ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ญี่ปุ่นกระอัก เจอวิกฤตหนี้รุมทั้งใน-นอกประเทศ (09/01/2555)

แม้นักลงทุนหลายฝ่ายจะคาดการณ์ตรงกันว่า ปีนี้ เศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลกน่าจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้อีกครั้ง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเม็ดเงินที่ภาครัฐและเอกชนหว่านลงไปเพื่อเร่งปฏิรูปฟื้นฟูประเทศจากเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มเมื่อเดือน มี.ค. ปี 2554

 

ทว่า สัญญาณบ่งชี้บางประการก็ทำให้นักวิเคราะห์หลายสำนักอดท้วงติงออกมาไม่ได้ว่า เศรษฐกิจแดนซามูไรในปีนี้ โดยรวมแล้วมีแววว่าจะไม่สวยหรูอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวังกันไว้

 

แถมผลลัพธ์น่าจะออกมาในทางตรงกันข้าม คือ ปี 2555 นี้ จะเป็นปีที่หนักหนาสาหัส จนถึงขั้นที่ญี่ปุ่นยิ้มไม่ออกกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับรัฐบาลญี่ปุ่น และบรรดาเอกชนสัญชาติญี่ปุ่น

 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นประการแรกสุดในปี 2555 นี้ หนีไม่พ้นวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ที่เริ่มจะบานปลายกลายเป็นวิกฤตทางการเงินซึ่งสั่นคลอนสถานะของเศรษฐกิจโลก

 

 

 

 

ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่า ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในเจ้าหนี้รายใหญ่ของกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ด้วยการทุ่มเงินซื้อพันธบัตรของรัฐบาลหลายชาติสมาชิกอียู มากกว่าหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ

 

เท่ากับว่า ในสถานการณ์ที่วิกฤตหนี้สาธารณะที่ยังไม่มีใครรู้ว่าจะออกหัวหรือก้อย จนทำให้มูลค่าพันธบัตรของรัฐบาลชาติสมาชิกอียูในตลาดลดลง พันธบัตรที่รัฐบาลญี่ปุ่นถือไว้ ก็ไม่ต่างอะไรกับภาระขาดทุนก้อนใหญ่ซึ่งต้องแบกรับไว้บนบ่า

 

นอกจากนี้ วิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรปที่เกิดขึ้น ยังทำให้ญี่ปุ่นต้องเจ็บซ้ำสอง เพราะสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น เนื่องจากบรรดานักลงทุนแห่ซื้อสกุลเงินเยนกันมากขึ้นในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยสำหรับการลงทุน

 

แน่นอนว่า ค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ในช่วงปลายปี 2554 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2555 นี้ สร้างภาระหนักหน่วงให้กับผู้ประกอบการส่งออกของแดนซามูไร เพราะต้นทุนแพง ทำให้สินค้าที่ส่งออกราคาแพง จนไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นๆ ได้

 

ยิ่งเมื่อบวกกับปริมาณความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ลดลงก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ของสกุลเงินเยนแข็งค่าชนิดเลวร้ายมากยิ่งขึ้น โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 4 ม.ค. ค่าเงินเยนแข็งค่าสูงที่สุดในรอบ 11 ปี คืออยู่ที่ 98.48 เยนต่อยูโร สูงกว่าช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่เคยบันทึกอยู่ที่ 75.35 เยนต่อเหรียญสหรัฐ

 

และแม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะดำเนินมาตรการแทรกแซงตลาดค่าเงินอย่างน้อย 3 รอบ ในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ค่าเงินเยนก็ยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยค่าเงินเยนเมื่อวันที่ 6 ม.ค. มีการซื้อขายอยู่ที่ราว 77 เยนต่อเหรียญสหรัฐ และราว 98 เยนต่อยูโร

 

รูปการณ์ที่เกิดขึ้น กลายเป็นอุปสรรคชิ้นสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ที่กำลังเร่งเดินหน้าฟื้นฟูพัฒนาประเทศจากภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ที่ญี่ปุ่นเพิ่งจะเผชิญหน้าไป

 

แม้ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งๆ ของญี่ปุ่นจะยังไม่มีการรายงานใดๆ ออกมาจนกว่าจะถึงวันที่ 13 ก.พ.

 

 

 

 

แต่จากการประมวลผลข้อมูลวิจัยของ Japan Center for Economic Research (JCER) ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิเคราะห์อิสระด้านเศรษฐกิจในกรุงโตเกียว ระบุว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมามีแนวโน้มจะหดตัวลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ประมาณการกันไว้ก่อนหน้านี้

 

ทั้งนี้ กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ของ JCER ได้คำนวณโดยอาศัยข้อมูลจีดีพีในช่วงเดือน ต.ค. และ เดือน พ.ย. ปี 2554 ซึ่งหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 0.3% และ 0.5% ตามลำดับ ขณะที่ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. ลดลง 2.6% และตัวเลขการส่งออกร่วงมากถึง 4.5% เนื่องจากปริมาณความต้องการสินค้าในตลาด โดยเฉพาะชาติบริโภครายใหญ่อย่างสหรัฐและยุโรปลดลง

 

ขณะที่ทางด้านเจ.พี. มอร์แกนก็ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ของญี่ปุ่นลงเหลือ 1.3% จากเดิมที่เคยคาดไว้ก่อนหน้านี้ที่ 1.9%

 

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ต่างเห็นตรงกันว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นความอ่อนแอของเศรษฐกิจที่เน้นการพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักของแดนปลาดิบเรียบร้อยแล้ว

 

นอกจากปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกแล้ว ปัญหาเรื่องการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลญี่ปุ่นก็ถือเป็นปัจจัยคุกคามจากภายในที่น่าวิตกกังวลไม่น้อย

 

ข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า หนี้สาธารณะของรัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นกว่า 200% ของจีดีพี นับได้ว่าสูงกว่าหลายประเทศในอียูที่กำลังประสบปัญหาหนี้ เพียงแต่ว่าความเสี่ยงอาจจะน้อยกว่าฟากยุโรป ซึ่งพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างชาติเป็นหลัก เนื่องจาก 90% ของผู้ซื้อพันธบัตรญี่ปุ่นส่วนใหญ่คือนักลงทุนเอกชน และสถาบันการเงินภายในประเทศของตนเองที่มีสินทรัพย์ในกระเป๋าของตัวเองสูงถึง 1,500 ล้านล้านเยน ซึ่งถือว่าสูงกว่าปริมาณหนี้สาธารณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีอยู่

 

กระนั้น ใช่ว่าสถานการณ์การคลังของรัฐบาลญี่ปุ่นจะปลอดภัยไร้กังวล เพราะผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาเตือนแล้วว่า มูลค่าเงินส่วนบุคคลของชาวญี่ปุ่นเมื่อหักลบกลบหนี้แล้วมีเพียง 1,100 ล้านล้านเยนเท่านั้น หรือมากกว่าหนี้สาธารณะของรัฐบาลเพียงแค่ 200 ล้านล้านเยน

 

