ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ทองใหม่

ผู้นำชุมชน
  • จำนวนเนื้อหา

    9,822
  • เข้าร่วม

  • วันที่ชนะ

    484

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย ทองใหม่

  1. Gold Futures บ่ายนี้ ยังเป็นสัญญาณบวกหลัง Monday, 28 June 2010 13:00 นายพงศ์ภัทร สิริพิพัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) KGI เปิดเผยถึงการซื้อขายสินค้า Gold Futures ในตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX) ในวันนี้ว่า ราคาทองล่วงหน้าของไทย เคลื่อนไหวในแดนบวก ตามตลาดทองโลก หลังจากกองทุน SPDR เดินหน้าถือทองคำเพิ่มต่อเนื่องอีก 3.05 ตัน แตะระดับAll Time High ที่ 1,316.177 ตัน ประกอบกับต้นทุนการประกันหนี้สาธารณะของกรีซทะยานทำสถิติสูงสุด สอดรับกับวิกฤตหนี้ยุโรปที่ยังเสี่ยงสูงที่อาจจะกระทบต่อประทศในยูโรโซน ส่งผลให้นักลงทุนหันมาให้ความสนใจกับทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น โดยราคาทองในตลาด COMEX ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้น 10.30 ดอลลาร์ ปิดที่ระดับ 1,256.20 ดอลลาร์/ออนซ์ สำหรับในช่วงบ่ายคาดว่าราคา Gold Futures จะยังเคลื่อนไหวในแดนบวกต่อ เนื่องจากนักลงทุนกังวลกับปัญหาปัญหายุโรปอีกครั้ง โดยกลยุทธ์แนะนำเปิดสถานะซื้อ หากราคายังสามารถยืนเหนือแนวรับ 19,310 และ 19,260 บาท ในสัญญา GFQ10 เดือนสิงหาคม 2553 ประเมินแนวต้านที่ 19,460 บาท
  2. จะซื้อแท่งเพิ่ม ผมว่าคอยให้ทองลงก่อนค่อยซื้อเพิ่มจะดีกว่า ถึงทองยังมีแรงที่จะขึ้นต่อได้ แต่ก็อยู่ในแนวที่สูงมากแล้ว พร้อมที่จะลงได้ทุกเมื่อเหมือนกันครับ
  3. หากภาพเล็ก คลิ๊กที่รูปภาพจะขยายใหญ่
  4. 28 มิ.ย. 2553 ตลาดทองเอเชีย:ทองดีดเหนือ 1,255 ดอลล์เช้านี้ใกล้สถิติสูงสุดหลังวิตกศก.โลก ราคาทองดีดตัวขึ้นในวันนี้ โดยอยู่ห่างจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ทำไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วไม่ถึง 10 ดอลลาร์ โดยได้แรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับ เศรษฐกิจโลก หลังการประชุมสุดยอดจี-20 ขณะที่นักลงทุนวิตกต่อความคิดเห็นของ สหรัฐที่ว่าอิหร่านมีวัตถุดิบที่สามารถนำไปผลิตระเบิดนิวเคลียร์ 2 ลูก ณ เวลา 09.43 น.ตามเวลาไทย ราคาทองสปอตปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1,255.95 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้ว ราคาทองแท่งแตะจุดสูงสุด เป็นประวัติการณ์เหนือ 1,264 ดอลลาร์ สัญญาทองล่วงหน้าส่งมอบเดือนส.ค.ของสหรัฐปรับตัวขึ้น 1.78 ดอลลาร์ สู่ 1,258.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ทองได้แรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับความต่อเนื่องและอัตราการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลก ซึ่งนักลงทุนยังคงมีความกังวลหลังการประชุมสุดยอดจี-20 ในช่วงสุดสัปดาห์ในแคนาดา, การอ่อนค่าของดอลลาร์ และคำกล่าวจากผู้อำนวยการ หน่วยข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ที่ว่า อิหร่านอาจมีวัตถุดิบในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ 2 ลูก และอาจจะทำการผลิตลูกแรกในเวลา 2 ปี กองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF รายใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเผยว่า การถือครองทองของทางกองทุนยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ระดับสูงสุดเป็น ประวัติการณ์ที่ 1,316.177 ตัน --จบ--
  5. G-20 ได้ข้อสรุปเงื่อนเวลาปรับลดงบประมาณขาดดุล Posted on Monday, June 28, 2010 G-20 ได้ข้อสรุปเงื่อนเวลาปรับลดงบประมาณขาดดุล ที่ประชุม G-20 จากเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ได้ข้อสรุปท่ามกลางเหตุประท้วงที่วุ่นวายอยู่ภายนอก ด้วยการตอกย้ำเป้าหมายการปรับลดงบประมาณขาดดุล และเดินหน้าเพิ่มระดับเงินทุนสำรองภาคธนาคารเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่ สำหรับเงื่อนไขทางด้านเวลา กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วตกลงกันว่าจะหั่นงบประมาณขาดดุลให้ลดลงได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายในปี 2013 และรักษาระดับหนี้ต่อจีดีพีให้มีเสถียรภาพภายในปี 2016 ทางกลุ่ม G-20 ยังบอกว่า บรรดาธนาคารต่างๆ จำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มระดับทุนของตนขึ้นอีกพอควร พร้อมกับให้ทุกประเทศบังคับใช้กฎเกณฑ์เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานใหม่ภายในปี 2012 ความคืบหน้าของการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของโลกหนนี้ ถึงขนาดทำให้นายกรัฐมนตรีเยอรมัน Angela Merkel เอ่ยปากยอมรับว่า บทสรุปในเรื่องเป้าหมายทางการคลังเดินมาไกลเกินกว่าที่ตนคาดหวังไว้ และถือว่าประสบความสำเร็จเมื่อทุกฝ่ายตกลงยอมรับเงื่อนไขร่วมกัน กลุ่ม