ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

G_man

ขาประจำ
  • จำนวนเนื้อหา

    91
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย G_man

  1. เรียน คุณNext ขอถามด้วยความเคารพนะครับไม่ได้กวนแต่อย่างใด ทำอย่างไร ผมถึงจะเชื่อมั่น คุณประสาร ได้อย่างที่ คุณNext เชื่อมั่นครับ แล้วหากไม่ใช่ คุณประสาร ยังเชื่อมั่นได้อยู่หรือเปล่าครับ หากคำถามนี้เป็นการรบกวน ขออภัยล่วงหน้า และขอจบเพียงเท่านี้ครับ ด้วยความอยากรู้ ที่เป็นเหตุเป็นผลจริงๆ
  2. เย้ๆๆ..ดีใจจัง กำลังตาม PIGS ไปติดๆ ดอลล่าเต็มพุงเลย บางทีผมรู้สึกเหมือนคนละโลกกับคนทั่วไป เห็นเค้าใช้ชีวิตมีความสุขกันดีคับ ขอบคุณข้อมูล คุณkunghdy คับ
  3. สวัสดีทุกท่านครับ ที่นี่..กระทู้ประจำอีกหนึ่งของผมเลย ขอแนะนำตัวครับ คิดเก็บสะสมตั้งแต่บาทละ 7000 และบอกที่บ้านให้ซื้อไว้แต่ไม่มีใครเชื่อ เลยซื้อได้นิดเดียว ร้านประจำก็ซื้อกับ เฮียแบทแมน แต่ผมซื้อทีละน้อยๆ เลยไม่ได้เป็นที่สนใจครับ ประเด็น กำลังจะเขียนต่อว่าสมาคมอยู่พอดี ได้อ่านบทความของ คุณเด็กขายของ ทำให้เข้าใจความจริงมากขึ้นว่า จะขึ้นมากหรือขึ้นน้อย ก็โดนทั้งสองฝ่ายต่อว่า ขอบคุณ ฝ่ายเสธ ฝ่ายข่าว และฝ่ายสนับสนุน ทุกท่านที่นี่ครับ นับถือ นับถือ คุณ GB2514 เป็นกำลังใจให้นะครับ เชื่อมั่นตัวเอง เพื่อพิสูจน์ความจริงข้างหน้า ด้วยตัวเอง
  4. คุณNext เท่าที่อ่านมาทั้งหมด ผมเห็นภาพรวมแล้ว ภาพเงินเฟ้อระดับประชาชนก็เห็นแล้ว แต่ระดับประเทศยังไม่เห็นเลยครับ เช่น บทความที่กล่าวมาจะเป็น การเงินโลก>USA>เงินเฟ้อภาคประชาชน ในความรู้สึกผมว่ายังขาด การเงินโลก>USA>การเงินของประเทศไทย>เงินเฟ้อภาคประชาชน เพราะเราได้รับข้อมูลนอกบ้านแล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลในบ้านเลยครับ!!! หากสิ่งที่ผมสอบถาม ควรหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึง ก็ขออภัย แต่หากมีข้อมูล กรุณาเพิ่มเติม ขอบคุณครับ
  5. ของผมเป็นอีกตัวอย่างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพิ่งจะดูนโยบายการลงทุนพบว่าส่วนใหญ่เงินกองทุนเกิน 70% จะอยู่ในพันธบัตร และถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจริง ดูไม่จืดเลยครับ เพราะกว่าจะถอนตัวจากกองทุนได้ต้องใช้เวลา 1 เดือน
  6. ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ จะได้ประเมินทั้งนอกและในประเทศ
  7. ตอนนี้ .. ผมเห็นสิ่งที่มีค่ามากคือ คำเตือน ความจริงส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีใครมาบอก หรือบอกแล้วก็ไม่ค่อยมีใครเชื่อ ผมหันกลับมามองดู ถ้าไม่มีข้อมูลจาก คุณNext ผมจะดีใจมากที่ราคาทองสูงขึ้น แต่พอได้รับรู้ข้อมูลแล้ว ไม่ได้ดีใจเลย.. เพราะภัยทางเศรษฐกิจกำลังจะเกิดขึ้น ต้องขอขอบคุณ คุณNext สำหรับคำเตือนที่มีค่ามากกว่าทอง พร้อมแล้วครับ +1 แต่ขอเวลาอีกนิดก็ดี แต่ไม่รู้จะไปขอใคร..555
  8. ด้วยความอยากรู้ว่า สภาวะเงินเฟ้อกลุ่ม PIGS เป็นยังไง ซึ่งพอดีกับที่เพื่อนร่วมงานมีเพื่อนที่สเปน จึงฝากถามเป็นข้อมูลว่าผลกระทบเงินเฟ้อที่สเปนเป็นยังไง ได้คำตอบว่า - 2 ปีที่แล้วขยายอายุการทำงานราชการจาก 60 เป็น 63 - ราคาสินค้าและของใช้แพงขึ้น - จากกินข้าวนอกบ้าน ต้องเปลี่ยนเป็นกินข้าวที่บ้าน ไทยกินข้าวแกงนอกบ้านราคาถูก สเปนทำข้าวกินที่บ้านราคาถูก สลับกัน
  9. ผมว่า เริ่มด้วย PIGS (economics) ตามด้วย> EURO> America> และไทยด้วยหรือเปล่า เพราะคลังมีแต่ดอลล่า กับหนี้ ครับ
