ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
aunson

บรรยากาศทองคำ ณ ช่วงเวลานี้ BY Rจานอั๋น

โพสต์แนะนำ

image-615C_50137E68.gifดีคะจารย์อั๋น เพื่อนๆ

 

Butterfly Effect ในโลกอาหรับ

โดย GT Gold Bullion เมื่อ 25 กรกฎาคม 2012 เวลา 17:07 น. ·

เศรษฐศาสตร์ตู้แดง (ลงทันหุ้น ฉบับ 26 ก.ค. 55)

 

สวัสดี ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ ฉบับนี้ขอนอกเรื่องทองคำสักหน่อยนะครับเพราะนอกจากช่วงนี้ทองคำจะเคลื่อนไหว ในกรอบไม่สูงมากแล้วปัจจัยที่กระทบยังเป็นเรื่องเดิม ๆ ที่นักลงทุนหลายท่านทราบเป็นอย่างดีอยู่แล้ว “เศรษฐศาสตร์ตู้แดง” จึง ขอกลับมาแตะเรื่องน้ำมัน แต่ไม่ใช่เรื่องน้ำมันตรง ๆ แต่เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา ครับผมกำลังกล่าวถึงปัญหาในโลกอาหรับที่เป็นผลจากการต่อต้านระบบการเมืองแบบ เผด็จการ ซึ่งแท้จริงแล้วเรื่องราวเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ แต่ขยายวงกว้าง กล่าวถึงจุดนี้แล้วท่านผู้อ่านคงเริ่มเข้าใจถึงที่มาของหัวเรื่องที่ผมตั้ง ไว้กับคำว่า Butterfly effect

 

ท่านเคยได้ยินคำว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือคำว่า “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” (Butterfly effect) เหตุการณ์นี้สามารถอธิบายความของคำยอดฮิตนี้ได้เป็นอย่างดี แนวคิด Butterfly effect แท้จริงแล้วมีความหมายลึกซึ้งมีรากมาจาก Chaos theory ที่อธิบายลักษณะพฤติกรรมของระบบพลวัตที่เคลื่อนไหวแบบไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear system) ซึ่งสำหรับผู้ที่สนใจสามารถค้นคว้าต่อได้นะครับ สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับเป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจ Subprime ใน ปี 2008 ใช่ครับนี่คือจุดเริ่มต้นที่ผีเสื้อกระพือปีก หลังจากเกิดวิกฤติทางการเงินขึ้นกับสหรัฐฯ ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นของโลกผลที่ตามมาคือการเกิดผลกระทบ แบบต่อเนื่องอย่างปัญหาหนี้ยุโรปเองก็เป็นผลสืบเนื่องต่อมาจากวิกฤติการเงิน เดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศโลกอาหรับคือเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มฝืดเคืองแบบ ช้า ๆ จำนวนผู้ว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับรูปแบบการปกครองที่เป็นเผด็จการทำให้สิทธิในการแข่งขันในตลาดแรง งานทำได้ไม่เต็มที่ ทำให้คนระดับปัญญาชนไม่สามารถหางานทำ แม้กระทั้งผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงอย่างปริญญาเอกและปริญญาโทก็ตกงานกัน จำนวนมาก ในมุมของผู้นำเผด็จการอาจจะคิดว่านี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตเพราะสามารถควบคุม ส่วนสำคัญอย่างทหารและสื่อในประเทศได้ แต่ปัจจุบันการเข้าถึงสื่อสามารถทำได้ง่ายขึ้นผ่านระบบ online ทำให้มีการต่อต้านแบบเงียบ ๆ ผ่านระบบ online และ เริ่มก่อตัวขึ้นเป็นกลุ่มก้อน ตามมาด้วยการลุกฮือขึ้นตามท้องถนนในที่สุด เมื่อมีการใช้กำลังทหารก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้มีการต่อต้านและโค่นล้มอำนาจ ในที่สุด ตูนีเซียประสบความสำเร็จในการโค่นล้มอำนาจเผด็จการและกลายเป็นต้นแบบของ ประชาชนอีกหลายประเทศที่เพียงแต่คิดแต่ไม่กล้าทำ เริ่มมีการต่อต้านเป็นวงกว้างอียิปต์เป็นประเทศถัดมา ซึ่งทำให้ผู้นำลงจากอำนาจในที่สุด ตามมาด้วยลิเบียที่กว่าจะปิดฉากผู้นำของพลเอกกัดดาฟี่ลงได้ก็เสียไปหลาย ชีวิต บาเรน เยเมนและซาอุดิอาระเบียสามารถหยุดกระแสในประเทศได้ ส่วนซีเรียก็เกิดการต่อต้านจากประชาชนอย่างหนักจนเกิดเป็นสงครามกลางเมือง นี่เป็นทั้งเหตุและผลของจุดเริ่มเพียงจุดเล็ก ๆ “การเกิดสภาวะที่แตกต่างเพียงเล็กน้อย จะทำให้สภาวะที่เกิดขึ้นในอนาคตเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด”

 

ในตลาดน้ำมันหรือตลาดทองคำก็เช่นกันการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่เราอาจจะเห็นว่าไม่สำคัญก็อาจจะเป็นจุดเริ่มที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงใหญ่ ๆ ขึ้นกับราคาได้ในอนาคต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมันมีสัญญาณเสมอเพียงแต่เราจะให้ความสนใจหรือไม่

 

วันนี้ลากันไปก่อนนักลงทุนที่สนใจลงทุนในทองคำออนไลน์สามารถติดต่อได้ที่ GT Gold Bullion 02-675-8888, www.GTGoldOnline.com หรือ การลงทุนในตราสารอนุพันธ์อย่าง SET50 Index Futures, Gold – Silver futures รวมถึงอนุพันธ์อื่น ติดต่อได้ที่ GT Wealth Management 02-673-9911 ต่อ 250

 

โดย Mr.GT

 

:Announce :Announce

 

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

วันที่ : 28 กรกฎาคม 2555

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (27 ก.ค.) หลังจากที่เคลื่อนไหวเหนือระดับ 1,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ตลอดช่วงการซื้อขาย ภายหลังเยอรมนีและฝรั่งเศสให้คำมั่นว่าจะปกป้องยูโร ซึ่งช่วยหนุนความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ราคาทองขยับลงจากระดับสูงในช่วงแรก หลังจากข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐอ่อนแอลง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้เฟดตัดสินใจใช้มาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมในการประชุมที่กำลังจะมาถึงในสัปดาห์หน้า

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปรับตัวขึ้น 2.9 ดอลลาร์ หรือ 0.18% ปิดที่ 1,618 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,613.50-1,628.60 ดอลลาร์ สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์ ราคาทองพุ่งขึ้น 2.2%

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ขยับขึ้น 5.2 เซนต์ หรือ 0.19% ปิดที่ 27.498 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,408.20 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 2.60 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 571.85 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 1.95 ดอลลาร์

 

เมื่อวันศุกร์ นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี และประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส ได้ออกแถลงการณ์ภายหลังการหารือทางโทรศัพท์ โดยให้คำมั่นว่า ทั้งสองประเทศจะทำทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อปกป้องยูโรโซน ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวได้ช่วยหนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจและภาคธนาคารของยุโรป

 

สถานการณ์ที่มีทิศทางเป็นบวกมากขึ้นของยูโรโซนยังได้ส่งผลให้สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นผลดีต่อราคาทอง เพราะดอลลาร์ที่อ่อนค่าทำให้ทองคำมีราคาถูกลงสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ

 

ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ของสหรัฐขยายตัว 1.5% ต่อปี ลดลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัว 2.0% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการปรับทบทวนขึ้นเล็กน้อยจากรายงานก่อนหน้านี้ที่ 1.9%