G-20 ยังเห็นชอบที่จะให้คงแผนกระตุ้นทางการคลังเอาไว้ รวมถึงการดำเนินมาตรการร่วมกันเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้โดยไม่สะดุด สำหรับท่าทีของประเทศตลาดเกิดใหม่ มีการยอมรับว่าจะใช้มาตรการปกป้องความปลอดภัยทางสังคม หรือ social safety net รวมทั้งเพิ่มการใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเอื้อให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศตนเคลื่อนไหวได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น  การบรรลุข้อตกลงของบรรดาประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจหนนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่บอกว่าอยากเห็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และฝ่ายที่อยากจะให้มีการปรับลดการขาดดุลงบประมาณเป็นอันดับแรก หนึ่งในเสียงคัดค้านมาจากทางบราซิล ที่ต่อต้านการกำหนดเป้าหมายในแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับการปรับลดงบประมาณขาดดุลนี้ โดยบอกว่าคงยากสำหรับประเทศ G-20 บางประเทศในการที่จะทำตามเงื่อนไขดังกล่าวได้โดยไม่ต้องแลกกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต้องชะลอลง นักวิเคราะห์คาดตัวเลขจ้างงานสหรัฐร่วง-ว่างงานสูง นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในวอลล์สตรีทคาดว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payroll) ประจำเดือนมิ.ย.ของสหรัฐจะลดลง 110,000 ตำแหน่ง เนื่องจากการจ้างพนักงานชั่วคราวของภาครัฐในส่วนของงานสำมะโนประชากรมีแนวโน้มปรับตัวลดลง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมิ.ย.จะพุ่งขึ้นแตะระดับ 9.7% กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรในวันศุกร์ที่ 2 ก.ค.นี้ ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐได้จ้างพนักงานชั่วคราวจำนวน 411,000 ตำแหน่งเพื่อทำงานด้านการสำรวจสำมะโนประชากร ส่งผลให้ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 431,000 ตำแหน่ง แต่ยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะพุ่งขึ้น 508,000 ตำแหน่ง ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะซบเซา ซึ่งหลักฐานล่าสุดคือจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 19 มิ.ย.ที่มีอยู่สูงถึง 457,000 ราย ซึ่งสร้างความกังวลให้กับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยในการประชุมครั้งหลังสุดเมื่อวันพุธที่ผ่านมา คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดกล่าวว่า แม้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐยังคงดำเนินต่อไป แต่อัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ขัดขวางการขยายตัวของเศรษฐกิจ เบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดกล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวเร็วพอที่จะทำให้อัตราว่างงานปรับตัวลดลง และคาดว่าอัตราว่างงานจะยังเคลื่อนไหวที่ระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ เบอร์นันเก้กล่าวว่า การที่เศรษฐกิจโลกถดถอยในระดับลึกมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อัตราการฟื้นตัวในขณะนี้อยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น เบอร์นันเก้กล่าวว่า "อัตราว่างงานในสหรัฐยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าประชาชนจำนวนมากจะตกอยู่ภายใต้แรงกดดันทางการเงิน" สภาคองเกรสเห็นพ้องแผนยกเครื่องระบบการเงิน ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ แสดงความยินดีและพอใจที่สภาคองเกรสสามารถตกลงกันได้ในที่สุดเกี่ยวกับแผนการปฏิรูปภาคการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐ หลังจากที่มีการเจรจาต่อรองกันมานานหลายเดือน ผู้นำสหรัฐกล่าวกับผู้สื่อข่าวก่อนออกเดินทางไปร่วมประชุม จี8 และ จี20 ที่แคนาดาว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวที่สมาชิกสภาคองเกรสสามารถตกลงกันได้เมื่อคืนนี้นั้น มีรายละเอียดที่เป็นไปตามความต้องการของเขาถึง 90% และชี้ว่าแผนดังกล่าวจะเป็นการปฏิรูปที่แข็งกร้าวที่สุดนับตั้งแต่ยุค Great Depression ทั้งนี้ คาดว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐจะลงมติรับร่างกฎหมายยกเครื่องภาคการเงินในสัปดาห์หน้าก่อนส่งให้ประธานาธิบดีลงนามเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป กฎหมายปฏิรูปการเงินนี้จะถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญครั้งที่สองของโอบามาในด้านนโยบาย หลังจากที่เขาสามารถผลักดันแผนปฏิรูประบบดูแลสุขภาพจนได้ความเห็นชอบจากสภาคองเกรสและมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำหรับกฎหมายปฏิรูปภาคการเงินนี้ประสบปัญหาติดขัดกว่าที่จะผ่านความเห็นพ้องของทุกฝ่ายมาได้ โดยก่อนหน้านี้ บรรดาสมาชิกสภาคองเกรสมีความเห็นแตกต่างกันในหลายประเด็น อาทิ การค้าตราสารอนุพันธ์ และการจำกัดความสามารถของสถาบันการเงินในการลงทุนในกองทุนเก็งกำไร เป็นต้น สหรัฐลด GDP ไตรมาสแรกปีนี้ เป็น 2.7% กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัว 2.7% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ 3% และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยายตัว 3% ต่อปี โดยปกติแล้วกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยการประเมินจีดีพีไตรมาสละ 3 ครั้ง ซึ่งการทบทวนจีดีพีไตรมาส 1/2553 ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว และกระทรวงฯมีกำหนดเปิดเผยการประเมินจีดีพีไตรมาส 2/2553 ครั้งแรกในวันที่ 30 ก.