ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ทองใหม่

ผู้นำชุมชน
  • จำนวนเนื้อหา

    9,822
  • เข้าร่วม

  • วันที่ชนะ

    484

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย ทองใหม่

  1. ได้รับการอนุเคราะห์จากคุณงูดิน เลยได้กราฟset50ของmt4มาดู โดยใช้โปรแกลมกราฟของผมมาใส่เข้าไปอีกต่อหนึ่ง ...เลยได้กราฟนี้มาให้เพื่อนๆดู ขอประกาศขอบคุณ คุณงูดินมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ ไม่ทราบว่าเพื่อนๆมีใครเล่นset50--ดัชนีหุ้นไทยตัวนี้บางไหมครับ โปรดยกมือขึ้น หากไม่มีคนเล่น หรือมีคนเล่นแต่น้อยนิดแค่สองสามคน ผมอาจยกเลิกไม่โพสต์กราฟset50นี้อีกในกาลต่อไปครับ กราฟGold 1 ช่อง1 เส้นแดงอยู่เหนือเส้นเขียว---ทิศทางขึ้น ผู้เล่นออนไลน์ให้ดูเส้นปะ(เส้นปะสีขาว---เส้นแนวต้านและหนุน)และเส้นแนวโน้ม(เส้นแนวโน้ม---สีฟ้า---ทิศทางขึ้น สีเหลืองทอง—ทิศทางลง สีขาว—กำลังหาทิศใหม่)ประกอบ ตั้งจุดกำไรและขาดทุน เส้นเขียวอยู่เหนือเส้นแดง---ทิศทางลง ผู้เล่นออนไลน์ให้ดูเส้นปะ(เส้นปะสีขาว---เส้นแนวต้านและหนุน)และเส้นแนวโน้ม(เส้นแนวโน้ม---สีฟ้า---ทิศทางขึ้น สีเหลืองทอง—ทิศทางลง สีขาว—กำลังหาทิศใหม่)ประกอบ ตั้งจุดกำไรและขาดทุน เส้นแดงและเขียวประสานเป็นกากะบาด ---กำลังจะเปลี่ยนทิศ ให้ดูเส้นแนวโน้มประกอบ หากเส้นแดงและเขียวกำลังจะประสาน แต่ไม่ทันได้ประสานก็หันหันหัวกลับขึ้นหรือลง แสดงว่ากำลังมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนี่งเกิดขึ้น หากขึ้นทะลุเส้นปะแนวต้าน ให้ดูเส้นปะแนวต้านเส้นต่อไป หากลงทะลุเส้นปะแนวหนุน ให้ดูเส้นแนวหนุนเส้นต่อไป ส่วนจุดกลมเหลืองทอง---ทิศทางลง จุดกลมฟ้า---ทิศทางขึ้น หากกราฟวิ่งในยามปกติ พอเชื่อถือได้ หากกราฟวิ่งขึ้นลงแรงๆ คือยามไม่ปกติ ไม่อาจเชือถือได้ ช่อง2 ให้ดูเส้นสีม่วง ประกอบกับเส้นแนวโน้มในช่อง1 หากหันหัวไปในทิศทางเดียวกัน โอกาสที่จะผิดพลาดก็มีน้อย ส่วนเส้นปะสีเหลืองทองและฟ้า หากขึ้นเหนือเลข80 เข้าสู่เขตซื้อเกิน ระวังจะเปลี่ยนทิศได้ทุกเมื่อ หากลงต่ำกว่าเลข20 เข้าสู่เขตขายเกิน ระวังจะเปลี่ยนทิศได้ตลอดเวลา ช่อง3 ให้ดูทั้ง2เส้น คือเหลืองทองและฟ้า หันหัวไปทิศทางเดียวกันหรือไม่ เท่านั้นยังไม่พอ ให้ดูประกอบทิศทางในช่อง1ว่าเป็นทิศทางเดียวกันหรือไม่ หากทิศทางหันหัวในแนวเดียวกัน ทิศทางนั้นเชื่อถือได้ ดูกราฟทุกครั้งให้ดูที่หัวมุมซ้ายบน จะบอกเวลา H4=4ชม. H1=1ชม. D1=1วัน และบอกชนิดของกราฟด้วย เช่น goldหรือset50เป็นต้น กราฟset50ของช่วงปิดตลาดวันศุกร์ครับ
  2. ผมอ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ภาษาจีนตัวไหนครับ

  3. ผมอ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ภาษาจีนตัวไหนครับ

  4. กรมอุตุฯเตือน10-13ก.ค.นี้ภาคตอ.-กลาง-ใต้มีฝนเพิ่มขึ้น วันเสาร์ที่ 10 กรกฏาคม 2010 เวลา 07:01 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศประจำวันที่ 10 กรกฏาคม 2553 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนกระจายในระยะนี้ อนึ่ง คลื่นกระแสลมตะวันออกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ในช่วงวันที่ 10-13 กรกฎาคมนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 24 องศา สูงสุด 38 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร อุณหภูมิต่ำสุด 25 องศา สูงสุด 37 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 25 องศา สูงสุด 37 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 26 องศา สูงสุด 37 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 24 องศา สูงสุด 36 องศาลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23 องศา สูงสุด 34 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27 องศา สูงสุด 37 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