 

ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไตรมาส 2 ถือว่าอ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2554

 

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนก.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในปีนี้ที่ 72.3 จุด จากระดับ 73.2 จุดในเดือนมิ.ย. เนื่องจากตลาดแรงงานและภาวะเศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัวเพียงเล็กน้อย

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจทั้งสองรายการดังกล่าวไม่ได้ผิดความคาดหมายของตลาดมากนัก ส่งผลให้นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยังไม่ประกาศใช้มาตรการใหม่ๆในการประชุมวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.นี้ โดยเฟดอาจยังคงต้องรอถึงการประชุมในเดือนก.ย.เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงานมากกว่านี้ ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

เอเอฟพี - ราคาน้ำมัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯขยับขึ้นพร้อมหน้าวานนี้(27) หลังผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนี ออกถ้อยแถลงร่วมเรื่องการตัดสินใจใช้ทุกมาตรการเพื่อปกป้องยูโรโซน โดยมุ่งสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันภายในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรร่วมกัน

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกันยายน เพิ่มขึ้น 74 เซนต์ ปิดที่ 90.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.16 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ในถ้อยแถลงร่วม นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ของฝรั่งเศส ให้คำมั่นว่าจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อปกป้องยูโรโซน

 

คำแถลงร่วมที่ออกโดยรัฐบาลเยอรมนีระบุด้วยว่าประเทศสมาชิกยูโรโซนและสถาบันการเงินในยุโรปต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ และดำเนินการภายใต้ขอบเขตอำนาจของแต่ละประเทศ

 

ถ้อยแถลงที่แสดงถึงความร่วมมือในการต่อสู้กับวิกฤตหนี้ยูโรโซน สร้างความคึกคักส่งมาถึงตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยวานนี้(27) ปิดบวกอย่างแรง ขณะที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของอเมริกา ได้ก่อความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมระหว่างการประชุมนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์หน้า

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 190.45 จุด (1.48 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 13,078.38 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 64.84 จุด (2.24 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,958.09 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 26.05 จุด (1.92 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,386.07 จุด

 

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯปรับลดตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ในช่วงไตรมาสลงจากร้อยละ 2.0 เหลือร้อยละ 1.5 ข่าวนี้ผลักให้วอลล์สตรีท พุ่งขึ้นอย่างแรง ด้วยนักลงทุนคาดหมายว่าเฟด จะลงมือกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบเพื่อกระตุ้นการเติบโต

 

ปัจจัยแห่งความหวังจากทั้งยุโรปและสหรัฐฯนี้เอง ที่วานนี้(27) ช่วยให้ราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ของสหรัฐฯ บวกถึง 9.60 ดอลลาร์หรือราวร้อยละ 0.59 อยู่ที่ 1,629.40 ต่อออนซ์

ถูกแก้ไข โดย กระต่ายทอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

post-4992-0-78222000-1343611005.gifดีคะจารย์อั๋น เพื่อนๆ :gvme

 

 

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดบวก $2.9 หลังคลายวิตกยุโรปหนุนยูโรแข็งค่า

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2555 06:58:29 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (27 ก.ค.) หลังจากที่เคลื่อนไหวเหนือระดับ 1,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ตลอดช่วงการซื้อขาย ภายหลังเยอรมนีและฝรั่งเศสให้คำมั่นว่าจะปกป้องยูโร ซึ่งช่วยหนุนความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ราคาทองขยับลงจากระดับสูงในช่วงแรก หลังจากข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐอ่อนแอลง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้เฟดตัดสินใจใช้มาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมในการประชุมที่กำลังจะมาถึงในสัปดาห์หน้าemnb_1_370236.gif

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปรับตัวขึ้น 2.9 ดอลลาร์ หรือ 0.18% ปิดที่ 1,618 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,613.50-1,628.60 ดอลลาร์ สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์ ราคาทองพุ่งขึ้น 2.2%

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ขยับขึ้น 5.2 เซนต์ หรือ 0.19% ปิดที่ 27.498 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,408.20 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 2.60 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 571.85 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 1.95 ดอลลาร์

เมื่อวันศุกร์ นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี และประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส ได้ออกแถลงการณ์ภายหลังการหารือทางโทรศัพท์ โดยให้คำมั่นว่า ทั้งสองประเทศจะทำทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อปกป้องยูโรโซน ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวได้ช่วยหนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจและภาคธนาคารของยุโรป

สถานการณ์ที่มีทิศทางเป็นบวกมากขึ้นของยูโรโซนยังได้ส่งผลให้สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นผลดีต่อราคาทอง เพราะดอลลาร์ที่อ่อนค่าทำให้ทองคำมีราคาถูกลงสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ

ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ของสหรัฐขยายตัว 1.5% ต่อปี ลดลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัว 2.0% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการปรับทบทวนขึ้นเล็กน้อยจากรายงานก่อนหน้านี้ที่ 1.9%

ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไตรมาส 2 ถือว่าอ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2554

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนก.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในปีนี้ที่ 72.3 จุด จากระดับ 73.2 จุดในเดือนมิ.ย. เนื่องจากตลาดแรงงานและภาวะเศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัวเพียงเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจทั้งสองรายการดังกล่าวไม่ได้ผิดความคาดหมายของตลาดมากนัก ส่งผลให้นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยังไม่ประกาศใช้มาตรการใหม่ๆในการประชุมวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.นี้ โดยเฟดอาจยังคงต้องรอถึงการประชุมในเดือนก.ย.เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงานมากกว่านี้ ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ฟื้นเชื่อมั่นยูโรโซนหนุนยูโรแข็งค่าเทียบดอลล์

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2555 07:29:49 น.

สกุลเงินยูโรเดินหน้าขึ้น ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในอนาคตของยูโซนมากขึ้น หลังจากที่มีรายงานว่านายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กำลังพิจารณามาตรการต่างๆเพื่อกอบกู้ยูโร ขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ชะลอตัวลงได้เพิ่มความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะใช้นโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติมemnb_1_370236.gif

ค่าเงินยูโรปรับตัวขึ้น 0.33% แตะที่ 1.2322 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุฤหัสบดีที่ 1.2281 ดอลลาร์สหรัฐ และแข็งค่าขึ้น 0.70% เมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 96.730 จาก 96.060 เยน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐขยับขึ้น 0.38% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 78.500 เยน จากระดับ 78.200 เยน แต่ลดลง 0.33% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9744 ฟรังค์ จากระดับ 0.9776 ฟรังค์ และร่วงลง 0.65% เมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดาที่ 1.0034 จากระดับ 1.0100 ดอลลาร์แคนาดา

ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่า 0.34% แตะที่ 1.5738 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5685 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.88% แตะที่ 1.0486 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0395 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 1.00% แตะที่

0.8095 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8015 ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลง 0.094% แตะ 82.765

ทั้งนี้ เงินยูโรยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในวันศุกร์ หลังจากที่ทะยานขึ้นกว่า 2% เมื่อวันพฤหัสบดี เนื่องจากข่าวดีจากฟากฝั่งยุโรปช่วยฟื้นความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน โดยความเคลื่อนไหวล่าสุดนั้น มีรายงานว่า ประธานอีซีบีกำลังพิจารณามาตรการเพื่อปกป้องสกุลเงินยูโร หลังจากที่เขาเพิ่งให้คำมั่นว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อความอยู่รอดของยูโรโซนไปเมื่อวันก่อน ซึ่งมาตรการที่เป็นหนึ่งในทางเลือกนั้นรวมถึงการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและการจัดสรรเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาว (LTRO)

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี และประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส ได้ออกแถลงการณ์ร่วมซึ่งระบุว่า ทั้งสองประเทศจะทำทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อปกป้องยูโรโซน ซึ่งการให้คำมั่นดังกล่าวยิ่งช่วยหนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจและภาคธนาคารของยุโรป

ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ของสหรัฐขยายตัว 1.5% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่อ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนก.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในปีนี้ที่ 72.3 จุด จากระดับ 73.2 จุดในเดือนมิ.ย. ซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอได้เพิ่มความหวังว่าเฟดอาจตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th-

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดบวก 74 เซนต์ จากความหวังเฟดกระตุ้นศก.