ค.นี้ สำหรับการปรับทบทวนจีดีพีไตรมาสแรกในครั้งสุดท้ายนี้ นับว่าน่าผิดหวัง เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสสี่ปีที่แล้วซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวถึง 5.6% ทั้งนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนในภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของจีดีพี ต่างก็ถูกปรับทบทวนลง โดยในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ การขยายตัวของการลงทุนในภาคธุรกิจถูกปรับลดลงเหลือ 11.4% จากที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ 13.1% ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงราว 70% ของเศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัว 3% ในไตรมาสแรก ซึ่งต่ำกว่าการประเมินเมื่อช่วงปลายเดือนที่แล้วที่ 3.5% อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวนับว่าดีขึ้นมากจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคขยายตัวเพียง 1.6% และยังเป็นการขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายรายเชื่อว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอาจชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลค่อยๆสิ้นสุดลง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 3.1% ในปี 2553 และจะขยายตัวเพียง 2.6% ในปี 2554 ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเป็น 3.2 - 3.7% ในปีนี้ ซึ่งมากกว่าที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวเพียง 2.8 - 3.5% นอกจากนี้ เฟดคาดการณ์ว่าอัตราว่างงานในสหรัฐจะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 9.1 - 9.5% ในปีนี้ จากที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ 9.5 - 9.7% เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐส่งสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา วิกฤตหนี้ยุโรปเป็นภัยต่อภาคธนาคารอังกฤษ ธนาคารกลางอังกฤษเตือนวิกฤตหนี้ยูโรโซนถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อภาคการธนาคารของอังกฤษ พร้อมแนะให้ธนาคารเพิ่มทุนสำรองเงินสดเพื่อเตรียมรับมือหากเกิดปัญหาขึ้น ในรายงานเสถียรภาพการเงินครั้งล่าสุด แบงก์ชาติอังกฤษได้ขานรับมาตรการที่สหภาพยุโรปได้นำมาใช้เพื่อควบคุมวิกฤตไม่ให้ขยายเป็นวงกว้าง แต่ขณะเดียวกันแบงก์ชาติระบุว่า การที่ธนาคารต่างๆของอังกฤษได้เข้าไปลงทุนหรือมีธุรกรรมเกี่ยวข้องกับธนาคารอื่นๆของยุโรปอาจทำให้ธนาคารของอังกฤษตกอยู่ในความเสี่ยงได้ โดยนักลงทุนยังคงวิตกว่าประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรบางประเทศอาจผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารกลางอังกฤษระบุว่า ปัญหาหนี้สาธารณะทำให้นักลงทุนเกิดความไม่แน่ใจเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของธนาคารยุโรปบางแห่ง ซึ่งอาจจะส่งผลสืบเนื่องมาถึงภาคการเงินของอังกฤษ ทั้งนี้ ธนาคารของอังกฤษไม่ได้เข้าไปลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้ของกรีซและรัฐบาลประเทศอื่นๆในยุโรปที่ได้รับผลผระทบจากวิกฤต อาทิ สเปน โปรตุเกส และไอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติชี้ว่า การลงทุนโดยอ้อมมีอยู่ค่อนข้างมาก อาทิ ธนาคารพาณิชย์ของอังกฤษปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ในเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นมูลค่าถึงราว 2.66 แสนล้านปอนด์ ซึ่งผู้กู้ในสองประเทศดังกล่าวมีการลงทุนเป็นจำนวนมากในสี่ประเทศที่กำลังประสบปัญหาหนี้ ซึ่งถ้าหากวิกฤตหนี้สาธารณะของประเทศเหล่านี้ทวีความรุนแรงขึ้น ธนาคารของอังกฤษที่เป็นผู้ปล่อยกู้ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย อิรักเปิดไฟเขียวต่างชาติร่วมทุนโรงกลั่นฯ 4 แห่ง นายฮุสเซน อัล-ชาห์ริสตานี รมว.