  5. กสิกรไทยชี้ตลาดจับตาผลประชุมกนง.14ก.ค.มีผลต่อแนวโน้มค่าบาท วันเสาร์ที่ 10 กรกฏาคม 2010 เวลา 09:28 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปภาวะตลาดเงินรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (5-9 ก.ค.) เงินบาทในประเทศ (Onshore) ขยับแข็งค่าช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับแรงขายสกุลเงินในเอเชียบางส่วน ท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF กล่าวเตือนว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนอาจกำลังทรุดตัวลงและภาคธนาคารของจีนอาจได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถลดช่วงติดลบกลับมาได้ในช่วงท้ายสัปดาห์ ขณะที่ สกุลเงินในภูมิภาคก็ขยับแข็งค่าขึ้นเช่นกัน โดยมีแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของตัวเลขตลาดแรงงานของออสเตรเลียและสหรัฐฯ ที่ทำให้มีแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องท่ามกลางทิศทางการแข็งค่าของเงินวอนที่ได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางเกาหลีใต้ ทั้งนี้ เงินบาทปิดตลาดปลายสัปดาห์ที่ระดับ 32.34 แข็งค่าเล็กน้อยจากระดับ 32.38 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (2 ก.ค.) ในสัปดาห์นี้ (12-16 กรกฎาคม 2553) ธนาคารพาณิชย์จะมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารและเข้าสู่ปักษ์ใหม่ในวันพุธ อีกทั้งจะมีการตัดจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือนผ่านระบบธนาคารด้วย ทั้งนี้ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินคงจะขึ้นอยู่กับผลการประชุม กนง.ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 นี้ ส่วนเงินบาทในประเทศอาจเคลื่อนไหวในกรอบประมาณ 32.20-32.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยยังคงรอปัจจัยใหม่ๆ มาชี้นำตลาด ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องจับตา ได้แก่ ผลการประชุมกนง.ซึ่งตลาดเริ่มคาดการณ์ถึงการหมุนขั้วของนโยบายการเงินเป็นเชิงคุมเข้มมากขึ้นในการประชุมรอบนี้ (14 ก.ค.) สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินของธปท. และทิศทางของสกุลเงิน/ตลาดหุ้นในภูมิภาค ขณะที่ทิศทางของเงินดอลลาร์ฯ อาจยังคงขึ้นอยู่กับประเด็นเกี่ยวเนื่องกับปัญหาทางด้านการคลังของประเทศในแถบยุโรป ความคืบหน้าของการทดสอบภาวะวิกฤตของธนาคารในยุโรป รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิเดือนพ.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค/ผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ดุลงบประมาณ ข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมิ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ขั้นต้น) ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก และผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนก.ค. บันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 22-23 มิ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
  6. แนวโน้มตลาดหุ้นไทย 12-16ก.ค.ยังมีโมเมนตัมเชิงบวก วันเสาร์ที่ 10 กรกฏาคม 2010 เวลา 09:18 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด สรุปภาวะตลาดทุนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (5-9 ก.ค.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 820.60 จุด ขยับขึ้น 2.25% จาก 802.57 จุด ในสัปดาห์ก่อนหน้า และพุ่งขึ้น 11.72% จากสิ้นปี 2552 ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์เพิ่มขึ้น 62.84% จาก 83,744.86 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 136,372.92 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่เพิ่มขึ้นจาก 20,936.22 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 27,274.58 ล้านบาท โดยนักลงทุนสถาบัน และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิที่ 1,399.98 ล้านบาท และ 6.36 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่1,304.85 ล้านบาท และ 101.44 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 232.17 จุด ขยับขึ้น 0.19% จาก 231.73 จุด ในสัปดาห์ก่อนหน้า และพุ่งขึ้น 7.84% จากสิ้นปีก่อน ดัชนีหุ้นไทยปิดปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี ขณะที่มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นสุดในรอบกว่า 2 เดือน โดยดัชนีหุ้นไทยปิดบวกเล็กน้อยในวันจันทร์ หลังจากเคลื่อนไหวในกรอบแคบตลอดทั้งวัน แต่แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มหลัก รวมถึงแรงเก็งกำไรหุ้นบมจ.