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2555 06:12:58 น.

สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อคืนนี้ (27 ก.ค.) หลังจากการขยายตัวที่ช้าลงของจีดีพีสหรัฐในไตรมาสสองได้เพิ่มความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐจะดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาด NYMEX เพิ่มขึ้น 74 เซนต์ หรือ 0.83% ปิดที่ 90.13 ดอลลาร์/บาร์เรล อย่างไรก็ตาม สำหรับทั้งสัปดาห์ ราคาร่วงลง 1.31 ดอลลาร์ หรือ 1.43%

emnb_1_370236.gif

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 1.21 ดอลลาร์ หรือ 1.15% ปิดที่ 106.47 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ตลอดสัปดาห์ ลดลง 36 เซนต์

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ของสหรัฐขยายตัว 1.5% ต่อปี ลดลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัว 2.0% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการปรับทบทวนขึ้นเล็กน้อยจากรายงานก่อนหน้านี้ที่ 1.9%

ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไตรมาส 2 ถือว่าอ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2554

ยิ่งไปกว่านั้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนก.ค.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในปีนี้ที่ 72.3 จุด จากระดับ 73.2 จุดในเดือนมิ.ย. เนื่องจากตลาดแรงงานและภาวะเศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัวเพียงเล็กน้อย

เมื่อพิจารณาจากการฟื้นตัวที่ซบเซาดังกล่าว ทำให้มีนักลงทุนจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆที่เชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐต้องยื่นมือเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่อ่อนแอด้วยการประกาศมาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีข่าวว่ามีการหารืออย่างจริงจังมากขึ้นภายในเฟดว่าจะดำเนินการอย่างไรและเมื่อไร

นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงจับตาดูความเคลื่อนไหวจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อย่างใกล้ชิด หลังจากนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารได้ให้คำมั่นว่าจะทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อป้องกันสกุลเงินยูโรจากการล่มสลาย

ขณะเดียวกัน สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนตลาดน้ำมันเช่นกัน โดยเหตุการณ์จลาจลและความรุนแรงในซีเรีย รวมถึงความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตกยังคงสร้างแรงกดดันต่ออุปทานน้ำมันโลก

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th-

 

 

มว.คลังสหรัฐบินถกประเด็นศก.ร่วมกับรมว.คลังเยอรมนี,ปธ.อีซีบีจันทร์นี้

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2555 08:30:00 น.

กระทรวงการคลังของสหรัฐประกาศว่า นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังจะเดินทางเยือนเยอรมนี เพื่อพบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ ยุโรป และทั่วโลกในวันจันทร์ที่จะถึงนี้

 

 

แถลงการณ์ระบุว่า นายไกธ์เนอร์จะเข้าพบนายวูลฟ์กัง ชอยเบิล รมว.คลังเยอรมนี ที่เกาะซูลท์ในช่วงเช้าและบ่ายวันจันทร์ ก่อนประชุมร่วมกับนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่นครแฟรงเฟิร์ตในช่วงเย็น

แผนการเดินทางเยือนเยอรมนีในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี และประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส ได้ออกแถลงการณ์ร่วมซึ่งระบุว่า ทั้งสองประเทศจะทำทุกอย่างเพื่อปกป้องยูโรโซน ด้านประธานอีซีบีก็กล่าวเช่นกันว่า อีซีบีจะทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อป้องกันสกุลเงินยูโรจากการล่มสลาย

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th-

 

 

 

 

:Announce :gvme

ธปท. เปิดแผนรับมือ "คิวอี3" ทำเงินท่วมเอเชีย สกัดบาทแข็ง-ผันผวนหนัก โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2555 23:31 น.

 

ธปท.เตรียมพร้อมรับ "คิวอี3" เปิดแผนโชว์ 4 เครื่องมือสกัดบาทผันผวน-แข็งค่า ปิดความเสี่ยงเม็ดเงินมหาศาลไหลทะลักท่วมเอเชีย โดยมาตรการแรงสุด คือ มาตรการสกัดกันเงินทุนไหลเข้า

 

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมมาตรการทางด้านการเงิน 4-5 เครื่องมือ ไว้รองรับความผันผวนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐในทิศทางแข็งค่า หลังจากมีความเป็นไปได้สูงมากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE : Quantitative Easing) ในรอบที่ 3 เพื่อพยุงเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนของโลกทะลักเข้าภูมิภาคเอเชียรวม ทั้งไทยซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวดีกว่า

 

ทั้งนี้ เครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วย เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน การส่งเสริมในเรื่องเงินทุนไหลออก การเข้าแทรกแซงตลาด และมาตรการสกัดกั้น เป็นต้น ซึ่ง ธปท.จะต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม ตามสถานการณ์และความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

นายประสาร กล่าวว่าในเครื่องมือทั้งหมด อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือที่เป็นธรรมชาติมากสุด โดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด หากค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ผันผวนมากเกินไป ในระดับที่ผู้ประกอบการส่งออกรับได้ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนนี้ส่วนใหญ่มักจะเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าหรือคู่ แข่งขันด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบเอเชีย ดังนั้น การเคลื่อนไหวสอดคล้องกับประเทศเหล่านี้ก็ไม่มีปัญหามากนัก ส่วนมาตรการสกัดก็ขึ้นกับระดับความรุนแรงของเงินทุนไหลเข้า

 

“ถ้าคิวอี 3 เกิดจริง คงมีเงินทะลักเข้ามาแน่ เงินบาทก็คงแข็งค่าขึ้น เวลานี้เราจึงพยายามเก็บพื้นที่เอาไว้ จะเห็นว่าช่วงปีที่ผ่านมาเงินสำรองระหว่างประเทศไทยไม่ได้เพิ่มเลย จะคงๆ อยู่ระดับนี้ หากไปดูแลก็มีค่าใช้จ่ายมาก เราเองก็เหนื่อย ก็ภาวนาอยู่”

 

ส่วนมาตรการที่ส่งเสริมให้เอกชนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศนั้น เป็นมาตรการเพื่อสร้างความสมดุลของค่าเงินบาท ซึ่งที่ผ่านมาค่อนข้างได้ผลดี โดยปี 2554 ที่ผ่านมา มีเม็ดเงินออกไปแล้ว 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ 5 เดือนแรกของปีนี้ ออกไป 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังคงต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี

 

อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้มาตรการการคลังมีความจำเป็นนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของ เศรษฐกิจไทย แต่ควรเป็นมาตรการที่ส่งเสริมในเรื่องการลงทุนเพื่อให้เกิดผลดีต่อภาพรวม เศรษฐกิจในอนาคต มากกว่าการกระตุ้นการอุปโภคและบริโภค เพราะเวลานี้ประเทศไทยต้องการการลงทุนมากกว่า

ถูกแก้ไข โดย กระต่ายทอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดีคะจารย์อั๋น เพื่อนๆ :32

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองคำปิดบวก $1.3 นักลงทุนจับตาประชุมเฟด,อีซีบี