พลังงานอิรักกล่าวว่า อิรักกำลังมองหาบริษัทต่างชาติที่ต้องการร่วมทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันใหม่ 4 แห่ง นายชาห์ริสตานีกล่าวในระหว่างการประชุมด้านพลังงานที่กรุงแบกแดด ซึ่งมีบริษัทพลังงานจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุมด้วยว่า "การลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันใหม่จะต้องใช้ต้นทุนกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ และเป็นโครงการที่รัฐบาลอิรักริเริ่มขึ้นเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันให้ได้ถึง 740,000 บาร์เรล/วัน โดยทางรัฐบาลจะเปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติเข้าร่วมประมูลในโครงการนี้" ทั้งนี้ รมว.พลังงานอิรักกล่าวว่า การลงทุนในโครงการโรงกลั่นน้ำมัน 4 แห่งจะไม่มีการใช้กฎข้อบังคับที่เข้มงวดกับบริษัทต่างชาติ และอิรักพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในทุกๆด้าน รัฐบาลอิรักวางแผนที่จะสร้างโรงกลั่นน้ำมันใหม่ 4 แห่งในเมืองคาร์บาลาซึ่งจะมีกำลังการผลิต 140,000 บาร์เรล/วัน ในเมืองเคอร์คุกซึ่งจะมีกำลังการผลิต 150,000 บาร์เรล/วัน ขณะที่ ในเมืองเมย์ซานและเมืองนาซิริยาห์ ซึ่งจะมีกำลังการผลิต 300,000 และ 150,000 บาร์เรล/วัน ตามลำดับ สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ปัจจุบันกำลังการกลั่นน้ำมันของอิรักมีอยู่ราว 550,000 บาร์เรล/วัน และโรงกลั่นน้ำมันที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแคลนการลงทุน ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามและการถูกคว่ำบาตรจากสหประชาชาติ ทั้งนี้ อิรักยังคงพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก โดยอิรักมีแหล่งสำรองน้ำมันสูงถึง 1.15 แสนล้านบาร์เรล ซึ่งมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากซาอุดิอาระเบีย และอิหร่าน เบลารุสประกาศตัดก๊าซ รัสเซียสู่ยุโรป หากก๊าซพรอมเบี้ยวหนี้ ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก แห่งเบลารุสประกาศให้เวลาบริษัท ก๊าซพรอมอีก 24 ชั่วโมงในการชำระหนี้ค่าธรรมเนียมลำเลียงก๊าซ หากไม่มีการชำระหนี้ ทางรัฐบาลเบลารุสจะระงับการจัดส่งน้ำมันและก๊าซจากรัสเซียไปยังยุโรป ขณะที่ก๊าซพรอมระบุว่า บริษัทไม่ได้เป็นหนี้เบลารุสภายใต้สัญญาฉบับปัจจุบัน และยังได้ส่งเอกสารไปยังเบลารุส เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ก่อนหน้านี้ ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและเบลารุสจะคลี่คลายลงเมื่อทั้งสองฝ่ายระบุว่าได้ชำระหนี้เรียบร้อยแล้ว แต่การออกมาประกาศแสดงท่าทีล่าสุดของประธานาธิบดีเบลารุสนี้ บ่งชี้ว่า สงครามก๊าซระหว่างรัสเซียและเบลารุสยังไม่สิ้นสุดลง เมื่อวานนี้ สื่อในรัสเซียรายงานว่า อเล็กเซ มิลเลอร์ ซีอีโอบริษัทก๊าซพรอม แจ้งให้ประธานาธิบดีดิมิทรี เมดเวเดฟ ทราบว่า ก๊าซพรอมจะลำเลียงก๊าซให้เบลารุสเต็มกำลังเหมือนเดิม หลังจากที่เบลารุสชำระค่าก๊าซที่ค้างไว้เรียบร้อยแล้ว ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่ประกาศเมื่อวันนี้ (ศุกร์ที่ 25 มิ.ย. 2553) • จีดีพี ขั้นสุดท้าย (Q1/2010) ขยายตัว 2.7% จากไตรมาสก่อนหน้า • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 76.0 จุด ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่จะประกาศวันนี้ (จันทร์ที่ 28 มิ.ย. 53) • รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล (พ.ค.) โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ
  6. บทวิเคราะห์ทองคำ (28-06-53) 28 มิ.ย. 2553 สรุปภาวะตลาดก่อนหน้านี้ ราคาโกลด์ฟิวเจอร์สแกว่งตัวผันผวนสอดคล้องกับราคาทองคำสปอต ก่อนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังTFEXปิดทำการ เงินบาทผันผวนตามภูมิภาค ทองคำแท่งสมาคมปิดที่ 19,000/19,100 บาท ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อเนื่องถึงวันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญโรมาเนียตัดสินให้รัฐบาลไม่สามารถลดบำเน็จบำนาญข้าราชการตามมาตรการรัดเข็มขัดที่ IMF ตั้งเงื่อนไขไว้ได้เนื่องจากขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้โรมาเนียต้องประสบปัญหาสินเชื่อในที่สุด นักลงทุนจึงต่างพากันเทขายเงินยุโรปตะวันออกทั้งเงินลูของโรมาเนีย ฟอรินท์ของฮังการี และซลอตตี้ของโปแลนด์ ต่างได้รับผลกระทบจากแรงเทขายอย่างหนักหน่วง ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงค่าเงินยูโร อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไม่น่าจะส่งผลลูกโซ่จนเกิดเป็นวิกฤตสินเชื่อได้ ราคาทองคำจึงไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด [Reuters, AFC Research] สหรัฐฯรายงานจีดีพีประจำไตรมาส 1/2553 ออกมาแย่ลงกว่าเดิมอีก โดยมีการปรับประมาณการจีดีพีลดลงเหลือเพียง 2.7% จากประกาศครั้งที่แล้วที่ 3% และประกาศครั้งแรก 3.2% โดยเฉพาะภาคผู้บริโภคที่แย่ลงกว่าเดิม แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังยากจะฟื้นตัวได้ นักลงทุนจึงต่างพากันเข้าไปเก็งกำไรทองคำเพิ่มเติมเพื่อรักษาความมั่งคั่งของตนเอาไว้ [Econoday, AFC Research] กลุ่มจี20เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความสำคัญมากที่สุดในช่วงนี้ จึงมีมติให้ประเทศต่างๆประกาศใช้มาตรการกระตุ้นต่อไปโดยยังไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องหนี้สินมากนักจนกว่าเศรษฐกิจจะเริ่มแข็งแรงขึ้นจึงค่อยเริ่มลดการขาดดุลลงเหลือครึ่งหนึ่งภายในปี 2013 (พ.