บ้านปู (BANPU) หลังมีข่าวจะเข้าซื้อกิจการทั้งหมดใน Centennial ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเหมืองถ่านหินในออสเตรเลีย ยังช่วยพยุงให้ดัชนีปิดในแดนบวกได้ จากนั้น ดัชนีปิดปรับตัวขึ้นอีกในวันอังคาร ตามแรงซื้อหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และแบงก์ ที่มีเข้ามาคึกคัก โดยเฉพาะหุ้นที่ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Play) ซึ่งช่วยหนุนดัชนีปิดสูงสุดในรอบ 2 ปี ส่วนในวันพุธ ดัชนีปิดลบเล็กน้อย ด้วยมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นสุดในรอบ 2 เดือน หลังแกว่งตัวในแดนบวกสลับกับแดนลบในกรอบแคบๆ โดยมีแรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มแบงก์ และพลังงาน ขณะที่นักลงทุนหันไปเก็งกำไรในหุ้นรายตัว โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลางและเล็กแทน อย่างไรก็ตาม ดัชนีปิดปรับตัวขึ้นได้ในวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากตลาดหุ้นต่างประเทศที่สดใส รวมถึงแรงเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 2/2553 ของกลุ่มแบงก์ที่ใกล้จะประกาศ รวมถึงแรงเก็งกำไรในหุ้นรายตัวที่มีข่าวดีสนับสนุน ได้ช่วยหนุนตลาดให้ดัชนีสามารถยืนอยู่ในแดนบวกได้ แม้ดัชนีจะลดช่วงบวกลงเล็กน้อยในการซื้อขายท้ายสัปดาห์ สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (12-16 ก.ค. 2553) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยและบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีโมเมนตัมเชิงบวก ขณะที่อาจมีแรงเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 2/2553 ของกลุ่มธนาคารในตลาดหุ้นไทยที่คาดว่าจะออกมาดี อย่างไรก็ตาม ดัชนีหุ้นไทยยังมีโอกาสปรับตัวผันผวนได้จากปัจจัยต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการรายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2553 ของสหรัฐฯ และกระแสข่าวการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ของธนาคารยุโรป นอกจากนี้ ยังต้องติดตามความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน ทิศทางของตลาดหุ้นต่างประเทศ ตลอดจนการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจชั้นนำอื่นๆ ส่วนปัจจัยในประเทศ ได้แก่ ผลการประชุมนโยบายการเงินของ กนง. ในวันที่ 14 ก.ค. ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 814 และ 808 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 833 และ 850 จุด ตามลำดับ
  7. รายงาน ตั้งแต่ได้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดมา วัดครั้งแรก143 ๑สัปดาห์ผ่านไป วัดครั้งที่๒ 147 ซักไม่ค่อยดี จากนั้นก็หามะละขี้นกมาทาน ทานสดวันละ๒มื้อ มื้อละ๓ผล ผลใหญ่หน่อย +ใบผักเชียงดาต้มน้ำดื่มแทนน้ำเปล่าทั้งวัน พอใบผักเชียงดาที่คุณดักแด้นำมาให้หมด ก็ใช้แบบถุง(ถุงแบบชาลิปตั้น)4ถุงต้มกับกระตอกน้ำร้อนทานทั้งวัน ๑สัปดาห์ผ่านไป วัดน้ำตาลในเลือด 137 และ๑สัปดาห์ผ่านไปอีก เพิ่งวัดน้ำตาลในเลือดเช้านี้ 127 ได้ผลครับพี่น้องทั้งหลาย หากพี่น้องทั้งหลายหรือญาติหรือเพือนของพี่น้องทั้งหลายเป็นเบาหวานหรือเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานอยู่ ใช้สูตรที่ผมกล่าวมาแล้วนี่ได้เลยครับ อ้อ ลืมบอกไป ระหว่างที่ใช้สูตรนี้อยู่ ให้ควบคุมอาหารด้วย จำพวกแป้ง ของมัน ของหวานรวมทั้งผลไม้ที่มีรสหวานจัด หวานมาก หมอบอกว่า ทานได้ แต่ทานให้น้อยหน่อยจ้า จึงรายงานมาเพื่อทราบ ฮา
  8. สัปดาห์หน้า น่าจะได้เห็น1222--1227 อีกอย่าง ทองแท่งไม่เห็นจะต้องวิตกกับเขาเลยครับ คือไม่ขายก็ไม่ขาดทุน ส่วนราคาเดี๋ยวก็คืนกลับมาเองแหละครับ
  9. เขียนว่า คนหละ? แปลว่า คนอยู่ไหน คนหายไปไหนหมด ฮาฮา
  10. อรุณสวัสดิ์ อารมร์ดีทั้งวันของวันนี้ เริ่มต้นจากคำกล่าว อรุณสวัสดิ์ของผมเป็นต้นไป
  11. อ่านหมดก็ดีแล้ว สุดยอดเลย !gd !gd !gd
  12. ถึงแข็งค่าก็ไม่มากนัก หากมากแบ๊งก์ชาติคงเข้าแทรกหน่า ไม่ต้องกลัว ฮา
  13. ค่าบาทเย็นนี้ปิดที่ 32.34-32.37 บาท/ดอลล์ Friday, 09 July 2010 17:31 นักค้าเงินจาก ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT) กล่าวว่า ค่าเงินบาทเย็นนี้ปิดตลาดที่ระดับ 32.34-32.37 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดของวัน ขณะที่อ่อนค่าสุดที่ระดับ 32.42 บาทต่อดอลลาร์ สำหรับแนวโน้มการเคลื่อนของค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้า คาดว่าจะเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่า แต่เนื่องจากมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะเข้ามาแทรกแซง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแข็งค่าเร็วจนเกินไป โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ที่ระดับ 32.30-32.40 บาทต่อดอลลาร์