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555 06:53:36 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (30 ก.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกก่อนที่จะรับทราบผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 1.3 ดอลลาร์ หรือ 0.08% ปิดที่ 1,624 ดอลลาร์/ออนซ์

emnb_1_370236.gif

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 28.033 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 53.5 เซนต์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,411.80 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 3.60 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 588.35 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 16.50 ดอลลาร์

สัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 4 วันทำการ และทองคำยังคงเคลื่อนไหวเหนือระดับ 1,600 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกก่อนที่จะรับทราบผลการประชุมเฟดและอีซีบี โดยนักลงทุนคาดหวังว่า ธนาคารกลางทั้งสองแห่งจะประกาศใช้มาตรการกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ความคาดหวังที่ว่าอีซีบีจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีขึ้นนับตั้งแต่นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ยืนยันก่อนหน้านี้ว่า อีซีบีจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อปกป้องสกุลเงินยูโร และพร้อมจะทำทุกวิถีทางที่จำเป็นภายในขอบเขตอำนาจของอีซีบี เพื่อยับยั้งการล่มสลายของยูโรโซน

นอกจากนี้นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อปกป้องยูโรโซน

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th

ภาวะตลาดน้ำมัน: วิตกผลประชุมเฟด,อีซีบี ฉุดน้ำมัน WTI ปิดลบ 35 เซนต์

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555 07:15:13 น.

สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดลบคืนนี้ (30 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เและธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะนำมาใช้นั้น จะเพียงพอต่อการหนุนเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้นได้

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาด NYMEX ลดลง 35 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 89.78 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 89.33-90.95 ดอลลาร์emnb_1_370236.gif

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 27 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 106.20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 105.58-106.99 ดอลลาร์

ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะนำมาใช้นั้น จะเพียงพอต่อการหนุนเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้นได้

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของสเปน (INE) ระบุว่า สเปนเผชิญภาวะถดถอยถดถอยรุนแรงขึ้นในไตรมาสสอง หลังจากที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หดตัว 0.4% เทียบกับที่หดตัว 0.3% ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ โดยจีดีพีที่หดตัวเพิ่มมากขึ้นของสเปนสะท้อนให้เห็นถึง "อุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอลง"

อย่างไรก็ตาม ตลาดได้แรงหนุนในระหว่างวันจากรายงานที่ว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ปรับตัวลดลงในเดือนก.ค. จากระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีที่เคยทำไว้เมื่อเดือนเม.ย.ที่ระดับ 31.75 ล้านบาร์เรล/วัน

นอกจากนี้ ตลาดได้รับปัจจัยบวกจากรายงานของสหรัฐที่ระบุว่า มาตรการคว่ำบาตรที่ชาติตะวันตกบังคับใช้กับอิหร่านนั้น ส่งผลให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง 150,500 บาร์เรล ถึง 2.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก.ค.

นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 27 ก.ค. ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขดังกล่าวในวันพุธนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบจะลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจลดลง 0.1%

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555 07:38:45 น.

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (30 ก.ค.) โดยดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.เป็นต้นมา เนื่องจากนักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะได้รับการสนับสนุนให้ใช้แผนคลี่คลายวิกฤตหนี้ยูโรโซน

ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 1.6% ปิดที่ 263.97 จุดดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3320.71 จุด บวก 40.52 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5693.63 บวก 66.42 จุด ดัชนี DAX ปิดตลาดเยอรมนีที่ 6774.06 บวก 84.66 จุด

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 ก.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งนักลงทุนคาดหวังว่าเฟดจะใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 2.65 จุด หรือ 0.02% แตะที่ 13,073.01 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 0.67 จุด หรือ 0.05% แตะที่ 1,385.30 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 12.25 จุด หรือ 0.41% แตะที่ 2,945.84 จุด

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (30 ก.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกก่อนที่จะรับทราบผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 1.3 ดอลลาร์ หรือ 0.08% ปิดที่ 1,624 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 28.033 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 53.5 เซนต์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,411.80 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 3.60 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 588.35 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 16.50 ดอลลาร์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดลบคืนนี้ (30 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะนำมาใช้นั้น จะเพียงพอต่อการหนุนเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้นได้

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาด NYMEX ลดลง 35 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 89.78 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 89.33-90.95 ดอลลาร์

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 27 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 106.20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 105.58-106.99 ดอลลาร์

 

-- สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่จะรับทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.46% แตะที่ 1.2260 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2317 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลง 0.22% แตะที่ 1.5711 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5746 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.29% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 78.180 เยน จากระดับ 78.410 เยน และพุ่งขึ้น 0.51% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9797 ฟรังค์ จากระดับ 0.9747 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น 0.11% แตะที่ 1.0495 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0483 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับขึ้น 0.04% แตะที่ 0.8085 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8088 ดอลลาร์สหรัฐ

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: วิตกผลประชุมเฟด,อีซีบี ฉุดน้ำมัน WTI ปิดลบ 35 เซนต์

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555 07:15:13 น.

สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดลบคืนนี้ (30 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะนำมาใช้นั้น จะเพียงพอต่อการหนุนเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้นได้

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาด NYMEX ลดลง 35 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 89.78 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 89.33-90.95 ดอลลาร์

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 27 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 106.20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 105.58-106.99 ดอลลาร์

ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะนำมาใช้นั้น จะเพียงพอต่อการหนุนเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้นได้

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของสเปน (INE) ระบุว่า สเปนเผชิญภาวะถดถอยถดถอยรุนแรงขึ้นในไตรมาสสอง หลังจากที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หดตัว 0.4% เทียบกับที่หดตัว 0.3% ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ โดยจีดีพีที่หดตัวเพิ่มมากขึ้นของสเปนสะท้อนให้เห็นถึง "อุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอลง"

อย่างไรก็ตาม ตลาดได้แรงหนุนในระหว่างวันจากรายงานที่ว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ปรับตัวลดลงในเดือนก.ค. จากระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีที่เคยทำไว้เมื่อเดือนเม.ย.ที่ระดับ 31.75 ล้านบาร์เรล/วัน

นอกจากนี้ ตลาดได้รับปัจจัยบวกจากรายงานของสหรัฐที่ระบุว่า มาตรการคว่ำบาตรที่ชาติตะวันตกบังคับใช้กับอิหร่านนั้น ส่งผลให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง 150,500 บาร์เรล ถึง 2.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก.ค.

นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 27 ก.ค. ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขดังกล่าวในวันพุธนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบจะลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจลดลง 0.1%

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th

 

ไกธ์เนอร์ประชุมร่วมกับรมว.คลังเยอรมนี,ปธ.อีซีบี มุ่งหารือประเด็นยูโรโซน

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 30 กรกฎาคม 2555 22:05:00 น.

