ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

GoldGeneration

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    334
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย GoldGeneration

  1. เพลง "สวรรค์บ้านนา" ที่ผมชอบเป็นพิเศษ ด้วยให้บรรยากาศลึกซึ้งของชีวิตชนบท เมื่อสี่ห้าสิบปีก่อน ได้เป็นอย่างดี http://www.youtube.com/watch?v=JDFdSGDJgq8ก้าน แก้วสุพรรณ - สวรรค์บ้านนา
  2. อิ..อิ.... ต้องขอโทษ คุณ ย่าหยา ด้วย ผมเพิ่งย้อนมาเห็นที่เข้ามาทักทายพูดคุยกัน ก้อต่อเมื่อผ่านไปกว่า 1 เดือน ยินดีที่ได้รู้จักครับ และดีใจยิ่งที่มีเพื่อนมาช่วยกันจัดเพลง ดีครับ... คุณมัย จะได้มีเพื่อนสนุกสนานกัน คุณ ย่าหยา ขอเพลงของ "ก้าน แก้วสุพรรณ" ไว้นานละ ขอมอบเพลงไพเราะเหล่านี้ ฝากไปให้คุณป้าและคุณลุงด้วยนะครับ ทั้งสองท่านน่าจะอาวุโสกว่าผมไม่มากหรอก อยากได้เพลงอะไรอีก ขอมาได้เลยครับ ไม่ต้องเกรงใจ ให้ผมจัดเอง บางทีก็ตื้อๆ เหมือนกัน เริ่มต้นด้วยเพลงที่ดังที่สุดของ "ก้าน แก้วสุพรรณ" ที่ดังข้ามยุคสมัยมาอย่างท้าทาย จวบจนบัดนี้ ผมรับรองว่า ไม่มีใครขับร้องเพลงนี้ได้ลึกซึ้งกินใจเท่าต้นฉบับอีกแล้วครับ เพลง "น้ำตาลก้นแก้ว" ครับ http://www.youtube.com/watch?v=PrDZ2TE_9ygก้าน แก้วสุพรรณ - น้ำตาลก้นแก้ว
  3. GoldGeneration

    Songs in My Soul

    เพลงเกี่ยวกับน้ำอีกเพลงนึงครับ เพลงดังของ วง CCR "Who'll Stop The Rain" Creedence Clearwater Revival: Who'll Stop The Rain
  4. GoldGeneration

    Songs in My Soul

    ขอน้องน้ำ "No Return" ด้วยนะ http://www.youtube.com/watch?v=SbgcSAgbcrs Marilyn Monroe in 'The River of No Return' (1954)
  5. * เบ็ดเตล็ด - สิ่งของเครื่องใช้ที่ทำจากผ้า โดยเฉพาะเสื้อผ้าต้องรีบนำมาซักทำความสะอาดฆ่าเชื้อโดยเร็วก่อนขึ้นรา ให้ซักด้วยน้ำร้อน แล้วตากแดดให้แห้ง - เอกสารที่สำคัญ, ภาพถ่าย, และหนังสือ ที่เปียกน้ำ ในขั้นแรกให้ล้างเอาสิ่งสกปรกออกก่อนอย่างระมัดระวัง แล้วเก็บใส่ไว้ในถุงพลาสติก จากนั้นให้นำไปแช่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นชนิดที่เป็นแบบไม่มีน้ำแข็งเกาะ เพื่อป้องกันการขึ้นรา เพื่อนำไปทำความสะอาดในภายหลัง เมื่อคุณมีเวลาที่จะค่อยๆทำความสะอาดให้นำออกมาละลาย และค่อยปล่อยให้ แห้งอย่างช้าๆ บางครั้งการทำความสะอาดของเหล่านี้อาจต้องใช้คนที่เป็นมืออาชีพ *** มีของหลายสิ่งที่เมื่อแช่อยู่ในน้ำแล้ว ไม่คุ้มค่าความเสี่ยงในการนำกลับมาใช้งาน ควรตัดใจกำจัดไป เช่น ที่นอนฟูก, หมอน, ของเล่นเด็กตุ๊กตา ฯลฯ (โปรดกรุณาอย่านำไปบริจาคให้ผู้ด้อยโอกาสด้วยนะคะ) ขอบคุณข้อมูลจาก คุณกมลพรรณ (กอวัฒนา) นุชผ่องใส กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท ฟาร์อีสต์เพียร์เลส (ไทยแลนด์) 1968 จำกัด Source : Far East Peerless (Thailand) 1968 Co.,Ltd.