เรียกได้ว่า หากรัฐบาลญี่ปุ่นยังคงเดินหน้าเพิ่มหนี้ต่อไป ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว จนสาธารณะมีแนวโน้มจะอดออมมากกว่านำเงินมาลงทุนกับรัฐบาล ก็อาจทำให้จำนวนหนี้ของรัฐบาลสูงเกินจำนวนสินทรัพย์ของสาธารณะ จนทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมีสิทธิเผชิญหน้ากับภาวะล้มละลายทางการคลังเอาได้ง่ายๆ

 

แน่นอนว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าว ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ ต้องเร่งปรับแผนสร้างวินัยทางการ คลังอย่างเร่งด่วน และหนึ่งในนั้นก็คือการเดินหน้าเพิ่มภาษีบริโภค โดยจะขึ้น 8% ในเดือน เม.ย. 2557 และ 10% ในเดือน ต.ค. 2558 ตลอดจนการเพิ่มภาษีการขายอีก 5% ในปี 2558 ด้วย

 

ทว่า แผนการดังกล่าวก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่รัฐบาลนายกรัฐมนตรีโนดะคาดหวังไว้ เนื่องจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคฝ่ายค้านต่างเห็นตรงกันว่า การเดินหน้าเพิ่มภาษี จะไม่ช่วยอะไรเลย นอกจากซ้ำเติมภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ยาวนานมากกว่า 10 ปี ให้หนักหนาสาหัสมากยิ่งขึ้น

 

เห็นได้ชัดว่า ความขัดแย้งภายในรัฐสภาไดเอตของญี่ปุ่น ยิ่งทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเลวร้ายมากยิ่งขึ้น

 

และปีนี้ก็เป็นอีกปีที่ทุกประเทศอาจมีแนวโน้มจะได้เห็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจอันดับ 3 ของโลกเจริญรอยตามฟากตะวันตก อย่างสหรัฐ และยุโรป

 

ที่มา : ข่าวราคายาง (วันที่ 9 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทุนน้ำมันฯติดลบแล้ว 1.5หมื่นลบ. (09/01/2555)

นายศิวะนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน บอกว่า ขณะนี้ กองทุนพลังงานได้ใช้วงเงินกู้ เพื่อเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1,000 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย ในลักษณะของการออกตั๋วแลกเงิน เนื่องจากสถานะกองทุนน้ำมันฯ เ ริ่มติดลบมากขึ้น โดยปัจจุบันติดลบอยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท

 

ดังนั้นหากรัฐบาลดำเนินตามนโยบายการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ในการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม หรือ แอลพีจี และก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ หรือเอ็นจีวี รวมทั้งการทยอยเรียกเก็บเงินคืนเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับเบนซินและดีเซล ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จะทำให้ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ดีขึ้น

 

นายศิวะนันท์ ยังบอกถึงบทบาทกองทุนน้ำมันฯ ในอนาคตว่า ควรจะลดการใช้เป็นเครื่องมือดูแลราคาพลังงาน เพราะตามกฎหมาย ระบุ ให้มีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน

 

ที่มา : money channel (วันที่ 9 มกราคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลาง ยุโรป (อีซีบี) วางแผนที่จะเปิดตัวโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 3 ปีให้กับธนาคารพาณิชย์เป็นรอบที่ 2 มูลค่าสูงถึง 6 แสนล้านยูโร ในเดือนหน้า

 

ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะสามารถขอเงินกู้ได้มากเท่าที่ต้องการ โดยมีเป้าหมายที่จะเสริมฐานเงินทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ในยุโรป และบรรเทาความวิตกกังลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้สาธารณะของยูโรโซน

 

นายคริสเตียน นอยเออร์ สมาชิกสภาบริหารของอีซีบีกล่าวว่าเรา มีจุดมุ่งหมายที่จะรักษาเสถียรภาพด้านราคาเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ เงินเฟ้อ แต่เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ในปัจจุบันแล้ว เราเชื่อว่าเราจะสามารถอัดฉีดเงินทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ได้โดยไม่ต้องเผชิญ กับความเสี่ยงเงินเฟ้อ

 

เมื่อเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา อีซีบีได้อัดฉีดเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 3 ปี มูลค่ารวม 4.90 แสนล้านยูโร (ประมาณ 6.2612 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับธนาคารพาณิชย์ 500 แห่งใยุโรป

 

ที่มา : money channel (วันที่ 9 มกราคม 2555)

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดในช่วงเช้า เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เนื่องจากนักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤติหนี้ยุโรป แม้ว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือนธันวาคมของสหรัฐจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 155,000 ตำแหน่ง และอัตราว่างงานเดือนธันวาคมจะลดลงสู่ระดับ 8.5% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2552

 

โดยดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นโซลเปิดตลาดที่ 1,832.04 จุด ลดลง 11.10 จุด //ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดที่ 4,118.10 จุด เพิ่มขึ้น 9.60 จุด

ส่วนดัชนีนิเคอิตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดทำการเนื่องในวันหยุด

 

 

รัฐบาลฮังการี ได้แสดงความไม่พอใจที่ฟิทช์ เรทติ้งส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีลงสู่ระดับขยะ โดยกล่าวว่าเป็นการตัดสินใจที่ "ไม่มีเหตุผล" พร้อมกับยืนยันว่า ฮังการียังคงมีความสามารถในการระดมทุนได้จากตลาดการเงิน และมีทุนสำรองด้านการคลังที่มากเพียงพอ

 

ด้านนายอังเดรส์ จิโรซาส์ โฆษกรัฐบาลฮังการีกล่าวว่า การลดเครดิตของฮังการีลงสู่ระดับขยะ ถือเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายและน่าแปลกใจอย่างมาก เพราะขณะนี้ตลาดการเงินกำลังขานรับข่าวรัฐบาลฮังการีที่จะเปิดกว้างต่อการ เจรจาร่วมกับไอเอ็มเอฟ ดังนั้นการตัดสินใจลดอันดับเครดิของฮังการีถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

 

ฟิทช์ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีลง 1 ขั้น สู่ระดับ BB+ ซึ่งเป็น "ระดับขยะ" จากเดิมที่ระดับ BBB- เนื่องจากสถานะการคลังที่ย่ำแย่ของรัฐบาลฮังการีและนโยบายเศรษฐกิจที่อ่อนแอ นอกจากนี้ การเจรจาเรื่องเงินกู้ระหว่างรัฐบาลฮังการี และไอเอ็มเอฟ/อียูที่ยังคงไม่มีความคืบหน้านั้น

 

ที่มา : money channel (วันที่ 9 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นฮ่องกง:ดิ่งกว่า 200 จุด เมินศก.สหรัฐแกร่ง ขณะกังวลหนี้ยุโรป

 

 

 

ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวลงแรงในวันนี้ โดยถูกกดดันจากการที่นักลงทุน มีความวิตกต่อหนี้ยุโรป แม้สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

 

 

ณ เวลา 09.05 น.ตามเวลาไทย ดัชนีฮั่งเส็งดิ่งลง 253.47 จุด หรือกว่า 1% มาที่ 18,339.59