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐ จะประชุมร่วมกับนายวูล์ฟกัง ชอยเบิล รมว.คลังเยอรมนี และนายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันนี้ที่เกาะ Sylt ในทะเลเหนือ หลังจากมีรายงานว่าผู้นำยุโรปได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะปกป้องยูโรโซน ซึ่งทำให้เกิดการคาดการณ์ว่ายุโรปจะใช้มาตรการเชิงรุกในเร็วๆนี้

นางมาเรียน โคธ โฆษกกระทรวงการคลังเยอรมนีเปิดเผยว่า นายไกธ์เนอร์และนายชอยเบิลจะหารือกันอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูโรโซน และหลังจากการประชุมครั้งนี้เสร็จสิ้นแล้ว นายไกธ์เนอร์จะเดินทางไปยังนครแฟรงค์เฟิร์ต เพื่อพบปะหารือกับนายดรากิ ประธานอีซีบี ต่อไปemnb_1_370236.gif

การประชุมครั้งนี้ริเริ่มโดยรมว.คลังสหรัฐ ภายหลังจากที่นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อปกป้องยูโรโซน ซึ่งสอดคล้องกับที่นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า อีซีบีจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อปกป้องสกุลเงินยูโร และพร้อมจะทำทุกวิถีทางที่จำเป็นภายในขอบเขตอำนาจของอีซีบี เพื่อยับยั้งการล่มสลายของยูโรโซน

นักวิเคราะห์มองว่า ถ้อยแถลงของนายดรากิถือเป็นการส่งสัญญาณว่า อีซีบีอาจะเข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตร หลังจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสเปนและอิตาลีได้ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆในกลุ่มยูโรโซน นอกจากนี้ การแสดงความคิดเห็นของนายดรากิถือเป็นการส่งสัญญาณในด้านบวกของยูโรโซน ซึ่งช่วยหนุนตลาดหุ้นยุโรปและตลาดหุ้นสหรัฐ รวมทั้งตลาดปริวรรตเงินตราและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ทะยานขึ้นถ้วนหน้าในการซื้อขายเมื่อวันที่ 26 ก.ค.

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th-

 

 

 

:Announce :Announce In Focus: จับตามหากาพย์ QE3 ภารกิจหลังชนฝา บนบ่า เบน เบอร์นันเก้

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 18 กรกฎาคม 2555 15:10:44 น.

ข่าวคราวที่น่าลุ้นระทึกใจในตลาดการเงินมากที่สุดในเวลานี้คงจะเป็นความเคลื่อนไหวของ เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ว่า จะส่งสัญญาณการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 หรือ QE3 หรือไม่ในระหว่างการแถลงมุมมองเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรสซึ่งมีขึ้นเป็นเวลา 2 วัน โดยวันแรกมีการแถลงไปแล้วเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย และจะแถลงต่ออีกวันในคืนนี้ตามเวลาไทยเช่นกันemnb_1_370236.gif

ในการแถลงวันแรก เบอร์นันเก้ก็ทำเอาตลาดการเงินระส่ำระสายกับมุมมองเศรษฐกิจที่เป็นลบว่า เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมากในช่วงครึ่งปีแรกและความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเผชิญกับภาวะขาลง ก็มีอยู่มากเช่นกัน แต่วาทะที่สร้างความสั่นสะท้านให้กับตลาดการเงินมากที่สุดของเบอร์นันเก้ คือคำเตือนที่ว่า "หากสภาคองเกรสไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะ 'หน้าผาทางการคลัง หรือ Fiscal Cliff' ให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐซึ่งอยู่ในภาวะเปราะบางอยู่แล้วนั้น จะได้รับความเสียหายอย่างหนัก"

หน้าผาการคลัง คือภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศสูญเสียแรงขับเคลื่อนทางการคลังอย่างฉับพลันและรุนแรง เนื่องจากมาตรการการคลังชั่วคราวที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในยามที่เกิดวิกฤตินั้น สิ้นสุดลง ยิ่งมาตรการมีขนาดใหญ่มากเท่าไร เมื่อถึงเวลาสิ้นสุดของมาตรการก็จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจสูญเสียแรงส่งมากขึ้นเท่านั้น สถานการณ์เช่นนี้จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจถูกฉุดให้ลดต่ำลงหรืออาจรุนแรงถึงขั้นถดถอยได้ ภาพดังกล่าวจึงคล้ายกับเศรษฐกิจกำลังตกหน้าผา (ทางการคลัง)

แม้เบอร์นันเก้ได้แสดงความวิตกกังวลมากขนาดนี้ แต่ก็ไม่ได้ส่งสัญญาณออกมาชัดๆว่า จะเข็น QE3 ออกมาดับพิษเศรษฐกิจในยามนี้ การส่งสัญญาที่คลุมเครือของเบอร์นันเก้ทำให้ตลาดต่างๆเคลื่อนตัวผันผวนและไร้ทิศทาง เนื่องจากตลาดแต่ละแห่งรับเอาถ้อยแถลงของเบอร์นันเก้ในมุมมองที่แตกต่างกัน และที่น่าลุ้นระทึกก็คือการแถลงวันสุดท้ายในคืนนี้ว่า ท้ายที่สุดเบอร์นันเก้จะส่งสัญญาณการใช้ QE3 หรือไม่

 

QE หรือ Quantitative Easing แปลตามตัวอักษรว่า "มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ" เป็นมาตรการที่ธนาคารกลางนำมาใช้ก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะวิกฤต สภาพคล่องในระบบหดตัว และสุ่มเสี่ยงที่จะเผชิญกับการถดถอย หลักการทำ QE ที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆก็คือ ธนาคารกลางจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยตรง ผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน และตราสารหนี้ประเภทที่มีสินเชื่อบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (MBS) เมื่อสภาพคล่องสูงขึ้น เม็ดเงินในระบบก็ไหลลื่น สถาบันการเงินก็ปล่อยเงินกู้เพื่อนำไปปล่อยสินเชื่อ ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทอดหนึ่ง เฟดนำมาตรการ QE1 มาใช้ในช่วงวิกฤตซับไพรม์ปี 2551 จากนั้นก็เข็น QE2 ออกมาในเดือนพ.ย.ปี 2553

แต่การใช้มาตรการ QE ของสหรัฐถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเพราะการเพิ่มเงินมหาศาลเข้าสู่ระบบด้วยการเข้าซื้อตราสารทางการเงินนั้น ส่งผลให้งบดุลของธนาคารกลางอยู่ในภาวะที่ไร้สมดุล ทั้งทางฝั่ง asset (ตราสารที่ซื้อเข้ามา) และฝั่ง liability (เงินที่จ่ายออกไป) ซึ่งนโยบายการเงินแบบปกติจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์แบบนี้

นายโรเบิร์ต รูบิน อดีตรมว.คลังสหรัฐกล่าวแสดงความเห็นในที่ประชุมเศรษฐกิจซึ่งจัดโดยขึ้นนิตยสารแอตแลนติกว่า มาตรการ QE แทบจะไม่ได้ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และยังกล่าวด้วยว่าการออกมาตรการ QE เพิ่มเติมจะสร้างความตื่นตระหนกให้กับตลาด เนื่องจากนักลงทุนจะขาดความเชื่อมั่นในความพยายามที่จะควบคุมแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของเฟด และไม่มั่นใจในคำมั่นสัญญาของรัฐบาลสหรัฐว่าจะสามารถควบคุมการขาดดุลได้

อัลแลน เมลท์เซอร์ นักวิเคราะห์จากสถาบันวิสาหกิจแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ผลกระทบหลักๆของมาตรการ QE คือจะทำให้มูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลงอีกเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่แข่ง และจะทำให้ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน และราคานำเข้าของสินค้าประเภทอื่นๆ ปรับตัวขึ้นด้วย นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อกำลังเคลื่อนไหวใกล้กับระดับเป้าหมายของเฟด และการขยายตัวของปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบพุ่งขึ้นถึง 10% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อในวันข้างหน้า