  6. 4. เครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ * เฟอร์นิเจอร์บิลด์อินต่างๆ, ตู้ โต๊ะ เคาน์เตอร์ ทั้งหลายภายในบ้านที่ยังสามารถใช้งานได้อยู่ จำเป็นมากๆที่จะต้องมีการทำความสะอาดขัดล้างด้วยสารละลายคลอรีน หรือ ผลิตภัณฑ์น้ำยาเคมีทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อต่างๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อคน หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่นที่เป็นสารชีวภาพเอนไซม์ก่อนที่จะนำมาใช้งาน ต่อไป การทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์บิลด์อินต่างๆ ต้องทำไปพร้อมๆกับการทำความสะอาดพื้น ผนัง กำแพงภายในตัวบ้าน ซึงหลังจากเสร็จขั้นตอนในการทำความสะอาดฆ่าเชื้อแล้ว ให้เปิดหน้าต่างให้มีลมโกรก อากาศจะได้ระบายออกไป หากสามารถเปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ(ที่ทำความสะอาดแล้ว) จะช่วยให้เฟอร์นิเจอร์แห้งเร็ว ขึ้น หากมีพัดลมหอยโข่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมจะช่วยให้พื้นผิวต่างๆแห้งสนิทเร็ว ขึ้น จำเป็นต้องให้พื้นผิวต่างๆแห้งสนิทจริงๆ จึงจะสามารถนำสิ่งของเข้าไปเก็บไปใส่ได้ * ส่วนเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวต่างๆ เช่น โต๊ะ,ตู้, เตียง, ที่นอนยางพารา ที่สามารถยกออกมาได้ ให้นำออกมาทำความสะอาดในที่โล่งแจ้ง อากาศระบายถ่ายเทได้ดี โดยใช้วิธีเดียวกันกับการทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์บิลด์อิน แล้วจึงนำไปตากแดดผึ่งลมไว้จนแห้งสนิทที่สุด จึงค่อยนำกลับเข้าไปในตัวบ้าน เพื่อใช้งานต่อไป * เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้เนื้ออ่อน, ไม้วีเนียร์ ,ไม้อัด มักไม่คุ้มค่าในการลงทุนลงแรงทำความสะอาดและซ่อมแซม ต่างจากเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ส่วนเฟอร์นิเจอร์หุ้มด้วยหนัง, หุ้มด้วยผ้า ที่บุด้วยฟองน้ำข้างใน หากพิจารณาว่าสภาพโครงยังดีอยู่และคุ้มค่าที่จะนำไปหุ้มใหม่ โดยเปลี่ยนฟองน้ำข้างในใหม่หมด จึงสามารถจะนำกลับมาใช้ได้ * วอลล์เปเปอร์ที่แช่อยู่ในน้ำควรจะลอกออกเพื่อเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากเชื้อราอาจแฝงตัวอยู่ระหว่างผนังและวอลล์เปเปอร์
  7. 3. สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆภายในบ้าน ขอเน้นเป็นพิเศษสำหรับเครื่องใช้ภายในครัวเราอาจแยก ประเภทของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้านออกเป็นพวกต่างๆ ดังนี้ * พวกที่เป็นเครื่องแก้ว, เครื่องกระเบื้อง, พลาสติก,เมลามีน โดยเฉพาะ แก้วน้ำ จานชามใส่อาหาร ให้ผสม คลอรีน 2 ช้อนโต๊ะต่อ น้ำร้อน 1 แกลลอน ใส่ลงในภาชนะ แล้วนำสิ่งของเหล่านั้น แช่เอาไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 10 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อต่างๆ จากนั้นนำขึ้นจากน้ำไปพึ่งแดดให้แห้ง 1 รอบ ก่อนนำกลับมาทำความสะอาด ด้วยน้ำยาล้างจานอีกครั้งหนึ่ง ( อย่าใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ควรทิ้งให้แห้งเอง) * พวกที่เป็นเครื่องเงิน, เครื่องโลหะต่างๆ เช่น ช้อน, ส้อม, มีด, หม้อ, กระทะ ไม่ควรใช้คลอรีน เนื่องจากอาจทำปฏิกิริยา กับโลหะหลายๆชนิดจะทำให้สีเปลี่ยนไป แนะนำให้นำไปต้มในน้ำเดือด อย่างน้อยเป็นเวลา 10 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อ แล้วใช้น้ำยาทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อได้แช่ไว้ ที่สำคัญน้ำยาที่ใช้จะต้องไม่เป็นอันตรายต่อคนเรา ( เช่น ห้ามใช้โซดาไฟ ) กรณีที่เป็นเครื่องครัวขอแนะนำให้ใช้น้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมของสารชีวภาพ เอนไซม์ ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคและไม่เป็นอันตราย ทำความสะอาดอีกครั้งหลังจากการต้มในน้ำร้อน
  8. พื้นที่ ปูพรม ถ้าพื้นที่ปูพรมจมอยู่ใต้น้ำท่วมน้ำเสีย ควรจะตัดใจกำจัดทิ้งไปเสีย เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพของท่าน พรมเป็นแหล่งเพาะเชื้อราอย่างดี การทำความสะอาดพรมเองเป็นเรื่องยาก ต้องใช้มืออาชีพที่เชื่อถือได้ว่าเขาจะใช้น้ำยาชักพรมที่ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่น ด้วยสารชีวภาพเอนไซม์ และใช้เครื่องมือซักพรมชนิดพิเศษที่มีสามารถทำความสะอาดได้ล้ำลึก สามารถซักและดูดน้ำกลับได้เลย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดพรมแบบนี้ค่อนข้างสูง ควรพิจารณาให้ดี ส่วนพรมชิ้นๆ บางผืนที่มีมูลค่าสูง อาจจะยังพอที่จะสามารถทำความสะอาดได้ สามารถนำไปตากแดดได้ แต่ก็จำเป็นต้องให้มืออาชีพที่คุณเชื่อใจได้ ว่าจะสามารถทำความสะอาดและกำจัดเชื้อราต่างๆให้คุณได้หมดจริงๆ ซึ่งขอบอกว่าค่าใช้จ่ายสูงมาก จากประสบการณ์ ด้วยการแข่งขันกันในเชิงธุรกิจหลายครั้งไ ด้พบว่าบางคนลืมเรื่องคุณธรรม หรือจรรยาบรรณในการทำงานไป