  14. สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่งและแนวโน้ม : YLG วันศุกร์ที่ 09 กรกฏาคม 2010 เวลา 16:14 น. บล.วายแอลจี บลูเลี่ยน ฯ ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่ง และโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่ 9 กรกฎาคม 2553สภาวะตลาดวันที่ 9 กรกฎคม 2553 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบ ที่ระดับ $1,194.55– $1,199.65 ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFQ10 อยู่ที่ 18,540 บาท โดยเปลี่ยนแปลงลดลง 80 บาท จากวันก่อนหน้าที่ 18,620 บาท แนวโน้มวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 การรายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจในสัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐที่ลดลง 21,000 ราย การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. ของเยอรมัน ปรับตัวขึ้น 2.6% รวมทั้งการที่ไอเอ็มเอฟปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ขึ้นเป็น 4.5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวเพียง 4.1% นอกจากนี้แล้วยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเป็น 3.3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 2.7% รวมถึงปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียเป็น 7.5% จากเดิม 7% ส่งผลให้นักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุนไปสู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นซึ่งกดดันให้ราคาทองคำอ่อนค่าลงในระยะสั้นในขณะที่ SPDR ลดการถือครองทองคำ รวม 4.4 ตัน จากระดับการถือครองสูงสุด โดยทางวายแอล จี มองว่าปัจจัยดังกล่าวจะกดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงในระยะสั้นในขณะที่ความเสี่ยงในระยะยาวเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่อันจะทำให้นักลงทุนยังคงรักษาสัดส่วนการลงทุนในทองคำไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวทำให้กรอบการลงจะมีอย่างจำกัด แนวรับ $1,193 $1,185 $1,175 แนวต้าน $1,206 $1,213 $1,225 แนวโน้มระยะสั้น (ระดับวัน) : คาดว่าราคาทองจะเข้าสู่สภาวะ SIDE WAY ในกรอบ $1,175 - $ 1,213 หลังจากการปรับฐานลงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แนวโน้มระยะกลาง (ระดับสัปดาห์) : คาดว่าราคาทองจะเข้าสู่สภาวะ SIDE WAY จนถึง SIDE WAY UP ในกรอบ $1,175 – $ 1,225 หลังจากปรับฐานลงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แนวโน้มระยะยาว (ระดับเดือน) ราคาทองคำยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นในระยะยาวโดยมีแนวรับสำคัญที่ $1,175 - $1,185 กลยุทธ์การลงทุน ระยะสั้น : จุดสำคัญในการเข้าซื้อคือที่แนวรับ $1,193 $1,185 ระยะกลาง : จุดสำคัญในการเข้าซื้อคือที่แนวรับ $1,185 $1,175 ระยะยาว : จุดสำคัญในการเข้าซื้อคือที่แนวรับ $1,185 $1,175 Turning point : อยู่ที่ระดับ $1,165 แนะนำกลยุทธ์การลงทุน GOLD FUTURE แนวโน้มระยะสั้น (ระดับวัน) คาดว่าราคาทองจะเข้าสู่สภาวะ SIDE WAY ในกรอบ 18,450 - 18,800 บาท หลังจากการปรับฐานลงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แนวโน้มระยะกลาง (ระดับสัปดาห์) คาดราคาทองจะเข้าสู่สภาวะ SIDE WAY จนถึง SIDE WAY UP ในกรอบ 18,450 - 19,000 หลังจากปรับฐานลงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แนวโน้มระยะยาว (ระดับเดือน) แนวโน้มระยะยาวยังคงปรับตัวขึ้นให้หาจังหวะเข้าซื้อบริเวณ 18,450 บาท กลยุทธ์การลงทุน Long Position: ถือสถานะข้ามวัน Short Position : ปิดสถานะบริเวณ 18,450 บาท Open New Position: ทะยอยสะสม Long บริเวณ 18,450 Turning point: จุดเปลี่ยนจากซื้อเป็นขายหากราคาต่ำกว่า 18,400 บาท (โดยรอซื้อคืนที่ 17,800-18,000 บาท)