ฟิทช์ เรทติงส์ ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีลง 1 ขั้น สู่สถานะขยะ (junk) ในวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากมูดี้ส์และสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ดำเนินการ เช่นเดียวกันในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

 

ทั้งนี้ ฟิทช์ปรับลดอันดับ Issuer Default Ratings (IDR) สำหรับ สกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินในประเทศระยะยาวของฮังการีลง 1 ขั้น สู่ BB+ และคงแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือไว้ในเชิงลบ

ทางด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 3 เดือน และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 150,000 ตำแหน่ง

 

ส่วนอัตราการว่างงานในเดือนธ.ค.ลดลงสู่ 8.5% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดใน รอบ 3 ปีนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2009 โดยลดลงจากระดับ 8.7% ในเดือนพ.ย. และ นับเป็นสัญญาณแข็งแกร่งที่สุดที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังฟื้นตัว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะคุณเด็กขายของ เฮียนายห้างและเพื่อนๆ

สัปดาห์นี้คงได้ลุ้นราคากันต่อ แต่ดูแล้ว มักจะกลับไปที่เดิมเรื่อย ราคาจะไปต่อไหมเนี่ย

ขอช่วยลุ้นให้ไปต่อแล้วกันนะ ขอบคุณสำหรับข่าวสารต่างๆ ประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือพิมพ์ไปมาก ข้อมูลครบถ้วน

แถมบางเวลา มีบันเทิงแทรกให้อีก ขอบคุณมากๆนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับคุณเด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ครับ ขอบคุณครับ อยากให้สถานการณ์อิหร่านตึงเครียดกว่านี้จัง น้องทองจะได้ขึ้นๆ :_ee

พระศรีปริยัติโมลี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ฝ่ายการต่างประเทศ กล่าวว่า... ทางศาสนาพุทธไม่เคยมีใครทำนายอย่างนอสตราดามุส ส่วนของเราจะพูดในหลักการ หมายความว่าโลกเราเป็นไปตามกฎอนิจจัง ไม่ว่าคนหรือสิ่งของอะไรที่ใหญ่โตมโหฬาร มีอำนาจบารมีมากมายมหาศาลแค่ไหน ก็ต้องถูกทำลายล้าง คือทุกอย่างมันไม่เที่ยง ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปเสมอ

 

"ถ้าโลกจะพินาศย่อยยับดับสูญไป เกิดสงครามล้างโลก สาเหตุก็มาจากกิเลสในใจมนุษย์ ที่มีทั้งความโลภ โมหะ และความหลง ความอยากได้ เหล่านี้เป็นชนวนเหตุที่ทำให้เกิดสงคราม โดยมนุษย์เป็นผู้ทำลายในแง่ของการปฏิบัติ เพราะสงครามที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งก็เนื่องมาจากการแย่งชิงทรัพยากร ความโกรธเกลียด พยาบาทอาฆาตแค้น และแบ่งแยกสีผิว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสหรัฐอเมริกาก็เช่นเดียวกัน"

 

สงครามอิหร่าน-อเมริกา ไฮไลท์ใหญ่ถ้ามีช็อกโลก

Thursday, 05 January 2012 08:13 เอกยุทธ อัญชันบุตร

 

สงครามอิหร่าน-อเมริกา ไฮไลท์ใหญ่ถ้ามีช็อกโลก ลุ้น'หุ้น-น้ำมัน-ทอง-เงิน' กระทบ/ถ้าไม่เกิด...ฉลุย!

 

By : เอกยุทธ อัญชันบุตร

 

"กูรูหุ้น-เอกยุทธ" ออกโรงทำนาย "ตลาดหุ้นไทย-ศก.ไทย" ยังไปได้ แต่ให้จับตาดู "สงครามอิหร่าน-อเมริกา" ในช่วง 3-6 เดือนแรก ถ้าเกิดขึ้นจริงจะเกิดรายการช็อกโลก "หุ้นตกแรง-น้ำมันพุ่ง-ปั่นทองคำ-ค่าเงินร่วง" แต่จะเป็นแค่ช่วงสั้น แต่หากไม่เกิด ทุกอย่างก็ฉลุย

 

วันที่ 4 ม.ค. 2555 นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ "ไทยอินไซเดอร์" และนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวในวันเริ่มต้นทำงานวันแรกในปีใหม่ 2555 ว่า ตลาดหุ้นไทยหลังจากเกิดอุทกภัยเมื่อปลายปี แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น แถมยังเป็นบวกด้วย ประกอบกับ 4 เดือนเศษที่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ ตลาดหุ้นเคลื่อนไหวในลักษณะไม่ปกติ การขึ้น-ลงไม่ได้เป็นไปตามปัจจัยพื้นฐาน จะเห็นว่า ปีที่แล้ว เศรษฐกิจที่มีปัญหาก็คือในตลาดยุโรป เกิดวิกฤตหนี้ในหลายประเทศ และเมื่อปลายปีก็มีอุทกภัยในไทย รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำที่เกาหลีเหนือ ทำให้หลายๆ ตลาดในต่างประเทศเคลื่อนไหวแรง แต่ตลาดหุ้นไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น

 

นายเอกยุทธ กล่าวต่อว่า ปี 255 นี้เชื่อว่า ตลาดยุโรปเองก็คงมีข่าวต่อเนื่อง ทั้งข่าวดี-ข่าวร้ายสลับกันไปในช่วงไตรมาส 1-2 โดยเฉพาะปัญหาการแก้หนี้จะเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่า นักลงทุนทั่วโลกคงเตรียมรับมือกับสถานการณ์แล้ว อาจกระทบต่อราคาหุ้นทั่วโลกบ้าง โดยเฉพาะหากแบงก์ใหญ่ของยุโรปล้ม แต่เชื่อว่า แบงก์ใหญ่ของเยอรมัน-ฝรั่งเศส อาจไม่เกิดปัญหานี้ แต่อาจไปเกิดกับสเปน หรือประเทศที่ไม่ได้กระทบต่อโลกภายนอกมาก

 

"คนไปกังวลกันเรื่องแบงก์จะล้ม แต่ผมคิดว่า แบงก์ใหญ่ๆ ของยุโรป จะใหญ่เฉพาะในยุโรป ไม่ได้ออกไปทั่วโลก ยกเว้นอังกฤษ สวิสเซอร์แลนด์ จึงไม่น่าเกิดเหตุสั่นคลอน ถ้าจะล้มก็ล้มในบ้าน ต่างประเทศคงไม่ใส่ใจมากนัก แต่จุดดีของยุโรปปีนี้ หากดูภาพรวม ที่อังกฤษจะเห็นการช็อปปิ้งที่มีมาก รถสปอตหรูก็ยังขายได้ มียอดขึ้น ไม่ตกเลย สินค้าแบรนด์เนมก็ยังขายดี สะท้อนให้เห็นว่า ใครที่ประเมินวิกฤตโลกจะแย่ คงจะยังไม่เป็นเช่นนั้น เพราะยังมีเงินหมุนเวียนในตลาดโลกมากมาย และคงไม่เกิดผลกระทบอย่างที่กังวลกัน"นายเอกยุทธกล่าวและว่า หากจะเกิดวิกฤตจริงๆ ต้องขึ้นกับหลายประเทศ และอาจเป็นการช็อคชั่วครั้งชั่วคราว ยิ่งปีนี้ อังกฤษก็มีงานโอลิมปิค จะยิ่งส่งผลบวกต่อภาพการท่องเที่ยว โดยเฉพาะตลาดเอเชียที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลัก บรรดาผู้ประกอบการของยุโรป ก็เริ่มเปิดประเทศให้คนจีนเข้าไปจับจ่ายใช้สอย โอกาสที่เศรษฐกิจจะประคองดี ก็ยังมีโอกาส ส่วนตัวเชื่อว่า ปีนี้เศรษฐกิจน่าจะดี รวมถึงตลาดทุนด้วย