  9. 2. เรื่องของพื้น หากพื้นบ้านของท่านมีการใช้วัสดุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไวนิล, เสื่อน้ำมัน, พรม, ปาร์เก้ ปูทับพื้นเดิมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องรื้อวัสดุปูพื้นเหล่านั้นออกเพื่อให้พื้นด้านล่างแห้ง ซึ่งกว่าจะแห้งสนิทอาจใช้ระยะเวลานานพอสมควร ทั้งนี้ขี้นอยู่กับว่าพื้นด้านล่างของท่านทำจากวัสดุอะไร การเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท, เปิดพัดลม จะช่วยให้พื้นแห้งเร็วขึ้น การทำความสะอาดพื้นทุกชนิดต้องพิจารณาดูตามความเหมาะสม ของพื้น โดยทั่วไปๆ สามารถใช้น้ำผสมคลอรีนในอัตราส่วน 0.1% ( 1 cc.ต่อน้ำ 1000 cc.) ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณก่อน แล้วจึงขัดถูพื้น ด้วยน้ำยาล้างจาน, ผงซักฟอก ขัดถูให้ทั่วบริเวณแล้วจึงราดด้วยน้ำร้อนเดือดๆ หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาเคมีทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อต่างๆได้ ซึ่งต้องอ่านฉลากวิธีใช้ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากเป็นไปได้ อยากแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่นที่เป็นสารชีวภาพเอนไซม์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ กำจัดกลิ่นกำจัดคราบไขมันได้ ซึ่งมีข้อดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ คือ สารชีวภาพเอนไซม์นั้น จะยังคงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อที่จะเกิดขึ้นใหม่จากความชื้นต่อไปได้อีก นานประมาณ 3 – 6 เดือน ตราบที่พื้นยังมีความชื้นอยู่ และที่สำคัญสารชีวภาพเอนไซม์นั้น ไม่่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
  10. ขั้นตอนในการทำความสะอาดมีดังนี้ 1. เริ่มด้วยการขนย้ายสิ่งของต่างๆ ขั้นแรกให้ขนย้าย สิ่งของต่างๆ ภายในบ้านออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อสะดวกในการจัดการกับโคลนตมที่มากับน้ำ ให้ใช้พลั่วตักดิน โคลนออกจากพื้นบ้านให้ได้มากที่สุด จากนั้นจึงใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง(ถ้ามี) หรือสายยางฉีดน้ำเพื่อชะล้างโคลนออกจากพื้นผิว อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่จะช่วย ผ่อนแรงได้มาก คือ ไม้ปาดน้ำ หากไม่มีและพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก สามารถใช้ผ้าขนหนูทำเป็นผ้าลากน้ำได้ เมื่อกำจัดดินโคลนออกไปได้แล้วจึงค่อยเริ่มขั้นที่ 2
  11. เรื่องต่างๆที่ต้องจัดการหลังน้ำลด หลังจากตรวจดูโครงสร้างต่างๆภายในบ้านแล้ว ( คลิกอ่าน เรื่อง การเตรียมตัวเข้าบ้านหลังน้ำลด) 1. ระบบไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าของทั้งบ้านจะต้องถูกปิดทันที ที่น้ำท่วมบ้าน ระบบไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งแรกๆเลยที่จะต้องจัดการทันทีที่น้ำลด โดยการให้ช่างไฟฟ้ามืออาชีพ มาทำการตรวจสอบ และซ่อมแซมให้หมดก่อนที่จะสามารถกลับไปใช้ไฟฟ้าได้อีกอีกครั้งหนึ่ง จำเป็นอย่างมากที่จะต้องเดินสายไฟใหม่ทั้งหมด สายไฟจะต้องแห้งสนิท, สวิทช์ไฟ, เต้าเสียบปลั๊กไฟต่างๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำ อาจจะมีโคลนตมและตะกอนที่มากับน้ำเข้าไปอยู่ * การทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆก่อน จะนำกลับไปใช้งาน มิฉะนั้นอาจเกิดไฟฟ้าช๊อตเอาได้ หรือ อาจก่อความเสียหายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า การทำความสะอาด, การขจัดคราบสกปรก และการกำจัดกลิ่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น วิทยุ, โทรทัศน์, เครื่องซักผ้า, เครื่องล้างจาน, เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ เราอาจสามารถที่จะทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่องได้เอง แต่เราจำเป็นต้องให้ช่างมาตรวจเช็คดูข้างใน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการต่ออะแดปเตอร์ หรือสายดินเพื่อป้องกันไฟดูด ไฟช๊อต เมื่อถูกน้ำท่วมไปแล้ว อาจมีสิ่งสกปรก, โคลน เข้าไปอุดตัน อาจทำให้สายดินไม่สามารถทำงานได้ ควรจะให้ช่างมาตรวจเช็คก่อนการใช้งาน มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายได้ เครื่องปรับอากาศ หลังน้ำลดต้องเรียกช่างแอร์อาชีพ ให้มาตรวจเช็คระบบเครื่อง ปรับอากาศภายในบ้านทั้งหมด พร้อมทั้งทำความสะอาดท่อต่างๆ, แผ่นกรองอากาศ เปลี่ยนฉนวนกันความร้อนที่จมน้ำ เป็นต้น เมื่อช่างแก้ไขให้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ซีลปิดไว้ก่อน จึงจะเริ่มการทำความสะอาด การเปิดแอร์คอนดิชั่นจะสามารถทำได้ ในกรณีที่เราทำความสะอาดบ้านจนเสร็จเรียบร้อยพร้อมกลับเข้าไปอยู่แล้วเท่านั้น