  10. ใน Tomahawk Missile ใช้เงิน 500 ออนซ์ แปลสั้นๆ นะครับ ใน Tomahawk Missile 1ลูก ใช้เงิน 500 ออนซ์ หรือ 16 กิโลกรัม ซึ่งราคาลูกละกว่า 1 ล้านเหรียญ และตั้งแต่เริ่มสงครามในลิเบีย ใช้ Tomahawk Missile ไปแล้ว 164 ลูก คูณเท่ากับเงินบริสุทธิ์ได้ 2.6 ตัน ที่ยิง Tomahawk Missile ไป Did you all know that each Tomahawk missile contains 16 kilograms of silver which is more than five hundred ounces of silver 500 oz. (The Silver is indeed used in thse high tech gears because it is the best electrical and thermal conductor among all metals )? Each Tomahawk costs $1,066,465 and has more than a 500 oz. of silver inside which goes totally destroyed and lost forever when the missile is launched as the silver is blown into million pieces and therefore it is impossible to recover the silver that was inside . Pure silver has the highest electrical and thermal conductivity of all metals known to man. When there is a $1.066 million dollar missile is being produced the military will use only the best materials available to ensure the best performing results . So far, since the start of the war in Libya, 164 Tomahawk missiles lobbed into the Libyan desert therefore they’ve destroyed three tons of pure silver over there in launched Tomahawks. Gone for good. Got to be good for the future price of silver. http://marketcut.com/commodities-silver/500-oz-of-silver-in-each-tomahawk-missile/
  11. พบเห็นข้อมูลน่าสนใจเลยเอามาฝาก เพิ่งจะรู้ว่าทั่วโลกก็มีกลุ่มคนที่เฝ้าระวังเรื่องนี้เยอะเหมือนกัน 12 สัญญาณเตือนเงินเฟ้อระดับสูงของสหรัฐ 12 Warning Signs of U.S. Hyperinflation 1) The Federal Reserve is Buying 70% of U.S. Treasuries. 2) The Private Sector Has Stopped Purchasing U.S. Treasuries. 3) China Moving Away from U.S. Dollar as Reserve Currency. 4) Japan to Begin Dumping U.S. Treasuries. 5) The Fed Funds Rate Remains Near Zero. 6) Year-Over-Year CPI Growth Has Increased 92% in Three Months. 7) Mainstream Media Denying Fed's Target Passed. 8) Record U.S. Budget Deficit in February of $222.5 Billion. 9) High Budget Deficit as Percentage of Expenditures. 10) Obama Lies About Foreign Policy. 11) Obama Changes Definition of Balanced Budget. 12) U.S. Faces Largest Ever Interest Payment Increases. ฉบับเต็มในลิงค์ครับ http://www.inflation.us/hyperinflationwarningsigns.html
  12. ความเสี่ยงของเงินสำรองระหว่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 06 มกราคม 2011 เวลา 15:24 น. เมื่อปลายปีที่ผ่านมาไอเอ็มเอฟ (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ) รายงานสถานะเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่างๆ สิ้นสุด ณ เดือนกันยายน 2553 ดูตัวเลขเบื้องต้นพบว่าเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2552 เท่ากับ 31,476 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นมากเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยอันดับ 1 คือจีนที่สูงขึ้นถึง 375,705 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทิ้งห่าง อันดับ 2 คือสวิตเซอร์แลนด์ถึงเกือบ 3 เท่าตัวเพราะเงินสำรองระหว่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้นเพียง 132,338 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งๆ ที่เงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้ามาหาสวิตเซอร์แลนด์นั้นส่วนใหญ่จะมาจากการที่สวิตเซอร์แลนด์ทำหน้าที่เป็นธนาคารของโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งหากใช้สามัญสำนึกโดยยังไม่ดูตัวเลขแล้ว ประเทศอย่างจีนซึ่งเงินสำรองระหว่างประเทศได้มาจากการขายของจริงไม่น่าจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มมากกว่าประเทศอย่างสวิตเซอร์แลนด์ถึงเกือบ 3 เท่า แต่ก็เป็นไปแล้ว ส่วนลำดับถัดมาคือ 3.