม. 0-7

4. ทางหลวงหมายเลข 225 ตอน ปากน้ำโพ-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอชุมแสง ที่ กม.1-36

5. ทางหลวงหมายเลข 1084 ตอน ป่าแดง-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 48-52

6. ทางหลวงหมายเลข 1182 ตอน นครสวรรค์-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-4

7. ทางหลวงหมายเลข 3319 ตอน โกรกพระ-อุทัยธานี ท้องที่อำเภอโกรกพระ ที่ กม. 0-3

8. ทางหลวงหมายเลข 3522 ตอน ทางแยกเข้าพยุหะคีรี ท้องที่อำเภอพยุหะคีรี ที่ กม. 2-4

9. ทางหลวงหมายเลข 3475 ตอน ทับกฤช-พนมรอก ท้องที่อำเภอชุมแสง ที่ กม. 0-25

 

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

1. ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน ประตูน้ำพระอินทร์ – วังน้อย – หนองแค และอำเภอวังน้อย ที่ กม.55 – 68

2. ทางหลวงหมายเลข 32 ตอน บางปะอิน-นครหลวง ท้องที่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่ กม. 3-26

3. ทางหลวงหมายเลข 32 ตอนนครหลวง-อ่างทอง ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 26-40

4. ทางหลวงหมายเลข 308 ตอน บ้านเลน-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 1-7

5. ทางหลวงหมายเลข 309 ตอน วังน้อย-อยุธยา ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่ กม. 0-19

6. ทางหลวงหมายเลข 329 ตอน บางปะหัน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 32-43

7. ทางหลวงหมายเลข 347 ตอน บางปะอิน-เจ้าปลุก ท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอบางปะหัน ที่ กม. 22-50

8. ทางหลวงหมายเลข 347 ตอน เจ้าปลุก-บางปะหัน ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 50-51

9. ทางหลวงหมายเลข 352 ตอน ทางแยกต่างระดับวังน้อย-สระบุรี ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่ กม. 25-27

10.ทางหลวงหมายเลข 356 ตอน บ้านหว้า-ปากกราน ท้องที่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่ กม. 0-5

11.ทางหลวงหมายเลข 3063 ตอน ทางแยกไปนครหลวง ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่ กม. 15-23

12.ทางหลวงหมายเลข 3196 ตอน มหาราช-บ้านแพรก ท้องที่อำเภอมหาราช ที่ กม. 96-105

13.ทางหลวงหมายเลข 3267 ตอน อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอมหาราช ที่ กม. 5-17

14.ทางหลวงหมายเลข 3412 ตอน บางบาล-ผักไห่ ท้องที่อำเภอบางบาล ที่ กม. 8-15

15.ทางหลวงหมายเลข 3454 ตอน โพธิ์ทอง-หน้าโคก ท้องที่อำเภอผักไห่ ที่ กม. 81-87

16.ทางหลวงหมายเลข 3467 ตอน นครหลวง-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่กม. 0-8

17.ทางหลวงหมายเลข 3469 ตอน อยุธยา-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-3

18.ทางหลวงหมายเลข 3477 ตอน บางปะอิน-อยุธยา ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-14

 

จังหวัดสิงห์บุรี

 

ทางหลวงหมายเลข 11 ตอน อินทร์บุรี-ตากฟ้า ท้องที่อำเภออินทร์บุรี คอสะพานขาด ที่ กม. 5

ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน สิงห์บุรี-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 6-9

ทางหลวงหมายเลข 3030 ตอน สิงห์บุรี-บางระจัน ท้องที่อำเภอเมืองที่ กม. 0-1

ทางหลวงหมายเลข 3028 ตอน บางงา-บ้านหมี่ ท้องที่อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอบ้านหมี่ ที่ กม. 1-24

ทางหลวงหมายเลข 3033 ตอน บางา-พรหมบุรี ท้องที่อำเภอพรหมบุรีที่ กม. 1-10

 

จังหวัดลพบุรี

 

ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน เลี่ยงเมืองลพบุรี ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าวุ้ง ที่กม. 8-19

ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน ลพบุรี-สิงห์บุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 159-166

ทางหลวงหมายเลข 3016 ตอน บ้านป่าหวาย-บ้านป่าตาล ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 2-5

ทางหลวงหมายเลข 3019 ตอน เขาพระงาม-โคกกระเทียม ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-2

ทางหลวงหมายเลข 3196 ตอน ลพบุรี-โพธิ์เก้าต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 76-94

 

จังหวัดชัยนาท

 

ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน แยกสายเอเชีย-สวนนก-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง

ทางหลวงหมายเลข 3183 ตอน ชัยนาท-วัดสิงห์ ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่ กม. 25-28

ทางหลวงหมายเลข 3213 ตอน วัดสิงห์-หนองมะโมง ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่ กม. 0-1

ทางหลวงหมายเลข 3244 ตอน ชัยนาท-ท่าหาด ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-2

 

จังหวัดปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 3309 ตอน ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-สามโคก ท้องที่อำเภอสามโคก ที่ กม. 28-34

 

จังหวัดอุทัยธานี ทางหลวงหมายเลข 333 ตอน อุทัยธานี-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-14 , ทางหลวงหมายเลข 3265 ตอน ทางเลี่ยงเมืองอุทัยธานี ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-2 และทางหลวงหมายเลข 3265 ตอน อุทัยธานี-มโนรมย์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-7

 

จังหวัดสระบุรี ทางหลวงหมายเลข 3020 ตอน พระพุทธบาท-หนองโดน ท้องที่อำเภอพระพุทธบาท ที่กม. 6-8 , ทางหลวงหมายเลข 3022 ตอน พระพุทธบาท-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่ กม. 12-13 และทางหลวงหมายเลข 3034 ตอน หน้าพระลาน-โรงปูนซิเมนต์ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่ กม. 14-16

 

จังหวัดสุพรรณบุรี ทางหลวงหมายเลข 340 ตอน ทางแยกเข้าสุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-1 และทางหลวงหมายเลข 329 ตอน อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอท่าระหัด ที่ กม. 0-1

 

จังหวัดนนทบุรี ทางหลวงหมายเลข 345 ตอน สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่ กม. 4-5

จังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข 3064 ตอน อ่างทอง-โพธิ์ทอง ท้องที่อำเภอโพธิ์ทอง ที่ กม.8-9

 

จังหวัดปราจีนบุรี ทางหลวงหมายเลข 3076 ตอน บ้านสร้าง-นครนายก ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 0-5 , ทางหลวงหมายเลข 3293 ตอน ปราจีนบุรี-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 0-10 , ทางหลวงหมายเลข 3347 ตอน ฉะเชิงเทรา-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 15-31 และทางหลวงหมายเลข 3481 ตอน บางขนาก-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 26-28

 

จังหวัดมหาสารคาม ทางหลวงหมายเลข 2391 ตอน กู่ทอง-บ้านเขื่อน ท้องที่อำเภอโกสุมพิสัย ที่ กม. 15-17

 

ส่วนผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย กรมทางหลวง ขอแนะใช้เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม ดังนี้

 

1. ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ช่วง กม.51-58 เขต อำเภอวังน้อย ทั้งขาเข้า-ขาออก มีน้ำท่วมขังในเส้นทาง โดยเฉพาะ กม.55-57 ระดับน้ำสูง 60 เซนติเมตร ทำให้การจราจรติดขัด แนะนำใช้ทางเลี่ยง ถนนวงแหวนตะวันตก และเส้นทางสายรังสิต-องครักษ์-บ้านนา-นครนายก-สระบุรี หากจะเดินทางไปภาคเหนือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ไปสู่ภาคเหนือทางจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ และสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 205 เข้า โคกสำโรง-ตากฟ้า และใช้ทางหลวงหมายเลข 11 ไป อำเภอวังทองได้ และหากจะเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 2

 

2. ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ขาออก ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน ระดับน้ำสูง ยังคงปิดสะพานเดชาติวงศ์ และปิดการจราจรถนนพหลโยธิน ไม่ให้เข้าตัวจังหวัดนครสวรรค์ ขอให้ใช้ทางเลี่ยงจังหวัดนครสวรรค์ ขาออกจากกรุงเทพฯ เพื่อเดินทางไปภาคเหนือ

 

:o นอกจากนี้ ควรเลี่ยงเส้นทางพหลโยธิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เส้นทางการเดินทาง ดังนี้

 

1. เส้นทางวงแหวนตะวันตก ถึงแยกบางบัวทอง ใช้ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ไปถึง จังหวัดสุพรรณบุรี เลี่ยงเมืองอ่างทอง แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ไปอำเภอตาคลี – ตากฟ้า – ไพศาลี – หนองบัว – เขาทราย – พิจิตร – วังทอง – พิษณุโลก ไปภาคเหนือ

 

2. ช่วงจังหวัดสุพรรณบุรี – ชัยนาท ยังไปได้ แต่จากจังหวัดชัยนาท – สวนนก – ต่างระดับที่จะออกทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ท้องที่อำเภอเมือง ผนังกั้นน้ำด้านซ้ายทางชำรุด ที่กม. 290+500 น้ำท่วมสูง 35 ซม. รถทุกชนิดผ่านไม่ได้ หากจะเดินทางต่อไปยังภาคเหนือ ให้เลี่ยงไปทางจังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย)

 

อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ขอให้โปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้เส้นทางเพิ่มขึ้นด้วย และให้สอบถามเส้นทางก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือทุกระยะในการเดินทาง สำหรับประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง การจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์ไปได้ที่ สายด่วนกรมทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1586 ตำรวจทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1193 สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง 0 2354 6530, 0 2354 6668-76 ต่อ 2014, 2031

 

ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0 2354 6551 ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวงพิเศษ 0 2533 6111 หน่วยกู้ภัย มอเตอร์เวย์ กรุงเทพ – ชลบุรี (สายใหม่) 0 3857 7852 – 3 หน่วยกู้ภัยวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก (บางปะอิน – บางพลี) 0 2509 6832 ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)1111 กด 5 สายด่วน กรมทางหลวงชนบท 1146

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การทางพิเศษ จัดที่จอดรถ 9 แห่งหนีน้ำท่วม

 

 

 

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131648

 

 

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม จัดที่จอดรถใต้ทางพิเศษไม่กีดขวางการจราจร 9 แห่ง รวม 2900 คัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากการเกิดอุทกภัยตามที่ กทพ.ได้ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจการป้องกันและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของ กทพ. เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการและประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยเน้นการช่วยเหลือรถยนต์ที่ใช้ทางพิเศษที่อาจจะมีน้ำท่วมขังและการช่วยเหลือรถที่สัญจรผ่านบริเวณน้ำท่วม

 

จากปัญหาภาวะน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและหลายพื้นที่ของประเทศไทยและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น จนประชาชนต้องอพยพเคลื่อนย้ายทรัพย์สินและกระแสน้ำตัดขาดการจราจรในบางพื้นที่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล กองบังคับการตำรวจจราจร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จึงได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สภ.ปากเกร็ด เป็นต้น ในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยการจัดพื้นที่ใต้ทางพิเศษเป็นที่จอดรถชั่วคราวจำนวน 9 แห่งสามารถจอดรถได้ 2900 คัน ดังนี้

 

ใต้ทางด่วนด่านงามวงศ์วาน 200 คัน

ใต้ทางด่วนด่านรัชดาภิเษก 100 คัน

ลานกีฬาใต้ทางด่านหลังโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 200 คัน

ที่จอดรถใต้ทางด่วนอโศก 1 300 คัน

ใต้ต่างระดับวัชรพล ถนนรามอินทราฝั่งเหนือ200 คัน

ใต้ทางด่วนรามอินทราตั้งแต่จุดกลับรถติดถนนรามอินทราถึงแนวคลอง 1000 คัน

ใต้ทางด่วนด่านพระราม 9-1 จำนวน 500 คัน

ใต้ทางด่วนสาธุประดิษฐ์ 100 คัน

ใต้สะพานพระราม9ฝั่งธนบุรี 300 คัน

 

ทั้งนี้ กทพ.ขอสงวนเส้นทางบนทางพิเศษทุกสาย เพื่อใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงวัสดุอุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมยังคงมีความรุนแรง จนทำให้การจราจรขนส่งอาจต้องหยุดชะงัก ทางพิเศษจึงเป็นเส้นทางหลักสุดท้ายในการขนส่งความช่วยเหลือต่าง ๆ ไปยังพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนได้ จึงห้ามจอดรถทุกชนิดในทางพิเศษ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและอุบัติเหตุที่มีความเสี่ยงสูง โดยจะตรวจสอบจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หากพบมีรถฝ่าฝืนจะดำเนินการเคลื่อนย้ายออกจากทางพิเศษ

 

โดยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ให้บริการจอดรถฟรี สำหรับผู้ประสบเหตุอุทกภัยได้ที่ ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของ กทพ.โทร.1543 ตลอด 24 ชั่วโมง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เช็คเบอร์โทรศัพท์ เช็คเว็บไซต์ตรวจสอบข้อมูลน้ำท่วม

 

 

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ

 

1.สำนักนายกรัฐมนตรี 1111 กด 5

2.สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) 1784

3.หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669

4.ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

5.ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193

6.การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

7.สายด่วน กฟภ. 1129

8.ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111

9.สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

10.สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง

11.ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356

12.บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490

 

เว็บไซต์

 

1.แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ วันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2554 (ขัอมูลอัพเดตทุกวัน เวลา 10.00 และ 19.00 น.) http://maintenance.doh.go.th/test.html

2.ตรวจพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศ http://flood.gistda.or.th/

3.ตรวจน้ำท่วมบนถนนใน กทม. http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/

4.รายงานสภาพการจราจร http://traffic.longdo.com/

5.ตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก http://dds.bangkok.go.th/Canal/index.aspx

6.ติดตามข่าวสารน้ำท่วม http://dds.bangkok.go.th/m/index.php

7.กรมทรัพยากรน้ำ http://www.dwr.go.th/report

8.กรมทางหลวงชนบท http://fms2.drr.go.th/

9.ศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ http://www.thaiflood.com/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รพ.เด็กแนะวิธีกันไฟดูดเด็กช่วงน้ำท่วม

 

 

 

ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน แต่ถ้าเราใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้หลายพื้นที่อยู่ในสภาพน้ำท่วมขัง เพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกไฟดูดมากยิ่งขึ้น

 