  12. การทำความสะอาดหลังน้ำลดด้วยตัวเอง Clean House After Flooding ขอบคุณข้อมูลจาก คุณกมลพรรณ (กอวัฒนา) นุชผ่องใส กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท ฟาร์อีสต์เพียร์เลส (ไทยแลนด์) 1968 จำกัด Source : Far East Peerless (Thailand) 1968 Co.,Ltd. การทำความสะอาดหลังน้ำลด เราต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก เพราะเป็นงานที่ต้องการความละเอียด ในการทำความสะอาดสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การทำความสะอาดนั้นต้องคำนึงถึงการกำจัดการฆ่าเชื้อโรคเชื้อราที่เราอาจมอง ไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นสำคัญ การสัมผัส หรือหายใจเอาเชื้อเหล่านี้เข้าไปเท่ากับเราอยู่กับภัยร้ายโดยไม่รู้ตัว ในการทำความสะอาดสิ่ง สำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การป้องกันตนเองของผู้ทำ เช่น การใส่ถุงมือยาง, รองเท้าบู๊ต ซึ่งสำคัญมากพอๆกับการใส่ผ้าปิดปากปิดจมูกในการทำงาน ใส่ถุงมือยางและรองเท้าบู๊ตช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคเชื้อรา, ป้องกันการสัมผัสสารเคมี รวมถึงป้องกันไฟดูด ส่วนผ้าปิดจมูกและปากช่วยป้องกันการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อรา และไอระเหยของ สารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ในระหว่างการทำความสะอาดควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศระบายได้มากที่สุด อาจเปิดพัดลมเพดานช่วยระบายอากาศ ***** ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะเชื้อต่างๆจะถูกดูดเข้าไปอยู่ในระบบปรับอากาศ และจะกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เชื้อราต่อไป เป็นภัยเงียบที่เรามองไม่เห็น ***** หากสิ่งของใดๆ ที่ได้เกิดเชื้อราขึ้นแล้ว ให้นำออกไปทำความสะอาดในที่ๆ อากาศถ่ายเทและห่างออกไปจากตัวบ้าน เพื่อไม่ให้สปอร์ของเชื้อรากระจายเข้าไปอยู่ในบ้าน หากเกิดเชื้อราเกิดขึ้นแล้ว บนพื้นผิวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้น, ผนัง,เพดาน หรือเฟอร์นิเจอร์ ควรจะต้องใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดเพื่อไม่ให้เชื้อฟุ้งกระจาย ก่อนจะล้างทำความสะอาดล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ อย่าลืมที่จะใส่เครื่งป้องกันตนเอง โดยเฉพาะหน้ากากกรองอากาศ ผ้าปิดปากปิดจมูก ถุงมือยาง รองเท้าบู๊ตเพื่อป้องกันตนเอง
  13. การเตรียมตัวเข้าบ้านหลังน้ำลด ขอบคุณ ข้อมูลจาก Far East Peerless (Thailand) 1968 Co.,Ltd. กมลพรรณ (กอวัฒนา) นุชผ่องใส อุปกรณ์ป้องกันภัยที่จำเป็นมีดังนี้ : แว่นตาของช่าง, หน้ากากกรองฝุ่น, ผ้าปิดปากปิดจมูก, ถุงมือยาง, รองเท้าบู๊ต, ไฟฉาย, หมวกนิรภัย ***แต่งกายให้พร้อมครบชุดก่อนเข้าไปในตัวบ้านเพื่อความปลอดภัย อย่าประมาท และอย่าไปคนเดียว ต้องมีคนไปรออยู่ด้านนอกด้วยเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดขึ้น 1. ก่อนเข้าไปในตัวอาคารบ้านเรือนให้เดินดูบริเวณรอบๆบ้านก่อน ให้สำรวจพิจารณาดูโครงสร้างที่อาจจะเสียหายเป็นอันตรายก่อนตัดสินใจที่จะเข้าไป โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ 2.สัตว์มีพิษต่างๆที่อาจหนีน้ำเข้าไปอาศัยอยู่ในตัวบ้าน 3. สังเกตุดูรอยร้าว หรือ การบิดตัวของโครงสร้าง ก่อนตัดสินใจเข้าไปในตัวอาคารบ้านเรือน 4. ตรวจดูที่จัดเก็บถังแก๊ส มองหาสิ่งผิดปกติที่อาจจะมีการรั่วซึม 5. ตรวจสอบการจ่ายไฟจากการไฟฟ้าให้แน่ใจว่า ไฟฟ้ายังไม่ได้จ่ายกระแสไปเข้าไปในบ้าน 6. เปิดประตูให้เกิดการถ่ายเทอากาศ อย่าเหยียบเข้าบ้านทันที ให้สังเกตพื้นบ้าน ลองค่อยๆใช้เท้าทิ้งน้ำหนัก เพื่อทดสอบก่อน 7. สังเกตดูเพดานว่าอมน้ำ แอ่นท้องช้าง หรือมีคราบน้ำอยู่หรือไม่ เพดานอาจพังทลายลงมาเมื่อมีการเคลื่อนไหวให้ระมัดระวัง 8. รื้อผนังบ้านที่ผุพังจากน้ำท่วมโดยเร็วที่สุด ให้อากาศผ่านเข้าไปให้ได้มากที่สุด เพื่อให้โครงสร้างด้านในแห้งหายชื้นให้เร็วที่สุด ***การถ่ายเทอากาศ จะลดการเกิดเชื้อรา และกลิ่นอับในบ้าน ก่อนที่จะรื้อผนังให้นำสื่งของที่อยู่ตามพื้นออกไปก่อน ขอบคุณข้อมูล : Far East Peerless (Thailand) 1968 Co.,Ltd. กมลพรรณ (กอวัฒนา) นุชผ่องใส ขอบคุณภาพประกอบ : Photos.com และ sanook.com