ขณะที่เจมส์ ดอร์น นักวิเคราะห์ด้านนโยบายการเงินจากสถาบันคาโต ในนครวอชิงตัน กล่าวว่า การพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบไม่ใช่ยาวิเศษที่ใช้เยียวยาเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐได้ โดยดอร์นกล่าวว่า หลังจากที่เฟดประกาศใช้มาตรการ QE มาแล้ว 2 ครั้ง อัตราว่างงานก็ยังคงยืนอยู่เหนือระดับ 9% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ทั่วไป ยืนอยู่ที่ 3.6% โดยระบุว่า เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางเทคนิคแล้วพบว่า สหรัฐกำลังเผชิญกับภาวะ stagflation หรือภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงแต่มีเงินเฟ้อสูงขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์หลายคน ซึ่งรวมถึงดอร์น คาดว่า เศรษฐกิจที่ขยายตัวในระดับต่ำเป็นผลมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐาน นอกจากนี้ ยังเกิดจากความไม่แน่นอนด้านนโยบาย ไม่ใช่เกิดจากการไม่ใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จากหลายสำนักคาดว่า ท้ายที่สุดแล้วเฟดจะตัดสินใจใช้มาตรการ QE3 อย่างแน่นอน โดยนักวิเคราะห์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ คาดการณ์ว่าเฟดจะประกาศใช้ QE3 ในเดือนก.ย.นี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดการเงิน และหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นจากภาวะอ่อนแอ

"เราคาดว่า เฟดจะใช้มาตรการ QE3 มูลค่า 5 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนก.ย. ซึ่งจะช่วยหนุนตลาดสินเชื่อจำนองให้แข็งแกร่งมากขึ้น และมาตรการนี้จะมีประสิทธิภาพมากกว่า Operation Twist" ปรียา มิสรา หัวหน้าแผนกยุทธศาสตร์การลงทุนในสหรัฐของ แบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ กล่าว

ขณะที่นายเดวิด มานน์ นักวิจัยของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด คาดการณ์ว่า เฟดจะใช้มาตรการ QE3 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 พร้อมกับคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาสแรก และไตรมาส 2 จะขยายตัวไม่ถึง 1% ขณะที่อัตราว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 9.3% หรือมากกว่า ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เฟดตัดสินใจใช้มาตรการ QE3 ในช่วงเวลาดังกล่าว

 

แต่คำพยากรณ์ของนักวิเคราะห์สำนักไหนก็ไม่เท่ากับสิ่งที่อยู่ในใจของเบอร์นันเก้ และเราคงต้องลุ้นว่า การแถลงวันสุดท้ายในคืนนี้ หัวเรือใหญ่ของเฟดจะส่งสัญญาณการใช้ QE3 หรือไม่

 

--อินโฟเควสท์ โดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับทุกคน สวัสดีตอนเย็นของวันที่ 31/7/2555 เวลา 18.54 น.

 

เมื่อวาน ไม่ได้เข้ามารายงาน ตัว แต่ราคาทองคำ โดยภาพรวมแล้ว ตอนนี้ยังถือว่าสามารถยืนได้เหนือ 1600 ในระยะสั้นได้แล้วนะครับ

 

ความหวังที่ราคาทองคำจะกลับตัวเป็นขาขึ้น เริ่มจะเห็น ลาง ๆ แล้ว ครับ

 

ช่วงนี้มีเสียงลือ เสียงเล่าอ้าง เข้ามาอย่างหนัก ว่า ท่าน เบน เบอนักเก้ จะออกมาตรา QE3 ออกมาในระยะเวลา อันใกล้นี้

 

ซึ่งส่งผลทำให้ราคาทองคำ ขยับขึ้นมายืนเหนือ 1600 ได้ ส่วนหนึ่ง เพื่อ รอข่าว ...........

 

และอีกส่วนหนึ่ง คาดว่า ยังคงเก็งกำไร ในกรอบ 1600-1630 อยู่ หากราคาทองคำ สามารถ ผ่าน 1630 ไปได้ เป้าหมาย รอบนี้

 

น่าจะสามารถขึ้นทดสอบแนวต้านหลักที่ 1660-1700 ได้เป็นอย่างน้อย แต่ถ้ามี QE3 ออกมา อาจจะไปได้ไกลมากกกว่นี้อีกครับ

 

แต่ทั้งหมดนี้ต้องรอสัญญาณ ข่าว จากทางฝั่งอเมริกาก่อนนะครับ

 

ถ้าไม่มีข่าว QE3 คาดว่าถ้าราคาทองคำจะกลับตัวเป็นขาขึ้นจริงจะไปได้ไม่ไกลมากนัก ครับ

 

อย่างมากก็ประมาณ 1750 หรือไม่ ก็ เกือบ ๆ ชน 1800 ภายในอีก 1-3 เดือนนี้

 

แต่ถ้าดูจากกราฟ ต่าง ๆ ตอนนี้ แนะนำให้ให้นักลงทน เริ่มทยอยซือ้สะสมเอาไว้บ้างนะครับ อย่าขาย หมดพอร์ต

 

เพราะว่า กราฟและ อินดิเคเตอร์ ต่าง ๆ เริ่มส่งสัญญาณ กลับตัวขึ้นในระยะยาว แล้วครับ

 

เพียงแต่ว่าตอนนี้ ระยะสั้น ผมมอง ว่า ออกแนวจะเป็น Side Ways Up มากกว่าครับ

 

ต้องให้เวลา กับ ราคาทองคำนิดหนึ่งนะครับในการกลับตัวเป็นขาขึ้น ในช่วง 1-3 เดือน

 

ถัดจากนี้ อาจจะได้เห็นราคาทองคำ ที่ มากกว่า ราคา ณ ปัจจุบันนี้ แน่นอน ครับ

 

แต่จะไปได้ไกล แค่ไหน ก็ต้องลุ้นกับข่าว ที่เกิดขึ้นด้วยละกันครับ

 

สัปดาห์นี้ มีข่าว ที่ยังคงกดดันราคาทองคำ อยู่ด้วยนะครับ

 

นัน้ก็คือข่าวกลุ่มประเภท การจ้างงานในตลาดอเมริกา ที่จะประกาศออกมา พุธ-ศุกร์ นี้

 

ซึ่งต้องบอกว่าสำคัญมาก ๆ ต่อการตัดสินใจ ออกมาตราการต่าง ๆ ของทาง ฝั่ง อเมริกาด้วยครับ

 

เมื่อวานราคาทองคำเปิดตลาดมาที่ 1622.63 เหรียญ มีราคาสูงสุดอยุ่ที่ 1625.90 เหรียญ

 

มีจุดต่ำสุดอยู่ที่ 1614.30 เหรียญ ปิดตลาดที่ 1621.54 เหรียญ

 

การเคลื่อนไหวของราคาทองคำเป็นไปลักษณะ Side ways ออกแนว Up นิดหน่อย ครับ

 

เมื่อวานราคาทองคำวิ่งรวมกันทั้งหมด 11 เหรียญ มีสัญญาการซื้อ-ขาย 45800 สัญญา

 

ไม่มีอะไรผิดสังเกตุในเรื่องของสัญญา เป็นไปในลักษณะการเก็งกำไร ในรกบอมากกว่านะครับ

 

แนวต้าน แนวรับ

 

แนวต้าน 1626-1630 ไม่ผ่านระวังแรงขายออกมา **** 1641*** 1655-1660 ***** เป้าหมาย 1700 ++++

 

สรุป แนวต้าน ช่วงนี้ ราคาทองคำอาจจะวิ่งขึ้นและลงอยู่ในกรอบ 30 เหรียญ กันนะครับ

 

หากหลุด หรือ ผ่าน 1630 ขึ้นไปยืนได้ คาดว่าราคาทองคำ น่าจะมีโอกาศ ทดสอบ แนวต้านหลัก ครับ

 

และอีกอย่าง ครับ 1-3 เดือน ถัดจากนี้ไป ราคาทองคำจะเข้าสู่ ช่วง High Season ของราคาทองคำครับ

 

แนวรับ 1620-1616 ***** 1611 *** 1600 *********

 

แนวรับ ดูการลงมาทดสอบแถว 1614-1618 ก่อนนะครับ หากลงมาแล้วไม่หลุด ลงไปมาก

 