พญ. พิมพ์ภัค ประชาศิลป์ชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า "จากการวิจัยพบว่าช่วงอายุที่เสี่ยงต่อการโดนไฟดูดคือกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบเพราะเด็กในวัยดังกล่าว มักจะซุกซน อยากรู้อยากเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และยังไม่รู้ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น เช่น ใช้นิ้วมือ หรือวัตถุใกล้มือแหย่เข้าไปในปลั๊กไฟ การกัดเคี้ยวสายไฟ และการดึงปลั๊กไฟที่กำลังเสียบอยู่ และอีกช่วงอายุคือกลุ่มเด็กโต อายุ 10-14 ปี สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กวัยนี้ถูกไฟดูดก็คือ การพยายามสอยว่าวหรือลูกโป่งที่ไปติดอยู่บนสายไฟแรงสูง และความประมาทเลินเล่อในการใช้ไฟฟ้า"

 

 

ดังนั้นการป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุจึงสำคัญมากที่สุด และที่สำคัญรองลงมาคือการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุไฟดูดขึ้น

 

 

 

สำหรับวิธีป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้าในเด็ก มีดังนี้

 

1. คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย โดยติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากระดับพื้นประมาณ 1.5 เมตร หากติดตั้งปลั๊กไฟในระดับต่ำที่เด็กเอื้อมมือถึง ควรใช้ที่ครอบปลั๊กไฟ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านค้า หรือแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ

 

2. ไม่วางสายไฟหรือรางปลั๊กไฟกีดขวางทางเดินหรือผนังในจุดที่เด็กสามารถหยิบจับได้ เพราะเด็กอาจนำสายไฟหรือรางปลั๊กไฟมาเล่นจนถูกไฟฟ้าดูดได้

 

3. ติดตั้งสายดินหรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อป้องกันการถูกไฟดูด นอกจากนี้ยังควรต้องศึกษาคู่มือการใช้ให้ดี จะช่วยให้ปลอดภัยทั้งจากไฟดูดและอัคคีภัย

 

4. จัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หลังจากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้ว ให้ถอดปลั๊กเครื่องไฟฟ้าและจัดเก็บให้พ้นมือเด็ก สำรวจอยู่เสมอว่ามีสายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าห้อยลงมาจากโต๊ะ พร้อมที่จะให้เด็กเล็กดึงสายไฟเล่นจนเกิดไฟช็อต หรือดึงสายไฟจนเครื่องใช้ไฟฟ้าตกลงมาใส่ตัว

 

5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกบ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณเปียกชื้น หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีน้ำเกี่ยวข้องกับระบบการทำงาน เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ ควรเช็ดให้แห้งก่อนใช้งาน

 

6. ควรดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังบริเวณที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า

 

7. สอนให้เด็กเรียนรู้ถึงอันตรายของไฟฟ้าและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี เช่น

 

· อย่าแตะ สวิทช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ โดยเฉพาะในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก

 

· หากพบเห็นเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าแรงสูงขาดหรือหย่อนลงใกล้พื้น ไม่ควรเข้าใกล้เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และควรรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบเพื่อแจ้งแก่การไฟฟ้าทราบและแก้ไขต่อไป

 

· อย่าเสียดายว่าวหรือลูกโป่งที่ติดตามสายไฟ เพราะสายไฟฟ้าแรงสูงนั้นแค่เพียงเข้าใกล้จนเกินไป ก็อาจถูกไฟช็อตอย่างรุนแรงได้

 

“ในสถานการณ์น้ำท่วม มีข้อแนะนำเพิ่มเติมคือควรยกคัทเอาท์ลงทันที เมื่อน้ำท่วมเข้าบ้าน เนื่องจากการยกคัทเอาท์ลง ไฟจะตัดทันที ถ้าบ้านไหนมีการแยกคัทเอาท์ไว้เป็นชั้นก็จะทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น และอย่าแตะสวิทช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก”

 

 

 

สำหรับวิธีช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเด็กถูกไฟฟ้าดูด

 

กระแสไฟเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไหลผ่านจากทางเข้าลงสู่พื้นดิน หากรุนแรงจะเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก ชาทั่วร่างกาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติ และหยุดหายใจ นอกจากนี้ กระแสไฟและความร้อนจากไฟฟ้าจะทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน และเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจหยุดเต้นอย่างเฉียบพลัน

 

การช่วยเหลือ และปฐมพยาบาลเด็กถูกไฟฟ้าดูด ให้ถอดปลั๊ก และยกคัทเอาท์ลงเพื่อตัดแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า จากนั้นใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า หรือฉนวนกันไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้ง ไม้แห้ง เชือก สายยางพลาสติก หรือหนังสือพิมพ์ที่ม้วนเป็นแท่ง เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวเด็ก หรือคล้องตัวเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดออกมา

 

สำหรับผู้ใหญ่ที่เข้าไปช่วยเหลือร่างกายต้องไม่เปียกชื้น และห้ามสัมผัสถูกตัวเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง เพื่อป้องกันการถูกไฟฟ้าดูด หากจะให้ดีผู้ที่ช่วยควรจะยืนอยู่บนฉนวนเช่นกัน เช่น หนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม กล่องไม้หรือสวมรองเท้ายาง

 

“หากเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ให้นวดหัวใจ โดยนวดอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที พร้อมทั้งผายปอด โดยถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 1 คน ให้ทำการนวดหัวใจ 30 ครั้งและผายปอด 2 ครั้ง แต่ถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้ทำการนวดหัวใจ 15 ครั้งและผายปอด 2 ครั้ง จากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล หรือตามหน่วยกู้ ถ้าไฟดูดไม่มาก เด็กยังมีสติ พูดโต้ตอบได้ ก็ควรตรวจตามร่างกายว่ามีบาดแผลใดๆหรือไม่ และนำส่งโรงพยาบาลต่อไป”

 

พญ. พิมพ์ภัค สรุปทิ้งท้ายไว้ว่า หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลเอาใจใส่บุตรหลานอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงอุบัติภัยจากไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้

 

กันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บูรณาการ Social Network ช่วยผู้ประสบอุทกภัย

 

 

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131412

 

 

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ท่ามกลางน้ำตาของคนไทยที่จะต้องเจอกับอุทกภัยครั้งใหญ่ แม้รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” จะตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)” ที่เทอร์มินัล 2 บริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง พร้อมเปิด“กองอำนวยการลงฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม” แต่การประสานงานหลายๆอย่างผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ ระบบโทรศัพท์พื้นฐานหรืออื่น ๆยังคงมีปัญหาตลอด

 

หากย้อนกลับไปดูในอดีต ก่อนที่จะมียุค Social Network การติดตามข่าวสารผ่านสื่อเฉพาะช่วงเวลาข่าว หรือเสนอแบบวันต่อวัน แต่ด้วยยุคปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตใช้งานอย่างแพร่หลาย หน่วยงานต่างๆ ผู้สื่อข่าว และประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ใช้อินเตอร์เน็ตในรายงานข้อมูลข่าวสาร แจ้งขอรับความช่วยเหลือ ตลอดจนใช้ในการแจ้งเตือนภัยให้กับชาวบ้านได้ตลอด 24 ชั่วโมงแบบ Realtime ทราบได้ทันที

 

ทั้งรัฐและภาคเอกชน ใช้ Social Network ร่วมบูรณาการ

 

“กระทรวงไอซีที” ได้เปิดช่องทางแจ้งข้อมูลความช่วยเหลือและติดตาม สถานการณ์น้ำท่วมผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชนของรัฐบาล “โทรสายด่วน 1111 กด 5” เพื่อช่วยรับเรื่องร้องเรียนและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนจาก สถานการณ์น้ำท่วมโดยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม

 

โดยมีการเปิดเผยว่า มียอดผู้โทรให้ช่วยเหลือแจ้งวันละกว่า 3,000 สาย ยอดตอนนี้คาดว่าจะทะลุหลักแสนหลายไปแล้ว ขณะที่องค์กรต่าง ๆของ รัฐบาลมีเครื่องมือ เช่น “http://www.ndwc.go.th”ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ รวบรวมข่าวสารภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีการติดตามสถานการณ์น้ำท่วม แถมยังมี “แผ่นดินไหว” และการแจ้งเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิตลอดเวลา

 

“www.rid.go.th” ของกรมชลประทาน สามารถติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำอย่างเป็นทางการ ประกาศเตือนภัย ปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำทะเล

 

“Flood.gistda.or.th” ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)เป็นเว็บไซต์แสดง ข้อมูลแผนที่รายงานคาดการณ์สถานการณ์น้ำท่วม (Thailand Flood Monitoring System ) โดยจะแสดงสีฟ้าบนแผนที่ตามจังหวัดต่างๆที่ถูกน้ำท่วมแล้วและจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งเว็บไซต์นี้อยู่ในระหว่างการวิจัย แต่เปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการ

 

“http://dds.bangkok.go.th/Canal/”ของตรวจระดับน้ำในคลองหลักกว่าร้อยคลอง ของ กรุงเทพมหานคร เป็นเว็บไซต์ที่ติดตามและเตือนภัยระดับน้ำในคลองหลักต่างๆของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะคลองหลักที่อยู่ใกล้บ้านของผู้เข้าไปตรวจสอบดู ว่าระดับน้ำสูงจะเต็มหรือจะล้นตลิ่งหรือยัง พบว่า จะเปิดให้อัพเดททุก ๆ 15 นาที

 

@bkk_best , facebook.com/bkk.best และ http://dds.bangkok.go.th/m ของศูนย์ป้องกันน้ำท่วม สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เป้นอีกส่วนหนึ่ง ที่เตรียมไว้สำหรับประกาศฉุกเฉินของทางกรุงเทพมหานคร รายงานสภาพระดับน้ำตามคลองต่างๆ สภาพอากาศทั่วกรุงเทพ และสภาพน้ำท่วมในเขตกรุงเทพ ด้วย

 

“ www.tmd.go.th” ของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่รายงานสภาพอากาศ และประกาศเตือนภัยไปยังจังหวัดต่างๆให้รับมือสภาพอากาศที่แปรปรวน จากลมมรสุม ฝนตก พายุ และน้ำทะเลหนุนสูง แบบวันต่อวัน

 

ขณะที่ภาคเอกชนที่เด่นสุดคือ “ twitter @thaiflood , tag twitter ชื่อ #thaiflood และ Facebook Page ทาง facebook.com/thaiflood” ของศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ หรือ Thaiflood ที่ที่เปิดตัวขึ้นครั้งแรกเพื่อประสานงานข้อมูลสถานการณ์ การขอความช่วยเหลือจากผู้ประสบอุทกภัย ในช่วงวิกฤตน้ำท่วมในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง

 

นอกรายงานจังหวัดที่ได้รับผลกระทบอุทกภัย โดยแสดงเป็นสีระดับเตือนภัยแล้วยังรวมเบอร์โทรศัพท์แจ้งหน่วยงานต่างๆ แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวง รวมเลขทีบัญชีบริจาคทรัพย์สิ่งของ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย รวมเรื่องน่ารู้รับมือน้ำท่วม แถมยังมี “แบบฟอร์มแจ้งความต้องการในพื่นที่และแจ้งการเข้าไปช่วยเหลือ”

 

ขณะที่เอกชน จากต่างประเทศ “Google” ได้จัดทำ Google Crisis Response หลังจากมีประสบการณ์จากภายสึนามิ ประเทศญี่ปุ่น และ แผ่นดินไหวที่นิวซีแลนด์

 

 

ครั้งนี้ “Google ประเทศไทย” เปิดตัวบริการข้อมูล วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย 2554กำหนด “ศูนย์อพยพและศูนย์พักพิง” ผ่านทวิตเตอร์ @GoogleThailand หรือที่ บล็อก Google ประเทศไทย (RSS) โดยอ้างอิงข้อมูลล่าสุดจากเว็บไซต์ ThaiFlood.com

(http://www.facebook.com/room2680) ส่วนนี้ คือFacebook Page “น้ำขึ้นให้รีบบอก” ชื่อกวนๆ ที่รายงานสถานการณ์น้ำท่วม และแจ้งขอความช่วยเหลือ โดยชาว facebook โดยตรง แถมน่าจะมีคนติดตามกดLIKE มากกว่าแสนคนแล้วด้วย

 

ขณะที่เอกชนค่ายโทรศัพท์มือถือ ก็มีการเพิ่มแอพพลิเคชั่น กับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน รายงานสถานการณ์น้ำท่วมโดยดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ thaiflood.com ในหลายๆระบบด้วยกัน

 

นอกจากนี้สื่อมวลชนสาขาต่าง ๆยังนำข่าวสาร ทีมีการกลั่นกรองลงเวปไซค์ข่าวของตัวเอง เพื่อให้ประชาชนติดตามเช่นกัน ทั้งหมดนี้ คือบทบาทเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยเตือนภัย รายงานสถานการณ์ และช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม เพื่อร่วมบูรณาการกับรัฐบาล.

 

 

 

 

ถึงคราฝันร้ายคนเมือง น้ำท่วม กทม. ความจริงที่มิอาจปฏิเสธได้

 

 

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131417

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิธีคลายเครียดจากน้ำท่วม :P

เหตุการณ์น้ำท่วมปีนี้ ในหลายพื้นที่หนักหนาสาหัสเอาการเลยทีเดียว ผลพวงที่ตามมานอกจากความเสียหายในเรื่องของทรัพย์สินแล้ว ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตก็มีมากทีเดียว โดยเฉพาะความเครียดที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมจำนวนมากกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

นพ.ทวี ตั้งเสรี รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดพบว่า มีคนเครียดสูงเพิ่มขึ้นทุกวันรวมแล้วหลายพันคน ทั้งนี้ความเครียดแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก มีอาการเครียดช่วงที่น้ำกำลังท่วม กลุ่มที่ 2 มีอาการเครียดหลังจากน้ำลดแล้ว และ กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ไม่รู้ว่าน้ำจะท่วมหรือไม่ กำลังรอคอยอยู่

กลุ่มแรกที่กำลังถูกน้ำท่วม มีความเสียหายเกิดขึ้น คนที่บ้านเคยถูกน้ำท่วมมาทุกปีจะไม่เครียดมาก เพราะรู้ว่ายังไงน้ำก็มาแน่ หลายคนก็อาจจะเตรียมพร้อมรับมือ เช่น เตรียมเสบียง รีบเก็บเกี่ยวข้าว และผลผลิตทางการเกษตร หรือหาที่อยู่ใหม่ แต่กลุ่มที่ไม่เคยเจอสถานการณ์น้ำท่วมมาก่อน เช่น อยู่ในเขตเมืองอาจตั้งตัวไม่ค่อยได้ เพราะเกิดความสูญเสียมากมาย ทั้งทรัพย์สิน ไม่มีที่หลับนอน การคมนาคมลำบากจะมีอาการเครียดมากกว่า