  14. 3. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร การตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จมน้ำ หรืออุปกรณ์ที่อาจมีไอน้ำเข้าไปสะสมภายใน ควรส่งให้ช่างผู้ชำนาญเป็นผู้ตรวจสอบและซ่อมแซมตามขั้นตอนและวิธีการที่เหมาะสม ไม่ควรทำเอง !! โดยเฉพาะ อุปกรณ์ที่มีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบอยู่ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเล่น VDO/DVD ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เหล่านี้ ช่างผู้ชำนาญจะต้องตรวจสอบและทำความสะอาดแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ กรณีที่แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ อุปกรณ์จึงจะทำงานได้ตามปกติ อุปกรณ์ที่มีมอเตอร์ไฟฟ้า ประกอบอยู่ เช่น พัดลม คอมเพรสเซอร์และคอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ เหล่านี้ ช่างผู้ชำนาญจะต้องถอดมอเตอร์มาล้างทำความสะอาดโดยละเอียด ตามขั้นตอนและวิธีการที่เหมาะสม ทั้งในส่วนของขดลวด ขั้วไฟฟ้า ตลับลูกปืน แล้วจึงประกอบคืนและตรวจสอบการทำงานอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง ไม่แนะนำให้ถอดรื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เคยจมน้ำเหล่านี้มาตรวจสอบ หรือทดลองจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ด้วยตนเอง!! หากไม่ใช่ช่างที่มีความรู้และประสบการณ์ในการซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย เพราะอาจมีอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร (Short-circuit) ทำให้อุปกรณ์เสียหายอย่างถาวรได้ทันที หรือกระทั่งทำให้ผู้ทดสอบได้รับอันตรายจากประกายไฟ หรือไฟไหม้ หมายเหตุ สำหรับการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม ต้องใช้ช่างหรือวิศวกรผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ติดต่อขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จาก การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จัดทำโดย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  15. 2. การตรวจสอบแก้ไขสวิตช์และปลั๊กไฟจมน้ำ การตรวจสอบแก้ไขต้องกระทำเมื่อระดับน้ำลดต่ำกว่าสวิตช์และปลั๊กไฟแล้วเท่านั้น OFF เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือยกสะพานไฟ (คัทเอาท์) เพื่อตัดการจ่ายไฟในบริเวณที่จะรื้อถอนสวิตช์ หรือปลั๊กไฟที่จมน้ำ หมายเหตุ ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีไฟที่สายไฟของสวิตช์หรือปลั๊กไฟจริงๆ โดยใช้อุปกรณ์เช่น ไขควงตรวจไฟ หรือ มิเตอร์วัดไฟ เป็นต้น และในขณะปฏิบัติงานควรสวมถุงมือยางและรองเท้ายาง หากน้ำที่ท่วมสวิตช์และปลั๊กไฟมีความสกปรกสูง เช่น มีโคลนปนมาก หรือไม่สามารถถอดปลั๊กหรือแผงสวิตช์มาทำความสะอาดได้ ควรซื้อสวิตช์และปลั๊กไฟใหม่มาเปลี่ยน หากน้ำที่ท่วมไม่สกปรกมากและประเมินได้ว่าสามารถทำความสะอาดสวิตช์และปลั๊กไฟได้ ® ให้ถอดกล่องสวิตช์และปลั๊กไฟที่จมน้ำ ออกมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด เช็ดและผึ่งไว้ให้แห้ง อาจเป่าด้วยลมร้อนจากเครื่องเป่าผม ใช้อุณหภูมิระดับปานกลางที่มือคนยังทนได้ ® อาจใช้น้ำยาล้างหน้าสัมผัส (หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องมือช่างไฟฟ้า หรือร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) ฉีดทำความสะอาดขั้วโลหะบริเวณที่ต้องมีการสัมผัสเพื่อเชื่อมต่อทางไฟฟ้า สำหรับปลั๊กไฟ อาจเสียบปลั๊กเข้าออก หลายๆ ครั้ง เพื่อขัดหน้าสัมผัสให้สะอาด ทั้งนี้ ต้องทำในขณะยังไม่จ่ายไฟ จะต้องกำจัดน้ำที่ท่วมขังในท่อร้อยสายไฟและกล่องสวิตช์หรือกล่องปลั๊ก และเช็ดบริเวณดังกล่าวให้แห้งสนิทดี ก่อนที่จะนำสวิตช์หรือปลั๊กไฟกลับไปติดตั้งเข้าในตำแหน่งเดิม หลังจากนั้น จึง ON เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือสับสะพานไฟ (คัทเอาท์) ลง เพื่อจ่ายไฟกลับเข้าสู่ระบบตามปกติ นอกจากนี้ แนะนำให้ทิ้งไว้สักครึ่งวัน จึงค่อยเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานตามปกติ เพราะอาจจะยังมีกระแสไฟฟ้าปริมาณน้อยไหลผ่านปลั๊กหรือสวิตช์ที่ยังคงมีความชื้นหลงเหลืออยู่บ้าง ความร้อนจากกระแสไฟฟ้าที่อาจไหลได้นี้ จะช่วยทำให้ไอน้ำหรือความชื้นระเหยออกไปด้วย
  16. ขั้นตอนที่ 2: กวาดน้ำขังที่พี้นออกให้หมด และรอให้พื้นแห้งอีกสักหนึ่งวันก่อน ขั้นตอนที่ 3: หลังจากพื้นแห้งดีแล้ว ให้ปลดสายไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดที่ยังเสียบปลั๊กอยู่ออกให้หมดก่อน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ พัดลม โทรทัศน์ รวมถึงปลั๊กพ่วงต่างๆ โดยสวมรองเท้ายางและถุงมือยางในขณะปฏิบัติงาน ให้สำรวจว่ามีสวิตช์ ปลั๊กไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าใดจมน้ำอยู่บ้าง นำมาจัดทำเป็นรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นจะต้องรื้อถอนเพื่อตรวจสอบสภาพ ขั้นตอนที่ 4: เดินสำรวจด้วยตาเปล่า เพื่อตรวจสอบว่ามีสายไฟฟ้าชำรุดเสียหายในบริเวณใดหรือไม่ โดยปกติสายไฟฟ้าสามารถจมน้ำอยู่ได้นานระดับหนึ่ง หากสังเกตพบความเสียหายให้แจ้งช่างไฟฟ้ามาดำเนินการซ่อมแซม ขั้นตอนที่ 5: แจ้งให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า (กฟน. MEA Call Center 1130 / กฟภ. PEA Call Center 1129) หรือวิศวกร ช่วยตรวจสอบระบบไฟฟ้าว่า ชำรุดเสียหายเนื่องจากฉนวนไฟฟ้าฉีกขาด หรือเสื่อมสภาพหรือไม่ โดยปกติ เจ้าหน้าที่หรือวิศวกร จะทำการทดสอบใน 2 เรื่อง คือ ตรวจสอบความเป็นฉนวนของระบบไฟฟ้า (สายไฟ, ปลั๊กไฟ ฯลฯ) ตรวจสอบกระแสรั่วลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า