  15. กสิกรไทยคาดกนง.ประชุม14 ก.ค.นี้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็น1.50% วันศุกร์ที่ 09 กรกฏาคม 2010 เวลา 16:49 น. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ออกบทวิเคราะห์ "นโยบายอัตราดอกเบี้ยไทย ... น่าจะมาถึงจุดเปลี่ยนทิศ" โดยระบุว่า ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) จะมีการประชุมรอบที่ 5 ของปีเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน หรืออัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ซึ่งกำหนดอยู่ที่ร้อยละ 1.25 มาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2552 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความคิดเห็นต่อการประชุม กนง.รอบนี้ ดังต่อไปนี้ -ผลการประชุม : มติขึ้นดอกเบี้ย ... มีความเป็นไปได้ เมื่อคำนึงถึงการออกมาส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าความจำเป็นของการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำเป็นพิเศษที่ร้อยละ 1.25 มีน้อยลง และเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้นโยบายคุมเข้มแรงๆ ก็ควรที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเร็วในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีโอกาสที่จะเห็นการปรับทิศนโยบายการเงินของ กนง.จากระดับผ่อนคลายอย่างมากสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้น (Normalized) ด้วยการขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาเป็นร้อยละ 1.50 ในการประชุมวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 นี้ ซึ่งก็จะเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 อย่างไรก็ตาม มีโอกาสใกล้เคียงกันที่ กนง.อาจจะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 ตามเดิมในการประชุมรอบที่จะถึง โดยรอติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอีกระยะหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะไม่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมิถุนายน มีกำหนดเผยแพร่สิ้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งอาจให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ เพราะเป็นเดือนที่ความเสี่ยงการเมืองลดระดับลงอย่างมีนัยสำคัญ) ขณะเดียวกันก็เพื่อให้เวลาตลาดการเงินและภาคส่วนต่างๆ ในการปรับตัวก่อนที่จะปรับทิศนโยบายอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไปในวันที่ 25 สิงหาคม 2553 อนึ่ง ไม่ว่ามติการประชุมรอบนี้จะมีข้อสรุปออกมาเป็นเช่นไรในระหว่างสองกรณีข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จังหวะเวลาที่ห่างกันเพียง 1 รอบการประชุม หรือประมาณ 6 สัปดาห์ คงไม่มีความแตกต่างกันมากนักสำหรับการดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มอยู่ในขอบเขตที่บริหารจัดการได้ (โดยมีกระแสข่าวที่ระบุก่อนหน้านี้ว่า ธปท.อาจทบทวนปรับเพิ่มกรอบประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ในรายงานเงินเฟ้อที่มีกำหนดเผยแพร่ในวันที่ 23 กรกฎาคม) ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในปีข้างหน้า นอกจากนี้ การปรับทิศนโยบายการเงินของ กนง. หากเกิดขึ้น ก็ยังเป็นการดำเนินนโยบายในทิศทางที่สอดคล้องกันกับการคุมเข้มนโยบายการเงินด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในระยะที่ผ่านมา (ธนาคารกลางออสเตรเลีย ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ ธนาคารกลางมาเลเซีย ธนาคารกลางไต้หวัน ธนาคารกลางอินเดีย และล่าสุดธนาคารกลางเกาหลีใต้) ซึ่งธนาคารกลางบางแห่ง โดยเฉพาะธนาคารกลางจีน ก็ยังมีแนวโน้มจะเพิ่มการคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะถัดไปอีกด้วย มุมมองต่อความเสี่ยงที่สำคัญทั้ง 2 ด้าน : ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดระดับลง ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ... ลดระดับลงในช่วงครึ่งปีหลัง อานิสงส์จากมาตรการเยียวยา กระแสฟุตบอลโลก และความเสี่ยงเศรษฐกิจต่างประเทศที่ยังจำกัด คงต้องยอมรับว่า ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบางในแต่ละภูมิภาค (ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังขาดความแน่นอนหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางการค่อยๆ เจือจางลง