ศ.2556) และค่อยๆปรับลดหนี้สินภาครัฐลงภายในปี 2016 (พ.ศ.2559) รายงานดังกล่าวมีเพียงกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนเท่านั้นที่อยู่นอกเหนือจากการคาดการณ์ของนักลงทุน ในขณะที่รายละเอียดอื่นไม่ได้อยู่นอกเหนือการคาดหมายอย่างชัดเจนมากนัก ซึ่งอาจเป็นโอกาสให้นักลงทุนเล่นเก็งกำไรในความผันผวนได้ในวันนี้ [G20, AFC Research] แนวโน้มทองคำวันนี้ ถึงแม้เรามองว่าทองคำยังเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่จากมติของจี20ที่ไม่มีทิศทางชัดเจน เราจึงมองว่า "ราคาทองคำน่าจะแกว่งตัวอยู่ในช่วง" และแนะนำให้ "ซื้อขายในช่วงตามแนวรับแนวต้าน" มุมมองทองคำ สถานะของทองคำและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังผันผวน นักลงทุนจะต้องติดตามความคืบหน้าของปัญหาต่างๆ และแนวโน้มเศรษฐกิจแต่ละภูมิภาคอย่างใกล้ชิด
  7. หากภาพเล็ก คลิ๊กที่รูปภาพจะขยายใหญ่
  8. ราคาทองคำปิดพุ่ง 10.30 เหรียญ จากความวิตกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ Posted on Monday, June 28, 2010 กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งมีขนาดใหญ่สุดในโลกขยายตัว 2.7% ต่อปีในไตรมาส 1/2553 น้อยกว่าที่ประเมินไว้ในเดือนที่แล้วที่ระดับ 3% ซึ่งการปรับทบทวนจีดีพีลง ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจหลายตัวที่แย่กว่าคาด อาทิ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่ได้รับการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และถือเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้น อย่างไรก็ดี ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยดังกล่าวกลับหนุนให้ราคาทองคำพุ่งสูง เพราะนักลงทุนปลีกตัวจากตลาดหุ้นและหันมาลงทุนซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงแทน ขณะเดียวกัน ต้นทุนการประกันหนี้สาธารณะของกรีซที่ทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดเมื่อวานนี้ ตลอดจนสถานการณ์วิกฤตหนี้ยุโรปที่ยังไม่มีความแน่นอนก่อนการประชุม จี20 วันเสาร์-อาทิตย์นี้ที่แคนาดา และเงินดอลลาร์ที่ร่วงลง ล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดทองคำ ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเป็นวันที่สามเมื่อเทียบกับตระกร้าสกุลเงินหลักทั้งหกสกุล ซึ่งเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนลงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งซื้อขายกันในสกุลดอลลาร์สหรัฐ มีราคาที่น่าดึงดูดในในสายตาของผู้ซื้อต่างชาติ บรรดาผู้นำกลุ่มประเทศร่ำรวยและกำลังพัฒนา 20 ประเทศ (G20) จะหารือเรื่องวิกฤตหนี้ยุโรปและประเด็นอื่นๆที่กรุงโทรอนโต ช่วงสุดสัปดาห์นี้ - ทองคำ ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดที่ 1,256.20 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ (+10.30 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์) - เงิน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 19.110 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ (+0.37 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์)
  9. เวิลด์แบงก์ฉายภาพเศรษฐกิจไทย วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2010 เวลา 08:47 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก - เศรษฐกิจโลก ธนาคารโลกพยากรณ์เศรษฐกิจไทย แม้จะเจอกระแสการเมืองกระแทกแรงตั้งแต่เมษายน-พฤษภาคม แต่ก็เชื่อว่าจะมีการขยายตัวเฉลี่ยทั้งปีนี้ที่ 6.1% โดยมีเหตุปัจจัยภายนอกเป็นพลังผลักดันที่สำคัญและต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกไปจนถึงปัญหาการคลังของประเทศในกลุ่มยูโรโซน นายเฟรดเดอริโก้ จิลซานเดอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยถึงรายงานของธนาคารโลกภายใต้หัวข้อ "ตามติดเศรษฐกิจไทย" หรือ Thailand Economic Monitor ฉบับเดือนมิถุนายนว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีทิศทางฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้มีภาคการส่งออกเป็นหัวจักรขับเคลื่อนที่สำคัญ แม้จะเป็นข่าวดีแต่ก็เห็นได้ชัดว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยนั้นพึ่งพาการส่งออกเพียงปัจจัยเดียว เปรียบกับการขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เพียงเครื่องเดียว ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ จึงแนะนำให้ไทยเร่งหาวิธีส่งเสริมการเจริญเติบโตของการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม ควบคู่ไปกับการกระตุ้นความต้องการหรืออุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้แหล่งที่มาของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสมดุลมากขึ้น ++จีดีพีชะลอตัวครึ่งปีหลัง "การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกได้รับการขับเคลื่อนจากภาคการส่งออกที่มีความแข็งแกร่งเป็นหลักและเป็นปัจจัยเดียว เพราะเหตุนี้จึงทำให้ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งส่งผลกระทบอย่างแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและค้าปลีก ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมมากนัก" นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกอธิบายว่า แม้การท่องเที่ยวและค้าปลีกของไทยจะได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง แต่ด้วยเหตุที่การท่องเที่ยวมีสัดส่วนเพียง 8% ของจีดีพี ขณะที่ภาคการผลิตเพื่อส่งออกมีสัดส่วนถึง 39% ของจีดีพี จึงทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้รับการชดเชย โดยภาคการส่งออกที่เข้มแข็ง ฉะนั้นโดยภาพรวมสำหรับปีนี้ ธนาคารโลกเห็นว่า แม้วิกฤติการเมืองจะส่งผลลบ แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังน่าจะขยายตัวได้ดีต่อไป จากการที่เศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น เพียงแต่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะน้อยกว่าในช่วงครึ่งปีแรก "ข่าวดีก็คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก แม้จะมีปัจจัยลบทางการเมืองเข้ามากระทบ แต่ข่าวร้ายก็คือ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังพึ่งพาแรงผลักดันจากภายนอกอยู่มากจึงทำให้ไทยอ่อนไหวต่อสถานการณ์โลกมากตามไปด้วยเช่นกัน" และด้วยเหตุนี้ ธนาคารโลกจึงปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ของไทยสำหรับปี 2553 ทั้งปีลงมาเล็กน้อย จากก่อนหน้านี้ที่เคยคาดไว้ 6.2% ลดลงมาอยู่ที่ 6.1% และสำหรับปีหน้า (2554) พยากรณ์ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยอาจจะไม่สดใสเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปและสถานการณ์ของประเทศอุตสาหกรรมบางประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่ความต้องการในประเทศเองก็ยังไม่น่าจะฟื้นตัวมากนัก จึงคาดว่า จีดีพีของไทยในปี 2554 จะขยายตัวที่อัตราเพียง 3.6% เท่านั้น ++ แนะเสริมเครื่องยนต์ที่สอง นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกยังระบุด้วยว่า ประเทศไทยยังนับว่าโชคดีกว่าประเทศอื่นอยู่มากตรงที่ฐานะการคลังของไทย ระดับหนี้ในภาครัฐ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้สถานะทางการเงินของภาคธุรกิจและภาคการเงินของไทยก็เรียกได้ว่า "เข้มแข็ง" ทำให้ไทยมีความยืดหยุ่นกว่าหลายประเทศในการนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆมาใช้ ฉะนั้นในอนาคตข้างหน้า รัฐบาลไทยควรหาวิธีลดภาวะงบประมาณขาดดุลลง เพื่อให้เสถียรภาพด้านเศรษฐกิจมหภาคของไทยที่มีอยู่นั้นดำเนินต่อไป นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังเสนอแนะว่า รัฐบาลไทยควรเร่งพัฒนา "เครื่องยนต์เครื่องที่สอง" เพื่อมาร่วมขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศนอกเหนือไปจากภาคการส่งออก ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกลงได้ในอนาคต และยังจะเป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นได้อย่างเต็มศักยภาพที่มี " ไทยควรกระตุ้นการเจริญเติบโตของสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น (higher value added) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นที่สังเกตว่า ภาคบริการของไทยมีพัฒนาการในทิศทางย้อนกลับเมื่อเทียบกับภาคการผลิต คือในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนของภาคบริการต่อจีดีพีนับว่าลดลงเรื่อยๆ ทั้งๆที่มีศักยภาพที่จะขยายตัวได้มากกว่าเดิม" ขณะเดียวกันหากไทยพัฒนาความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นสู่ตลาดโลก ก็จะทำให้สามารถแข่งขันได้ดียิ่งขึ้นเนื่องจากโลกในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงและเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge based) มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ บริการและสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นยังหมายถึงรายได้ที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับภาคผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลัก "การที่รัฐสามารถสร้างงานประเภทนี้ได้มากขึ้นจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศระยะยาว แต่การจะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะและมีการศึกษาสูงเป็นสำคัญ" รายงานของธนาคารโลกระบุ พร้อมทั้งเสนอแนะว่า รัฐบาลควรเร่งปฏิรูปการศึกษาและกระจายโอกาสในการเข้ารับการศึกษาให้ทั่วถึง ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชาชนและปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะได้ในที่สุด