คาดว่าราคาทองคำน่าจะมีโอกาศดีดได้ ไปได้ ถึง 10-15 เหรียญ ก่อนถูกแรงขาย ออกมา ครับ

 

ช่วงนี้หากราคาทองคำ ลงมาทดสอบแนวรับ จริง แนะนำให้นักลงทุน เริ่มทยอยข้าไปซือ้และ สะสม

 

เพื่อรอขาย แนวต้าน หลัก ๆ ไว้ด้วยนะครับ

 

คืนนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญดังนี้ ครับ

 

1. เวลา 20.00 น. ตัวเลขราคาบ้าน คาดการณ์ เป็นผลลบต่อราคาทองคำ

 

2. เวลา 20.45 น. ตัวเลขดัชนี ฝ่ายจดซือ้ คาดการณ์เป็นผลบวกต่อราคาทองคำ

 

3. เวลา 21.00 น. ความเชื่อมั่นผู้บริโภค คาดการณ์เป็นผลบวกต่อราคาทองคำ

 

สัปดาห์นี้แนะนำให้ติดตามตัวเลขกลุ่มการจ้างงาน ของตลาดอเมริกาที่จะประกาศออกมาในวนพุธ-วันศุกร์ ในสัปดาห์นี้ด้วยนะครับ

 

จะมีผลต่อราคาทองคำอย่างมากครับ

 

 

2012_07_31-073-20120731xEdvvdTOdvZE40355.gif

 

โชคชะตาฟ้าลิขิต ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะคน

 

การให้ที่ยิ่งใหญ่ คือการให้ต่อไปไม่รู้จบ ครับ ........... :57

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดีคะจารย์อั๋น เพื่อนๆ :32

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: แรงขายทำกำไรฉุดทองคำปิดร่วง 9.4 ดอลลาร์

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 1 สิงหาคม 2555 07:28:09 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกันหลายวัน นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนไม่มั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเป็นบวก

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 9.4 ดอลลาร์ หรือ 0.58% ปิดที่ 1,614.6 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 27.914 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 11.90 เซนต์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,416.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 5.10 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมเดือนก.ย.ปิดที่ 590.55 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 2.20 ดอลลาร์

นักลงทุนมองว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเป็นบวกในระยะนี้ อาจจะทำให้เฟดยังไม่ประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยล่าสุดเมื่อวานนี้ คอนเฟอเรนซ์ บอร์ดเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นแตะระดับ 65.9 จุด ในเดือนก.ค. จาก 62.7 ในเดือนมิ.ย. หลังจากที่อ่อนแรงลงต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกัน ขณะที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์เผยราคาบ้านในสหรัฐปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในเดือนพ.ค. โดยดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น 0.9%

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไร หลังจากสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกันหลายวันที่ผ่านมา

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: .infoquest.co.th-

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: หวั่นเฟดเมินกระตุ้นเศรษฐกิจ ฉุดน้ำมัน WTI ปิดลบ $1.72

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 1 สิงหาคม 2555 07:05:57 น.

สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงคืนนี้ (30 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเป็นบวก

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาด NYMEX ร่วงลง 1.72 ดอลลาร์ หรือ 1.9% ปิดที่ 88.06 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 87.36-90.30 ดอลลาร์

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 1.28 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 104.92 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 104.10-106.52 ดอลลาร์

นักลงทุนมองว่าข้อมูลเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเป็นบวกในระยะนี้ อาจจะทำให้เฟดยังไม่ประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยล่าสุดเมื่อวานนี้ คอนเฟอเรนซ์ บอร์ดเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นแตะระดับ 65.9 จุด ในเดือนก.ค. จาก 62.7 ในเดือนมิ.ย. หลังจากที่อ่อนแรงลงต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกัน ขณะที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์เผยราคาบ้านในสหรัฐปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในเดือนพ.ค. โดยดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น 0.9%

นักวิเคราะห์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ คาดการณ์ว่า เฟดจะประกาศใช้มาตรการ QE3 ในการประชุมเดือนก.ย.นี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดการเงิน และหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวขึ้นจากภาวะอ่อนแอ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เฟดจะยังคงให้คำมั่นสัญญาว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed fund rate) เอาไว้ที่ระดับ 0-0.25% ไปจนถึงสิ้นปี 2557

อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนหลังจาก เจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติแห่งรัฐวิสคอนซินกล่าวว่า บริษัทเอนบริดจ์ได้หยุดส่งน้ำมันผ่านทางท่อขนส่งน้ำมันหมายเลข 14 จากรัฐวิสคอนซินไปยังรัฐอินเดียนา หลังเกิดการรั่วไหลเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา และหลังการซ่อมแซม จะเปิดดำเนินการอีกครั้งในวันที่ 1 สิงหาคมเป็นอย่างเร็วที่สุด

นอกจากนี้ ตลาดได้รับปัจจัยบวกจากรายงานของสหรัฐที่ระบุว่า มาตรการคว่ำบาตรที่ชาติตะวันตกบังคับใช้กับอิหร่านนั้น ส่งผลให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง 150,500 บาร์เรล ถึง 2.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก.ค.

นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 27 ก.ค. ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขดังกล่าวในคืนนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบจะลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจลดลง 0.1%

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: .infoquest.co.th-

 

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 1 สิงหาคม 2555 07:53:09 น.

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อผลประกอบการของบริษัทหลายแห่ง รวมถึงบีพี และยูบีเอส เอจี นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีท่าทีระมัดระวังก่อนที่จะรับทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันนี้

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1% ปิดที่ 261.38 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3291.66 จุด ลบ 29.05 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 6772.26 จุด ลบ 1.80 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5635.28 จุด ลบ 58.35 จุด

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (31 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไร อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายโดยรวมยังคงได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมวันนี้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 64.33 จุด หรือ 0.49% ปิดที่ 13,008.68 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 5.98 จุด หรือ 0.43% ปิดที่ 1,379.32 จุด และดัชนี Nasdaq ปรับตัวลง 6.32 จุด หรือ 0.21% ปิดที่ 2,939.52 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงคืนนี้ (30 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเป็นบวก

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาด NYMEX ร่วงลง 1.72 ดอลลาร์ หรือ 1.9% ปิดที่ 88.06 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 87.36-90.30 ดอลลาร์

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 1.28 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 104.92 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 104.10-106.52 ดอลลาร์

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (31 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกันหลายวัน นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนไม่มั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเป็นบวก

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 9.4 ดอลลาร์ หรือ 0.58% ปิดที่ 1,614.6 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 27.914 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 11.90 เซนต์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,416.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 5.10 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมเดือนก.ย.ปิดที่ 590.55 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 2.20 ดอลลาร์

 

-- สกุลเงินยูโรยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (31 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการผ่อนคลายทางการเงินที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะนำมาใช้นั้น ส่งผลให้ช่วงบวกของสกุลเงินยูโรถูกจำกัดลง

ค่าเงินยูโรดีดขึ้น 0.35% แตะที่ 1.2303 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2260 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลง 0.22% แตะที่ 1.5675 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5709 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.04% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 78.120 เยน จากระดับ 78.150 เยน และร่วงลง 0.35% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9760 ฟรังค์ จากระดับ 0.9794 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดีดขึ้น 0.05% แตะที่ 1.0503 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0498 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับขึ้น 0.10% แตะที่

0.8092 ดอลลาร์ จากระดับ 0.8084 ดอลลาร์สหรัฐ

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: .infoquest.co.th-

 

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรแข็งเทียบดอลล์ จากคาดการณ์เฟดใช้แผนกระตุ้นศก.