วิกฤตหนี้ภาครัฐในแถบยุโรปที่คงต้องอาศัยเวลาในการกอบกู้และเป็นความเสี่ยงในระยะปานกลางถึงยาวสำหรับการฟื้นตัวอย่างมั่นคงของเศรษฐกิจชั้นนำในโลก ตลอดจนการสกัดความร้อนแรงของภาวะฟองสบู่ในเศรษฐกิจเอเชียที่นำโดยจีนผ่านการใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน) ถือเป็นประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ำหนักและต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงถัดๆ ไป อย่างไรก็ดี แรงส่งจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งขับเคลื่อนโดยภาคการส่งออกเป็นหลัก ผนวกกับอานิสงส์จากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายของทางการไทย ซึ่งครอบคลุมถึงการเร่งดำเนินมาตรการเยียวยาผลกระทบทางการเมืองออกมาในทันทีหลังการชุมนุมยุติลง และความต่อเนื่องของการใช้จ่ายจากภาครัฐผ่านการเบิกจ่ายงบประมาณและเงินกู้ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง ตลอดจนกระแสความนิยมในฟุตบอลโลกและการออกโครงการส่งเสริมการขายที่เกี่ยวเนื่องของสินค้าและบริการต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในช่วงปลายไตรมาส 2 ถึงต้นไตรมาส 3 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ปัจจัยบวกดังกล่าว น่าที่จะสามารถลดทอนผลกระทบจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจต่างประเทศให้มีขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัดสำหรับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมในปี 2553 อาจขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0-6.0 (YoY) เทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2552 แม้ว่าโมเมนตัมการขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลังอาจมีแนวโน้มแผ่วลงเมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งปีแรก อันเป็นผลจากความเสี่ยงเศรษฐกิจต่างประเทศที่อาจทำให้การส่งออกเติบโตในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ ภาพรวมความเสี่ยงด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ลดระดับลง ภายใต้สมมติฐานที่ความเสี่ยงการเมืองไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเศรษฐกิจโลกสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยรอบสอง (Double-Dip Recession) ก็น่าที่จะทำให้ กนง.มีความยืดหยุ่นสำหรับการปรับขั้วนโยบายการเงินเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้นภายได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ... ไม่น่ากังวลในปีนี้ แต่อาจมีน้ำหนักชัดเจนขึ้นในปีข้างหน้า จากการต่ออายุมาตรการลดภาระค่าครองชีพและมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนด้านพลังงานออกไปอีก 6 เดือน หรือมีผลไปจนถึงช่วงปลายปี 2553 และต้นปี 2554 ตามลำดับ ผนวกกับการปรับตัวของราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ไม่ได้เร่งขึ้นมากนักท่ามกลางความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศคงจะไม่ใช่ประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ำหนักมากนักในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ด้วยผลของฐานเปรียบเทียบและแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มขยับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องถึงปี 2554 โดยเฉพาะเมื่อมาตรการอุดหนุนจากทางการสิ้นสุดอายุลง โดยประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ กนง.ใช้ประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน มีแนวโน้มปรับขึ้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับปัจจุบันในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 และแม้จะยังอยู่ภายในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท.ที่ร้อยละ 0.5-3.0 ในระยะที่เหลือของปีนี้ แต่ก็มีโอกาสจะสูงกว่ากรอบบนของเป้าหมายในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินเป็นไปในลักษณะที่ไม่ล่าช้า (Pre-Emptive) การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาส 3/2553 ก็ถือได้ว่าน่าจะเป็นจังหวะเวลาที่สามารถยอมรับได้ ขณะเดียวกันก็ยังเป็นการป้องกันภาวะความไม่สมดุลที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมีค่าติดลบเป็นเวลานานเกินไป ซึ่งอาจบั่นทอนแรงจูงใจของการออมในประเทศ ตลอดจนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว ขณะที่ กนง.