วิธีแก้ คือ หาเพื่อนคุยปรับทุกข์ อย่าอยู่เงียบ ๆ คนเดียว ออกกำลังกาย มีความหวัง ที่สำคัญคือ เปลี่ยนตัวเองจากผู้รับความช่วยเหลือเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ เช่น หากอยู่ในศูนย์อพยพก็ควรทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้อื่น บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ก็จะทำให้รู้สึกว่าได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ หรือถ้าอยู่ในชุมชน ทางชุมชนช่วยกันทำคันกั้นน้ำขนกระสอบทรายก็ควรเข้าไปช่วยเหลือ

กลุ่มที่ 2 มีอาการเครียดหลังจากน้ำลดแล้ว กลุ่มนี้จะเห็นความเสียหายทำให้เกิดความเครียดสูง วิธีแก้ไข คือ วางแผนแก้ไขปัญหาเป็นขั้นเป็นตอนว่าจะทำอะไรก่อนและหลัง โดยเริ่มจากง่ายไปหายาก เพราะถ้าเริ่มจากปัญหาที่ยากเลยกว่าจะสำเร็จต้องใช้เวลาอาจทำให้เกิดความท้อแท้ นอกจากนี้อย่าหมดกำลังใจ และไม่ควรรอรับการช่วยเหลืออย่างเดียว ควรเป็นฝ่ายรุกเข้าไปหาความช่วยเหลือ

กลุ่มที่ 3 ไม่รู้ว่าน้ำจะท่วมหรือไม่ กำลังรอคอยอยู่ กลุ่มนี้เป็นความตระหนกมากกว่า เกิดจากการติดตามข่าวสารในแต่ละวันมากจนเกินไป ได้รับข้อมูลข่าวสารไม่ชัดเจนว่าน้ำจะท่วมหรือไม่ท่วม บวกกับมีข่าวลือต่าง ๆ นานาทำให้เกิดความกลัวและตื่นตระหนก ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลสูง ผลที่ตามมาคือ กลุ่มนี้จะป้องกันตัวเอง เช่น เอารถไปเก็บในที่สูง ซื้ออาหารกักตุน

วิธีแก้ไข คือ ลดการบริโภคข่าวสารในแต่ละวันลง เช่น รับฟังข่าวสารวันละ 30-40 นาที จากนั้นควรพักโดยออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ขณะเดียวกันควรติดตามสถานการณ์จากทางราชการว่าน้ำจะมาเมื่อไหร่อย่างไร หากไม่มั่นใจก็สามารถสอบถามข้อมูลจากทางราชการ ซึ่งมีสายด่วนให้บริการอยู่แล้ว

 

สิ่งสำคัญคือ ทางฝ่ายราชการข้อมูลต้องชัดเจนว่าพื้นที่ไหนเป็นสีเขียว น้ำไม่ท่วม ประชาชนจะได้ไม่เป็นกังวลออกไปทำมาหากินได้อย่างสบายใจ พื้นที่ไหนเป็นสีแดงน้ำท่วมก็จะได้หาทางป้องกัน หรือพื้นที่ไหนเป็นสีเหลืองคือไม่แน่ใจก็จะได้เตรียมตัว

อาการเครียดของทั้ง 3 กลุ่มที่อาจเกิดขึ้น คือ ปวดต้นคอ ปวดท้ายทอย ปวดหัว ใจสั่น นอนไม่หลับ รู้สึกหวาดหวั่น กลัวโดยไม่มีเหตุผล ไม่ค่อยมีสมาธิ ความจำไม่ค่อยดี เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน ถ้ามีอาการเครียดมาก คือ ปวดหัวมาก นอนไม่หลับบ่อย ตื่นเช้าขึ้นมาไม่สดชื่น ในกรณีที่หาเพื่อนคุย ออกกำลังกายแล้วไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจให้ยาคลายเครียดรับประทาน ทั้งนี้ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ควรรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ดีกว่า ต้องบอกว่า ความเครียดในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับต้นทุนชีวิตของแต่ละคน ว่าจะสามารถปรับตัวได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นก็เป็นปัจจัยหนึ่งว่าจะทำให้เกิดความเครียดน้อยหรือเครียดมาก

นพ.ทวี กล่าวต่อว่า จากปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิตได้ส่งทีมจิตแพทย์เข้าไปดูแลร่วมกับทีมแพทย์ที่ดูแลสุขภาพกาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีการพูดคุยคัดกรองภาวะเครียด ซึมเศร้า รวมถึงภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตาย หากพบว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงก็พูดคุยให้กำลังใจ แนะวิธีคลายเครียด ในรายที่เครียดมากนอนไม่หลับ อาจต้องให้ยาคลายเครียด

 

จากที่ได้ลงพื้นที่ไปกับนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข ซึ่งมีตลกลงไปด้วย พบว่า หลายพื้นที่ชาวบ้านเห็นตลกยังยิ้มและหัวเราะได้อยู่แสดงว่าตลกที่ลงไปช่วยได้มาก และเป็นสิ่งที่เขาต้องการ ไม่ใช่เฉพาะคณะตลกเท่านั้น ดารานักแสดงก็เช่นกัน ถ้าลงไปแล้วทำกิจกรรม เช่น ร้องเพลง หรือชวนเด็ก ๆ วาดรูปสิ่งเหล่านี้จะช่วยได้มาก

ท้ายนี้ขอแนะนำวิธีง่าย ๆ ในการออกกำลังกาย หรือคลายเครียด สำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมซึ่งมีพื้นที่จำกัด คือ อาจบริหารร่างกาย ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ วิดพื้นอยู่ในบ้าน ถ้าอยู่ตามศูนย์อพยพ ทางศูนย์อาจจัดกิจกรรมเต้นแอโรบิกก็ได้ อย่างที่บอกคือ ผู้ประสบภัยน้ำท่วม แทนที่จะรอรับความช่วยเหลือก็เปลี่ยนไปให้ความช่วยเหลือผู้อื่น.

นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สุดยอดแอพไทย คิดและทำเสร็จ ภายใน 10 ชั่วโมง - Thai Flood Reporter ! [สกู๊ปพิเศษ]

 

 

119092197.jpg

 

 

ช่วงนี้ประเด็นร้อนที่มาแรงที่สุด ในบ้านเราคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ "น้ำท่วม" หรือ "อุทกภัย" หนึ่งในภัยธรรมชาติยอดฮิตของประเทศไทยเราทุกปี แต่ปี 54 นี้ดันกลายเป็นปีที่หนักที่สุด อ่วมที่สุด ในรอบหลายสิบปี ชนิดที่เรียกว่า ข่าวทวิตเตอร์ของนายกฯ โดนแฮค หรือ ประเด็นร้อนของโลกอย่างเรื่อง สตีฟ จ๊อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทชื่อดังของโลกอย่าง แอปเปิล เสียชีวิต จางหายจากบ้านเราภายในไม่กี่วัน

 

แนวคิด แอพพลิเคชั่น เกิดจากประสบการณ์ตรง ของผู้พัฒนา

 