 

นายเอกยุทธ กล่าวต่อว่า ที่ต้องติดตามใกล้ชิด คือบ้านเราในช่วงต้นปี คงมีการรอจังหวะเทขายหุ้น พวกที่ซื้อกองทุน LTF* และ RMF* (ดูหมายเหตุช่วงท้าย) เอาไว้ หลายคนจะครบกำหนด และเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ดัชนีอยู่ที่ 600-700 จุด แต่วันนี้อยู่พันกว่าจุด คนที่มีอยู่น่าจะขายทำกำไร และในทางกลับกัน เงินที่ขายไปจะเอาไปทำอะไร อาจนำไปใช้ซ่อมแซมบ้าน เงินก็จะอยู่ในตลาด หรืออาจกลับมาซื้อหุ้น มาลงทุนอีกครั้ง ทำให้เห็นว่า เงินที่อยู่ในตลาด จะไม่หายไป ทำให้การหมุนเวียน-ไหลเวียนในตลาดมีได้สูง

 

แต่เรื่องที่น่ากังวลและส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกคือ สงครามอิหร่านกับอเมริกา ซึ่งอาจจะเกิดขึ้น ควรติดตามให้ใกล้ชิด หากวันใดมีสัญญาณไม่ดี ราคาน้ำมัน-ราคาทองคำก็จะส่งผลกระทบ ช่วงสั้นถ้าเกิดขึ้น อาจมีการช็อกโลก หุ้นอาจร่วงแรง ช่วงนั้นแนะนำให้ซื้อได้ เพราะฝรั่งก่อสงครามก็เพื่อผลประโยชน์ ไม่ใช่ต้องการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ แต่เพื่อขายอาวุธ เพื่อคุมราคาน้ำมัน คุมราคาทองคำ ไฮไลท์ของช่วง 3-6 เดือนแรกจึงอยู่ที่สงครามอิหร่าน-อเมริกา

 

หากเกิดสงครามที่ว่านี้จริง ราคาทองคำจะถูกปั่นขึ้นไป ราคาน้ำมันก็จะสูงขึ้น ค่าเงินก็จะมีผลกระทบด้วย เงินบาทอาจอ่อนค่า เราอาจได้เห็น 32-33 บาทก็ได้ เพราะดูนโยบายเจ้าพ่อดูไบ ที่หากินกับค่าเงินมาหลายรอบ รอบสร้างเนื้อสร้างตัวได้ไปแล้ว 4-5 หมื่นล้านบาท อาจถึงแสนล้านบาทก็ได้ แต่รอบนี้...เงินบาทที่อ่อนค่าจาก 29 บาทกว่า มาวันนี้ 31 บาทกว่า เกือบ 10% ถ้าคนรู้ทิศทางการต่อสู้ค่าเงิน สามารถทำกำไรได้มหาศาล ก็อยากให้ดูจากอดีตที่ผ่านมา ว่าใครใช้อำนาจหากินกับเรื่องนี้ ทุก 1 บาทที่เงินอ่อนลง จะกระทบต่อราคาน้ำมัน การผลิต ราคาทองคำ ถัวเฉลี่ยแล้วจะทำให้ทองคำเกิดการเปลี่ยนแปลง 7-800 บาทต่อออนซ์ การเก็งกำไรทองคำ ถ้าลงแรงๆ ก็ซื้อเก็บได้ ถ้าสงครามเกิดขึ้นจริงจะเกิดการผันผวน สำหรับพวกค้าเงิน ก็ควรเก็บยูเอสดอลล่าร์ เชื่อว่า 3-5% ในช่วง 3 เดือนแรก จะเห็นแน่

 

สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจในบ้านเรา รัฐบาลของนายห้างดูไบ จะคิดโปรเจ็คต์ใหญ่ไว้ก่อน เพื่อให้คนวิจารณ์ และลืมเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ถือว่า กล้าคิดยังดีกว่าไม่คิดทำอะไรเลย ดังนั้นช่วงสั้น ๆ 3-6 เดือน ตลาดหุ้นยังดูดี อยู่ในภาวะสดใส ไม่น่าเลวร้ายมากนัก จะมีผลกระทบก็ต่อเมื่อมีภาวะสงครามอิหร่าน-อเมริกา ถ้าหุ้นลงแรง ก็ซื้อเก็บได้ เมืองไทยเองก็เป็นทางเลือกเล็กๆ ที่ต่างชาติจะมาลงทุน จึงควรลงทุนเฉพาะกลุ่มธนาคาร-พลังงาน-สื่อสาร รวมถึงวัสดุก่อสร้าง และอาหาร

 

"ระยะกลางไปถึงปลายปี เดี๋ยวนี้ค่อนข้างดูยาก เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกผันแปรมาก แต่โอกาสขึ้น 15-20% ในปลายปีอาจได้เห็น 1300 จุด แต่คงไม่ไปไกลมากนัก นอกเสียจากว่า ทุกวิฤตไม่เกิดขึ้นคือ สงครามอิหร่านไม่เกิด ผู้นำเกาหลีเหนือไม่ฝักใฝ่สงคราม วิกฤตหนี้ในยุโรปแก้ไขได้ รวมถึงปัจจัยการเมืองบ้านเรา อยากให้นักลงทุนตัดความกังวล เพราะหุ้นบ้านเราไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของสภาวะทางการเมือง เพราะผู้ที่ดูแลตลาดทุนบ้านเรา จะสามารถประคับประครองราคาได้ตลอดเวลา ส่วนจะเล่นการเมืองรุนแรง สะเทือนถึงตลาดหุ้นหรือไม่นั้น คิดว่าคงไม่น่าเกิด"นายเอกยุทธระบุ

 

หมายเหตุ :

*LTF ย่อมาจากคำว่า Long Term Equity Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือกองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน

 

*RMF ย่อมาจากคำว่า Retirement Mutual Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง (กองทุนรวม หมายถึงการนำเงินของผู้ลงทุนหลาย ๆ คนมารวมกัน แล้วมีมืออาชีพ ซึ่งก็คือบริษัทจัดการ คอยบริหารจัดการเงินตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้) ซึ่งมีวัตถุประสงค์พิเศษแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป คือ RMF เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสะสมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ทางการให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มีสงคราม ทองแพง ก็พลอยทำให้น้ำมันแพงขึ้น สุดท้ายเราก็เดือดร้อนอยู่ดี ต้องเอาเงินกำไรทองมาซื้อน้ำมันแพงๆ ใช้