  10. จีนกำหนดค่าหยวนสูงสุดที่ 6.7896 หยวน ต่อดอลลาร์ วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2010 เวลา 09:17 น. ทีมออนไลน์ ข่าวรายวัน - ข่าวต่างประเทศ ธนาคารกลางจีนประกาศกำหนดค่ากลางในการแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนไว้ที่ระดับ 6.7896 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่จีนประกาศลอยตัวค่าเงินหยวนแบบควบคุมได้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว และเป็นระดับที่แข็งค่ากว่าระดับวันพฤหัสบดี ( 24 มิ.ย.) ร้อยละ 0.3 ตามแรงกดดันของนานาประเทศก่อนการประชุมสุดยอดกลุ่ม G-20 ที่นครโตรอนโต ประเทศแคนาดา ในวันเสาร์-อาทิตย์นี้
  11. ราคาทองวันนี้ปรับขึ้น100บาท ขายออกทองแท่งที่บาทละ 19,200บาท สมาคมค้าทองคำประกาศราคาซื้อขายทองคำแท่งและทองรูปพรรณวันนี้ (26 มิ.ย.) ทองคำแท่งซื้อคืนที่บาทละ 19,100 บาท และขายออกที่บาทละ19,200 บาท และทองรูปพรรณซื้อคืนที่บาทละ18,828.72 บาท และขายออกที่บาทละ 19,600 บาท ราคาทองวันนี้ปรับขึ้น 100 บาท จากราคาเมื่อวานนี้ (25 มิ.ย.) ทองคำแท่งขายออกที่บาทละ 19,100 บาท และทองรูปพรรณขายออกที่บาทละ 19,500 บาท
  12. ไทยออยล์สรุปสถานการณ์น้ำมันรอบสัปดาห์ วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2010 เวลา 09:46 น. ทีมออนไลน์ ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน บมจ.ไทยออยล์สรุปสถานการณ์น้ำมันวันที่ 15 – 21 มิ.ย. 53 และคาดการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันวันที่ 22 - 28 มิ.ย. 53 ดังนี้ น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส: ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาปิดที่ 77.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจาก ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ยุโรป หลังรัฐบาลในหลายประเทศประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรรัฐบาล รวมทั้ง ราคาน้ำมันยังได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ซึ่งออกมาดีเกินคาด ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังของสหรัฐฯ ที่ปรับลดลง ความกังวลเกี่ยวกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบโลกในอนาคตจากปัญหาน้ำมันรั่วในบริเวณอ่าวเม็กซิโก และการที่จีนประกาศให้ค่าเงินหยวนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ประมวลสถานการณ์ที่มีผลต่อราคาน้ำมันดิบในช่วงวันที่ 15 - 21 มิ.ย. 53  ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น หลังรัฐบาลสเปน เบลเยียมและไอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรรัฐบาลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการจ่ายชำระหนี้สาธารณะของประเทศเหล่านี้ นอกจากนี้ ตลาดยังเชื่อมั่นว่า ผลของการตรวจสอบสถานะการเงินของธนาคารของประเทศในสหภาพยุโรป (Stress Test) น่าจะเรียกความน่าเชื่อถือของระบบธนาคารของยุโรปได้กลับคืนมาได้  ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์คในเดือน พ.ค. ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 19.5 จาก 19.1 ในเดือน เม.ย. สะท้อนให้เห็นว่า ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง  ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังของสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 11 มิ.ย. ปรับลดลง 0.7 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่คาดไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.2 ล้านลาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นผลิตน้ำมันเบนซินออกมาน้อยลง การใช้น้ำมันเบนซินในช่วงเฉลี่ย 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 9.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน  สำนักงานพลังงานสากลประมาณการว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบโลกอาจจะลดลงถึง 800,000 – 900,000 บาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2558 ถ้าประเทศต่างๆ ทั่วโลกนำมาตรการการห้ามการขุดเจาะน้ำมันแหล่งใหม่ๆ ในบริเวณชายฝั่งมาบังคับใช้ เหมือนอย่างที่สหรัฐฯ กำลังทำอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากปัญหาน้ำมันรั่วที่อ่าวเม็กซิโก  จีนประกาศจะเพิ่มความยืดหยุ่นของค่าเงินหยวนให้ หลังที่ตรึงค่าเงินหยวนกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเวลานานกว่า 2 ปี ซึ่งการที่จีนยอมให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจโลก รวมทั้ง จะส่งผลให้จีนมีการนำเข้าและบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้น เนื่องจากซื้อได้ในราคาที่ถูกลง  ราคาน้ำมันยังได้รับแรงหนุนจาก ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับชาติตะวันตกในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ และการที่รัสเซียส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่เบลารุสลดลง 15% เนื่องจากปัญหาเรื่องสัญญาราคาก๊าซธรรมชาติ  อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันถูกกดดันจากภาวะตลาดบ้านของสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงที่จะหดตัวลงอีกครั้ง หลังจากที่มาตรการการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านได้หมดลงในเดือน เม.