ประเด็นร้อนเรื่องน้ำท่วม กลับมาเป็นประเด็นที่พูดคุยกันมาก ในแวดวงสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งกว่า 90% เปลี่ยนมาเป็นการพูดคุย การแบ่งปัน ทั้งข้อมูล อัพโหลดรูปภาพ การทวีต เรื่องของ น้ำท่วม เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าหากเราได้ใช้มันก็จะพบว่า มีทั้งข่าวลือ ข่าวจริง สลับสับเปลี่ยนกันออกมามากมาย บางทีข่าวที่เราได้รับ เป็นข่าวจริงก็จริงอยู่ แต่ด้วยความคลาดเคลื่อนของเวลา อาจทำให้ ข้อมูลที่เราได้รับนั้นอาจ "บิดเบือนโดยไม่ได้ตั้งใจ" ก็เป็นได้

 

คำว่า "บิดเบือนโดยไม่ได้ตั้งใจ" คำนี้ถูกกล่าวโดย อาจารย์รวิทัต ภู่หลำ (@rawitat) อาจารย์ประจำภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร ที่ปัจจุบันได้เปิด บริษัท โค้ด แอพพ์ จำกัด (Code App Co., Ltd.) (http://www.code-app.com) มาตั้งแต่เดือนมีนาคม 54 ที่ผ่านมา เป็นบริษัทที่รับพัฒนา แอพพลิเคชั่น (แอพ) บนมือถือเฉพาะค่ายสมาร์ทโฟนอย่าง ไอโฟน (iPhone) ที่ใช้กับระบบปฏิบัติการ iOS เท่านั้น

 

โดยอาจารย์ได้ให้ความหมายของคำๆ นี้ว่า ข้อมูลที่ขึ้น กับสถานที่และเวลามากๆ เปลี่ยนนิดเดียว ก็จะถูกบิดเบือนไปเอง ด้วยธรรมชาติของมัน จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่เกิดประโยชน์ทั้งผู้ส่งและผู้รับ เช่นเราได้รับข้อมูลจาก ทวีตเตอร์ (Twitter) ว่าน้ำท่วมบนถนนรามคำแหง แต่หารู้ไม่ว่าถนนรามคำแหงมีความยาวทั้งสิ้นเกือบ 20 กิโลเมตร จึงทำให้ไม่สามารถรู้ถึงพิกัด ที่แน่นอน และชัดเจน

 

 

 

นอกจากนี้การได้รับข้อความว่า "มีน้ำท่วมขัง รถติดมาก ที่แยกเกษตร" โดยพอเราไปถึงสถานที่นั้นจริงๆ ปรากฏว่า น้ำไม่ท่วมขัง รถไม่ติด เพราะสืบเนื่องมาจาก ระยะเวลาที่เราได้รับข้อความ กับระยะเวลาที่เราไปพบเห็นจริงๆ นั้น "ต่างกัน" ซึ่งเหตุนี้เกิดขึ้นจริงกับอาจารย์เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา

 

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุให้ อาจารย์เกิดแรงบันดาลใจ ที่จะพัฒนา แอพ ตัวนึงขึ้นมาใช้เอง เพื่อทวีตบอก เหล่าบรรดาผู้ติดตาม (Follower) ของเขาที่มีอยู่มากกว่า 2 พันคน โดยต้องการที่จะเพิ่มข้อมูล "วัน-เวลา" เข้าไปในข้อความของทวีตเตอร์ด้วย เนื่องการใช้ทวีตเตอร์ หากข้อความนั้นมีการ Retweet หรือส่งต่ออกไป เป็นจำนวนมากๆ หลายๆ คน วัน-เวลา ที่ได้รับก็จะคลาดเคลื่อนออกไปอยู่ดี อีกสาเหตุหนึ่งคือ บางคนมีความต้องการ อยากรายงานมากๆ แต่ไม่รู้จักสถานที่ตรงนั้นว่ามันคือที่ไหนกันแน่ เพราะไม่คุ้นเคยเส้นทาง บวกกับ ขี้เกียจพิมพ์ข้อความยาวๆ ขณะขับรถ ก็เป็นสาเหตุ หรือจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของแอพตัวนี้

 

Thai Flood Reporter 1.0 จุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการอยากเป็น "ผู้ให้"

 

 

ด้วยความที่เป็น ผู้พัฒนาแอพบนไอโฟน อยู่แล้ว หลังจากที่เห็นปัญหาดังกล่าวจึงคิดพัฒนาแอพ บนไอโพนขึ้นมาใช้เองภายในเวลา 2 ชั่วโมง แต่อาจารย์คิดว่าไหนๆ เราก็ทำใช้เอง ก็ควรที่จะทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมบ้าง ก็พัฒนาต่อยอดออกไปอีกในวันเดียวกันโดยใช้เวลา 6-7 ชั่วโมง โดยนำขึ้น App Store เพื่อทำการรับรอง (Approve) ภายใต้ชื่อ "Thai Flood Reporter" เวอร์ชั่น 1.0

 

หลังจากนั้น 1 วัน แอพพลิเคชั่นดังกล่าวถูกรับรองให้เผยแพร่ให้แจกจ่ายดาวน์โหลดอย่างรวดเร็ว โดยความสามารถ ของแอพตัวนี้คือ คุณสามารถทำตัวเป็น "ผู้ให้" หรือนักข่าวภาคสนามรายงานน้ำท่วมได้เลย เพียงแค่กดๆ แล้วก็กด โดยไม่ต้องพิมพ์ข้อความให้เสียเวลา ซึ่งเหมาะมากในเวลาขับรถ หรือเวลาเร่งด่วนต่างๆ ที่ผู้ต้องการรายงานไม่สะดวกกดโทรศัพท์พิมพ์ข้อความ

 

 

 

swrv_thaiflood_reporter_2.jpg

 

 

 

 

 

 

โดยแอพตัวนี้จะมีข้อความสำเร็จรูปอาทิเช่น "ขณะนี้น้ำท่วม / น้ำท่วม แต่เริ่มลดแล้ว / น้ำท่วมถึงเข่า / น้ำท่วมถนนใหญ่ / น้ำท่วมถึงอก และอื่นๆ อีกมากมาย" เอาไว้ให้ผู้รายงานเลือก แล้วสามารถแจ้งพิกัดตรวจสอบผ่าน GPS ได้เลย โดยไม่ต้องพิมพ์ โดยตัวแอพจะเรียบเรียงคำพูดออกมาให้เสร็จสรรพ พร้อมส่งข้อความรายงานออกไป ผ่าน Twitter ส่วนตัวของคุณ หรือ SMS รายงานน้ำท่วมของทางภาครัฐได้ทันที

 

[16 ต.ค. 16:55 น.] รามคำแหง 24 วังทองหลาง วังทองหลาง กรุงเทพ (พิกัด : xx.xxx, yyy.yyy) "ขณะนี้น้ำท่วม" #ThaiFlood

 

หลังหลังจากที่แอพดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปพบว่า ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง (1 วัน) มียอดดาวน์โหลดไปใช้งาน มากกว่า 1 หมื่นครั้ง จนมาถึงวันนี้ ขณะที่เขียนบทความอยู่ แอพตัวนี้มียอดดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 4 หมื่นครั้ง !! (ภายใน 1 สัปดาห์) มีการอัพเดทเวอร์ชั่นทั้งหมด 4 เวอร์ชั่นด้วยกัน ซึ่งการอัพเดทดังกล่าวเกิดขึ้นจาก การนำเอาเสียงตอบรับ จากผู้ใช้งานจริง มาปรับปรุงแก้ไข และ พัฒนาต่อ

 

 