  17. 1. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าก่อนจ่ายไฟกลับเข้าสู่ปกติ ในการเข้าไปปฏิบัติการฟื้นฟูตามขั้นตอนที่ 1-4 ต่อไปนี้ ถึงแม้จะตัดไฟฟ้าแล้ว แต่เพื่อความปลอดภัยทางไฟฟ้า การสวมรองเท้ายางและถุงมือยาง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรณีที่พื้นบ้านเป็นพื้นดิน หรือพื้นที่ที่มีความชื้นของพื้นสูง ขั้นตอนที่ 1: (ในกรณีที่ได้ทำการ OFF เซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก หรือยกสะพานไฟ (คัทเอาท์) ของบ้าน อาคาร หรือโรงงาน ไว้แล้ว ให้ข้ามไปขั้นตอนที่ 2 ได้เลย) ในกรณีที่ เซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก หรือสะพานไฟ (คัทเอาท์) ยัง ON ไว้อยู่ตั้งแต่ที่โดนน้ำท่วม มีข้อควรปฏิบัติดังนี้คือ ห้ามนําเด็กเข้ามาในบริเวณนั้นโดยเด็ดขาด! เพื่อความปลอดภัย ควรติดต่อการไฟฟ้าให้ส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยทำการ OFF เซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก หรือยกสะพานไฟ (คัทเอาท์) ของบ้าน อาคาร หรือโรงงาน แต่หากมีความจำเป็นที่ไม่สามารถให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาช่วยเหลือได้ และต้องทำการ OFF เซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก หรือยกสะพานไฟ (คัทเอาท์) ของบ้าน อาคาร หรือโรงงาน ด้วยตนเอง เวลาเข้าไปปฏิบัติงานในบ้าน อาคาร หรือโรงงาน เพื่อตัดไฟฟ้า มีข้อควรปฏิบัติดังนี้คือ 1) เวลาเข้าไปปฏิบัติงานควรมีผู้ใหญ่เข้าไปด้วยกันอย่างน้อยอีก 1 คน เพื่อคอยช่วยเหลือ เฝ้าระวัง กรณีฉุกเฉินจะได้ร้องขอความช่วยเหลือได้ทัน 2) หากทราบว่าปลั๊กไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่จมน้ำอยู่ตำแหน่งไหนบ้าง ไม่ควรเข้าใกล้ในระยะ 2 เมตร เพื่อป้องกันอันตรายจาก "ไฟดูด" (ดูเพิ่มเติมจากเอกสาร เมื่อเจอน้ำท่วมปฏิบัติอย่างไร "ไฟไม่ดูด") 3) ควรยืนบนเก้าอี้พลาสติกที่แห้ง และใส่รองเท้ายาง ถุงมือยาง เพื่อป้องกันไฟดูด ในขณะที่ทำการ OFF เซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก หรือยกสะพานไฟ (คัทเอาท์) ของบ้าน อาคาร หรือโรงงาน 4) หากไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยทางไฟฟ้าเพียงพอ อย่าดำเนินการด้วยตนเอง ควรเรียกช่างไฟฟ้าหรือผู้มีความเชี่ยวชาญทางไฟฟ้า มาให้ความช่วยเหลือ หมายเหตุ ในกรณีที่มีบ้านติดกับเพื่อนบ้าน อาจจำเป็นต้องระวังผลของระบบไฟฟ้าของข้างบ้าน เช่น ข้างบ้านอาจจะไม่ได้ยกสะพานไฟ ทำให้อาจมีไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าของข้างบ้าน เช่น มอเตอร์ของประตูไฟฟ้าหน้าบ้าน หรือโคมไฟหน้าบ้าน เป็นต้น
  18. คำแนะนำในการฟื้นฟูระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังน้ำลด จัดทำโดย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/4058 คำแนะนำในการฟื้นฟูระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังน้ำลด ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ •1. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าก่อนจ่ายไฟกลับเข้าสู่ปกติ •2. การตรวจสอบแก้ไขสวิตช์และปลั๊กไฟจมน้ำ •3. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร
  19. จบ เรื่อง "รา" เพียงเท่านี้ครับ เดี๋ยวจะต่อด้วย เรื่อง "ไฟฟ้า" ครับ
  20. 6. ตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้ง ภายหลังจากความสะอาดแล้วผ่านไป 2 ถึง 3 วัน แล้ว ให้ มองหาสังเกตการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งเชื้อราอาจถูกพบและเจริญเติบโตซ้ำได้ ถ้าวัสดุ เครื่องเรือน ดังกล่าวยังไม่แห้งดีพอ ซึ่งมีความชื้นอยู่ ถ้ายังพบเชื้อราอีกให้ทำความสะอาดซ้ำโดยวิธีที่กล่าวด้านบน ข้อ 1-ข้อ 5 โดยเฉพาะบ้านที่ใช้เครื่องปรับอากาศ อาจมีความบกพร่องของเครื่องปรับอากาศ ในการดึงความชื้นออกจากอากาศภายในห้องได้ไม่ดีเท่าที่ควร อาจเป็นสาเหตุหนึ่งในการกลับมาของเชื้อราดังกล่าว ควรเรียกช่างแอร์ทำการแก้ไขโดยด่วน กรณีการตรวจสอบปัจจัยต่างๆโดยละเอียด ถ้ายังพบเชื้อราอีกอาจจะต้องตรวจสอบระบบการระบายอากาศ ระบบแอร์ทั้งหมด ระดับความชื้นภายในอาคารด้วย ระดับอุณหภูมิ และสิ่งแวดล้อมทื่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจต้องมีการนำเครื่องมือเฉพาะทางมาตรวจสอบเชื้อรา หลังจากการเข้าไปพักอยู่อาศัยแล้ว หากมีสมาชิกในบ้านคนใดก็ตาม มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://ldthealthsolutions.com/ldtrxtest/FacilityDesign.aspx หมายเหตุ การเก็บตัวอย่างเชื้อรามาตรวจสอบอย่างละเอียดในกรณีที่ต้องการระบุว่า