ก็ได้เคยพิจารณาปัจจัยนี้เป็นหนึ่งในหลายๆ เหตุผลสำหรับการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอดีตมาแล้วด้วยเช่นกัน (ช่วงเดือนกันยายน 2548 ถึงเดือนเมษายน 2549) -ผลต่ออัตราดอกเบี้ยในระบบ : ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การส่งสัญญาณของ กนง. และกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงิน ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยและอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนในตลาดเงินดูเหมือนกับว่าจะยังไม่ได้ปรับตัวอย่างเต็มที่รับการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. เห็นได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุไม่เกิน 7 ปีที่ขยับขึ้น 1-21 จุด นับจากการประชุมรอบก่อน (2 มิถุนายน) จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม (โดยเพิ่งขยับขึ้นชัดเจนในระยะไม่กี่วันก่อนถึงกำหนดการประชุม กนง.) ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปยังปรับลดลง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน (Bilateral Repo ระยะเวลา 14 วัน) ก็เพิ่งจะขยับขึ้นมากกว่าร้อยละ 1.25 เล็กน้อยในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การปรับตัวดังกล่าว ส่วนหนึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากกระแสการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุน รวมทั้งน่าจะเป็นผลจากปริมาณสภาพคล่องที่ยังมีอยู่สูงในตลาดเงิน (มากกว่า 1 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2553) ขณะที่ตลาดการเงินน่าจะรับรู้และปรับตัวรับการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะอันใกล้นี้ของ กนง.แล้วในระดับหนึ่ง ดังนั้น การปรับตัวของตลาดการเงินในระยะถัดไป นอกจากจะขึ้นกับมติ กนง.ในการประชุมรอบนี้แล้ว คงจะอยู่ที่การส่งสัญญาณของ กนง.ถึงความต่อเนื่องในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าจะมีมากน้อยเพียงใดในระยะที่เหลือของปี รวมไปถึงมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจซึ่งจะมีผลต่อการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ของนักลงทุน อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินที่น่าจะมาถึงจุดเปลี่ยนทิศดังกล่าว อาจจะมีผลต่อต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุสั้นๆ ที่มักปรับขึ้นสอดรับกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนประเภทอายุยาว ยังน่าที่จะเป็นไปในขอบเขตที่จำกัดภายใต้สภาวะที่เศรษฐกิจชั้นนำในโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์นั้น ประเด็นสำคัญเพิ่มเติมคงจะอยู่ที่ความสามารถในการขยายสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ (ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ) ตลอดจนกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินโดยการดูดซับสภาพคล่องผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ ของ ธปท. โดยมองว่า หาก กนง.มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็คงจะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมตาม แต่จังหวะเวลาและขนาดการปรับขึ้นนั้น คงจะอยู่ที่ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภาวะการแข่งขัน รวมถึงการบริหารจัดการสภาพคล่องในระบบของทางการเป็นสำคัญ โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยจะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับผ่อนคลายอย่างมากที่ร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.50 ในการประชุมรอบที่ 5 ของปีในวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็นโอกาสที่ใกล้เคียงกันกับความเป็นไปได้ที่ กนง.อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมรอบที่จะถึงนี้ และเตรียมการณ์สำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไปในวันที่ 25 สิงหาคม 2553 ทั้งนี้ ไม่ว่ามติการประชุมรอบนี้จะมีข้อสรุปออกมาเป็นเช่นไรในระหว่างสองกรณีข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จังหวะเวลาที่ห่างกันเพียง 1 รอบการประชุม หรือประมาณ 6 สัปดาห์ คงไม่มีความแตกต่างกันมากนักสำหรับการดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้น (Normalized) ท่ามกลางสถานการณ์ที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มอยู่ในขอบเขตที่บริหารจัดการได้ ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในปีข้างหน้า นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าว หากเกิดขึ้น ยังเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สำหรับผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในระบบหรือต้นทุนทางการเงินนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การปรับตัวของตลาดการเงินในระยะถัดไป นอกจากจะขึ้นกับมติ กนง.ในการประชุมรอบนี้แล้ว คงจะอยู่ที่การส่งสัญญาณของ กนง.ถึงความต่อเนื่องในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าจะมีมากน้อยเพียงใดในระยะที่เหลือของปี รวมไปถึงมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ของนักลงทุน ขณะที่ประเด็นสำคัญเพิ่มเติมสำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้น คงจะอยู่ที่ความสามารถในการขยายสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนกลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินโดยการดูดซับสภาพคล่องผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ ของทางการ โดยมองว่า หาก กนง.มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็คงจะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมตาม แต่จังหวะเวลาและขนาดการปรับขึ้นนั้น คงจะอยู่ที่ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภาวะการแข่งขัน และการบริหารจัดการสภาพคล่องในระบบของทางการเป็นสำคัญ
  16. สรุปภาวะ Gold Futures By GT Wealth Management 9 ก.ค. 53 (ภาคเช้า) ข่าวเศรษฐกิจ ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2553 12:07:08 น. กรุงเทพฯ--9 ก.ค.--จีที เวลธ์แมเนจเมนท์ ราคาทองคำในตลาดโลกเช้าวันนี้ยังทรงตัวในกรอบแคบหลังปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 1,200 ดอลล่าร์ โดยเคลื่อนไหวในกรอบ 1,195-1,199 ดอลล่าร์ต่อออนซ์ โดยนักลงทุนยังคงเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มหลังจากมุมมองทางเศรษฐกิจปรับดีขึ้น โดยการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปในไตรมาส 2 น่าจะมีการปรับตัวดีขึ้นจากช่วงก่อนหน้า ประกอบกับความพยายามในการแก้ไขปัญหาและลดระดับหนี้ลงของหลายประเทศเริ่มสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมา สังเกตได้จากค่าเงินยูโรที่เริ่มมีแนวโน้มแข็งค่าเทียบดอลล่าร์ ส่วนกองทุน SPDR ขายออกเป็นรอบที่ 4 ติดต่อกัน โดยขายออกอีก 0.44 ตัน ค่าเงินบาทเช้าวันนี้แข็งค่าเล็กน้อยเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 32.38 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ โกลด์ฟิวเจอร์สัญญาสิ้นสุดอายุเดือนสิงหาคม (GFQ10) ราคาปรับลดลงจากเมื่อวันพฤหัสบดี (8 ก.ค. 53) 50 บาท เปิดที่ระดับราคา 18,570 บาท ราคาทองคำที่ประกาศโดยสมาคมค้าทองคำวันนี้ ราคาเสนอซื้อ 18,500 บาท ราคาเสนอขาย 18,600 บาท
  17. ตัวการ์ตูนแปลว่า ยีนดีที่รวยหรือ ขอให้รวยขอให้รวย
  18. กราฟตาแป๊ะรายวัน กราฟตาแป๊ะซ้ายบน ตัวหนังสือสีเขียว 卖 ---ขาย ตัวหนังสือสีแดง买----ซื้อ เส้นหักมุม(เส้นเส้นคู่เล็กบางสีขาง+เหลืองอ่อน)ขึ้น—ลง ตามมุมที่หัก(ให้ผลระยะกลางยาว) ขวาบน เส้นสีแดง---เสนอซื้อมากกว่าเสนอขาย เส้นสีเขียว---เสนอขายมากกว่าเสนอซื้อ ส่วนช่วงกลางที่มีแท่งสีแดงกับเขียวนั้น แท่งแดง---แรงซื้อขึ้น แท่งเขียว---แรงขายลง ขวาช่องสอง แท่งเหลืองคู่เส้นแดง---ขาขึ้น แท่งฟ้าคู่เส้นเขียว---ขาลง โดยปกติ ช่องนี้จะเปลี่ยนแนวโน้มช้ากว่าเพื่อน หากเปลี่ยนแนวโน้มเมื่อไหร่ เขาให้ขายออกหรือซื้อเข้าได้ทันที่ ยกเว้นมีปัจจัยพื้นฐานแรงๆแทรกเข้ามา จึงจะทำให้แนวโน้มกลับเปลี่ยนได้โดยกะทันหัน ซ้ายช่องสอง หน้าเหลืองแป๊ะยิ้ม---ขาขึ้น หน้าแดงแป๊ะร้องไห้---ขาลง แท่งสีเขียว---เพดาน แท่งสีแดง---พื้นดินโดยปกติ ช่องนี้จะส่งสัญญาณว่า กำลังจะเปลี่ยนแนวทางแล้วนะ แต่ยังไม่เต็มร้อย อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยกะทันหันก็ได้ ต้องดูซ้ายบนและขวาช่อง๒ประกอบด้วย จึงจะให้ความมั่นใจได้
×
×
  • สร้างใหม่...