 

 

คอลัมน์ คนเดินตรอก  โดย วีรพงษ์ รามางกูร ประชาชาติธุรกิจ หน้า 2 วันที่ 03 มีนาคม 2546  ปีที่ 26 ฉบับที่ 3458 (2658)

 

ในที่สุดทุกคนหรือกว่าร้อยละเก้าสิบก็มีความเห็นตรงกันว่าสงครามในตะวันออกกลางระหว่างสหรัฐกับอิรักคงจะต้องเกิดขึ้นแน่ ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างที่กล่าวกันมาแล้ว

 

ทีนี้ถ้าสงครามในตะวันออกกลางเกิดขึ้นก็น่าจะลองมาคาดการณ์กันต่อไปว่าผลต่อเศรษฐกิจโลก และผลต่อเศรษฐกิจของเราจะเป็นอย่างไรกันบ้าง

 

ยังจำได้ว่าเมื่ออิรักบุกคูเวตเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2533 หรือ เมื่อกว่า 12 ปีมาแล้วนั้น เกิดผลอย่างไรบ้าง และบ้านเราถูกกระทบอย่างรุนแรง กล่าวคือ ตลาดหลักทรัพย์ของไทย และในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกต่างก็ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วเป็นข่าวใหญ่

 

ต่อจากนั้นราคาน้ำมันก็ถีบตัวสูงขึ้นไปทุกวัน ทำให้การคาดการณ์เรื่องอัตราเงินเฟ้อของโลกถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การขึ้นราคาของน้ำมันเป็นเรื่องค่อนข้างใหญ่ และกระทบกระเทือนความรู้สึกของคนทั่วไป ขณะนั้นบ้านเรายังไม่ได้ใช้ระบบราคาน้ำมันลอยตัว เรายังใช้ระบบการควบคุมราคาน้ำมันชนิดต่างๆ อยู่ ทำให้เกิดปัญหาอย่างมากว่าจะทำอย่างไร ในที่สุดรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีก็ต้องประกาศขึ้นราคาน้ำมันหลายครั้ง แม้ว่าท่านจะได้พูดหลายครั้งว่ารัฐบาลจะไม่ขึ้นราคาน้ำมัน จะนำเงินคงคลังซึ่งขณะนั้นมีอยู่กว่าแสนล้านบาทออกมาใช้ก็ตาม เพราะเราต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อน้ำมันเป็นจำนวนเงินมากขึ้นเป็นจำนวนมาก

 

ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่นกับเงินมาร์กของเยอรมัน และเงินตราสกุลอื่นๆ ในยุโรปลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะนั้นค่าเงินบาทของเรายังตรึงค่าไว้กับตะกร้าของเงิน ซึ่งมีสัดส่วนของเงินดอลลาร์เป็นสัดส่วนที่สูงมาก ก็พลอยอ่อนค่าลงไปด้วยเมื่อเทียบกับเงินเยน และเงินตราสกุลสำคัญๆ ในยุโรป ทองคำมีราคาแพงขึ้นอย่างมาก เพราะตลาดตื่นตระหนก ผู้คนก็เลยเทเงินดอลลาร์ออกมาซื้อทองคำเป็นจำนวนมาก นอกจากจะไปซื้อเงินตราสกุลอื่นๆ ที่คิดว่ามีเสถียรภาพและมีความมั่นคงมากกว่า

 

การขึ้นราคาน้ำมันส่งผลให้การคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยของเงินดอลลาร์ถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จำได้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของเงินดอลลาร์มีอัตราสูงถึงร้อยละ 21 หรือร้อยละ 22 ขณะนั้นทางการของเรากำหนดเพดานเงินกู้ของเราไว้ที่ 16 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดระหว่างประเทศ จึงเป็นเหตุให้เงินตราต่างประเทศไหลออกในรูปการคืนหนี้ต่างประเทศ ประกอบกับดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุนสำรองลดลงเพราะดุลการชำระเงินขาดดุล ผลก็คือ เกิดภาวะเงินตึงตัวขึ้นในตลาดการเงินอย่างรุนแรง ธนาคารและสถาบันการเงินเรียกหนี้คืนจากลูกค้า และไม่มีสภาพคล่องพอที่จะให้สินเชื่อใหม่ได้เลย

 

ในที่สุดทางธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังจึงต้องประกาศขึ้นเพดานดอกเบี้ยเงินกู้จนเต็มเพดานตามที่กฎหมายอนุญาตไว้คือ ร้อยละ 19 ต่อปี และเป็นสาเหตุที่ได้มีการแก้กฎหมายที่กำหนดเพดานดอกเบี้ยไว้ในกฎหมาย แต่ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยไปกำหนดเองได้

 

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากสาเหตุที่มาจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมาก และรวดเร็วแล้ว การค้าของโลกก็แทบว่าจะหยุดชะงัก เพราะเรือสินค้าไม่สามารถผ่านเข้าไปในอ่าวเปอร์เซียเพื่อผ่านคลองสุเอชไปยุโรปได้ ไม่มีใครกล้าสั่งสินค้า และไม่มีใครกล้าส่งสินค้า เรือต้องอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ค่าขนส่งทางเรือถีบตัวสูงขึ้น เพราะระยะทางไปยุโรปต้องอ้อมทวีปแอฟริกา บวกกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพงขึ้นค่าขนส่งจึงถีบตัวแพงขึ้นอย่างมาก

 

ในขณะเดียวกัน การท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก จำนวนคนเดินทางลดลง เครื่องบินที่บินไปยุโรปก็ต้องอ้อมบริเวณที่เกิดสงคราม ทำให้ดุลบริการของประเทศเราซึ่งเกินดุลก็ถูกกระทบกระเทือน รวมแล้วดุลบัญชีเดินสะพัดจึงขาดดุลมากขึ้นยิ่งขึ้น รวมกับเงินไหลออกด้วย ทำให้ดุลการชำระเงินของเราซึ่งเคยเกินดุลก็กลับกลายเป็นขาดดุล แต่เนื่องจากขณะนั้นเรายังใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยตรึงไว้กับตะกร้าของเงินตราสกุลสำคัญ ผลกระทบดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนมากนัก

 

แต่เมื่อกองทัพของพันธมิตรนำโดยสหรัฐบุกเข้าไปในคูเวต เพื่อโจมตีกองทัพอิรักที่เข้ามายึดครองคูเวตถอยร่นกลับเข้าไปในอิรัก ราวๆ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 สถานการณ์ก็พลิกผันกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะกองทัพพันธมิตรสามารถรุกไล่ยึดพื้นที่ในคูเวตกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็ว สถานการณ์จึงกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็วเช่นกัน คือตลาดหลักทรัพย์ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ราคาน้ำมันลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกลดลงภายในเวลา 4-5 เดือน ก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