THAI FLOOD REPORTER : VIEW แอพเล็กๆ ช่วยคนเป็นล้าน

 

 

นอกจากนี้แล้วอาจารย์ยังได้พัฒนาแอพอีกตัวชื่อว่า "Thai Flood Maps and Updates" อันนี้จะสวมบทบาทเป็น "ผู้รับ" ข้อมูล ซึ่งจะเป็นตัวดึงข้อมูลน้ำท่วม ที่ผู้คนไปพบเจอมา และ รายงานออกมาจากแอพ "Thai Flood Reporter" ที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยจะแสดงข้อมูลรายงานล่าสุด 75 อัพเดท บนหน้าจอไอโฟนของผู้ใช้งาน

 

 

swrv_thaiflood_reporter_3.jpg

 

 

เรื่องของอนาคต

 

จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ทั้งสอง ทำให้อาจารย์กล่าวว่า แผนพัฒนาต่อยอดของแอพตัวนี้คือ จะนำมารวมกันเป็นแอพเดียว (จะได้ไม่ต้องโหลดแยกกัน 2 ตัว) และพอน้ำท่วมหมดไปแล้ว จะนำคอนเซป หรือแนวคิด มาพัฒนาแอพ รายงานภัยหนาว ที่จะเกิดขึ้นในบ้านเราอีกเร็ววันนี้ นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดไปได้ถึง การรายงานจราจร อาชญากรรม ฯลฯ แต่ตอนนี้ขอมุ่งเน้นไปเป็นเรื่องๆ ก่อน เนื่องจากข้อมูลจะสามารถจำกัดวงแคบ และควบคมุได้ง่ายกว่า

 

ถือว่าเป็นความโชคดีของประเทศไทย ที่มีคนไทยใจบุญ พัฒนาซอฟต์แวร์ดีๆ ออกมาเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง ในท่ามกลางสภาวะวิกฤติขั้นรุนแรงแบบนี้ ในของส่วนโมเดลการหารายจาก บริษัท โค้ด แอพพ์ นั้นอาจารย์บอกว่า แอพส่วนใหญ่ที่พัฒนาออกมาจากบริษัท เป็น Paid App ในราคาไม่เกิน $0.99 (ประมาณ 30 บาท) ส่วนที่ฟรี อาจมีโฆษณาในระบบ iADS ฝังอยู่ ซึ่งในอนาคตต่อให้แอพ ThaiFlood ตัวนี้ต้องเก็บเงินจริงๆ เป็นผม ผมก็ซื้อ แค่ 30 บาท ได้ข้อมูล ได้รายงาน สุดท้าย ได้บุญ อีกต่างหาก ครับ ....

 

 

http://www.thaiware.com/news/news_detail?id=993

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมูล” ทะลักท่วม “เมืองพิมาย” โคราชแล้ว - เขื่อนใหญ่วิกฤตล้นสูงไม่หยุด

 

 

 

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132279

 

 

 

 

วันนี้ (17 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.นครราชสีมา ว่า หลังเกิดฝนตกต่อเนื่องอีก 3 วัน ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำในลำน้ำมูล ช่วงผ่าน อ.พิมาย ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจากอำเภอต่างๆ ของ จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องและเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรกว่า 200 ไร่ ทั้งนาข้าว และไร่อ้อยของประชาชนใน ต.ท่าหลวง ต.สัมฤทธิ์ และ ต.ธารระหลอด อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ได้รับความเสียหาย และน้ำยังเอ่อเข้าท่วม บ้านเรือนประชาชนในที่ลุ่มที่อยู่ติดลำน้ำมูลกว่า 50 หลังคาเรือน และระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

 

ล่าสุด น้ำในลำน้ำจักราช ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาลำมูล ที่ไหลผ่านกลางตัวเมืองพิมายได้เอ่อเข้าท่วมสถานที่ราชการต่างๆ ในพื้นที่อำเภอพิมาย เช่น สำนักงานที่ดิน สาขาพิมาย, หอสมุดแห่งชาติ อ.พิมาย, สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสาขาพิมาย โดยเฉพาะสถานีตำรวจภูธร (สภ.) พิมาย อ.พิมาย ระดับน้ำสูงประมาณ 20 เซนติเมตร และยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องช่วยกันเร่งนำกระสอบทรายมาปิดกั้นเพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้าด้านในสถานีตำรวจ

 

นายวิจิตร สายเชื้อ นายอำเภอพิมาย กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมและสั่งการให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุกตำบล เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และรายงานระดับน้ำทุกพื้นที่ของอำเภอพิมายให้ทางอำเภอทราบทุกระยะ เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

 

ส่วนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง ของ จ.นครราชสีมา รวม 22โครงการ ปริมาณน้ำเกินจุดวิกฤตทั้งหมดแล้วและล้นทะลักอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานชลประทานจังหวัดนครราชสีมา รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ จ.นครราชสีมา 4 โครงการ วันนี้ (17 ต.ค.) มีปริมาณน้ำรวม 1,066.64 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 107.10% ของความจุระดับเก็บกัก รวม 995.52 ล้าน ลบ.ม.

 

โดยเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว ที่ไหลผ่านย่านเศรษฐกิจ ชุมชน หลายอำเภอรวมทั้งตัวเมืองนครราชสีมา มีปริมาณน้ำรวม 336.05 ล้าน ลบ.ม.(ไม่รวมน้ำบนอ่างเขายายเที่ยง 8.96 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น 106.86% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 314 ล้าน ลบ.ม. อยู่ในเกณฑ์แจ้งเตือนภัยน้ำท่วมระดับ 3 (เตรียมรับน้ำท่วม) และเหลือความจุอีกเพียง 17 ล้าน ลบ.ม.จะล้นบานประตูระบายน้ำล้นหรือ สปิลล์เวย์ ที่ทางเขื่อนได้เสริมแผ่นเหล็กเพิ่มความจุของเขื่อนเป็น 353 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งเป็นจุดวิกฤตที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมโคราชรุนแรงหรืออยู่ในเกณฑ์การแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมขั้นสูงสุดระดับ 4 โดยล่าสุด มีน้ำไหลลงอ่าง 3.950 ล้าน ลบ.ม.และทางเขื่อน ระบายน้ำลงใต้เขื่อนวันละ 1.3-1.4 ล้าน ลบ.ม./วัน

 

ขณะที่เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย มีปริมาณน้ำรวม 116.31 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 106.09% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 109 ล้าน ลบ.ม.ระดับน้ำสูงกว่าปากช่องสปิลล์เวย์ 90 ซม.ทำให้น้ำล้นลงพื้นที่ใต้เขื่อนอย่างต่อเนื่อง และ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 1.306 ล้าน ลบ.ม.ระบายน้ำ 1.206 ล้าน ลบ.ม.

 

เขื่อนมูลบน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำรวม 161.57 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 114.59% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 141 ล้าน ลบ.ม.และมีน้ำไหลลงอ่าง 4.680 ล้าน ลบ.ม.ระบายน้ำได้เพียง 6.8 หมื่น ลบ.ม./วัน

 

และเขื่อนลำแชะ ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำรวม 288.82 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 105.03% ของความจุที่ระดับเก็บกัก 275 ล้าน ลบ.ม.มีน้ำไหลลงอ่าง 3.520 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำได้เพียง 7.9 หมื่น ลบ.ม./วัน ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำตามลำน้ำธรรมชาติพื้นที่ใต้เขื่อนล้วนเต็มตลิ่งอยู่แล้วจากการที่ฝนยังตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การระบายน้ำออกจากเขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 4 โครงการ ขณะนี้ทำได้ในปริมาณจำกัด

 

สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 18 โครงการ ของ จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำรวม 166.87 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 98.77 ล้าน ลบ.ม.จากความจุที่ระดับเก็บกักรวม 168.94 ล้าน ลบ.ม.