ย. เห็นได้จากตัวเลขขอสร้างบ้านใหม่เดือน พ.ค. ปรับตัวลดลงมากถึง 10% จากเดือนก่อน รวมทั้ง ตัวเลขผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานประจำสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 12,000 ราย ส่งผลให้ตลาดกลับมากังวลเกี่ยวกับตลาดแรงงาน อีกครั้ง  ตลาดมีความกังวลต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและการใช้น้ำมันของจีน หลังที่ปรึกษาธนาคารกลางของจีนได้ออกมากล่าวว่า เศรษฐกิจของจีนอาจจะเติบโตช้าลงในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งอาจจะส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้ มีโอกาสที่จะโตไม่เกิน 10% ปัจจัยที่น่าจับตามองในระยะนี้  ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ ยอดขายสินค้าคงทน อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาส 1/53 และความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ  การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 22-23 มิ.ย. นี้ ซึ่งตลาดจับตาดูว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำ และจะยังคงมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอีกหรือไม่  กฎหมายปฏิรูประบบการเงินของสหรัฐฯ ที่จะมีการประชุมเพื่อสรุปผลการรวมร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่ผ่านจากสภาล่างและสภาสูงเข้าไว้ด้วยกัน คาดว่าจะแล้วเสร็จและผ่านเป็นกฎหมายให้ได้ก่อนวันชาติสหรัฐฯ 4 ก.ค. นี้  การเปิดเผยรายละเอียดของการตรวจสอบสถานะทางการเงินของธนาคารของประเทศในสหภาพยุโรป (Stress Test) ในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะทำให้ทราบว่า ธนาคารกี่แห่งที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มเงินทุนและเป็นจำนวนเงินมากเท่าไร  ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน หลังสหรัฐฯและสหภาพยุโรปนำมาตรการคว่ำบาตรที่เข้มงวดขึ้นมาใช้ และอิหร่านห้ามผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติ 2 คน เข้าประเทศเพื่อตรวจสอบ  ปัญหาระหว่างรัสเซียและเบลาลุสในเรื่องการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ โดยรัสเซียขู่จะส่งก๊าซแก่เบลารุสลดลงถึง 85% ถ้าเบลารุสไม่จ่ายหนี้ค่าก๊าซที่ค้างอยู่มูลค่า 192 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงวันที่ 22 - 28 มิ.ย. 53 ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้น่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 75 - 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบน่าจะยังคงผันผวนจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ตัวเลขบ้าน และ จีดีพี ที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ รวมทั้ง ภาคธนาคารของสหรัฐฯ และยุโรป จากกฎหมายปฏิรูประบบการเงินของสหรัฐฯ และการเปิดเผยรายละเอียดการตรวจสอบสถานะทางการเงินของธนาคารในยุโรปที่กำลังจะทราบผลในเร็วๆ นี้
  13. ผมไปทำบุญร่วมอนุโมทนา อุปสมบทพระ๑แสนรูป รุ่นเข้าพรรษา มาแล้วครับ ขอให้เพื่อนๆที่ได้อ่านข้อความนี้จงได้บุญนี้ร่วมกันทุกท่านด้วยเทอญ สาธุ...........
  14. ดูตรงเส้นแดงเหลืองอยู่ในแนวที่สูง หากเกิน80 ก็จะเข้าสู่เขตซื้อเกิน ถามว่าจะขึ้นต่อได้ไหมหากถึงเลข80เขตซื้อเกิน ตอบ--ขึ้นได้ครับ ขึ้นได้จนถึง100-หากมีปัจจัยส่งเสริม หากปัจจัยส่งเสริมหมดแรงหรือหมดปัจจัยส่งเสริมก็พร้อมที่จะลงได้เหมือนกันครับ
  15. มีครับ ปัญหาอยู่ที่ว่า จะขึ้นก่อนค่อยลง หรือจะหันหัวลงเลยเท่านั้นเองครับ
  16. เดี๋ยวจะออกไปวัดธรรมกายร่วมโมทนาบุญบวชพระ๑แสนรูป จากนั้นก็จะไปงาน เปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตที่รังสิตคลองห้า ถ้าใครไปงานเดี๋ยวเจอกันครับ !Announce
  17. กราฟตัวอย่าง Uploaded with ImageShack.us กราฟช่วงปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ ระวังเส้นแดงแทงทะลุเส้นเหลือง มีสิทธิ์ที่จะขึ้นต่ออีกหน่อยได้..หากยังมีแรงส่งเสริมจากปัจจัยพื้นฐาน เช่น..เรื่องข่าวเกาหลีเหนือเป็นต้น หากปัจจัยส่งเสริมขึ้นหมดก็พร้อมลงได้ Uploaded with ImageShack.us
  18. หน้าแดงขึ้น หน้าขาวลง Uploaded with ImageShack.us
×
×
  • สร้างใหม่...