 

การค้าระหว่างประเทศ การขนส่งการเดินเรือก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติในเวลา 5-6 เดือน แม้ว่าบ่อน้ำมันของคูเวตกว่า 700 บ่อจะถูกเผา และต้องใช้เวลานานกว่าจะสามารถดับไฟได้ทั้งหมด

 

เมื่อกองทัพพันธมิตรของสหประชาชาติยึดพื้นที่คูเวตกลับคืนมาได้ และได้รุกเข้าไปในอิรักได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่ได้รุกเข้าไปถึงแบกแดด และไม่ได้เข้ายึดครองอิรัก แต่ถอยทัพกลับไปเมื่อเสร็จภารกิจแล้ว

 

แต่สงครามเที่ยวนี้ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะออกมาในรูปใดก็เป็นเรื่องที่น่าจะลองพิจารณาดู อาจจะมีบางส่วนคล้ายกับสถานการณ์คราวก่อน หรืออาจจะมีบางอย่างแตกต่างไปจากคราวที่แล้วก็ได้

 

คราวนี้เมื่อสงครามเกิดขึ้นก็เป็นที่คาดกันได้ว่าราคาน้ำมันคงจะถีบตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกับคราวก่อน แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกถีบตัวสูงขึ้นไปจนเกือบจะถึง 40 เหรียญสหรัฐอยู่แล้วก่อนจะเกิดสงคราม แต่เมื่อสงครามเกิดขึ้นราคาน้ำมันคงจะสูงขึ้นไปอีกจนถึง 50 หรือกว่า 50 เหรียญสหรัฐก็ได้

 

ถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้นไปอีกคราวนี้ จะทำให้ดอกเบี้ยในตลาดโลกสูงขึ้นเหมือนคราวที่แล้วหรือไม่นั้นน่าคิด เพราะขณะนี้เศรษฐกิจของอเมริกาอยู่ในสภาวะซบเซาอย่างมาก หรืออยู่ในภาวะ "กับดักสภาพคล่อง" ถ้าสงครามสงบลงอย่างรวดเร็ว ราคาน้ำมันลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างมาก อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอาจจะไม่ถีบตัวสูงขึ้นเหมือนอย่างคราวที่แล้วก็ได้ แต่ถ้าสงครามยืดเยื้อซึ่งไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น ราคาน้ำมันที่แพงจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และอาจจะดึงดอกเบี้ยสูงขึ้น ถ้าเป็นอย่างนั้นตลาดหุ้นนิวยอร์กก็ยิ่งจะถูกกระทบอย่างมาก ภาวะเศรษฐกิจซบเซาในสหรัฐก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น ถ้าดอกเบี้ยสูงขึ้น ผลกระทบต่อตลาดหุ้นและสงครามยังคงจะมีความรุนแรง ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐทรุดลงอีกได้

 

ผลอีกอย่างหนึ่งที่น่าคิดก็คือ ค่าเงินดอลลาร์ เมื่อเทียบกับเงินยูโรของยุโรป และเงินเยนจะเป็นอย่างไร ในกรณีนี้ผลน่าจะเหมือนกับคราวที่แล้ว คือ ของมีราคาแพงขึ้น ค่าเงินดอลลาร์จะตกต่ำลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรของยุโรป และเงินเยนของญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้ราคาทองก็ขึ้นไปรออยู่แล้ว ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเงินยูโร และเงินเยนก็เริ่มตกลงไปแล้ว แต่ก็คือ ค่าเงินดอลลาร์จะมีความผันผวนขึ้นๆ ลงๆ อย่างมากในช่วงที่สงครามกำลังดำเนินอยู่ และขึ้นลงตามข่าวของสงครามราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น อาจจะไม่กระทบกระเทือนต่อราคาขายปลีกในประเทศไทย เพราะรัฐบาลประกาศตรึงราคาไว้แล้วเป็นเวลา 3 เดือน แต่กองทุนน้ำมันจะติดลบมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และถ้าสงครามยืดเยื้อ และราคาน้ำมันไม่ลดลงมาสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็วก็คงจะมีปัญหา

 

เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้นแต่ดอกเบี้ยยังไม่สูงขึ้นในระยะสั้น ตลาดหุ้นที่นิวยอร์ก และยุโรปจะเป็นอย่างไร มีคนเห็นไปสองทาง ทางแรกราคาหุ้นจะตกลงไปอีก และเมื่อสงครามเสร็จลงอย่างรวดเร็ว ราคาหุ้นก็คงจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าสงครามยืดเยื้อไปอีก จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อแล้วดอกเบี้ยสูงขึ้น ตลาดหุ้นทั่วโลกก็คงจะแย่ อีกความคิดหนึ่งเห็นว่า ราคาน้ำมันได้ขึ้นไปมากแล้ว ขณะนี้ก็สูงสุดตั้งแต่สงครามอ่าวเปอร์เซียจบลงเมื่อ 12 ปีก่อนแล้ว ราคาหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงไปมากแล้ว และได้ซึมซับข่าวร้ายของสงครามมาโดยตลอด ขณะนี้ทุกคนอยู่ในภาวะอึดอัด และมีความกดดันให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปเรื่อยๆ และคนส่วนใหญ่ต่างก็เชื่อว่า สงครามในอิรักจะต้องเกิดขึ้นแน่อยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อสงครามเกิดขึ้น ตลาดที่เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไร หรือการคาดการณ์ล่วงหน้า เช่น ตลาดหุ้น ตลาดสินค้าล่วงหน้า ฯลฯ ซึ่งได้ซึมซับข่าวร้ายมาเป็นเวลานานแล้วก็จะฟื้นตัวทันที จะเหลือความไม่แน่นอนอยู่อีกอย่างเดียว คือ สงครามจะยืดเยื้อ หรือจะยุติลงโดยเร็ว ซึ่งประเด็นนี้ก็น่าคิดเหมือนกัน

 

ความผันผวนทางการเงินน่าจะเป็นอีกเรื่องที่เราคงจะได้เห็น อันแรกก็คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยน แนวโน้มก็คือ ค่าเงินดอลลาร์คงจะตกลงอย่างมาก ถ้าประเทศที่มีดอล ลาร์มากๆ เช่น ประเทศในกลุ่ม จี8 ไม่ออกมาลงขันพยุงราคาของดอลลาร์ไว้

 

ส่วนค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์จะเป็นอย่างไรก็คงขึ้นอยู่กับนโยบาย แต่คงต้องแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ แต่อ่อนลงเมื่อเทียบกับยูโร และเงินเยน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคงขึ้นอยู่กับนโยบายของยุโรป และญี่ปุ่นด้วย

 