 

 

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 1 สิงหาคม 2555 07:51:25 น.

สกุลเงินยูโรยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (31 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการผ่อนคลายทางการเงินที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะนำมาใช้นั้น ส่งผลให้ช่วงบวกของสกุลเงินยูโรถูกจำกัดลง

ค่าเงินยูโรดีดขึ้น 0.35% แตะที่ 1.2303 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2260 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลง 0.22% แตะที่ 1.5675 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5709 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.04% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 78.120 เยน จากระดับ 78.150 เยน และร่วงลง 0.35% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9760 ฟรังค์ จากระดับ 0.9794 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดีดขึ้น 0.05% แตะที่ 1.0503 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0498 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับขึ้น 0.10% แตะที่

0.8092 ดอลลาร์ จากระดับ 0.8084 ดอลลาร์สหรัฐ

สกุลเงินยูโรได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะใช้มาตรการผ่อนปรนทางการเงินเพิ่มเติมในช่วงวิกฤตหนี้ยุโรปและเศรษฐกิจชะลอตัว แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า เบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดอาจจะยังไม่ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 หรือ QE3 ด้วยการซื้อพันบัตรล็อตใหญ่ในการประชุมครั้งนี้ และมีความเป็นไปได้ว่า เฟดจะชะลอการเปิดเผยแผนการซื้อตราสารหนี้รัฐบาลและที่อยู่อาศัย วงเงินรวม 6 แสนล้านดอลลาร์ ไปจนกว่าจะถึงการประชุมเดือนก.ย.

อย่างไรก็ตาม ยูโรปรับตัวขึ้นในกรอบที่จำกัด เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจว่าอีซีบีจะใช้มาตรการผ่อนคลายการเงินในการประชุมครั้งนี้ แม้นักวิเคราะห์บางกลุ่มคาดการณ์ว่า อีซีบีจะดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรอีกครั้ง หลังจากที่นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรปให้คำมั่นว่าจะปกป้องสกุลเงินยูโรและยูโรซน

สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป หรือ ยูโรสแตท เปิดเผยว่า อัตราว่างงานเดือนมิ.ย.ของยูโรโซนยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ 11.2% ขณะที่อัตราว่างงานในสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งมีสมาชิก 27 ประเทศ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนพ.ค.เช่นกัน โดยอยู่ที่ระดับ 10.4% ในเดือนมิ.ย.

นักลงทุนจับตาดูการกรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของหลายประเทศในยุโรปในวันนี้ รวมถึงอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี และยูโรโซน

นอกจากนี้ นักลงทุนยังติดตามดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ โดย ADP Employer Services จะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศเดือนก.ค., กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนมิ.ย. และสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) จะเปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศเดือนก.ค.

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับทุกคน สวัสดีตอนเย็นของวันที่ 1/8/2555 เวลา 17.36 น.

 

เมื่อวานราคาทองคำ เปิดตลาดมาที่ 1621.85 เหรียญ มีราคาสูงสุด 1627.50 เหรียญ

 

มีราคาต่ำสุดที่ 1611.17 เหรียญ มีราคาปิดตลาดที่ 1614.12 เหรียญ

 

รวมทั้งวันราคาทองคำวิ่งรวมกันทั้งหมด 16 เหรียญ มีสัญญาการซื้อ-ขายราคาทองคำ 65667 เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 19867สัญญา

 

การเคลื่อนไหวราคาทองคำเป็นไปในลักษณะ Down Trend ลงมาทดสอบแนวรับ แต่ถ้ามองจากกราฟและ เทคนิคคอล

 

ผมมองว่าราคาทองคำระยะยาว ยังมีรูปแบบเป็น Up Trend เพียงแต่ตอนนี้ อาจจะย่อตัวลงมาทดสอบแนวรับ

 

เพื่อที่จะขึ้นต่อไปครับ ส่วนจะลงไปลึกแค่ไหน นั้น ผมประเมิน ต่ำสุดจริง ๆ ก็ คง 1610-1580 แถว ๆ นั้น ครับ

 

ถ้าลงไปอีกครั้งแล้วไม่หลุด 1580 ลงไป คาดว่า ราคาทองคำ จะกลับตัวขึ้นและยืนยัน การเป็นขาขึ้นจริง ๆ อีกครั้ง ครับ

 

แต่ถ้าดูจากกราฟ ราย 1 Hr คงต้องบอกว่าราคาทองคำ ย่อ ตัวลงมาก่อน แนะนำให้นักลงทุน ติดตามข่าว การจ้างงานของเมริกา

 

วันนี้ พร้อมทั้งผลการประชุม จาก FOMC ไว้นะครับ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาทองคำอย่างมากครับ

 

แนวรับแนวต้าน

 

แนวต้าน 1624-1628 **** ไม่ผ่านระวังแรงขาย **** 1633-1637 **** 1641 ****

 

สรุป แนวต้าน วันนี้ อาจจะรอลุ้นข่าวดีจากประธาน FOMC มากกว่า ครับ เพราะดูเหมือนนักลงทุนต่างๆ ยังคงรอความหวังจากข่าว มากกว่าครับ

 

ดังนั้น แนวต้าน ถ้ามองจากระยะสั้น คงต้องลุ้นให้มีข่าว ออกมา เพื่อดันราคาทองคำ ขึ้นไปเหนือ แนวต้าน 1630 ให้ได้ ก่อน ครับ ***

 

แนวรับ 1613-1611 **** ดูก่อนครับ ว่าจะหลุด 1610 ลงหรือไม่ 1600 *** ระวังหลุด *** 1591-1583 ****

 

สรุป แนวรับ วันนี้ อย่างแรก คงต้องรอผลของข่าวออกมาก่อนครับ แล้วดูว่าจะส่งผลแบบไหนต่อราคาทองคำครับ

 

ถ้ามีข่าวร้าย คาดว่าราคาทองคำ อาจจะมีโอกาศลงทดสอบแนวรับหลัก 1600 อีกครั้งครับ แต่ ถ้ามองระยะยาว ยังถือว่าราคาทองคำยังคงเป็น

 

การย่อตัวเพื่อขึ้นทดสอบแนวต้าน ถัดไปอยู่ครับ

 

แนวรับระยะนี้จะมีสัญญาณ เตือนการลงทดสอบแนวรับที่ การหลุด 1610 ลงไปครับแล้วไม่สามารถกลับข้นมายืนเหนือ 1610 ได้หลังจากการหลุดครับ

 

กรอบเล็ก 1600-1630 = 30 เหรียญ

 

กรอบใหญ่ 1600-1650 = 50 เหรียญ

 

คืนนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญดังนี้

 

1.เวลา 19.15 น. ตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศ คาดการณ์เป็นผลลบต่อราคาทองคำ

 

2.เวลา 21.00 น. ตัวเลขค่าใช้จ่ายการด้านการก่อสร้าง คาดการณ์เป็นผลลบต่อราคาทองคำ

 

3.เวลา 21.00 น. ตัวเลขภาคการผลิต คาดการณ์เป็นผลลบต่อราคาทองคำ

 

4.เวลา 21.30 น. สต๊อกน้ำมันดิบ คาดการณ์เป็นผลบวกต่อราคาทองคำ

 

5.เวลา 01.15 น. FOMC ออกแถลงการณ์ ส่งผลต่อราคาทองคำในเรื่องว่าจะมีการประกาศนโยบายต่างๆ หรือไม่

 

2012_08_01-080-20120801xEdEdFdvFl45735.gif

 

โชคชะตาฟ้าลิขิต ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มาะคน

 

การให้ที่ยิ่งใหญ่ คือการให้ต่อไปไม่รู้จบ :57

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...