เชื้อราดังกล่าวเป็นตัวทำให้เกิดภูมิแพ้ หรือไม่ เช่น เชื้อราชื่อว่า แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส (Aspergillus fumigatus) เป็นเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถส่งบริการทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ ซึ่งในประเทศไทยการระบุชนิดของเชื้อราและการตรวจเชื้อราทางห้องปฏิบัติการ โดยดูรูปลักษณะสัณฐานวิทยาและใช้เทคนิคเชิงโมเลกุลมาช่วยจำแนก ส ามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านราวิทยาโดยตรง เช่น การบริการการจำแนกเชื้อรา ในมหาวิทยาลัยรัฐบางแห่ง หรือ สถาบันวิจัยของภาครัฐบางแห่ง หรือ หน่วยงานในกำกับของกระทรวงของภาครัฐบางแห่ง เป็นต้น
  21. 5. การทำให้แห้ง หลังจากทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านแล้ว ให้ใช้พัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ยิ่งไปกว่านั้นควรเปิดหน้าต่าง เปิดประตู เพื่อดึงสปอร์ราที่อยู่ในอากาศในบ้านออกไปนอกตัวบ้านหรืออาคารให้มากที่สุด โดยใช้เวลา ผึ่งลมประมาณ 1 ชัวโมง หรือ มั่นใจว่า บ้าน และอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องแห้งสนิทแล้ว หากบ้านไหนมีเครื่องลดความชื้นก็อาจใช้ร่วมด่วย บางกรณีอาจเลือกการทำให้แห้งของอุปกรณ์ต่างๆที่มีขนาดเล็ก สามารถใช้เครื่องเปล่าผมไฟฟ้าซึ่งเป็นความร้อนแห้ง ช่วยทำให้แห้งไวขึ้น ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://ldthealthsolutions.com/ldtrxtest/FacilityDesign.aspx
  22. @หากพบเชื้อราขึ้นบนเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประเภทเครื่องหนัง ให้ใช้น้ำส้มสายชู เช็ดถู หลาย ๆ ครั้ง เนื่องจากน้ำส้มสายชูมีสภาพเป็นกรดสามารถทำลายเชื้อราได้ หลังจากแห้งแล้วเราสามารถเช็ดทำความสะอาดโดยวิธีอื่นๆเพิ่ม เช่น ใช้น้ำยาทำความสะอาดอีกครั้ง บางกรณีอาจใช้ครีมเช็ดรองเท้ามาเช็ดถูปิดท้าย ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.alibaba.com/buyofferdetail/103369457/Buying_Mold_leather_Furniture.html @หากพบเชื้อราขึ้นบนเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประเภทที่ทำจาก ผ้า เช่น เสื้อผ้า ปอกหมอน ม่านและเครื่อนนอนต่างๆ ให้ต้มน้ำร้อนเดือดฆ่าเชื้อรา ทั้งนี้สามารถใช้วิธีอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์แช่ไว้ก่อน หากมีเชื้อราขึ้นมากเกินกำจัด ก็ควรเปลี่ยนและทิ้งไปเลย ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.moneypit.com/question-and-answer/cleaning-mold-furniture @นอกจากนี้หากพบเชื้อราฝังตัวอย่างแน่นหนาตามเครื่องเรือนประเภทไม้ ผนัง วอลเปเปอร์ ที่ไม่สามารถกำจัดออกได้ โดยการขัดล้าง ทำความสะอาด โดยเฉพาะการฝังซ่อนตัวภายในชั้นวัสดุแทรกภายใน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ ไม่ควรทาสีกลบทับเพราะไม่สามารถทำลายสปอร์ที่เหลือได้ และอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราขึ้นได้ภายหลัง ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.inspectapedia.com/sickhouse/Green_Mold_Pictures.htm
  23. @ ถ้าเป็นการการขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่หยาบควรขัดด้วยแปรงชนิดแข็ง ถ้าไม่สามารถหาซื้อได้ให้ อาจผสมน้ำยาใช้เอง โดยใช้ผงฟอกขาวที่มีใช้อยู่ตามบ้านและตามท้องตลาดผสมกับน้ำ โดยมีอัตราส่วน คือ ปริมาณ 1 ถ้วยตวงของผงฟอกขาว ผสมกับน้ำ 1 แกลลอน (ประมาณ 3. 8 ลิตร) ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.safemoldsolutions.com/basement_mold_removal.php @หากพบเชื้อราขึ้นเป็นจุด ๆดวงๆ บน วอลเปเปอร์ และ ผนัง อาจใช้ เช็ดแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซนต์ เช็ดทำความสะอาด หรือหากพบว่ามีเชื้อราเป็นจำนวนมาก เกินกว่าจะกำจัดไหว ก็ควรเปลี่ยนวอลเปเปอร์และ ผนังเสียใหม่ดีกว่า ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.yourblackmoldguide.com/black-mold-pictures/ @หากพบเชื้อราขึ้นบน หนังสือ และ เครื่องเรือนประเภทไม้ อย่าใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ด เพราะ น้ำ ทำให้เกิดการสะสมความชื้นอีก และทำให้เกิดเชื้อรามากขึ้น ในการทำความสะอาดผลิตเครื่องเรือนประเภทไม้ อาจใช้ผ้าชุป แอลกอฮอล์ 70 ปอร์เซนต์ หรือ ฟอร์มาลีนเจือจางเช็ด และแล้วปล่อยให้แห้งเอง หากมีเชื้อราขึ้นมากเกินการกำจัด ก็ควรเปลี่ยนไม้ดีกว่าและทิ้งไปเลย ถึงแม้ว่าได้ทาแลกเกอร์เคลือบผิวก็ตาม ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.moldbacteriaconsulting.com/mold-on-books.html