รัสเซีย 75,905 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 4.ญี่ปุ่น 62,536 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 5.บราซิล 53,577 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 6. ฮ่องกง 39,207 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 7.เกาหลีใต้ 35,541 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 8.สิงคโปร์ 32,623 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 9.ไทย 31,476 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 10. ฝรั่งเศส 28,046 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหากไม่นับประเทศที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินสองประเทศคือ สวิตเซอร์แลนด์และฮ่องกง ประเทศไทยก็จะถูกจัดลำดับให้เป็นประเทศที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ 8 ของโลกทันที ดูตัวเลขเผินๆ แล้วน่าดีใจครับ เพราะตัวเลขดังกล่าวสะท้อนสองเรื่องสำหรับประเทศไทย (ประเทศอื่นอาจไม่ใช่สองเรื่องนี้นะครับเพราะบริบทอาจต่างจากเรา) คือ 1.เรามีดุลการค้าและบริการเกินดุลมาก และ 2.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าซื้อเงินตราต่างประเทศพอสมควรไม่ถึงกับปล่อยให้ค่าเงินบาทไหลกรูดโดยไม่มีการแทรกแซง แม้จะยังน้อยไปหน่อยในมุมมองของผู้ส่งออก ผู้รู้ และนักวิชาการจำนวนมากก็ตาม แต่หากตามต่อว่าแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยเอาเงินสำรองระหว่างประเทศไปไว้ไหนบ้าง พบว่าน่าเป็นห่วงอยู่บ้างครับ หลังจากสิ้นสุดยุคสนธิสัญญา Bretton Woods เป็นต้นมา เกือบทุกประเทศจะโปรแกรมไว้ในหัวตัวเองว่าการเก็บเงินสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีความเสี่ยงที่ต่ำมาก เพราะไม่ว่าจะค้าขายหรือทำธุรกรรมทางการเงินกับประเทศไหนก็มักจะทำกันผ่านสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหลัก แต่ความเชื่อมั่นนี้เริ่มน้อยลงเรื่อยๆ หลังจากสหรัฐอเมริกาเริ่มขาดดุลการค้าและการคลังพร้อมกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน แต่ความเชื่อมั่นที่น้อยลงดังกล่าวก็ยังไม่ถึงกับทำให้ประเทศต่างๆ ถอยหนีจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่หลังเกิดวิกฤติทางการเงินเมื่อปลายปี 2551 เป็นต้นมา ความเชื่อมั่นต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสหรัฐอเมริกาเองก็ทราบในประเด็นนี้ดีและมีความพยายามที่จะทำให้เงินดอลลาร์ของตัวเองยังได้รับความเชื่อถือสูงต่อไป แต่ดูเหมือนความพยายามดังกล่าวจะไม่สัมฤทธิผลเท่าใดนัก เพราะหลังจากกันยายน 2552 เป็นต้นมา จีนซึ่งเป็นผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันรายใหญ่ที่สุด เริ่มลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันลงอย่างมีนัยสำคัญ และหันไปถือสินทรัพย์ในรูปแบบอื่นแทนเช่น พันธบัตรรัฐบาลประเทศต่างๆ ที่ไม่ใช่สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ หรือแม้แต่เก็บไว้เป็นของจริงเช่นเหมืองแร่ บ่อน้ำมัน และทอง เราจึงได้ข่าวอยู่เป็นระยะๆ ว่าจีนเข้าซื้อบ่อน้ำมันในแอฟริกาบ้าง ในลาตินอเมริกาบ้าง เข้าซื้อเหมืองแร่เหล็กในออสเตรเลียบ้าง เข้าซื้อเหมืองถ่านหินบ้าง ให้เงินกู้กับประเทศที่กำลังประสบปัญหาเช่นกรีซบ้าง หรือแม้แต่ดอดเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นจนทำให้ค่าเงินเยนแข็งผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งข้อมูลที่สรุปออกมารายงานว่ามาจากการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นของจีนบ้าง การขยับตัวของจีนดังกล่าวนี้ จึงทำให้ยอดการถือพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันของจีนลดลงจาก 983,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2552 เหลือ 883,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2553 หรือลดลงประมาณ 54,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับเงินสกุลหลักของโลกอื่นๆ วูบวาบมากกว่าปกติในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังพบว่าบางประเทศที่แม้จะมีทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเดียวกันก็เริ่มลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันลงเช่นเดียวกับจีน เช่น รัสเซีย เนเธอร์แลนด์ หรือแม้แต่เพื่อนบ้านของเราเช่นมาเลเซีย ส่วนบางประเทศแม้จะไม่ลดแต่ก็ถือเพิ่มขึ้นน้อยลงเช่น เกาหลีใต้ที่ทุนสำรองเพิ่มขึ้น 35,541 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฝรั่งเศสที่ทุนสำรองเพิ่มขึ้น 28,046 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียง 6,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อินเดีย เงินสำรองเพิ่มขึ้น 11,592 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ถือเป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนไทย เงินสำรองเพิ่มขึ้น 31,476 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ถือพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันเพิ่มขึ้น 36,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งน่าจะเกิดจากการย้ายสินทรัพย์อื่นมาเป็นพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันเพิ่มขึ้นด้วย จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,598 6-9 มกราคม พ.ศ. 2554 http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=58188:2011-03-07-08-26-27&catid=215:2011-03-07-07-40-14&Itemid=606
  13. ขอออกความเห็นด้วยคับ จากที่เคยจำได้ วิกฤติต้มยำกุ้ง ไม่สบายอย่างนั้นนะคับ เงินต้นเท่าเดิม แต่ดออกเบี้ยมหาศาล จนบางคนส่งต่อไม่ไหว และผมเชื่อว่าจะเป็นอย่างนี้อีก เนื่องจาก - ตอนนี้ดอกเบี้ยกู้บ้านคงที่เต็มที่ก็ 1-3 ปี ต่อจากนั้นลอยตัว - รับประกันเงินฝากบัญชีละ 1 ล้านบาท - และมีกฏหมายที่ยึดเอาหลักทรัพย์ขายทอดตลาดแล้ว หากทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไม่พอใช้หนี้ ธนาคารจะฟ้องเอาส่วนที่เหลืออีกด้วย ผมว่ากู้แบบซื้อรถจะน่าจะดีกว่า ส่วนระบบบเงินกระดาษ หากเกิดวิกฤติจริง ผมคิดว่ายัไงก็ไม่เลิกใช้ เพียงแต่ใช้สกุลใดอ้างอิง เพราะดูจากความเป็นจริง หากทุกวันนี้ไม่มีระบบเงินกระดาษจะปั่นป่วนมาก จึงเห็นด้วยกัน คุณNext ที่บอกว่ามีทองแค่ผ่อนหนักให้เป็นเบา แต่ถ้ามีเยอะๆและไม่มีภาระมากก็สบายๆ
  14. FED:เฟดชี้ไม่มีแนวโน้มต่ออายุ QE2 ขณะส่งสัญญาณเล็งขึ้นดอกเบี้ย ชิคาโก--28 มี.ค.--รอยเตอร์ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะต่ออายุ โครงการซื้อพันธบัตร 6 แสนล้านดอลลาร์ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง(QE2) ออกไป เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบันมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น และเฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและขายสินทรัพย์ออกมา "ในเวลาอีกไม่นานนี้" ทั้งนี้ นายชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวแสดงความเห็นอย่างละเอียดเป็นครั้งแรก ในประเด็นที่เขาต้องการให้เฟดถอนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อเป็นการสกัดกั้นภาวะเงินเฟ้อในอนาคต โดยถ้อยแถลงของเขาหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับใกล้ 0 % นับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2008 และได้เข้าซื้อหลักทรัพย์ระยะยาวไปแล้วกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อกดดันต้นทุนการกู้ยืมให้ลดต่ำลง และในการประชุมกำหนดนโยบายครั้งล่าสุดของเฟด ผู้กำหนดนโยบายได้ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เฟดดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรสหรัฐต่อไปในวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์ จนสิ้นสุดตามกำหนดการในเดือนมิ.