ที่น่าคิดก็คือ อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกคราวนี้จะเป็นอย่างไร ความเห็นของผมก็คือ ขณะนี้เศรษฐกิจของสหรัฐกำลังอยู่ในช่วงขาลง การที่ราคาน้ำมันขึ้นย่อมทำให้เกิดความกดดันทางด้านเงินเฟ้อ เพราะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งๆ ที่กำลังซื้ออ่อนแออยู่มาก อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ยังต่ำอยู่ทางธนาคารกลางจะคิดอย่างไร ในระยะสั้น 3 เดือน ธนาคารกลางสหรัฐคงไม่ยอมขึ้นดอกเบี้ย แต่การลดดอกเบี้ยเลิกคิดได้ แต่ถ้าสงครามยืดเยื้อ หรือราคาน้ำมันขึ้นต่อไปอีก ค่าขนส่งทั้งทางทะเลและอากาศยังสูงอยู่เป็นเวลานานกว่า 6 เดือน ค่าเงินดอลลาร์ลดลงเรื่อย เพิ่มความกดดันในด้านเงินเฟ้อเข้าไปอีก ก็ไม่นึกว่าทางการสหรัฐจะสามารถกดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่อไปได้หรือไม่ ถ้าดอกเบี้ยต้องขึ้น ทุกอย่างก็จะเลวร้ายลงไปอีก กล่าวคือ ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ยุโรป และที่อื่นก็ต้องปรับตัวลงไปอีก

 

ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ และของโลกก็คงต้องลดลงไปอีกที่คาดกันว่า สงครามจะช่วยเศรษฐกิจสหรัฐให้ดีขึ้นนั้นไม่น่าจะจริง

 

สำหรับประเทศของเราสถานการณ์ก็คงต้องตามไปกับสถานการณ์เศรษฐกิจของโลก ที่ต้องระวังก็คือ ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันที่สูงขึ้น และการส่งออกตกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปยุโรปและอเมริกา การท่องเที่ยวที่ลดลง อาจจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เคยเกินดุลกลายเป็นขาดดุลไปก็ได้ การตรึงราคาน้ำมันควรทำเป็นมาตรการชั่วคราวจริงๆ ถ้าสงครามยืดเยื้อต้องขึ้นราคาไปตามความเป็นจริง

 

ถ้าสงครามเสร็จลงเร็วก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ายืดเยื้อจนเกิดภาวะเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยขยับขึ้น ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนั้น เศรษฐกิจของอเมริกาคงจะแย่หนักลงไปอีก และอาจจะดึงทั่วโลกลงไปอีก

 

เราคงต้องคิดเผื่อไว้บ้างว่า ถ้าสงครามยืดเยื้อยาวนานเกินกว่า 6 เดือน เราจะต้องพบกับอะไร จะตั้งรับอย่างไร อย่าคิดแต่ว่าสงครามจะเกิด และคงจะจบลงในเวลาสั้นๆ เท่านั้น

 

มันอาจจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองร่วงลงในวันนี้ โดยตลาดขาดปัจจัยบวกที่เคยดันให้ราคาทอง พุ่งขึ้นถึง 3 % ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจาก ความกังวลเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ยูโรโซน

 

ณ เวลา 09.34 น.ตามเวลาไทย ราคาทองสปอตร่วงลงสู่ 1,606.64 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยเป็นการร่วงลงต่อเนื่องจากวันศุกร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นอังกฤษปิดตลาดปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับ แรงหนุนส่วนใหญ่จากหุ้นกลุ่มน้ำมัน หลังจากบริษัทแมคควารีแสดงความเห็นในทางบวก ต่อหุ้นกลุ่มนี้ อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มธนาคารและเหมืองแร่ลดช่วงบวกลง หลังจากรัฐบาล สหรัฐเผยตัวเลขการจ้างงาน

 

 

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ปิดบวกขึ้น 25.42 จุด หรือ 0.45 % สู่ 5,649.68 หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 5,623.36-5,682.78 วอลุ่มการซื้อขายอยู่ที่ระดับเพียง 77 % ของค่าเฉลี่ย 90 วัน

 

 

ดัชนีหุ้นกลุ่มน้ำมันพุ่งขึ้น 1.32 % ในวันศุกร์ และส่งผลบวกราว 15 จุดต่อ ดัชนี FTSE 100 ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มนี้เพื่อใช้แทนการลงทุนในน้ำมัน และเนื่องจากหุ้นกลุ่มนี้ถือเป็นหุ้นกลุ่มปลอดภัย หรือหุ้นของบริษัทที่จ่าย เงินปันผลสูงและมีงบดุลแข็งแกร่ง

 

บริษัทแมคควารี รีเสิร์ชระบุว่า ความเสี่ยงทางการเมืองในภูมิภาคที่มีการ ผลิตน้ำมันอยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจในตลาดที่มีการเติบโตเร็ว และแมคควารีปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ประจำปี 2012 สู่ 116 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดตลาดวันศุกร์ปรับขึ้น 0.32 เซนต์ หรือ 0.3 % สู่ 113.06 ดอลลาร์

แมคควารีปรับขึ้นราคาเป้าหมายของหุ้นบางตัวในกลุ่มน้ำมันด้วย ซึ่งรวมถึง หุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ โดยหุ้นตัวนี้ปิดตลาดวันศุกร์ทะยานขึ้น 1.7 %

 

ดัชนีหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ปิดตลาดปรับขึ้น 0.23 % ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคาร บวกขึ้น 0.29 % โดยหุ้นสองกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ในขณะที่ตลาดหุ้น สหรัฐร่วงลง และเทรดเดอร์กล่าวว่าตลาดได้ปรับตัวรับตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ของสหรัฐไปแล้วล่วงหน้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส จะประชุมร่วมกันในวันนี้ เวลา 11.00 น.ตามเวลายุโรป ซึ่งนับเป็นการประชุมร่วมกันครั้งแรกในปี 2555 โดยผู้นำทั้งสองจะร่างแผนแม่บทเพื่อแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนในอีก 3 เดือนข้างหน้านี้

 

นอกจากนี้ ผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศสจะหารือกันเกี่ยวกับระเบียบวินัยด้านการคลังตามที่ผู้นำของ 17 ประเทศยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการประชุมเม่อวันที่ 9 ธ.ค.ปีที่แล้ว

 

ทั้งนี้ หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมแล้ว ผู้นำทั้งสองจะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในเวลา 13.30 น.ตามเวลายุโรปในวันนี้

 

การประชุมระหว่างผู้นำทั้งสองมีขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ตลาดการเงินทั่วโลกกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ยุโรป หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศต่างๆในยุโรปปรับตัวสูงขึ้น โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลอิตาลีพุ่งขึ้นเหนือระดับ 7% เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่มีเสถียรภาพและสะท้อนถึงภาระหนี้สินที่รัฐบาลจะต้องแบกรับในวันข้างหน้า

 

หลังจากการประชุมในวันนี้ผ่านพ้นไปแล้ว กลุ่มผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) จะจัดประชุมร่วมกันในวันที่ 30 ม.ค.นี้ โดยนายเฮอร์มาน แวน รอยปุย ประธานอียูเปิดเผยว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอียูครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปที่การจ้างงาน เนื่องจากปัญหาการว่างงานถือเป็นวาระเร่งด่วนในขณะนี้ เมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์ที่ว่า การขยายตัวของตัวเลขจ้างงานจะเป็นศูนย์ในประเทศส่วนใหญ่ของอียู และคาดว่าบางประเทศอาจจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 9 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดจะคึกคักมากขึ้น (09/01/2555)