 

ม.ล.อนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำโดยรวมยังเป็นปกติ ปริมาณน้ำฝนไหลลงอ่างเก็บน้ำลดลง มีฝนตกในพื้นที่เหนือเขื่อนน้อยมาก โดยเฉพาะเขื่อนลำตะคอง มีฝนตกเพียงแค่ 4.5 มิลลิเมตร เท่านั้น ทางอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 17 ล้าน ลบ.ม.หากดูจากสภาพอากาศวันนี้ค่อนข้างสบายใจได้ ถึงแม้ท้องฟ้าจะมืดครึ้ม แต่มีฝนโปรยปรายลงมาเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากมวลอากาศเย็นแผ่เข้ามาปกคลุมในพื้นที่ส่งผลให้ฝนลดลงจึงไม่น่าเป็นห่วงเรื่องปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ มากนัก

 

ส่วนน้ำที่ท่วมในพื้นที่ อ.พิมาย นั้น เกิดจากน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่ใต้เขื่อนและน้ำจากเขื่อนต่างๆ ระบายลงสู่ลำน้ำมูล จึงทำให้น้ำเอ่อเข้าท่วมสถานที่ราชการและบ้านเรือนประชาชน คาดว่า ปริมาณน้ำจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20 ซม.ซึ่งไม่สูงเท่ากับปีที่ผ่านมาที่เกิดน้ำท่วม อ.พิมาย รุนแรงระดับน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร และคาดว่า จะใช้เวลาไม่นานระดับน้ำมูลจะลดลง

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศปภ.สั่งประชาชนนวนครอพยพออกทันที เปิด 4 ศูนย์รองรับ

 

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000132225

 

นายวิม รุ่งวัฒนะจินดา โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) กล่าวว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการ ศปภ.ได้ออกประกาศขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี และพื้นที่โดยรอบอพยพออกจากพื้นที่เป็นการด่วน เนื่องจากขณะนี้น้ำได้เริ่มไหลเข้าท่วมและเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอให้โรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนปฏิบัติตามประกาศเตือน 5 ข้อดังนี้

 

1.ขอให้โรงงานอุตสาหกรรมหยุดเดินเครื่องจักรและให้อพยพพนักงานและประชาชนในพื้นที่เป็นการด่วน

2.ให้ประชาชนอพยพออกจากพื้นที่ไปยังพื้นที่ปลอดภัย และศูนย์พักพิงที่ ศปภ.จัดไว้ให้

3.ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบ เร่งประชาสัมพันธ์และเริ่มอพยพประชาชนเป็นการด่วน

4.การอพยพในขั้นต้นให้พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนเริ่มช่วยเหลือตัวเองก่อนได้ทันที

5.ขอให้โรงงานอุตสาหกรรมปฏิบัติตามประกาศนี้อย่างเคร่งครัดเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ

 

นายวิม กล่าวต่อว่า ขณะนี้น้ำที่ไหลผ่านเข้าทางประตูเชียงรากน้อย สู่คลองเปรมประชากรได้ไหลลงมายังนิคมอุตสาหกรรมนวนครและเพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องมีการสั่งอพยพเพื่อความปลอดภัย

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า พื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะที่ศูนย์อพยพ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต และที่ ม.วไลยลงกรณ์ จะได้รับผลกระทบหรือไม่ นายวิม กล่าวว่า ทาง ศปภ.จะมีการประกาศเป็นระยะๆ โดยศูนย์พักพิงเป็นพื้นที่โรงยิมเนเซียม ซึ่งมีความสูงกว่าพื้นถนนมากกว่า 1 เมตร ขณะที่ระดับน้ำในขณะนี้อยู่ที่ 0.50 เมตร อีกทั้งส่วนราชการยังได้พยายามควบคุมสถานการณ์น้ำให้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ด้านตะวันออกตามที่วางแผนไว้ อย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณที่มากกว่า 100 ล้าน ลบ.ม.บวกกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาทำให้สถานการณ์น้ำยังไม่มีความแน่นอน ซึ่ง ศปภ.จะประกาศแจ้งเตือนเป็นระยะๆ ต่อไป ในการนี้ พล.ต.อ.ประชา ในฐานะ ผอ.ศปภ. ได้ลงพื้นที่บัญชาการอยู่ที่นิคมนวนคร พร้อมด้วยคณะทำงานปฏิบัติการ ซึ่งเตรียมความพร้อมสั่งการในพื้นที่ จึงเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที โดยยึดหลักเดิมที่ประชาชนจะมีเวลาอพยพไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง

 

เมื่อถามต่อว่า จะมีการประกาศเตือนให้ประชาชนในเขตรังสิต หรือในพื้นที่ กทม.อพยพเพิ่มเติมหรือไม่ นายวิม กล่าวว่า หากประชาชนจะเตรียมพร้อมในการอพยพตั้งแต่ตอนนี้ก็ไม่เสียหาย แต่ทาง ศปภ.ยังไม่ประกาศเตือนในตอนนี้

 

ด้าน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ศปภ.กล่าวว่า ศปภ.ได้จัดสถานที่พักพิงชั่วคราวให้กับผู้อพยพจากนิคมอุตสาหกรรมนวนคร 4 แห่ง ได้แก่ 1.ทียูโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งสามารถรองรับประชาชนได้ 3,000 คน 2.วัดพระธรรมกายรองรับได้ 5,000 คน 3.ที่ว่าการ อ.ธัญบุรี รับได้ 20,000 คน และ 4.ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80พรรษา แจ้งวัฒนะ รับได้ 1,000 คน

 

“สำหรับประชาชนที่ไม่มีรถส่วนตัวขอให้ไปรอขึ้นรถที่บริเวณด้านหน้านิคมฯริมถนนพหลโยธิน โดย ศปภ.ได้จัดรถโดยสารของขสมก.จำนวน 200 คัน รวมทั้งรถของเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจ เพื่อรอรับประชาชนไปส่งยังศูนย์อพยพ” พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าว

 

การจราจรหน้านวนครติดขัดหนัก

 

ขณะที่ สถานการณ์บริเวณนิคมอุตสาหกรรมนวนคร เมื่อเวลา 12.45 น.เกิดความโกลาหลภายหลังที่น้ำทะลักเข้าเขตนิคมฯ โดยประชาชนเร่งขนย้ายสิ่งของออกจากพื้นที่ ส่งผลให้การจราจรบริเวณด้านหน้านิคมฯ ติดขัดถึงขั้นวิกฤต ขณะที่ระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะด้านหลังบ่อบำบัดน้ำเสียทิศเหนือที่น้ำผ่านแนวคันดินเข้ามาได้ บางจุดท่วมสูงระดับเอว เบื้องต้นเจ้าหน้าที่เร่งอุดแนวคันดินที่รั่วหลายจุด ยาวจุดละประมาณ 5 เมตร ท่ามกลางฝนตกที่ยังตกปรอยๆ อย่างต่อเนื่อง

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...