ย. หลังจากเริ่มดำเนินโครงการดังกล่าว ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2010 เป็นต้นมา โดยโครงการนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อมาตรการ QE2 นายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโกกล่าวว่า "ผมคิดว่าเป็นเรื่องเหมาะสมที่เฟดจะดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรต่อไปจนครบวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์ตามที่เคยระบุไว้ โดยส่วนตัวแล้วผมไม่คาดว่าเฟดจะมีความจำเป็นมากนักในการเพิ่มขนาดการซื้อพันธบัตรให้สูงขึ้นไปอีก" นายเดนนิส ล็อคฮาร์ท ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา กล่าวว่า ในการที่เฟดจะขยายโครงการซื้อพันธบัตรออกไปนั้น เฟด ควรจะมีเงื่อนไขที่ระดับสูง โดยถ้อย แถลงของนายอีแวนส์และนายล็อคฮาร์ทในครั้งนี้บ่งชี้ว่า การอภิปรายในเฟดได้หันเหความสนใจออกไปจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม นายนารายานา โคเชอร์ลาโคตา ประธานเฟดสาขามินนิอาโปลิส กล่าวว่า เฟดจะพิจารณาเรื่องการเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำลงอย่างรุนแรง นายเอริค สไตน์ ผู้จัดการกองทุนของบริษัทอีตัน แวนซ์กล่าวว่า "เมื่อพิจารณาจากแรงกดดันที่ได้รับจากสมาชิกสายเหยี่ยวในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC), จากสาธารณชน, จากสภาคองเกรส และจากเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ ผมก็คาดว่าการที่คุณอีแวนส์กล่าวอะไรแบบนี้ออกมาได้นั้นเป็นเพราะว่า คุณเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด, คุณวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ค และคุณเจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟดเห็นด้วยกับเขา" กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตเร็ว เกินคาดในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2010 แต่เศรษฐกิจอาจชะลอตัวลงในช่วงต้นปีนี้ เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่า การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคและภาคธุรกิจอ่อนแอลง นายพลอสเซอร์กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐทวีความแข็งแกร่งขึ้นมากนับตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้ว และกล่าวเสริมว่า "ถ้าหากการคาดการณ์นี้กลายเป็นความจริงในวงกว้าง นโยบายการเงินก็จำเป็นต้องเปลี่ยนทิศทางในเวลาอีกไม่นานเกินไป และต้องมีการเริ่มต้นถอนนโยบายผ่อนคลายจำนวนมากที่เฟดเคยอัดฉีดเข้าสู่เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา" "ความล้มเหลวในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างทันท่วงทีอาจส่งผลต่อเนื่องอย่างร้ายแรงต่อภาวะเงินเฟ้อและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้" นายพลอสเซอร์กล่าว นายพลอสเซอร์กล่าวว่า โดยเขามีสิทธิโหวตใน FOMC ในปีนี้ แผนยุทธศาสตร์ทางออกที่เขาต้องการให้เฟด นำมาใช้ก็คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยควบคู่ไปกับการขายสินทรัพย์ นายพลอสเซอร์กล่าวว่า "ในการเชื่อมโยงการขายสินทรัพย์เข้ากับ การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้น การทำเช่นนี้เป็นการเปิดโอกาสให้กระบวนการขายสินทรัพย์ปรับตัวไปตามภาวะเศรษฐกิจในแบบที่นักลงทุนในตลาดคุ้นเคย" นายไมเคิล เฟโรลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของเจพีมอร์แกน เชส ตั้งข้อสังเกตว่า ความเห็นของนายพลอสเซอร์มักจะแตกต่างไปจากความเห็นหลักของ FOMC" อย่างไรก็ดี หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐตัดสินใจขายหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ไปแล้ว ถ้อยแถลงของนายพลอสเซอร์ก็จะส่งผลเพียงทำให้ตลาดเชื่อว่า กำลังมีการเปิดการหารืออีกครั้งเรื่องขั้นตอนในการ ถอนนโยบายแบบผ่อนคลาย" นายอีแวนส์ส่งสัญญาณว่า เฟดจะไม่เร่งรีบคุมเข้มนโยบายการเงินในเร็วๆนี้ และเฟดมีแนวโน้มที่จะควบคุมงบดุลของเฟดให้ทรงตัว เมื่อใดก็ตามที่นโยบายเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมสิ้นสุดลง นายอีแวนส์มีสิทธิโหวตใน FOMC ปีนี้เช่นกัน การควบคุมงบดุลให้ทรงตัวบ่งชี้ว่า เฟดจะยังคงนำเงินที่ได้รับจากการครบกำหนดไถ่ถอนหลักทรัพย์เก่า มาใช้ในการซื้อหลักทรัพย์ใหม่ต่อไปในระดับที่เท่ากัน(reinvestment) โดยเฟดทำเช่นนี้มานานหลายเดือนแล้ว นายอีแวนส์กล่าวว่า "เป็นเรื่องปกติที่จะคาดการณ์ว่า หลังจากโครงการ 6 แสนล้านดอลลาร์สิ้นสุดลง ก็จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งก่อนที่เฟดจะเริ่มต้นพิจารณา เรื่องการปรับเปลี่ยนทิศทาง" โดยช่วงเวลาระยะหนึ่งนี้อาจกินเวลานานหลายเดือน และหลังจากนั้นเฟดก็อาจยุติการ reinvestment ซึ่งจะถือเป็นขั้นตอนเล็กๆที่จะนำไปสู่การคุมเข้มนโยบายในอนาคต แต่เฟดจะไม่เร่งรีบดำเนินขั้นตอนอื่นๆ ในการคุมเข้มนโยบายนอกจากว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด นายอีแวนส์และนายพลอสเซอร์กล่าวว่า ภัยพิบัติในญี่ปุ่นและการพุ่งขึ้นของ ราคาน้ำมันอันเนื่องจากปัญหาในตะวันออกกลาง ต่างก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ แต่ทั้งสองมองว่าความเสี่ยงนี้มีขนาดเล็ก และมีผลเพียงระยะสั้น --จบ-- (รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง) http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=20125 จากบทความด้านบน ผมเห็นเหตุและผลอย่างนี้ หากไม่ใช่กรุณาทักท้วงคับ - ตอนนี้ไม่มีใครจะซื้อพันธบัตรสหรัฐแล้ว แม้แต่ FED - ต่อไปสหรัฐจะขาย พันธบัตรให้ใคร แล้วถ้าไม่ออกพันธบัตรแล้ว จะอยู่ได้หรือเปล่า - "แผนยุทธศาสตร์ทางออกที่เขาต้องการให้เฟดนำมาใช้ก็คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยควบคู่ไปกับการขายสินทรัพย์" ทรัพย์สินที่ FED จะขายคืออะไร? ใช่พันธบัตรที่ FED ซื้อไปหรือเปล่า
  15. อยากทราบที่มาของการ เพิ่มขึ้น-ลดลง ของราคาทองครับ หากค่าเงินดอลล์อ่อนลง -> บาทแข็งขึ้น ราคาทองลดลง หากกองทุนต่างประเทศขนเงินออก -> บาทอ่อน ราคาทองขึ้น สุดท้ายหากดอลล์เสื่อมค่า เงินกองทุนจะไหลไปที่ไหน และจะมีผลกระทบอะไร
  16. เพิ่งอ่านบทความจบ และเป็นสมาชิกใหม่ รายงานตัวครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ซื้อทองเก็บไว้ตั้งแต่บาทละ 7000 แล้วก็ไม่ได้สนใจมันอีกเลย ได้แต่คอยดูราคาที่สูงขึ้นๆ แต่ก็ไม่มีข้อมูลว่าทำไมราคาถึงเป็นอย่า่งนี้ จนได้อ่านบทความของคุณ Next ผมไม่ได้ดีใจหรอกครับ ที่ราคาจะสูงกว่านี้อีก 10-20 เท่า เพราะระบบโดยรวมจะปั่นป่วนมาก โดยจากที่ได้สังเกตจากทองบาทละ 7000 ชีวิตมีความสุขดีมีเงินเก็บ ทองบาทละ 20000 เงินที่มาได้มาก เงินเฟ้อมากขึ้น - อาหารแพงขึ้น และขาดแคลน (จากการเิดินสำรวจตลาดกับแม่ มีเงินเท่าเดิมซื้อไม่ได้) - พลังงานแพงขึ้น - ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ตอนนี้กลับมาซื้อสะสมอีกครั้งนึง เพราะดูแล้วสังคมโลกเข้มข้นขึ้นครับ **แต่ยังมองภาพอนาคตไม่ออกว่า วันนึงที่ระบบการเงินพลิกกลับ จะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมบ้าง ฝากผู้มีวิสัยทัศน์ ช่วยบอกเล่าด้วย
×
×
  • สร้างใหม่...