  24. 4. ทำความสะอาดและการทำลายเชื้อรา ทำความสะอาดโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุดที่สามารถทำได้ ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง หรือ ภายใน หนึ่ง ถึง สองวัน หลังน้ำท่วมลดลง เครื่องใช้บางประเภทที่ทำมาจากวัสดุที่ไม่มีลักษณะเป็นรูพรุน เช่น เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง เมลามีน พลาสติก คอนกรีต กระจก กระเบื้องเซรามิก โลหะ และไม้เนื้อแข็ง (เชื้อราส่วนมากไม่สามารถเจาะไม้เนื้อแข็งได้) ท่านสามารถทำความสะอาดและทำให้แห้งได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งของใช้ดังกล่าว ในระหว่างทำความสะอาด อย่าลืมเปิดประตูและหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศตามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้อ 2 และสวมถุงมือยางทุกครั้ง ถ้ามีพื้นที่ด้านนอก ให้ขยับอุปกรณ์ต่างๆหรือเครื่องใช้ ออกมาผึ่งอากาศที่โปร่งโล่ง กลางแจ้ง หรือที่มีแดดส่องถึง ประมาณ สอง ถึงสามวัน ก็ยิ่งดี ส่วนการทำลายเชื้อรา เริ่มแรกควรล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน แล้วตามด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรด์ (NaOCl) หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาว ที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่ (หมายเหตุ:การซื้อผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาวมาใช้ ต้องอ่านข้างฉลากและต้องแน่ใจว่าเป็นยี่ห้อที่มี โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 5-6%) ข้อควรระวังการใช้น้ำยาซักผ้าขาว ควรใส่ถุงมือยางทุกครั้งก่อนใช้ และต้องใช้ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ควรเปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทในห้อง และห้ามสูดดมโดยตรงเป็นอันขาด และที่สำคัญที่สุด ห้ามผสมน้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่ กับสารอื่นๆเด็ดขาด ยกตัวอย่างเช่นห้ามนำน้ำยาซักผ้กขาวผสมกับแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบเด็ดขาด หรือ ห้ามนำน้ำยาซักผ้าขาวผสมกับน้ำยาหรือผลิตภัณฑ์ล้างอื่นๆที่มีสภาพเป็นกรด เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างโถส้วม เเละน้ำยาเช็ดกระจก เป็นต้น เพราะจะเกิดก๊าซที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ **หมายเหตุ สามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในการกำจัดเชื้อรา ซึ่งมีหลายยี่ห้อในการช่วยฆ่าเชื้อรา แต่ต้องแน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่จะนำมาใช้ฆ่าเชื้อรา ต้องมี "โซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่" ซึ่งสามารถดูข้างฉลากว่ามีสารเคมีดังกล่าว หรือสารเคมีอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่สามารถฆ่าเชื้อราได้ สามารถหาซี้อได้ตามท้องตลาด และ ซุปเปอร์มาเกตทั่วไป ข้อควรระวังสุดท้าย ควรศึกษาคู่มือการใช้ในผลิตสำเร็จรูปอย่างละเอียด โดยให้ปฏิบัติตามป้ายและคำเตือนในการใช้อย่างระมัดระวัง
  25. 2. แยกพื้นที่ทำงานและระบายอากาศ โคโลนีของเชื้อราในระหว่างการทำความสะอาดสามารถปล่อยสปอร์จำนวนมากไปในอากาศได้ ควรเปิดประตู หน้าต่าง ม่าน ให้อากาศถ่ายเทในห้อง ให้มีแดดส่องถึง และไม่ควรใช้ระบบระบายอากาศภายในบ้าน หรือเปิดแอร์ และพัดลม ในระหว่างการทำความสะอาดป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อรา หลีกเลี่ยงการใช้น้ำด้วยระบบแรงดันสูงฉีดในการทำความสะอาด เนื่องจากจะทำให้เชื้อราฟุ้งกระจายได้เช่นกัน ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.decorreport.com 3. เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่พบเชื้อรา โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน ซึ่งไม่สามารถชำระล้างและทำให้แห้งได้ รวมทั้ง พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฝ้าผนัง แผ่นยิปซั่ม ผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นฝ้า ไม้เนื้ออ่อน ผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและเครื่องเรือนที่เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน เพื่อลดการแพร่กระจายของสปอร์ราและทำลายแหล่งเพาะเชื้อรา อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆเหล่านี้ ควรทิ้งใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดี กันแพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนหรือจะเก็บเฟอร์นิเจอร์ หรือ อุปกรณ์ไว้นั้น ให้พิจารณาว่าสิ่งของใดก็ตาม ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมดหลังจากทำความสะอาด และไม่มั่นใจที่สามารถทำให้สิ่งของดังกล่าวแห้งได้ ไม่ควรเก็บไว้ อย่าเสียดาย ให้ทิ้งไปให้หมด โดยเฉพาะวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน ภาพประกอบเอื้อเฟื้อจาก http://www.cartoonst...m_furniture.asp
×
×
  • สร้างใหม่...