เริ่มต้นปีใหม่มา 1 สัปดาห์ แต่สำหรับตลาดหุ้นมีการเทรดกันแค่ 3 วัน

 

ทำการเท่านั้น คงพูดได้ว่านักลงทุนยังกลับมาไม่พร้อมหน้า หรือที่อยู่ในตลาดก็ยังไม่ลงมืออย่างจริงจัง เพราะดูจากวอลุ่มตลาดที่อยู่แค่ระดับหมื่นกว่าล้านบาท นับว่ายังน้อยมากหรือยังไม่มีการลงทุนกันอย่างเต็มมือจริงๆ ดังนั้น สัปดาห์นี้ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม และจะเป็นวันแรกที่จะมีวันเทรดครบ 5 วันทำการ จะทำให้นักเก็งกำไรกล้าที่จะเข้ามาเก็งกำไรอย่างเต็มที่มากขึ้น เนื่องจากจะมีเวลาในการสร้างบรรยากาศได้ดีและต่อเนื่อง จึงมองว่าภาวะตลาดในสัปดาห์นี้จะคึกคักมากกว่าสัปดาห์ก่อน

 

ประเด็นที่ควรคิดพิจารณาในการลงทุนในตลาดหุ้น คือ ปี 2555 นี้ ได้มีการคาดหมายกันมากว่า หลายสิ่งหลายอย่างจะดีกว่าปีก่อน เริ่มดูจากปัญหาของสหรัฐที่ดูอ่อนแอมาตลอดปี มาปีนี้เริ่มมีสัญญาณที่ดีเป็นบวกมากขึ้น ทำให้เกิดความเชื่อกันมากขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังจะฟื้นตัว ย่อมมีผลดีกับตลาดหุ้นทั่วโลกไปด้วย ส่วนปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรปก็เริ่มมีสัญญาณบวกเช่นกัน หลังจากที่มีความพยายามคิดและหามาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือ ในเมื่อมีการเพิ่มปริมาณเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบมากขึ้น ย่อมจะมีผลทำให้ปัญหาทางการเงินคลี่คลายไปได้มาก แม้จะยังไม่ปรากฏผลที่ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมดก็ตาม เพิ่มปริมาณเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบมากขึ้น ย่อมจะมีผลทำให้ปัญหาทางการเงินคลี่คลายไปได้มาก แม้จะยังไม่ปรากฏผลที่ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมดก็ตาม ก็นับเป็นสัญญาณที่ดีกับตลาดมากกว่าเดิม

 

ส่วนเรื่องราคาน้ำมันก็มีแนวโน้มจะสูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยปกติในช่วงฤดูหนาวอย่างนี้ ความต้องการใช้น้ำมันย่อมมีมากขึ้นอยู่แล้ว และเมื่อเกิดการคว่ำบาตรทางอิหร่านก็มีผลทำให้ราคาน้ำมันจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก มองในด้านเศรษฐกิจอาจเกิดภาวะเงินเฟ้อสูง และเศรษฐกิจอาจชะลอตัวได้ แต่มองในแง่ธุรกิจพลังงานกลับมีผลดี ทำให้ธุรกิจด้านพลังงานจะมีผลกำไรที่สูงกว่าปกติด้วย จึงต้องพิจารณากันให้ดีๆ ว่าธุรกิจอะไรแย่ ธุรกิจอะไรดี อย่าไปเหมารวมว่าต้องแย่ทั้งหมด เพราะจะทำให้ไม่สามารถเลือกหุ้นที่ดีมาลงทุนได้ จะเป็นการพลาดการลงทุนที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีไปด้วย

 

ที่น่าพิจารณามองที่สุดคือ การคาดหมายการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2555 นี้ หลายคนหลายสำนักก็เชื่อเหมือนกันว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะดีกว่าปีก่อนแน่นอน เพราะปีก่อนคาดว่าจะโตแค่ 1.1% เท่านั้น ดังนั้นปีนี้ไม่ว่าใครจะบอกว่าโต 5% หรือ 7% ก็คือโตกว่าปีก่อนมากนั่นเอง ก็ลองพิจารณาดูว่าปีกลายเศรษฐกิจโต 1.1% แต่ตลาดไม่โต ก็แปลว่าตลาดถูกบิดเบือนไม่เป็นจริง ดังนั้นในปีนี้หากจะให้ตลาดเป็นจริง เพียงเอาอัตราการเติบโตทั้ง 2 ปีมาคิดก็น่าจะได้คำตอบว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยในปี 2555 นี้ ควรยืนเหนือ 1,200 จุดได้ เมื่อได้คำตอบอย่างนี้ก็คงจะพอคิดออกว่าควรลงทุนอย่างไรในขณะนี้ เพราะดัชนีตลาดในปัจจุบันยังค่อนข้างทรงตัว และไม่ต่างจากดัชนีต้นปีกลายเลย

 

โดยสรุปแล้วมองว่า เมื่อนักลงทุนกลับมาพร้อมหน้ากันในตลาดสัปดาห์นี้แล้ว คงจะทำให้ตลาดกลับมาคึกคักได้มากขึ้น ยิ่งนักลงทุนต่างชาติมีการซื้อๆ ขายๆ แทบทุกวันอย่างนี้ แสดงว่าพร้อมที่จะเล่นเกมการเก็งกำไรด้วย จึงทำให้ภาวะตลาดจะคึกคักได้มากกว่าที่ผ่านมา แต่ความคึกคักจากบรรยากาศการเก็งกำไรสูง ย่อมทำให้มีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย ดังนั้นใครที่นิยมการเก็งกำไร ก็ต้องใช้ความพิถีพิถันในการเลือกจังหวะการลงทุนให้ดีด้วย ส่วนทางด้านผู้ที่ต้องการจะลงทุนจริงๆ ควรพิจารณาผลประกอบการและดูเรื่องเงินปันผลจ่ายด้วยจะได้ความคุ้มค่าที่แน่นอน เพราะไม่เกิน 3 เดือนก็จะมีการจ่ายเงินปันผลของปี 2554 ออกมาแล้ว หุ้นหลายตัวจ่ายปันผลปีละครั้งน่าสนใจมาก ส่วนที่จ่ายงวดครึ่งปีหลังก็ควรสนใจเช่นกัน ดีกว่าลงทุนในหุ้นที่ไม่มีเงินปันผลจ่าย.

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ –(วันที่ 9 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

48a9ebfa5733a5d263bd97054193685c_1235357172.gif

 

50ff5fe78117aa575d3f76c5f3774a2d_1267697110.gif

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นกำลังใจให้กับตัวเอง และเพื่อนๆทุกๆคน เวลาราคาทองขึ้น แล้วทำไมต้องลงด้วย ? อย่างไรก็ตาม ก็ต้องประเมินอย่างระมัดระวัง

 

60e54c062999d323416052329e37050f_1235017399.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...